วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 95  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


^
ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะตรัสไว้ชัดอย่างนั้น ปัญหาเกิดที่ภาคปฏิบัติของแต่ละคนๆเอง บางคนประสบผลสำเร็จ บางคนไม่ประสบผลสำเร็จ ฯลฯ

การเจริญสติปัฏฐานนี้ เป็นวิธีปฏิบัติธรรมที่นิยมกันมาก และยกย่องนับถือกันอย่างสูง ถือว่ามีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัว
วิปัสสนาเป็นหลักปฏิบัติสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ได้ยินได้ฟังกันมาก พร้อมกับมีความเข้าใจไขว่เขวอยู่มากเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2011, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ปัญหาเรื่องแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะความพร้อม หรือ ความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ต่างๆ

บางคนอาจฝึกซ้อมไม่ต้องมาก ก็ประสบความสำเร็จได้โดยง่าย
บางคนอาจฝึกหัดใช้เวลานาน แต่ฝึกไปสบายๆก็สำเร็จ
บางคนก็ทั้งฝึกยากลำบาก ทั้งต้องใช้เวลายาวนาน จึงสำเร็จ
บางคนจะฝึกหัดอย่างไรก็ไม่อาจก็ไม่อาจปะสบความสำเร็จเลย

นอกเหนือจากความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ความสำเร็จ และความช้าเร็วเป็นต้น ยังขึ้นต่อปัจจัยอื่นอีก โดยเฉพาะการฝึกที่ถูกวิธี
การมีผู้แนะนำหรือครูดี ที่เรียกว่า กัลยาณมิตร ตลอดจนสภาพในกาย และสภาพแวดล้อมทางกายภาพเป็นต้น
โดยนัยนี้ ท่านจึงจำแนกการปฏิบัติธรรมที่ประสบความสำเร็จออกเป็น 4 ประเภท เรียกว่า ปฏิปทา 4 คือ

1. ทุกขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก ทั้งรู้ (มีอภิญญา) ช้า
2. ทุกขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติยากลำบาก แตรู้ (มีอภิญญา) เร็ว
3. สุขา ปฏิปทา ทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย แต่รู้ (มีอภิญญา) ช้า
4. สุขา ปฏิปทา ขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกสบาย ทั้งรู้ (มีอภิญญา) เร็ว

ในบรรดาองค์ประกอบต่างๆหลายๆอย่างที่ทำให้ปฏิบัติยากหรือง่าย รู้ได้ช้าหรือเร็วนั้น สมาธิก็เป็นปัจจัยแห่งความแตกต่างอย่างหนึ่งด้วย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2011, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




GEDC1763_resize.JPG
GEDC1763_resize.JPG [ 75.09 KiB | เปิดดู 6324 ครั้ง ]
smiley :b8: นิมนต์ท่านวิสุทธปาละ กรุณา รวบรวมคำตอบในกระทู้ทั้งหมดมาตัดต่อให้เรียงลำดับดีๆแล้วทำเป็นหนังสือต้นฉบับออกมาสักเล่มหนึ่ง แล้วโพสต์ไว้ในห้องสมุดธรรมมะ เพื่อให้ผู้ที่จะเอาจริงเอาจัง ได้ดหลดมาอ่าน มาศึกษาให้ละเอียดลึกซึ้งครับ กราบขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ขอมติสนับสนุนจากมิตรสหายใลนธรรมจักรด้วยครับ :b8: :b8: :b17: :b36: :b35:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สาธุกับการเข้ามาช่วยแจกแจงธรรมมะที่ลึกซึ้งให้ง่ายขึ้นของมิตรทางธรรมทุกท่านด้วยครับ :b1: :b46: :b46:

ส่วนการรวมให้เป็นเล่ม ขอขอบคุณคุณอนัตตาธรรมเป็นอย่างสูงนะครับที่เห็นคุณค่า แต่จะเอาอย่างนั้นเลยเหรอครับ เพราะที่โพสไว้ ยังมีอีกหลายจุดที่คิดว่ายังไม่สมบูรณ์พอ :b5: :b5: :b39: :b39:

เนื่อจากตอนแรกที่คุณอานาปานา และคุณ ploypet ขอให้เพิ่มรายละเอียด ก็ตั้งใจแค่ว่า ใช้เวลาจิ้มดีดซักสองสามอาทิตย์ก็คงจะจบเพราะเป็นแค่การเสวนาธรรม แต่เนื่องด้วยช่วงนั้นทางเวปปิดซ่อม และพอค่อยๆเรียบเรียงออกมาในภาคปฏิบัติแล้ว จะไม่ลงให้ละเอียดจนแจ่มแจ้งก็อาจจะมีผู้ตีความผิดปฏิบัติผิด คราวนี้ยิ่งแย่กับผู้นำไปปฏิบัติเข้าไปใหญ่ :b38: :b37: :b39:

ก็เลยต้องต่อเติมเสริมรายละเอียดให้ชัดเจนจนยาวยืดยาดอย่างที่เห็น แต่ก็พยายามรวบรัดให้สั้น ทำให้บางจุดยังไม่น่าจะสมบูรณ์พอ ซึ่งก็พยายามเน้นให้ผู้ปฏิบัติอย่าพึ่งปลงใจเชื่อ ให้ใช้วิจารณญาณและหลักกาลามสูตรเข้ามาจับ ศึกษาจากคำอธิบายของมิตรทางธรรมท่านอื่นและคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ สุดท้ายสอบทานกับพระไตรปิฎก และทำให้เห็นแจ้งด้วยตนเอง :b39: :b39: :b39:

เพราะอย่างที่เน้นไปหลายครั้งว่า ผู้บอกทางคนนี้อาจจะไม่รู้ทางที่ไปได้ทั้งหมด และประสบการณ์ที่พบเจอบนเส้นทางที่แสดงให้เห็นนั้น อาจจะไม่ครอบคลุมถึงสภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ท่านอื่นอาจจะพบเจอไม่เหมือนกันก็ได้ :b1: :b44: :b45:

แต่ถ้ามิตรทางธรรมท่านอื่นเห็นประโยชน์ รบกวนช่วยบอกกล่าวผ่านในกระทู้ และรอให้ค่อยๆเรียบเรียงและพิมพ์ให้จบในส่วนสุดท้ายสำหรับ web board version ซึ่งหลังจากนั้นคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนไปขัดเกลาและเพิ่มเติมในส่วนที่ยังเห็นว่าบกพร่องอยู่ ถึงจะออกมาเป็น e-book version ได้นะครับ :b5: :b5: :b31: :b31: :b46: :b46:

และที่สำคัญ วิสุทธิปาละไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการเขียนและเรียบเรียงให้อ่านง่ายเข้าใจง่าย ที่ผ่านมาเคยเขียนหนังสือธรรมะเป็นเรื่องเป็นราวก็แค่เล่มเดียวด้วยความจำเป็น แต่ก็เต็มใจและตั้งใจเขียนขึ้นอย่างดีที่สุด ซึ่งตอนนั้นคิดว่า น่าจะเป็นเล่มเดียวที่จะเขียนขึ้นในชีวิต ก็คือเขียนลงในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่ของตนเองที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น :b1: :b39: :b39:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 04 เม.ย. 2011, 08:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมสนับสนุนครับ cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้มาต่อในส่วนธรรมะภาคปฏิบัติกันครับ :b1: :b46: :b46:

จากโพสคราวที่แล้ว ขอเพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการแยกแยะการปฏิบัติระหว่างการ “คิด” และการ “รู้” :b38: :b37: :b39:

ทั้งการคิด และการรู้ตามความเป็นจริง อยู่ในหมวดของการคิดพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งท่านเจ้าคุณฯหลวงพ่อประยุทธ์ ท่านได้กรุณาแยกแยะออกไปได้ถึง ๑๐ วิธีการ (พุทธธรรมฉบับขยายความ หน้า ๖๖๗ – ๗๓๒) :b8: :b39: :b39:

ซึ่งสรุปลงได้ในกรรมฐาน ๒ ข้อ คือ สมถะ และวิปัสสนา ที่ต้องอาศัยสัมมาสติ (สติปัฏฐาน) ในการระลึก เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) จนสามารถตัดวงจรทุกข์ (ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด) ที่กิเลส ๒ ขั้ว คือที่ตัณหา (คือ ราคะ ความทะยานอยาก ซึ่งเป็นการตัดชั่วคราว) และที่อวิชชา (ซึ่งเป็นการตัดถาวร ซึ่งรวมไปถึงตัวตัณหาด้วย) ตามพุทธพจน์ที่ว่า

[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

(ให้เกร็ดธรรมไว้ตรงนี้สักนิดครับ คำว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ในพระสูตรนั้น ก็จะหมายรวมเอาดังนี้ว่า

อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย
แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว (แต่งกายอย่างคฤหัสถ์) พึงประพฤติสม่ำเสมอ
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี
เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก
โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ฯ
บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ

คาถาธรรมบท ทัณฑวรรคที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ซึ่งไม่จำเป็นว่าต้องห่มเหลืองหรือบวชในพุทธศาสนา แต่รวมถึงคฤหัสถ์ พราหมณ์ ภิกษุในพระวินัย ฯลฯ เพียงแต่ต้อง “เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก” (ซึ่งหมายรวมถึงพระอริยะ ทั้งเสขะและอเสขะในบางที่ และในบางที่ ก็ทรงระบุอีกแบบหนึ่งว่า เป็นธรรมของสาวก ซึ่งก็คือศิษย์ของพระอริยเจ้า หรือภิกษุในธรรมวินัยตรงๆเลย เช่น ขึ้นต้นด้วยคำว่า “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ...” (ภิกฺขเว อริยสาวโก ...) หรือ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ...” (อิธ ปน ภิกฺขเว ภิกฺขุ ...)) :b8: :b46: :b46:

เช่นเดียวกับในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ซึ่งเป็นการเทศนาประกาศธรรมครั้งแรกของพระพุทธองค์ ที่ทรงตรัสเรียกปัญจวัคคีย์ว่า "ภิกษุทั้งหลาย" (อิทํ โข ปน ภิกฺขเว) ทั้งๆที่ขณะนั้นยังไม่มีผู้ขอบวชตาม และปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็ยังไม่ได้บรรลุธรรมเลยสักท่าน

ไว้มีเวลาและโอกาส จะมาเล่าแทรกในส่วนนี้โดยละเอียดอีกครั้งครับ) :b1: :b46: :b46:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 04 เม.ย. 2011, 22:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: ขออนุโมทนาในธรรมทานของท่านวิสุทธิปาละทั้งที่ผ่านมา :b8:
และหากจะเกิดมีขึ้นในอนาคตเพื่อประโยชน์แก่สหายธรรมทั้งหลายด้วยค่ะ...สาธุยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โดยการโยนิโสมนสิการเพื่อมุ่งสกัดหรือบรรเทาตัณหาราคะนั้น เป็นการปฏิบัติในส่วนของสมถะ ซึ่งต้องอาศัยการคิดพิจารณา (วิตก วิจาร) เช่น การแผ่เมตตาเจริญพรหมวิหาร การปฏิบัติกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณากายเป็นเป็นสิ่งปฏิกูล หรือกำลังเปื่อยเน่าเสื่อมสลายไปในป่าช้า ฯลฯ (ยังไม่เล่าถึงในส่วนที่เป็นสมถะบวกวิปัสสนา เห็นกายทั้งภายในภายนอกตามความเป็นจริง เช่น เห็นแผลของตนเอง หรือเห็นศพลอยน้ำมาต่อหน้าต่อตานะครับ) :b46: :b46: :b46:

ซึ่งการเจริญสมถะ (ฝึกคิดแบบกุศลวิตก) ควรเจริญในเวลาที่ตั้งใจหรือคาดการณ์ได้ว่าจะมีการกระทบในผัสสะ ที่สามารถทำให้เตรียมตัวเตรียมพร้อมเพื่อจะใช้การ “คิด” ในทางกุศลวิตกได้ เช่น การตั้งใจทำบุญกุศล การตั้งใจดูสิ่งที่ไม่สวยไม่งาม การตั้งใจกรวดน้ำแผ่เมตตา ฯลฯ :b44: :b43: :b48:

ส่วนวิปัสสนา หรือการ “รู้” ตามความเป็นจริง ควรเจริญในเวลาที่ไม่ได้ตั้งใจว่าจะมีการกระทบในผัสสะ ซึ่งเมื่อไม่ได้ตั้งใจที่จะกระทบ จิตจะทำงานตามความเคยชินของตัณหาและอวิชชาโดยธรรมชาติพื้นฐานของจิตเอง เกิดวงจรปฏิจจสมุปบาทรวดเดียวจบ ก็ให้ใช้สติตามรู้ตามดูกิเลสหรือทุกข์ลงในไตรลักษณ์จนเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้นมาได้ โดยไม่มีการ "คิด" แทรกให้เป็นวิปัสสนึกไป :b8: :b46: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 00:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่น กำลังเดินอยู่ในห้างบังเอิญเห็นสาวสวยแต่งตัวเซ็กซี่เดินผ่านหน้าแล้วเกิดความชอบใจอยากเหลียวมองตาม :b22: :b22: :b15:

ตรงนี้ไม่ควรเจริญสมถะด้วยการคิดถึงอสุภกรรมฐานทันที แต่ควรเจริญวิปัสสนา ใช้สติ (มรรคให้เจริญ) ตามรู้ตามดูความทะยานอยากที่เกิดขึ้น (ทุกข์ให้รู้ จิตถูกบีบคั้นจนมีราคะ ให้รู้ว่ามีราคะ) โดยรู้ลงมาที่ใจ (ไม่ใช่รู้ลงมาที่ตานะครับ เพราะนั่นทำให้ละเหตุแห่งความทะยานอยากได้ยาก)

และไม่วกไปคำนึงถึงเหตุแห่งความทะยานอยาก (สมุทัยให้ละ) คือสาวสวยคนนั่น (ที่ตาเห็น) จนความทะยานอยากดับไป (กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้) ให้เห็นถึงไตรลักษณ์และและเห็นถึงจิตที่สงบ ไม่ดิ้นรนทะยานอยากอีก (นิโรธให้แจ้ง)

และเมื่อเห็นความเป็นจริง คือสามัญลักษณะของความทะยานอยากจนเกิดปัญญาแล้ว คราวนี้ ค่อยมาเจริญสมถะด้วยการพิจารณาอสุภะในใจ หรือรีบมองหาหญิงชราใกล้ตัวไว้พิจารณาเพื่อกดข่มและทอนกำลังของกิเลสราคะ ไม่ให้มีกำลังกล้าแข็งจนถึงกับต้องหันไปมองอีกครั้งหรือเดินตามก็จะดีนะครับ ถือเป็นการได้ปัญญาถึง ๒ ต่อ :b4: :b46: :b46:

หรือกรณีจิตที่ฝึกดีแล้ว คือเมื่อเดินให้รู้อยู่กับตัวรู้ในห้าง แล้วบังเอิญเห็นสาวสวยแต่งตัวเซ็กซี่เดินผ่านหน้า จิตจะทันการเห็นและรู้ลงที่ใจไม่เกิดความพอใจติดใจอยาก ก็ให้รู้ตรงๆลงมาที่ใจว่าจิตไม่มีความพอใจติดใจอยาก (จิตไม่มีราคะ ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคะ)

ก็จะเห็นว่าสิ่งใดไม่เกิดขึ้น สิ่งนั้นไม่ดับลงเป็นธรรมดา เมื่อเห็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อนั้นตัวตนจักไม่มี นี่ก็เกิดปัญญาได้เหมือนกันนะครับ และเป็นปัญญาขั้นสูงเสียด้วย :b1: :b51: :b51:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


และในข้อความที่โพสมาทั้งหมดนั้น สิ่งที่ควรสังเกตอีกประการก็คือ ขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ จะต้องใช้กำลังของ ศีล, สมาธิ, และ ปัญญา ร่วมกันเป็นอย่างมาก กว่าจิตจะเห็นอริยสัจจ์จนกำจัดซึ่งกิเลสตัณหาได้ทีละขั้น ค่อยๆขุดเข้าไปจนหมดซึ่งกิเลสตัวรากคืออวิชชาได้ และไม่กลับมางอกใหม่อีก ซึ่งเป็นการกำจัดแบบขุดรากถอนโคนแล้วเผาซ้ำไม่ให้เหลือเชื้องอกกันเลยที่เดียว :b39: :b39: :b39:

นั่นคือ ถ้าไม่มีศีล ที่เป็นสัมมาศีล คือความร่มเย็นเป็นปกติของกายวาจาใจโดยไม่งมงาย (ศีลพตปรามาส) คือ ถือศีลด้วยปัญญาเป็นญาณสัมปยุต ซึ่งมีจุดประสงค์คือ ดำเนินไปเพื่อเกื้อกูลแก่สมาธิและปัญญา ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนเบียดเบียนแก่ผู้อื่นและตนเอง แล้วนั้น :b46: :b51: :b53:

(สัมมา) สมาธิก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะต้องพะวงหมกมุ่นจมปลักอยู่กับความเพลิดเพลินในกาม ความเคียดแค้นพยาบาท ความหดหู่ท้อถอย ความง่วงเหงาเศร้าซึม และความฟุ้งซ่านรำคาญจิต (นิวรณ์ ๕) ซึ่งเป็นศัตรูตัวสำคัญของสัมมาสมาธิ :b38: :b37: :b39:

ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ลึกจนจิตไร้การปรุงแต่ง หรือแม้กระทั่งสมาธิชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ที่ใช้ในการเห็นไตรลักษณ์แบบสมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า โดยไม่ไปจมปลักกับนิวรณ์ ถอนตัวออกมาเป็นผู้รู้ผู้ดูที่ตั้งมั่นเป็นกลางได้ :b51: :b51: :b51:

และถ้าไม่สามารถมีสติสมาธิดูให้เห็นถึงไตรลักษณ์แบบสมถะที่มีวิปัสสนานำหน้า หรือเข้าสมาธิได้ลึกจนจิตไร้การปรุงแต่งแบบวิปัสสนาที่มีสมถะนำหน้า ก็จะไม่สามารถเปรียบเทียบระหว่างจิตปรุงแต่ง กับจิตไม่ปรุงแต่งที่มีความปราณีต สงบ เบิกบานกว่าได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ไม่เกิดปัญญาเห็นถึงปฏิจจสมุปบาท หรืออีกนัยหนึ่งคืออริยสัจจ์ได้ด้วยวิธีนี้เลย :b46: :b51: :b48:

ซึ่งการใช้กำลังร่วมกันของศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้เห็นถึงโลกุตรธรรมจนถึงขั้นตัดกิเลสได้อย่างเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหานนั้น รวมเรียกว่า การสามัคคีกันของมรรค หรือมรรคสมังคี เพราะการรวมกันของมรรค ๘ ก็คือการรวมกันขององค์ไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างพร้อมเพรียงกันนั่นเองครับ :b8: :b39: :b39: :b39:

และเมื่อจิตเห็นอริยสัจจ์ คือเกิดตัวโลกุตรปัญญาขึ้นมา สภาวะแห่งความเบิกบานจะปรากฏ ซึ่งเป็นสภาวะที่เหนือสุขเหนือทุกข์ มีความอิ่มบริบูรณ์อยู่ในตัว เป็นความเบิกบานที่อยู่บนความอิสระของจิตที่ปราศจากเครื่องร้อยรัดเพราะรู้แจ้งด้วยปัญญาล้วนๆอย่างแท้จริง หมดเชื้อที่จะพาจิตไปเกิด (ปฏิสนธิ) ในภพภูมิไหนๆได้อีกต่อไป :b8: :b39: :b41:

ดึกแล้วครับ ไว้มาต่อคราวหน้า :b1: :b46: :b39: :b46:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 04:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: :b44: :b44:

:b8: อนุโมทนาครับ สนับสนุนครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2011, 15:59
โพสต์: 11


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาเจ้าค่ะ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2011, 23:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดจากวิสัยคิด ต่อให้คิดว่าเข้าใจดีแล้วอย่างแยบคายและเหมือนแยบยล
ก็ยังนำความสงสัยในความรู้มาให้เจ้าตัวได้อย่างไม่รู้สิ้น

หากว่าตนเองมีธาตุแท้แห่งคนจริง และไม่ยอมหลอกตัวเอง ก็จะรู้ได้ว่าความสงสัยคลางแคลงใจ
และความคลุมเคลือกับรอยโหว่ของความรู้ มีอยู่มากมาย

บนความรู้ที่เหมือนเข้าใจ ก็มีความรู้สึกที่ไม่แน่ใจ แต่ถ้าหากว่าแน่ใจ
ความแน่ใจนั้นก็ยังไม่ใช่ของจริงอยู่นั่นเอง

เพราะ ปฏิจจสมุปบาทที่ คุณกำลังเข้าใจ เป็นคนละอย่างกับปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธองค์
ทรงทบทวนในคราวเสวย วิมุติสุข

:b53: :b53: :b53: :b53: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2011, 01:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่เข้าใจดีแล้ว...ก็คือคนที่สอบผ่านแล้ว..คือพระอรหันต์ทั้งหลาย

ส่วนคนที่อยากจะสอบผ่าน...ก็ต้องมาทำให้เข้าใจ...เพื่อที่จะได้..เข้าใจดี

ผล..ก็คือ..ผล

มรรค์..ก็คือ..มรรค์

อย่าเอาผล..มาเหยียบมรรค์..ซิท่าน..คนเขากำลังทำความดีให้ถึงดี..อยู่
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2011, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 21:59
โพสต์: 234

สิ่งที่ชื่นชอบ: ในตัวเอง
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากดูความคิดคนก็ทำอะไรให้มันวกวนซะ..........เดี๋ยวผู้รู้หลายคนก็เข้ามาเคลีย

รวมทั้งท่าน.........กบ

:b55: :b55: :b55:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1416 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 95  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร