วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 23:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 08:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตเป็นจิต สมองเป็น ๑ ในขันธ์ ๕

จิตกับสมอง ต่างกันแน่นอน :b41: :b41: :b41:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 20:19 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
:b12: :b13:

อิ อิ ท่านอ๊บ อ๊บ อิ อิ :b4:
อย่าบอกนะ ว่าท่านก็พิศดาร อิ อิ


มันเป็นความจริงที่พิศดาร..อะคับ :b12:
เห็นได้ด้วยนะเอ้า...แต่เห็นด้วยปัญญา..คับผม :b17: :b17:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 27 ส.ค. 2010, 20:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 20:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมร เขียน:
จิตเป็นจิต สมองเป็น ๑ ในขันธ์ ๕

จิตกับสมอง ต่างกันแน่นอน :b41: :b41: :b41:


สาธุ.. :b8:

ถ้ารถเป็นขันธ์

สมองก็ต้องเป็นพวงมาลัย..(เพราะหยาบเหมือนกันและไม่มีชีวิต)

แต่รถจะเคลื่อนไหวไปมาได้เหมือนมีชีวิตชีวาก็ด้วยมีคนขับ

ไม่มีชีวิต + ชีวิต = เหมือนมีชีวิต
:b12: :b12: :b12:

ร่างกายคนนี้เหมือนมีชีวิตเฉย ๆ นะ..ไม่มีจิตอย่างเดียวกลับน่ารังเกียจกว่าท่อนไม้ซะอีก :b2: :b2: :b2:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 23:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มาร่ายภาคขยายของนิยายมหาเทพอีกสักเล็กน้อย... cool

การขึ้นรูปของชีวิตชั้นสูง จำเป็นต้องใช้พลังงานจากจิต อาจเพื่อต้องการการันตีว่า จะไม่มีร่างใดกำเนิดมาโดยไม่มีจิต ซึ่งถึงเกิดมาได้ก็ไม่มีความหมาย เพราะชีวิตชั้นสูงไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อดำเนินการแบบอัตโนมัติ
ดังนั้น เมื่อการขึ้นรูปขั้นต้นเสร็จสมบรูณ์ หากมีอะไรผิดพลาด จิตที่เข้ามาครองเกิดความไม่เสถียร ก็จะแท้ง คือตายไป...

พลังงานจากจิต ยังมีความสำคัญในการก่อรูปของอายตนะทั้ง 5...
จริงๆ แล้ว ร่างสสารเป็นการ จำกัด การรับรู้ให้อยู่ในขอบเขตอันหนึ่ง โดยผ่านอายตนะของสัตว์ในแต่ละชนิด
ชีวิตในยุคหลังๆ จิตจะมีส่วนในการกำหนดลักษณะของใบหน้า เพื่อสะท้อน อัตตา ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มาเพิ่มเติมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยนิดหนึ่ง...
กลไกการเกิดนิมิตในฌาณ 2 น่าจะเป็นกลไกเดียวกับการเกิดความฝัน คือ... เมื่อจิตตกภวังค์ จิตตกอยู่ในสภาพพร่องอายตนะ เมื่อจักขุวิญญาณยังทำงาน แต่เมื่อไม่มีการมองเห็น และไม่มีอายตนะอื่นมาถ่วง ภาพเก่าๆ รวมถึงสิ่งที่จิตคิดหรือปรุงแต่ง ก็จะถูกนำไปใช้เสมือนว่า มาจากจักขุวิญญาณ... จิตจึงเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้น ไม่จริง

ความแตกต่างระหว่างนิมิตความฝันในฌาณ 2 และ สิ่งที่เห็น ในฌาณ 4 ก็คือ...
ในฌาณ 4 เราจะเห็นในขณะที่อายตนะอื่นยังครบถ้วน ไม่ได้อยู่ในสภาวะพร่องอายตนะ (หูไม่ได้ยินเสียง กายไม่รับรู้ ลมหายใจไม่มี), เราจะเห็นในภาวะอุเบกขา ความสนใจอาจจะมี แต่จะไม่มีปิติ ความดีใจ เสียใจ หรืออารมณ์อื่นใด... และสุดท้าย สิ่งที่เห็นจะคล้ายกับการเห็นด้วยตา ไม่มีลักษณะแบบภาพยนตร์หรือแบบความฝัน
การเห็นแบบภาพยนตร์ หรือแบบความฝัน ในฌาณระดับสูง จะเป็นกรณีที่... มีจิตอื่นส่งภาพเข้ามา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
มาเพิ่มเติมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยนิดหนึ่ง...
กลไกการเกิดนิมิตในฌาณ 2 น่าจะเป็นกลไกเดียวกับการเกิดความฝัน คือ... เมื่อจิตตกภวังค์ จิตตกอยู่ในสภาพพร่องอายตนะ เมื่อจักขุวิญญาณยังทำงาน แต่เมื่อไม่มีการมองเห็น และไม่มีอายตนะอื่นมาถ่วง ภาพเก่าๆ รวมถึงสิ่งที่จิตคิดหรือปรุงแต่ง ก็จะถูกนำไปใช้เสมือนว่า มาจากจักขุวิญญาณ... จิตจึงเห็นจริง แต่สิ่งที่เห็นนั้น ไม่จริง

ความแตกต่างระหว่างนิมิตความฝันในฌาณ 2 และ สิ่งที่เห็น ในฌาณ 4 ก็คือ...
ในฌาณ 4 เราจะเห็นในขณะที่อายตนะอื่นยังครบถ้วน ไม่ได้อยู่ในสภาวะพร่องอายตนะ (หูไม่ได้ยินเสียง กายไม่รับรู้ ลมหายใจไม่มี), เราจะเห็นในภาวะอุเบกขา ความสนใจอาจจะมี แต่จะไม่มีปิติ ความดีใจ เสียใจ หรืออารมณ์อื่นใด... และสุดท้าย สิ่งที่เห็นจะคล้ายกับการเห็นด้วยตา ไม่มีลักษณะแบบภาพยนตร์หรือแบบความฝัน
การเห็นแบบภาพยนตร์ หรือแบบความฝัน ในฌาณระดับสูง จะเป็นกรณีที่... มีจิตอื่นส่งภาพเข้ามา


ท่านไปแนะนำเขาให้ทำ อุคคหนิมิต หง่ะ...ใช่ป๊ะ...
ไปสอนต่อให้จบเรยยยย...
ที่เรื่องขม๋องล่ะ ร่ายยาวนัก
ที่อุคคหนิมิตล่ะ สั้นจุ๊ดจู๋...
สอนให้รู้ประโยชน์ และ โทษ(หากเผลอไหลไปยึด) ด้วยจิ่... :b6:


ส่วนข้อความข้างบน อิ อิ
พุทธศาสนาในยุคต่อ ๆ ไปนี้จะมีความน่าปวดหัวมากขึ้น...อิ อิ
นี่เอกอนไม่ได้กำลังแซวท่านนะ
คือ...เอกอนมองว่า ต้องยอมรับว่าคนต่างชาติก็หันมาศึกษาสมาธิ
และปรัชญา กันเยอะมาก...
และงานเขียน งานแปล งานวิจัย ก็ออกมาเยอะ...

เอ้อออ....นั่นจิ่ เอกอนมองข้ามเรื่องจิตตกภวังค์ไปได้ไงนะ...
ต้องลองหาเทคนิคในการสังเกตดูหน่อยแล้ว...


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 29 ส.ค. 2010, 21:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่อ ที่เราแนะนำให้ตั้งจิตว่า "มีกายอื่น" นะเหรอ... อันนั้น ไม่ใช่ อุคคหนิมิต นะเธอว์

อุคคหนิมิต (การสร้างนิมิตให้เป็นภาพติดตา) เป็นวิธีแบบกสิน ซึ่งใช้เพื่อก้าวให้ขึ้นสู่ฌาณ 3 คือเพื่อให้ได้ ปฏิภาคนิมิต (แสงสว่าง)

ที่เราแนะเรื่องการ "สร้างกายอื่นขึ้นมา" น่ะ เป็น มโนมยิทธิ ซึ่งเป็นวิธีที่ควรฝึกในฌาณ 4 สำหรับคนที่มีพื้นมาทางอภิญญา หมายความว่า... ฝึกเมื่อไม่มีนิมิตใดๆ เกิดขึ้นอีกแล้ว
และที่แนะให้ทำอานาปานสติไปด้วย ก็เพื่อไม่ให้จอจ่อในสิ่งเดียวที่อยู่นิ่ง จนจิตตกภวังค์ ซึ่งมันจะกลายเป็นฌาณแบบฤาษี (ภวังคุปัจเฉท หรือ อารัมมณูปนิชฌาน)

ฝึกแล้วได้อะไร อันนี้บอกยาก... เพราะในขั้นนี้แล้ว มันขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่มันเป็นพื้นฐานของอภิญญาต่างๆ ถ้าจะให้เทียบ... การฝึกมโนมยิทธิ ก็อยู่ในขั้น อรูปฌาณ 2

ส่วนอรูปฌาณ 1 คือฌาณ 4 ใช้ความว่างเป็นหลัก... :b6: :b6: :b6:


ที่เราแนะนำเขาคนนั้นให้ฝึกมโนมยิทธิ เพราะเท่าที่อ่าน คิดว่าเขาน่าจะถึงขั้นฌาณ 4 แล้ว (แต่อาจยังไม่มั่นคงดี) ก็ต้องดูว่า... เขาสามารถจำลองอีกกายหนึ่งขึ้นมาได้หรือเปล่า ถ้าไม่ได้ก็มี 2 แบบ หนึ่งคือ จิตยังผูกอยู่กับกายอย่างเหนียวแน่น นั่นคือ ยังไม่ถึงระดับ 4
และสอง ไม่มีแนวโน้มในทางอภิญญา...


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 30 ส.ค. 2010, 08:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2010, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อืมมม์ เหร๋อ...เอกอนไม่รู้เรื่องหรอก มโนยิทธิ น่ะ

อิ อิ บางคนบอกว่า ฝึกแล้วบางทีจะไปเห็นโน่นเห็นนี่

อิ อิ เอกอนกลัวเห็นของแปลก แล้วใจหาย... :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เขียนใหม่ เรื่องสมาธิ...

คำว่าฝึกสมาธิที่เราใช้ๆ กัน โดยมากจะหมายถึง การฝึกให้จิตก้าวหน้าไปจนถึงระดับ ฌาณ ไม่ใช่ฝึกเพื่อให้มีสมาธิเฉยๆ ไม่งั้นก็เอานิยายเล่มโตๆ มาตั้งหน้าตั้งตาอ่าน ก็ฝึกสมาธิได้แล้ว

ฌาณ เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะที่จิตตั้งมั่น คำพระเขาว่า เอกัคคตาจิต
ทีนี้เพื่อให้ผู้ฝึกรู้ถึงความก้าวหน้าของตน เขาก็แบ่งออกเป็น 4 ระดับ

ฌาณที่ 1 มีองค์ประกอบหลักคือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา
วิธีฝึกเท่าที่เห็น ก็มี 2 แบบ แบบพุทธจะเป็นการท่องคำที่ไม่มีความหมายซ้ำๆ กันไป เขาเรียก คำบริกรรม พวกยุบหนอๆ พุทโธๆ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้เราจดจ่อกับคำนั้นๆ จนลดความฟุ้งซ่านลง ที่ใช้คำที่ไม่มีความหมาย เพราะถ้าเราท่อง ห่วยหนอๆ เดี๋ยวจะกลายเป็นสะกดจิตตัวเอง จนห่วยไปจริงๆ อิอิ

อีกแบบ เป็นแบบกสิน (เข้าใจว่า เป็นวิชาของฤาษี) คือการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนขึ้นใจ นึกภาพได้ในใจ เช่น มองเทียน มองดิน มองน้ำ ฯลฯ จะเรียกว่าเป็นแบบนิมิตก็ได้ คือมีรูป ส่วนแบบพุทธเป็นแบบไม่มีนิมิต คือไม่มีรูป

พวกนี้ คำพระเขาเรียก วิตก-วิจาร คือเอาสิ่งหนึ่งขึ้นมา แล้วจดจ่อไปที่สิ่งนั้น

ทีนี้ ปกติจิตจะยึดกับร่างกายอย่างเหนียวแน่น พอเราฝึกสมาธิไปจนคล่องพอตัว จิตจะเริ่มคลายจากการยึดเกาะกับร่างกาย จิตที่ไม่คุ้นเคยกับสภาวะนี้ ก็จะเกิดการรับรู้แปลกๆ ขึ้น คำพระเขาเรียกว่า ปิติ
ซึ่งอาการจะเป็นยังไง มีมากมีน้อยก็แล้วแต่บุคคล จะตัวใหญ่ ตัวลอย ตัวสั่น น้ำตาไหล ก็ไม่แน่นอน
แต่บางคนที่พื้นฐานดีอยู่แล้ว ก็อาจไม่มีปิติเลยก็ได้


ฌาณที่ 2 ไม่มีวิตก-วิจาร คือไม่มีคำบริกรรมใดๆ อีก
เราจะเลิกใช้คำบริกรรมต่างๆ เมื่อใดนั้น เราจะรู้ได้เอง... คือเมื่อเริ่มรู้สึกว่า เมื่อท่องพุทโธแล้ว มันเป็นตัวถ่วง แต่คิดว่า ส่วนใหญ่ผู้ฝึกน่าจะเลิกท่องกันไปเองโดยไม่รู้ตัว

ในแบบกสินก็คือ เมื่อสามารถนึกภาพกสินนั้นไว้ได้ในใจ โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยอื่น เขามีคำศัพท์เฉพาะคือ อุคหนิมิต

ในแบบพุทธ ซึ่งเป็นแบบไม่มีรูป (นิมิต) นั้น ในขั้นนี้จะเห็นแสงหลากสี เคลื่อนไหวไปมา ซึ่งมีวิธีปฎิบัติได้ 2 ทาง หนึ่งคือ จดจ่อไปที่แสงนั้น ตามดูมันไปเรื่อยๆ (ซึ่งจะว่าไป วิธีนี้ก็เข้าข่ายแบบกสิน ) และสองคือ อานาปานสติ (ตามดูลมหายใจ)

ในขั้นนี้ หากสติยังไม่มั่นคงดี ก็อาจตกภวังค์ คือสภาพที่อายตนะพร่องไป ไม่รับรู้ร่างกาย ไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง ไม่รับรู้ลมหายใจ เขามีศัพท์ว่า ภวังค์จลนะ
และในภวังค์จลนะนี่แหล่ะที่จะเกิด นิมิตความฝัน ขึ้น ซึ่งมีคนเชื่อเป็นจริงเป็นจังมากมาย มันน่าจะมีลักษณะคล้ายกับ "การรู้ตนในความฝัน" นั่นแหล่ะ มีการสลับฉากเป็นระยะๆ :b32: :b32:

องค์ประกอบในฌาณ 2 ก็คือ ปิติ สุข และเอกัคคตา


ฌาณ 3 มีองค์ประกอบคือ สุข และเอกัคคตา ในขั้นนี้อาการทางกายทั้งหลายจะหมดไป สิ่งที่น่าจะปรากฎในชั้นนี้คือ แสงสว่าง หากฝึกแบบกสินก็จะสว่างแบบดวงอาทิตย์ ฝึกแบบไม่ใช่กสินก็จะสว่างแบบท้องฟ้า คือสว่างทั้งจอ คำพระเขาเรียก โอภาส

จริงๆ องค์ประกอบในฌาณไม่ได้แบ่งเป็นขั้นแบบบันได แต่จะเหมือนทางเลื่อนมากกว่า เช่น แสงหลากสีที่เห็นมาก่อนนั้น สีจะค่อยๆ ขาวขึ้นๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นสว่างทั้งจอ
หรือในแบบกสิน สีของนิมิตที่สร้างขึ้นก็จะค่อยๆ หายไป จนสุดท้ายกลายเป็นดวงสว่าง (ปฏิภาคนิมิต)

จุดสำคัญคือ การเห็นแสงสว่างนี้จะเกิดพร้อมกับความยินดีที่ได้เห็น ซึ่งทางพระเขาเรียกว่า สุข ซึ่งถ้าเราไม่สามารถ ละ ความสุขนี้ได้ ยังติดใจในความงามของแสงสว่างนั้น เราก็จะติดในชั้นนี้ ไม่สามารถก้าวต่อไปได้


:b6: :b6: :b6: ฌาณ 1-3 นี้ จริงๆ เป็นฌาณระดับเดียวกัน ต่างกันที่องค์ประกอบต่างๆ ที่ลดหลั่นกันไป แต่ที่เราแยกเขียน ก็เพื่อแสดงลักษณะเด่นขององค์ประกอบต่างๆ หมายความว่า คนที่ได้ฌาณ แม้จะเป็นฌาณ 1 ก็ต้องถึงระดับเกิดแสงสว่าง ที่จะตามมาด้วย สุข เช่นกัน

เราจะแยกว่า ใครอยู่ในฌาณระดับไหน ก็ดูจากการเริ่มต้นเข้าสมาธิ ถ้ายังไล่จาก วิตก-วิจาร ไปเรื่อย ก็จัดว่าเป็นฌาณ 1 (ปฐมฌาณ) ซึ่งบางคนเข้าใจผิดว่า เป็นการไล่เข้าฌาณ จากฌาณ 1 ไป 2 ไป 3...
จริงๆ ระดับฌาณ คือ level คือถ้าได้ฌาณ 2 แล้ว ก็หมายถึง ไม่ต้องการคำบริกรรมต่างๆ ในการเข้าสมาธิอีก เช่น ใช้อานาปานสติไปได้เลย ในแบบกสินก็คือ สามารถนึกอุคหนิมิตได้ทันที
คนที่ได้ฌาณ 3 คือ จิตสงบและคุ้นเคยกับสภาวะนั้น จนอาการทางกายต่างๆ (ปิติ) ไม่เกิดอีก ส่วนการเข้าสมาธิก็ยังเหมือนกับคนที่ได้ฌาณ 2 ต่างกันที่ปิติเท่านั้น

แล้วบังเอิญมันมีอีกคำหนึ่ง ที่ทำให้สับสนเข้าไปอีก คือคำว่า วสี ซึ่งแปลว่า ความชำนาญ จริงๆ มันก็ไม่มีอะไร ฝึกเข้าสมาธิจนชำนาญ ก็เป็นการเลื่อนระดับฌาณนั่นแหล่ะ แต่วิธีการใช้คำนี้ในหลายๆ แห่ง อาจทำให้เราสับสนได้ง่ายๆ

เอาล่ะ มาถึงฌาณ 4 ซึ่งเป็นระดับที่ต่างออกไป... จะขึ้นโพสต์ใหม่เลย เพราะฌาณ 4 ไม่เหมือนกับฌาณระดับก่อนๆ


เพิ่มเติม... กะว่าจะแก้ไขวิธีบรรยาย โดยอธิบายรวดเดียวจนถึงระดับ "สุข" แล้วค่อยหมายเหตุว่า ระดับฌาณ 1-3 นั้น แบ่งตามความชำนาญในการเข้าฌาณ
เพราะการอธิบายแบบนี้ อาจทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่า ฌาณ 1 คือวิตก-วิจาร ฌาณ 2 คือปิติ ฌาณ 3 คือสุข... แต่ก็ขี้เกียจล่ะ :b9: :b9: :b9:
เอาเป็นว่า โดยบริบทจาก post ล่างๆ ที่เขียนไว้ เป็นอันเข้าใจตามนี้นะฮะ อิอิ


เพิ่มเติมอีกที... บางคนที่ใช้คำบริกรรมแล้วสงบยาก ก็อาจใช้การสวดมนต์ก็ได้เช่นกัน เลือกเอาบทสวดที่ชอบ จากสวดออกเสียง (ไม่จำเป็นต้องพนมมือ) เมื่อเริ่มรู้สึกว่าโอเค ก็สวดในใจ ก็ใช้ได้ดีเหมือนกัน


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 09 ก.ย. 2010, 20:58, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌาณ 4 มีองค์ประกอบคือ อุเบกขาและเอกัคคตา
เมื่อเราสามารถวางเฉยต่อ สุข ที่ได้เห็นแสงสว่างแล้ว (เป็นลักษณะของอุเบกขา) ไม่ช้าไม่นาน แสงสว่างจะหายไป... จะไม่มีสิ่งใดให้เห็นอีก ไม่มีนิมิตใดๆ เกิดขึ้น
แต่ในช่วงนี้ ผู้ฝึกอาจได้เห็นแสงที่จ้ามาก แต่ไม่แสบตา (เพราะเราไม่ได้มองด้วยตา :b32: :b32: ) ฉายวาบเข้ามา อาจจะเห็นเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น ตลอดระยะเวลาที่ฝึกมาทั้งหมด

เมื่อไม่มีสิ่งใดให้เห็นอีก ผู้ที่ฝึกมาในแบบกสิน หากวางเฉยสงบอยู่อย่างนั้น ไม่นานก็จะเข้าสู่ภาวะ ภวังคุปัจเฉท หรือในอีกคำหนึ่ง อารัมมณูปนิชฌาน บางทีก็ใช้ภาษาบ้านๆ ว่า ฌาณแบบฤาษี เป็นความสงบนิ่งเฉย ที่ไม่มีความคิดใดๆ และ ไม่สามารถคิดได้ เป็นเพียงแค่การมีสติอยู่อย่างนั้น ไม่รับรู้สิ่งใด
เราสามารถทำได้อย่างเดียวคือ จะสงบอยู่อย่างนั้น หรือจะออกจากสมาธิ

แต่หากผู้ฝึกมีสติมั่นคงพอ และไม่ปล่อยให้ตกภวังค์ไป ก็จะใช้ความว่างนั้นเป็นที่หมายในการจดจ่อ นั่นคือ การฝึกในชั้น อรูปฌาณ 1
อันที่จริง อรูปฌาณทั้ง 4 ก็คือภาคขยายของฌาณ 4 นั่นแหล่ะ


ในแบบพุทธ จะใช้อานาปานสติเป็นหลัก เพื่อไม่ให้เข้าภวังคุปัจเฉท อายตนะจะไม่พร่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การรับรู้ร่างกายก็จะถูกลดทอนลงไปมากเช่นกัน เช่น มือหายไป เท้าหายไป (แต่เราสามารถขยับได้ถ้าต้องการนะ ไม่ใช่ว่าพิการไป อิอิ) ตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกายก็จะไม่ชัดเจนนัก แต่เวทนาทั้งหลายจะยังอยู่ และที่สำคัญ มีความคิดปกติ
ฌาณ 4 แบบนี้เขามีศัพท์ว่า ลักขณูปนิชฌาน หรือบางทีก็เรียก วิปัสสนาญาณ

ในการฝึกแบบพุทธ จะไม่นิยมให้ฝึกต่อแบบอรูปฌาณ แต่จะใช้การฝึกอีกแบบที่เรียกว่า มโนมยิทธิ
คือจำลองกายวิญญาณขึ้นมา มีขนาดและรูปร่างเท่ากับตัวเรา และซ้อนอยู่กับตัวเราแบบเป๊ะๆ
คำพระค่อนข้างเท่ห์ คือเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปอันเกิดแต่ใจ :b13: :b13:

เมื่อฝึกจนคล่อง กายที่จำลองขึ้นมาจะเด่นชัดขึ้น ส่วนจะชัด (คือรู้ชัด) จนเด่นกว่ากายเนื้อจริงๆ หรือเปล่านั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
การฝึกก็มีเท่านี้... เพราะถัดจากนี้แล้ว เป็นเรื่องเฉพาะตนแบบแท้ๆ บางคนอาจทำได้ถึงขั้น เคลื่อนย้ายรูปปรมัตถ์ คือย้ายกายนั้นออกมา ซึ่งมีการเข้าใจผิดกันว่า คือการถอดจิต บางคนก็จะก้าวไปถึงขั้นอภิญญาญาณต่างๆ ซึ่งยังไม่ถึงเวลาที่เราจะอธิบาย หมายความว่า อธิบายไปก็เห็นจะผิดมากกว่าถูก...

ส่วนคนที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็น อริยบุคคล โดยไม่อยากเสียเวลากับญาณโลกีย์ ก็ไม่จำเป็นต้องฝึกมโนมยิทธิ เพียงแต่เข้าถึงฌาณ 4 สัก 20-30 นาที แล้วออกจากสมาธิก็เพียงพอ คือเข้าฌาณเพื่อให้จิตมีพลังเท่านั้น
ในเวลาปกติ ก็ฝึกโดยใช้หลัก สติปัฏฐาน ตามสูตรสำเร็จ :b32: :b32: :b32:

เขียนแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่า ต้องได้ฌาณ 4 ก่อนแล้วจึงจะฝึกสติปัฎฐานได้นะ... ตามตำราว่า ถ้าลุยถั่วไปเลย ใช้สติปัฏฐานอย่างเดียว ก็ถึงขั้นอริยบุคคลได้ภายใน 7 วัน 7 เดือน หรือ 7 ปี สารภาพว่า... ครั้งแรกที่ได้อ่านระยะเวลาแบบนี้ รู้สึกกวนๆ พิกล อิอิ :b9: :b9: :b9:


อ้อ มีการฝึกอีกแบบ ซึ่งเราเข้าใจว่า เป็นวิชาของฤาษีที่ฝึกในขั้น อรูปฌาณ 2 คือ เนรมิตกายอื่นขึ้นมาเหมือนกัน แต่นั่งอยู่ตรงข้ามกันและมองกัน เมื่อฝึกจนชำนาญ ร่างที่เนรมิตจะชัดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่าง คล้ายโอปปาติกะ
วิธีการฝึกแบบอรูปฌาณทั้ง 4 คงต้องหากันเอง เพราะเราไม่ได้ใส่ใจนัก แต่รู้ว่าจุดมุ่งหมายคือการ ก้าวสู่ความดับ หรือ นิโรธสมาบัติ

เรื่องลี้ลับในฌาณ 4 จะขอขึ้นโพสต์ใหม่...


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 08 ก.ย. 2010, 19:41, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




เอ้า....

ไหง๋...งั๊น...ล่ะ....

จ้า....เปลี่ยนก็ยังมาติดตามมมมม.... :b17:



อ๊ะอ่ะ ท่านมู อิ อิ

เอกอนมาเล่นด้วยนะ...

เอกอนถาม

เอกอนเคยสังเกตน่ะ แบบว่า โดนเตารีดดาดน่ะ...
คือ...เราจะชักมือออกมาก่อนที่เราจะตีความผัสสะที่กระทบนั้นออกด้วยซ้ำ

และ เวลาตาเราเห็นมือเราไปโดนเตารีด
มันก็มีการรีบชักมือออก อิ อิ ทั้ง ๆ ที่เตารีดไม่ได้เสียบบบบ... อิ อิ :b4:

และ มีอีกด้วยนะ... ระหว่างผัสสะทางกาย กับผัสสะทางตา
ท่านมู ว่า...ผัสสะทางไหนมีการตอบสนองต่อการกระทบได้ไวกว่ากัน
และเพราะอะไร... :b10: :b10:

อ๊ะ อ๊ะ มีอีก... :b12: แล้ว...เราสามารถบังคับกายให้อยู่เหนือปฏิกริยาเหล่านี้ได้หรือไม่..
อุ อุ ... :b12: ทำไม อย่างไร... อ่ะ อ่ะ

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ย. 2010, 23:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ย. 2010, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool พอเรียบเรียงความคิดใหม่ ก็เลยรู้ตัวว่า เราก็ใช้คำผิดไปในหลายแห่ง แบบนี้เห็นจะต้องอัพเดทความคิดให้เป็นตัวหนังสือบ่อยๆ

เช่นที่เราเคยเขียนว่า นิมิตความฝันจะเกิดในขณะตกภวังค์ในฌาณ 2 (ภวังค์จลนะ)
จริงๆ ภวังค์แบบจลนะจะเกิดในขณะที่ผู้ฝึกยังมีปิติอยู่ นั่นคือ นิมิตความฝันจะเกิดได้กับผู้ฝึกที่อยู่ในระดับฌาณทั้ง 1 และ 2 ส่วนผู้ที่ถึงระดับ 3 จะไม่มีนิมิตนี้อีก เพราะผ่านขั้นปิติไปแล้ว
และการตกภวังค์นี้ ไม่จัดว่าได้ฌาณ เพราะมันเป็นการตกกลางทาง คือจิตไปไม่ถึง สุข

การแยกระดับฌาณในหลายๆ ตำรา (รวมถึงตัวเราเอง) ทำให้ผู้ฝึกเข้าใจผิดว่า เมื่อเกิดปิติ นั่นคือฌาณ 2 เมื่อเกิดแสงสว่าง (สุข) คือฌาณ 3 ซึ่งจริงๆ ฌาณนั้น ต้องเข้าถึงระดับสุขทุกครั้ง แต่จะเข้าถึงได้เร็วแค่ไหนต่างหาก ที่คือตัวแบ่งระดับฌาณ การฝึกเข้าฌาณบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ (วสี) จึงมีความสำคัญ

ตรงนี้คงขัดใจหลายๆ คน ที่ตกภวังค์มาตลอด แล้วเข้าใจว่าตนได้ฌาณ... ซึ่งนั่นก็หมายความได้อีกว่า ผู้ที่ฝึกจนถึงระดับฌาณในปัจจุบัน มีไม่มากเลย...

การแยกฌาณเป็น 4 ระดับ แล้วแยกอธิบายตามองค์ประกอบอันที่ 1 เช่น อธิบายฌาณ 1 โดยใช้วิตก-วิจาร อธิบายฌาณ 2 โดยใช้ปิติ ฌาณ 3 โดยใช้สุข... ถือว่าโอเคไหม อันนี้เราก็ไม่แน่ใจ แต่มันเป็นความเข้าใจที่มีมาแต่เดิม...
จริงๆ เราเคยเห็นการอธิบายแบบรวดเดียวนะ คืออธิบายจนครบทั้งหมดแล้วบอกว่า ท่านได้ปฐมฌาณแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นของสมเด็จโตหรือเปล่า วิธีนี้ก็น่าจะดี

ส่วนตัวเราคิดว่า ฌาณแยกเป็น 2 ระดับเท่านั้น คือฌาณ 1-3 เดิม และฌาณ 4 คือแยกโดยใช้สภาวะ ไม่ใช่แยกโดยวสี...

เอรากอน เขียน:
...เตารีด...

เดี๋ยวเย็นๆ จะไปอัพเดทข้อความเพิ่มข้างบน... ต่อเรื่องฌาณ 4 และโลกลี้ลับในฌาณ 4 :b32: :b32: :b32:

เราจับเตารีดแล้วรีบดึงมือออก ทั้งที่เตารีดไม่ได้เสียบปลั๊ก เป็นเรื่องของความจำ... คือเราจำได้ว่ามันร้อน และเราก็รู้ว่า ความร้อนเป็นอันตราย ไม่ได้เป็นเรื่องของผัสสะ (การสัมผัส)
เหมือนเราข้ามถนนแล้วต้องมองทางขวา เพราะเราจำได้ว่า รถมันมาทางนั้น แล้วก็รู้อีกว่า รถมันอันตราย ซึ่งสมัยเด็กๆ ครูจะบ้าจี้ตามฝรั่ง สอนให้มองซ้าย :b6: :b6:

สัมผัสบางอย่าง เป็นเรื่องของระบบอัตโนมัติของร่างกาย โดยไม่เกี่ยวข้องกับจิต เช่นเวลาเอามือไปโดนเตารีดร้อนๆ มือจะถูกดึงกลับทันที เป็นระบบป้องกันตนขั้นพื้นฐานของร่างกาย ไม่เกี่ยวกับจิตใจ แต่ต้องเกิดสัมผัสที่ร้อนจริงๆ


เพิ่มเติม... นึกได้ล่ะ การแบ่งฌาณเป็น 2 แบบตามสภาวะนั้น เขามีแบ่งอยู่แล้ว ก็คือ รูปฌาณและอรูปฌาณ และฌาณ 4 ก็อาจจัดได้ว่า คืออรูปฌาณ 1


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 08 ก.ย. 2010, 18:52, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ย. 2010, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ในฌาณ 4 จะมีเรื่องๆ หนึ่งที่น่าจะรู้ไว้ และเข้าใจว่า ทุกคนที่ฝึกถึงระดับนี้จะต้องเจอ ก็คือ... การ รับ การสื่อสารทางจิต ซึ่งจริงๆ ก็ไม่เกี่ยวกับฌาณหรอก แต่เพราะเป็นเรื่อง สามัญ ในระดับนี้ หากไม่รู้ก็อาจทำให้เขวไปได้

ส่วนเรื่องอื่นๆ จะเข้าไปเกี่ยวกับอภิญญาญาณ ซึ่งขอยกไว้ก่อน... เมื่อถึงเวลาอาจมาอธิบาย หรืออาจไม่อธิบายเลยก็ได้ เพราะเรื่องแบบนี้ เหนือสามัญวิสัย อธิบายไปก็เชื่อได้ยาก รังแต่จะทำให้เกิดการเยาะเย้ย และจะพาลปรามาสไปว่า ฌาณ ไม่มีจริง
และกว่านั้น เพราะไม่สามารถฝึกได้ทุกคน แม้จะเข้าถึงฌาณ 4 แล้วก็ตาม คนที่ถึงระดับนี้ก็อาจมองว่าเป็นเรื่องโกหกไปก็ได้...
และบางทีนะ... มันอาจก่อให้เกิด ความกลัว ในหมู่คนที่เข้าไม่ถึงฌาณ


เมื่อจิตถึงระดับ 4 คือมีสมาธิด้วยอุเบกขาและเอกัคคตา บางครั้งผู้ฝึกจะได้รับการติดต่อจาก จิตอื่น คำว่าจิตอื่นก็มีทั้ง คนที่ฝึกมาก่อนจนได้ ทิพยจักษุญาณ และ... โอปปาติกะ ชีวิตที่ไม่มีรูปกายที่เป็นสสาร

การติดต่อจะมีในหลายรูปแบบ อาจมาเป็นเสียง แต่โดยทั่วไปจะมาเป็นภาพ
ผู้ฝึกจะมองเห็นเหมือนคนอยู่ข้างหน้า ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า จิตนั้นมีความสามารถในการสร้างรูปนิมิตได้ดีเพียงใด...

จิตที่มีพลังน้อย อาจไม่แสดงตน แต่เราจะ รู้สึก ได้ว่า มีอะไรบางอย่างมาอยู่ใกล้ๆ ระบุตำแหน่งได้แน่นอน ซึ่งหากแสดงตนก็จะเป็นเพียงเงามืด
จิตที่มีพลังมากขึ้น จะแสดงรูปเหมือนมนุษย์ แต่อาจไม่ครบส่วน เช่นไม่มีหน้าตา โดยมากจะเป็นรูปขาว-ดำ แต่ถ้ามีพลังมากขึ้นอีกก็สามารถแสดงรูปให้เป็นสีได้
จิตที่มีพลังสูงกว่านั้น จะแสดงเป็นใบหน้าที่สมบูรณ์ สามารถแสดงอารมณ์ได้ครบถ้วน
ที่มีพลังมากกว่านั้นก็จะเป็นใบหน้าที่งดงาม มีเครื่องแต่งกายที่มีรายละเอียดสูง และมีรัศมีกายที่สว่าง

เราแน่ใจว่า มีจิตบางจิตที่อยู่ในระดับเทวดา คือมีความสงบค่อนข้างมาก (ออกจะให้ความรู้สึกเย็นๆ) แต่อีกหลายจิตนั้นไม่แน่ใจเท่าไร เพราะเห็นจะมีอารมณ์ต่างๆ เหมือนเราๆ ท่านๆ นั่นแหล่ะ :b32: :b32: :b32: และโดยมาก รูปที่ปรากฎจะเป็นหญิง :b22: :b22: :b22: แต่ไม่เสมอไปนะ มีบ้างที่แสดงตนเป็นชาย โดยเฉพาะจิตที่มีบารมีสูง

ส่วนการติดต่อจากผู้ที่ฝึกจนได้ ทิพยจักษุญาณ นั้น ก็ปรากฎได้ในหลายลักษณะ บ่อยครั้งจะปรากฎรูปเต็มตัว โดยมีเสื้อผ้าตามสัญญาในขณะนั้น และบ่อยครั้งจะปรากฎในรูปของ ดวงตา
จริงๆ จะเรียกว่าเป็นการติดต่อก็ไม่น่าจะได้ เพราะเป็นการ มอง มากกว่า ส่วนจิตที่เป็นโอปปาติกะนั้น มีลักษณะติดต่อชัดเจน คือ... ในขณะนั้นผู้ฝึกจะรู้ได้เองแหล่ะ อิอิ

แต่ในโลกแห่งความจริง ก็ย่อมมีจิตที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ การเข้าไปทำสมาธิในสถานที่ที่ไม่สมควร คือสถานที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยของคน ปลอดคน เช่น สุสาน ป่าช้า ป่าดงดิบ ก็อาจถูกมองว่าท้าทาย หากไม่เจ๋งจริง ผู้ฝึกก็อาจจะป่วยอย่างฉับพลัน ซึ่งหากเข้าฌาณ 4 ในตอนนั้น จิตนั้นก็อาจแสดงรูปให้เห็นเป็นอสุรกาย แต่ก็ไม่มีอะไรหรอกนะ ก็เหมือนคนลองดีกันเท่านั้น...
พระธุดงค์ในสมัยโบราณ จึงถือว่าเป็นพระที่เก่งมาก...


เท่าที่บรรยายมา คนที่ฝึกถึงระดับนี้แต่ไม่เคยได้รับการอธิบายมาก่อน ก็คงเข้าใจในทันทีว่า เรากำลังอธิบายถึงอะไร
และแน่นอนว่า มันแตกต่างจากนิมิตความฝันจนเป็นคนละเรื่องกันเลย โดยเฉพาะว่า ทั้งหมดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นขณะตกภวังค์....

อ้อ การเห็นเป็นภาพต่อเนื่องแบบภาพยนตร์ ก็ปรากฎขึ้นได้เหมือนกัน จะเป็นภาพที่จิตอื่นส่งมาให้ อันนี้ไม่นับพวกญาณต่างๆ นะ


ในทางพุทธ เขาจะบอกให้ไม่ต้องสนใจในเรื่องพวกนี้ เห็นสักแต่ว่าเห็น เพราะจิตแต่ละจิตนั้น ต่างก็เวียนว่ายในวัฎสงสารกันทั้งนั้น และเราฝึกเพื่อให้หลุดพ้น เขาจะมาให้ความสนใจ มาร่วมอนุโมทนา ก็เป็นเรื่องที่ดี... แต่ให้เรามุ่งสู่ความเป็น อริยบุคคล เป็นสำคัญ


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 10 ก.ย. 2010, 08:18, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.ย. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


cool cool cool มาอัพเดทเรื่องสมองอีกนิด...

ในสมองน่าจะมีส่วนความทรงจำอีกส่วนหนึ่ง ขอเรียกว่า ความจำชั่วคราว... ทำหน้าที่คล้ายแรมในคอมพิวเตอร์ ส่วนความจำระยะสั้นที่เราเขียนไป จะเป็นเหมือน Buffer

ข้อมูลต่างๆ ที่ไหลเข้ามา รวมถึงสิ่งที่เราคิด จะถูกบันทึกลงใน buffer ก่อน ก่อนที่จะถูกนำส่งไปที่แรม และ harddisk ต่อไป... สงสัยผู้ออกแบบแนวคิดของคอม จะได้รับแรงดลใจจากผู้สร้าง อิอิ :b32: :b32: :b32:

ขออัพเดทตรงนี้ จิตเชื่อมต่อกับสมองอย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา ภาวะที่ร่างกายหลับหรือตื่นน่าจะมีคีย์สำคัญอยู่ที่ ส่วนความจำชั่วคราว (แรม) ต่อไปนี้จะใช้คำว่า ram และ buffer เพราะสั้นดี :b1: :b1: :b1:

ภาวะลูกตากลิ้งไปมาในขณะฝัน น่าจะเป็นความพยายามในการหา ภาพ อายตนะทั้งหลายน่าจะกลับมาทำงานได้หมด แต่เพราะจักขุเป็นอายตนะเดียวที่ทำงานเชิงรุก คือเป็นฝ่ายมอง (ส่วนอายตนะอื่นจะทำงานเชิงรับ) เราจึงเห็นการแสดงออกอยู่ที่ดวงตา

นั่นคือ หากมีกลิ่นหรือเสียงรอบข้างเกิดขึ้นในขณะฝัน ทั้งกลิ่นและเสียงก็จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความฝันด้วย
เพราะข้อมูลทั้งหมดรวมถึงสิ่งที่จิตคิดจะเข้ามาในส่วน buffer ส่วนนี้ส่วนเดียว (ในมุมของสมอง ความคิดก็คือ input อย่างหนึ่ง) แต่เสียงนั้นต้องไม่มีความหมายสำคัญ หรือไม่ดังจนทำให้ระบบต้องตื่น...

ตรงนี้น่าจะเป็นข้ออธิบายได้ว่า แม้ในเวลาปกติเราก็ไม่สามารถ มองเห็น พร้อมกับ คิด ไปในเวลาเดียวกันได้
ถ้าเรากำลังคิดเราจะดูหนังไม่รู้เรื่อง และเราจะไม่เห็นภาพในหนังด้วย มันอาจหมายความว่า สมองส่วน buffer มีเนื้อที่จำกัดมากๆ

พลังงานที่ระบบลิมบิกได้รับน่าจะเพียงพอที่จะสั่งการได้ทุกอย่าง เพราะเป็นแค่การสั่งการเท่านั้น แต่น่าจะไม่พอสำหรับการเขียนข้อมูลลงในแรม นั่นแปลว่า ทั้ง buffer และแรม มีที่อยู่อยู่ในระบบลิมบิก

เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม ซีรีเบลลัมจะจ่ายพลังงานเข้ามา...
ซึ่ง การตื่น ก็คือ การบันทึกข้อมูลในแรมกลับมาทำงานได้ แต่จิตนั้นรู้ตนและเชื่อมกับสมองอย่างสมบูรณ์ตลอดเวลา

อ้อ และอีกสิ่งที่สำคัญมากๆ คือ ระบบประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว สิ่งนี้น่าจะเป็นตัวที่ยึดเราไว้กับโลก ทำให้ในเวลาปกติ ความคิดต่างๆ ในขณะหลับตา จะไม่ถูกนำไปใช้ทดแทนภาพจากดวงตา คือข้อมูลจากระบบนี้ ทำให้จิตรู้ว่าสิ่งใดจริง สิ่งใดเทียม... เพราะสิ่งที่คิดจะไม่สัมพันธุ์กับระบบประสาทสัมผัส
เป็นไปได้ว่า ถ้าเราจำลองระบบประสาทสัมผัสให้ใกล้เคียงกับสิ่งที่จิตคิด เราก็สามารถ ฝัน ได้ในขณะตื่น :b6: :b6: :b6:


ในภาวะนิโรธสำหรับผู้เข้าฌาณ ที่เราเคยอธิบายไปว่า เหมือนเวลาหายไปเฉยๆ จริงๆ มันมีที่สังเกตนิดหน่อยคือ มันจะเหมือนลักษณะการตัดเฟรมในคลิปวิดีโอน่ะ คือ ความต่อเนื่อง มันจะสะดุดนิดหนึ่ง

เราเข้าใจว่า เพราะสมองมีการจ่ายพลังงานหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ข้อมูลในแรมอันล่าสุดก็จะยังคงอยู่ เมื่อระบบกลับมาใช้ได้อีก ข้อมูลต่างๆ ก็จะเริ่มถูกเขียนต่อๆ กันไป
ว่าง่ายๆ คือ เราถูกบังคับให้รู้ผ่านสมองเท่านั้น...


ต่อนิดหนึ่ง... ความคิดและสติ เป็นตัวเดียวกันหรือไม่
ในฌาณแบบฤาษีที่เราบอกว่า ไม่สามารถคิดได้ ก็เหมือนกับจะบอกว่า ความคิดและสติ เป็นคนละตัวกัน

จริงๆ ก็ไม่ถึงกับเป็นคนละตัว แต่เมื่อสมองยังทำงานปกติ เมื่อจิตจะคิด จิตย่อมสั่งการผ่านสมองในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ รวมถึงแปลความหมายด้วย เช่นเมื่อเราท่องพุทโธในใจ สมองย่อมทำงานตั้งแต่เรื่องของภาษา บันทึกลงใน buffer จนแปลงเป็นเสียง ผู้ที่ฝึกจิตจนชำนาญจะรู้สึกว่า จิตเป็นผู้ดูผู้รู้ ในขณะที่มีอะไรบางอย่างกำลังท่องพุทโธ... แต่จะบอกว่าเป็นคนละตัว มันก็ไม่น่าจะถึงขนาดนั้น

คำว่า ไม่สามารถคิดได้ นั้น เราจะพยายามคิด แต่มันไม่มีอะไรตามมา มันตันๆ ยังไงไม่รุ พอจะเปรียบเทียบได้กับ... เหมือนเราเห็นหน้าเพื่อน แต่นึกชื่อไม่ออก มันจะรู้สึกคล้ายๆ แบบนั้น

ภวังค์ต่างกับการนอนหลับตรงที่...
ภวังคจลนะ มีเพียงอายตนะที่พร่องไป เป็นภาวะที่รู้ตนในความฝัน, ภวังคุปัจเฉท อายตนะพร่องและตัวที่ควบคุมการสืบค้นความจำหยุดทำงาน ซึ่งเรายังไม่รู้ว่า ไอ้ตัวนั้นคืออะไร
การนอนหลับ เป็นกระบวนการพักผ่อน มีอะไรหลายๆ อย่าง ทั้งหยุดทั้งเริ่มทำงาน แต่ตัวที่ทำให้เรา คิดว่า หลับไปก็คือ แรม...


ปล.ตอนนี้เรารู้แระ ว่าเสียงความคิดคืออะไร มันก็คือความคิดที่ถูกบันทึกในรูปแบบที่เจตสิกด้านเสียงจะนำไปใช้ ก็เหมือนข้อมูลจากคลื่นสั่นสะเทือนจากหูนั่นแหล่ะ ซึ่งนั่นก็แปลว่า เสียงไม่มีอยู่จริง...
แต่ยังสงสัยว่า แล้วทำไมผู้ที่ฝึกจิตมามากๆ จึงต้องคิดในรูปแบบของเสียง ?

ปล2. พอคิดได้แบบนี้ เราก็เลยสงสัยว่า... จิตเกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิก จริงๆ แล้ว จำนวนของเจตสิกที่ว่ามี 52 ดวงนั้น น่าจะหมายความว่า "ในร่างกายแบบมนุษย์" จะต้องใช้เจตสิก 52 อย่าง ในร่างแบบอื่นก็จะต้องการเจตสิกในจำนวนที่แตกต่างกันไป

ลักษณะเหมือนกับว่า... เมื่อทารกสร้างรูปกายขั้นต้นได้สมบูรณ์ได้ ร่างนั้นจะมีจุดเชื่อมต่ออยู่หลายๆ จุด (อาจมี 13 จุด) รอให้จิตเข้ามาเชื่อม และถ่ายพลังงานเข้ามา เพื่อการเติบโตต่อไป
เรายังคงแนวคิดว่า มีจุดที่ปรมัตถ์ทั้งหลายเชื่อมโยงกับเจตสิกในตำแหน่งที่แน่นอน แต่มีสายไฟอยู่หลายเส้นอะไรแบบนั้น...

จบการอัพเดทในโพสต์นี้ :b1: :b1: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 12 ก.ย. 2010, 09:01, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron