วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2025, 05:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: แด่ผู้มีทุกข์ :b42: :b42: :b42:
:b43: โดย อาจารย์ สุจินต์ บริหารวนเขตต์ :b43:

.....อุเบกขาเวทนา คือ.. ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง...
ความรู้สึกอื่นคือ....สุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนา เกิดต่อแล้วก็ดับไป....ไม่เที่ยง
เวทนาอื่น คือ...ทุกขเวทนา หรือโทมนัสเวทนา...เกิดต่อแล้วก็ดับไป.....ไม่เที่ยง
หมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน ไม่จบสิ้นได้ ซึ่งสุขก็จะต้องสลับกับทุกข์ ต่อไปจนถึงขณะตาย สิ้นสุดความเป็นบุคคลในชาติหนึ่งๆ ซึ่งทุกชาติ แม้ในชาติก่อนๆ และชาติหน้าต่อไปอีก ก็ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ
....ตราบใดที่ยังไม่ได้อบรม เจริญปัญญา จนถึงขั้นที่สามารถ จะดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท กิเลสทั้งหลายที่เกิดแต่ละครั้ง...แต่ละขณะ แม้ว่าจะดับไปแล้ว ก็จะสะสมสืบต่ออยู่ในขณะจิตขณะต่อๆไป เป็นอนุสัยกิเลส คือ...เป็นกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ จึงเป็นเชื้อปัจจัยที่จะทำให้เกิด กิเลสประเภทนั้นๆ อีก...แม้โทสมูลจิต ซึ่งเป็นจิตที่ขุ่นใจ แม้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ในวันหนึ่งๆ เช่น มีเสียงโทรศัพท์แล้วรับโทรศัพท์ และเสียงโทรศัพท์ที่ฟังก็ไม่ค่อยจะชัดเจน ขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน เป็นความไม่พอใจที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนิดเดียว เล็กน้อย ซึ่งถ้าไม่สังเกต ก็ไม่รู้ว่าขณะนั้น โทสมูลจิตซึ่งขุ่นใจ ไม่พอใจเกิดขึ้นแล้วดับไปแล้ว แต่ก็สะสมความขุ่นใจนั้นสืบต่อไป เป็นเชื้อนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน เป็นปัจจัยให้โทสมูลจิตเกิดขึ้นอีกต่อไป ฉะนั้น จึงต้องพิจารณารู้ว่า แม้ความขุ่นใจเพียงเล็กน้อย ก็เป็นโทษด้วย เพราะถ้าไม่ใช่ความขุ่นใจ เพียงเล็กน้อย แต่เป็นความโกรธบุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งเป็นความโกรธที่ไม่ลืม และยังไม่ได้ลดน้อยลงเลย ก็จะทำให้เป็นความผูกโกรธ เป็นทุกข์ในชีวิตของแต่ละท่าน ....(ต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 00:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ซึ่งพระธรรมจะอนุเคราะห์ให้พิจารณาเห็นโทษของอกุศลและความโกรธ ซึ่งถ้าไม่เห็นโทษก็จะไม่ขัดเกลาและละคลายเลย...
ฉะนั้น... ผู้มีทุกข์ ควรพิจารณา ทุกข์ซึ่งเป็นความโศกเศร้า...เสียใจ...น้อยใจ....กลัดกลุ้ม....โกรธ เคือง..ขุ่นใจ..ไม่แช่มชื่นว่า เป็นลักษณะของโทสะ ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ประทุษร้ายจิตโดยประการต่างๆ ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้อย่างไรบ้าง....และมีความตั้งใจจริงๆ ที่จะขลัดเกลา ละ คลาย ความโกรธ หรือโทสะนั้นแล้วหรือยัง ซึ่งก็จะต้องเหนโทษและเห็นความละเอียดของความโกรธเสียก่อน ลักษณะของความโกรธต่างๆ รวมทั้งความผูกโกรธด้วยนั้น
....ข้อความใน สัมโมหวิโนทนี อรรถกถา พระวิภุงค์คปกรณ์ ขุททกวัตถุวิภังค์ ทุกนิสเทส ได้อธิบาย ลักษณะของความโกรธไว้ว่า...
....บุคคลใด ย่อมผูกโกรธไว้ในกาลก่อน ภายหลังความโกรธ เกิดขึ้นอีก ...ดังนี้ ก็ชื่อว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ..

....เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ที่ควรรู้ว่าโกรธใครแล้วยังไม่ลืม ยังโกรธอยู่อีก นี้คือความผูกโกรธ คำว่า"อฏฐาปนา" ความตั้งไว้ ได้แก่ การตั้งความโกรธไว้ติดต่อกัน ของความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก(โกรธไม่จบ โกรธครั้งแรกอย่างไร ก็ยังตั้งความโกรธไว้ ติดต่อกันกับความโกรธอันเกิดขึ้นครั้งแรก) การตั้งความโกรธไว้ ปกติเรยกว่า "การทรงไว้ซึ่งความโกรธ" การตั้งความโกรธไว้บ่อยๆ โดยส่วนทั้งปวง ชื่อว่า ความดำรงความโกรธไว้ การไม่แสดงความแตกต่างกันแห่งความโกรธหลังกับความโกรธอันเกิดก่อน แล้วทำไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่า "ความสั่งสมความโกรธไว้" คือ ไม่ลดลงเลย ไม่ว่ากาลเวลาจะล่วงไปนานสักเท่าใด
...ความสืบต่อความโกรธ ครั้งหลัง กับความโกรธครั้งแรก ชื่อว่า "ความผูกพันความโกรธไว้" คำว่า "ความยึดมั่นความโกรธ" ได้แก่ การทำความโกรธให้มั่นคง(ผูกไว้แล้วทำให้มั่นคงด้วย)
(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 00:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....คำว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า...ลักษณะนี้ มีความเข้าไปผูกโกรธไว้เป็นลักษณะ มีความไม่สละคืนซึ่งเวร..เป็นรสะ (กิจ) พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกลักษณะนี้ว่า อุปนาหะ ความผูกโกรธ ดังนี้
..อธิบายว่า..บุคคลผู้ประกอบด้วยความโกรธ ด้วยลักษณะใด ย่อม ไม่อาจเพื่อสละเวร ชื่อเห็นปานนี้ บุคคลนี้ย่อมติดตาม ซึ่งความโกรธ อื่นๆ อีกด้วย ลักษณะว่า..บุคคลนี้ ไม่สมควรพูดกะเรา อย่างนี้ ดังนี้
ความโกรธของเขาย่อมลุกโพลงทีเดียว ราวกะฟืนไม้สนอันไฟติดทั่วแล้ว ความโกรธนั้นย่อมไม่สะอาด เป็นราวกะหนังหมี อันบุคคลทำความสะอาดอยู่ และเป็นราวกะผ้าเก่าอันเปื้อนด้วยไขมันหรือน้ำมัน
....พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมด้วยพยัญชนะต่างๆ เพื่อที่จะให้พิจารณาเห็นจริงๆ ว่าในวันหนึ่งๆ เป็นอย่างนี้หรือเปล่า บางท่านก็อาจจะคิดว่า ทำไมต้องทรงแสดงไว้มาก แต่เทศนา ซึ่งผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงย่อมวิจิตรด้วยประการต่างๆ พร้อมด้วยคุณประโยชน์สำหรับ อัธยาศัยของผู้ฟังต่างๆ กัน ถ้าพูดครั้งเดียวเท่านั้น ใครสามารถจะระลึกได้ ใครสามารถจะพิจารณาได้
....พระธรรมเทศนา และคำอุปมาของพระผู้มีพระภาคซึ่งวิจิตร ด้วยคุณต่างๆ นั้น เปรียบเหมือนการให้เด็กทารกอาบน้ำ แต่งตัว ปะพรมด้วยของหอม แป้งฝุ่น แล้วเจิมหน้าด้วยซึ่งเป็นสิ่งประดับประดาที่เพิ่มเติมขึ้น ..เพราะฉะนั้น จึงต้องเจิมอีกหลายๆ จุด เพื่อที่จะส่งเสริมจุดที่เจิมไว้ให้เด่น หรือว่าให้งามพร้อมขึ้นฉันใด การที่ทรงแสดงข้อความโดยละเอียดทั้งหมด ฟังดูก็คล้ายๆกัน แต่ความจริงก็เพื่อที่จะให้ พิจารณาให้เห็นว่า ความโกรธที่เป็นความผูกพันไว้ก็มี

...ทุกคนไม่อยากโกรธ เพราะเมื่อโกรธแล้วเป็นทุกข์ เวลาไม่สบายใจ ก็เป็นทุกข์ เวลาเศร้าโศก เสียใจ ขุ่นเคืองใจ ก็เป็นทุกข์ ทุกคนไม่อยากจะมีความทุกข์ แต่ที่จะไม่มีความทุกข์ ได้นั้นต้องพิจารณา ให้ละเอียด ถ้าเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ไว้ว่า ทุกข์นั้นจะเป็นทุกข์ เล็กๆ น้อยๆ หรือว่าทุกข์ใหญ่ ก็จะต้องเกิดจากสาเหตุของทุกข์นั้น ซึ่งเหตุของทุกข์ย่อมมาจากความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
....ผู้ที่ดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้วนั้น ก็ดับโทสมูลจิตได้ แต่ถ้ายังเป็นผู้ที่ยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ย่อมหนีทุกข์ไม่พ้น..(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b48: :b42: เพราะความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเหตุที่จะทำให้โทสมูลจิตเกิด เมื่อไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา แต่ว่าโลภะก็เป็นสภาพธรรมที่ละเอียด เพราะว่านอกจากจะเป็นสภาพที่ติดข้อง ยินดี พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ตามปกติในชีวิตประจำวันแล้ว ก็ยังมีอกุศลกรรมซึ่งเกิดกับโลภะ เช่น ทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด)และมานเจตสิก(ความสำคัญตน เย่อหยิ่ง ทนงตน) ฉะนั้น ทุกข์จึงต้องเพิ่มขึ้นอีก ในเมื่อไม่ได้สิ่งที่ต้องการ.
.....ฉะนั้น จึงควรพิจารณาข้อความต่างๆ ที่กล่าวไว้ใน พระไตรปิฎก เพื่อที่จะได้รู้ว่า แต่ละท่านนั้นมีทุกข์ ซึ่งเกิดจากเหตุใดบ้าง ถ้าเป็นผู้ที่มีความมัวเมา มีความสำคัญตนเพิ่มขึ้น ทุกข์ก็ต้องเพิ่มขึ้น
ข้อความใน สัมโมหวิโนทนี อรรถกถา พระวิภังคปรณ์ ขุททก วัตถุวิภังค์ เอกกนิทเทส แสดงความมัวเมาไว้หลายอย่าง ได้แก่
.....ความมัวเมาในชาติ ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เพราะว่าแม้กษัตริย์ ย่อมเป็นผู้มัวเมาในชาติได้ว่า บุคคลอื่นเช่น เรา ไม่มีหรือไม่เหมือนเรา (ถ้าเป็นผู้ที่มัวเมาอย่างนี้ ลองคิดดูว่า จะทำให้เกิดควมทุกข์ได้ไหม...ในขณะที่มีความสำคัญตน ขณะนั้นก็มีความติดข้องพอใจ ในสภาพของตนซึ่งมีความสำคัญ ผู้ที่มัวเมาในความสำคัญตน จะป็นทุกข์ไหม ถ้ามีการต้อนรับซึ่งไม่สมเกียรติ ซึ่งก็ย่อมเป็นเหตุ ให้โทสลูลจิตเกิดได้ แม้เพียงเล็กน้อย)
.....แม้พราหมณ์ ก็ย่อมมีมานะได้ เช่น มานะว่า เราเป็นพราหมณ์กัสสปโคตร เราเป็นพราหมณ์ภารทวาชโคตร ถ้ามีผู้ที่เคารพนับถือน้อยไป ก็อาจจะเป็นเหตุให้ขุ่นเคืองใจได้ นี่ก็เป็นเหตุจะทำให้โทสมูลจิตเกิดได้

....แม้แพศย์ แม้ศูทร ก็มีมานะในตระกูลวงศ์ของตน ทุกคนที่มีมานะ ย่อมต้องการให้คนอื่นเห็นในความสำคัญของตน ขณะใดที่บุคคลอื่น ไม่เห็นความสำคัญของตน ขณะนั้นก็เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ คือ โทมนัสเวทนา ซึ่งเกิดกับโทสมูลจิต
.....บางคนมัวเมาในความไม่มีโรค ย่อมมีมานะว่าเราไม่มีโรค คนอื่นนอกจากเรามีโรคมาก บางคนก็คิดว่า ขึ้นชื่อว่าพยาธิ แม้เพียงจะผ่านผิวของเราก็ไม่มี (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....(ลองคิดดูว่า ถ้าเป็นผูที่มัวเมาถึงอย่างนี้ เมื่อเกิดโรคขึ้นแม้เพียงที่ผิวหนังเล็กน้อย คือที่หน้าหรือที่อื่น จะรู้สึกอย่างไร ทุกข์เกิดไหม เกิดแล้ว ..วันหนึ่งๆ โทมนัสเวทนาเกิดแล้ว นี่เป็นเรื่องที่ จะต้องพิจารณาจริงๆ ถ้าไม่พิจารณาก็จะไม่เห็นเลยว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดโทสมูลจิต หรือ โทมนัสเวทนา)
....บางคนมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ไม่ค่อยจะคิดถึงความแก่ ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดขึ้น (ถ้ามีความมัวเมา ไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้าในเรื่องความแก่ เมื่อถึงเวลาแก่ชรา ก็จะเป็นทุกข์เสียใจ)
....บางคนมัวเมาในชีวิต คิดว่าตัวเองจะต้องเป็นผู้ที่สุขสบายอยู่ตลอดไปเรื่อยๆ ไม่ได้คิดตระเตรียมที่จะพบกับความทุกข์ยากลำบาก หรือ ภัยพิบัติต่างๆ เลย เมื่อถึงเวลาเสื่อมลาภ ก็ย่อมจะโศกเศร้า มากกว่าผู้ที่ไม่มัวเมา หรือเมื่อคนอื่นได้ลาภมากกว่า ก็เสียใจ เพราะว่าเคยเป็นผู้ที่ได้ลาภมากกว่าคนอื่น ซึ่งจะต้องพิจารณาจิตใจโดยละเอียด เพื่อไม่ให้อกุศลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโทมนัสเวทนาที่แรงกล้า
....บางคนมัวเมาในสักการะ คือ ของที่ผู้อืนนำมาบูชาหรือเอามาให้โดยเห็นความสำคัญ ความยิ่งใหญ่ หรือเห็นคุณความดีต่างๆ เมื่อถึงเวลาหมดบุญ ไม่มีใครเหลียวแลเลย ก็เป็นทุกข์โทมนัส
.
.....บางคนก็มัวเมาในความเคารพ ถึงกับคิดว่าคนทั้งหลายไม่เคารพคนนั้นคนนี้ แต่ ทำความเคารพเรา คิดว่าเขาเหล่านั้น เห็นเราแล้วย่อมไหว้ ทำความเคารพ เป็นราวกะว่า ฉัตรติดตั้งอยู่ที่หิน ซึ่งก็จะต้องพิจารณาความละเอียดของจิตใจ เพราะว่าทุกคนก็กระทำการเคารพเป็นประจำ แต่ถ้าบังเอิญใครสักคนหนึ่ง ซึ่งเคยทำความเคารพแต่เกิดไม่แสดงความเคารพ ก็อาจจะเกิดขุ่นใจ เคืองใจ นี่คือความสำคัญตน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไม่พิจารณาเห็นว่า มัวเมา ในการทำความเคารพของคนอื่น
.....ข้อความใน สัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังคปรณ์ ขุททกวัตถุวิภังค์ เอกกนิทเทส แสดงความละเอียด ต่อไปจนถึง ความเป็น ผู้มัวเมาในความเป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่ตัดสินปัญหาของหมู่คณะ หรือแม้ภิกษุทั่วไปที่ไปบิณฑบาต เมื่อเดินนำ ก็มีมานะว่า ผู้อืนตามตนไป เพราะตนเป็นหัวหน้า เมื่อหมดสภาพของความเป็นหัวหน้า ก็ย่อมทำให้เกิดทุกข์โทมนัสได้ (ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b48: :b43:
....นอกจากนั้นก็เป็นผู้ที่มัวเมาในบริวาร ชอบที่จะมีผู้คนแวดล้อมมาก ถ้ามีน้อยลง จะรู้สึกอย่างไร และถ้าไม่มีเลย จะรู้สึกอย่างไร นี่คือเหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์ในวันหนึ่งๆ ซึ่งสามารถที่จะกำจัดได้ ละคลายได้ ถ้าพิจารณาจริงๆ ว่า อกุศลใดเป็นเหตุ ให้เกิดโทมนัสเวทนานั้นๆ
...นอกจากนั้น ผู้ที่มัวเมาในโภคสมบัติ ในลาภซึ่งได้มา ก็ไม่ใช่จะได้มาเป็นประจำ ได้มาเป็นครั้งเป็นคราว แต่สำหรับโภคสมบัติ คือ เงิน ทอง สำหรับใช้สอยประจำวัน ผู้ที่มัวเมา ในโภคสมบัติซึ่งมีมากนั้น ถ้ามีโภคสมบัติน้อยลง ก็ต้องเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทมนัส
...นอกจากนั้นก็มีผู้ที่มัวเมาใน วัฯฯ ซึ่งเป็นความสวยงามของร่างกาย หรือในคุณงามความดีที่มีผู้สรรเสริญ เช่น ความเป็นพหุสูตร หรือ มีศีล หรือความเป็นผู้รักษาธุดงค์ ถ้าคนอื่นไม่รู้ ก็เสียใจ นี่ก็เป็นเรื่องราวของความมัวเมา ทั้งนั้น ซึ่งถ้ามัวเมาแล้ว ก็เป็นเหตุ ให้ เกิดความทุกข์ มากกว่าผู้ที่ไม่มัวเมา
.....บางคนเป็นผู้มัวเมาในการศึกษา ว่าตนเป็นผู้มีการศึกษามาก บางคนเป็นผู้มัวเมาในการปฏิภาณ คือ ความฉลาดในการโต้ตอบ ในการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเมื่อคนอื่นไม่ยกย่องก็ขุ่นใจ
.....บางคนเป็นผู้ที่มัวเมาใน รัตตัญญู คือ ความเป็นผู้เก่าแก่ ได้ พบเห็นและสันทัดในกิจการต่างๆ ถ้าคนอื่นไม่เชื่อ หรือไม่เห็นด้วย ในความคิด ความเห็น ในการงานนั้น ก็ขุ่นเคือง บางท่านซึ่งเป็น พระภิกษุ ก็มัวเมาในการถือ บิณฑบาตเป็นวัตร ว่าเป็นผู้ที่ถือมาตั้งแต่บวช ส่วนคนอื่นนั้นเพิ่งจะถือ ซึ่งเมื่อบุคคลอื่นไม่ชื่นชม อนุโมทนาก็เสียใจ

.....บางท่านก็เป็นผู้ที่มัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น อาจจะเป็นผู้ที่มีความดีหลายอย่าง จน กระทั่งคนอื่นไม่ติ จึงทำใหเกิดความมัวเมาได้ว่า เราไม่เคยถูกใครดูหมิ่นเลย เมื่อมีใครติเตียนสักนิดเดียวจะรู้สึกอย่างไร อาจจะเป็นทุกข์หนักกว่าคนซึ่งรู้ตัวเองว่ามีหลายๆ อย่างซึ่งไม่ดี ซึ่งเมื่อคนอื่นติ ก็ควรจะรับฟัง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ควรจะขุ่นเคืองใจ
...บางคนก็มัวเมาในอิริยาบถที่น่าเลื่อมใส ในกิริยามรรยาทที่งาม ถ้าเกิดทำอะไรพลาดสักนิดเดียว จะเดือดร้อนไหม ตัวอย่างเช่น ถือชามแกงแล้วตกลงไป หรือช้อนส้อมอาจจะตก แก้วอาจจะแตก น้ำ เปรอะเปื้อนพื้น เป็นต้น ซึ่งไม่เคยกระทำมาก่อน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ ฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ไม่มัวเมาก็จะไม่เป็นทุกข์มาก..(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b48: :b42:
นอกจากนั้น ก็เป็นผู้ที่มัวเมาใน อิทธิฤทธิ์ มัวเมาในยศ มัวเมาในศีล มัวเมาในฌาน ถึงกับคิดว่า คนอื่นไม่ได้ฌานแม้สักว่าเพียงการดื่มน้ำของไก่ คือเก่งมากเลย คนอื่นนั้น ฌาน จิต แม้เพียงชั่วขณะจิตเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่เกิด
....บางคนมัวเมาใน ศิลปะ คือความสามารถในการงาน ความมัวเมาไม่มีวันจบ ยังมีความมัวเมาต่อไปอีก แม้ในความมีทรวดทรงสูง ก็เห็นว่าคนอื่นมีทรวดทรงเตี้ยต่ำ หรือบางคนมีความมัวเมา ในทรวดทรงสันทัด ก็เห็นว่าคอื่นมีรูปร่างแปลก ไม่น่าชมอะไร ของเขาก็แปลกไปทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น คิ้ว ตา จมูก ปาก แต่ว่าทรวดทรงของเรางาม น่าปลื้มใจ น่าเลื่อมใส เมื่อทรวดทรงงามเปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมเสียใจ เป็นทุกข์ บางคนแม้จะไม่มีทรวดทรงงาม แต่ก็ยังมีความมัวเมาในร่างกายที่บริบูรณ์ ตั้งแต่ศรีษะจรดเท้า แม้เส้นผมก็ไม่มีการที่จะไม่บริบูรณ์
.
...จะเห็นได้ว่า ยิ่งมัวเมาก็ยิ่งเป็นทุกข์ เพราะสภาพธรรม ย่อมไม่สามารถที่จะดำรงอยู่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไป ตามกาลเวลา ฉะนั้น แทนที่จะคิดว่าคนอื่นไม่งาม หรือว่าคนอื่นดีกว่าเราไม่ได้ หรือว่าแม้ว่าเขาจะดี ก็คิดว่าสู้เราไม่ได้ แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ก็ควรที่จะเห็นกิเลสของตน แล้วพยายามขัดเกลา
....ต้องมีความพยายามตั้งใจจริงๆ ซึ่งเมื่อเห็นความไม่ดีของตนเองแล้ว ก็ยังจะต้องตั้งใจจริงๆ ที่จะขัดเกลาด้วย
....นี่เป็นเรื่องของความทุกข์ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นได้ว่ามาจากเหตุหลายอย่าง แต่มีทางที่จะเป็นผู้เบิกบาน อิ่มเอิบในกุศล และลด คลายอกุศล ซึ่งเป็นโทสมูลจิตลงได้ ถ้าพิจารณา ถึงเหตุที่จะให้เกิดโทสมูลจิตของตนเองโดยละเอียด

....ข้อความใน ขุททกนิกาย มหานิทเทส สารีปุตตสุตตนิทเทส ที่ ๑๖ ข้อ ๙๗๕ มีว่า..
....ภิกษุ ตักเตือนด้วย วาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึงทำลายความเป็นผู้กระด้าง ในสพรหมจารี ทั้งหลาย พึงเปล่งวาจา อันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่พึงคิดเพื่อธรรม คือการว่ากล่าวซึ่งชน
....ชีวิตประจำวันไม่มีใครอยากจะติคนอื่นเลย เพราะรู้ว่าติแล้วเขาก็โกรธหรือไม่พอใจ ฉะนั้น ผู้ที่ถูกติ ควรจะเห็นคุณของผู้ที่ติว่า ถ้าผู้ติ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ของผู้ถูกติ แล้วจะเตือนหรือจะติไหม เพราะการติ หรือ การเตือนนั้นไม่ใช่ง่ายอย่างการชม หรือ การสรรเสริญ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ย. 2010, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....แต่ว่าจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักบุคคลนั้นพอที่จะรู้ว่า จะสงเคราะห์ด้วยการติหรือการเตือนได้หรือไม่ ถ้าสงเคราะห์ไม่ได้ ก็จะไม่ติหรือเตือนเลย เพราะว่าไม่มีประโยชน์ แต่สำหรับผู้ที่ถูกติ นั้น ควรพิจารณาว่า เมื่อมีใครติ หรือเตือน รู้สึกอย่างไร
....ข้อความต่อไปในข้อ ๙๗๖ มีว่า คำว่า ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุ ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ (เป็นอย่างนี้หรือเปล่า)
....ความว่า พระอุปฌายะ พระอาจารย์ พระเถระปูนอุปฌายะ พระเถระปูนอาการย์ มิตรผู้ที่เคยเห็นกัน ผู้ที่คบกันมา หรือสหายตักเตือนว่า "ท่านผู้มีอายุ กรรมนี้ไม่ควรแก่ท่าน กรรมนี้ยังไม่ถึงแก่ท่าน กรรมนี้ไม่เหมาะแก่ท่าน กรรมนี้ไม่งดงามแก่ท่าน" ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติ ยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น
....สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า..
บุคคลพึงเห็นผู้ใดแสดงโทษ กล่าวข่มขี่ มีปัญญาว่า เป็นเหมือนบุคคลผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้ พึงคบหาบุคคลเช่นนั้น ไม่มีโทษลามกเลย พึงกล่าวสอน พึงพร่ำสอน และพึงห้ามจากธรรมของอสัตบุรุษ บุคคลนั้นเป็นที่รักของพวกสัตบุรุษเท่านั้น เป็นที่ชังของพวกอสัตบุรุษ ดังนี้
...เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ (ถ้าใครเป็นอย่างนี้ น่าตักเตือนไหม เป็นเรื่องที่จะต้องรู้จริงๆ ว่า ประโยชน์อยู่ที่ไหน)
...ชื่อว่า สพรหมจารี ในคำว่า พึงทำลายความเป็นผู้กระด้าง ใน สพรหมจารี ทั้งหลาย คือ บุคคลที่มีกรรมเป็นอันเดียวกัน มีอุเทศเป็นวันเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน...(ต่อ..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b42: :b48: :b43: :b43:
....คำว่า พึงทำลายความเป็นผู้กระด้าง ใน สพรหมจารีทั้งหลาย ความว่า...พึงทำลายความเป็นผู้มีจิตอันความโกรธกระทบเข้าแล้ว พึงทำลายความเป็นผู้มีจิตกระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย คือ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิตทั้ง ๕ พึงทำลายความกระด้างแห่งจิตทั้ง ๓ พึงทุบ พึงทำลาย กำจัดซึ่งความกระด้าง เพราะ ราคะ ความกระด้างเพราะ โทสะ ความกระด้างเพราะโมหะ
...เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย
....คำว่า พึงเปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ความว่า...พึงเปล่งวาจาอันเกิดแต่ฌาน คือ พึงเปล่ง เปล่งออก เปล่งออกดี ซึ่งวาจาประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม ซึ่งเป็นวาจาประกอบด้วยประโยชน์ มีอ้างอิง มีที่สุด ตามกาล อันควร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาที่เป็นกุศล
.
...ชื่อว่า ขอบเขต ในคำว่า ไม่พึงกล่าววาจาเกินขอบเขต ได้แก่ขอบเขต ๒ อย่าง คือ ขอบเขตตามกาล ๑ ขอบเขตตามศีล ๑
....ขอบเขตตามกาลคือ ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาล ไม่พึงกล่าว วาจาล่วงเกินเวลา ไม่พึงกล่าววาจาล่วงเกินกาลและเวลา ไม่พึงกล่าววาจา ที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงเวลา ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาลและเวลา
....ขอบเขตตามศีล...คือ บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าวาจา ผู้โกรธเคืองไม่ควรกล่าวาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา และไม่ควรกล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่ง มุสาวาท ปิสุณา วาจา ผรุสวาจา สัมผัสปลาปวาจา

....สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เหมือนสตรีที่เป็นสาวหรือบุรุษที่เป็นหนุ่ม กำลังเจริญ ชอบแต่งตัว อาบน้ำ ดำเกล้าแล้ว ได้พวงมาลัยดอกบัวก็ดี มาลัยดอกมะลิก็ดี พวงมาลัยดอกลำดวนก็ดี รับด้วยสองมือแล้ว เอาวางไว้บนศรีษะ ซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด พึงยินดีพึงชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ฉันใด (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้น พึงเข้าไปตั้งสติ ยินดี ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา อยากได้ ประสงค์ ปรารถนา รักใคร่ ติดใจ ซึ่งความตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และใคร่ครวญและน้อมประพฤติปฏิบัติตาม ตามความสามารถ ไม่ใช่เพียงแต่ได้ฟังแล้วก็ผ่านไป
....นี่คือสภาพจิตในชีวิตประจำวันจริงๆ ใครมีโทสมูลจิตมาก คนนั้นมีกิริยาอาการไม่แช่มชื่นอย่างไร แล้วแต่กำลังของความโกรธ ถ้าโกรธมากอาการก็รุนแรงมาก ซึ่งปรากฏลักษณะอาการของคนดุ นั่นคือลักษณธของผู้ที่โทสมูลจิตเกิดขึ้นบ่อยๆ ตรงกันข้าม กับผู้ที่สงบเสงี่ยม

....ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค จัณฑสูตร ข้อ ๕๘๖ มีข้อความว่า ครั้งนั้นแล นาย จัณฑคามี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต้พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้บุคคลบางคนในโลกนี้ถึงความนับว่าเป็นคนดุ ก็อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยทำให้บุคคลบางคนในโลกนี้ ถึงความนับว่าเป็นคนสงบเสงี่ยม พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูก่อน นาย คามณี คนบางคนในโลกนี้ยังราคะไม่ได้ เพราะเป็นผู้ยังละ ราคะไม่ได้ คนอื่นจึงยั่วให้โกรธ คนที่ยังราคะไม่ได้ เมื่อถูกคนอื่นยั่วให้โกรธ ย่อมแสดงความโกรธให้ปรากฏ ผู้นั้นจึงนับได้ว่า เป็นคนดุ (ข้อความต่อไป ทรงแสดงถึงคนที่ละโทสะ โมหะ ได้แล้ว ก็ตรงกันข้าม คือ เป็นผู้ที่สงบเสงี่ยม คนอื่นไม่สามารถยั่วให้โกรธได้)
......เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้แล้ว นายจัณฑคามณีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ แจ่มแจ้งยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกหนทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า คนมี จักษุ จักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ขอถึงพระผู้มีพระภาคกับทั้งพระธรรมและพระภิษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาค โปรดทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป....
......จบ จัณฑสูตรที่ ๑.....
(ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b43: :b42: :b43: :b42: :b43:
....ในมโนรถปูรณี อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๖ อธิบาย อภิกกันตะ ศัพท์ มีข้อความว่าดังนี้
....."ท่านผู้รู้ พึงทำการพูดซ้ำในความกลัว ความโกรธ การสรรเสริญ ในความรีบด่วน ในความโกลาหล ในความอัศจรรย์ ในความรื่นเริง ในความโศกเศร้า และในความเลื่อมใส"
....ในชีวิตประจำวัน อาจจะพูดซ้ำ เมื่อสติเกิดระลึกได้ ก็รู้ว่าขณะนั้นกลัว หรือ โกรธ หรือโศกเศร้า หรือโกลาหล หรือ เป็นการสรรเสริญ หรือเป็นการรีบด่วน เป็นการรื่นเริง หรือเป็นความเลื่อมใส
.....ทุกขณะชีวิตเป็นนามธรรมและรูปธรรม ที่สติสามารถระลึกได้ ไม่ว่าจเป็นอกุศลธรรมที่เล็กน้อยสักเพียงไร และไม่ว่าจะอยู่ในภพภูมิไหน ไม่ว่าจะเป็นโทสมูลจิต ซึ่งเป็นความทุกข์อย่างเบาบาง เล็กๆ น้อยๆ หรือว่าจะเป็นโทสมูลจิตซึ่งเป็นความทุกข?โทมนัสอย่างรุนแรง สติก็จะสามารถที่จะระลึกได้ ในมนุษย์ภูมินี้มีสุขกับทุกข์เจือกัน แต่ว่าในบางภูมิ สุขย่อมมากกว่าทุกข์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปราศจากทุกข์ เสียเลย

......ข้อความในมโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ตักนอบาต ปฐมปัณณาสก์ วรรคที่ ๓ สังขารสูตร แสดงทุกข์ของพวกเทพ มีข้อความว่า
......ความสุขและความทุกข์อันเจือกัน ความสุขย่อมมีแก่มนุษย์ทั้งหลายโดยกาล ความทุกข์ย่อมมีแก่มนุษย์ทั้งหลายโดยกาล เทวดาชั้นกามาวจร ความสุข ย่อมมีแก่เทพดาเหล่านั้นโดยกาล ความทุกข์ย่อมมีแก่เทพดาเหล่านั้นโดยกาล เทพดาเหล่านั้น ผู้ต่ำกว่า เห็นเทพดาผู้มีศักดิ์ใหญ่กว่าแล้ว จำต้องลุกจากอาสนะ ต้องหนีออกไปจากทาง พึงนำออกซึ่งผ้าคลุม พึงกระทำอัญชลีกรรม สิ่งนั้นทั้งหมด ชื่อว่าเป็นความทุกข์
....ดูเหมือนไม่ใช่ทุกข์ แต่ใจใครจะรู้ว่า มีความขุ่นเคืองใจ มีความไม่พอใจ มีความน้อยใจ ในขณะที่เห็นเทพดาผู้มีศักดิ์ใหญ่กว่า แล้วจำต้องลุกจากอาสนะ ต้องหลีกออกไปจากทาง และพึง กระทำอัญชลี
(ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: :b43:
....บางคนอาจจะไม่อยากไหว้คนอื่น เพราะคิดว่าคนอื่นควรจะไหว้เขา ฉะนั้น เมื่อมีคนซึ่งจะต้องทำอัญชลีกรรม ก็อาจจะรู้สึกขุ่นเคืองใจ หรือเป็นควาทุกข์อย่างเบาบางเล็กน้อย แต่ขณะนั้น ก็ให้ทราบว่า เป็นความไม่สบายใจแล้ว
.....ถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ สติปัฏฐานก็สามารถที่จะระลึกลักษณะของความขุ่นใจ ซึ่งต้องรู้ ถ้าไม่รู้ความขุ่นใจ นั้นก็เป็นเรา เป็นตัวตน ไม่สามารถที่จะดับ การยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคลได้ มีใครคิดว่าจะละกิเลสได้โดยไม่ต้องรู้ความขุ่นใจ เป็นไปได้ไหม เป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุใด เพราะความขุ่นใจมีจริงๆ เมื่อความขุ่นใจมีจริง เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและเคยยึดถือ และรู้ว่าลักษณะนั้นไม่ใช่ตัวตน เพราะเป็นสภาพนามธรรมอย่างหนึ่งเท่านั้น

....ข้อความใน ขุททกนิกาย มหานิทเทส สารีปุตตสุตตนิเทส ที่ ๑๖ ข้อ ๙๔๕ มีข้อความแสดงว่า
....ภิกษุควรรู้ความขุ่นใจ (ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานก็เป็นภิกษุด้วย เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ความขุ่นใจด้วย) ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุควรรู้ความขุ่นใจ คำว่าใจ คือ จิตใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนาย ตนะ มนินทรีย์ วิญญาน วิญญานขันธ์ มโนวิญญานธาตุ อันเกิดแต่ผัสสะ เป็นต้นนั้น
....จิตเป็นธรรมชาติที่ขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ
.....บางคนคิดว่าทำไมต้องใช้คำมากมายหลายคำ ก็เข้าใจอยู่แล้วว่า จิตใจคือจิต แต่ทั้งนี้ ต้องแล้วแต่ว่าผู้ใดจะระลึก ตรึก ในลักษณะของ หทัย มนะ มนาย ตนะ มนินทรีย์ วิญญาน หรือ วิญญานขันธ์ แล้วแต่ว่าเข้าใจสภาพของจิตโดยสภาพใด คือโดยสภาพที่เป็นมนะ หรือ มนายตนะ หรือ มนินทรีย์ หรือ วิญญานหรือ วิญญานขันธ์

......จิตเป็นธรรมชาติที่ขุ่นมัว เศร้าหมอง ยุ่ง วุ่น หวั่นไหว หมุนไป ไม่สงบ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เพราะ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งหลาย ทุจริตทั้งหลาย ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง (ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....คำว่า เมื่อใดภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ ความว่า ภิกษุพึงรู้ รู้ทั่ว รู้วิเศษ รู้วิเศษเฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อใดภิกษุพึงรู้ความขุ่นใจ (เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน) นอกจากความขุ่นใจเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทำใหปราศจากความสุข และ กำจัดเสียซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแล้ว บางกาลโทสมูลจิตที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละคนนั้น ย่อมเป็นทุกข์ใหญ่จึงเห็นได้ชัด
....ในสัมโมหวิโนทนี อรรถกถาพระวิภังคปกรณ์ นิทเทส แห่ง โสกะ มีข้อความเรื่อง พยสนะ คือ ความพินาศ ๕ ประการ ได้แก่ ญาติพยสนะ ๑ โภคพยสนะ ๑ โรคพยสนะ ๑ สีลพยสนะ ๑ ทิฏฐิพยสนะ ๑
ความเศร้าโศกย่อมเกิดจากพยสนะเหล่านี้ คือ
.....๑ ญาติพยสนะ ความสิ้นไปแห่งญาติ หรือ ความพินาศแห่งญาติ ด้วยโจรภัยและโรคภัยเป็นต้น ญาติเป็นที่รัก ทุกข์ย่อมเกิดเพราะมีโลภะเป็นเหตุ
....เมื่อมีความยินดีพอใจใน สัตว์ บุคคล ในวัตถุสิ่งใด ย่อมมีทุกข์ ซึ่งเกิดเพราะสิ่งนั้น เมื่อญาติสิ้นไป ก็จะต้องมีความโศกเศร้าเสียใจ หรือแม้แต่ความพินาศของญาติที่ถูกโจรภัยหรือโรคภัย เป็นต้น
....ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยก็เป็นทุกข์ โทมนัส ซึ่งถ้าเป็นคนอื่น ก็คงจะมีความสงสาร มีความเห็นอกเห็นใจ แต่ไม่ถึงกับโศกเศร้า เสียใจ ซึ่งเป็นทุกข์ใหญ่อันหนึ่งซึ่งเนื่องจากญาติ ฉะนั้น จึงไม่มีข้อสงสัยเลย ในเรื่อง ญาติพยสนะ (ความพินาศแห่งญาติ)

....๒ โภคพยสนะ คือ ความพินาศเกิดจากโภคทรัพย์ คือ ความสิ้นไปแห่งโภคทรัพย์ ด้วยอำนาจของราชภัย หรือโจรภัย เป็นต้น เมื่อยังไม่เกิดกับตน ก็ยังรู้สึกว่าเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อ ทรัพย์ สมบัติ ของตนเสื่อมไปบ้าง สูญไปบ้าง หายไปบ้าง ถ้าเป็นสมบัตินิดๆหน่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ค่อยจะโศกเศร้าหรือเดือดร้อนเท่าใร แต่ถ้าทรัพย์สมบัติที่สูญเสียนั้นมาก ความรู้สึกก็จะหวั่นไหว แต่ขอให้พิจารณาว่า การเสื่อมทรัพย์เป็นจำนวนมากนั้น เปรียบเสมือนการทดลองการจาก ซึ่งจะต้องมีการจากที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีกเมื่อสิ้นชีวิตไป ซึ่งต้องจากกทรัพย์ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแต่ส่วนเดียว หรือส่วนใหญ่เท่านั้น (ต่อ...)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:
.....ฉะนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ถึงแม้จะเสื่อมทรัพย์ไปมากหรือน้อยเพียงใดก็ตาม ก็เป็นการทดลอง หรือพิสูจน์ความติดข้องในทรัพย์นั้นว่า ทำให้จิตใจหวั่นไหวมากน้อยเพียงใด หรือมีความมั่นคงพอที่จะจากทุกสิ่งไป ทุกคนต้องจากโลกนี้ไป แต่ว่าจะจากโดยการพร้อมหรือไม่พร้อม...ถ้ายังไม่พร้อมก็เป็นทุกข์ โศกเศร้า อาลัย อาวรณ์ เสียดาย แม้รู้ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องจากไป
....๓ โรคพยสนะ ความพินาศซึ่งเกิดแต่โรค เพราะโรค ย่อมทำความไม่มีโรคให้พินาศ คือ ทำความไม่มีโรคให้สิ้นไป ตราบใดที่ยังไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ก็ยังไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์ แต่ถ้าเป็นโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง ก็จะเกิดทุกข์ โทมนัสตามควรแก่โรคนั้นๆ ซึ่งหนีไม่พ้นเหมือนกัน ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ล่วงหน้าได้ว่า ต่อไปข้างหน้าจะมีโรคร้ายแรงขนาดไหน ซึ่งย่อมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุ คือกรรม ที่ได้กระทำไว้แล้ว

.....๔..สีลพยสนะ ความพินาศซึ่งเกิดแต่ศีล คือ ความทุศีลย่อมทำให้ศีลสิ้นไป เมื่อมีทุจริตกรรมคือ การล่วงศีลเกิดขึ้น ย่อมได้รับทุกข์ด้วยประการต่างๆ ตั้งแต่เสื่อมเสียชื่อเสียง และไม่มีใครคบหาสมาคม และยังได้รับผลของอกุศลกรรมในการล่วงศีลนั้นๆตามควรแก่เวลา และความหนักเบาของทุจริตกรรมนั้นด้วย
.....๕...ทิฏฐิพยสนะ ความเสื่อมความพินาศซึ่งเกิดจากความเห็นผิด ซึ่งเป็นอันตรายมาก เพราะไม่สามารถคิดพิจารณาอย่างถูกต้องในเหตุผลของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากความเห็นผิด สังสารวัฏฏ์ก็จบสิ้นละไม่ได้
....ต่อไปก็จะถึงทุกใหญ่ คือทุกข์ของมรณะ จบสิ้นทุกข์เลก ทุกข์น้อย ที่มีในชีวิตประจำวัน แล้วในที่สุดก็ถึงทุกข์ใหญ่ที่สุด คือทุกข์ ของมรณะ

.....ข้อความใน สัมโหวิโนทนี อรรถกถา พระวิภังคปรณ์ สัจจวิภังคนิทเทส มีข้อความว่า แม้มรณะนี้ ตัวเองก็ไม่เป็นทุกข์ แต่พระองค์ตรัสว่า เป็นทุกข์ โดยเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ ความจริง เวทนาอันมีในสรีระ
ซึ่งแม้เกิดในที่สุดแห่งความตาย จะเผาสรีระ เหมือนคบหญ้าติดไฟที่ถือไว้ทวนลม ในเวลาที่นิมิตแห่งนรก เป็นต้น ปรากฏ ก็จะเกิดโทมนัสอย่างรุนแรงขึ้น พึงทราบมรณะว่าเป็นทุกข์ โดยวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ แม้ทั้งสองนี้ ด้วยประการฉะนี้ (ต่อ....)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2010, 16:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b39: :b48: :b43: :b43: :b42: :b42:
....ผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม ทราบว่า ความตายนั้น คือจิตขณะสุดท้าย เกิดขึ้นและดับไป จิตขณะสุดท้ายของภพนี้ ชาตินี้ ทำกิจจุติคือ เคลื่อนหรือพรากให้สิ้นสุด สภาพความเป็นบุคคลนี้ จะกลับมาสู่ความเป็นบุคคลนี้อีก ไม่ได้เลย สูญสิ้นความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง ในสังสารวัฏฏ์ ในชาติก่อนๆที่แล้วมา เคยเป็นใครอยู่ที่ไหน ทำอะไร ก็สิ้นสุดสภาพของความเป็นบุคคลนั้น เมื่อตายจากชาติก่อนแล้ว เกิดมาเป็นบุคคลในชาตินี้ ฉันใด เมื่อจุติจิต คือ จิต ดวงสุดท้ายของชาตินี้เกิดขึ้นและดับไป ก็สิ้นสุดความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ ฉันนั้น
......เพียงชั่วขณะเดียวที่จุติเกิดแล้วดับ จะเป็นทุกข์ไหม ชั่วขณะจิตเดียวนั้นไม่รู้สึกเป็นทุกข์เลย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เป็นทุกข์ โดยเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ คือเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์ ๒ อย่าง คือทุกข์กายและทุกข์ใจ เพราะว่าโดยทั่วๆ ไป เวทนาที่เกิดก่อนจุตินั้นเผาสรีระ อุปมา ดุจคบหญ้าติดไฟที่ถือไว้ทวนลม แต่สำหรับบางท่านเห็นง่ายเหลือเกิน ตายแล้วเกิดก็เหมือนกับหลับแล้วตื่น เพียงหลังจากเห็นเมื่อจักขุทวารวิถีจิตดับหมดแล้ว จุติจิตก็เกิดได้ หรือหลังจากที่ภวังจิตเกิดต่อจากจักขุทวารวิถีแล้ว หรือต่อจากโสตทวารวิถี ฆานทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี กายทวารวิถี แล้ว จุติจิตก็เกิดได้
.....ฉะนั้น จึงเป็นปกติเหมือนอย่างนี้ ความจริงที่เปรียบการตายแล้วเกิด คล้ายกับหลับตาแม้ลืมตานั้นก็ว่ายังช้าไป คือเพียงชั่วขณะ จุติจิต ขณะเดียวเกิดขึ้นและดับไป และปฏิสนธิจิตเกิดต่อเพียงหนึ่งขณะนั้น จะเร็วสักแค่ไหน ฉะนั้น ผู้ที่ไม่มีทุกขเวทนาแรงกล้าก่อนจุติจิต คือก่อนตายนั้น ก็แล้วแต่กรรมชั่วแต่ละท่านได้กระทำมา เพราะการที่ตายจะกระทบกับรูปใด แล้วเป็นปัจจัยให้จิต ที่เป็นผลของกรรม คือเป็นวิบากจิตเกิดกับสุขหรือทุกขเวทนานั้น ต้องเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว

.....ถ้าเป็นผู้ที่พร้อมจริงๆ จะไม่น่ากลัวเลย เพราะว่าทันทีที่จุติจิตดับปฏิสนธิ จิตก็เกิดต่อทันที เมื่อยังไม่หมดกิเลส ยังไม่ใช่พระอรหันด์ ก็จะต้องเกิดอีกแน่นอน จะกลัวตายไหม เพราะเมื่อ จุติจิต เกิดแล้วดับไปแล้ว ปฏิสนธิจิตก็เกิดต่อทันที จะเสียดายภพนี้ ชาตินี้ไหม ซึ่งเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ที่ยังอยากจะอยู่ต่ออีกหรือไม่ ทั้งนี้เพราะว่า เมื่อขันธ์เกิดขึ้นปรากฏ ที่จะไม่ยินดี พอใจ ยึดมั่นในขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร