วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 11:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=940.15


อ้างคำพูด:
จะนำหลักให้ดูพร้อมความหมายคำว่า เอกัคคตา,องค์ธรรม,องค์ฌาน สังเกตดู

เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง

คำว่า องค์ฌาน หมายถึงองค์ธรรมที่ประกอบอยู่เป็นประจำในฌานนั้นๆ และเป็นเครื่องกำหนดแยกฌานแต่ละขั้นออกจากกันให้รู้ว่า ในกรณีนั้นเป็นฌานขั้นที่เท่าใดเท่านั้น ไม่ใช่หมายความว่าในฌานมีองค์ธรรมทั้งหมดอยู่เพียงเท่านั้น ความจริงองค์ธรรมอื่นๆที่ประกอบร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเรียกว่าสัมปยุตธรรม แต่เกิดขึ้นประจำบ้าง ไม่ประจำบ้าง และไม่ใช่เป็นตัวกำหนดแบ่งขั้นของฌาน ยังมีอีกมาก เช่น สัญญา เจตนา ฉันทะ วิริยะ สติ มนสิการ เป็นต้น

ฌานสูงขึ้นๆ สติสัมปชัญญะ จะยิ่งแจ่มชัดขึ้นด้วย พิจาณาดู

ในพระสูตร ระบุองค์ธรรมที่เน้นพิเศษอีก เช่น ในตติยฌาน เน้นสติสัมปชัญญะเป็นตัวทำหน้าที่ชัดเจนมากกว่าในฌานสองขั้นต้น ซึ่งก็มีสติสัมปชัญญะด้วยเช่นกัน และในจตุตถฌานย้ำว่า สติบริสุทธิ์แจ่มชัดกว่าในฌานก่อนๆ ทั้งหมด ทั้งนี้เพราะอุเบกขาแจ่มชัดบริสุทธิ์เป็นเหตุหนุน ไม่เฉพาะสติเท่านั้นที่ชัด แม้สัมปยุตธรรมอื่นๆก็ชัดขึ้นด้วยเหมือนกัน (ตัดอ้างอิงออก)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณคือ สมาธิที่แนบแน่น เรียกอัปปนาสมาธิ

มนสิการ คือ องค์ธรรมหนึ่งของฌาณ

จะเรียกว่าโยนิโสมนสิการคงได้

คือมนสิการ หรือ โยนิโสมนสิการ ในวิฉิกิจฉา ข้อที่ยังสงสัย

สืบสาวราวเรื่องในข้อสงสัยไปเรื่อยๆ จนเกิดสมาธิที่แนบแน่น ใครเดินผ่านหน้าก็มองไม่เห็น เสียงดังมาจากให้ก็ไม่ได้ยิน

เป็นอยู่อย่างนั้น

การพิจารณด้วยสมาธิเช่นนั้นมีพลังความคิดมากมายมหาศาล แล้วจะไปต้องยกสู่วิปัสสนอย่างที่ผู้ตั้งตัวเป็นวปัสสนาจารย์สั่งสอนทำไม

ในพระไตรปิฎกก็ไม่มีบันทึกว่า ฌาณไม่ใช่วิปัสสนา จะต้องอาศัยฌาณเป็นเพียงบาทยกขึ้นสู่วิปัสสนานั้นผิด

ไม่ต้องยกอะไรทั้งสิ้น

อัปปนาสมาธินั้นดีอยู่แล้ว ดีกว่าอัธัจจกุกุจจ

เมื่อโยนิโสมนสิการจนสิ้นวิฉกิจฉาในข้อนั้น คุณธรรมก็สูงขึ้นตราลำดับ ไปเรื่อยๆ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าเล่าให้โพธิราชกุมารฟังตั้งแต่พระองค์เสด็จออกบรรพชา ทรงศึกษาในสำนักของอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบส รามบุตร จนจบความรู้ของสำนักทั้งสองแล้ว เสด็จต่อไปจนถึงอุรุเวลาเสนานิคม แล้วทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระองค์ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดทรงอดอาหาร จนร่างกายซูบผอมอย่างยิ่ง อย่างนักบวชมีนิครนถ์เป็นต้นทำกัน...ในที่สุดดำริว่า

“สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหลาย เหล่าหนึ่งเหล่าใด ในอดีตกาล ในอนาคต ในปัจจุบัน ได้เสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนแรงกล้าที่เกิดเพราะความเพียร อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้ และด้วยทุกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้ เราก็หาบรรลุญาณทัศนะวิเศษที่สามารถทำคนให้เป็นอริยะ ซึ่งเหนือกว่าธรรมของมนุษย์สามัญได้ไม่ มรรคาเพื่อความตรัสรู้คงจะมีเป็นอย่างอื่นกระมังหนอ

ฯลฯ

“เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่บุคคลผู้มีร่างกายผ่ายผอมเหลือเกินอย่างนี้จะบรรลุความสุขอย่างนั้นมิใช่จำทำได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงบริโภคอาหารหยาบ คือ ข้าวสุกและขนมสดเถิด”

ต่อจากนั้น พระโพธิสัตว์ก็ได้ทรงเสวยอาหารหยาบ จนมีกำลังขึ้นแล้ว ทรงบำเพ็ญฌานจนบรรลุจตุตถฌาน และได้ตรัสรู้”

ม.ม.13/488-508/443-461)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Bud-birth.htm


อ้างคำพูด:
............


ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต หมายถึง ทรงคิดค้นหาเหตุผลทางด้านจิตใจ เหตุการณ์ช่วงนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว พระองค์ก็เสด็จลำพังพระองค์ไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้า มธุปายาส จากนางสุชาดา ซึ่งนำมาถวายโดยนางคิดว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอบุตรชายไว้ หลังจากเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ก็ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำ ต่อมาในเวลาเย็นพระองค์ได้เสด็จข้าแม่น้ำเนรัญชราไปยังฝั่งตะวันตก ทรงนำเอาหญ้า กุศะ(หญ้าคา) 8 กำที่นายโสตถิยะถวาย มาปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนต้นมหาโพธิ์ พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฏางค์(หลัง) พิงต้นมหาโพธิ์ ทรงเข้าสมาธิจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่บรรลุฌานทั้ง 4 และใช้ฌานทั้ง 4 เป็นพื้นฐาน พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติและสภาวะธรรมทั้งหลายจนเกิดญาณ (การหยั่งรู้) ในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ความรู้แจ่มแจ้งนั้น ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นความสว่างโพลงภายในที่ปราศจากความสงสัยเคลือบแคลงใดๆ ความรู้นี้ได้ตอบปัญหาที่ทรงค้างพระทัยมาเป็นเวลากว่า 6 ปี พร้อมกับการเกิดความรู้ด้านกิเลส (ความเศร้าหมองแห่งจิต คือ โลภ โกรธ หลง) ที่ทรงสงสัยอยู่ในจิตใจของพระองค์ก็ได้ปลาสนาการไปหมดสิ้น
การรู้แจ้งของพระองค์สามารถ สรุปเป็นขั้นๆ ดังนี้
1.ในยามต้น ทรงระลึกชาติหนหลังของพระองค์ได้ เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
2.ในยามที่ 2 ทรงมองเห็นการเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลาย ตามผลกรรมที่ได้กระทำไว้ เรียกว่า จุตูปปาตญาณ
3.ในยามที่ 3 ทรงเกิดความรู้แจ้งที่สามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชีวิตของคนเราและสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่า อาสวักขยญาณ

พระองค์ได้ทรงบรรลุถึงสิ่งที่ทรงประสงค์ โดยตรัสรู้ถึงความจริงในข้อที่ว่า ความทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะทำอย่างไร จึงจะรอดพ้นจากความทุกข์นั้นได้ เรียก อาการที่พระองค์ทรงบรรลุว่า การตรัสรู้ คือ การรู้กระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับทุกข์ หรือรู้ความจริงของทุกข์ 4 ประการ เรียกว่า อริยสัจ 4
1) ทุกข์ คือ ความอยากลำบาก ความเดือดร้อน
2) สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดความอยากลำบาก ความเดือดร้อน
3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้สิ้นเชิง
4) มรรค คือ แนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์

............................

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 11 เม.ย. 2011, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... en#msg7852

ความมุ่งหมายของสมาธิ ได้แก่ การรู้เห็นตามเป็นจริง หรือ ยถาภูตญาณทัสสนะ หรือตามพุทธพจน์ที่ว่า "สมาหิโต...ยถาภูตํ ปชานาติ" แปลว่า ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง พูดไขความว่า เพื่อเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ให้ปัญญาเจริญจนบรรลุจุดหมายของมัน อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมว่า ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างองค์มรรค ปัญญาคือสัมมาทิฏฐิ เป็นเข็มชี้ทิศ หรือเป็นไฟส่องทางอำนวยแสงสว่างช่วยให้องค์มรรคทุกอย่างเดินหน้าได้ และแล่นไปถูกทาง ความเจริญของปัญญา จึงสนับสนุนความเจริญของสมาธิด้วย เช่น ยิ่งรู้ชัดเห็นชัด ก็แน่วแน่มั่นใจ ยิ่งมีสมาธิกล้าแข็ง ความเป็นไปขององค์ธรรมใหญ่สองอย่างนี้ จึงมีลักษณะของการอาศัยและส่งเสริมกัน ดังที่มักอ้างพุทธภาษิตว่า "นตูถิ ฌานํ อปญฺญสฺส" ฌาน ยjอมไม่มี แก่ผู้ไร้ปัญญา และ "นตฺถิ ปญฺญา อฌายิโน" ปัญญา ย่อมไม่มี แก่ผู้ไร้ฌาน พร้อมทั้งสรุปว่า "ยสฺส ฌานญฺจ ปญฺญญฺจ ส เว นิพฺพานสนฺติเก" ผู้ใด มีทั้งฌาน และปัญญา ผู้นั้นแล อยู่ใกล้นิพพาน

(ขุ.ธ.25/35/65)

ฌาน ในที่นี้ หมายถึงอารมณูปนิชฌาน-เพ่งอารมณ์ หรือ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งไตรลักษณ์ ก็ได้

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 15 เม.ย. 2011, 13:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:

เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง


เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่ประกอบกับจิตเกิดร่วมกับจิต ไม่ว่าจะเป็น กุศล อกุศล หรืออัพยากตจิต ก็ตาม
จิตจะมีสมาธิ หรือไม่มีสมาธิ ก็ตาม

เอกัคคตา ก็ยังคงเป็นเจตสิกธรรมเกิดร่วมเกิดพร้อมเสมอ

เพราะ เอกัคคตา ไม่ใช่ตัวสมาธิ

แต่เป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่ ประสานองค์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงซึ่งมีมากมาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

หมายเหตุ : อกุศลจิตที่มี วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดร่วมเกิดพร้อม จิตไม่เป็นสมาธิ ไม่มีสมาธิเจตสิก แต่ก็ยังมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมเกิดพร้อม
หาก เอกกัคคตา เป็นตัวสมาธิจริงแล้ว ในอกุศลจิตที่สัมปยุตกับวิจิกิจฉา ก็ต้องไม่มีเอกัคคตาเจตสิก

(อกุศลจิตดวงที่ 11 )

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
เพราะ เอกัคคตา ไม่ใช่ตัวสมาธิ


แล้วสมาธิเป็นอย่างไร

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 13:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
สมาธิ 2 (ความตั้งมั่นแห่งจิต, ภาวะที่จิตสงบนิ่งจับอยู่ที่อารมณ์อันเดียว : concentration)

Quote Tipitaka:
อย่างไร สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑
โลกุตรสมาธิ ๑ สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่
วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑ สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑
สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑ สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑
สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑ สมาธิ ๖ คือ
สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑
สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ สมาธิ ๗ คือ
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้
ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้
ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความ
เป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑ สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต
มิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑
นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑ สมาธิ ๙ คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว
๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑
อัปปณิหิตสมาธิ ๑ สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วย
สามารถอัทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททก
สัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑
โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ สมาธิเหล่านี้รวมเป็น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


normal thing อธิบายถูกแล้ว
เพราะอกุศลฌาณ มันก็มี ความเป็นหนึ่งแบบอกุศลของมันเหมือนกัน
โมหะสมาธิ มิจฉาสมาธิ


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 15:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เพราะ เอกัคคตา ไม่ใช่ตัวสมาธิ


แล้วสมาธิเป็นอย่างไร


คุณ mes..

ความละเอียดแห่งการสาธยาย ธรรมในพระไตรปิฎก ของพระสารีบุตร ในปฏิสัมภิทามรรค
ส่วนที่คุณ mes ยกมา เป็นการอธิบายถึงสมาธิภาวนามยญาณ ว่าเป็นปัญญาความรู้ชัดแห่งสมาธิภาวนา
ในแต่ละประการ แห่งสมาธิ

ซึ่ง ส่วนที่เป็น เอโก สมาธิ จิตตฺสส เอกัคคตา หรือแปลออกมาว่า เอกัคคตาจิต นั้นไม่ได้มุ่งเรียกเฉพาะตัวเอกัคคตาเจตสิกว่าเป็นตัวสมาธิ แต่หมายเอาถึงจิตที่ตั้งอยู่อย่างเอก ในอารมณ์อันเลิศ เป็นความรู้ชัดในสมาธิภาวนามยญาณ

สมาธิเจตสิก เป็นองค์ธรรมเกิดพร้อมกับจิตที่ ให้จิตมีความตั้งมั้น
เอกัคคตาเจตสิก เป็นองค์ธรรมเกิดพร้อมกับจิตที่ทำการหล่อรวมเจตสิกธรรมอื่นๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
เพราะ เอกัคคตา ไม่ใช่ตัวสมาธิ


แล้วสมาธิเป็นอย่างไร


คุณ mes..

ความละเอียดแห่งการสาธยาย ธรรมในพระไตรปิฎก ของพระสารีบุตร ในปฏิสัมภิทามรรค
ส่วนที่คุณ mes ยกมา เป็นการอธิบายถึงสมาธิภาวนามยญาณ ว่าเป็นปัญญาความรู้ชัดแห่งสมาธิภาวนา
ในแต่ละประการ แห่งสมาธิ

ซึ่ง ส่วนที่เป็น เอโก สมาธิ จิตตฺสส เอกัคคตา หรือแปลออกมาว่า เอกัคคตาจิต นั้นไม่ได้มุ่งเรียกเฉพาะตัวเอกัคคตาเจตสิกว่าเป็นตัวสมาธิ แต่หมายเอาถึงจิตที่ตั้งอยู่อย่างเอก ในอารมณ์อันเลิศ เป็นความรู้ชัดในสมาธิภาวนามยญาณ

สมาธิเจตสิก เป็นองค์ธรรมเกิดพร้อมกับจิตที่ ให้จิตมีความตั้งมั้น
เอกัคคตาเจตสิก เป็นองค์ธรรมเกิดพร้อมกับจิตที่ทำการหล่อรวมเจตสิกธรรมอื่นๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจิต


ไม่เข้าใจ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 16 เม.ย. 2011, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อถึงเวลา ก็จะเข้าใจเอง ถึงความแตกต่าง ระหว่าง ความเป็นกาว กับองค์ประกอบในกาว

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เราเคยคุยกันเรื่องเจตสิก กันแล้วนะครับ ทุกท่าน
:b1: http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t...%20-


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
mes เขียน:

เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว ได้แก่ ตัวสมาธินั่นเอง


เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นองค์ธรรมที่ประกอบกับจิตเกิดร่วมกับจิต ไม่ว่าจะเป็น กุศล อกุศล หรืออัพยากตจิต ก็ตาม
จิตจะมีสมาธิ หรือไม่มีสมาธิ ก็ตาม

เอกัคคตา ก็ยังคงเป็นเจตสิกธรรมเกิดร่วมเกิดพร้อมเสมอ

เพราะ เอกัคคตา ไม่ใช่ตัวสมาธิ

แต่เป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่ ประสานองค์ธรรมทั้งหลายทั้งปวงซึ่งมีมากมาย ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

หมายเหตุ : อกุศลจิตที่มี วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดร่วมเกิดพร้อม จิตไม่เป็นสมาธิ ไม่มีสมาธิเจตสิก แต่ก็ยังมีเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมเกิดพร้อม
หาก เอกกัคคตา เป็นตัวสมาธิจริงแล้ว ในอกุศลจิตที่สัมปยุตกับวิจิกิจฉา ก็ต้องไม่มีเอกัคคตาเจตสิก

(อกุศลจิตดวงที่ 11 )



จากหนังสือพุทธธรรม ป.อ. ปยุตโต หน้า303

...........................

...........................

.................เอกัคคตา(ภาวะจิตที่มีอารมณ์แนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว คือตัวสมาธินั่นเอง)..........


....................


....................

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 17 เม.ย. 2011, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

อย่างไร สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑
สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑
เป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑ สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต
อัปปณิหิตสมาธิ ๑ สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วย
เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เป็นสมาธิ ญาณ
[๒๑๓] เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถแห่งความไม่พยาบาท
เป็นสมาธิจริยาแต่ละอย่างๆ วิตกวิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์
แก่การได้ปฐมฌาน ฯลฯ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์
วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาจิตเพื่อประโยชน์แก่การได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน
สุข และเอกัคคตาจิต เพื่อประโยชน์แก่การได้อากาสานัญจายตนสมาบัติ
ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิ
สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง
สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิ
ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิ
เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ ... จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อม

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 133 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร