วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้พิจารณาคำของพระพุทธเจ้าแล้ว

1/ทำให้เข้าใจว่า เพราะตัณหานั่นเอง
คือมูลเหตุที่ทำให้จิตไม่เย็น ทำให้จิตไม่พ้นไปด้วยดี
ทำให้จิตไม่ว่างจากภพ ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ

2/ตัณหา สามารถทำให้ดับลงไปได้ในขณะที่ร่างกายนี้ยังไม่แตกทำลาย

3/เวทนา ทั้งหลายไม่ใช่สิ่งจะต้องห้ามไม่ให้เกิด

4/เวทนาทั้งหลาย หากไม่มีตัณหาเข้าไปเกี่ยวข้องผูกพันด้วยแล้ว เวทนานั้นจักกลายเป็นของเย็นทันที


ทำอย่างไร ตัณหาจึงจะไม่ปรากฏ?
...ด้วยการเห็นว่า เวทนานั้นไม่เที่ยง เวทนาเป็นของแปรปรวน
เวทนานั้นไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่อย่างไร
...ด้วยการเจริญมรรคมีทั้งแปด
...ด้วยเจริญสติปัฏฐาน๔ เจริญอานาปานสติ
ตามแบบฉบับที่พระพุทะธเจ้าทรงทิ้งเอาไว้ให้เป็นพุทธมรดก...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 11:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตญาณ เขียน:
๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว
วิชชาเกิดขึ้นแล้ว
ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ
ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา

เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น

เมื่อไม่ทำ เมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้งกลัว
เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง
อันตนไม่ยึดถือแล้วด้วยตัณหา
อันตนไม่เพลิดเพลินแล้วด้วยตัณหา

ภิกษุนั้นถ้าเสวยสุขเวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็วางใจเฉยเสวยไป
ถ้าเสวยอทุกขมสุข-เวทนา ก็วางใจเฉยเสวยไป


ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย
ก็รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางกาย


เมื่อเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาที่ปรากฏทางชีวิต


รู้ชัดว่า เวทนาทั้งปวงอันตัณหาไม่เพลิดเพลินแล้ว จักเป็นของเย็น สรีรธาตุจักเหลืออยู่ในโลกนี้เท่านั้น เบื้องหน้าตั้งแต่สิ้นชีวิต เพราะความแตกแห่งกาย ฯ


:b1: :b8: :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 11:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านอนัตตญาณ....

ช่วยให้ความหมายของคำว่า ตัณหา ... ได้รึเปล่าคะ...

แบบว่า จริง ๆ ก่อนหน้านั้นนานแสนนาน...เอกอนก็จำได้เสมอ...
ว่าเพราะตัณหา เพราะตัณหา...
แต่ต้องยอมรับ...เอกอนไม่ได้ใช้คำนี้มานานแสนนาน...
เพราะ...
อย่าง...ความทุกข์...เอกอนก็...มองมันในลักษณะที่ว่า สภาวะที่ไม่อาจคงสภาพได้
ส่วน ตัณหา...เอกอนก็...มองมันในลักษณะ ความน้อมไปใน...
...
พอเรามาจับประเด็นนี้ ทำให้เรา... ลืมบัญญัติน่ะท่าน... อิ อิ...

ช่วยทบทวนความจำให้เอกอนด้วย...

:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ย. 2010, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
1/ทำให้เข้าใจว่า เพราะตัณหานั่นเอง
คือมูลเหตุที่ทำให้จิตไม่เย็น ทำให้จิตไม่พ้นไปด้วยดี
ทำให้จิตไม่ว่างจากภพ ไม่พ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ


:b4: :b4: :b4:
:b35: :b35: :b35:
เจ๋งเป้ง

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
ท่านอนัตตญาณ....

ช่วยให้ความหมายของคำว่า ตัณหา ... ได้รึเปล่าคะ...

แบบว่า จริง ๆ ก่อนหน้านั้นนานแสนนาน...เอกอนก็จำได้เสมอ...
ว่าเพราะตัณหา เพราะตัณหา...
แต่ต้องยอมรับ...เอกอนไม่ได้ใช้คำนี้มานานแสนนาน...
เพราะ...
อย่าง...ความทุกข์...เอกอนก็...มองมันในลักษณะที่ว่า สภาวะที่ไม่อาจคงสภาพได้
ส่วน ตัณหา...เอกอนก็...มองมันในลักษณะ ความน้อมไปใน...
...
พอเรามาจับประเด็นนี้ ทำให้เรา... ลืมบัญญัติน่ะท่าน... อิ อิ...

ช่วยทบทวนความจำให้เอกอนด้วย...

:b9: :b9: :b9:



ขออนุญาต นำคำของพระพุทธเจ้า มาแสดงนะครับ :b45:

ภิกษุ ท.! เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา
อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์
มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์,


ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้
ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก
นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะ-และปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้.

พวกเธอจงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.


ครั้งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว,
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะนี้ว่า :-


ภิกษุ ท.! ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า
จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์มีธรรมชาติไหนนอง แผ่กว้าง
เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้
ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและ
ปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้?

ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง
ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน
และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.


ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)
๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายใน นั้นคือ
เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ว่า "เรามี เราเป็น" ดังนี้ ก็เกิด
ความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)" ดังนี้๑,
ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่” ดังนี้ ๑ ,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ” ๆ ดังนี้ ๑ ,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ”ดังนี้ ๑,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า"ขอให้เราเป็นอย่างอื่น" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น" ดังนี้๑.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน.



ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)๑๘ อย่าง
ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก
เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก
คือ เมื่อมีความนึกไปในทางที่ว่า "เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้" ดังนี้
ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา
ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก)นี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า"เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้"ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก.

ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แหละ
ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายในด้วย
และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย
เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต๓๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล
เป็นอดีต ๓๖อย่าง,
เป็นอนาคต๓๖ อย่าง,
และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง,
รวมเป็นตัณหาวิจริต๑๐๘ อย่าง.

ภิกษุ ท.! นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์
มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์

ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ถูกทำ ให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง
ประสานกับสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ
จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๙/๑๙๙.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน.
ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.



เข้าใจว่า พระสูตรนี้ คงทำให้เข้าใจที่มาของคำว่าตัณหา๑๐๘ ได้ชัดเจนกันทั่วถึง
เมื่อใดที่เกิดรู้สึกว่า มีเรา ของเรา เป็นเรา เป็นของเรา ฯลฯ ขึ้นมาเมื่อใด
เมื่อนั้นให้เข้าใจได้ว่า มีการเกิดขึ้นของตัณหาแล้ว

ตัณหา ก็มีการเกิดดับ อยู่เป็นธรรมดา
มันมีช่องว่าง ระหว่างการเกิดดับของตัณหา อยู่
หากผู้ใดค้นหาพบ ช่องว่างตรงนั้น ก็ถือว่าเป็นความโชคดี(ภควา)ของผู้นั้น
อยู่ตรงนั้นได้นานเท่าใด ก็โชคดีเท่านั้น ครับ :b1: :b45: :b41: :b41: :b41:


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 21 ก.ย. 2010, 08:52, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 12:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตญาณ เขียน:
ขออนุญาต นำคำของพระพุทธเจ้า มาแสดงนะครับ :b45:

ภิกษุ ท.! เราจักแสดงแก่พวกเธอ ถึงเรื่อง ตัณหา
อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์
มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์,


ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้
ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก
นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะ-และปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้.

พวกเธอจงฟังข้อความนั้น ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้.


ครั้งภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลสนองรับพระพุทธดำรัสแล้ว,
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสพระพุทธวจนะนี้ว่า :-


ภิกษุ ท.! ตัณหานั้น เป็นอย่างไรเล่า
จึงชื่อว่ามีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์มีธรรมชาติไหนนอง แผ่กว้าง
เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้
ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและ
ปัพพชะ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้?

ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา) ๑๘ อย่าง
ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน
และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก เหล่านี้ มีอยู่.


ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)
๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน เหล่านั้น เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์ อันเป็นภายใน นั้นคือ
เมื่อมีความนึกไปในทาง ที่ว่า "เรามี เราเป็น" ดังนี้ ก็เกิด
ความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆ (คืออย่างเดียวกันกับคู่เปรียบ)" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างอื่น (คือแตกต่างตรงกันข้ามจากคู่เปรียบ)" ดังนี้๑,
ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้เที่ยงผู้ยั่งยืน" ดังนี้ ๑,
ว่า “เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่” ดังนี้ ๑ ,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนี้ ” ๆ ดังนี้ ๑ ,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ”ดังนี้ ๑,
ว่า “เราพึงเป็นอย่างอื่น” ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า"ขอให้เราเป็นอย่างอื่น" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น" ดังนี้๑.
ภิกษุ ท.! เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายใน.



ภิกษุ ท.! ตัณหาวิจริต (ความนึกที่ซ่านไปด้วยอำนาจแห่งตัณหา)๑๘ อย่าง
ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก
เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.!ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก
คือ เมื่อมีความนึกไปในทางที่ว่า "เรามี เราเป็น ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก) นี้" ดังนี้
ก็เกิดความนึกที่เป็นไปตามอำนาจแห่งตัณหา
ว่า "เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่ง (คือขันธ์อันเป็นภายนอก)นี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างนั้น ๆด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นอย่างอื่นด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราเป็นผู้เที่ยง ผู้ยั่งยืน ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า"เราพึงมีอยู่ พึงเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราพึงเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เรามีอยู่ เป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "ขอให้เราเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักมีอยู่ จักเป็นอยู่ ด้วยสิ่งนี้"ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนี้ ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างนั้น ๆ ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ว่า "เราจักเป็นอย่างอื่น ด้วยสิ่งนี้" ดังนี้ ๑,
ภิกษุ ท.!
เหล่านี้แล ชื่อว่า ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอก.

ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แหละ
ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายในด้วย
และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย
เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต๓๖ อย่าง.

ภิกษุ ท.! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล
เป็นอดีต ๓๖อย่าง,
เป็นอนาคต๓๖ อย่าง,
และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง,
รวมเป็นตัณหาวิจริต๑๐๘ อย่าง.

ภิกษุ ท.! นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์
มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์

ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ถูกทำ ให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง
ประสานกับสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ
จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล.

- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๙/๑๙๙.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน.
ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.



เข้าใจว่า พระสูตรนี้ คงทำให้เข้าใจที่มาของคำว่าตัณหา๑๐๘ ได้ชัดเจนกันทั่วถึง
เมื่อใดที่เกิดรู้สึกว่า มีเรา ของเรา เป็นเรา เป็นของเรา ฯลฯ ขึ้นมาเมื่อใด
เมื่อนั้นให้เข้าใจได้ว่า มีการเกิดขึ้นของตัณหาแล้ว

ตัณหา ก็มีการเกิดดับ อยู่เป็นธรรมดา
มันมีช่องว่าง ระหว่างการเกิดดับของตัณหา อยู่
หากผู้ใดค้นหาพบ ช่องว่างตรงนั้น ก็ถือว่าเป็นความโชคดี(ภควา)ของผู้นั้น
อยู่ตรงนั้นได้นานเท่าใด ก็โชคดีเท่านั้น ครับ :b1: :b45: :b41: :b41: :b41:


:b8:

ค่ะ...

:b1:

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2010, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รู้สึกเข้าใจยาก แต่ก็วิจิตรพิศดารดี
และรู้สึกว่า ตัณหามันละยาก โคตรๆ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร