วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 14:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 00:53
โพสต์: 4

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีช่วงนี้กำลังมองดูตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องกายและใจ และกำลังฝึกระงับใจอยู่ครับ
โดยส่วนตัวทานข้าวไม่เป็นเวลาครับ แล้วพอรู้สึกว่าหิว คือจะทราบได้อย่างไรว่าใจหรือกาย ที่อยาก

คือจะว่าใจอยากก็ได้เพราะ เมื่อเริ่มหิวก็คิดถึงว่าต้องกิน ใจก็คิดไปแล้วว่าจะกินนั่นกินนี่

หรือจะว่ากายอยากก็ได้ มันหิวของมันเอง ท้องมันโหยๆ

คิดๆแล้วก็งงน่ะครับ ไม่ค่อยแน่ใจว่าควรระงับความอยากตรงนี้อย่างไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 02:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


กวฬิงการาหาร คือ อาหารที่พึงกลืนเข้าไป หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง

แปลว่า สิ่งที่นำผลมา

มีหน้าที่ 3 ประการ
1 บรรเทาความหิวเก่า
2 ป้องกันการหิวใหม่
3 ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต และมีแรงกำลังประกอบกิจการงาน

ภัยคือความยินดี ความเมา ความติดในรส มีได้เพราะ กวฬิงการาหาร

นักปฎิบัติ พึง กำหนดรู้ความจริงแห่งอาหาร ด้วยการพิจารณารูปของกรรมฐาน เรียกว่า อาหาเรปฎิกูลสัญญา
มี10ประการ
1 ในการไป คือ ไปหาอาหารตามที่สกปรก
2 การแสวงหา คือ ประสบความเหน็ดเหนื่อย การผจญอุปสรรค ความขัดแย้ง
3 การบริโภค คือ การเคี้ยวแปลสภาพไปในทางปฎิกูล คายออกมาก็ไม่สามารถกลืนเข้าไปอีก เกลือกลั้วกับน้ำลายในปาก
4 ที่อาศัยของอาหาร บริโภคแล้วเข้าไปอยู่ในที่สกปรก
5 โดยการหมักหมม หมักหมมในท้อง ดุลหลุมอุจจาระที่ไม่เคยชำระล้าง
6 อาหารที่ยังไม่ย่อย เข้าไปผสมกับอาหารเก่า มีแผ่นเสมหะห่อหุ้ม เป็นฟองในที่มืด
7 อาหารที่ย่อยแล้ว ดูดซึมไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เหลือกลายเป็นกากไหลออกทางทวารทั้ง9
8 ผลของอาหารหากตกค้างไม่ย่อย กลายเป็นบ่อเกิดของโรคนานาประการ หิดเปื่อย หิดด้าน กราก โรคในท้อง และลำใส้
9 อาหารที่หลั่งไหลออกมา มีกลิ่นเหม็น ต้องแอบไปคนเดียว น่ารังเกียจ
10 โดยการแปดเปื้อน ทั้งปาก ทั้งฟัน ทั้งมือ และอื่นๆดูน่ารังเกียจ

หมั่นเจริญ อาหาเรปฎิกูลสัญญา อยู่เป็นนิจ จิตจะถอยกลับจากความอยาก หากไม่บรรลุอมตธรรม ก็จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์หลังจากมรณกรรม

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


kamigazie เขียน:
พอดีช่วงนี้กำลังมองดูตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องกายและใจ และกำลังฝึกระงับใจอยู่ครับ
โดยส่วนตัวทานข้าวไม่เป็นเวลาครับ แล้วพอรู้สึกว่าหิว คือจะทราบได้อย่างไรว่าใจหรือกาย ที่อยาก
คือจะว่าใจอยากก็ได้เพราะ เมื่อเริ่มหิวก็คิดถึงว่าต้องกิน ใจก็คิดไปแล้วว่าจะกินนั่นกินนี่
หรือจะว่ากายอยากก็ได้ มันหิวของมันเอง ท้องมันโหยๆ
คิดๆแล้วก็งงน่ะครับ ไม่ค่อยแน่ใจว่าควรระงับความอยากตรงนี้อย่างไร


สวัสดี kamigazie

จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องรักษา กาย คุ้มครองกาย ให้เป็นปรกติ เพราะกายนี้เป็นอุปกรณ์สำคัญเป็นที่ประชุมของอายตนะ คุณทานข้าวไม่เป็นเวลา ก็คือไม่ดูแลกายให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์สุขในปัจจุบัน นั่นหมายความว่า คุณกำลังทำให้ อุปธิสมบัติ ของคุณกลายเป็นอุปธิวิบัติ

คุณมัวแต่ดูกายดูใจ ด้วยความหลงเข้าไปเชื่อว่า "เป็นการดูกิเลส เพื่อให้เกิดความรู้สามารถขจัดความหลง" คุณก็ยังคงอยู่กับกิเลสอยู่ดี คุณก็จะงง งง กับความฟุ้งซ่านรำคาญใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนคุณคิดว่าคุณเข้าใจมาถูกต้อง. นับว่าเป็นการพัฒนาความฟุ้งโดยเจตนา

เรื่องการกิน การอยู่ ไม่จำเป็นต้องคิดให้ฟุ้งซ่านไปขนาดนั้น
ร่างกายอยู่ได้ ด้วยอาหารคือ กพฬิงกราหาร
แต่..ความรับรู้ทั้งหลาย เป็นกิจของความสำนึกของจิต
สองอย่างประกอบกัน คุณจึงรู้ว่าหิว เป็นธรรมชาติธรรมดาเท่านั้นเอง
ความหิวเกิดขึ้น ความรับรู้ของจิตเกิดความรู้สึกไม่เป็นสุข ซึ่งก็เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นอันเป็นธรรมชาติธรรมดาของสิ่งมีชีวิตที่จะรักษาความดำรงอยู่ของชีวิต กลไกแห่งการแสวงหาเพื่อการดำรงชีวิตจึงเกิดขึ้น...... ณ ตรงนี้จึงจำเป็นต้องควบคุมไม่ให้กลไกนี้ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในภายหลัง

ความรู้จักความพอดี ความเพียงพอในการบริโภคจึงเป็นเรื่องที่ นำมาปฏิบัติ นำมาพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนใจในภายหลัง.

การเรียนรู้เครื่องมือตามธรรมชาติ เพื่อสำเร็จประโยชน์ จึงไม่ใช่ไปนั่งดูนั่งติดตามกิเลสที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาอันทำให้จมจ่อมเสียเวลาไปกับความฟุ้งซึ่งไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาอันฉลาด
แต่ เรียนรู้เพื่อพัฒนาอุปนิัสัย และพฤติกรรมเสียใหม่ให้เป็นผู้มีอุปนิสัย และพฤติกรรมที่จะดำเนินชีวิตอย่างฉลาด.

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg
ปัจจัย นิพพาน_82kb.jpg [ 82.9 KiB | เปิดดู 4671 ครั้ง ]
tongue สวัสดีครับคุณ คามิกาเซ่ ข้อสงสัยของคุณ
พอดีช่วงนี้กำลังมองดูตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องกายและใจ และกำลังฝึกระงับใจอยู่ครับ
โดยส่วนตัวทานข้าวไม่เป็นเวลาครับ แล้วพอรู้สึกว่าหิว คือจะทราบได้อย่างไรว่าใจหรือกาย ที่อยาก

คือจะว่าใจอยากก็ได้เพราะ เมื่อเริ่มหิวก็คิดถึงว่าต้องกิน ใจก็คิดไปแล้วว่าจะกินนั่นกินนี่

หรือจะว่ากายอยากก็ได้ มันหิวของมันเอง ท้องมันโหยๆ

คิดๆแล้วก็งงน่ะครับ ไม่ค่อยแน่ใจว่าควรระงับความอยากตรงนี้อย่างไร

อธิบาย

ความอยาก หรือตัณหา เป็นนามธรรม เกิดรู้ที่ใจ

ความหิว ก็เป็นความรู้สึก เป็นนามธรรม รู้ที่ใจเช่นกัน

แต่ทั้งความอยากและความหิวมีจุดเริ่มต้นมาจาก กาย

ที่กายไม่เป็นความอยาก แต่เป็นความไม่สมดุลย์ของแร่ธาตุที่มาประกอบขึ้นเป็นกาย จึงเกิดการเรียกร้องโดยธรรมชาติของกายขึ้นมา

กายของเราประกอบด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้ง 4 นี้จะขาดๆ เกินๆ อยู่เสมอ จะตั้งสมดุลย์ได้ชั่วประเดี๋ยวประด๋าวเท่านั้นเอง


ถ้าสติปัญญาดี ละเอียด คมกล้า จะเห็นและรู้ว่า กายนี้ขาดแคลนและต้องการเติมเต็มอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นทุกขัง ทนอยู่ไม่ได้ เป็นก้อนทุกข์ กองทุกข์โดยยแท้

ผู้รับรู้ความอยาก ความหิวที่แท้จริงนั้น มิใช่จิต จิตเป็นเพียงเครื่องมือของมันเท่านั้น ผู้รับรู้นั้นคือ

อุปาทาน ความเห็นผิด ความยึดผิดว่ากายนี้ คือตัวกู ตัวเรา ตัวฉัน ความหิว ความอิ่ม ความอยาก
ไม่อยาก ความรู้สึกยินดี ยินร้าย เฉยๆ จึงเกิดขึ้นมา

ถ้าเอาความเห็นผิดเป็นกูเป็นเรานี้ออกเสียได้ ก็จะมีแต่สักว่ารู้สึก แต่ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ถึงตรงนั้นจิตจะสมดุลย์อยู่ตลอดเวลา แล้วก็อยู่เย็นเป็นสุข

smiley :b12: :b16: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2010, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ครับ ความเกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตน นี่เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง
ความไม่เกิดเสียได้ เป็นการดี
ไม่ว่า เกิดบนโลกมนุษย์หรือโลกไหนๆ ล้วนมีทุกข์รออยู่

Quote Tipitaka:
[๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ใน
หมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชาติ ฯ

ก็ทุกข์เป็นไฉน ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส อันนี้เรียกว่าทุกข์ ฯ
ก็โทมนัสเป็นไฉน ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความ
เสวยอารมณ์อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่มโนสัมผัส อันนี้เรียกว่าโทมนัส ฯ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2010, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


หิว ห้ามไม่ได้ แต่ อยาก ห้ามได้ :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 23:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


tongue เวลาเกิดความอยากขึ้นมา ให้ลองถามตัวเองว่า

"ใครอยาก" แล้วค้นหาคำตอบให้ได้ ให้ถูกต้องตรงเผงตามที่มันเป็นอยู่ในใจจริงๆ ว่าใครอยาก
แล้วทุกท่านก็จะได้พบกับตัวต้นเหตุของความทุกขฺ ความยุ่งยากทั้งมวลของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหมด


อย่าคิดมากเวลาตอบ เพราะจะไม่เจอเหตุตัวจริง

จงตอบแบบธรรมดาสามัญของคนทั่วไป จะไดคำตอบที่ถูกต้อง
:b12: :b12: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พอดีช่วงนี้กำลังมองดูตัวเอง เกี่ยวกับเรื่องกายและใจ และกำลังฝึกระงับใจอยู่ครับ
โดยส่วนตัวทานข้าวไม่เป็นเวลาครับ แล้วพอรู้สึกว่าหิว คือจะทราบได้อย่างไรว่าใจหรือกาย ที่อยาก

คือจะว่าใจอยากก็ได้เพราะ เมื่อเริ่มหิวก็คิดถึงว่าต้องกิน ใจก็คิดไปแล้วว่าจะกินนั่นกินนี่

หรือจะว่ากายอยากก็ได้ มันหิวของมันเอง ท้องมันโหยๆ

คิดๆแล้วก็งงน่ะครับ ไม่ค่อยแน่ใจว่าควรระงับความอยากตรงนี้อย่างไร


ทานข้าวไม่เป็นเวลาก็เป็นการทรมานธาตุขันธ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องมีเมตตาให้ และปฏิบัติกับธาตุขันธ์อย่างเหมาะสมกับเหตุปัจจัยตามธรรมชาตินะครับ :b1: :b46: :b46: :b46:

วิสุทธิปาละฝึกมาอย่างนี้ครับ :b12: :b46: :b46:

เมื่อรู้สึกต้องการทานอาหาร ถ้าเลือทานได้ ให้หาอาหารที่จืดชืดไม่มีรสชาดแต่ยังครบห้าหมู่ เช่น ข้าวต้ม-เต้าหู้-ผัก หรืออาหารเจรสจืดๆทานดู หรือถ้าจะให้เข้มข้นขึ้น ลองทานอาหารที่เราไม่ชอบ หรือทานสำรวม (ผสมอาหารรวมกันแบบ random) แบบพระธรรมยุติ แล้วลองวกกลับมาดูที่จิตนะครับว่า ยังมีความไม่ชอบใจ (โทมนัส) หรือไม่ ซึ่งเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ ในแนวจิตตานุปัสสนา :b38: :b37: :b39:

แล้วจะรู้แจ้งได้ด้วยตนเองครับ ว่ากายอยาก หรือใจอยาก :b4: :b4:

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2010, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b27: ผู้รับรู้ความอยาก ความหิวที่แท้จริงนั้น มิใช่จิต จิตเป็นเพียงเครื่องมือของมันเท่านั้น ผู้รับรู้นั้นคือ

อุปาทาน ความเห็นผิด ความยึดผิดว่ากายนี้ คือตัวกู ตัวเรา ตัวฉัน ความหิว ความอิ่ม ความอยาก
ไม่อยาก ความรู้สึกยินดี ยินร้าย เฉยๆ จึงเกิดขึ้นมา

ถ้าเอาความเห็นผิดเป็นกูเป็นเรานี้ออกเสียได้ ก็จะมีแต่สักว่ารู้สึก แต่ไม่มีอยากหรือไม่อยาก ถึงตรงนั้นจิตจะสมดุลย์อยู่ตลอดเวลา แล้วก็อยู่เย็นเป็นสุข
:b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร