วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 01:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 14 ส.ค. 2010, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาน แบ่งออกเป็น ๒ สภาวะคือ

ฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิ และฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ

จะขอกล่าวถึงฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิก่อน เพราะเป็นสภาวะที่หยาบกว่า
สังเกตุได้ง่ายกว่า ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ

สภาวะของฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิจะขาดความรู้สึกตัว คือ
เมื่อจิตเข้าสู่สมาธิแล้วจะดิ่งหรือดับหายไปทันที มารู้สึกตัวอีกทีคือ สมาธิได้คลายตัวไปแล้ว

ฌานแต่ละฌานของมิจฉาสมาธิ จะมีสภาวะก้าวกระโดด คือ
ไม่จำเป็นต้องเกิดปฐมฌานก่อน แล้วไล่ไปตามลำดับจนถึง จตุตถฌานแต่อย่างใด
ซึ่งแตกต่างจากฌานที่เป็นสัมมาสมาธิโดยสิ้นเชิง

ฌานที่เป็นสัมมาสมาธิ จะเกิดทีละลำดับ เริ่มตั้งแต่ปฐมฌานเป็นอันดับแรก
แล้วเมื่อมีกำลังของสติ สัมปชัญญะกับสมาธิมากขึ้น ตัววิตกวิจารจะดับหายไป หรือที่เรียกว่าละ

แม้กระทั่งสภาวะของปีติ และสุข ที่ละไปได้นั้น เกิดเนื่องจาก
กำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนั่นเอง

สภาวะของจตุตถฌาน จะเกิดจากกำลังของสติ สัมปชัญญะที่สมบูรณ์ และกำลังของสมาธิมีแนบแน่น
ส่วนสภาวะที่เกิดจากการเห็นความไม่เที่ยงหรือไตรลักษณ์ นั่นคือ สภาวะของสังขารุเปกขาญาณ
จะมีกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่แนบแน่นกว่าจตุตถฌาน

เนื่องจากว่า เหตุของแต่ละคนนั้น สร้างมาแตกต่างกันไป
สัญญาหรือของเก่าที่สร้างติดตัวมาจึงมีแตกต่างกันไป

ยกตัวอย่างให้ดูคร่าวๆ บางคนกระโดดไปที่ฌาน ๔ ได้เลย
คือ พอกำหนดนั่งลง ไม่ว่าจะมีบริกรรมภาวนาหรือไม่มีบริกรรมภาวนาใดๆก็ตาม
พอจิตเป็นสมาธิ จะดิ่งหรือดับ จะขาดความรู้สึกตัว รู้สึกตัวอีกทีคือเสียงดังของเวลาที่ตั้งไว้

บางคนนั่งได้นานหลายชม. เรียกว่าอาจจะเป็น ๑๐ ชม.ขึ้นไป นั่งอยู่อย่างนั้น
โดยไม่มีอาการปวดหรือเมื่อยแต่อย่างใด

ถ้าบางคนมีกำลังของสมาธิที่แนบแน่นมากๆ แม้แต่เสียงนาฬิกาที่ดังสนั่นหวั่นไหวก็จะไม่ได้ยินเลย
จะรู้สึกตัวได้ก็ต่อเมื่อ สมาธิเริ่มคลายตัว

สภาวะของคนเหล่านี้ ในการใช้ชีวิตปกติทั่วๆไป
ไม่ว่าจะเอาจิตไปจดจ่อกับสิ่งใดก็ตาม ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม
เรียกว่าอาจจะเหม่อมองอะไรสักอย่างก็ได้ จิตสามารถเป็นสมาธิได้ทันที

ในส่วนของปีติและสุขที่เกิดขึ้นในฌานต่างๆนั้น จะเกิดแค่ระยะสั้นๆ
แล้วจะขาดความรู้สึกตัวทันที เรียกว่าดิ่งแล้ววูบหายไปเลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 14 ส.ค. 2010, 22:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 16 ส.ค. 2010, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณน้ำเขียน

อ้างคำพูด:
แล้วตอนนี้การปฏิบัติ เป็นไงมั่งคะ เดินบ่อยมากขึ้นมั๊ย
แล้วนิมิต ยังมีอยู่มากเหมือนเดิมมั๊ยคะ?


แหม๋!คุณน้ำนี่ ถามเราตอนที่เรามีเรื่องจะถามคุณน้ำพอดีเลยค่ะ :b1:
คือเมื่อวานนี้ เราเล่นนั่งเล่นกับสุนัขอยู่ แล้วเราก็แกล้งหลับ
แล้วเราก็แกล้งทำเสียงโว้ ๆ ๆ ให้สุนัขเราตกใจ แล้วเราก็หัวเราะ

ทีนี้ลูกสาวเรานั่งอยู่ ลูกสาวก็พูดว่า
แม่ แม่รู้มั๊ย ! เวลาที่แม่หลับน่ะ แม่ยังนอนสวดมนต์เลย
เราตกใจเลยค่ะ เราถามว่ารู้ได้ไง เค้าบอกว่าเค้าได้ยินบ่อย
บางทีหนูไปเล่นคอมพ์ในห้องแม่ แม่นอนหลับหนูก็ได้ยิน แม่นอนสวดมนต์


คุณน้ำค่ะ คือปกติเวลาที่เราหลับ หรือบางครั้งเราไปไหนก็ช่าง
เรามักจะได้ยินเสียงสวดมนต์ บางครั้งก็ บทสวดต้าเปยโจ้ว
เราได้ยินบ่อย จนเราสวดได้แล้วเหมือนกัน บางครั้งก็เป็น
บทสวดพระโพธิสัตว์กวนอิม

ขนาดตอนเราไปนอนรอหมออยู่ในห้องผ่าตัด เรายังได้ยิน บทสวดพระโพธิสัตว์กวนอิมเลยค่ะ

ยิ่งวันที่แฟนไปรับกลับบ้านน่ะค่ะ ได้ยินดังมากๆเลยค่ะ เราก็เลยถามแฟนเราว่า
แถวนี้มีร้านขายแผ่นCDด้วยเหรอ
แหม๋!เค้าเปิดบทสวดมนต์ ที่เต้ชอบพอดี
แฟนบอก ไม่มีหรอก ไม่เห็นมีร้านขายแผ่นCDเลย
เค้าบอก เค้าไม่เห็นได้ยินเสียงอะไรเลย เราก็เงียบๆ

แต่ถ้าตอนนอนหลับนี่เราจะได้ยินบ่อย
แต่เราไม่รู้ว่าเราสวดไปด้วย

คุณน้ำค่ะ คุณน้ำช่วยถามให้เราด้วยน่ะค่ะ ว่าเราเป็นแบบนี้ เราต้องไปไหว้
หรือต้องทำอะไรหรือปล่าวค่ะ :b10: :b10:


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2010, 04:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



อีกหน่อย เรื่องเหล่านี้ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับคุณเต้ จะเป็นเรื่องปกติและธรรมดาในชีวิตค่ะ
ให้เพิ่มเดินอีกนะคะ เดินให้มากขึ้นค่ะ ว่างเมื่อไหร่ก็ให้เดิน อย่านั่งมากนะคะ

เวลาเห็นหรือได้ยินเสียงอะไร ให้หายใจยาวๆ กำหนดรู้หนอๆๆๆ ลงไป 3 ครั้งพอค่ะ
ให้ทำแบบนี้ทุกครั้งนะคะ :b48:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 02:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ชีวิตคืออะไรกันแน่ เราปล่อยชีวิตให้ดำเนินไปด้วยความเคยชินมานานเท่าไหร่แล้ว
การเจริญสติ เป็นการเริ่มต้นในการปลดเปลื้องตัวเราให้พ้นจากความเป็นทาสของความเคยชิน

ในตัวเรานั้นมีของดีที่มีคุณค่า คือ สติ สัมปชัญญะ แต่เนื่องจากความไม่รู้ที่ยังมีอยู่
ทำให้ไม่รู้คุณค่าและไม่รู้จักวิธีการที่จะนำสติ สัมปชัญญะออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การเจริญสติ เป็นวิธีที่จะนำเอาทั้งสติ สัมปชัญญะที่มีอยู่ นำออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเจ้าของ
นำออกมาใช้ได้อย่างง่ายดาย โดยที่แม้แต่ตัวเราเองก็ยังคาดไม่ถึงว่าจะทำได้ด้วยตัวเราเอง

การเจริญสติ ในแง่ของการปฏิบัติ ถ้าเราจับหลักได้ถูกทาง สภาวะจะไปได้ต่อเนื่อง
เช่นเรื่องของสภาวะที่เกิดขึ้นภายใน( ขณะที่ปฏิบัติ ) กับสภาวะที่เกิดขึ้นภายนอก ( การใช้ชีวิต )

สภาวะที่เกิดขึ้นภายใน เช่น การเดิน เดินให้รู้ว่าเดิน รู้ลงไปที่เท้ากำลังเดิน
จะรู้ได้มากหรือน้อยไม่ใช่เรื่องสำคัญ แค่ให้รู้ว่ากำลังเดิน เกิดความคิดให้รู้ว่าคิด

ถ้าเป็นความคิดอกุศลให้หยุดเดิน แล้วกำหนดรู้สำทับลงไป อันนี้แล้วแต่อุบายของแต่ละคน
บางคนใช้วิธีขยับกาย เพื่อให้กลับมารู้ที่กาย คือ ดึงเอาจิตให้กลับมารู้ที่กาย

ส่วนตัวเองใช้วิธีกำหนดรู้หนอ สำทับลงไป ทำทุกครั้ง จิตเขาจะบันทึกไว้
เมื่อกำลังของสติ สัมปชัญญะย่อมมีกำลังมากขึ้น ความคิดอกุศลจะดับได้ไวขึ้น
จนกระทั่งหายไปในที่สุด ส่วนคำกำหนดรู้หนอจะหายไปเอง มันจะเป็นแค่รู้
เมื่อจะมีความคิดอกุศล มันแค่รู้ว่ากำลังจะมี แต่ยังไม่ทันเกิดขึ้น จะดับไปได้ทันที

การเดิน จะเดินแบบมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบก็ได้ เพราะเหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
สภาวะของทุกคนจึงแตกต่างกันไป การที่เดินมากหรือน้อย ไม่ใช่ตัววัดผลแต่อย่างใด
แต่ให้รู้ว่า เดินแล้วรู้เท้าได้มั๊ย เดินแล้วรู้เท้าและรู้ชัดลงไปทุกย่างก้าวมั๊ย แต่ละสภาวะจะเปลี่ยนไป
ตามกำลังของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่เกิดขึ้น ยิ่งรู้ได้ชัดทุกย่างก้าว นั่นคือ
กำลังของสติ สัมปชัญญะและกำลังของสมาธิที่เกิดขึ้น

การเดินจะจับเวลาหรือไม่จับเวลาก็ได้ ให้ทำตามสภาวะ บางคนมีเวลาน้อย บางคนมีเวลามาก
ให้ทำตามความสะดวกไปก่อน บางคนเวลาน้อยมากๆ อาจจะเดินเพียงหนึ่งรอบ แล้วนั่งต่อได้เลย

การนั่ง ให้รู้อยู่กับลมหายใจเข้าออก จะใช้คำบริกรรมหรือไม่ใช้ก็ได้ จะนั่งบนพื้นหรือนั่งบนเก้าอี้
หรือจะนั่งที่ไหนๆก็ได้ ถ้าคิดว่านั่งแล้วสบาย เหมาะสำหรับตัวเอง นั่งกี่นาทีก็ได้

แรกๆต้องค่อยๆตะล่อมจิตไปก่อนเป็นเรื่องธรรมดา จู่ๆจะไปบังคับจิตให้เข้ารูปเข้ารอยทันที
บางคนอาจจะทำได้ แต่บางคนก็อาจจะทำไม่ได้ วิธีการปฏิบัติจึงมีหลากหลาย
เนื่องจากเหตุของแต่ละคนสร้างมานั่นเอง

ทั้งการเดินและการนั่ง จะมีหลักเหมือนๆกันคือ ทำตามความสะดวก

การเจริญสติ สติจะควบคุมจิตมิให้แส่ออกไปหาอารมณ์ต่างๆภายนอก
สัมปชัญญะ การเอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับรูปนาม คือ รู้อยู่ในกาย

เมื่อทั้งสติและสัมปชัญญะทำงานร่วมกัน สมาธิย่อมเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิด จิตจะตั้งมั่นมากขึ้น
การรู้ตามความเป็นจริงจะเป็นผลผลิตตามมา เมื่อนั้นแหละ เราก็จะรู้ว่า ความทุกข์มันมาจากไหน
เราจะสะกัดกั้นมันอย่างไร นั่นแหละคือผลงานของสติ สัมปชัญญะและสมาธิที่ทำงานร่วมกัน

เมื่อได้มาศึกษาเพิ่ม จะรู้จักคำว่า อายตนะ
อายตนะภายในมี ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
อายตนะภายนอกมี ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ( กายถูกสัมผัส )
ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากใจ )

รวม ๑๒ อย่างนี้ มีหน้าที่ต่อกันเป็นคู่ๆคือ
ตากับรูป
หูกับเสียง
จมูกกับกลิ่น
ลิ้นกับรส
กายกับการสัมผัสถูกต้อง
ใจกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ

เมื่ออายตนะคู่ใดคู่หนึ่งต่อกันเข้า ( เกิดผัสสะ ) จิตก็เกิดขึ้นในขณะนั้นเอง
การที่จิตเกิดทางอายตนะต่างๆ เป็นการทำงานของขันธ์ ๕

เช่น ตากระทบรูป เจตสิกต่างๆก็เกิดทันที กิเลสต่างๆก็จะตามเข้ามาคือ ดี ชอบ เป็นโลภะ
ไม่ดี ไม่ชอบ เป็นโทสะ เฉยๆ ขาดสติ เป็นโมหะ นี่เองเป็นเหตุให้อกุศลกรรมต่างๆเกิดขึ้นตรงนี้นี่เอง

เมื่อมาเจริญสติ โดยมีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่กับทุกๆสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมีกำลังของสติ สัมปชัญญะแก่กล้า
โดยมีกำลังของสมาธิเป็นกำลังหนุน เมื่อการกระทบใดๆเกิดขึ้น ย่อมทำให้ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง
ที่ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้นนั้นดับลง ไม่ไหลเข้าไปสู่จิตได้
อกุศลกรรมทั้งหลายก็จะไม่เกิดขึ้น

สติ ที่เกิดจากการเจริญสติ จะคอยสะกัดกั้นกิเลสไม่ให้เข้าหาอายตนะ มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนาม
มีสมาธิเป็นกำลังหนุนส่งเสริม ทำให้ทั้งสติและสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ตลอด
ยิ่งมีกำลังของสมาธิแนบแน่นมากเท่าไหร่ยิ่งดี ยิ่งทำให้มีสติ สัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้มากขึ้น

เมื่อรู้ได้อย่างนี้แล้ว ย่อมนำไปสู่การเห็นพระไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ความไม่มีตัวตน
ของสังขารหรืออัตตาภาพอย่างแจ่มแจ้ง ก็มันไม่เที่ยงแล้วจะไปยึดอะไรได้

นี่แหละ อาตาปี ทำความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน
สัมปชาโน มีสัมปชัญญะรู้อยู่กับรูปนามได้ตลอด
สติมา มีสติเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งหลาย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 12:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เช่น ตากระทบรูป เจตสิกต่างๆก็เกิดทันที กิเลสต่างๆก็จะตามเข้ามาคือ ดี ชอบ เป็นโลภะ
ไม่ดี ไม่ชอบ เป็นโทสะ เฉยๆ ขาดสติ เป็นโมหะ นี่เองเป็นเหตุให้อกุศลกรรมต่างๆเกิดขึ้นตรงนี้นี่เอง



คุณน้ำ ตาเห็นรูปนี่เป็นแบบไหนค่ะ
คือคุณน้ำค่ะ ตอนนี้สิ่งที่เราเจออยู่น่ะค่ะ
คือเรามีความรู้สึก เหมือนในสมองเรามีตาค่ะ คือเวลาเรานั่งคุยกับใคร
แล้วเราฟังเค้า คุย ๆ ๆ ไป

เราจะเหมือนไปเห็นในบ้านเค้า ว่าต่อไปเค้าจะต้องเจอกับอะไร
แล้วก็เหมือน จะมีอะไรให้เรารู้ได้เองน่ะค่ะ ว่าเค้าจะต้องไปทำยังไง
เค้าถึงจะแก้ปัญหานี้ได้

เราเคยลองพูดกับคนคนหนึ่งดูน่ะ คือตอนเราพูด เค้าเหมือนไม่เชื่อ
แต่เหตุการณ์นั้นก็เกิดกับในบ้านเค้าจริงๆ เค้าก็มาถามเราอีกครั้งหนึ่งว่า
เค้าต้องทำอย่างไรบ้างน่ะ เราก็บอกเค้าไปสิ่งดีๆก็เกิดในบ้านเค้า

แต่คนอื่น เราก็มีเห็นบ้างน่ะ แต่เราไม่พูด เพราะเราไม่กล้า
สิ่งที่เรารู้ มันก็เกิดจริงๆ แต่เราก็ไม่กล้าที่จะไปบอกเค้า
ว่าเค้าต้องทำอย่างไร

แต่ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราคือ เราจะปวดหัว แล้วก็ปวดที่ตา
เวลาที่สมองเราไปรับรู้

สิ่งที่เกิดขึ้น ใช่เป็นเพราะเราไปกำหนดจิต ให้เป็นสมาธิตลอดหรือปล่าวค่ะ
ตอนนี้เรารู้สึกกลัวๆค่ะ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
อ้างคำพูด:
เช่น ตากระทบรูป เจตสิกต่างๆก็เกิดทันที กิเลสต่างๆก็จะตามเข้ามาคือ ดี ชอบ เป็นโลภะ
ไม่ดี ไม่ชอบ เป็นโทสะ เฉยๆ ขาดสติ เป็นโมหะ นี่เองเป็นเหตุให้อกุศลกรรมต่างๆเกิดขึ้นตรงนี้นี่เอง



คุณน้ำ ตาเห็นรูปนี่เป็นแบบไหนค่ะ
คือคุณน้ำค่ะ ตอนนี้สิ่งที่เราเจออยู่น่ะค่ะ
คือเรามีความรู้สึก เหมือนในสมองเรามีตาค่ะ คือเวลาเรานั่งคุยกับใคร
แล้วเราฟังเค้า คุย ๆ ๆ ไป

เราจะเหมือนไปเห็นในบ้านเค้า ว่าต่อไปเค้าจะต้องเจอกับอะไร
แล้วก็เหมือน จะมีอะไรให้เรารู้ได้เองน่ะค่ะ ว่าเค้าจะต้องไปทำยังไง
เค้าถึงจะแก้ปัญหานี้ได้

เราเคยลองพูดกับคนคนหนึ่งดูน่ะ คือตอนเราพูด เค้าเหมือนไม่เชื่อ
แต่เหตุการณ์นั้นก็เกิดกับในบ้านเค้าจริงๆ เค้าก็มาถามเราอีกครั้งหนึ่งว่า
เค้าต้องทำอย่างไรบ้างน่ะ เราก็บอกเค้าไปสิ่งดีๆก็เกิดในบ้านเค้า

แต่คนอื่น เราก็มีเห็นบ้างน่ะ แต่เราไม่พูด เพราะเราไม่กล้า
สิ่งที่เรารู้ มันก็เกิดจริงๆ แต่เราก็ไม่กล้าที่จะไปบอกเค้า
ว่าเค้าต้องทำอย่างไร

แต่ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราคือ เราจะปวดหัว แล้วก็ปวดที่ตา
เวลาที่สมองเราไปรับรู้

สิ่งที่เกิดขึ้น ใช่เป็นเพราะเราไปกำหนดจิต ให้เป็นสมาธิตลอดหรือปล่าวค่ะ
ตอนนี้เรารู้สึกกลัวๆค่ะ :b8:



คุณเต้ ... ทุกๆครั้งที่ได้อ่านสภาวะของคุณนั้น ทำให้เห็นภาพของตัวเองในอดีต :b12:
เพียงแต่ น้ำไม่มีความสงสัยมากมายแบบคุณน่ะค่ะ
แล้วก็เคยทำผิดพลาดไปด้วยความไม่รู้จากสิ่งที่ตัวเองมีติดตัวมา

สิ่งเหล่านี้ อย่างที่เคยเล่าให้ฟัง น้ำมีมาตั้งแต่เกิด เป็นมาตั้งแต่เกิด เรื่องรู้หรือเห็นโน่นเห็นนี่
เห็นและรู้ในสิ่งที่คนทั่วๆไปไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทุกอย่างมันมีเหตุนะคะ
เมื่อก่อนก็ยังมีบ้างสงสัย มีสงสัยว่า ทำไมเราถึงเห็นนิมิตได้ ทำไมจึงมีเรื่องประหลาดๆเกิดขึ้นในชีวิต
และทำไมถึงไม่ติดนิมิตหรือสงสัยในนิมิตเหมือนคนหลายๆคน

มีผู้คนอีกมากมายที่ไม่รู้วิธีนำสมาธิของตัวเองที่มีอยู่ ซึ่งมีอยู่มาก แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ถูกจุด
มีแต่นำไปใช่ในการก่อเหตุใหม่ให้เกิดขึ้นเนืองๆ ทำไปด้วยความไม่รู้

มีนะ เท่าที่น้ำตามอ่านๆสภาวะของหลายๆคน หลายๆคนได้ฌานแต่ไม่รู้ว่าตัวเองได้ฌาน
บางคนไม่ได้ฌานแต่คิดว่าตัวเองนั้นได้ฌาน บางคนเห็นเพียงนิมิตแล้วคิดว่าสภาวะนั้นเป็นฌานก็มี

นิมิตมี ๒ แบบ

๑. เกิดจากอุปจารสมาธิ ยกตัวอย่างง่ายๆที่มองเห็นได้ชัด เช่น โอภาส
มีบางคนเห็นโอภาส แล้วคิดว่านั่นคือผลของอัปปนาสมาธิ

จะรู้ว่าเกิดจากสภาวะอุปจารสมาธิหรือจากสภาวะอัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิต้องแยกออกมาอีก
เป็นอัปปนาสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ

ซึ่งจริงๆแล้วโอภาสเกิดขึ้นได้ทั้งสองสภาวะ ต้องดูองค์ประกอบโดยรวม
หากมีโอภาสแต่สามารถรู้อยู่กับกายได้ดี โอภาสสักแต่ว่าโอภาส

กับมีโอภาส แต่ขาดความรู้สึกที่กาย ไม่สามารถกลับมารู้ที่กายได้ นี่เป็นเพียง อุปจารสมาธิ
แม้แต่ภาพนิมิตอื่นๆก็เช่นกัน ไม่มีความแตกต่างจากโอภาสเลย ให้ดูเรื่องสติ สัมปชัญญะเป็นหลัก

๒. เกิดจากผู้ที่ได้ฌาน พวกนี้จะเห็นนิมิตได้ทั้งตาเปล่าและขณะที่หลับตา
อันนี้ยังมีรายละเอียดข้อปลีกย่อยของสภาวะออกไปอีก ไม่ได้มีแค่นี้ค่ะ

สภาวะของสมาธิ ต้องพบต้องผ่าน ต้องย้ำทวน เรียกว่าย่ำๆจนจำได้ทุกรายละเอียด
นี่คือสภาวะของกำลังสมาธิอะไรตามบัญญัติที่นำมาเรียกๆกัน



bbby เขียน:
คุณน้ำ ตาเห็นรูปนี่เป็นแบบไหนค่ะ



ที่คุณเต้ถามมานี้ คำตอบที่ตอบไป มันก็แค่คำเรียก มันไม่เข้าไปถึงใจ มันต้องปฏิบัติจนรู้เอง เห็นเอง
แล้วมันถึงจะเข้าใจ แต่จะอธิบายแบบที่คิดว่าน่าจะพอเข้าใจได้ อันนี้พูดแบบหยาบๆนะคะ

ตาเห็นรูป .... สิ่งที่คุณเต้มองเห็น หรือทุกๆคนมองเห็น เรียกว่า รูปค่ะ

จิตรับรู้สิ่งที่มองเห็น เรียกว่า นามค่ะ

ส่วนที่คุณเต้บอกว่าเหมือนมีตา เรียกว่า รูป เหมือนกันค่ะแต่เป็นสภาวะของนิมิตที่เกิดขึ้น
" คือเรามีความรู้สึก เหมือนในสมองเรามีตาค่ะ "



bbby เขียน:
เราเคยลองพูดกับคนคนหนึ่งดูน่ะ คือตอนเราพูด เค้าเหมือนไม่เชื่อ
แต่เหตุการณ์นั้นก็เกิดกับในบ้านเค้าจริงๆ เค้าก็มาถามเราอีกครั้งหนึ่งว่า
เค้าต้องทำอย่างไรบ้างน่ะ เราก็บอกเค้าไปสิ่งดีๆก็เกิดในบ้านเค้า



คนๆนี้เขาเคยสร้างเหตุร่วมมากับคุณค่ะ


bbby เขียน:
แต่ทีนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเราคือ เราจะปวดหัว แล้วก็ปวดที่ตา เวลาที่สมองเราไปรับรู้
สิ่งที่เกิดขึ้น ใช่เป็นเพราะเราไปกำหนดจิต ให้เป็นสมาธิตลอดหรือปล่าวค่ะ



เกิดจากคุณเต้ไปเพ่งค่ะ ถ้าไม่เพ่งแต่แค่รู้ มันจะไม่ปวด


bbby เขียน:
ตอนนี้เรารู้สึกกลัวๆค่ะ




ไม่ต้องไปกลัวหรอกค่ะ เพียงแต่คุณยังไม่รู้วิธีในการนำสิ่งที่มีอยู่ออกมาใช้
และก็ได้แนะนำคุณไปแล้วว่าควรทำอย่างไร จากสภาวะที่อ่านๆมา คุณยังคงนั่งมากกว่าเดิมใช่ไหมคะ?

สภาวะของคุณยังไม่พร้อมที่จะไปช่วยคนอื่นๆได้ คุณต้องผ่านตัวเองให้ได้ก่อน
ไม่งั้นจะกลายเป็นว่า คุณไปสร้างเหตุใหม่ด้วยความไม่รู้ เพราะอาจทำให้คนมีความศรัทธาแบบขาดปัญญา
สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกลับมาที่สภาวะของคุณ

แต่ทุกอย่างล้วนมีเหตุมาก่อน ผลจึงเป็นเช่นนี้ ดับให้ดับที่เหตุคือ ดับที่ตัวคุณเอง
ไม่ก่อเหตุใหม่ ผลย่อมไม่มี คุณมีหน้าที่ตอนนี้คือ เจริญสติค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 21:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 28 ส.ค. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเต้ cool
สภาวะของนิมิตมี ๒ สภาวะ

๑. เห็นด้วยตาเปล่าและตาใน

๒. เห็นด้วยจิต


ตรงนี้เป็นเรื่องเล่าสู่กันฟัง เกี่ยวกับนิมิต

เมื่อตอนเด็กๆจนกระทั่งโต ด้วยความไม่รู้ ไม่มีใครพูดเรื่องของเหตุที่กระทำและผลที่ได้รับให้ฟัง
คราใดก็ตามที่ได้พูดคุยกับใครๆหรือไม่ได้พูดคุยกับใครๆ แต่คนๆนั้นมาอยู่ตรงหน้า
ได้มองเห็นเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขา ด้วยความไม่รู้ จึงได้บอกเล่าให้เขาฟัง

เรื่องหลายๆเรื่องหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของแต่ละคนล้วนเกิดจากเหตุที่ทำมา
เมื่อไปเล่าให้เขาฟัง แล้วเขาเชื่อ เขาได้แก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเขา
เช่น บางคนเป็นเมียน้อย แต่ไม่รู้ว่าเป็นเพราะโดนผู้ชายหลอก การเป็นเมียน้อย เป็นวิบากกรรมของเขาเราไปบอกเขา เขาเชื่อ แล้วแก้ไข โดยเลิกกับผู้ชายคนนั้นไป แต่สุดท้ายเขาก็ไปเป็นเมียน้อยคนอื่นๆต่อ
วิบากกรรมที่ขาจะต้องได้รับจากชายคนแรกจึงเปลี่ยนไป แต่สุดท้ายเขาก็รับวิบากนั้นอยู่ดี

กรรมที่ก่อกับชายคนนั้นไปด้วยความไม่รู้ ผู้ชายคนนั้นเขาย่อมเกิดความโกรธ เกิดความพยาบาทเรา
ไม่ว่าจะโกรธมากหรือน้อย เหตุที่ได้กระทำไปต่อคนอื่นๆนั้น ยังไงเสียผลต้องได้รับอย่างแน่นอน

ยังมีอีกหลายเรื่อง แล้วจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ
ถ้าให้น้ำเล่าทีเดียว คงต้องพิมพ์กันยืดยาว เอาเป็นว่านำมาทะยอยเล่าดีกว่านะคะ
น้ำจะไม่ห้ามในสิ่งที่คุณเต้กำลังทำอยู่ แต่จะเล่าเรื่องของตัวเองที่เคยทำมาให้ฟังแทนค่ะ
แล้วมาดูกันว่า สิ่งที่เราไปบอกคนอื่นๆนั้น ทำให้เขาแก้ไขชีวิตของตัวเอง
ผลที่ได้รับคือ วิบากหรือเหตุนั้นๆ ทำไมต้องมาตกอยู่ที่ตัวเราด้วย

การช่วยคน เราต้องช่วยให้เขาเกิดปัญญา เพื่อเขาจะได้มีสติ สัมปชัญญะเป็นที่พึ่งพิง
ไม่ใช่ไปเชื่อสิ่งนอกตัว แล้วต้องคอยพึ่งพาสิ่งนอกตัวตลอดเวลา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



พระสูตรก็พระสูตรเดียวกันนี่แหละ ปรากฏแก่เธอทั้งหลายต่างๆกัน
เพราะภาวะที่เธอทั้งหลายมีสัญญาต่างกันฉะนั้น

เพราะกัมมัฏฐานเกิดจากสัญญา มีสัญญาเป็นเหตุ มีสัญญาเป็นแดนเกิด
เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏต่างๆกัน เพราะสัญญาต่างกัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 23:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


พ้นทุกข์แบบบ้านๆ

ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร?

ปฏิบัติเพื่อให้ใจพ้นทุกข์


ใจพ้นทุกข์นั้นเป็นอย่างไร?

ใจพ้นทุกข์คือ การทำใจให้ได้ต่อการได้ลาภยศ คำสรรเสริญเยินยอ จิตไม่ไปหลงยินดีในสิ่งที่ได้
ในขณะเดียวกัน หากมีการสิ้นลาภ สิ้นยศ สิ้นเกียรติ สิ้นสรรเสริญ อีกทั้งมีคำตำหนินินทา
อันเรียกว่า โลกธรรม ๘ ใจก็ปกติไม่ตื่นเต้นหวั่นไหวแม้แต่นิดเดียวต่อการสูญสิ้น
เมื่อยังทำใจไม่ได้ก็ต้องทุกข์ใจร่ำไป หากทำใจได้แล้วก็ย่อมไม่ยินดียินร้ายใดๆทั้งได้และเสีย
เหตุทั้งหลายทั้งปวง อยู่ที่การปล่อยวางของใจหรือจิตเรานี่เอง

หากไม่ได้มาเรียนรู้ จะไม่รู้เลยว่า กายนี่มันคือ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันเป็นร่างกายขณะหนึ่ง
เมื่อไม่มีใจมาอาศัย ก็ไม่ต่างกับศพต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ ใครจะนำไปทำอะไรก็ได้
ไร้ความรู้สึก ไม่มาร้องว่าเจ็บว่าปวดได้แต่อย่างใด

แต่เมื่อมีใจเข้ามาอาศัย มันก็เคลื่อนไหวได้ ทำอะไรๆก็ได้ มีความรู้สึกเจ็บปวด สุข ทุกข์
ชอบ ไม่ชอบ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ธาตุรู้ และธาตุตัวนี้แหละที่เรียกว่าจิต ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์
ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ก็จากการปรุงแต่งของจิตตัวนี้แหละ

( ข้อความข้างบน มีการนำมาจากหนังสือในบางส่วน ซึ่งหาชื่อผู้เขียนแล้ว แต่ไม่มีชื่อบอกว่าใครเขียน )

สิ่งต่างๆภายนอกมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เราจะไปห้ามไม่ให้มันเกิดไม่ได้
แต่เราต้องห้ามใจตัวเราเอง ด้วยการเจริญสติหรือจะเรียกอะไรก็ได้ แล้วแต่จะบัญญัติคำ
ฝึกเพื่อให้มีสติ สัมปชัญญะรู้เท่าทันต่อการปรุงแต่งของจิต

มีสติ และ สัมปชัญญะอยู่ที่ไหน ย่อมมีสมาธิเกิดที่นั่น
มีสัมมาสติอยู่ที่ไหน ย่อมมีสัมมาสมาธิอยู่ที่นั่น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติและสุข

ก่อนจะพูดเรื่องสภาวะของสมาธิต่างๆ เราควรรู้จักกับสภาวะของปีติและสุขก่อน
เพื่อความสะดวกในการนำสภาวะไปเทียบเคียง หากต้องการจะรู้ว่า สมาธินั้นๆ เรียกว่าอะไร
ข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง และเป็นผลจากสภาวะที่ได้เรียบเรียงมา
อนึ่งมีวิธีตรวจสอบว่าผู้นั้นปฏิบัติจนจิตทรงฌานนั้น จะรู้ได้อย่างไร มีวิธีตรวจสอบสภาวะด้วยตัวเองได้
สามารถนำหลักฐานอ้างอิงให้เห็นเป็นรูปธรรมกันได้ ดูด้วยตาเปล่าได้ ส่วนวิธีการนั้นว่าจะรู้ได้อย่างไร
จะนำมาเสนอในตอนท้ายของเรื่อง ฌาน ข้อมูลทั้งหมดเพียงนำมาแบ่งปันกัน


...................................................................................................

ปีติและสุข มีอรรถธิบายว่า ธรรมชาติใดที่ทำให้เอิบอิ่ม ธรรมชาตินั้นชื่อ ปีติ
ปีตินั้นมีความเอิบอิ่มเป็นลักษณะ มีอันทำกายและใจให้เอิบอิ่มเป็นกิจ หรือมีอันแผ่ซ่าน
ไปในกายและใจให้เป็นกิจก็ได้ มีอันทำกายและใจให้ฟูขึ้นเป็นอาการปรากฏ

อธิบายปีติ ๕ อย่าง

ปีติที่ประสงค์เอามา ณ ที่นี้ ก็แหละปีติ ๕ ประการนั้น เมื่อถือเอาห้อง (คำว่า ปีติถือเอาห้อง
หมายความว่า ปีติเจริญเต็มที่ ควรเป็นเหตุให้เกิดปัสสัทธิต่อไป โดยอาสภมหาเถระ)

ทำความแก่เต็มที่แล้ว ย่อมทำปัสสัทธิ ๒ ประการให้บริบูรณ์คือ กายปัสสัทธิ ความสงบกาย ๑
จิตตปัสสัทธิ ความสงบจิต ๑

เมื่อปัสสัทธิถือเอาห้องความแก่เต็มที่แล้ว ย่อมนำสุขทั้ง ๒ ประการให้บริบูรณ์คือ
กายิสุข สุขกาย ๑ เจตสิกสุข สุขใจ ๑

เมื่อสุขถือเอาห้องความแก่ได้เต็มที่แล้ว ย่อมทำสมาธิ ๓ ประการให้บริบูรณ์คือ
ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑

ในบรรดาปีติทั้ง ๕ ประการนั้น ผรณาปีติอันใดที่เจริญแก่กล้าขึ้น พอจะเป็นมูลฐานแก่อัปปนาสมาธิ
ถึงซึ่งอันประกอบเข้ากับอัปปนาสมาธิได้ ปีตินี้ถือเอาในอรรถธิบายนี้


อธิบายสุข

ก็แหละความสบายขึ้นจากปีติ ชื่อว่า สุข
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมกินเสียซึ่งความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข
อีกนัยหนึ่ง ธรรมชาติใดย่อมขุดออกซึ่งความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า สุข

สุขนั้นมีความดีใจเป็นลักษณะ มีอันเพิ่มพูนสัมปยุตธรรมให้เจริญเป็นกิจ
มีอันอนุเคราะห์เป็นอาการปรากฏ


ความแตกต่างระหว่าง ปีติ กับ สุข


ถ้าแม้ในจิตบางดวง เช่น ปฐมฌานจิตเป็นต้น จะไม่มีการแยกกันระหว่างปีติกับสุขก็ตาม
แต่ความยินดีที่เกิดขึ้น เพราะได้อิฏฐารมณ์ จัดเป็น ปีติ
การเสวยรสแห่งอารมณ์นั้น จัดเป็น สุข

มีปติในจิตใด ในจิตนั้นก็มีสุขด้วย
แต่สุขมีในจิตใด ในจิตนั้นไม่มีปีติเสมอไป

ปีติ สงเคราะห์เข้าใน สังขารขันธ์
สุข สงสเคราะห์เข้าใน เวทนาขั้นธ์


จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



คุณเต้ cool

จะถามน่ะค่ะว่าเป็นยังไงบ้าง?
เดินรู้เท้าได้ชัดบ้างหรือยังคะ เวลานั่ง รู้กายได้ต่อเนื่องไหม?
แล้วนิมิต ตอนนี้ยังมีเหมือนเดิมหรือว่าลดความถี่ในการเห็นลงไปบ้างหรือเปล่าคะ?
สงสัยอะไรตรงไหน ถามน้ำได้นะคะ :b12:

มีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ
เมื่ออาทิตย์ก่อน นิมิตเห็นพระโพธิสัตว์กวนอิม ได้เข้าพบท่าน ท่านอยู่ในปางของผู้ชาย
ส่วนตัวน้ำยังคงเป็นหลวงจีน แต่สีจีวรที่ใส่เปลี่ยนไป เป็นจีวรสีออกส้มๆริมจีวร ขอบน่ะค่ะ
เรียกไม่เป็น คือตามขอบของจีวรเป็นสีแดง แล้วมันจะมีดิ้นสีเงินแซมในเนื้อผ้า
คือเนื้อผ้าเป็นเงาๆแบบระยิบระยับ ที่คอไม่มีลูกประคำใส่แล้ว

ได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ท่านพูดอะไรบางอย่างให้ฟัง เสียงที่ได้ยิน ได้ยินทางจิต
เสียงของท่านไม่บ่งบอกเพศ แต่ได้ยินทุกคำพูดที่ท่านพูดมา

ถ้าเป็นเมื่อก่อน ได้ยินแบบนี้จิตตกเลย
แต่ครั้งนี้ ผ่านอะไรมาเยอะมาก แล้วพอจะรู้อะไรชัดขึ้น เลยแค่รู้
เพราะนิมิตก็คือ นิมิต แต่ถือว่าเป็นนิมิตที่เป็นกุศลค่ะ

แล้วน้ำป่วยมาเป็นอาทิตย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเป็นไข้หนัก
ทีนี้ก็นิมิตเห็นพระโพธิสัตว์กวนอิมอีก ทีนี้มาในปางของผู้หญิง ท่านมาพรมน้ำมนต์ให้

เห็นไหมคะ นิมิตมีแต่เรื่องดีๆ ไม่มีเรื่องชาวบ้าน
ก็เลยไม่ต้องไปยุ่งกับชาวบ้าน

คุณเต้เอง ก็หมั่นเจริญสตินะคะ จะได้อยู่กับปัจจุบันได้
แล้วจะพบแต่นิมิตที่ดีค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 23:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ขุททกาปีติ ปีติเล็กๆน้อยๆ

ลักษณะที่เกิด

๑. มีสีขาวต่างๆ

๒. เยือกเย็น ขนลุก มึนตึง หนักๆ

๓. น้ำตาไหล หนังหัวพองสยองเกล้า

๔. ตัวชา-พองขึ้น

๕. ตัวใหญ่ออกๆ

๖. บางทีรู้สึกว่าแขนยาว ขายาว ฟันยาวออกไปก็มี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 23:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ

มีลักษณะดังนี้

๑. มีสีแดงๆด่างๆ

๒. เกิดในจักขุทวารดุจสายฟ้าแลบ เหมือนขีดไฟแช็คไม่ติด

๓. มีประกายดังตีเหล็กไฟ

๔. แสบทั่วกาย กายแข็ง

๕. เป็นดังแมลงเม่าจับ-ไต่ตามตัว

๖. ร้อนตามตัว

๗. หัวใจสั่นไหว

๘. ขนลุกขนชันบ่อยๆแต่ไม่มาก

๙. คันยุบยิบคล้ายมดไต่ ไรคลานตามตัวตามหน้า

๑๐. เป็นดังปลาตอด เป็นดังเส้นเอ็นชักเป็นต้น

๑๑. มีอาการคล้ายๆกับน้ำร้อนที่กำลังเดือดพล่าน

๑๒. เหมือนปลาผุดขึ้น เวลาโยนเศษอาหารลงไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ

มีลักษณะดังนี้ คือ

๑. ตัวไหวเอน โยก โคลง

๒. สะบัดหน้า สะบัดมือ สะบัดเท้า

๓. มีอาการสั่นๆ และบางทีมีอาการสูงๆต่ำๆ

๔. คลื่นไส้ดุจอาเจียน และบางทีอาเจียนออกมาจริงก็มี

๕. บางทีเป็นดุจระลอกซัด

๖. สั่นระรัวดุจไม้ปักในน้ำไหล

๗. มีสีเหลืองอ่อน สีดอกผักตบชวา

๘. กายโยกไป โยกมา

๙. มีอาการสะบัดร้อน สะบัดหนาว

๑๐. บางครั้งมีอาการวูบวาบมาจากข้างล่าง บางครั้งวูบวาบจากข้างบน

๑๑. บางทีคล้ายๆแล่นโต่คลื่นอยู่ในน้ำ

๑๒. บางทีจะรู้สึกร่างกายผิดปกติ หรือ กล้ามเนื้อบางส่วนกระตุกดิ๊กๆ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 23:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน

มีลักษณะดังนี้ คือ

๑. กายสูงขึ้น ตัวเบา ตัวลอย

๒. คันยุบยิบดุจไรไต่ตามตัว ตามหน้า

๓. ลงท้อง ท้องเดิน เป็นบิด

๔. สัปหงกไปข้างหน้าบ้าง ไปข้างหลังบ้าง

๕. คล้ายคนผลัก หน้าคะมำลงไป

๖. คล้ายคนจับศรีษะหมุนไปหมุนมา

๗. ปากงับๆบ้าง อ้าปากบ้าง หุบปากบ้าง

๘. ไหว โยกโคลง โอนไปมาดุจลมพัดต้นไม้

๙. กายหกคะเมนถลำไป

๑๐. กายกระโดขึ้น ปลิวไป

๑๑. กายกระดุกกระดิก ยกแขน ยกเท้า

๑๒. กายเงื้อมไปข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง

๑๓. มีสีไข่มุก สีนุ่น

๑๔. มืออยู่ในท่าหงาย คล้ายมีคนจับคว่ำลง มือที่อยู่ในท่าคว่ำ คล้ายคนจับให้หงายขึ้น

๑๕. เวลานั่งอยู่ตรงๆนั้น จะรู้สึกว่ามีอาการโอนไป เอนมา เหมือนต้นอ้อลู่ไปตามลม ฉะนั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร