วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 02:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มิ.ย. 2010, 15:59
โพสต์: 390

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา แปลว่า รู้ไม่จริง

คนเราจะรู้อะไร รู้ให้มาก ถ้ารู้น้อยก็ต้องรู้ให้จริง รู้ในสิ่งที่รู้ ชำนาญในสิ่งที่รู้ ถึงจะเรียกว่าคนมีวิชชา

แต่ถ้าคนรู้มากแล้วรู้ไม่จริง รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เรื่องเดียวกันแต่รู้ครึ่งเดียวแล้วนำไปใช้ถือว่ารู้ไม่จริง
อาจเกิดความเสียหายเมื่อนำไปใช้ อย่างนี้เรียกว่า อวิชชา

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ

.....................................................
บุรุษใดพึงเห็นแดน"โลก" เขาจักอยู่ในแดน"โลก"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"สวรรค์" เขาจักอยู่ในแดน "สวรรค์"
บุรุษใดพึงเห็นแดน"นรก" เขาจักอยู่ในแดน"นรก"

บุรุษใดพึงเห็นแดนทั้งสาม เขาจักพึงสิ้นภพจบแดน...แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เสียงธรรม เขียน:
อวิชชา แปลว่า รู้ไม่จริง

คนเราจะรู้อะไร รู้ให้มาก ถ้ารู้น้อยก็ต้องรู้ให้จริง รู้ในสิ่งที่รู้ ชำนาญในสิ่งที่รู้ ถึงจะเรียกว่าคนมีวิชชา

แต่ถ้าคนรู้มากแล้วรู้ไม่จริง รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง เรื่องเดียวกันแต่รู้ครึ่งเดียวแล้วนำไปใช้ถือว่ารู้ไม่จริง
อาจเกิดความเสียหายเมื่อนำไปใช้ อย่างนี้เรียกว่า อวิชชา

ผมเข้าใจอย่างนี้ถูกต้องมั้ยครับ


อวิชชา ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวิชชา
อวิชชา ธรรมอันเป็นเหตุใ้ห้ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง

ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง คือ

ไม่รู้ทุกข์
ไม่รู้สมุทัย เหตุแ่ห่งทุกข์
ไม่รู้นิโรธ ธรรมอันเป็นไม่กักกั้นกิเลสอาสวะ เป็นอิสระจากอาสวะกิเลส
ไม่รู้มรรค ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์

อวิชชา เป็นการรู้อย่างวิปัลลาส วิปริตจากความเป็นจริง
เห็นสิ่งว่าไม่งามเป็นสิ่งว่างาม
เห็นสภาวะทุกข์ เป็นสุข
เห็นความไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
เห็นอัตตา ว่าเป็นตนของตน

เมื่ออวิชชา ทำให้ไม่รู้ไม่เห็นอริยะสัจจ์
อวิชชา ไม่เห็นสมุทัย ย่อมมีส่วนแห่งอุจเฉททิฏฐิ
อวิชชา ไม่เห็นทุกข์ ย่อมมีส่วนแห่งสัสตทิฏฐิ

เมื่อไม่รู้ไม่เห็นอริยสัจจ์ ย่อมไม่รู้ไม่เห็น กรรม และผลของกรรม

ดังนั้น จะรู้มากหรือ รู้น้อย ก็ตาม ต้องรู้ว่า รู้อะไร
ถ้ารู้ถ้าเห็น อริยสัจจ์ ก็เรียกว่า วิชชา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2010, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


[208] อวิชชา 4 (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง - ignorance; lack of essential knowledge)
1. ทุกฺเข อญฺญาณํ (ไม่รู้ทุกข์ - absence of knowledge of suffering)
2. ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขสมุทัย - of the cause of suffering)
3. ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธ - of the cessation of suffering)
4. ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา - of the path leading to the cessation of suffering)

กล่าวสั้นๆ คือ ไม่รู้ในอริยสัจจ์ 4

[209] อวิชชา 8 (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง - ignorance; lack of essential knowledge) 4 ข้อแรกตรงกับอวิชชา 4; ข้อ 5 - 8 ดังนี้
5. ปุพฺพนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ในส่วนอดีต - absence of knowledge of the past)
6. อปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ส่วนอนาคต - of the future)
7. ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต - of both the past and the future)
8. อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา - of states dependently originated according to specific conditionality)


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

:b41: :b43:


[๕๐๕] ดูกรท่านสารีบุตร ที่เรียกว่า อวิชชาๆ ดังนี้ อวิชชาเป็น
ไฉนหนอ ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความ
ดับทุกข์ ในปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคามีอยู่หรือ ปฏิปทามีอยู่หรือ เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น ฯ
สา. มีอยู่ ผู้มีอายุ ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็มรรคาเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น ฯ
สา. ดูกรผู้มีอายุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ
ฯลฯ ตั้งใจชอบ นี้แลเป็นมรรคา เป็นปฏิปทา เพื่อละอวิชชาเหล่านั้น ฯ
ช. ดูกรท่านผู้มีอายุ มรรคาดีนัก ปฏิปทาดีนัก เพื่อละอวิชชา
เหล่านั้น และเพียงพอเพื่อความไม่ประมาท นะท่านสารีบุตร ฯ

----------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

[๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่ง-
*ทุกข์ ความไม่รู้ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์
นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะ
สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

-------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค



โมหะ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ใน
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ทั้งในส่วน
อดีตและส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึง
เกิดขึ้น ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาโดยถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ
ความไม่พิจารณา การไม่กระทำให้ประจักษ์ ความทรามปัญญา ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด
ความหลง ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคือ
อวิชชา ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือ โมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด
นี้เรียกว่า โมหะ.

------------------------------------------------------
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์


ในอวิชชานิเทศ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุกฺเข อญาณํ ได้แก่ ความไม่รู้ในทุกขสัจจะ คำนี้เป็นชื่อของโมหะ.
ในคำว่า สมุทเย อญาณํ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ในสัจจะ ๔ นั้น พึงทราบความไม่รู้ในทุกขสัจจะด้วยเหตุ ๔ คือ โดยภาวะที่หยั่งลงในภายใน โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยการปกปิด.
จริงอย่างนั้น ความไม่รู้นั้น ชื่อว่าทุกขสัจจะ เพราะหยั่งลงในภายในทุกข์ เพราะนับเนื่องในทุกขสัจจะ ชื่อว่าเป็นวัตถุ เพราะเป็นนิสสยปัจจัยแห่งทุกขสัจจะนั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะเป็นอารัมมณปัจจัย ความไม่รู้นั้นย่อมปกปิดทุกขสัจจะ โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของทุกขสัจจะนั้น และโดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในข้อนี้.
พึงทราบความไม่รู้ในสมุทัยสัจจะ ด้วยเหตุ ๓ คือ โดยวัตถุ โดยอารมณ์และโดยการปกปิด. และพึงทราบความไม่รู้ในนิโรธปฏิปทา ด้วยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น คือโดยการปกปิด.
จริงอยู่ ความไม่รู้ที่ปกปิดนิโรธปฏิปทานั่นแล โดยห้ามการแทงตลอดลักษณะตามที่เป็นจริงของปฏิปทาเหล่านั้น และโดยปราศจากความเป็นไปแห่งญาณในปฏิปทาเหล่านั้น ความไม่รู้นั้น มิได้หยั่งลงในภายในในปฏิปทาเหล่านั้น เพราะไม่นับเนื่องในสัจจะทั้งสองนั้น สัจจะทั้งสองนั้น มิได้เป็นวัตถุ เพราะมิได้เกิดร่วมกัน มิได้เป็นอารมณ์ เพราะมิได้ปรารภสิ่งนั้นเป็นไป.
ก็สัจจะทั้งสองข้างท้าย เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง ความไม่รู้ที่มืดตื้อย่อมไม่เป็นไปในสัจจะทั้งสองนั้น.
ก็สัจจะข้อแรก ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะเห็นสภาวะลักษณะโดยอรรถที่ควรกล่าวได้ยาก ย่อมเป็นไปในความไม่รู้นั้น เพราะยึดถือคลาดเคลื่อนไปจากความจริง.
อนึ่ง เพียงด้วยบทว่า ทุกฺเข นี้ ท่านแสดงอวิชชาโดยรวบรวม โดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺขสมุทเย นี้ท่านแสดงโดยวัตถุ โดยอารมณ์ และโดยกิจ. เพียงด้วยบทว่า ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย นี้ ท่านแสดงโดยกิจ. แต่โดยไม่พิเศษ ด้วยบทว่า อญาณํ นี้ พึงทราบว่าท่านแสดงไขอวิชชาโดยสภาวะ.
บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการอย่างนี้แล.
บทว่า นิโรโธ โหติ ได้แก่ ไม่เกิดขึ้น.
อนึ่ง ด้วยบทว่า นิโรธ เหล่านั้นทุกบทในที่นี้ ท่านแสดงถึงพระนิพพาน. ด้วยว่า ธรรมนั้นๆ อาศัยพระนิพพาน ดับไป ฉะนี้ พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตสํ นิโรโธ ดังนี้.


--------------------------------------------------------------
อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ พุทธวรรคที่ ๑ วิภังคสูตร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2010, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจ4
ถ้าไม่รู้สิ่งอื่นๆ นั้นไม่เรียกอวิชชา เพราะเป็นความไม่รู้ทั่วๆไป
ผู้ไม่รู้ซึ้งในอริยสัจ4 ผู้นั้นได้ชื่อว่ายังมีอวิชชา คือกิเลสห่อหุ้มอยู่
อวิชชาเป็นต้นตอ ต้นเหตุ จะหาต่อไปจากนี้หาไม่ได้แล้ว เป็นตัวสร้างมนุษย์ขึ้น เมื่อคนไม่รู้อริยสัจ4ก็มีการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อมีตัวไม่รู้ก็เป็นเหตุให้ทำกรรม กรรมก็คือสังขาร มี3 ชนิดคือ
สังขาร คือบุญ ทำบุญก็เกิดการเวียนว่ายตายเกิด
อภิสังขาร คือบาป ทำให้เกิดภพชาติเช่นกัน
อเนญชาภิสังขาร คือ อรูปฌาน4 เป็นเหตุให้เกิดภพชาติเหมือนกัน

ทั้งอวิชชา และ สังขารนี้ถือเป็นเหตุ แต่เป็นอดีตเหตุ ทำให้เกิดวิญญาณ คือ จุติเหตุ แล้วก็ตามมาอีกเยอะ

นักท่อง ปฎิจจสมุปบาท จะรู้ดีว่าอะไรมาหลังจากนี้

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron