วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 23:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 20:05
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครพอทราบบ้างคะ รบกวนด้วยค่ะ เคยผ่านตาบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


ณ เชียงราย เขียน:
ใครพอทราบบ้างคะ รบกวนด้วยค่ะ เคยผ่านตาบ่อยๆ แต่ไม่รู้ว่าคืออะไรค่ะ

http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=3295


แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 00:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 01:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 เม.ย. 2010, 10:07
โพสต์: 86

แนวปฏิบัติ: เงียบๆคนเดียว
งานอดิเรก: ฟังธรรมของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย&หลวงพ่อปราโมทย์.
สิ่งที่ชื่นชอบ: ตามดูจิต,หลวงปู่ฝากไว้,สติปัฏฐาน ๔
ชื่อเล่น: Mulan ;)
อายุ: 0
ที่อยู่: ปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นชื่อของสังฆกรรมประเภทหนึ่งที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า "การอยู่กรรม" จึงนิยมเรียกรวมกันว่า "ปริวาสกรรม"

"ปริวาส" นั้นโดยความหมายแปลได้ว่า "การอยู่ใช้" หรือ "การอยู่กรรม" หรือ "การอยู่รอบ" คือ อยู่ให้ครบกระบวนการสิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัย ต้องอาบัติ(ต้องโทษ) "สังฆาทิเสส" ซึ่งอาจจะล่วงโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ได้พ้นมลทินหมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือความผิด เครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญ ในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมนั้นมีคำข้องคือ อยู่กรรมและวุฏฐานวิธี มาจากรูปศัพท์ว่า ปริวาสนํ ปริวาโส การเข้าอยู่รอบ ชื่อว่า ปริวาสฯ ปริวาสิยเต ปริวาโส อาการอันภิกษุเข้าอยู่รอบชื่อว่า ปริวาส ปริวาโส อสส อตถีติ ปาริวาสโกฯ ภิกษุผู้อยู่ปริวาสชื่อว่า ปริวาสิกะฯ(ณิกปัจจัย) แต่เมื่อเวลาพูดหรือใช้จะไม่ใช้ ปาริวาสิกะ (ปา) แต่จะใช้เป็นรูปศัพท์ ปริวาสิกะ แปลว่า การอยู่รอบ

ส่วนคำว่า ปาริวาสิกะนั้น แปลว่า ขนมกุมมาสที่เก็บไว้นาน (ให้ดูวัตร ๙๔ ข้อ-นับเห็น ๘๑ ข้อ ประกอบด้วย)

"ความเป็นมาของการอยู่ปริวาส"

ส่วนการอยู่ปริวาสกรรมนั้น เจาะจงไว้สำหรับบุคคล ๒ จำพวกเท่านั้น คือ

๑. ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้วแต่ต้องครุกาบัติ
๒. ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์

ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์นี้ เป็นปริวาสตามปกติสำหรับภิกษุผู้บวชอยู่แล้ว ในพระพุทธ ศาสนา แต่ไปต้อง "ครุกาบัติ"(ต้องโทษ)สังฆาทิเสสเข้า จึงจำเป็นต้องประพฤติปริวาส เพื่อนำตนให้หลุดพ้นจากความมัวหมอง ตามเงื่อนไขทางพระวินัยและเงื่อนไขของสงฆ์

ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ได้มีการจัดปริวาสหลายครั้งหลายสถานที่ โดยเฉพาะที่เมืองสาวัตถี ซึ่งที่นี่เป็นสถานที่ที่พระอาคันตุกะผ่านเข้าออกบ่อย ๆ จึงทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับพระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ปริวาส เป็นสาเหตุให้ต้องคอยบอกวัตรอยู่ร่ำไป ไม่เป็นอันต้องทำกิจต้องประพฤติธรรม ไม่ว่าพระอาคันตุกะจะแวะผ่านมาเวลาไหน ทั้งกลางวัน กลางคือ ก็ต้องคอยบอกวัตร จึงทำให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวาย พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการเก็บวัตรได้ เป็นการชั่วคราวและให้สมาทานใหม่อีกครั้ง เมื่อต้องการประพฤติ(วิ.จุล.๖/๘๔/๑๐๖)

ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์

"ปริวาส" คำนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์มากมาย ที่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามาก่อน คือ ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่น ๆ มาก่อน ซึ่งคนจำพวกนี้เรียกว่า เดียรถีย์ พวกเดียรถีย์เหล่านี้ เมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้าบ้าง หรือพระอัครสาวกบ้าง ก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คิดจะเข้ามานับถือพระพุทธ ศาสนาโดยจะยังครองเพศ เป็นคฤหัสถ์เช่นเดิมหรือจะขอบวชก็ตาม พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะให้คนเหล่านี้ ได้อบรมตนเสียก่อนเป็นเวลา ๔ เดือน จึงได้ทรงอนุญาตให้อยู่ประพฤติตนเรียกว่า "ติตถิยปริวาส" ไว้

คนที่ถูกกำหนดว่าเป็นเดียรถีย์ต้องอยู่ ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้น ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ตตฺถ ติตฺถิยปริวาโส นิคนฺถชาติกานํเยวทาตพฺโพ น อญเญสํฯ แปลความว่า ติตถิยปริวาสในพระบาลีนั้น พึงให้แก่อัญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์เท่านั้น ไม่ควรให้แก่ชนเหล่าอื่นฯ ซึ่งในข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ท่านแก้ไว้ว่า อยมฺปน นคฺคปริพาชกสฺเสว อาชีวกสฺส วา ทาตพฺโพฯ ความว่า ก็ ติตถิยปริวาสนี้ ควรให้แก่อาชีวกหรืออเจลกะผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้นฯ ความอีกตอนหนึ่งว่า โย ปน อญฺโญปิ นธิย ปพฺพชิตปุพฺโพ อาคจฺฉติ..ตสฺส จตฺตาโร มาเส ปริวาโส ทาตพฺโพ..อยํ ติตฺถิยปริวาโส นาม อปฺปฏิจฺฉนฺนปริวาโสติปิวุจฺจติฯ ความว่า ส่วนเดียรถีย์แม้คนอื่นใดไม่เคยบวชในพระศาสนานี้ มา...ควรให้ปริวาส ๔ เดือนแก่เธอนั้น..ขึ้นชื่อว่า ติตถิยปริวาสนี้ ท่านเรียกว่า อัปปฏิจฉันนปริวาสฯ(สมนต.๓/๕๓-๕๔)

ในฏีกาสารัตถทีปนี ซึ่งเป็นฏีกาของสมันตปาสาทิกาอีกทีหนึ่ง แต่งโดยพระสารีบุตรชาวลังกา (ไม่ใช่สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ของพระพุทธโฆษาจารย์) ท่านแก้อรรถคำว่า อาชีวก และ อเจลกะ ไว้ว่า อาชีวโก อุปริ เอกเมว วตฺถํ อุปกจฺเฉ ปเวเสตฺวา ปริทหติ; เหฎฺฐา นคฺโค, อเจลโก สพฺเพนสพฺพํ นคฺโคเยวฯ ความว่า อาชีวก ได้แก่ คนที่นุ่งผ้าสไบเฉียงข้างบนผืนเดียว ส่วนข้างล่างเปลือย อเจลกะ ได้แก่คนที่เปลือยกายทั้งหมด

คนสองประเภทนี้เท่านั้น คือ คนเปลือยครึ่งท่อนกับคนเปลือยทั้งหมด ส่วนที่เป็นดาบสชีปะขาวอื่นมี ปริพาชก เป็นต้น ที่ยังมีผ้าขนสัตว์หรือผ้าพันกายเป็นเครื่องหมายของลัทธิอยู่ ถือว่าได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ปริวาสก่อน ๔ เดือน อย่างเช่น อัครสาวกทั้ง ๒ ซึ่งเป็นปริพาชกและเคยอยู่กับปริพาชกมาก่อนก็ดี สีหเสนาบดีชาวเมืองเวสาลีซึ่งเป็นศิษย์เอกของนิครนถ์นาฏบุตรก็ดี สุภัทรปริพาชกปัจฉิมสาวกก็ดี พาวรีพราหมณ์ทั้ง ๑๖ คนก็ดี ชานุสโสณีพราหมณ์ก็ดี ติมพรุกขปริพาชกก็ดี วัปปศากยสาวกนิครนถ์ก็ดี สุลิมปริพาชกก็ดี กาปทกมาณพก็ดี และโลกายติกพราหมณ์ก็ดี ท่านเหล่านี้ไม่ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน เพราะท่านเหล่านี้ท่านเรียกว่า สันสกถติสัทธา ได่แก่ผู้ที่มุ่งหน้าเข้ามาหา มาถามปัญหาโดยมีศรัทธาเป็นประธาน ซึ่งก็ได้แก่ผู้ที่เป็นสาวกบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่แล้วนั่นเอง

ในทางคัมภีร์ชั้นบาลีนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็นชีเปลือยก็เคยมีปรากฏว่าอยู่ติตถิยปริวาสมาบ้างแล้ว ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตติตถิยปริวาส ๔ เดือน นี้ ได้แก่พวกเดียรถีย์(วินย.๔/๘๖/๑๐๑-๒) ท่านหมายเอาคนนอกศาสนาผู้มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วย เช่น สภิยพราหมณ์ ผู้นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้า(สภิยสูตร ๒๕/๕๔๘) และ ปสุรปริพาชก ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ เป็นต้น คนเหล่านี้ก็ยังมีเสื้อผ้าอยู่ และการอนุญาตติยถิยปริวาส ให้แก่ อเจลกกัสสปะ ชาวเมืองอุชุญญนคร ซึ่งทั้งสามท่านที่ยกตัวอย่างมานี้ ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงขออยู่ปริวาสถึง ๔ ปี

:b8: :b8: :b8:




แก้ไขล่าสุดโดย ลิ้มธรรม เมื่อ 30 พ.ค. 2010, 01:04, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ค. 2010, 20:05
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ปาริวาสิกขันธกะ
เรื่องพระอยู่ปริวาส


[๓๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถ
บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การ
ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้
การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถูหลังเมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษ
ุทั้งหลาย บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่
ปริวาส จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การ
นำที่นอนมาให้ การนำน้ำล้างเท้ามาให้ การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร
การถูหลังเมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุ ทั้งหลายเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
[๓๒๑] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น
ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ
อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า
การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตรจีวร การถู หลังให้เมื่ออาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลาย จริง
หรือ
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส
จึงได้ยินดีการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอน
มาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระ เบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่อ
อาบน้ำของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายเล่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ
ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชน ที่เลื่อมใสแล้ว ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมี
กถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงยินดีการกราบไหว้ การ
ลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่ง
รองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำ ของปกตัตตะภิกษุทั้งหลายรูปใดยินดี ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการกราบไหว้ การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม การนำอาสนะมาให้ การนำที่นอนมาให้ การล้างเท้า การตั้งตั่งรองเท้า การตั้งกระเบื้องเช็ดเท้า การรับบาตร จีวร การถูหลังให้เมื่ออาบน้ำของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตกิจ ๕ อย่าง คือ อุโบสถ ปวารณา ผ้าอาบน้ำฝน การสละภัตร และการรับภัตร แก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน ตามลำดับผู้แก่พรรษา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล เราจักบัญญัติวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส โดยประการที่ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ต้องประพฤติทุกรูป ฯ
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ
หมวดที่ ๑
[๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ วิธีประพฤติชอบใน
วัตรนั้น ดังต่อไปนี้:-
อันภิกษุผู้ปริวาส ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสัย
ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
แม้ได้รับสมมติแล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
สงฆ์ให้ปริวาสเพื่ออาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
ไม่พึงติกรรม
ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงทำการไต่สวน
ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
ไม่พึงช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ฯ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

หมวดที่ ๒
[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงไปข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงนั่งข้างหน้าแห่งปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย วิหารสุดท้ายของสงฆ์ ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ
ไม่พึงมีปกตัตตะภิกษุ เป็นสมณะนำหน้า หรือตามหลังเข้าไปสู่สกุล
ไม่พึงสมาทานอารัญญิกธุดงค์
ไม่พึงสมาทานปิณฑปาติกธุดงค์ และ
ไม่พึงให้เขานำบิณฑบาตมาส่ง เพราะปัจจัยนั้น ด้วยคิดว่าคนทั้งหลายอย่ารู้เรา ฯ
หมวดที่ ๓
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นอาคันตุกะไป พึงบอกมีอาคันตุกะมา
ก็พึงบอก พึงบอกในอุโบสถ พึงบอกในปวารณา ถ้าอาพาธ พึงสั่งทูตให้บอก ฯ
หมวดที่ ๔
[๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่
อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่หาภิกษุ มิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุมิได้
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่หาภิกษุ
มิได้ ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุ เว้นแต่มีอันตราย ฯ
หมวดที่ ๕
[๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็น นานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา
สังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ แต่เป็นนานาสังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาส ที่มีภิกษุ แต่เป็นนานา
สังวาส
ไม่พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่น มิใช่อาวาสที่มีภิกษุ
แต่เป็นนานาสังวาส ทั้งนี้ เว้นแต่ไปกับปกตัตตะภิกษุเว้นแต่มีอันตราย ฯ
หมวดที่ ๖
[๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส
ที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น สมานสังวาส
พึงออกจากถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่ถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็นสมานสังวาส
พึงออกจากอาวาสหรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ ไปสู่อาวาส หรือถิ่นมิใช่อาวาสที่มีภิกษุ เป็น
สมานสังวาส ทั้งนี้ ที่รู้ว่าอาจจะไปถึงในวันนี้เทียว ฯ
หมวดที่ ๗
[๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาส
กับปกตัตตะภิกษุ
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงอันเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
เห็นปกตัตตะภิกษุแล้ว พึงลุกออกจากอาสนะ
พึงนิมนต์ปกตัตตะภิกษุให้นั่ง
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมอันเดียวกันกับปกตัตตะภิกษุ
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อปกตัตตะภิกษุจงกรม ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม ฯ
หมวดที่ ๘
[๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาส กับ
ภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในถิ่นมิใช่อาวาส
ไม่พึงอยู่ในที่มุงเดียวกันในอาวาสก็ดี ในถิ่นมิใช่อาวาสก็ดี
ไม่พึงนั่งในอาสนะเดียวกันกับภิกษุอยู่ปริวาสผู้แก่พรรษากว่า
... กับภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
... กับภิกษุผู้ควรมานัต
... กับภิกษุผู้ประพฤติมานัต
... กับภิกษุผู้ควรอัพภาน
เมื่อเธอนั่ง ณ อาสนะต่ำ ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะสูง
เมื่อเธอนั่ง ณ พื้นดิน ไม่พึงนั่ง ณ อาสนะ
ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมเดียวกัน
เมื่อเธอจงกรมอยู่ในที่จงกรมต่ำ ไม่พึงจงกรมในที่จงกรมสูง
เมื่อเธอจงกรมอยู่ ณ พื้นดิน ไม่พึงจงกรมในที่จงกรม ฯ
[๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส พึงชักเข้าหา
อาบัติเดิม พึงให้มานัต สงฆ์ ๒๐ รูปทั้งภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นพึงอัพภาน การกระทำดังนั้นใช้ไม่ได้
และไม่ควรทำ ฯ
ปาริวาสิกวัตร ๙๔ ข้อ จบ
__________________

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

รัตติเฉท ๓ อย่าง
[๓๓๑] ครั้งนั้น ท่านพระอุบาลีเข้าไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค
นั่งเฝ้า ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านพระอุบาลีนั่งเฝ้าเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามความข้อนี้แด่พระ
ผู้มีพระภาคว่า ความขาดแห่งราตรีของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มีเท่าไร พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อุบาลี ความขาดแห่งราตรี ของภิกษุผู้อยู่ปริวาสมี ๓ คือ อยู่ร่วม ๑
อยู่ปราศ ๑ ไม่บอก ๑ รัตติเฉทของภิกษุผู้อยู่ปริวาส มี ๓ อย่างนี้แล ฯ
พุทธานุญาตให้เก็บปริวาส
[๓๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ในพระนครสาวัตถี ภิกษุสงฆ์มาประชุมกันมากมาย ภิกษุ
ทั้งหลายผู้อยู่ปริวาส ไม่สามารถจะชำระปริวาส จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เก็บปริวาส
วิธีเก็บปริวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีเก็บปริวาส พึงเก็บอย่างนี้:-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเก็บปริวาส ปริวาสเป็นอันเก็บแล้ว หรือกล่าวว่า
ข้าพเจ้าเก็บวัตร ปริวาสก็เป็นอันเก็บแล้ว ฯ
พุทธานุญาตให้สมาทานปริวาส
[๓๓๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายออกจากพระนครสาวัตถี ไปในที่นั้นๆ แล้ว
พวกภิกษุผู้อยู่ปริวาสสามารถชำระปริวาสได้ จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมาทานปริวาส
วิธีสมาทานปริวาส
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล วิธีสมาทานปริวาส พึงสมาทานอย่างนี้:-
อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้น พึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทาน ปริวาส ปริวาสเป็นอันสมาทานแล้ว
หรือกล่าวคำสมาทานว่า ข้าพเจ้าสมาทานวัตร ปริวาสก็เป็นอันสมาทานแล้ว ฯ
ปาริวาสิกวัตร จบ
____________

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...ตามที่ข้าพเจ้าเคยเห็นการปริวาสกรรมของพระสงฆ์ด้วยประสบการณ์ตนเอง...พอจะเข้าใจและ...
...อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ...ปริวาสกรรม...เป็นการลงโทษด้วยการควบคุมประพฤติและกักบริเวณ...
...ห้ามทำผิดข้อหาเดิม...ห้ามทำผิดอย่างอื่นเพิ่ม...พระสงฆ์ด้วยกันจะไม่เคารพกราบไหว้ในอาวุโส...
...การพ้นผิดก็ต่อเมื่อประชุมคณะสงฆ์เพื่อพิจารณาว่าประพฤติชอบตามสมควรจึงให้พ้นโทษ...และ...
...ถ้าปริวาสกรรมอยู่ในช่วงเข้าพรรษา...เวลาออกพรรษาจะไม่สามารถเป็นสงฆ์ผู้รับองค์กฐินได้...
:b8:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 05:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 04:57
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมอยากถามท่านผู้รู้ครับ คือผมอยากทราบว่าถ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วแต่ยังไม่ได้แก้อาบัติ (อยู่ปริวาส) แล้วสึกออกมาก่อน อย่างนี้จะมีผลอย่างไรกับคนที่ต้องอาบัติ และจะสามารถแก้ไขอาบัตินี้ได้อีกหรือไม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2011, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7880

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


กระทู้เกี่ยวเนื่องกันเกี่ยวกับ ปริวาสกรรม-สังฆาทิเสส

หลวงพี่ บวชใหม่ มีเรื่องสังสัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=30&t=33569

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 00:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2011, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2010, 08:25
โพสต์: 326


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
สุดปลายฟ้า... เชื่อมั่นและสัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ผู้รู้แจ้ง เห็นจริง ยึดถือพระองค์เป็นสรณะ อย่างไม่มีสิ่งใดเหนือกว่า


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร