วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 264 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 22:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ทักษา เขียน:

อ่อคับๆๆ...ตาลายไปหน่อย...เข้าไปแก้ให้แล้วครับ :b12: :b12: :b12:


ขอบคุณคราบบ... :b8:


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มรรค มีศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุมรถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อมีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน

กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธมีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดยความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้
(พราหมณสูตร)


ใครจะเป็นอริยะไม่สำคัญ สำคัญว่า คุณเป็นอริยะหรือยัง ...

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 22:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


นักเรียนให้คะแนนตัวเอง...ได้...ก็คงไม่มีใครสอบตก

กระผมดูแต่สังโยชน์ที่มันรัดตัวกระผมเอง...ก็ทุกข์หนักเอาการ

ส่วน..ใครเป็นอริยะแล้ว...ก็สาธุด้วย...
เพราะเป็นเรื่องที่น่ายินดี..ด้วยจริง ๆ


โพสต์ เมื่อ: 16 มี.ค. 2011, 22:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


"อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธาเป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุมรถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อมีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน กุลบุตรใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษมจากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคลเหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดย ความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้"


พระสูตรนี้ไพเราะยิ่งนัก พระสูตรนี้ไพเราะยิ่งนัก
:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 05:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักษา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
ผมว่าคุณกำลังปล่อยไก่ฝูงใหญ่อยู่นะครับ

สรุปแล้วเรื่องนี้ไม่สำคัญหรอกครับ เรามาสนทนากันเรื่องทำสมาธิดีกว่าครับ
เข้าประเด็นเลยครับ เรื่องโคลัมบัส เรื่องไรต์ปล่อยมันไปเหอะ
:b12: :b12: :b12:

ทำไมมันจะไม่สำคัญครับ มันเป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับกระทู้นี้เลยล่ะครับ
เพราะคุณมัวแต่อยู่ในสมาธิ เหตุการมันเปลี่ยนไปแล้ว ไม่รู้จักใช้สติให้อยู่กับปัจจุบัน
เนื้อหาที่สื่อมันก็ผิดซิครับ

ผมจะชี้ให้คุณเห็นว่า การดำรงค์ชีวิตของมนุษย์มันสำคัญที่ สติไม่ใช่ที่สมาธิ
การไม่ใช้สติหรือการใช้สติที่บกพร่อง มันจะทำให้เกิดการผิดพลาด หลงผิดจากเนื้อหาที่เป็นจริงครับ
สิ่งที่เรากำลังค้นหาเพื่อรู้ มันต้องใช้สติเป็นเครื่องมือครับ และสติที่ดี ก็คือสติที่มีความฉับไว รวดเร็ว

สิ่งที่เราควรจะฝึกคือสติครับ สติที่ว่า ไม่ใช่สติที่ทำให้เกิดอารมณ์ๆเดียวที่เรียกสมาธินะครับ
สติที่ดีคือสติที่ตามระลึกรู้กับเหตุที่เป็นปัจจุบัน อายตนะภายในของเรา ถ้ามีอันไหนที่ทำงาน
ไปรับอายตนะภายนอก เกิดผัสสะอะไรขึ้นสติก็ตามรู้ได้ทันท่วงที

สมาธิที่ดีต้องไม่เกิดจากการไปบังคับอายตนะ ให้ทำงานหรือไม่ให้ทำงานครับ
การนั่งทำสมาธิเป็นการบังคับอายตนะให้เกิดสมาธิ การทำแบบนี้มันไม่ใช่ธรรมชาติ
ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง
สมาธิที่เป็นธรรมชาตินั้นเกิดจากสติที่ตามรู้ผัสสะตามความเป็นจริง
ไม่ใช่ผัสสะที่ได้รับเปลี่ยนไปแล้ว แต่อารมณ์ยังยึดติดอยู่กับผัสสะอันเดิม อันนี้มันผิดจากความจริง

แล้วช่วงไหนถึงเรียกสมาธิ อย่าลืมครับว่าจิตคนเราไวก็จริง แต่มักจะห้วนกลับไปหาผัสสะอันเก่า
ที่เป็นอดีต เราต้องใช้สติให้ระลึกรู้กับผัสสะปัจจุบันให้นานที่สุด แบบนี้ครับที่เรียกสมาธิตามธรรมชาติ

ผมเห็นด้วยกับคุณซุปที่ว่า การฝึกสมาธิไม่มีความจำเป็น แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีความสำคัญ
สมาธิต้องเกิดจากเหตุที่เป็นจริง ไม่ใช่เกิดจากการสร้าง การบังคับ เมื่อสมาธิที่เกิดจากความไม่จริง
สภาวะต่างๆที่เกิดตามหลังสมาธินี้ มันก็ไม่จริงหรอกครับ มันเป็นจินตนาการของจิต

สิ่งที่เราควรฝึกคือสติ ฝึกให้สติมีความฉับไว เกิดผัสสะใดขึ้นก็รับรู้ไปตามจริง
และรู้ทันต่อเหตุนั้น ไม่ควรบังคับอายตนะภายในให้เกิดสมาธิ เพราะจะทำให้
สติไม่คล่องตัวต่อการรับรู้เหตุที่เป็นปัจจุบันครับ


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 ม.ค. 2011, 09:16
โพสต์: 158

แนวปฏิบัติ: พุธโท
งานอดิเรก: นั่งสมาธิ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรัชญา
ชื่อเล่น: T^^T
อายุ: 23
ที่อยู่: ลำปาง

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิมี2ประเภท 1 มิจฉาสมาธิ 2 สัมมาสมาธิ สมาธิแรกคือพวกที่ฝึกสมาธิโดยไม่มีศีลกำกับ ฝึกเพื่อให้เกิดริดเดสแล้วก็ไปหลอคนนั้นคนนี้ ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ ส่วนสัมมาสามาธิ ไม่ต้องอธิบาย :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ดูก่อu!!!ภิกษุทั้งหลาย!!!คนพาลเขากลัวยากจนจึงไม่รู้จักขวนขวายในการให้ทาน!!!ส่วนบัณฑิตชนเขากลัวยากจนจึงรู้ขวนขวายในการให้ทาน!!!


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อริยะๆๆ พูดกันบ่อย ลองดูว่ามีต้นสายปลายเหตุมายังไง เมื่อพุทธศาสนานำมาใช้แล้วให้ความหมายยังไง แล้วทำยังไงจึงเป็นอริยะในแง่พุทธศาสน์
ศึกษาดู

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?t ... 17#msg7017

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สงฆ์ หรือ สังฆะ คือ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยบุคคล ๔ คู่ นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามีมรรค สกิทาคามีผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล อรหันตมรรค อรหันตผล เป็นผู้ปฏิบัติตรงไปที่การดับทุกข์ ฯ ถ้าบวชเรียกพระสงฆ์ นอกจากนั้น ยังไม่ถือว่า เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สมาธิ คือ ความสงบของจิต สติ คือ ธรรมชาติที่ระลึกถึงความทรงจำเดิมในจิต วิปัสสนา คือ ปัญญาที่เอามาดับทุกข์ได้

กิจกรรมปกติตองคนเรา มีสมาธิประกอบเสมอ ถ้าไม่มีสมาธิ เราจะทำอะไรไม่ได้เลย เรียกว่า ขณิกสมาธิ ส่วนสติ เป็นธรรมชาติที่เจริญไม่ได้ มันทำงานเป็นอัตโนมัติ การฝึกให้รู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ไม่หลงลืม เรียกว่า การฝึก สัมปชัญญะ เมื่อฝึกมากๆ ในสัญญาหรือความจำก็จะเก็บสัมปชัญญะไว้ สติจึงไปลากเอาสัมปชัญญะ ออกมาได้ เรียกว่า การฝึกให้เกิดสติสัมปชัญญะ

การทำให้เกิดสติปัญญา คือ สะสมปัญญาไว้ในสัญญามากๆ สติปัญญาจึงจะเกิด

สติปัฏฐาน คือ สภาวะที่ระลึกถึงโลกและชีวิตเกือบตลอดเวลาว่า มันไม่เที่ยงฯ (กาย เวทนา จิต คือ ชีวิต ธรรม คือ โลก) ผู้รู้เห็นว่า กายไม่เที่ยงเป็นปกติ เวทนาไม่เที่ยงเป็นปกติ จิตไม่เที่ยงเป็นปกติ ธรรมทั้งหมดไม่เที่ยงเป็นปกติ คือ อริยบุคคล หรือ ผู้ที่มีสติปัญญาแล้ว ... พระพุทธองค์แสดงไว้ว่า วิปัสสนา ทำให้เกิดมรรค มรรคทำให้เกิดสติปัฏฐาน

การาฝึกสติในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็น อนุ ของ วิปัสสนา คือ เอาอาสวะกิเลสที่เหลือมาเป็นจุดสังเกตุเพื่อช่วยให้เกิดวิปัสสนา เห็นกายในกาย (กายานุปัสสนา) เป็นการพิจารณากายเป็นโสโครก ๓๒ ถ้ายังมีความคิดเหลือว่า กายนี้ ก็ให้วิปัสสนาต่อไป พิจารณารูปขันธ์ว่า มันไม่เที่ยงฯ เห็นเวทนาในเวทนา (เวทนานุปัสสนา) คือ สังเกตุว่า ยังมีความพอใจ ไม่พอใจ เกิดขึ้นมาบ้างหรือเปล่า ถ้ายัวมีอยู่ คือ โลภะโทสะโมหะยังมีอยู่ ก็ให้วิปัสสนาต่อไป เห็นจิตในจิต (จินตานุปัสสนา) คือ สังเกตุว่า จิตยังเป็นอกุศลเกิดขึ้นอยู่หรือเปล่า ถ้ายังเกิดมีอยู่ ก็ให้วิปัสสนาต่อไปอีก เห็นธรรมในธรรม (ธัมานุปัสสนา) คือ ถ้ายังเห็นความเห็นสมมุติของวัตถุอยู่ ก็ให้วิปัสสนาต่อ

การตั้งฐานของสติไว้ ๔ จุดนี้ เป็นการฝึกมหาสติ เป็นการฝึกของอริยะบุคคล ผู้ทรงคุณอย่างน้อยโสดาปัตติลเป็นต้นไป เพื่อบรรลุอรหันต์ผล ล่วงทุกข์ทั้งปวงในชาตินี้ ... ถ้าไม่ประกอบด้วยวิปัสสนา ตามดูเฉยๆ จะได้แต่สมถะที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา หรือ ชวนะจิตจะเสพ อุเบกขาเวทนา แทนที่จะได้เสพ อโภะ อโทสะ อโมหะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทักษา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สิ่งที่เราควรจะฝึกคือสติครับ สติที่ว่า ไม่ใช่สติที่ทำให้เกิดอารมณ์ๆเดียวที่เรียกสมาธินะครับ
สติที่ดีคือสติที่ตามระลึกรู้กับเหตุที่เป็นปัจจุบัน อายตนะภายในของเรา ถ้ามีอันไหนที่ทำงาน
ไปรับอายตนะภายนอก เกิดผัสสะอะไรขึ้นสติก็ตามรู้ได้ทันท่วงที


งั้นถ้าการฝึกสมาธิไม่สามาถทำให้คนเราเกิดสติ มนุษย์ดำรงชีวิตโดยการ
ไม่มีสมาธิ แล้วสติเกิดมาจากไหนครับ ถ้าเราทำอะไรโดยไม่มีสมาธิ


คุณทักษาครับ ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนครับว่า สมาธิมีเหตุมาจากการ ที่สติไประลึกรู้
ผัสสะอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง พูดง่ายๆว่าสมาธิเกิดจากสติ

ส่วนสติเกิดจากสัญญา ที่เราไปรู้ไว้ในอดีตที่เรียกความจำ
การดำรงชีวิตของเราจำเป็นต้องใช้สติเป็นตัวนำ และใช้สมาธิไปตามกาลครับ
ที่ว่าตามกาลมันหมายถึง เราจำเป็นต้องใช้อายตนะหรือผัสสะตัวไหน ตามเหตุการณ์
ภายนอกหรืออายตนะภายนอกที่ได้รับ

พูดไปอาจไม่เข้าใจ ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆให้ดูครับ สมมุติคุณเดินไปที่ไหนสักแห่ง
ระหว่างที่เดิน สติคุณจะระลึกรู้อยู่ที่ทางเดิน ช่วงเวลาที่คุณเดินอยู่ตาของคุณก็จะจับจ้องอยู่ที่ถนน
ตลอดเวลา ขณะตาดูอยู่นั้นสติจะจดจ่อแต่ที่ถนน ลักษณะนี้แหล่ะครับที่เรียกว่าสมาธิ
ถ้าเดินมาพอประมาณ หูคุณได้ยินแตรรถ ผัสสะที่ได้รับมันเปลี่ยนเป็นที่หูแล้ว ช่วงเวลาที่ได้ยินเสียงแตร
เราจะระลึกที่สัญญาของเสียงว่า อันตราย เราจะหยุดเดิน ตัวที่ทำให้เราหยุดเดิน
เขาเรียกสติทันต่อผัสสะที่เกิดครับ สติตัวนี้ไม่ได้เป็นสติที่เป็นสมาธิแล้วครับ

ถึงได้ว่า สติต้องปล่อยให้เกิดไปตามเหตุ สมาธิก็ต้องปล่อยให้เกิดเองตามเหตุตามกาลแห่งสติ
การบังคับอายตนะส่วนอื่นไม่ให้ทำงาน(การทำสมาธิ) มันเป็นโทษเป็นผีเปรตแบบที่คุณซุปว่าคือ
จะถูกรถชนตายครับ :b13:
ทักษา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
สิ่งที่เราควรฝึกคือสติ ฝึกให้สติมีความฉับไว เกิดผัสสะใดขึ้นก็รับรู้ไปตามจริง
และรู้ทันต่อเหตุนั้น ไม่ควรบังคับอายตนะภายในให้เกิดสมาธิ เพราะจะทำให้
สติไม่คล่องตัวต่อการรับรู้เหตุที่เป็นปัจจุบันครับ


งั้นเราควรฝึกสติจากอะไรครับ ฝึกยังไง ใช้อะไรในการฝึกสติครับ

การฝึกสติมันง่ายครับ แต่ต้องอาศัยความเพียร คือหมั่นตามรู้ผัสสะที่เกิดตามความเป็นจริง
เช่น ตาเห็นหญิงสาว ก็รู้ว่าหญิงสาว เมื่อผ่านหญิงสาวไปแล้วเห็นเด็ก ก็รู้ว่าเห็นเด็ก
ไม่ใช่ว่าผ่านหญิงสาวไปแล้ว ตามองเด็กแต่ใจยังเป็นหญิงสาวอยู่เลย

หรือแม้ว่าอายตนะที่ต่างกันเราก็ต้องตามรู้ให้หมดครับ ตาเห็นรูปก็รู้ว่ารูป หูได้ยินเสียงก็รู้ว่าเสียง
แบบนี้แหล่ะครับที่บอกว่าอยู่กับปัจจุบันรู้ตามความเป็นจริง

บอกก่อนน่ะวิธีการที่ผมบอก พวกนั่งสมาธิเขาบอกว่าเป็นวิธีของพวกขี้เกียจ
สู้พวกที่นั่งสมาธิไม่ได้ มีความเพียรเป็นเลิศ พูดได้คำเดียวว่างงครับ :b12: :b13:


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 13:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ท่านโฮฮับครับ
ฝึกสติแบบฉบับ พระอาจารย์สมบูรณ์ ฉตฺตสุวณฺโณ
เข้าตามหลักที่ท่านอธิบายมั๊ยครับ

เรามาฝึกสติกันครับ



ชมต่อ http://www.youtube.com/watch?v=vGPzImjC ... 15&index=1

:b8: :b41: :b46: :b53:


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 13:30 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2011, 11:05
โพสต์: 223


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ท่านซุปฯครับ

สวัสดีครับ ซุปท่านอร่อยดีจริงครับ :b12: :b13:

ผมสงสัยจากที่อื่นมาครับ ที่บอกว่า ต้องไม่มีทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้
รู้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญา รู้โดยไม่ต้องอาศัยปัญญาจากสมอง
แต่เป็นปัญญาที่นอกเหนือจากสัญญาและปัญญา
เป็นยังไงครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

:b41: :b46:


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 พ.ย. 2010, 08:21
โพสต์: 12

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue hello test tongue tongue 1234....


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ narapan ที่ท่านได้ยินได้ฟังมา มันก็ผลผลจากการที่ชาวพุทธเราทิ้งพระไตรปิฏก แล้วตั้งหน้าตั้งตาไปหาปัญญาเอาเองนั่นแหละครับ พระพุทธองค์ได้มีพระปาติโมกข์ไว้ว่า ห้ามสาวกบัญญัติสิ่งใดขึ้นมาใหม่ และห้ามยกเลิกบัญญัติที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ดีแล้ว

ไม่มีทั้งผู้รู้และสิ่งที่ถูกรู้ น่าจะมาจากพวกนั่งสมาธิจนตัดผัสสะได้นะครับ ตอนนั้นจะไม่มีการรับรู้ทางใดเลยนอกจากทางมโนทวาร

รู้สักแต่ว่ารู้ ฯ หมายถึง เห็นรูปแล้วไม่เกิดเวทนา เพราะเห็นมันตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ คือ เห็นว่า รูปไม่เทียงฯ ก็เท่านี้แหละครับ

รู้โดยไม่ต้องอาศัยสัญญา แต่ถ้าแปลว่า อยู่ดีๆ ก็รู้โดยไม่ใช้ข้อมูลเดิมในจิต อันนี้เปรตกระซิบแน่นอน

ในธรรมวินัยนี้มีสุญญตสมาบัติ มีความหมายไกล้ๆ กัน คือ รับรู้โดยไม่มีการดึงสัญญาเก่าเข้ามาประกอบกับอารมณ์ (ดูสูตรใน การก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ประกอบ) เป็นสมาธิขั้นสูงของพระอริยะ เช่น อยู่ในป่าช้าแต่ไม่มีความคิดเลยว่าอยู่ในป่าช้า ฯ เป็นต้น

ปัญญาไม่ได้อยู่ในสมองอยู่แล้วครับ ปัญญาเป็นสัญญาชนิดหนึ่งอยู่ในจิต ถ้าไม่ได้ลากมาจากสัญญา ก็ได้รับมาจากที่อื่นล่ะครับ มาจากใหนก็ไปตามกันดูเอาเอง

ปัญญาที่นอกเหนือจากสัญญาและปัญญา มันจะรู้อะไรกันไปขนาดใหน มันไม่มีหรอกครับ น่าจะมาจากพวกหาปัญญาในสมาธิไม่เจอ จริงๆ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ปัญญาที่พระพุทธองค์ตรัสหมายถึงอะไร

วิญญานแปลว่ารู้ ญานก็แปลว่ารู้ ปัญญาก็แปลว่ารู้เหมือนกัน บางทีไปอ่านพระบาลีก็ทำให้สับสนได้ แปลผิดแปลถูก แล้วเอามารวมกับประสบการณ์ของตัวเอง เลยกลายเป็นศาสนาใหม่ขึ้นมาแข่งกับพระพุทธเจ้า ตอนนี้มีเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด

จิตเราบังคับไม่ได้นะครับ มันเป็นอนัตตา พวกที่ไปบังคับจิตให้ว่าง ไปบังคับจิตให้วาง ไปบังคับจิตให้ติดตามดูโน่นดูนี่ หรือ เพ่งอะไรสักอย่าง ฯ พวกนี้ฝืนธรรมชาติของจิตทั้งนั้น ผลที่ได้ ก็คือ มิจฉาสมาธิ

การสอนโดยใช้หลักตรรกปรัชญาในศาสนานี้ เป็นเรื่องไม่ควรนะครับ พระพุทธองค์ตรัสห้ามไว้ เป็นพระปาติโมกข์เหมือนกัน เพราะมันไปเข้าทางพวกเดรถีย์ จะพากันถกเถียงจนเข้ารกเข้าพง ห่างจากความจริงเข้าไปทุกที เถียงกันไปหลายร้อยหลายพันปี จะหาต้นตอเดิมไม่ได้เลย .. การแสดงธรรมต้องตีตรา "สำเนาถูกต้อง" เท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ามันยากนักก็ ยังมีบุญแบบเป็นรูปธรรม คือ พอๆมองเห็นและสัมผัสได้ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ มี 10 อย่าง

1. ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน
2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
4. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตน
5. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ
6. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
7. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
8. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
9. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
10.ทิฏฐุชุกัมม์ ทำความเห็นให้ตรง

(ข้อไหนยากก็ตัดออกไป เช่น ข้อ 3 ข้อ 10 )

และที่ง่ายกว่านั้นอีก ก็บุญจากการปิดทองฝังลูกนิมิต ปิดทองพระประจำวัน ตักบาตรพระร้อย ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า สร้างโบสถ์ วิหารลานเจดีย ซื้อกระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ สร้างห้องน้ำ สร้างสะพาน ปล่อยนก ปล่อยปลา ปล่อยเต่า ฯลฯ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 17 มี.ค. 2011, 18:41 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ห้ามสาวกบัญญัติสิ่งใดขึ้นมาใหม่ และห้ามยกเลิกบัญญัติที่พระพุทธองค์บัญญัติไว้ดีแล้ว


แล้วอันนี้...เป็นบัญญัติเก่าหรือใหม่..ละ

อ้างคำพูด:
การฝึกสมาธิเป็นบาปมหันต์ เป็นที่สถิตของเปรต


:b9: :b9:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 264 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร