วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 08:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๕. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน เป็นปีติที่หมายในอัปปนาสมาธิ

มีลักษณะดังนี้คือ

๑. แผ่ซ่านเยือกเย็นไปทั่วร่างทั้งหมด

๒. กายเย็นดุจอาบน้ำ หรือ ดุจถูกน้ำแข็ง

ผรณาปีติ เกิดจากการกำหนดลมหายใจเท่านั้น ผู้ที่ปฏิบัติทำฌาน
โดยไม่ใช้ลมหายใจประกอบด้วยลมปราณ จะไม่เกิดผรณาปีตินี้เป็นอันขาด
และการเกิดผรณาปีตินี้ก็กำหนดได้ทั้งหลับตา ลืมตา ทำได้ทั้งอริยาบทนั่งและนอน

และเป็น " ธรรมเอก " คือ ธรรมสำคัญที่จะไปใช้สัมปยุตในธรรมชั้นสูง
อันเป็นองค์ประกอบให้เกิด " ความปราโมทย์ยิ่ง " ในอานาปนสติ

สำหรับผู้ที่เจริญสติ จะจับได้ตั้งแต่การเกิด ความเย็นเกิดตั้งแต่กลางอก
แล้วจะแผ่ความเย็นไปทั้งตัว เหมือนความเย็นในตู้เย็นประมาณนั้น
ตามด้วยสุขยิ่งนัก ทำให้ไม่อยากขยับกายหรืออกจากสมาธิจนกว่าสมาธิจะคลายตัว

อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับกำลังของสมาธิด้วยว่ามีความแนบแน่นมากแค่ไหน
ถ้ามีความแนบแน่นมาก สภาวะนี้จะตั้งมั่นอยู่ได้นานเป็นชม. จะรู้อยู่กับรูปนามได้ดี

จากมหาอัสสปุระสูตร ว่าด้วยฌาน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ หน้า ๔๑๓ ข้อ ๔๒๗

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแสมาธิ
ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง

เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำขังอยู่ ไม่มีทางน้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ตะวันตก
ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำให้ห้วงน้ำนั้นแลชุ่มชื่นเอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆแห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด
ที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉะนั้นฯ


รายละเอียดทั้งหมดของสภาวะ จะนำไปอธิบายในเรื่องของสภาวะฌานอีกครั้ง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 00:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ก่อนที่จะทำ

สัมปชัญญะ ความรู้ตัว หรือ ความรู้สึกตัว
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ลงไปในสิ่งที่กำลังกระทำอยู่

สติ+สัมชัญญะ = สมาธิ การเอาจิตจดจ่อรู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ผลที่ได้รับคือ สมาธิ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำ

สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ
สภาวะที่เกิดขึ้นคือ รู้สึกตัวทั่วพร้อม


ขณิกสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดชั่วขณะ

สภาวะ

การที่เอาจิตจดจ่อรู้ลงไปในสิ่งที่กำลังทำอยู่ จะเกิดสมาธิชั่วขณะหนึ่ง คือ ขณิกสมาธิ
แต่ตรงนี้ไม่ตายตัวแน่นอน เนื่องจากเหตุที่แต่ละคนกระทำมาแตกต่างกันไป
บางคน สมาธิอาจจะมีมากกว่าขณิกสมาธิก็ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้ำเขียน


คุณเต้

อ้างคำพูด:
จะถามน่ะค่ะว่าเป็นยังไงบ้าง?
เดินรู้เท้าได้ชัดบ้างหรือยังคะ


เดินรู้เท้าชัด ใช่หมายถึงว่า เวลาที่เราเดินแล้วพูดคำว่า
ขวาหนอ-ซ้ายหนอ แล้วจิตของเราไปอยู่ที่เท้าใช่หรือปล่าวค่ะ
เหมือนเวลาที่เรานั่งสมาธิ แล้วจิตไปอยู่ที่ลมหายใจเข้า-หายใจออก
เหมือนกันหรือปล่าวค่ะ

อ้างคำพูด:
แล้วนิมิต ตอนนี้ยังมีเหมือนเดิมหรือว่าลดความถี่ในการเห็นลงไปบ้างหรือเปล่าคะ?



นิมิตยังเหมือนเดิมค่ะ ก็ได้รู้ได้เข้าใจอะไรๆมากขึ้น
แต่ที่บ่อยมากคือ ตอนนั้นมีความรู้สึกว่า จะเลิกเดินจงกลม
คือมีความรู้สึกว่า ยิ่งเดิน ยิ่งส่งจิตออก

เหมือนยิ่งสับสน แต่พอตอนหลับน่ะค่ะ จะเห็นตัวเราเอง
เวลาเดินสวด อา-มิ-โธ-โผ แล้วตัวเราก็เดินบนอากาศ ลอยขึ้นไป
แล้วเราก็ก้มลงมองมาข้างล่าง

บางครั้งก็เหมือนวิ่งหนีอะไร แต่พอสวดมนต์แล้วตัวเราก็ลอยขึ้นข้างบน
จะเป็นแบบนี้ทุกคืนเลยค่ะ

ก็คิดว่าแปลกน่ะ นิมิตแบบนี้ รู้แต่ว่าดี
แต่ก็คิดว่า เราคงต้องตั้งใจเดินจงกลมให้ได้
พอฝึกเดิน จิตก็ไม่ส่งออก จิตอยู่ที่ ขวา-ซ้าย/ ขวา-ซ้าย
แบบนี้ถูกหรือปล่าวค่ะคุณน้ำ

พอเราเดินได้แบบนี้แล้วน่ะค่ะ เวลาหลับก็ไม่เห็นนิมิตนี้อีกเลยค่ะ
ก็จะเห็นตัวเองไปศึกษาธรรม สอนเรื่องเวลาตั้งจิตอธิฐาณ
ต้องทำยังไง เวลาทำบุญต้องทำยังไง
คือจะทำอะไรก็ช่าง จิตของเราสำคัญที่สุดค่ะ :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:

เดินรู้เท้าชัด ใช่หมายถึงว่า เวลาที่เราเดินแล้วพูดคำว่า
ขวาหนอ-ซ้ายหนอ แล้วจิตของเราไปอยู่ที่เท้าใช่หรือปล่าวค่ะ
เหมือนเวลาที่เรานั่งสมาธิ แล้วจิตไปอยู่ที่ลมหายใจเข้า-หายใจออก
เหมือนกันหรือปล่าวค่ะ ?




ใช่ค่ะ เวลาเดิน ให้จิตรู้อยู่ที่เท้า เวลานั่ง ให้จิตรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก




อ้างคำพูด:
แล้วนิมิต ตอนนี้ยังมีเหมือนเดิมหรือว่าลดความถี่ในการเห็นลงไปบ้างหรือเปล่าคะ?



bbby เขียน:


พอฝึกเดิน จิตก็ไม่ส่งออก จิตอยู่ที่ ขวา-ซ้าย/ ขวา-ซ้าย
แบบนี้ถูกหรือปล่าวค่ะคุณน้ำ

พอเราเดินได้แบบนี้แล้วน่ะค่ะ เวลาหลับก็ไม่เห็นนิมิตนี้อีกเลยค่ะ
ก็จะเห็นตัวเองไปศึกษาธรรม สอนเรื่องเวลาตั้งจิตอธิฐาณ
ต้องทำยังไง เวลาทำบุญต้องทำยังไง
คือจะทำอะไรก็ช่าง จิตของเราสำคัญที่สุดค่ะ :b1:?




เดินให้รู้เท้า จะเดินแบบไหนๆก็ได้ค่ะ ขอให้รู้อยู่กับเท้า
การใช้คำบริกรรมกำหนดลงไป จะทำให้รู้ชัดมากขึ้น
แต่บางคนก็อาจจะถนัดแบบใช้การรู้ลงไปที่เท้าตรงๆโดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็มีค่ะ
ฉะนั้น ทำแบบไหนก็ได้ค่ะ ขอให้รู้อยู่กับเท้า ขณะที่เดิน

เรื่องจิตนี่เรื่องจริงค่ะ ทุกอย่างสำคัญที่จิต

นิมิตของคุณเต้ เป็นนิมิตที่ดีค่ะ
เหตุเนื่องจากสัญญาเก่ามีติดตัวมาเยอะ
เจริญสติต่อไปนะคะ แล้วนิมิตอาจจะน้อยลง แต่แม่นยำมากขึ้น

แล้วเวลานั่งสมาธิ สามารถรู้กายได้ตลอดไหมคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วเวลานั่งสมาธิ สามารถรู้กายได้ตลอดไหมคะ?


รู้กายเป็นยังไงเหรอค่ะคุณน้ำ
เดี๋ยวนี้เรามีความรู้สึกว่า เรานั่งสมาธิได้ดีกว่าเมื่อปีที่แล้ว
หรือตอนช่วงต้นๆปีน่ะค่ะ คือมีความรู้สึกว่า ไม่เหมือนกัน

บางครั้งนั่งสมาธิอยู่เราเห็นแสงสีขาว ลอยมา
แล้วแสงนั้นก็มาวูบๆใส่ที่หน้าของเรา ประมาณ3ครั้งน่ะค่ะ
แล้วแสงนั้นก็หายไป ส่วนตัวเราจะรู้สึกเหมือนเลือดในร่างกายสูบฉีด
แบบสบายๆไปทั้งตัวเลยค่ะ

เป็นความรู้สึกที่พูดไม่ถูกน่ะค่ะ แต่จิตก็ไม่ออกน่ะค่ะ เพราะแบบนี้หละค่ะ
เราถึงชอบการนั่งสมาธิ

แต่ตอนนี้ก็ชอบการเดินจงกลมด้วยค่ะ เพราะรู้สึกว่า เวลาเดินแล้วบริกรรมไปด้วย
เหมือนเดินแล้วไม่ต้องออกแรง ส่วนใหญ่เวลาเราเดินจงกลม
เราจะไปเดินรอบสนามเด็กเล่น ช่วง2ทุ่มค่ะ เงียบดี
แล้วก็ปลอดภัยเพราะระยะทางไกลดีค่ะ :b1: :b41: :b55: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 22:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
รู้กายเป็นยังไงเหรอค่ะคุณน้ำ




คำว่า " รู้กาย " หมายถึง เวลาที่นั่งสมาธิเวลาจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดจนจับไม่ได้
แล้วจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่ากายนั้นไม่มี กายนั้นหายไป
แต่ที่จริงแล้ว ถ้าเราตั้งสติให้ดีจะเห็นว่ามีส่วนอื่นๆของกายที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ เช่น ท้องพองยุบ
อกที่เคลื่อนไหวตามลมหายใจเข้าออก บางทีก็ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจ
ยิ่งถ้าจิตมีกำลังสมาธิสูง สติจะจับการเคลื่อนไหวของกายได้แค่ตรงอกที่ยังมีการเคลื่อนไหวอยู่แผ่วๆ
ยกเว้นแต่ว่า เรามัวไปสนใจสิ่งที่เกิดขึ้น จนลืมกลับมารู้ที่กาย

สภาวะแบบนี้แหละค่ะ ที่เรียกว่า " จิตส่งออกนอก " คือ ออกนอกกาย นอกองค์กรรมฐาน
เพราะถ้าสติ สัมปชัญญะดี สมาธิดี แม้จะมีสภาวะต่างๆเกิดขึ้น เช่น แสงสว่าง
ก็ยังสามารถรู้ที่กายได้พร้อมๆกับสภาวะอื่นๆ เช่น แสงสว่างที่เกิดขึ้นได้ด้วยค่ะ




bbby เขียน:
บางครั้งนั่งสมาธิอยู่เราเห็นแสงสีขาว ลอยมา
แล้วแสงนั้นก็มาวูบๆใส่ที่หน้าของเรา ประมาณ3ครั้งน่ะค่ะ
แล้วแสงนั้นก็หายไป ส่วนตัวเราจะรู้สึกเหมือนเลือดในร่างกายสูบฉีด แบบสบายๆไปทั้งตัวเลยค่ะ




ขณะที่เกิดสภาวะแบบนี้ คุณเต้สามารถรู้ที่กายได้ไหมคะ หรือว่าไปนั่งมองแต่แสงสีขาว?



bbby เขียน:
ส่วนใหญ่เวลาเราเดินจงกลม เราจะไปเดินรอบสนามเด็กเล่น ช่วง2ทุ่มค่ะ เงียบดี
แล้วก็ปลอดภัยเพราะระยะทางไกลดีค่ะ




หลังจากเดินจงกรมแล้ว ได้ไปนั่งสมาธิต่อเลยหรือเปล่าคะ หรือได้แค่เดินเพียงอย่างเดียวคะ?

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 ก.ย. 2010, 22:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.ย. 2010, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำว่า " รู้กาย " หมายถึง เวลาที่นั่งสมาธิเวลาจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดจนจับไม่ได้
แล้วจะมีความรู้สึกเหมือนกับว่ากายนั้นไม่มี กายนั้นหายไป



เคยเป็นค่ะ ถ้าเรานั่งสมาธิแล้วเป็นแบบนี้ ตอนกลางคืนจะมีวิญญานมาหาค่ะ
บางวิญญานน่ะค่ะ เหมือนเค้าหนีอะไรมาค่ะ
บางครั้งก็เห็นแบบซึ่งๆหน้าเลย แต่บางครั้งก็เห็นในนิมิต

เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง เราคิดว่าเราไม่ได้หลับน่ะ เราเห็นผู้หญิงใส่ผ้าถุง
ผมยาวประมาณเลยบ่านิดหน่อย เหมือนเค้าวิ่งหนีอะไรมา
ก็คือระยะไกลน่ะ เค้าตะโกนคำว่า "ช่วยด้วย" เค้าชื่อนี้นามสกุลนี้น่ะ

แล้วเราก็เห็นมีผู้ชายนุ่งผ้าโจงกระเบน ไม่ได้ใส่เสื้อรูปร่างสูงใหญ่
เหมือนเค้าลากที่คอหรือดึงผม ก็ไม่รู้น่ะค่ะ คือลักษณะเค้าเหมือนเดินถอยหลัง
แต่ก็ยังตะโกนบอกชื่อและนามสกุลอีก เห็นแล้วน่าสงสารมากๆค่ะ
เราก็ตะโกนถาม ชื่อกับนามสกุลเค้าให้แน่ชัดอีกครั้งหนึ่ง
เค้าก็ตะโกนบอก "ใช่ๆๆ" เราก็เลยลุกขึ้นอุทิศผลบุญให้เค้า พอตอนเช้าก็ทำให้เค้าอีก

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง เราสงสัยที่สุดเลยค่ะ คือเรานั่งสมาธิแล้ว
ตัวเราเบา เหมือนที่คุณน้ำพูดคำว่ารู้กาย
แต่ตัวเราขึ้นไปข้างบนค่ะ เราเห็นมีองค์พระ เราก็ไม่รู้น่ะค่ะว่าเป็นรูปปั้นหรือหลวงพ่อ...
องค์ใหญ่มากๆค่ะ แล้วมีพระนั่งนิ่งๆเยอะมากๆค่ะ (เราไม่รู้ว่าใช่นั่งสมาธิหรือปล่าวน่ะค่ะ)

คือเราอยู่ด้านหลังสุด ทีนี้เราก็นั่งด้วย แต่ทีนี้เราสิค่ะ เราคิดว่าเรามาที่นี่ได้ยังไง
ทำไมตัวเราถึงเบามากอย่างนี้ เราก็เลยคิดว่า เราลืมตาดีกว่า
เราจะได้รู้ว่าเราเป็นอะไรไปหรือปล่าว

เรามานั่งคิดๆดู เราไม่น่ารีบลืมตาหรือออกจากสมาธิเลย

อ้างคำพูด:
ขณะที่เกิดสภาวะแบบนี้ คุณเต้สามารถรู้ที่กายได้ไหมคะ หรือว่าไปนั่งมองแต่แสงสีขาว?


เรานั่งมองแสงสีขาวค่ะ เราเห็นเป็นจุดเล็กๆเหมือนอยู่ไกล แล้วก็ลอยเข้ามาใกล้ๆ
พอดูใกล้ๆแล้ว เหมือนมีรังสี แล้วพอลอยมาอยู่ใกล้ๆที่หน้าเราน่ะค่ะ
สีขาวนั้นก็วูบๆๆใส่ที่หน้า แล้วหายไป

คือเป็นความรู้สึกที่พูดไม่ถูก คือเหมือนเลือดทั้งตัวเราวิ่ง ตั้งแต่หน้าไปถึงเท้าคือเราชอบน่ะ
(คุณน้ำพอจะรู้มั๊ยค่ะแสงสีขาวนั้นคืออะไร)

อ้างคำพูด:
หลังจากเดินจงกรมแล้ว ได้ไปนั่งสมาธิต่อเลยหรือเปล่าคะ หรือได้แค่เดินเพียงอย่างเดียวคะ?


ตรงนี้หล่ะค่ะที่เราอยากจะถามคุณน้ำลืมทุกที
เราไปเดินจงกลมประมาณ1ชม.ค่ะ แต่พอกลับมาเราไม่ได้นั่งสมาธิค่ะ
คือตรงที่เราไปเดินจงกลม ห่างจากบ้านไม่เท่าไหร่ เดินกลับใช้เวลาประมาณ5นาทีค่ะ
แล้วเราก็จะมาเล่นคอมพ์ อาบน้ำ

บางครั้งเราก็นั่งสมาธิตอนกลางคืน บางครั้งก็นั่งตอนกลางวัน
บางครั้งตอนกลางวันเราเดินจงกลมในบ้าน แล้วเราก็นั่งสมาธิเลย
บางครั้งเราไม่ได้เดินจงกลม เรานั่งสมาธิเลย

เราเคยคิดเหมือนกันน่ะค่ะว่า เราทำแบบนี้ถูกหรือปล่าว
คือเวลาของเรา คือเราไม่มีเวลาที่แน่นอนน่ะค่ะ ว่าเราว่างตอนไหน
เพราะฉนั้นเวลาที่เราว่าง เรามักจะชอบนั่งสมาธิหรือเดินจงกลมค่ะ
เราทำแบบนี้ถูกหรือปล่าวค่ะ :b8: :b41: :b55: :b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 23:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:

แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง เราสงสัยที่สุดเลยค่ะ คือเรานั่งสมาธิแล้ว
ตัวเราเบา เหมือนที่คุณน้ำพูดคำว่ารู้กาย
แต่ตัวเราขึ้นไปข้างบนค่ะ เราเห็นมีองค์พระ เราก็ไม่รู้น่ะค่ะว่าเป็นรูปปั้นหรือหลวงพ่อ...
องค์ใหญ่มากๆค่ะ แล้วมีพระนั่งนิ่งๆเยอะมากๆค่ะ (เราไม่รู้ว่าใช่นั่งสมาธิหรือปล่าวน่ะค่ะ)?




อันนี้รู้กายเหมือนกันค่ะ รู้แค่ตอนแรกคือ ตอนที่จิตเป็นสมาธิ
แต่ที่เหลือทั้งหมด สมาธิ ( นิมิต ) เอาไปหมดค่ะ กายไม่รู้

แต่ไม่เป็นไรหรอกนะคะ เจริญสติต่อไปเรื่อยๆ เมื่อกำลังของสติ สัมปชัญญะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สภาวะจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆค่ะ





อ้างคำพูด:

เรานั่งมองแสงสีขาวค่ะ (คุณน้ำพอจะรู้มั๊ยค่ะแสงสีขาวนั้นคืออะไร) ?



แสงสีขาว ไปอ่านในเรื่องสภาวะของปีติน่ะค่ะ


อ้างคำพูด:
ตรงนี้หล่ะค่ะที่เราอยากจะถามคุณน้ำลืมทุกที
เราไปเดินจงกลมประมาณ1ชม.ค่ะ แต่พอกลับมาเราไม่ได้นั่งสมาธิค่ะ
คือตรงที่เราไปเดินจงกลม ห่างจากบ้านไม่เท่าไหร่ เดินกลับใช้เวลาประมาณ5นาทีค่ะ
แล้วเราก็จะมาเล่นคอมพ์ อาบน้ำ

บางครั้งเราก็นั่งสมาธิตอนกลางคืน บางครั้งก็นั่งตอนกลางวัน
บางครั้งตอนกลางวันเราเดินจงกลมในบ้าน แล้วเราก็นั่งสมาธิเลย
บางครั้งเราไม่ได้เดินจงกลม เรานั่งสมาธิเลย

เราเคยคิดเหมือนกันน่ะค่ะว่า เราทำแบบนี้ถูกหรือปล่าว
คือเวลาของเรา คือเราไม่มีเวลาที่แน่นอนน่ะค่ะ ว่าเราว่างตอนไหน
เพราะฉนั้นเวลาที่เราว่าง เรามักจะชอบนั่งสมาธิหรือเดินจงกลมค่ะ
เราทำแบบนี้ถูกหรือปล่าวค่ะ




ไม่มีอะไรถูกหรือผิดหรอกค่ะ เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
อันนี้เป็นสภาวะของคุณเต้ ของคนอื่นๆจะเป็นอย่างไร แค่ดูพอค่ะ ไม่ต้องไปใส่ใจ
เพราะแต่ละคนสร้างเหตุมาไม่เหมือนกัน

เพียงแต่สมาธิของคุณน่ะมีแล้ว เหลือแค่สติที่ยังไม่ทัน เลยกลับมารู้กายไม่ได้
แต่ก็ไม่ต้องไปกังวลใดๆนะคะ ทำแบบที่เคยทำน่ะแหละค่ะ น้ำแค่พูดให้รู้เฉยๆ
ว่าสภาวะของคุณเต้ตอนนี้เป็นแบบนี้ เพียงหมั่นเดินจงกรมก่อนนั่งบ่อยๆ
หมายถึง ถ้าทำได้นะคะ ถ้ายังไม่สะดวก ก็ทำตามความสะดวกไปก่อน
เดี๋ยวเวลาถึงสภาวะพร้อม ก็จากเหตุที่กำลังทำนี่แหละค่ะ เหตุใหม่และเหตุเก่า
ทุกอย่างล้วนเป็นเหตุปัจจัยร่วมกัน ไม่ต้องไปกังวลใดๆนะคะ แค่รู้พอค่ะ

บางทีน้ำอาจจะตอบช้าไปบ้าง ช่วงนี้เน็ตมันรวนๆ ไม่ค่อยดีค่ะ
เครื่องที่บ้านค่อนข้างมีปัญหา ทำต่อไปนะคะ เพียรแบบไม่พัก แต่ไม่รีบ
เวลารีบ ต้องกลับมาย้อนดูจิตตัวเองด้วย รีบเพราะอะไร ดูกิเลสน่ะค่ะ :b38:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ย. 2010, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปจารสมาธิ

เป็นสมาธิทที่มีจุดเด่นเห็นได้ชัดคือ มีนิมิต และไม่สามารถรู้อยู่ในกายได้
ไม่ว่าจะเป็นนิมิตภาพ แสง สี เสียง ล้วนเป็นสภาวะของอุปจารสมาธิที่เกิดขึ้น

โอภาสหรือแสงสว่าง ถ้าขณะที่เกิดโอภาส แต่ไม่สามารถรู้ที่กายได้
ตรงนี้เป็นเพียงสภาวะของอุปจารสมาธิ

เพราะในอัปปนาสมาธิที่เป็นมิจฉาสมาธิ โอภาสจะเกิดขึ้นไม่ได้
ส่วนในอัปปนาสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ โอภาสเกิดขึ้นได้ และสามารถรู้กายที่เคลื่อนไหวได้ตลอด

บางคนมีของเก่าติดตัวมาเยอะก็สามารถมีนิมิตเกิดขึ้นได้เนืองๆทั้งหลับตาและลืมตาอยู่ปกติ
ตรงนี้จะนำมาอธิบายในหัวข้อถัดไป


อัปปนาสมาธิหรือฌาน

ฌานมีหลายสภาวะ

๑. มีของเก่าติดตัวมา ( สัญญา ) มีสภาวะก้าวกระโดด เริ่มต้นจากปฐมฌาน
แล้วก้าวกระโดดไปที่จตุตถฌานได้ โดยไม่จำเป็นต้องไล่ไปทีละฌาน หรือต้องผ่านทีละฌาน

๒. มีของเก่าติดตัวมา แล้วได้มาเจริญสติ มีสภาวะก้าวกระโดดได้ เริ่มต้นจากปฐมฌาน
แล้วได้มาเจริญสติ เพื่อปรับอิทรีย์ให้เสมอกัน

การละปีติ สุข เกิดจากกำลังของสติ สัมปชัญญะและกำลังของสมาธิกดข่มเอาไว้

๓.เกิดจากการเจริญสติ โดยไม่มีสมาธิเลย เรียงไปตามลำดับ ตั้งแต่ ปฐมฌานจนถึงจตุตฌาน
การละปีติ สุข เกิดจากจิตพิจรณาทำให้เกิดความเบื่อหน่ายจนถึงที่สุดจนจิตวางอุเบกขา

สภาวะของอัปปนาสมาธิโดยทั่วๆไป สภาวะที่เกิดขึ้นคือ ดิ่ง ขาดความรู้สึกตัว ทุกอย่างดับสนิท

สภาวะของอัปปนาสมาธิที่มีการเจริญสติ จะมีความรู้สึกตัวตลอด รู้กายได้ตลอด
แม้กระทั่งเวลาเกิดโอภาสก็รู้สึกตัวได้ตลอด คือรู้กาย รู้การเคลื่อนไหวของกาย รู้ความคิดที่เกิดขึ้น


พึงอ่านตรงนี้ก่อน

สติ มีความระลึกได้เป็นลักษณะ มีความไม่ลืมเป็นรส มีความอารักขาเป็นอาการปรากฏ
สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ตัวก่อนที่จะทำกิจ

สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นลักษณะ มีความไตร่ตรองเป็นรส มีความส่องเห็นอาการเป็นปรากฏ
สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวในขณะที่กระทำกิจนั้นๆ

เมื่อมีการทำงานของสติและสัมปชัญญะร่วมกัน ผลที่ได้รับคือ สมาธิ
ส่วนกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น จะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา
สภาวะที่เกิดขึ้น คือ รู้ชัดในสิ่งที่กำลังทำ

เมื่อสติ สัมปชัญญะและสมาธิทำงานร่วมกัน เรียกว่า มีทั้ง 3 องค์ประกอบทำงานร่วมกัน
สภาวะที่เกิดขึ้น คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม

เมื่อเกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ย่อมรู้อยู่กับรูป,นามได้ดี ( กายและจิต )
นี่คือ ตัวปัญญาตัวแรกที่เราได้รู้จัก " รูป,นาม " คือ มีรูป,นามเป็นอารมณ์ นี่เรียกว่ารู้โดยสภาวะ
เมื่อรู้ได้แบบนี้บ่อยๆ ตัวรู้หรือตัวปัญญาย่อมเกิดขึ้นเนืองๆ

ที่ใดมีทั้งสติ สัมปชัญญะและสมาธิ ที่นั่นย่อมมีปีญญาเกิด
ขาดตัวใดตัวหนึ่ง ปัญญาย่อมไม่เกิด


รายละเอียดของสภาวะฌานแต่ละฌาน ความแตกต่างของพื้นฐานที่มีติดตัวมาและที่ไม่มีติดตัวมา
จะนำเสนอในหัวข้อถัดไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 17 ก.ย. 2010, 21:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ

สมาธิ ในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต

เดินรู้เท้า นั่งรู้กาย รู้จริงๆมีอยู่แค่นี้เอง

เดินให้รู้เท้า จะใช้คำบริกรรมหรือไม่ใช่ก็ได้

นั่งรู้กาย รู้ยังไง แรกๆรู้ลมหายใจเข้าออก
การเอาจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าออก เขาเรียกว่า วิตก วิจาร

วิตก คืออะไร คือ ตัวสติ รู้ว่ากำลังหายใจ
วิจาร คืออะไร คือ ตัวสัมปชัญญะ การเอาจิตจดจ่อรู้ลงที่ลมหายใจเข้าออก
รู้ธรรมดาๆนี่แหละ เหมือนเวลาหายใจปกติ เพียงแต่เอาใจใส่ลงไปว่ากำลังหายใจอยู่
ไม่ใช่ไหลไปตามสิ่งที่มากระทบ รู้แค่นี้แหละ รู้อันดับแรก
ที่ใดทีสติ สัมปชัญญะทำงานร่วมกัน ที่นั่นย่อมเกิดสมาธิ

เมื่อเกิดสมาธิ ลมหายใจย่อมละเอียดมากขึ้น จนไม่สามารถจับลมหายใจได้
บางคนสมาธิมากเกิน สติไม่ทันก็อาจจะเห็นว่ากายหายไป จริงๆแล้วคือ สติไม่ทัน
เมื่อสติไม่ทัน จึงขาดตัวสัมปชัญญะ เมื่อตัวสัมปชัญญะไม่เกิด จึงไม่สามารถรู้ที่กายได้
จึงเห็นหรือรู้สึกว่า ลมหายใจหายไปหมด พร้อมๆกับกายนั้นหายไปหมด เหลือแต่จิตดวงเดียว
หรือเหลือความรู้สึกอยู่ตัวเดียว สภาวะอื่นๆไม่สามารถที่จะไปรับรู้ได้

ถ้าเกิดสภาวะตรงนี้ ในการปฏิบัติครั้งต่อไป ให้ปรับอินทรีย์
โดยการเดินจงกรมเพิ่ม เดินให้มากกว่านั่ง ถ้าทำแล้ว ยังเกิดสภาวะนี้อยู่อีก
ให้เพิ่มเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ในกายได้

รู้ในกายหรือรู้อยู่กับกาย รู้อย่างไร?

เมื่อจิตเป็นสมาธิ ลมหายใจจะละเอียดจนไม่สามารถจับลมหายใจได้
ถ้าสติ สัมปชัญญะดี จะเห็นอาการของกายที่กำลังเคลื่อนไหวเด่นชัดอีกที่คือ อาการท้องพองขึ้น ยุบลง
ตามลมหายใจเข้าออก จะรู้ตรงนี้ได้ชัดมากๆ ให้รู้ตรงนี้ไป คือดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น
ไม่ต้องใช้คำบริกรรมภาวนาใดๆ

แต่ถ้ามีกำลังของสมาธิมาก หรือจิตเสพสมาธิสูง
อาการท้องพองยุบจะจับไม่ได้เลย แต่ถ้าสติ สัมชัญญะดี
จะเห็นการเคลื่อนไหวของกายอีกที่คือ บริเวณทรวงอกที่เคลื่อนไหวตามลมหายใจเข้าออก

หรือ ถ้าจิตเสพสมาธิมีกำลังมากกว่านั้น
ถ้ามีสติ สัมปชัญญะดี จะรู้ชัดตรงบริเวณลิ้นปี่ที่ถูกกระทบด้วยลมหายใจเข้าออก

ส่วนคนไหนจะรู้อยู่ในกายได้มากหรือน้อย มีองค์ประกอบหลายๆอย่าง
และขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำมา ตลอดจนเหตุที่กำลังสร้างขึ้นในปัจจุบันด้วย

สภาวะภายนอก ( นอกตัว ) สิ่งต่างๆที่ทำลงไปด้วยความไม่รู้
ล้วนส่งผลมาสู่สภาวะภายใน ทั้งขณะที่ปฏิบัติ และการใช้ชีวิตในปัจจุบันนั้นๆ

สภาวะภายใน คือ ผลที่ส่งไปยังสภาวะภายนอก
ถ้าสติ ยังไม่มีกำลังมากพอ ยามเกิดการกระทบ ย่อมเกิดอุปทานให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะทางกาย วาจา ใจ เมื่อก่อเหตุเกิดขึ้นมา ผลย่อมส่งกลับมาหมดทั้งสภาวะภายนอกและภายใน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นิมิต

นิมิตมีหลายรูปแบบ ทั้ง รูป สี กลิ่น เสียง แสง
สภาวะของนิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังปฏิบัติ ไม่ว่าจะเกิดในขณะที่เดินจงกรมหรือนั่งก็ตาม
หากมีนิมิตเกิดขึ้น แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถรู้กายได้ สภาวะนั้นๆจะเป็นสภาวะของอุปจารสมาธิ

หากเป็นในอัปปนาสมาธิหรือฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ จะไม่สามารถเกิดสภาวะใดๆได้เลย
มีแต่สภาวะดับสนิทเกิดขึ้นอย่างเดียว

หากมีนิมิตเกิดขึ้น แต่สามารถรู้อยู่ในกายได้ตลอด รู้การเคลื่อนไหวในกาย เช่น
รู้ท้องพองยุบ รู้ทรวงอกเคลื่อนไหว คืออะไรจะรู้อย่างใดอย่างหนึ่งรู้อยู่ในกับกาย
พร้อมๆกับนิมิตนั้นก็เกิดร่วมด้วย สภาวะนี้อาจจะเป็นอุปจารฌานหรือฌานต่างๆ
ต้องดูองค์ประกอบของสภาวะที่เกิดขึ้นร่วมด้วย

มีนิมิตอีกประเภทคือ เกิดได้ทั้งขณะที่ลืมตาและหลับตา
ไม่ว่าจะเป็นนิมิต รูป แสง สี กลิ่น เสียง สามารถเกิดขึ้นได้เอง โดยไม่ต้องนั่งสมาธิแต่อย่างใด
อันนี้เกิดจากสภาวะของผู้ที่มีสัญญาเก่าติดตัวมาเยอะ คือ สมถะดี ต้องอาศัยการเจริญสติ
มาช่วยในเรื่องของการปรับอินทรีย์ จึงจะสามารถนำกำลังของสมาธิที่มีอยู่นั้นๆ
มาใช้งานได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนมากจะเกิดจากผู้ที่ได้ฌาน ไม่ใช่แค่อุปจารสมาธิ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ย. 2010, 20:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ

สภาวะ แปลว่า ความเห็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง
เช่น สภาวะลักษณะ หมายถึงลักษณะที่เป็นเอง เกิดเองเป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
ในการปฏิบัติกรรมฐานหรือเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ตาม หมายถึง สภาวะหรือปรากฏการณ์
ที่เกิดขึ้นภายในกายและจิตของผู้ปฏิบัติ ( อันนี้เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน )

การกำหนดต้นจิต คือ การฝึกจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหวและอิริยาบทต่างๆของร่างกาย
เช่น ขณะนั่งอยู่ก็กำหนดรู้อยู่ว่านั่ง แล้วถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกก็กำหนดรู้อยู่

การจะเปลี่ยนอิริยาบทหรือเคลื่อนไหวใดๆ หรือเมื่อจำเป็นต้องสนทนา จะพูดจะกล่าวคำใดๆ
ก็กำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวมานี้ เป็นการช่วยให้มีสติ สัมปชัญญะ
และสมาธิเชื่อมโยงติดต่อกันไม่ขาดระยะ

การกำหนดทำนองดังกล่าวมานี้ มีในสติปัฏฐานสูตร หมวดอิริยาปถบัพพะและสัมปชัญญะบัพพะ
ในการฝึกกำหนดต้นจิต ในตอนแรกๆ อาจจะกำหนดทันบ้าง ไม่ทันบ้าง ขาดๆหายๆ
ซึ่งคนเราส่วนมากก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าไม่ท้อถอย และเลิกเสียก่อน แต่พากเพียรทำต่อไปจะพบเองภายภาคหน้าว่า
มีสติกำหนดได้ดีเป็นส่วนมาก และจะค่อยๆกำหนดได้ติดต่อกันดีขึ้น แล้วในที่สุด
ก็สามารถกำหนดได้โดยติดต่อกัน ซึ่งแสดงว่า มีสติมั่นคง มีสัมชัญญะเกิด
ซึ่งเป็นพื้นฐานในการนั่งกำหนดสมาธิต่อไป

นำมาจาก หนังสือวิปัสสนากรรมฐาน ( สติปัฏฐานสูตร ) หลวงพ่อโชดก


บทความด้านบน นำมาเพียงบางส่วนค่ะ จริงๆแล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้

การกำหนดมีสองแบบ คือ

๑. ใช้คำบริกรรมช่วย เช่น ใช้หนอกำกับลงไปในอิริยาบทนั้นๆ
เพื่อเป็นการสร้างทั้งสติ สัมปชัญญะ ให้มีกำลังมากขึ้น

๒. ไม่ใช่คำบริกรรม แต่เอาจิตจดจ่อลงไปรู้ในการกระทำนั้นๆ

สมาธิปทฐฐานา มีสมาธิเป็นเหตุใกล้ชิดที่จะทำให้ปัญญาเกิด หมายความว่า
ปัญญาจะเกิดได้ต้องมีสมาธิ คือ ความตั้งใจแน่วแน่ต่ออารมณ์นั้นๆ

เช่น เวลาดูหนังสือ ถ้าใจจดจ่ออยู่กับหนังสือนั้น ไม่วอกแวกไปทางอื่นก็จำได้ง่าย จำได้ดี
นั่นแหละเป็นเหตุให้เรื่องปัญญา เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แม้ในปัญญาขั้นสูง เช่น
ภาวนามยปัญญาก็ต้องอาศัยสมาธิเช่นเดียวกัน

ตัวอย่าง การเจริญสติ ถ้ามีสติ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ดี โดยเป็นไปติดต่อกันเสมอ
( จิตจดจ่อรู้อยู่ในกายได้ตลอด ) ไม่มีเผลอ ยิ่งไม่เผลอมากเท่าไหร่
นั่นบ่งบอกถึงกำลังความแนบแน่นของสมาธิที่เกิดขึ้น

เชื่อไหม ถ้าจะบอกว่า ถ้าทำความเพียรอย่างต่อเนื่อง
กำลังของสมาธิที่เกิดขึ้นจากการเจริญสติ สามารถมีกำลังถึงจตุตถฌานได้
และไปทีละสเต็ป เรียกว่าจากหนึ่งจนชำนาญ ไปสอง จากสองจนชำนาญไปสาม
จากสามจนชำนาญไปสี่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 21 ก.ย. 2010, 20:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ

เมื่อมาเจริญสติ สภาวะแรกที่ทุกคนจะต้องเจอคือ ความรู้ชัดในสภาวะของอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
เนื่องจากผลของการเจริญสติ ทำให้ตัวสัมปชัญญะสามารถเกิดขึ้นได้ต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้
มีสมาธิเกิดร่วมด้วย จึงเป็นเหตุให้ รับรู้ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นในใจได้อย่างชัดเจน ( สภาวะกิเลส )

มีคำถามจากผู้ที่เจริญสติ ถามว่า ทำไมเมื่อก่อนนี้ เขาจึงไม่เห็นตัวอารมณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้
ทำไมเขาจึงหงุดหงิดง่าย โมโหง่าย โกรธง่าย ทั้งๆที่อารมณ์เหล่านี้เมื่อก่อนนี้มีไหม มันมีเกิดขึ้นประจำ
แต่ทำไมเขาจึงมองไม่เห็นมันได้ชัดหรือรู้สึกถึงอารมณ์ต่างๆได้ชัดขนาดนี้

บางคนเป็นคนใจเย็น ไม่โกรธใครง่ายๆ ใครจะพูดอะไรยังไงช่างเขา พยายามกดข่มเอาไว้
เพราะไม่อยากมีเรื่องกับใครๆ แต่พอมาเจริญสติ กลับกดข่มอารมณ์เหล่านี้เอาไว้ไม่อยู่ มันจะคอยพุ่งออก

คำตอบคือ เพราะเป็นผลของการเจริญสติ ทำให้ตัวสัมปชัญญะเกิด ตัวสัมปชัญญะจะทำให้มีความรู้สึกตัว
ขณะที่สิ่งต่างๆเกิดขึ้นในจิต ทำให้รู้ชัดในความรู้สึกที่เกิดขึ้น

ฉะนั้นถ้าใครเจอสภาวะเหล่านี้ที่เกิดขึ้นในตัวเอง จงอย่าได้แปลกใจ
มันเพียงผลของการเจริญสติเท่านั้นเอง มันเป็นความรู้ชัดของตัวสัมปชัญญะที่เกิดขึ้น

นี่คือสภาวะแรกๆที่ทุกคนจะได้เจอเมื่อมาเจริญสติ คือ รู้ชัดในสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในจิต
ไม่ว่าจะความชอบใจ ไม่ชอบใจ การกระทบต่างๆจะรู้ชัดมากๆ เรียกว่า รู้ทันปัจจุบัน
ยิ่งเจริญสติมากเท่าไหร่ ยิ่งเจอสภาวะเหล่านี้ชัดมากขึ้นเรื่อยๆ เห็นรายละเอียดต่างๆชัดมากขึ้น
และริ่มรู้เท่าทันต่อสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในจิตมากขึ้น แรกๆอาจจะตอบโต้เพราะความไม่รู้
แต่เมื่อได้พบเจอกัลยาณมิตร แนะนำว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เกิดจากอะไร ย่อมไม่ตอบโต้
และเจริญสติต่อไปเรื่อยๆ เมื่อมีกำลังของสติ สัมปชัญญะมากขึ้น
ย่อมรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิตมากขึ้นเร่อยๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 25 ก.ย. 2010, 20:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ย. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญา

อะไรเป็นปัญญา ปัญญามีหลายอย่าง ในที่นี้หมายเอาปัญญาที่ประสงค์คือ วิปัสสนาปัญญา
อันสัมปยุตด้วยกุศลจิตเป็นปัญญา

อะไรชื่อว่า ปัญญา ที่ชื่อว่าปัญญา เพราะ อรรถว่ารู้ชัด

ที่ชื่อว่ารู้ชัด คืออย่างไร คือ ความรู้โดยประการต่างๆ
พิเศษยิ่งกว่าอาการคือ ความหมายรู้ และความรู้แจ้ง

จริงอยู่ แม้เมื่อสัญญา วิญญาณและปัญญา จะเป็นความรู้ด้วยกัน
แต่สัญญา เป็นสักแต่ว่า ความหมายรู้อารมณ์ เช่น รู้จักว่า สีเขียว สีเหลืองเป็นต้น เท่านั้น
แต่ไม่อาจให้ถึงความแทงตลอดซึ่งลักษณะว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาได้

วิญญาณ ย่อมรู้จักอารมณ์ว่า สีเขียว สีเหลืองเป็นต้นด้วย
และย่อมให้ถึงความแทงตลอดซึ่งลักษณะได้ด้วย แต่ไม่อาจจะให้ก้าวหน้าไปถึงความปรากฏแห่งมรรคได้

ส่วนปัญญา ย่อมรู้อารมณ์ และให้ความแทงตลอดซึ่งลักษณะ ด้วยอำนาจแห่งนัยดังกล่าวแล้ว
ทั้งยังก้าวหน้าไปถึงความปรากฏแห่งมรรคด้วย

ปัญญานี้มีการแทงตลอดสภาวธรรมเป็นลักษณะ มีการกำจัดความมืดคือ โมหะ
ที่ปกปิดสภาวะความเป็นจริงของธรรมทั้งหลายเป็นกิจ มีความไม่หลง เป็นผล
มีสมาธิเป็นเหตุให้ใกล้ของปัญญานั้น โดยพระบาลีว่า ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง

สัญญาขันธ์ ที่เรียกอย่างนั้นเพราะ ที่มีความจำได้เป็นลักษณะทุกอย่างเข้าด้วยกัน
อันธรรมชาติที่มีความจำได้เป็นลักษณะคือ สัญญา ดังพระสารีบุตรกล่าวว่า

" อาวุโส เพราะเหตุที่รู้และจำได้นั้น จึงเรียกว่า สัญญา " ดังนี้

สัญญามีประเภทเท่ากันกับวิญญาณ

สัญญาทั้งปวงมีความจำได้เป็นลักษณะ มีการทำเครื่องหมายไว้บนตัวไม้เป็นอาทิ
มีการทำความมั่นใจตามเครื่องหมายที่ยึดไว้เป็นผล ดังคนตาบอดคลำช้าง
มั่นใจตามรอยเครื่องหมายที่ตนจับได้ มีอารมณ์ปรากฏเป็นเหตุใกล้ ดังความจำที่เกิดขึ้นแก่ลูกเนื้อ
ในหุ่นคนที่ผูกด้วยหญ้าว่าเป็นคนจริงๆฉะนั้นแล

จากหนังสือ คัมภีร์วิสุธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2010, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การชำระศิล

ชีวิตไม่มีอะไรที่แน่นอน บุคคลที่ทำดีหรือทำไม่ดีตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตามความคิดของตนเอง
ตนเป็นผู้รับผลเอง มิใช่คนอื่นๆมารับแทน

นี่แหละการตัดสินที่ยุติธรรมที่เที่ยงแท้ที่สุด " กรรม "
ไม่ใช่เกิดจากความคิดที่ยังมีเราเข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใดเลย

เมื่อเข้าใจเรื่องจิต จะเข้าใจเรื่องชีวิต เป็นเหตุให้เข้าใจทุกๆคน เข้าใจในสิ่งที่เขาเป็นอยู่กัน
จะคอยระวังตัวเอง ไม่ไปกล่าวโทษนอกตัวหรือไปกล่าวโทษใครๆ

เมื่อเกิดการกระทบทุกๆครั้งจะต้องย้อนกลับมาดูที่จิตตัวเองทุกครั้ง
ยิ่งมีสติ สัมปชัญญะดี สมาธิดี จิตยิ่งรู้อยู่กับกายได้มากขึ้น จะเป็นเหตุให้
รู้เท่าทันต่อสภาวะที่เกิดขึ้นมากขึ้น เห็นรายละเอียดต่างๆของสภาวะแต่ละครั้งชัดเจนมากขึ้น

ชีวิตมีเท่านี้เอง สุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำขึ้นมาเองทั้งสิ้น
ทำเองก็ต้องรับผลเอง ไม่ต้องไปว่าใคร คนอื่นๆก็เช่นกัน ไม่มีความแตกต่างกันเลย

ทำกันขึ้นมาเอง สร้างเหตุเอง ก็ต้องรับผลนั้นๆเอง
ฉะนั้นจะไปว่ากันทำไม เมื่อรู้แล้วจึงไม่มาว่ากัน ที่ยังว่ากันเพราะยังมีความไม่รู้ชัด

ใครที่ว่ากันเพราะสร้างเหตุมาร่วมกัน เฉกเช่นเดียวกับคนที่ไม่ว่ากัน
เพราะไม่ได้สร้างเหตุมาร่วมกัน มันจึงมีผลแตกต่างกันก็เพราะเหตุที่ทำกันมา

มันมีแต่เรื่องเหตุที่ทำและผลที่ได้รับเป็นตัวยืนยันตอกย้ำในการกระทำนั้นๆ
ไม่ว่าช้าหรือเร็วยังไงก็ต้องรับผล ส่วนจะรับผลมากหรือน้อยก็อยู่ที่เจตนาในขณะที่ลงมือกระทำ

แล้วจะไปเอาอะไรนอกตัว ขนาดภายในตัวยังยึดอะไรไม่ได้เลย บังคับไม่ได้
แล้วข้องนอกจะไปเอาอะไร มีแต่อุปทานหลงให้ค่าตามเหตุปัจจัยที่ทำมา หลงสร้างขึ้นมาเอง
จากความไม่รู้ จากกิเลสที่ยังนองเนืองอยู่ในจิต

สติเป็นเครื่องกั้นกิเลส ทำให้จิตสามารถรู้อยู่กับกายได้มากขึ้น
ตัวสัมปชัญญะหรือความรู้สึกตัว จะทำอะไรก็รู้ เมื่อรู้ลงไปบ่อยๆ สมาธิย่อมเกิด
เมื่อสมาธิเกิดเป็นเหตุให้เกิดรู้ซ้อนรู้ คือมีความรู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่รู้สึกตัว
ยิ่งทำให้รู้ชัดในสิ่งที่กำลังลงมือกระทำอยู่ ตัวหิริ โอตตัปปะ ก็มีกำลังมากขึ้น

ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีชัดมากขึ้น ก็สามารถแยกแยะรายละเอียดต่างๆได้ชัดมากขึ้น
ศิลย่อมสะอาดมากขึ้นโดยไม่ต้องไปพยายามเจาะจงใดๆเลย

ตัวหิริ โอตตัปปะนี่แหละ เป็นตัวแยกแยะให้เสร็จสรรพ
ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งในที่แจ้งและที่ลับ
จะมีความระมัดระวังตัวเองมากขึ้น

ยิ่งเข้าใจเรื่องเหตุคือ สิ่งที่ได้กระทำลงไป และผลที่ได้รับจากการกระทำ
ย่อมระวังมากขึ้น แก้คนอื่นๆไม่ได้หรอก คิดจะแก้ ต้องแก้ที่ตัวเอง

การที่จะแก้ที่ตัวเองได้ ต้องมีทั้งสติและสัมปชัญญะ
หากขาดตัวใดตัวหนึ่ง หิริ โอตตัปปะย่อมอ่อนกำลังลง


เมื่อหิริ โอตตัปปะอ่อนกำลังลง ศิลย่อมพร่อง เพราะไม่สามารถแยกแยะถูกผิดให้ชัดเจนได้
มีแต่ถูกหรือผิดตามความคิดของตัวเอง

ศิลแบบหยาบๆ หลักใหญ่ๆที่เด่นชัดจะสะอาดก่อน ได้แก่

การไม่ฆ่าสัตว์

การไม่ลักทรัพย์

การไม่ผิดลูกเมียหรือครอบครัวของใครๆ ไม่ว่าจะต่อหน้าและลับหลัง

ไม่พูดโกหก

ไม่ดื่มของมึนเมา

นี่คือหลักแบบหยาบๆใหญ่ๆของศิลทั้ง ๕ ข้อที่เห็นได้เด่นชัด
จะสะอาดเองโดยไม่ต้องไปพยายามรักษาหรือพยายามสร้างขึ้นมาแต่อย่างใด

เมื่อ สติ สัมปชัญญะมีกำลังมากขึ้น หิริ โอตตัปปะย่มอมีกำลังมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
ศิลที่ละเอียด ย่อมสะอาดมากขึ้นเรื่อยๆ จากศิล ๕ ค่อยๆกลายเป็นศิล ๘ โดยไม่ต้องไปพยาม
สร้างขึ้นมาเองแต่อย่างใด

การที่พยายามสร้างขึ้นมาหรือพยายามรักษาเอาไว้
ให้หมั่นทบทวนจิตด้วยว่า ที่ทำแบบนั้น ทำเพราะเหตุใด รักษาเพราะเหตุใด

พึงระวังความอยาก อยากมี อยากได้ อยากเป็นอะไรๆตามบัญญัติ
พึงระวังข้อนี้ให้ดีๆ เพราะความอยากตัวนี้จะเป็นกิเลสที่เนียนมากๆจนคาดไม่ถึง

จริงอยู่ ความอยากตัวนี้เป็นการสร้างกุศล เป็นความอยากที่มีจิตเป็นกุศล
แต่กิเลสตัวความอยากนี้ มันจะบดบังสภาวะ ที่ตัวเองนั้นเป็นอยู่จริงๆ

ทำให้ไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงที่ตัวเองนั้นเป็นอยู่
เพราะว่าไปพยายามสร้างมันขึ้นมา ไม่ใช่เกิดขึ้นเองตามกำลังของหิริ โอตตัปปะ

จะกลายเป็นไปกดข่มกิเลสเอาไว้ พึงระวังให้ดีๆ
กิเลสความอยากได้ อยากเป็นอะไรๆตัวนี้ มีสภาวะที่ละเอียดมากๆ
ดูไม่ทัน แยกแยะไม่ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมาทั้งสิ้น และที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร