วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 04:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




R2336-30.gif
R2336-30.gif [ 45.47 KiB | เปิดดู 4523 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

องค์ประกอบของศาสนา
ศาสนาทุกศาสนามีองค์ประกอบที่สำคัญ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ศาสดา หมายถึง ผู้ค้นพบและประกาศลัทธิความเชื่อรวมไปถึงการก่อตั้งศาสนานั้น ๆ เช่น พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของพระพุทธศาสนา พระเยซูเป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ นบีมูฮัมหมัด เป็นศาสดาของศาสนาอิสลาม ศาสนาเชนมีพระมหาวีระเป็นศาสดา เป็นต้น

๒. ศาสนธรรม หรือคำสอน หมายถึง หลักธรรม ในแต่ละศาสนาจะมีคำสั่งสอนที่ศาสดาของศาสนานั้นค้นพบ แล้วนำมาเผยแผ่เป็นหลักความเชื่อสำหรับเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้นับถือศาสนานั้น เพื่อให้ถึงจุดหมายสูงสุดของชีวิต โดยทั่วไปสอนเรื่องความดี ความชั่ว บุญ บาป เป็นต้น
คัมภีร์ทางศาสนาที่สำคัญ เช่น พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา คัมภีร์ไบเบิลเป็นของศาสนาคริสต์ และคัมภีร์อัลกุรอาล เป็นคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม เป็นต้น

๓. ศาสนทายาท หรือสาวก หมายถึง ผู้สืบทอด ในแต่ละศาสนาจะมีผู้สืบทอดในการแนะนำสั่งสอนศาสนิกชนของตน เช่น พระพุทธศาสนามีพระภิกษุ สามเณร, บาทหลวงในศาสนาคริสต์ , อิหม่ามในศาสนาอิสลาม เป็นผู้นำในการประกอบกิจศาสนาอิสลาม โดยในแต่ละศาสนาศาสนิกชนต้องเป็นผู้ที่มีความเชื่อถือและปฏิบัติตามคำสอนและพิธีกรรมของศาสนานั้น

๔. ศาสนพิธี หรือพิธีกรรม หมายถึง ระเบียบลำดับขั้นตอนการปฏิบัติตามกรรมวิธี โดยศาสนิกชนเชื่อว่าเมื่อปฏิบัติตามพิธีกรรมของศาสนานั้นแล้วจะบังเกิดความสุขความเจริญ เป็นมงคลสำหรับชีวิตสืบไป พิธีกรรมทางศาสนานั้นจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีงามของศาสนิกชนอีกด้วย เช่น การอุปสมบท การทำบุญตักบาตร ตามคติของพระพุทธศาสนา, การรับศีลล้างบาปตามคติของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หรือการทำความละหมาดตามคติของศาสนาอิสลาม และทุกศาสนามักจะมีศาสนสถานที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม

๕. ศาสนสถาน หมายถึง สถานที่ทางศาสนาซึ่งมีไว้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหรือเผยแผ่คำสอนในศาสนานั้น เช่น วัดสำหรับพุทธศาสนิกชน โบสถ์สำหรับคริสต์ศาสนิกชน และมัสยิดสำหรับมุสลิม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นส่วนประกอบของศาสนาทุกศาสนาครับ

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




111.bmp
111.bmp [ 68.55 KiB | เปิดดู 4515 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

ประโยชน์ของศาสนา
ศาสนามีประโยชน์และความสำคัญในฐานะที่เป็นสถาบันหลักสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจ และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตให้อยู่ได้ในสังคมอย่างปกติสุข ซึ่งสรุปได้ดังนี้

๑. เป็นหลักควบคุมความประพฤติของคนในสังคม มนุษย์เราเมื่ออยู่ในสังคมจะต้องมีกฎระเบียบ เพื่อป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิซึ่งกันและกัน และลงโทษผู้กระทำผิด แต่ในสังคมมีความหลากหลายซับซ้อน กฎระเบียบอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จึงต้องมีหลักคำสอนทางศาสนามาปฏิบัติเพื่อให้เป็นคนดีตามหลักศาสนานั้น และส่งเสริมให้คนมีเมตตา เอื้ออาทรต่อกัน และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

๒. ช่วยให้สังคมเกิดความสามัคคีมีเอกภาพ เพราะศาสนาจะมีหลักปฏิบัติตามให้เป็นคนมีเหตุมีผล และมีใจกว้างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน รักใคร่ปรองดองกัน สามัคคีกัน แม้กระทั้งคนที่อยู่ต่างศาสนาก็สามารถเข้าใจกันและร่วมมือกัน ประสานสามัคคีได้ สังคมของคนที่นับถือศาสนาจึงมีความสามัคคีและมีเอกภาพ

๓. ศาสนาช่วยให้สังคมดำเนินไปอย่างสันติสุขและราบรื่น อันเนื่องจากศาสนามีส่วนช่วยในการดำเนินชีวิตของศาสนิกชน กล่าวคือ เมื่อศาสนิกชนยึดคำสอนของศาสนาปฏิบัติในชีวิต จะทำให้สามารถแก้ปัญญาชีวิตด้วยเหตุผลและปัญญาเป็นหลักในการตัดสินใจ ทำให้รู้จักอดกลั้น รู้จักขุมอารมณ์ นอกจากนี้ศาสนายังช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น

๔. เป็นการชดเชยความต้องการพื้นฐานของผู้นับถือศาสนา มนุษย์โดยธรรมชาติมีความต้องการพื้นฐานเหมือนกันคือ ด้านร่างกาย ด้านอาหาร เรื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ด้านสังคม ก็ต้องการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ช่วยเหลือปรองดองกัน ด้านปัญญา ก็ต้องการหลักแห่งความเป็นเหตุ เป็นผล ในการดำเนินชีวิต ด้านจิตใจ ก็ต้องการกำลังใจ ความหวังที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จึงกล่าวได้ว่าแต่ละศาสนาจะมีหลักที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของศาสนิกชนของตนได้อย่างชัดเจน

๕. ศาสนาเป็นบ่อเกิดของการสรรค์สร้างวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม สถาปัตยกรรม และวรรณคดี ล้าวนมีแหล่งกำเนิดมาจากคำสอนทางศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เช่น เรื่องการทำความดี นรก สวรรค์ ที่เป็นคำสอนในพระพุทธศาสนา ทำให้เกิดงานศิลปะเป็นจิตรกรรมฝาผนัง พระเวสสันดรชาดก พระมหาชนก เป็นวรรณกรรมไทยที่สำคัญโดยมีที่มาจากคำสอนในชาดก มารยาทไทย การกราบ การไหว้ รวมไปถึงประเพณีต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั้งตายของผู้คนส่วนมากล้วนมาจากพระพุทธศาสนาเกือบทั้งสิ้น

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทย ๔ ยุค คือ

ยุคที่ ๑ ยุคเถรวาทแบบพระเจ้าอโศกมหาราช นับแต่ช่วงเวลาที่พระเจ้าอโศกมหาราชทางอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๓ แล้วได้ส่งสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนารวม ๙ สาย โดยคณะพระสมณทูตสายที่ ๘ มีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นประธานได้เดินทางมาเผยแผ่ในแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งหมายถึงดินแดนทางตะวันออกซึ่งรวมประเทศไทยอยู่ด้วย หลักฐานที่พบในเมืองไทยขุดค้นที่จังหวัดนครปฐม คือ ศิลารูปธรรมจักรกับกวางหมอบ แท่นสถูป อันเป็นสิ่งเคารพบูชาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ยุคที่ ๒ ยุคมหายาน ประมาณ พ.ศ. ๖๒๐ พระเจ้ากนิษกมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายานที่เมืองชลันธร และได้ส่งคณะสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในเอเชียกลางจนถึงประเทศจีนตอนใต้ กล่าวคือ พระจักรพรรดิเม่งตี่ได้ทรงนำเอาพุทธศาสนามหายานจากเอเซียกลางเข้าไปเผยแผ่ในประเทศจีนและได้ทรงส่งคณะทูตจึงมาเจริญสัมพันธไมตรีกับขุนหลวงเม้าหรือเลอเมืองกษัตริย์ไทยผู้ครองอาณาจักรอ้ายลาวคณะฑูตจึงได้นำเอาพุทธศาสนามหายานเข้ามาด้วย
พ.ศ. ๑๓๐๐ กษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตรา ได้ขยายอำนาจเข้ามาถึงดินแดนตอนใต้ของไทย มาถึงแหลมมลายู จนถึงเมืองไชยา และนครศรีธรรมราช ทำให้พระพุทธศาสนามหายานเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนแถบนี้ หลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น และที่อินโดเซียก็มีเจดีย์บุโรพุทโธที่เมืองบันดง

ประมาณ พ.ศ. ๑๕๕๐ กษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย ก็สามารถขยายอาณาเขตเข้าครอบครองเมืองลพบุรีและประเทศเขมรไว้ได้ปละก็ได้นำเอาพุทธศาสนานิกายมหายานเผยแผ่ด้วย ทำให้ผู้คนชาวเมืองลพบุรี และชาวเขมรรู้จักและนับถือพุทธศาสนา นิกายมหายาน
ยุคที่ ๓ ยุคเถรวาทแบบพุกาม เมื่อ พ.ศ.๑๖๐๐ พระเจ้าอนุรุทธมหาราชแห่งพม่ามีอำนาจทรงตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองพุกาม ทรงแผ่ขยายอาณาเขตครอบคลุมมาถึงดินแดนตอนเหนือของไทย คือ ล้านนา ลงมาถึงลพบุรีและทวารวดี พระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกามซึ่งเป็นสายที่มาจากเมืองมคธ อินเดีย จึงครอบงำคนไทยแถบนั้นไปด้วย คนไทยจึงหันไปนับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบพุกามอีก แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยฝ่ายใต้ลงมาส่วนใหญ่คงนับถือฝ่ายมหายานอยู่

ยุคที่ ๔ เถรวาทแบบลังกาวงศ์ ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. ๑๖๙๘ พระเจ้าปรักกมพาหุแห่งประเทศลังกาทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกา ได้อาราธนาพระมหากัสสปะชำระสะสางพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาก็กลับมาเจริญรุ่งเรือง มีชื่อเสียงไปไกล ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วไปต่างสนใจพากันเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกและได้รับการอุปสมบทใหม่ที่นั้น ครั้นศึกษาจบแล้วก็กลับบ้านเมืองของตน เฉพาะประเทศไทยเราพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์นี้ได้เข้ามาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช

สมัยสุโขทัย (พ.ศ.๑๘๐๐ - ๑๙๒๐) หลัง พ.ศ. ๑๘๐๐ เมื่อไทยตั้งอาณาจักรมั่นคงอยู่ที่สุโขทัยแล้ว ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง พระองค์ทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ได้ทรงทราบข่าวพระพุทธศาสนาอันถ่องแท้ในเมืองนครศรีธรรมราช พระสงฆ์เคร่งครัดในพระธรรมวินัยจึงได้อาราธนาพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชขึ้นไปยังสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงพระสงฆ์ ส่งเสริมการเรียนพระไตรปิฎก พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีผู้เลื่อมใสน้อยลง และในที่สุดก็มารวมเป็นนิกายเดียวกัน เหลือแต่พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ตกทอดมาถึงชาวไทยเราอย่างทุกวันนี้

ในสมัยของพระยาลิไทขึ้นครองราชย์ ได้นิมนต์พระมหาสวามีสังฆราชชาวลังกาชื่อสุมนะเข้ามาสู่สุโขทัย พระยาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้เสด็จออกผนวชชั่วคราว ณ วัดป่ามะม่วง ในเขตอรัญญิก และได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือเตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง อันเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อและวิถีปฏิบัติของประชาชนทั่วไปในเรื่องนรกสวรรค์และการทำดีทำชั่วและทรงสั่งสอนประชาชนด้วยพระองค์เอง

สมัยล้านนา ประมาณ พ.ศ.๑๙๑๓ ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา ได้ทรงส่งราชทูตไปขอนิมนต์พระสังฆราชสุมนะต่อพระยาลิไทเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา นับเป็นการเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ในดินแดนแถบนี้

ในสมัยของพระเจ้าติโลกราช ได้มีการส่งคณะสงฆ์ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ต่อมาพระองค์ได้อุปถัมภ์การสังคายนาซึ่งนับเป็นการสังคายนาครั้งที่ ๘ ที่วัดโพธารามหรือวัดเจดีย์เจ็ดยอดในนครเชียงใหม่

ในสมัยของพระเมืองแก้ว ( พ.ศ. ๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) เป็นยุครุ่งเรืองของวรรณคดีพระพุทธศาสนา มีพระสงค์นักปราชญ์แต่งคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น พระสิริมังคลาจารย์แต่งหนังสือมังคลถทีปนี เวสสันตรทีปนี จักวาลทีปนี สังขยาปกาสกฏีกา และพระรัตนปัญญาเถระแต่งหนังสือวชีรสารัตถสังคหะ และชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น

สมัยกรุงศรีอยุธยาพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทเจริญมาก เช่น ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ ทรงส่งเสริมการบวช โดยกำหนดว่าผู้ที่จะเป็นขุนนางต้องเป็นผู้บวชมาแล้ว และได้ส่งคณะสงฆ์ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา โดยมีพระอุบาลีกับพระอริยมุนี พร้อมคณะ จนเกิดนิกาย “อุบาลีวงศ์หรือสยามวงศ์” ขึ้นในศรีลังกาจนถึงปัจจุบัน แต่ก็ถูกทหารพม่าเผาทำลายไปมากในคราวเสียกรุง
สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชคืนจากพม่าและทรงฟื้นฟูพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สืบหาพระสงฆ์ที่ทรงคุณธรรมจากทั่วประเทศ ให้ไปประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆษิตารามในปัจจุบัน) เพื่อทำการคัดเลือกพระสงฆ์ที่ทรงคุณสมบัติขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่ประชุมได้ลงมติเลือกพระอาจารย์ศรี วัดประดู่กรุงศรีอยุธยาเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงศรีอยุธยา จนพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา

สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.๒๓๒๕ - ปัจจุบัน) นับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีของไทยเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๕ พระองค์ได้ทรงบูรณะวัดวาอาราม และได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก ๒๑๘ รูปกับราชบัณฑิต ๓๒ คน ทำการสังคายนาขึ้นที่วัดมหาธาตุ ในกรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ ใช้เวลา ๕ เดือน สำเร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๓๒ แล้วโปรดฯให้สร้างหอมณเฑียรธรรมในพระบรมมหาราชวังเป็นที่เก็บรักษาและโปรดฯให้คัดลอกไว้ตามพระอารามหลวงต่าง ๆ อีกหลายวัดด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกับต้นพระศรีมหาโพธิมาจากศรีลังกาและได้คัดเลือกพระสงฆ์ไทย ๗ รูป เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาที่ประเทศลังกาด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดฯให้รวบรวมพระไตรปิฎกภาษาต่าง ๆ เพื่อเทียบเคียงกับของไทย มีการตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นโดยพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ )

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงส่งเสริมการศึกษา พระปริยัติธรรม และการปกครองคณะสงฆ์ให้เจริญมากยิ่งขึ้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสออกผนวชในระหว่างการครองราชย์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์โปรดฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรกจำนวน ๑,๐๐๐ ชุด ได้รับพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดียมาประดิษฐานที่บรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ และได้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยสงฆ์เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงทางพระพุทธศาสนาขึ้น ๒ แห่ง คือ มหามกุฏราชวิทยาลัย ณ วัดบวรนิเวศวิหาร และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ซึ่งยังดำเนินการอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงส่งเสริมให้ชาวไทยสนใจพระพุทธศาสนาโดยทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร และหนังสือเทศนาเสือป่า เป็นต้น

ในรัชกาลที่ ๗ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สำหรับจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาลีเป็นอักษรไทย เรียกว่า “พระไตรปิฎกสยามรัฐ” จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด และทรงจัดให้มีการประกวดการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็กด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ ๘ ได้เริ่มแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย และแยกแปลออกเป็น ๒ ประเภท คือ เรียกว่า แปลโดยอรรถ เรียกว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย และแปลสำนวนเทศนา เรียกว่า พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง

ในสมัยรัชกาลที่ ๙ พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรืองในประเทศไทยมาโดยลำดับจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ในรัชกาลนี้ มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวออกผนวชเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ การสร้างพุทธมณฑลเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นการเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธ-ศตวรรษ (พ.ศ. ๒๕๐๐) การศึกษาของคณะสงฆ์ในระบบมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่งคือ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการพัฒนาเป็นการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา และขยายวิทยาเขตออกไปในภูมิภาคต่าง ๆ มีการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับซีดีรอมทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนามีความสะดวกมากยิ่งขึ้น ตลอดจนมีการส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ปัจจุบันมีวัดไทยในต่างประเทศทั่วโลกประมาณ ๓๐๐ วัด

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ความสัมพันธ์ของพระพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย

๑. ด้านการศึกษา สมัยโบราณมีผู้นิยมนำบุตรหลานที่เป็นชายไปฝากไว้กับพระสงฆ์ที่วัดเพื่อรับการอบรมสั่งสอนทั้งในด้านหลักธรรม จรรยามารยาท ตลอดจนการอ่านเขียนหนังสือด้วย วัดจึงเป็นเสมือนสถานศึกษาเล่าเรียน โดยพระภิกษุสงฆ์ทำหน้าที่เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ความรู้ แม้ในปัจจุบัน พระสงฆ์พระสงฆ์ก็ยังคงทำหน้าที่สอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

๒. ด้านสังคม วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ชุมชนในเทศกาลนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ เพื่อทำบุญฟังพระธรรมเทศนา ตลอดจนการพบปะสังสรรค์ พระสงฆ์เป็นตัวแทนของสถาบันพระพุทธศาสนาที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน ความเป็นผู้มีศีลจึงทำให้ประสงฆ์เป็นศูนย์รวมของของความเคารพเชื่อฟังและการให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทางสังคมอย่างพร้อมเพียง ในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครอง วัดและพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการส่งเสริม พัฒนา และสงเคราะห์ประชาชน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแหล่งข่าวที่เอื้อต่อประชาชนในการรับรู้ข่าวสารของทางราชการบ้านเมือง นอกจากนี้ คุณค่าของพระพุทธศาสนาตลอดจนหลักธรรมต่าง ๆ ยังมีความสำคัญต่อการบริหารราชการที่ผู้ปกครองได้นำมาเป็นแนวปฏิบัติ

๓. ด้านศิลปกรรม วัดเป็นที่รวมแห่งศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ประติมากรรมปูนปั้น ศิลปกรรมแกะสลักไม้ จิตรกรรมฝาผนัง ตลอดถึงถาวรวัตถุต่าง ๆ ที่ศิลปินไทยได้ถ่ายทอดไว้ที่โบสถ์ วิหาร เจดีย์ องค์พระพุทธรูป ซึ่งสะท้อนในเห็นศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนา ผลแห่งการสร้างสรรค์ของศิลปินไทยในอดีตส่งผลให้ศิลปกรรมอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนากลายมาเป็นแหล่งทัศนศึกษาทั้งของชาวไทยและชาวต่างประเทศในปัจจุบัน เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม เป็นต้น

:b8: :b8: :b8:


.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2010, 23:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร