วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกนิดครับ :b1:

จะเห็นได้ว่า ไม่มีการใช้ความคิดซึ่งเป็นจินตามยปัญญา ในกระบวนการปฏิบัติของภาวนามยปัญญานะครับ (แต่การคิดแบบของคุณศรีสมรก็จำเป็นที่จะต้องสะสมในขั้นต้นก่อนการปฏิบัติ) แต่จะเป็นการให้จิตรู้เวทนาตามสภาวะความเป็นจริงไปเรื่อยๆจนถึงจุดที่เหมาะสมแล้วจิตจะภาวนาของเขาเอง รู้เห็นและตัดสินความเป็นจริงได้ด้วยจิตเองครับ โดยที่ไม่ต้องรู้กระบวนการเกิดของสุขหรือทุกข์เวทนามาก่อนเลย

ซึ่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมเจาะลึกของพระอภิธรรมที่เน้นในเรื่องของวิถีจิตและจิตตุปาทะซึ่งเริ่มจากภวังค์จิตไหว จิตเปิดทวารเกิดผัสสะ (ปัญจทวาราวัชชนจิตทางทวาร ๕ หรือมโนทวาราวัชชนจติทางมโนทวาร ซึ่งจริงๆแล้วมีเวทนาเกิดร่วมด้วยแล้วตั้งแต่ต้นคืออุเบกขา แต่ไม่ได้เป็นเจตสิกเด่น) เรื่อยไปในวิถีต่อมาจนจิตเสพสุขทุกข์ – โสมนัสโทมนัสเวทนานั้น (ชวนะจิต .. ตทาลัมพนะจิต หรือฌานจิต ที่มีเวทนานั้นๆเป็นเจตสิกเด่น)

หรือแม้กระทั่งกระบวนการเกิดของเวทนาในมุมกว้างเน้นเหตุปัจจัยตามแนวปฏิจสมุปบาท ตั้งแต่อวิชชา ... สังขาร ... จนเวทนาเกิด และเป็นปัจจัยต่อไปเรื่อยจนทุกข์เกิด ก็เป็นในแง่ของทฤษฎีหรือปวัตินัย คือความเป็นไปที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ในแง่ของปฏิบัตินัย ดังนั้น ไม่รู้ก็ได้ เพราะพระอรหันต์สมัยพุทธกาล ท่านก็ไม่ได้มีสัญญาตรงนี้มาก่อนที่จะฟังธรรมครั้งแรกแล้วบรรลุโสดาบัน (แต่ถ้ารู้ได้ก็ดีครับถ้ามีเวลาศึกษา เพราะสามารถนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ธรรมได้อีกอย่างพิศดารหลากหลาย)

ส่วนที่สำคัญกว่าในการนำไปใช้คือส่วนของปฏิบัตินัย ได้แก่มรรค ๘ อันมีสมถะและวิปัสนาภาวนา (สัมมาสมาธิ (ฌาน) & สัมมาสติ (สติปัฏฐาน ๔)) หรือตามความหมายอย่างเคร่งครัดได้แก่ วิปัสสนาภาวนา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ) และสมถภาวนา (มรรคอีก ๖ องค์ที่เหลือ) เป็นองค์หลักในการปฏิบัติเพื่อรู้และคลายความยึดติดในเวทนาครับ

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 28 ส.ค. 2010, 15:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 04:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ผัสสะ> ทุกข์เวทนา> วิภวตัณหา>อุปาทาน>กระทำกรรม(ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว)
ผัสสะ> สุขเวทนา> ภวตัณหา>อุปาทาน>กระทำกรรม(ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนาทางกาย ไม่อาจปล่อยได้อย่างถาวร
เพราะชีวิตอัตภาพร่างกายนี้ยังเป็นเหตุปัจจัยอยู่.

ส่วนเวทนาทางใจนั้น บุคคลที่รู้แจ้งในเวทนาทั้งหลายทั้งปวง
รู้เหตุการเกิดขึ้นของเวทนา
รู้ความดับของเวทนา
รู้ข้อปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
เวทนาทางใจย่อมดับได้อย่างถาวร สำหรับบุคคลที่รู้แจ้งซึ่งเวทนานั้น.

มรรคมีองค์แปด คือ เครื่องปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
เมื่อปฏิบัติมรรคถูก มรรคสมบูรณ์ มรรคบริสุทธิ ไม่ด่างพร้อย
เวทนาทางใจย่อมไม่มีฐานะที่จะปรากฏขึ้นมาได้...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมาทิฏฐิ...ที่ชัดเจน ที่บริสุทธิ ที่สมบูรณ์
จะเป็นเหตุปัจจัยนำไปสู่ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ.

สัมมาทิฏฐิ... ที่ไม่ชัดเจน ไม่แจ้ง ไม่โปร่ง ไม่โล่ง
จะเป็นเหตุปัจจัยทำให้ สติ สมาธิ ญาณ,ฌาน ไม่ชัดเจน ไม่โปร่ง ไม่โล่ง
หนทางแห่งความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ทั้งปวง จึงไม่อาจทำให้บรรลุถึงได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ศรีสมร เขียน:
ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ และการฝึกหัดใช้ปัญญานี้ก็ยังละอวิชชาไม่ได้ เพียงฝึกให้จิตมันหัดใช้ปัญญาบ่อยๆ ก็อย่างที่เล่าว่ายังเป็นขั้นทำสมาธิ พอสมาธิ
แนบแน่นกว่านี้ นี่แหละ เริ่มวิปัสสนาแล้ว


ที่คุณศรีสมรทำ เขาเรียกว่า "นั่งคิด" หรือ "ฟุ้งซ่าน"

ถ้าคุณศรีสมรตั้งเป้าจะทำความสงบจนจิตมีกำลัง
หรือกล่าวได้ว่าต้องการทำฌานให้แจ่มแจ้งเสียก่อน (ทำสมถะก่อน)

เวลาพุทธโธ ก็อยู่กับพุทธโธนั่นแหละ ฝึกให้ใจอยู่คำกับบริกรรมให้สืบเนื่องยาวนานให้มากที่สุด
ไม่ต้องคิดอื่นใด ไม่ต้องพิจารณาอะไรทั้งนั้น
ไม่ตั้องตั้งโจทย์ ไม่ต้องถามตัวเองว่าอะไรมาจากไหนยังไง
(ถ้าจะทำสมถนะ แต่ถึงจะบอกว่าจะวิปัสสนาไปด้วย
ก็บอกได้ว่า ไม่ใช่เลย การคิดไม่ใช่วิปัสสนาอย่างแน่นอน)


ศรีสมร เขียน:
แล้วตรงนี้แหละที่จิตพอจะเริ่มฝึกหัดฝึกปัญญาได้โดยการ เช่นถามตัวเองว่า เวทนามาจากไหน เกิดได้อย่างไร มีกาย มีความรับรู้มันก็ต้องปวด? ตั้งโจทย์ให้คิด พิจารณาอย่างนี้พอปวดเท้าขึ้นมาใหม่ก็บริกรรมพุทโธๆๆต่อ พอจิตสงบอาการปวดเท้าไม่รบกวนก็พิจารณาต่อ ทำอย่างนี้ไป จิตก็จะสงบมากๆขึ้น


อย่างที่ว่ามา ครูบาอาจารย์เรียกว่า "ฟุ้งซ่าน"
เพราะคิด

ความจริงทำอย่างนี้ได้ไหม ตอบว่าได้ เป็นอุบายได้
แต่เอาไว้ทำตอนที่จำเป็น เช่นผู้ชายเรามีเรื่องอารมณ์ทางเพศ
เมื่อใดบริกรรมอยู่ แล้วดันเกิดปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ก็อาศัยการพิจารณาในเรื่องเรื่องศพ เรื่องเนื้อหนังของเน่า อะไรต่อมิอะไร เมื่อสงบลงเป็นปกติแล้ว ควรแก่การพุทธโธแล้ว ก็พุทธโธต่อไป

แต่คำถามแบบที่คุณถามตัวเองระหว่างภาวนานี่ ผมเห็นว่า ไม่มีประโยชน์อะำไรเลย

นอกจากเสียเวลา ฟุ้งซ่านนานไปแล้ว


การจะคิดพิจารณาแบบปัญญาอบรมสมาธิ จิตต้องสงบพอนะค่ะ ดังนั้นจึงไม่ฟุ้งซ่านเมื่อเริ่มหัดพิจารณา
แต่ ถ้าจิตไม่สงบ พอคิดไปจะไหลตามกิเลสไม่มีสติตามความคิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเริ่มทำสมาธิทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง โดยบริกรรมพุทโธๆ พอปวดเท้าก็ บริกรรมพุทโธเร็วๆ ชัดๆๆ จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ มันไม่ได้ไปรู้ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่เกิดปัญญาอะไร เพียงรู้สึกจิตสงบมากขึ้น (ขณิกสมาธิ) อาการปวดเท้าไม่รบกวนและจะแยกอย่างนี้ได้ช่วงสั้นๆๆค่ะ

ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ



ติดใจภาคภาวนา (ปฏิบัติ) กับภาคคิดคุณศรีสมร...อ้างอิงคำพูดคุณมาสองตอนสาระเรื่องเวทนา+

สมาธิ+ปัญญาที่รู้เวทนา ฟังดูขัดๆกันยังไงไม่รู้ ขอความชัดเจนหน่อยนะครับ

ทวนคำพูดคุณ=> (...พอปวดเท้า ก็บริกรรมพุทโธเร็วๆ ชัดๆๆ จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ มันไม่ได้ไปรู้

ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่

เกิดปัญญาอะไร
) ….ตอนนี้คุณศรีสมรก็รับรู้แล้วว่าปวด (ทุกขเวทนา) ถูกไหมครับ ? แต่คุณศรี

สมรไม่รับรู้ดูเวทนาต่อ (น่าจะคิดว่า ไม่ใช่เวทนาที่ต้องการดูแบบที่คิดในตำรา) แต่ไปบริกรรมพุทโธ

หลบไป=>(...จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ ไม่รู้เวทนา จึงไม่ปวด...)....ฟังๆดูคล้ายคุณศรีสมรคิด

ว่า พุทโธเป็นสมถะเป็นสมาธิไปแล้ว ถูกไหมครับ หรือยังไง ฟังคำอธิบายตรงนี้หน่อย...

แล้วปัญญาที่คุณศรีสมรว่า หรือคิดว่า => (พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้พิจารณาเวทนา...)

ปัญญาที่คุณศรีสมรต้องการให้เป็นเนี่ยะ ต้องยังไงครับ แล้วเวทนาที่คุณต้องการให้เป็นต้องยังไงครับ ?


เรียงคำถามสับสนไหมครับ แต่กรัชกายเห็นความเข้าใจสับสนคุณประมาณเนี่ย คือว่า ทุกขเวทนา

คุณก็ประสบแล้ว (ปวดเท้า = ทุกขเวทนา) แต่คุณคิดยังไงไม่ทราบ ก็จึงไม่ดูเวทนากลับไปท่อง

พุทโธเสีย แล้วก็ว่าพุทโธเป็นสมถะ เป็นสมาธิ (หรือยังไง) จึงคิดค้นหาปัญญามาพิจารณาเวทนา

อนึ่งกรัชกายยังไม่เห็นกรรมฐานที่คุณใช้เลย หรือว่าท่องพุทโธๆๆๆ เป็นกรรมฐานของคุณหรือยังไงครับ


ช่วยตอบคำถามกรัชกายบ้างเถอะครับ รออยู่ ไม่ได้ไล่ให้จนกระดานนะครับ ด้วยความสัตย์จริง แต่ต้องการรู้ว่าคุณเข้าใจยังไง เข้าใจอย่างนั้นไหม แค่นี้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เรียนคุณ อนัตตญาณ
ส่วนเวทนาทางใจนั้น บุคคลที่รู้แจ้งในเวทนาทั้งหลายทั้งปวง
รู้เหตุการเกิดขึ้นของเวทนา
รู้ความดับของเวทนา
รู้ข้อปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
เวทนาทางใจย่อมดับได้อย่างถาวร สำหรับบุคคลที่รู้แจ้งซึ่งเวทนานั้น.

มรรคมีองค์แปด คือ เครื่องปฏิบัติเพื่อความดับไม่เหลือแห่งเวทนา
เมื่อปฏิบัติมรรคถูก มรรคสมบูรณ์ มรรคบริสุทธิ ไม่ด่างพร้อย
เวทนาทางใจย่อมไม่มีฐานะที่จะปรากฏขึ้นมาได้...



พระอรหันต์ ยังต้องเสวยเวทนา 4ข้อ ซึ่งยังมีเวทนาทางใจ ยกเว้นโทมนัส(ข้อ4) ไม่มี
เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรียงคำถามสับสนไหมครับ แต่กรัชกายเห็นความเข้าใจสับสนคุณประมาณเนี่ย คือว่า ทุกขเวทนา

คุณก็ประสบแล้ว (ปวดเท้า = ทุกขเวทนา) แต่คุณคิดยังไงไม่ทราบ ก็จึงไม่ดูเวทนากลับไปท่อง

พุทโธเสีย แล้วก็ว่าพุทโธเป็นสมถะ เป็นสมาธิ (หรือยังไง) จึงคิดค้นหาปัญญามาพิจารณาเวทนา

อนึ่งกรัชกายยังไม่เห็นกรรมฐานที่คุณใช้เลย หรือว่าท่องพุทโธๆๆๆ เป็นกรรมฐานของคุณหรือยังไงครับ



:b41: ขอโทษค่ะ คุณกรัชกาย ช่วงนี้เข้าเวบนี้น้อยลงค่ะ

ทุกขเวทนา คุณก็ประสบแล้ว (ปวดเท้า = ทุกขเวทนา) แต่คุณคิดยังไงไม่ทราบ ก็จึงไม่ดูเวทนากลับไปท่องพุทโธเสีย
:b41: คือกำลังยังไม่พอจะพิจารณาอาการปวดเท้าได้ นะค่ะ ถ้าพิจารณาตอนนี้ปวดเท้ามากๆๆทนไม่ไหว ค่ะ จึงหลบความปวดเท้าไปบริกรรมพุทโธๆๆ

แล้วก็ว่าพุทโธเป็นสมถะ เป็นสมาธิ (หรือยังไง) จึงคิดค้นหาปัญญามาพิจารณาเวทนา
:b41: ใช่ค่ะ ทำสมถะ ด้วยการ บริกรรมพุทโธ พอให้จิตสงบพอ (ขณิกสมาธิ)แล้วลองฝึกหัดพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม อันไหนก็ได้ค่ะ แต่ส่วนใหญ่จะเริ่มหัดพิจารณากาย แต่การฝึกหัดพิจารณา ณ.สมาธิระดับนี้(ขณิกสมาธิ)ก็ยังไม่เรียกว่าวิปัสสนาค่ะ ก็ทำสลับกันไปอย่างนี้คือ พิจารณาไม่ขาดก็ทำสมาธิโดยบริกรรมพทุโธต่อ พอสงบมากขึ้นอีกก็หัดพิจารณาอีก จนจิตสงบถึงระดับอุปจาระสมาธิ ซึ่งการออกพิจารณาในสมาธิระดับนี้จะเรียกว่า วิปัสสนา การพิจารณาก็จะเป็นปัญญาแบบโลกุตตระ

หรือว่าท่องพุทโธๆๆๆ เป็นกรรมฐานของคุณหรือยังไงครับ
:b41: ใช่ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ส.ค. 2010, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 มิ.ย. 2008, 17:25
โพสต์: 62


 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตค่ะ
เคยได้ยินได้ฟังจากครูบาอาจารย์ว่า

ในครั้งพุทธกาล พระภิกษุคิริมานนท์ เจ็บป่วย ทนทุกข์เวทนาทางกายอย่างมาก
พระพุทธองค์นิมนต์ให้พระอานนท์ไปเทศน์โปรดพระคิริมานนท์
พระอานนท์ได้เทศน์เรื่องสัญญา 10 ประการ
พระคิริมานนท์ได้สดับพระธรรมเทศนาด้วยจิตที่สงบเข้าไปเรื่อยๆ
จนเกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของสังขาร
จิตแยกออกจากกาย ไม่ยึดมั่นในเวทนา หายป่วย


เข้าใจเอาเองว่าคือ คิริมานนทสูตร

ครูบาอาจารย์เล่าว่าเคยสวดมนต์บทนี้ให้แก่พระภิกษุที่เจ็บป่วยฟังเหมือนกัน
แต่ก็ไม่หายป่วย :b12: :b12: :b12:
ท่านว่าอาจเป็นเพราะเครื่องรับต่างกันจึงเกิดผลต่างกัน
คือจิดไม่เข้าใจตามจริง จึงละวางเวทนาไม่ได้ จึงไม่หายป่วย

ครูบาอาจารย์ท่านเน้นการปฏิบัติ เพราะ
การรู้จากการปฏิบัติ จะรู้เห็นตามที่เป็นจริง
ผลของการรู้ตามจริงคือ การละวางโดยตัวเอง

การรู้จากการฟัง หรือการจำ ไม่เกิดการละวาง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.ย. 2010, 23:16
โพสต์: 77

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมต้องสนใจในขบวนการของเวทนาให้เสียเวล่ำเวลาขบวนการของเวทนาก็แค่เกิดดับเราจะรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตามเวทนาเขาก็เกิดๆดับๆไปตามสภาพของกฏไตรลักษณะญาณอยู่แล้วทำไมไม่มาสนใจผู้ที่ไปรู้ไปเห็นเวทนาคือจิตหรือผู้รู้อันนี้ต่างหากที่ไม่เกิดไม่ดับและทำให้พ้นทุกข์เวทนาเขาไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรหรอกเขาแสดงออกไปตามหน้าที่ของเขาเป็นสุขเวทนาก็ดีเป็นทุกขเวทนาก็ดีหรือจะเป็นอุเบกขาเวทนาสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดดับไปตามสภาพของเขาแต่ผู้ที่ไปรู้ไปเห็นเวทนาคือจิตหรือผู้รู้ทำไมไม่มาดูมารู้ตนเองคำว่าโอปะนะยิโกนั้นหมายความน้อมเข้ามาดูมารู้ที่จิตหรือผู้รู้นั่นเอง อริยะสัจจ์ ๔ ของจิต
จิต รู้เกิด-รู้ดับ เป็น สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้เกิด รู้ดับ เป็น ทุกข์
จิต รู้ไม่เกิด ไม่ดับเป็น มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ผลที่เกิดจากจิตที่รู้ไม่เกิด ไม่ดับ เป็น นิโรธความดับทุกข์
อริยะสัจจ์ ๔ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของจิตทั้งนั้น จิตที่พ้นจากอริสัจจ์ ๔ จึงไม่มีอาการของสมมติใดๆทั้งสิ้น การไปการมา การตั้งอยู่หรือการดับไปของจิตจึงไม่มี สิ่ง ต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของสมมติทั้งสิ้น ที่กล่าวกันว่าจิตที่พ้นจากสมมติแล้วเป็นจิตดับความรู้ก็ดับไปด้วยนั้น เป็นความรู้ความเห็นของนักปฏิบัติธรรมประเภทสุ่มเดาต่อให้ด้นเดาเกาหมัดต่อไปอีกนับกัปป์นับกัลป์ไม่ถ้วนก็ไม่มีโอกาสพบพระนิพพานของจริง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ เพราะเกาไม่ถูกที่คันมันก็เลยไม่หายคัน จิตที่ถอดถอนกิเลสมีอวิชชา ตัณหา อุปปาทาน ออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นไม่มีเหลือนั่นแหละท่านเรียกว่านิโรธหรือนิพพานนั่นเอง หรือเรียกว่าจิตที่ผ่านการกลั่นกรองจากอริยะสัจจ์ ๔ นั่นเองท่านให้ชื่อให้นามว่า พระนิพพาน ความจริงแล้วจะเรียกว่าอย่างไรก็ไม่มีปัญหาสำหรับจิตที่พ้นแล้วจากสมมติโดยประการทั้งปวง จิตเป็นอกาลิโกตลอดอนันตกาลท่านเรียกว่าวิสุทธิจิต ดังที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ในปฐมพุทธะวะจะนะ ความว่า วิสังขาระคะตัง จิตตัง จิตของเราได้ถึงสภาพที่ สังขารไม่สามารถปรุ่งแต่งจิตได้อีกต่อไป ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคาติ มันได้ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาคือถึงพระนิพพานนั่นเอง สิ่งใดก็ ตามขึ้นชื่อว่าสมมติย่อมตกอยู่ภายใต้กฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา จิตที่อยู่ภายใต้ความเกิดและความดับจึงเป็นจิตที่อยู่กับสมมติของกิเลสดีๆนี่เอง จิตประเภทนี้ย่อมอยู่กับความเกิด-ความดับตลอดอนันตกาลเหมือนกัน เป็นจิตที่อยู่กับความเกิด-ความตายนั่นเอง แล้วจะเสกให้เป็นพระนิพพานได้ยังไง ? ผู้ที่ปัญญาเท่านั้นไม่ไว้วางใจกับจิตประเภทนี้ ยกเว้นพวกที่มีปัญญาอ่อนหรือปัญญาหน่อมแน้มไปหน่อยเท่านั้นเอง จิตที่พ้นจากสมมติจึงเป็นจิตที่บริสุทธิ์ล้วนๆเป็นวิสุทธิจิต พ้นจากกฏอะนิจจัง ทุกขัง อะนัตตา ตลอดอนันตกาล เมื่อถึงที่สุดของจิตแล้วมันไม่มีชื่อเรียกด้วยซ้ำไป ที่กล่าวกันว่า สิ่งสิ่งหนึ่งที่ไม่มีชื่อ ไม่มีฉายา ไม่มีการมา ไม่มีการไป ไม่มีการตั้งอยู่ และไม่มีการดับไป ไม่มีร่องรอยให้กล่าวถึง แต่มีอยู่จริง เห็นอยู่ รู้อยู่ มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับและมีอยู่อย่างสมบูรณ์ภายในจิตใจของทุกๆคนอยู่แล้ว นั่นแหละท่านเรียกว่าที่สุดแห่งทุกข์หรือพระนิพพานนั่นเอง พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล(อะกาลิโก)ไม่เลือกกาลเวลา ปฏิบัติเวลาใหนเห็นเวลานั้นไม่เลือกกาลเวลาและสถานที่ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะอันไม่เกิดแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้วไม่แต่งแล้วมีอยู่(หมายถึงจิตหรือรู้ที่บริสุทธิ์ล้วนๆนั่นเองคืออายตนะนิพาน ) suthee


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ย. 2010, 20:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ทำไมต้องสนใจในขบวนการของเวทนาให้เสียเวล่ำเวลาขบวนการของเวทนาก็แค่เกิดดับเราจะรู้ก็ตามไม่รู้ก็ตามเวทนาเขาก็เกิดๆดับๆไปตามสภาพของกฏไตรลักษณะญาณอยู่แล้วทำไมไม่มาสนใจผู้ที่ไปรู้ไปเห็นเวทนาคือจิตหรือผู้รู้อันนี้ต่างหากที่ไม่เกิดไม่ดับและ


:b12: :b12: :b12:
ก็จริงครับ.. :b32:


ธนู..ปักเข้าแล้วที่หัวใจ...จะมัวถามไปทำไม..
ว่าโคตรเหง้าเจ้าธนู..มาจากที่ใด..ยิงจากใคร..
อาจจะช้า..เกินไป
ดึงธนูออก..ห้ามเลือดก่อนเป็นไร..
ก่อนจะตายจากไป..
ไม่แจ้งใน..อริยะสัจ..ที่พระพุทธองค์ตรัสใว้..
เกิดใหม่..ก็ลืมแล้ว..ว่าเกิดมาทำไม..
อาจไม่รู้..ไปจนตาย..
ตายแล้ว..ตายอีก..ก็อาจไม่รู้ได้
น่าเสียดาย..ชาติที่รู้..กลับทำไม่ได้
ต้องตายไปเปล่า ๆ ..เอย..
โย่..ๆ


คิ..คิ..คิ..มั่วศาสตร์ :b32: :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 12 ก.ย. 2010, 20:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร