วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 17:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 264 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


narapan เขียน:
:พอดีท่านพูดมาว่า ไม่รู้น่ะดีแล้ว ผมจึงนึกได้
ไม่รู้ ในที่นี้หมายถึง เราไม่ต้องรู้เรื่องนั้นเลยตั้งแต่แรก กับเรารู้แล้วเราต้องวางรู้ทีหลัง
สมมุติว่า ลูกเราถูกครูตีจนสลบเราไม่รู้เลยตั้งแต่แรก เราจะไม่รู้สึกอะไร
แต่มีคนมาบอกภายหลัง พอเรารู้ เรื่องมันจบไปแล้ว และลูกเราก็ไม่ได้เป็นอะไรแล้ว เราจึงวางเรื่องที่รู้นั้นด้วยปัญญา

นี่แหละครับคือที่มาของคำถาม :b12:

:b41: :b46: :b53: :b39: :b42:

เพิ่มเติมครับ ความไม่รู้มันไม่ได้มีความหมายว่า ไม่ยอมรับรู้อะไรเลยนะครับ
เราต้องรู้ครับ รู้แล้วปล่อยวางแบบที่คุณว่านั้นนะถูกแล้วครับ

การไม่ยอมรับรู้อะไรเลย มันเป็นอวิชาครับ เป็นเรื่องของการไม่รู้อริยสัจจ์ครับ

เรื่องที่คุณยกมา ที่ลูกโดนครูตี คุณรู้แล้วปล่อยวางได้มันก็ดีครับ
แต่ไม่ใช่ไม่จัดการอะไรนะครับ การไม่ป้องกันไม่ให้มันเกิดซ้ำแบบนี้เรียกว่า
อวิชาในส่วนของการไม่รู้ปฏิจสมบาทคือ ไม่รู้อดีตและไม่รู้อนาคตครับ
หรืออีกความหมาย มันเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้ แล้วลูกเรายังเรีนกับครูคนเดิม
ถ้าเราไม่ป้องกันไม่ให้ครูมาทำร้ายลูกเราอีก เขาเรียกว่า การไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคตครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2011, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 20:54
โพสต์: 163

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


1) สมาธิดับทุกข์ไม่ได้ ก็ถูกแล้วไงตัวกุศลต่างหากที่เป็นตัวดับทุกข์
2) พาตัวเองไปติดตาข่ายของมาร กุศลเจริญมารก็เข้ามาเพราะเรามีบารมี (มารไม่มีบารมีไม่เกิด)จะได้รูว่ามีอกุศลไรบ้างที่เราต้องละ
3) เปิดโอกาสให้เปรตอสูรกายทำร้ายตนเอง ข้อนี้ก็ถูกอย่าว่าแต่อสรูกายและเปรตเลย คนด้วยกันก็มี ผี ก็มี
จะได้รู้ว่าเราทำปาบอะไรมาบ้าง เค้าถึงได้ทำกับเรา ยอมรับปาบที่เราทำเถอะใช้มันชาตินี้ละ
ใจเราบริสุทธ์เดียวพวกเค้าก็เลิกไปเองละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2011, 15:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักษา เขียน:
ชะแว้บ กลับมาแล้วครับ คอมซ่อมเสร็จเรียบร้อย แหมกว่าจะได้ใช้ยากเย็นแสนเข็ญเหลือเกิน ยกไปยกมาไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ทักทายคุณ โฮฮับด้วยครับ คงสบายดีอยู่นะครับคุณโฮฮับ เห็นด้วยกับคุณโฮฮํบครับ ที่ว่าการไม่ยอมรับรู้มันเป็นเครื่องหมายของอวิชชา และเป็นที่มาของเปรตครับ การไม่ยอมรับรู้นี่แหละเป็นการเปิดหนทางให้เปรตได้เข้ามาครอบงำจิตใจ ไม่ใช่แค่ครอบงำธรรมดา แต่ครอบครองจิตใจเลยล่ะ

สวัสดีครับ ผมก็เรื่อยๆมาเรียงๆครับ คุณทักษามาพูดเรื่องผีเปรต
ตอนนี้กระทู้แม่ชีกำลังดังเลยครับ มีคลิปแม่ชีติดอันดับ ท็อปไฟว์ก็คือ
คลิปเปรตนี่แหล่ะครับ ไม่รู้จะมีให้ดูหรือเปล่า ลองเข้าไปแสดงความเห็นหน่อยซิครับ
เอาแค่พอหอมปากหอมคอนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ค. 2011, 04:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้บังเอิญผ่านมาเห็นกระทู้นี้น่าสนใจ ผมขออนุญาติแสดงความเห็นส่วนตัว ในเรื่องประโยชน์/โทษของสมาธิดังนี้ครับ

ผมมองว่า สมาธิ เป็นเครื่องมือชิ้นนึงครับ

ดังนั้นการที่เราจะบอกลงไปเลยว่าเครื่องมือชิ้นหนึ่งดีหรือเลว ดูจะไม่เป็นการยุติธรรมเท่าไรในความคิดของผมครับ เพราะจริงๆแล้วมันไม่ใช่ตัวเครื่องมือหรอก ที่ดีหรือเลว แต่มันอยู่ว่าเราเอาเครื่องมือนั้นไปใช้ยังไงมากกว่า

ในทางพุทธ จุดมุงหมายสูงสุดคือการทำความคิดความเห็นของเราให้ตรง ให้อยู่เหนือกิเลส ในการนี้ ผมมองว่าสมาธิมีประโยชน์อย่างน้อย 2 อย่าง คือ

1. สมาธิ ทำให้กิเลสอ่อนกำลังชั่วคราว หรือสงบลงชั่วคราวได้ สภาวะทีใจสงบชั่วคราวนี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้เริ่มฝึกวิปัสนา ผู้ฝึกวิปัสนาก็เหมือนผู้มองสิ่งที่เคลื่อนไหวผ่านไปมาบนท้องฟ้า สิ่งเคลื่อนไหวพวกนี้คืออารมณ์ความรู้สึกจากสิ่งกระทบต่างๆ ในสภาวะปกติ อากาศย่อมมีลมพัด ลมในที่นี้คล้ายสภาพจิตใจของผู้ฝึก วันปกติๆ ก็เป็นลมอ่อนๆ วันดีวันร้ายก็เป็นพายุ ย่อมเป็นการยากที่จะมองเห็นว่ามีอะไรบ้างอยู่บนท้องฟ้า ถ้ามีลม มีพายุ สมาธิ ทำให้ลมอ่อนกำลัง หรือสงบลง ย่อมเป็นการง่ายขึ้นที่จะพิจารณาว่ามีอะไรกำลังผ่านหน้าเราไปบ้าง และย่อมเห็นสิ่งที่ผ่านมาผ่านไปได้ชัดละเอียดขึ้น และนำไปสู้ปัญญาดังที่มีคำกล่าวว่า "สมถะเป็นบาทฐานแห่งวิปัสนา" และ "สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา (ภาวนามยปัญญา)"

2. เมื่อชำนาญขึ้นแล้ว สมาธิจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมกำลังให้กับสติ ทำให้สติเกิดบ่อยอย่างอัตโนมัติ และเกิดต่อเนื่องยาวนานมากขึ้น กิเลส เป็นสิ่งที่เราต้องรบด้วยทุกวันทุกเวลา ในการนี้ สมาธิจะช่วยลับสติ อาวุธหลักที่ใช้สู้กับกิเลสให้คมกล้า

แน่นอนอีกเช่นกัน ว่าสมาธิที่ถูกนำไปใช้ในทางอื่นนอกเหนือไปจากวิถีพุทธย่อมมี และย่อมให้ผลต่างกันออกไป แน่นอนว่าหากนำไปใช้ในทางเลวร้าย ผลย่อมออกมาเลวร้ายเกินจะจินตนาการได้ นอกจากนี้ทางอื่นเหล่านั้น ไม่ว่าผลที่ได้จะออกมาเป็นอย่างไร ก็เป็นแค่เปลี่ยนการยึด จากสิ่งหนึ่ง ไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง สุดท้ายแล้วย่อมไม่สามารถนำไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์ได้เลย

ดังนั้นการไม่ฝึกสมาธิ เพราะไม่อยากจะติดผลร้ายที่อาจเกิดจากสมาธิ จึงเป็นแนวคิดที่สมเหตุสมผล แต่จะไม่ดีกว่านั้นเหรอครับ หากเราศึกษาสมาธิในหลายๆด้าน ให้เข้าใจทั้งหมด ทั้งประโยชน์และโทษจากสมาธิ แล้วเลือกเอาแต่ประโยชน์มาใช้งาน ประกอบกับเฝ้าระวังโทษไม่ให้เกิดขึ้น ผมไม่เคยได้ยินว่ามีอาจารย์ท่านไหนที่บรรลุธรรมโดยไม่พึ่งสมาธิเลย นอกจากนี้ในมรรค หรือทางที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็มีสมาธิเป็น 1 ใน 8 องค์ประกอบด้วย ดังนั้นไม่น่าเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงธรรมะโดยไม่ใช้สมาธิเลย

มีดมีไม่ใช้เพราะกลัวมันบาด มันก็ย่อมบาดเราไม่ได้ครับ แต่เราจะทำกับข้าวยังไงละถ้าไม่ใช้มีดเลย คงทุลักทุเลน่าดูนะครับ

ขอตั้งข้อสังเกตเพิ่มด้วยดังนี้นะครับ ท่านต่างๆที่เชื่อว่ากำลังปฎิบัติตามแนวทางของพระพุทธองค์ ท่านศึกษาแนวทางนั้นจากทางไหนครับ

ท่านที่บอกว่าศึกษาจากพระโอษฐ์ ถ้อยคำแท้ๆจากพระโอษฐ์นั้นดับไปตั้งแต่เมือ 2500 ปีก่อนแล้วครับ คำพูด ย่อมดับไปทันทีที่กล่าวเสร็จ ที่เราอ่านๆท่องๆกันอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากการบอกต่อๆกันมา ผ่านการแปลมานับไม่ถ้วน ท่านรู้ได้อย่างไรว่าจะเหมือนคำจากพระโอษฐ์ 100%

ท่านที่บอกว่าศึกษาจากพระไตรปิฏก พระไตรปิฏกเป็นหนังสือแปลครับ edition ที่เท่าไรไม่ทราบได้ ท่านแน่ใจได้อย่างไรครับ ว่าข้อความในพระไตรปิฏก รวมถึงในหนังสือธรรมะเล่มอื่นๆ เชื่อได้ ตรงกับพระสัทธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ 100%

ท่านที่บอกว่าศึกษาจากอาจารย์ผู้ได้บรรลุธรรม ท่านทราบได้อย่างไรครับ ว่าอาจารย์ของท่านได้บรรลุธรรมจริงๆ ปกติแล้ว ย่อมเป็นการเกินวิสัยของผู้ที่ภูมิรู้ภูมิธรรมต่ำกว่าที่จะทราบได้ถึงภูมิรู้ของผู้มีภูมิสูงกว่า นอกจากนี้ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่าสิ่งที่อาจารย์สอนมา ตรงกับพระสัทธรรม100%

ความเชื่อ ย่อมเกิดจากศรัทธา และปัญญา

ความเชื่อที่เกิดจากศรัทธาโดยไม่ประกอบด้วยปัญญา (ภาวนามยปัญญา) ย่อมนำไปสู่ความงมงาย เป็นสีลัพพัต หนึ่งใน 10 สังโยชน์ ปรปักษ์ตัวร้ายของปัญญาที่จะนำไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง

ดังนั้นจึงยังไม่ควรปักใจเชื่อสิ่งใดอย่างสนิทใจตามที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ในกาลามสูตร 10 จะไม่เป็นการดีกว่าเหรอครับ ที่จะตรวจสอบความเชื่อจากศรัทธาว่าเป็นจริงหรือไม่ด้วยการปฎิบัติเองจนเกิดปัญญาก่อน ให้เห็นว่า อะไรถูก อะไรไม่ถูก แล้วจึงค่อยปักใจเชื่อ ความเชื่อที่ว่าเรากำลังเดินทางถูกทั้งๆที่ตัวเองยังไม่แน่ใจ100%ด้วยซ้ำว่าทางนั้นถูกจริงๆนี่ละครับ ที่ทำให้เราหลงกันอยู่ หลงโดยที่ไม่รู้ตัวว่าหลง เป็นกลลวงที่สุดแสนจะแยบคายของโมหะ ซ้ำร้ายหากผู้เดินนำหลงทางก็จะพาคนอื่นๆให้หลงตามไปด้วยได้อีก น่ากลัวจริงๆว่าไหมครับ ผมมองว่าเป็นบาปใหญ่ที่เกิดโดยเราไม่รู้ตัวเลยครับ ดังนั้นผมว่าควรจะระวังให้มากนะครับขณะจะเขียนข้อความ ควรมีการบอกกระตุ้นเตือนไว้ด้วย ว่ามีที่มาอย่างไร เป็นความคิดของท่าน หรือของใคร

สุดท้ายนี้ขออนุโมทนากับคุณ Supareak ที่ได้แสดงความคิดความเห็นอันน่าสนใจ แม้ว่าตัวผมเองจะมีความคิดเห็นต่างจากท่านในบางจุด และขออนุโมทนาในความพยายามของคุณกบ และความหวังดีของสมาชิกท่านอื่นๆที่ออกมาตักเตือนกัน ผมเพียงอยากเสนอความคิดของผม เผื่อว่าจะมีใครได้ประโยชน์ และเผื่อว่าตัวผมเองจะได้คำแนะนำดีๆจากท่านอื่นๆ ผมไม่มีเจตนาล่วงเกินใคร ผิดถูกอย่างไรโปรดพิจารณาก่อน หากท่านใดอ่านแล้วขัดเคืองใจต้องขออภัยด้วยครับ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


>> ในทางพุทธ จุดมุงหมายสูงสุดคือการทำความคิดความเห็นของเราให้ตรง ให้อยู่เหนือกิเลส

ความเห็นตรง หรือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ คือ ปัญญาที่ใช้ประหารกิเลสได้ เกิดจากการได้สดับรับฟังแต่บุคคลอื่น โสดาบัน มาจากคำส่า โสตตะ + ปัญญา + บุคคล แปลว่า บุคคลที่ได้ปัญญามาจากการศึกษาหรือการอ่านการฟัง

>> สมาธิ ทำให้กิเลสอ่อนกำลังชั่วคราว หรือสงบลงชั่วคราวได้

สาเหตุ หรือ เหตุปัจจัย ของกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ ที่นอนเนื่องอยู่ในจิตใจ สมาธิใช้ระงับที่ปลายเหตุ คือ ไประงับไม่ให้กิเลสส่งผลต่อจิตในปัจจุบันขณะ ด้วยการจดจ่ออารมณ์เดียว มีผลเฉพาะตอนที่จิตเป็นสมาธิเท่านั้น พอออกจากสมาธิ จิตก็กลับไปทำงานปกติเหมือนเดิม โลภะ โทสะ โมหะ ก็ไม่ได้ลดลงไปเลยแม้แต่น้อย เพราะฉะนั้น สมาธิจริงๆ แล้วใช้สำหรับหลบทุกข์ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ดับทุกข์ไม่ได้ ทำให้กิเลสอ่อนกำลังลงก็ไม่ได้

เพราะฉะนั้น สมาธิที่ปฏิบัติกัน จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญปัญญาเลย ความตั้งใจมั่นในมรรค ๘ หรือ สัมมาสมาธินั้นไม่ได้หมายถึงให้ไปนั่งสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เกิดจากปัญญา หรือเกิดจากการรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง

สมาธิอย่างมากที่สุดก็ทำได้เพีงหลบวิบากได้ชั่วคราวเท่านั้น หมดกำลังสมาธิก็ต้องกลับมาพบวิบากของกรรมเหมือนเดิม

จิตมัวหมองเพราะ โลภะ โทสะ โมหะ (อวิชชา) ทำให้คนเป็นคนเลว การที่คนจะคิดดีทำดี ต้องเอาชนะความพอใจ ไม่พอใจ และความหลงได้เท่านั้น (วิชชาหรือปัญญา) ในเมื่อสมาธิไม่ได้ลดโลภะ โทสะ โมหะลงเลยแม้แต่น้อย สมาธิ จึงไม่สามารถทำให้คนเป็นคนดีได้ สมาธิจึงไม่ใช่การฝึกฟอกจจิตใจให้บริสุทธิ์ สมาธิไม่ใช่การพัฒนาจิตใจ เป็นเพียงการเสวยอุเบกขาเวทนาที่เกิดจากการจดจ้องอารมณ์เดียว

อุปมาจิตเหมือนน้ำ ซึ่งเดิมน้ำนั้นโปร่งใสบริสุทธิ์ แต่น้ำขุ่นมัวด้วยโคลนตม (โคลนนั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ) การทำสมาธิ เหมือนการทำให้น้ำอยู่นิ่งๆ ดินโคลนก็ตกตะกอน น้ำก็กลับมาใสได้ พออกจากสมาธิ น้ำก็กลับมาขุ่นเหมือนเดิม เพราะน้ำมีเท่าเดิม ดินโคลนก็มีเท่าเดิม ไม่ได้หายไปใหน


>> ท่านที่บอกว่าศึกษาจากพระโอษฐ์ ถ้อยคำแท้ๆจากพระโอษฐ์นั้นดับไปตั้งแต่เมือ 2500 ปีก่อนแล้วครับ คำพูด ย่อมดับไปทันทีที่กล่าวเสร็จ ที่เราอ่านๆท่องๆกันอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากการบอกต่อๆกันมา ผ่านการแปลมานับไม่ถ้วน ท่านรู้ได้อย่างไรว่าจะเหมือนคำจากพระโอษฐ์ 100%

ผู้นำพระพุทธพจน์มาบอกต่อ คือ พระอรหันต์ที่ถูกคัดเลือกแล้วจำนวน ๕๐๐ รูป ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไป ผู้ทำพระไตรปิฏกก็คือพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูป การกล่าวคำเท็จ หรืออ้างว่าพระพุทธองค์ตรัสว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัส หรือบอกว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ไม่มีปรากฏในอรหันตสาวก

ความจริงแก้ไขไม่ได้ เหมือนสูตรคูณที่แก้ไม่ได้ เช่น น้ำเย็น ไฟร้อน ฯ เป็นความจริงตามธรรมชาติที่แก้ไขไม่ได้ พระไตรปิฏกบันทึกความจริง จึงตรวจสอบได้ คำสอนนั้นสรุปได้เพียง ๒ เรื่อง คือ ทุกข์กับการดับของทุกข์ ถ้านำมาปฏิบัติแล้วดับทุกข์หรือเข้าถึงความดับของทุกข์ไม่ได้ทันทีที่ปฏิบัติ ก็คือ ไม่ใช่คำสอนที่ถูกต้องครบถ้วน คำสอนของพระพุทธองค์จึงมีไว้ให้พิสูจณ์ ให้ทดลองด้วยตนเอง จะรู้ได้เฉพาะตน

การตรวจสอบในทางโลก พระไตรปิฏกเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อราวๆ พ.ศ. ๒๒๐ มีบันทึกไว้ในสมุดใบลานหรือสมุดข่อย มีมาจยถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นจึงสามารถตรวจสอบได้ว่า ฉบับปัจจุบันมีการแก้ไขหรือไม่


>> ท่านที่บอกว่าศึกษาจากอาจารย์ผู้ได้บรรลุธรรม ท่านทราบได้อย่างไรครับ ว่าอาจารย์ของท่านได้บรรลุธรรมจริงๆ ปกติแล้ว ย่อมเป็นการเกินวิสัยของผู้ที่ภูมิรู้ภูมิธรรมต่ำกว่าที่จะทราบได้ถึงภูมิรู้ของผู้มีภูมิสูงกว่า นอกจากนี้ท่านแน่ใจได้อย่างไรว่าสืีงที่อาจารย์สอนมา ตรงกับพระสัทธรรม100%

เพราะนำคำของท่านมาปฏิบัติตามแล้ว ดับความพอใจไม่พอใจและความหลง ดับกิเลสตัณหา ดับทุกข์ หรือทำให้จิตเป็นกุศลได้ทันทีที่นำมาปฏิบัติ

>> ความเชื่อ ย่อมเกิดจากศรัทธา และปัญญา

ปัญญาใช้ประหานความเชื่อ มีปัญญาแล้ว รูปเห็นความจริงแล้ว ความเชื่อก็ดับไป ความเชื่อเกิดจากความไม่รู้ หรือ อวิชชา

ได้ยินมาแล้ว ปฏิบัติแล้ว เห็นผลแล้ว จึงเอามาบอก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เพ้อเจ้อ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2011, 01:57
โพสต์: 324

แนวปฏิบัติ: อริยสัจ4
อายุ: 27
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ปัญญาที่ใช้ประหารกิเลสได้ เกิดจากการได้สดับรับฟังแต่บุคคลอื่น


สุตมยปัญญาตัดกิเลสขาดได้เหรอครับ

อ้างคำพูด:
สมาธิที่ปฏิบัติกัน จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญปัญญาเลย


ผมกลัวประโยคนี้จังเลยครับ

ผมเห็นด้วยนะครับ ที่ว่าสมาธิทำให้กิเลสสงบได้แค่ชั่วคราว แต่สภาวะที่ว่ากิเลสสงบชั่วคราวเนี่ยละครับ เอามาใช้ดูจิตดูใจได้ดี ทำให้หลายๆคนได้ภาวนามยปัญญาครับ

อ้างคำพูด:
อุปมาจิตเหมือนน้ำ ซึ่งเดิมน้ำนั้นโปร่งใสบริสุทธิ์ แต่น้ำขุ่นมัวด้วยโคลนตม (โคลนนั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ) การทำสมาธิ เหมือนการทำให้น้ำอยู่นิ่งๆ ดินโคลนก็ตกตะกอน น้ำก็กลับมาใสได้ พออกจากสมาธิ น้ำก็กลับมาขุ่นเหมือนเดิม เพราะน้ำมีเท่าเดิม ดินโคลนก็มีเท่าเดิม ไม่ได้หายไปใหน


ตรงนี้ผมเห็นด้วยครับ แต่ว่าถ้าเราไม่ทำน้ำให้นิ่งลงบ้างก่อน เราจะมองเห็นได้เหรอครับว่าในน้ำมีอะไรปนอยู่บ้าง และถ้าเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีอะไรปนอยู่บ้าง เราจะขจัดออกได้อย่างไรละครับ

อ้างคำพูด:
ผู้นำพระพุทธพจน์มาบอกต่อ คือ พระอรหันต์ที่ถูกคัดเลือกแล้วจำนวน ๕๐๐ รูป ไม่ใช่คนธรรมดาทั่วไป ผู้ทำพระไตรปิฏกก็คือพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูป การกล่าวคำเท็จ หรืออ้างว่าพระพุทธองค์ตรัสว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัส หรือบอกว่าพระพุทธองค์ไม่ได้ตรัสว่าพระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ ไม่มีปรากฏในอรหันตสาวก


มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นเหรอครับ ที่นำพระธรรมมาบอกต่อ มีความเป็นไปได้บ้างไหมครับ ที่ช่วงหลังๆบันทึกพระธรรมเหล่านั้นถูกส่งผ่านถึงชาวบ้านธรรมดา บวกกับเวลาที่ยาวนาน บวกกับการแปลภาษา ทำให้คลาดเคลื่อนไปจากถ้อยคำดั้งเดิมได้บ้าง ตรงนี้ผมไม่มีเจตนาจะบอกทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมว่า "พระธรรม" ไม่ถูกต้องนะครับ ผมเพียงจะเสนอแนวคิดที่ว่า "ข้อความ" อาจจะคลาดเคลื่อนไปได้บ้างจากเหตุผลต่างๆที่เสนอไว้ข้างต้น ทำให้เราต้องใช้ความพยายามเพื่อจะเข้าถึง "ใจความ" โดยการดูพิจารณาใคร่ครวญให้ดีก่อน ให้เห็นให้แน่ใจจริงๆก่อนว่าเป็นเช่นนั้น จึงค่อยเชื่อ

.....................................................
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นคือความจริง การฝืนความจริงทำให้เกิดทุกข์ การเห็นและยอมตามความจริงทำให้หายทุกข์

คนที่รู้ธรรมะ มักจะชอบเอาชนะผู้อื่น แต่คนเข้าใจธรรมะ มักจะเอาชนะใจตนเอง

สัพเพ ธัมมา อะนัตตาติ ยะทา ปัญญายะ ปัสสะติ
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

อะถะ นิพพินทะติ ทุกเข เอสะ มัคโค วิสุทธิยา
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมหมดจด

.....ติลักขณาทิคาถา.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2011, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


>> สุตมยปัญญาตัดกิเลสขาดได้เหรอครับ

ปัญญามีเหตุการเกิดตามเหุตปัจจัย นอกจากบุญญาบารมีที่สั่งสมมาแล้ว ส่งผลให้มาเกิดในดินแดนที่ประเสริฐ มีพุทธศาสนาตั้งอยู่ จะต้องได้พบกับสัตตบุรุษ ได้ฟังธรรมจากสัตตบุรุษ จนเกิดมีดวงตาเห็นธรรม จากนั้นจึงมาเจริญปัญญาให้หนาแน่นขึ้น สรุปเป็นภาษาคนง่ายๆ ว่า ปัญญาหรือความรู้ที่ดับทุกข์ได้ของเหล่าสาวก มาจากการเรียนรู้และฝึกฝน ... ถ้าไม่ได้เรียนจนรู้แล้วจะเอาอะไรมาฝึก?

ถ้ารู้เอง ก็คือการสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ... สาวกได้รับการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ซึ่งก็คือ ปัญญา ที่เรากำลังพูดถึง

ถ้าสัตตบุรุษท่านสุดท้ายสิ้นไป ก็คือ ไม่มีคนสอนแล้ว ศาสนาพุทธของโลกนี้ก็ถือได้ว่า จบลงไปแล้ว ต้องรอพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ ... เรายังมีพระไตรปิฏกเหลือยู่ แต่ถึงจะเหลือคำสอนที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าคนบุญบารมีไม่ถึงมาอ่าน ก็จะเอาความเห็นไปตีความความจริงตามวิสัยปุถุชน ก็จะค้นหามรรคไม่เจอโดยง่าย


>> ผมเห็นด้วยนะครับ ที่ว่าสมาธิทำให้กิเลสสงบได้แค่ชั่วคราว แต่สภาวะที่ว่ากิเลสสงบชั่วคราวเนี่ยละครับ เอามาใช้ดูจิตดูใจได้ดี ทำให้หลายๆคนได้ภาวนามยปัญญาครับ

มันทำได้แต่ในความคิดเท่านั้นแหละครับ จริงๆ พอสงบนิ่งแล้วมันจะไม่คิดอะไร และจะพาให้ติดสงบ หลงไปในทางของมาร คำว่า ภาวนา มาจากคำเต็มว่าวิปัสสนาภาวนา ทำได้ทุกอริยาบท ทำได้ตั้งแต่ตื่นจนหลับ ... ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมแล้ว จะปฏิบัติบุญกริยาวัตถุ ๓ ดังนี้

ทาน การลดความตระหนี่ ผู้มีความตระหนี่ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ ความตระหนี่ ๕ ประการ คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ ความตระหนี่วรรณ ความตระหนี่ธรรม อาการตระหนี่ ความเป็นผู้ประพฤติตระหนี่ ความเป็นผู้ปรารถนาต่างๆ ความเหนียวแน่น ความเป็นผู้มีจิตหดหู่ เจ็บร้อนในการให้ ความที่จิตอันใครๆ ไม่เชื่อถือได้ในการให้ ความตรหนี่ขันธ์ ความตระหนี่ธาตุ ความตระหนี่อายตนะ ความมุ่งจะเอา ชนผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ ไม่รู้จักถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ประมาทอยู่แล้ว ผู้มีความตระหนี่อย่างนี้ ชื่อว่าผู้ตกต่ำ การกำจัดความตระหนี่คือการรู้จักให้ทาน

ศีล การรักษาศีล การ ตั้งอยู่ ติดแน่น เข้าถึง ติดพัน ติดใจ ข้อง เกี่ยว เกาะเกี่ยว ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การกล่าวคำเท็จ คำส่อเสียด คำหยาบ คำพ้อเจ้อ ความเพ่งเล็ง ความปองร้าย ความเห็นผิด สังขารทั้งหลาย กามคุณ ๕ นิวรณ์ ๕ ความคิดอ่าน ความปรารถนา ความตั้งใจ อันชื่อว่า เป็นผู้ตกต่ำ ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ จึงต้องรู้จักศีล รักษาศีล เพื่อครองตนให้พ้นจากความตกต่ำ

ภาวนา การใช้ปัญญาปหาน ปัญญาเรียกว่าธี ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว ความเลือกเฟ้นธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้มีปัญญารักษาตน ปัญญาเป็นเครื่องจำแนก ปัญญาเป็นเครื่องคิด ปัญญาเป็นเครื่องเข้าไปเห็น ปัญญาอันกว้างขวางดุจแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ปัญญาเป็นเครื่องเห็นแจ้ง ความรู้สึกตัว ปัญญาเป็นเครื่องเจาะแทง ปัญญาเป็นเครื่องเห็นชัด ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาเป็นศาตรา ปัญญาเพียงดังปราสาท ปัญญาอันสว่าง ปัญญาอันแจ่มแจ้ง ปัญญาอันรุ่งเรือง ปัญญาเป็นดังแก้ว ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา [ที่เรียกว่า ธี] นั้น จึงชื่อว่า ธีรา [นักปราชญ์]


>> มีแต่พระอรหันต์เท่านั้นเหรอครับ ที่นำพระธรรมมาบอกต่อ

เราถึงถูกเรียกว่า เถระวาท มาจากคำว่า เถระวาทะ หรือ เป็นคำพูดของพระเถระนำสืบต่อกันมา พระไตรปิฏกมาจากการสวดปาติโมกข์ทุก ๑๕ วันของพระผู้ใหญ่ที่ถูกคัดเลือกมาแล้ว สวดติดต่อกันมาประมาณ ๒๒๐ ปี เมื่อศาสนาถึงคราวเสื่อมลง (มีพระอรหันต์เหลือประมาณ ๑๐๐๐ รูปเท่านั้น) จึงได้มีการจดบันทึกขึ้นในสมัยการสังฆยานาครั้งที่ ๓ ในประเทศอินเดีย สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จากนั้นพระไตรปิฏกก็ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย และคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

พระพุทธองค์มีพระปาติโมกข์กล่าวไว้ว่า ได้ยินได้ฟังอะไรมา ก็ให้ไปเทียบธรรมวินัยดูก่อน ถ้าจัดลงในพระสูตรพระวินัยไม่ได้ ย่อมไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์แน่นอน (หลักมหาประเทศ ๔) นอกจากนั้น ท่านยังตรัสไว้ว่า ผู้ที่ยังดับด้วยตนเองไม่ได้จะสอนให้ผู้อื่นดับตามนั้น เป็นเหตุที่เป็นไปไม่ได้

พวกที่ยังดับด้วยตัวเองไม่ได้ ทำตัวเป็นอาจารย์สอน ก็เหมือนกับคนไม่จบหมอมาตั้งโรงเรียนสอนหมอนั่นแหละครับ ถ้าคนเรียนไม่รู้ ก็ไม่ต่างอะไรกับตาบอดจูงมือตาบอดเดิน สังคมพุทธเราเป็นแบบนี้มากว่า ๑๔๐๐ ปีแล้วละครับ


>> บวกกับเวลาที่ยาวนาน บวกกับการแปลภาษา ทำให้คลาดเคลื่อนไปจากถ้อยคำดั้งเดิมได้บ้าง

ด้วยเหตุนี้ ภาษาที่ตายแล้ว (ภาษาที่ไม่มีคนใช้) ภาษาที่มีรากศัพท์ อย่าง บาลี จึงถูกนำมาเป็นภาษาที่ใช้สอนความจริง ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพราะความหมายชัดเจน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง (คำเกิดจากการรวมตัวของธาตุ ธาตุแต่ละธาตุมีความหมายเฉพาะแบ่งแยกไ่ม่ได้อีก การรวมคำเพื่อสร้างคำใหม่อยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่ชัดเจน) เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ใช้ภาษาลาตินสื่อสารกัน

ผู้ทีได้วิปัสสนา จะรู้ได้ด้วยตนเองว่า ความพอใจไม่พอใจและความหลงดับได้ทันที จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อใครในคำสอนของพระศาสดา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 01:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
Supareak Mulpong เขียน
เพราะฉะนั้น สมาธิที่ปฏิบัติกัน จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญปัญญาเลย ความตั้งใจมั่นในมรรค ๘ หรือ สัมมาสมาธินั้นไม่ได้หมายถึงให้ไปนั่งสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เกิดจากปัญญา หรือเกิดจากการรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง


ไม่รู้ผมเข้าใจตรงกับท่านหรือปล่าวว่า การที่ท่านเป็นอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้อาศัยท่านั่งสมาธิเพื่อเจริญวิปัสนาภาวนาอย่างนั้นหรือ ท่านจะให้คนอื่นเขามองท่านว่าเป็นผู้ที่มีปัญญาแต่ไม่มีสมาธิอย่างนั้นหรือ แล้วท่านจะให้คนอื่นเขามองท่านว่าเป็นผู้ปฏิเสธการนั่งสมาธิที่เป็นความเพียรที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่ท่านเห็นเป็นแค่ข่มกิเลสไม่ใช่หนทางแห่งปัญญาแล้วบอกว่าตัวท่านมีสัมมาสังกัปปะและสัมมาทิฏฐิตามทางแห่งมรรค8อย่างนั้นหรือ
แล้วถ้าผมจะพูดว่า อิริยาบท คือการเคลื่อนไหวร่างกาย กับ ความเพียรอันมีความหมายว่านั่งขัดสมาธินั้นแตกต่างกัน แล้วผมยกคำตรัสของพระพุทธเจ้าว่า
"จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะยังไม่สิ้นอุปาทานเพียงได เราจักไม่เลิกถอนการนั่งขัดสมาธิเพียงนั้น" แล้วท่านจะให้คำจำกัดความของตัวท่านว่าอย่างไร?
เจริญธรรมครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล ศีลเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เกิดสมาธิ ที่จิตใจคนเราไม่เป็นสมาธิ เพราะฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านเกิดจากจิตที่เป็นอกุศล ปัญญาใช้ดับอกุศล ทำให้จิตเป็นกุศล หรือดับความฟุ้งซ่านที่ต้นเหตุ เมื่อไม่มีเหตุของความฟุ้งซ่าน จิตก็สงบเป็นปกติ เป็นสมาธิที่มั่นคง เรียกว่า อริยสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิหรือสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา หรือสมาธิในมรรค ๘

สมาธิในมรรค ๘ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ หรือ ขณิกกะสมาธิ

>> "จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะยังไม่สิ้นอุปาทานเพียงได เราจักไม่เลิกถอนการนั่งขัดสมาธิเพียงนั้น"

พิจารณาดีๆ นะครับ ความตอนนี้ พระพุทธองค์ท่านตรัสถึงตัวท่านเอง หรือ ท่านเล่าให้ฟัง ไม่ได้ให้ปฏิบัติ เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลานที่จะตรัสรู้ ถ้าท่านนำไปปฏิบัติ แปลว่า ท่านปฏิบัติตามเจ้าชายสิทธถะ ไม่ได้ปฏบัติตามพระพุทธเจ้าโคตมะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ผู้ไร้สมาธินั้นไม่มีปัญญา

วิธีการเจริญสมาธิตามหลักมรรคแปดมีไว้ชัดเจน

การนั่งบำเพ็ญสมาธิตามหลักอานาปานสติก็เป็นวิธีหนึ่งในหลายๆวิธีของการนั่งบำเพ็ญเจริญสมาธิเพื่อปัญญา

หรืออย่า่งน้อยเพื่่อตัดกิเลสด้วยสมาธิแม้จะชั่วคราว

การกล่าวว่า



อ้างคำพูด:
Supareak Mulpong เขียน
เพราะฉะนั้น สมาธิที่ปฏิบัติกัน จึงไม่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญปัญญาเลย ความตั้งใจมั่นในมรรค ๘ หรือ สัมมาสมาธินั้นไม่ได้หมายถึงให้ไปนั่งสมาธิ แต่เป็นสมาธิที่เกิดตามธรรมชาติ เกิดจากปัญญา หรือเกิดจากการรู้เท่าทันโลกและชีวิตตามความเป็นจริง


จึงเป็นจินตนาการ หรือร้ายไปกว่านั้นคือ อวิชชา

Supareak Mulpong พยายามทำตัวเป็นพระพุทธเจ้าครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ปัญญาเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดศีล ศีลเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้เกิดสมาธิ ที่จิตใจคนเราไม่เป็นสมาธิ เพราะฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านเกิดจากจิตที่เป็นอกุศล ปัญญาใช้ดับอกุศล ทำให้จิตเป็นกุศล หรือดับความฟุ้งซ่านที่ต้นเหตุ เมื่อไม่มีเหตุของความฟุ้งซ่าน จิตก็สงบเป็นปกติ เป็นสมาธิที่มั่นคง เรียกว่า อริยสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิหรือสมาธิที่ประกอบด้วยปัญญา หรือสมาธิในมรรค ๘

สมาธิในมรรค ๘ แปลว่า ความตั้งมั่นชอบ หรือ ขณิกกะสมาธิ

>> "จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะยังไม่สิ้นอุปาทานเพียงได เราจักไม่เลิกถอนการนั่งขัดสมาธิเพียงนั้น"

พิจารณาดีๆ นะครับ ความตอนนี้ พระพุทธองค์ท่านตรัสถึงตัวท่านเอง หรือ ท่านเล่าให้ฟัง ไม่ได้ให้ปฏิบัติ เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลานที่จะตรัสรู้ ถ้าท่านนำไปปฏิบัติ แปลว่า ท่านปฏิบัติตามเจ้าชายสิทธถะ ไม่ได้ปฏบัติตามพระพุทธเจ้าโคตมะ


ก่อนจะสนทนาต่อขอถามว่า"Supareak Mulpong"] ตรัสรู้แล้วหรือครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 15:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธ แปลว่า รู้ ผมเป็นชาวพุทธ พูดได้เต็มปากเต็มคำว่ารู้แล้ว เห็นแล้ว ตื่นแล้ว รู้แล้วว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือการเกิดดับของทุกข์ รู้ชัดว่าทำอย่างไรจึงดับทุกข์ได้ ดับความพอใจไม่พอใจทีเกิดร่วมกับจิตปัจจุบันได้ ไม่ใช่ผมคนเดียวที่ปฏิบัติ มีเป็นจำนวนหลายร้อยในขณะนี้

Quote Tipitaka:
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบการงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.


พระพุทธองค์ตรัสอธิบายมรรค ๘ ไว้ตามนี้ ... ผมเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เอาคำของพระพุทธองค์มาบอกต่อ

อานาปานสติ เป็นการฝึกสมาธิของพระอริยสงฆ์ สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา สำหรับผู้ที่มีปัญญาแล้ว สมาธิไม่ใช่เครื่องมือสร้างปัญญา พุทธประวัติหน้าแรก พระพุทธองค์ก็ตรัสไว้ว่า ไม่มีปัญญาอะไรในสมาธิที่จะเอามาดับทุกข์ได้

คำสอนที่ได้ยินต่อๆ กันมาที่บอกว่า ให้ไปทำสมาธิให้จิตสงบให้มีกำลังก่อนแล้วค่อยมาวิปัสสนา ไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฏก ไม่ถูกต้องตามหลักของเหตุปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พุทธ แปลว่า รู้ ผมเป็นชาวพุทธ พูดได้เต็มปากเต็มคำว่ารู้แล้ว เห็นแล้ว ตื่นแล้ว รู้แล้วว่าอะไรคือทุกข์ อะไรคือการเกิดดับของทุกข์ รู้ชัดว่าทำอย่างไรจึงดับทุกข์ได้ ดับความพอใจไม่พอใจทีเกิดร่วมกับจิตปัจจุบันได้ ไม่ใช่ผมคนเดียวที่ปฏิบัติ มีเป็นจำนวนหลายร้อยในขณะนี้


แล้วดับทุกข์ได้แล้วหรึอ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2011, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ดับได้ แต่ไม่ตลอดเวลา ถ้าดับได้ตลอดเวลา ก็คือบรรลุถึงอรหันต์แล้ว ตอนนี้ทำได้เพียงให้มันเกิดขึ้นเบาบางลง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 264 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร