วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 19:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำข้อธรรมเกี่ยวกับทุกข์ซึ่งครอบคลุมทุกในไตรลักษณ์ทั้งหมด

ทุกขตา 3 หรือ ทุกข์ 3 ซึ่งมีพุทธพจน์แสดงไว้เป็นหลัก ครอบคลุมความหมายทั้งหมดของทุกข์ใน

ไตรลักษณ์ คือ



1) ทุกขทุกขตา หรือ ทุกขทุกข์ ทุกข์ที่เป็นความรู้สึกทุกข์ ได้แก่ความทุกข์ทางกายและความทุกข์

ทางใจ อย่างที่เข้าใจกันโดยสามัญ ตรงตามชื่อและความสภาพ เช่น ความเจ็บปวด ไม่สบาย

เมื่อยขบ เป็นต้น หมายถึง ทุกขเวทนานั่นเอง

2) วิปริณามทุกขตา หรือ วิปริณามทุกข์ ทุกข์เนื่องด้วยความผันแปร หรือทุกข์ที่แฝงอยู่ในความแปร

ปรวน ได้แก่ ความรู้สึกสุขหรือสุขเวทนา ซึ่งเมื่อว่าโดยสภาวะที่แท้จริง ก็เป็นเพียงทุกข์ในระดับหนึ่ง

หรือในอัตราส่วนหนึ่ง สุขเวทนา จึงเท่ากับเป็นทุกข์แฝง หรือมีทุกข์ตามแฝงอยู่ด้วยตลอดเวลา ซึ่งจะ

กลายเป็นความรู้สึกทุกข์ หรือก่อให้เกิดทุกข์ขึ้นได้ในทันทีที่เมื่อใดก็ตามสุขเวทนานั้นแปรปรวนไป

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า สุขเวทนานั้น ก่อให้เกิดทุกข์เพราะความไม่จริงจังไม่คงเส้นคงวาของมันเอง


3) สังขารทุกขตา หรือสังขารทุกข์ ทุกข์ตามสภาพสังขาร คือสภาวะของสังขารทุกสิ่งทุกอย่าง หรือ

สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นทุกข์ คือ เป็นสภาพที่ถูกบีบคั้น

กดดันด้วยการเกิดขึ้น และการเสื่อมสลายของปัจจัยต่างๆที่ขัดแย้ง ทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมมิได้

ไม่คงตัว ทุกข์ข้อที่สามนี้คลุมความของทุกข์ในไตรลักษณ์

(ที.ปา.11/228/229 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ส.ค. 2010, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2009, 22:00
โพสต์: 407

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เท่าที่ทราบนะค่ะ การแยกรูปนาม แยกด้วยกำลังสมาธิก็ได้ค่ะ แต่เป็นการแยกเพียงชั่วคราว
ซึ่ง การแยกเพียงชั่วคราวนี้แหละ ทำให้เราสามารถฝึกใช้ปัญญาค่ะ (ปัญญาอบรมสมาธิ) ซึ่งเป็นปัญญาแบบโลกีย ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนา พอจิตเริ่มไม่สงบก็ทำสมาธิเพิ่มต่อ พอจิตสงบก็ออกใช้ปัญญาอีก
พอฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆๆจิตจะสงบมากขึ้นๆๆจนเริ่มวิปัสสนาได้ค่ะ เรียกว่าออกพิจารณาซึ่ง
มันจะทำให้เราเข้าใจเวทนาได้อย่างแท้จริงแล้วจิตจะปล่อยว่างได้อย่างแท้จริงค่ะ

หัวข้อขบวนการของเวทนาเป็นอย่างไร ถาม ในลักษณะของ ปัญญาอบรมสมาธิค่ะ คืออยากได้ข้อมูล
ไว้คิดพิจารณา
เพราะจะเข้าใจขบวนการของเวทนาได้จริงๆๆต้องอาศัยกำลังของสมาธิระดับอุปจาระ ก็อย่างที่บอกค่ะ
ว่าอาศัยการต่อยอดจาก การเริ่มฝึกใช้ปัญญาแบบโลกียไปก่อนค่ะ


คุณศรีครับ ตามที่ผมเข้าใจและใช้อยู่ มันก็มีอยู่ 2 แบบ ถูกผิดจากอภิธรรมอย่างไรก็ไม่รู้เหมือนกัน
ใช้ "สติ" นำ ก็ประมาณว่า เมื่อเวทนาเกิดทั้งทางกายหรือทางจิต ก็กำหนดรู้เวทนานั้น เมื่อกำหนดรู้ทันมันก็จะหยุดปรุงแต่ง ก็ประมาณว่า เวทนาก็ส่วนหนึ่ง จิตที่ไปรู้เวทนาก็ส่วนหนึ่ง ยกตัวอย่าง ตอนผมเป็นหมอนรองกระดูกอักเสบประมาณด้านหลังที่เอว ปวดแบบสุโค่ย ก็กำหนดที่ความปวดนั้นไป มันก็อารมณ์ประมาณว่าเราหายทรมาณ ความปวดยังอยู่ เหมือนกับว่าเราไปดูคนอื่นเขาปวดอย่างไรอย่างนั้น
ใช้ "สมาธิ" นำ ก็ทำให้สมาธิเพิ่มขึ้นจนถึงระดับไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน ตอนแรกกายจะเบาจิตจะเบา ความรู้สึกปวดก็จะค่อยๆ รู้สึกได้น้อยลง จนความรู้สึกทางกายหายไป (ไม่ได้เข้าภวังค์) เหลือแค่ความรู้สึกทางจิต
ก็กำหนดรู้ตามอารมณ์กรรมฐานไป ถึงตอนนี้ก็ไม่สนใจเวทนาทางกายแล้วเพราะความรู้สึกทางกายหายไปเรียบร้อย

อ้างคำพูด:
ขอบคุณค่ะ รู้จักเวทนาแล้วค่ะ แต่อยากทราบขบวนการของจิต ที่มันไปยึดเวทนาค่ะ


ถ้านั่งเพียง 1 ชม ผมว่ายังรู้จักเวทนาไม่ดีพอ แล เผลอเวทนายังไม่มา ลอง 3 ชม รวดแบบไม่ขยับซิครับ แต่ระวังอย่าให้สมาธิสูงเกินไปด้วยนะครับ เด๋วความรู้สึกทางกายมันจะน้อยลงกลายเป็นว่าหาเวทนาไม่เจออีก แล้วพอเวทนาเกิดก็ลองหยุดภาวนา พุท โธ ให้เอาจิตมารู้ที่อาการปวดนั้น ผมว่าคราวนี้น่าจะรู้จักเวทนาแตกต่างจากเมื่อก่อนแบบลืมไม่ลง เวทนาทางกายนี่แหละครับมันชัดเจนดี

อ้างคำพูด:
รู้เวทนาแค่นี้ หมาแมวมันก็รู้ครับ ไม่ใช่เรื่องวิเศษณ์อะไร


สักวันถ้าท่านชาติเจอเวทนาแบบแรงๆ ก็อย่าร้องเจี้ยก แล้วกันนะครับ เตรียมการดูจิตไว้ให้ดี จะทำอย่างไรก็ได้ เช่นว่า มันบ่ใช่ของเรา รู้แบบไม่ปรุงแต่ง ทำอย่างไรก็ได้แต่อย่าทุรนทุรายเป็นพอ ขอให้เอาตัวให้รอดนะครับ


แก้ไขล่าสุดโดย อายะ เมื่อ 22 ส.ค. 2010, 22:19, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 00:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้เย็นดีนะครับ สัมผัสได้ถึงพรหมวิหาร ๔ ในใจทุกท่านไม่เหมือนกระทู้ร้อนๆบางกระทู้ :b13: :b32:

ขอร่วมร่าเริงบันเทิงธรรมด้วยคนน๊ะครับ :b8:

อ้างคำพูด:
เวทนา 5 (การเสวยอารมณ์ — feeling)
1. สุข (ความสุข ความสบายทางกาย — bodily pleasure or happiness)
2. ทุกข์ (ความทุกข์ ความไม่สบาย เจ็บปวดทางกาย — bodily pain; discomfort)
3. โสมนัส (ความแช่มชื่นสบายใจ, สุขใจ — mental happiness; joy)
4. โทมนัส (ความเสียใจ, ทุกข์ใจ — mental pain; displeasure; grief)
5. อุเบกขา (ความรู้สึกเฉยๆ — indifference)
อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรม ด้วยเวทนานุปัสสนา พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา จึงไม่ใช่การไปดับความเจ็บปวดทางกาย ความสุขทางกาย หรือโทมนัส โสมนัสอันปรากฏทางใจ
แต่เป็นการพิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ด้วยการโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นการพิจารณาโดยอุบาย หรือวิธีอันแยบคาย
เสริมคุณ govit2552 และคุณ เช่นนั้น ครับ
เวทนาทางกายในข้อ ๑ และ ๒ ดับได้ชั่วคราวด้วยสมาธิ (วิกขัมภนนิโรธ) แต่ไม่สามารถดับได้อย่างถาวรตราบที่ยังมีกายอยู่ตามที่คุณเช่นนั้นว่า ในพระไตรปิฎกจะเห็นว่า แม้แต่พระพุทธองค์ พระสารีบุตร ฯลฯ ยังอาพาธ (ทางกาย) ก่อนดับขันธ์ปรินิพพานนะครับ แต่โทมนัสเวทนา (ทุกข์ทางใจ) จะดับได้อย่างถาวร (สมุจเฉทะ-ปฏิปัสสัทธินิโรธ) ตั้งแต่ขั้นอนาคามี ที่ละปฏิฆะนุสัย ที่เป็นรากให้เกิดโทสมูลจิตทั้งสองดวงได้ (ซึ่งในทางอภิธรรม จิตทั้ง ๑๒๑ ดวง จะมีเพียง ๒ ดวงนี้เท่านั้นที่มีเวทนาเป็นโทมนัส)

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ค่ะ มันแยกด้วยกำลังสมาธิ จากประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเริ่มทำสมาธิทุกวัน วันละ 1ชั่วโมง โดยบริกรรมพุทโธๆพอปวดเท้าก็ บริกรรมพุทโธเร็วๆชัดๆๆจิตมันรู้อยู่กับพุทโธมันไม่ได้ไปรู้ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่เกิดปัญญาอะไร เพียงรู้สึกจิตสงบมากขึ้น (ขณิกสมาธิ) อาการปวดเท้าไม่รบกวนและจะแยกอย่างนี้ได้ช่วงสั้นๆๆค่ะ
อ้างคำพูด:
ใช้ "สมาธิ" นำ ก็ทำให้สมาธิเพิ่มขึ้นจนถึงระดับไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน ตอนแรกกายจะเบาจิตจะเบา ความรู้สึกปวดก็จะค่อยๆ รู้สึกได้น้อยลง จนความรู้สึกทางกายหายไป (ไม่ได้เข้าภวังค์) เหลือแค่ความรู้สึกทางจิต
ก็กำหนดรู้ตามอารมณ์กรรมฐานไป ถึงตอนนี้ก็ไม่สนใจเวทนาทางกายแล้วเพราะความรู้สึกทางกายหายไปเรียบร้อย

เสริมคุณศรีสมรและคุณอายะครับ :b1:

การปฏิบัติตรงนี้ในทางบัญญัติธรรมคือ วิกขัมภนปหาน ได้แก่ การดับด้วยการกดข่มโดยใช้กำลังของสมาธิ ซึ่งเป็นการดับได้ชั่วคราว :b34:

การดับเวทนาทางกายในขั้นที่ใช้กำลังสมาธิน้อย เช่น นั่งนานปวดขาคิดถึงหน้าแฟนลืมปวดชั่วคราว หรือสวดมนต์ท่องพุทธโธแล้วกดข่มได้ชั่วขณะ ซึ่งคือ การใช้สมาธิคิดถึงเรื่องอื่นไม่คิดถึงเวทนาทางกายนั้น

ขั้นที่ใช้กำลังสมาธิมากได้แก่ การใช้สมาธิขั้นรูปฌานและอรูปฌาน ดับเวทนาที่ผ่านทางอายตนะทั้ง ๕ ที่เนื่องด้วยกาย โดยการดับที่ผัสสะในวงจรปฏิจสมุปบาทสายเกิด (เริ่มตั้งแต่มีการรับรู้ แต่สักแต่ว่ารู้ในรูปฌาน จนถึงไม่ส่งไปที่มโนทวารและไม่มีการเสพโดยชวนะจิตในอรูปฌาน) ซึ่งจะเกิดเหมือนกับที่คุณอายะว่า คือตอนแรก กายเบาจิตเบา จนตัดการรับรู้ทางกายลงได้เรื่อยๆและไปหมดในอรูปฌาน ที่อายตนะที่เนื่องด้วยรูป ไม่สามารถส่งต่อไปที่มโนทวารได้แล้ว จะเหลือแต่มโนทวารที่เอา space, จิตดวงก่อนหน้า, ความไม่มีอะไร, หรือสัญญาที่ริบหรี่เหลือเกิน เป็นอารมณ์ (แต่ยังมีอุเบกขาเวทนาอยู่นะครับ ซึ่งอุเบกขาเวทนาที่ผ่านทางมโนทวาร จะดับได้ทางเดียวคือเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งในตำราระบุว่า แม้แต่อุเบกขาเวทนาก็ไม่มี ซึ่งน่าจะเพราะในนิโรธสมาบัติเอานิพพานเป็นอารมณ์ ซึ่งในนิพพานไม่มีจิตที่ยึดจิต (อุปาทานขันธ์) จึงไม่มีอะไรให้เวทนาเจตสิกเกิดร่วม ไม่น่าใช่การดับเวทนาโดยตรง)

ส่วนการจะดับเวทนาโดยตรงนั้น อย่าไปดับเลยครับ เพราะต้องดับทางอ้อมในนิโรธสมาบัติซึ่งคงไกลเกินเอื้อม พระอนาคามีหรืออรหันต์ธรรมดายังดับไม่ได้เลยครับ ต้องเฉพาะที่ได้อรูปฌาน ๔ จนชำนาญแล้วเท่านั้น และเวทนาในวงจรปฏิจสมุปบาทที่แบ่งเป็นวัฏฏะ ๓ นั้น อยู่ในกลุ่มของวิบาก ซึ่งเป็นผล ไม่ใช่เหตุ ตามที่คุณกรัชกายว่า

แต่พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ไปจัดการที่กิเลส (อวิชชา ตัณหา อุปาทาน) กับกรรม (สังขาร ภพ) ถึงจะถูกวิธี ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน คือการดับอย่างเด็ดขาดด้วยองค์มรรค ตามที่หลายท่านในกระทู้นี้กล่าวไว้ ซึ่งในปฏิจสมุปบาทสายเกิด จะเป็นการทวนกระแสเข้าไปจัดการที่กรรมภพทางกายวาจา (ขั้นศีล) ก่อน แต่ทางใจให้ทวนต่อไปจะเจอตัณหาและอุปาทาน ให้จัดการด้วยการละตัณหา (สมุทัยให้ละ) ซึ่งจะละได้ก็โดยการทวนขึ้นไปจัดการที่รากเหง้าต่อมาคือการปรุงแต่ง (สังขาร) นั่นคือ การให้จิตตั้งอยู่ในฐาน มีสติกำกับเป็นอินทรีย์สังวร (มีจิตที่ตั้งมั่น กระทบทางอายตนะต่างๆแล้วไม่ปรุงแต่ง) และทวนต่อไปที่อวิชชา คือให้จิตเห็นความจริงของกายใจให้มากพอจนจิตรู้แจ้งในความจริงนั้นแล้วปล่อยวางไม่ปรุงแต่งเอง คือเมื่อเวทนาเกิดก็สักว่ารู้ (คือรู้ว่าเป็นเพียงกระแสธรรมอันหนึ่งที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีเวทนาในเรา ไม่มีเราในเวทนา ไม่เกิดความยินดียินร้ายในเวทนานั้น ตามคุณศรีสมบัติว่า) นั่นนะครับ จิตถึงจะปล่อยวางเวทนาได้อย่างแท้จริง

เจริญในธรรมครับ :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 23 ส.ค. 2010, 09:45, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 02:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:

ขบวนการของเวทนาเป็นอย่างไร..

หรือ..จะหา

อะไรคือเวทนา..
:b9: :b9: :b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 05:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ส.ค. 2010, 11:35
โพสต์: 48

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ศรีสมร เขียน:
ชาติสยาม เขียน:
ศรีสมร เขียน:
เท่าที่ทราบนะค่ะ การแยกรูปนาม แยกด้วยกำลังสมาธิก็ได้ค่ะ แต่เป็นการแยกเพียงชั่วคราว
ซึ่งการแยกเพียงชั่วคราวนี้แหละ ทำให้เราสามารถฝึกใช้ปัญญาค่ะ (ปัญญาอบรมสมาธิ) ซึ่งเป็นปัญญาแบบโลกีย ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนา


มันต้องแยกด้วยกำลังสมาธิอยู่แล้วครับ

แต่ถามว่าสั่งเอาได้หรือ ว่าแยกให้ฉันดูหน่อย
มันสั่งไม่ได้หรอกครับ เพราะปัญญาแยกรูปนาม มันเป็นส่วนของผล

ถามว่าเป็นวิปัสนาไหม ผมคิดว่าช่างมันเถอ จะเป็นหรือไม่เป้นวิปัสสนาก้ตามที
แต่ถ้าจะเอาคำตอบให้ได้ ต้องขอยืนยันว่าเป็นวิปัสสนาญาน

ญาน คือ ปัญญา
ปัญญาแยกรูปนามชื่อ นามรูปปริเฉทญาน เป็นปัญญาลำดับแรก ในวิปัสสนาปัญญา 16



ค่ะ มันแยกด้วยกำลังสมาธิ จากประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเริ่มทำสมาธิทุกวัน วันละ 1ชั่วโมง โดยบริกรรมพุทโธๆพอปวดเท้าก็ บริกรรมพุทโธเร็วๆชัดๆๆจิตมันรู้อยู่กับพุทโธมันไม่ได้ไปรู้ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่เกิดปัญญาอะไร เพียงรู้สึกจิตสงบมากขึ้น (ขณิกสมาธิ) อาการปวดเท้าไม่รบกวนและจะแยกอย่างนี้ได้ช่วงสั้นๆๆค่ะ

แล้วตรงนี้แหละที่จิตพอจะเริ่มฝึกหัดฝึกปัญญาได้โดยการ เช่นถามตัวเองว่า เวทนามาจากไหน เกิดได้อย่างไร มีกาย มีความรับรู้มันก็ต้องปวด? ตั้งโจทย์ให้คิด พิจารณาอย่างนี้พอปวดเท้าขึ้นมาใหม่ก็บริกรรมพุทโธๆๆต่อ พอจิตสงบอาการปวดเท้าไม่รบกวนก็พิจารณาต่อ ทำอย่างนี้ไป จิตก็จะสงบมากๆขึ้น
จนขณะบริกรรมพุทโธๆแล้วจิตไม่แลบออกไป แสดงว่าสมาธิถึงขึ้นอุปจาระ ซึ่งสมาธิขึ้นนี้พอจิตออกพิจารณา ถ้าจะดูเวทนา ปัญญาจะเป็นระดับโลกุตตระ จะเข้าใจขบวนการของเวทนาอย่างแท้จริงแล้วจะปล่อยวางได้
อันนี้เล่าตามความเข้าใจในการปฏิบัติแนวกรรมฐานวัดป่าสายหลวงปู่มั่นที่กำลังทำอยู่ค่ะ



ไม่ได้ค้านนะครับ ทำอย่างนั้นพอใจเข้าใจก็ทำไป ไม่มีใครว่า

แต่กรัชกายเห็นว่าทำอย่างนั้น เบียนหนีทุกข์เวทนา ไม่รับรู้สู้หน้าต่อทุกข์ แล้วจะเห็นทุกข์ได้อย่างไร

หากต้องการให้เกิดปัญญากับสมาธิคู่กันไป เมื่อเวทนาเกิดจะต้องกำหนดรู้ (หรือจะใช้คำพูดอื่นก็

บัญญัติเอา) ต่อเวทนานั้นด้วย :b1:


ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ และการฝึกหัดใช้ปัญญานี้ก็ยังละอวิชชาไม่ได้ เพียงฝึกให้จิตมันหัดใช้ปัญญาบ่อยๆ ก็อย่างที่เล่าว่ายังเป็นขั้นทำสมาธิ พอสมาธิ
แนบแน่นกว่านี้ นี่แหละ เริ่มวิปัสสนาแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมร เขียน:
ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ และการฝึกหัดใช้ปัญญานี้ก็ยังละอวิชชาไม่ได้ เพียงฝึกให้จิตมันหัดใช้ปัญญาบ่อยๆ ก็อย่างที่เล่าว่ายังเป็นขั้นทำสมาธิ พอสมาธิ
แนบแน่นกว่านี้ นี่แหละ เริ่มวิปัสสนาแล้ว


ที่คุณศรีสมรทำ เขาเรียกว่า "นั่งคิด" หรือ "ฟุ้งซ่าน"

ถ้าคุณศรีสมรตั้งเป้าจะทำความสงบจนจิตมีกำลัง
หรือกล่าวได้ว่าต้องการทำฌานให้แจ่มแจ้งเสียก่อน (ทำสมถะก่อน)

เวลาพุทธโธ ก็อยู่กับพุทธโธนั่นแหละ ฝึกให้ใจอยู่คำกับบริกรรมให้สืบเนื่องยาวนานให้มากที่สุด
ไม่ต้องคิดอื่นใด ไม่ต้องพิจารณาอะไรทั้งนั้น
ไม่ตั้องตั้งโจทย์ ไม่ต้องถามตัวเองว่าอะไรมาจากไหนยังไง
(ถ้าจะทำสมถนะ แต่ถึงจะบอกว่าจะวิปัสสนาไปด้วย
ก็บอกได้ว่า ไม่ใช่เลย การคิดไม่ใช่วิปัสสนาอย่างแน่นอน)


ศรีสมร เขียน:
แล้วตรงนี้แหละที่จิตพอจะเริ่มฝึกหัดฝึกปัญญาได้โดยการ เช่นถามตัวเองว่า เวทนามาจากไหน เกิดได้อย่างไร มีกาย มีความรับรู้มันก็ต้องปวด? ตั้งโจทย์ให้คิด พิจารณาอย่างนี้พอปวดเท้าขึ้นมาใหม่ก็บริกรรมพุทโธๆๆต่อ พอจิตสงบอาการปวดเท้าไม่รบกวนก็พิจารณาต่อ ทำอย่างนี้ไป จิตก็จะสงบมากๆขึ้น


อย่างที่ว่ามา ครูบาอาจารย์เรียกว่า "ฟุ้งซ่าน"
เพราะคิด

ความจริงทำอย่างนี้ได้ไหม ตอบว่าได้ เป็นอุบายได้
แต่เอาไว้ทำตอนที่จำเป็น เช่นผู้ชายเรามีเรื่องอารมณ์ทางเพศ
เมื่อใดบริกรรมอยู่ แล้วดันเกิดปัญหาข้อนี้ขึ้นมา ก็อาศัยการพิจารณาในเรื่องเรื่องศพ เรื่องเนื้อหนังของเน่า อะไรต่อมิอะไร เมื่อสงบลงเป็นปกติแล้ว ควรแก่การพุทธโธแล้ว ก็พุทธโธต่อไป

แต่คำถามแบบที่คุณถามตัวเองระหว่างภาวนานี่ ผมเห็นว่า ไม่มีประโยชน์อะำไรเลย

นอกจากเสียเวลา ฟุ้งซ่านนานไปแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา เป็นต้น หรือว่า รูปธรรมนามธรรมทั้งมวล (ธรรมชาติ) เกิดขึ้นตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วดับลงอยู่เอง

แล้วธรรมดาเป็นเช่นนี้ (คือ เกิดสลายๆๆๆๆๆ) ปัญหาคือตอนเนี่ย (ขั้นตอนที่เราถกกันอยู่เนี่ย) เรายังมอง

ไม่เห็นความเป็นอย่างนั้นของมัน จึงให้ (ต้อง) กำหนดรู้ตามที่มันเป็นทุกๆขณะ เกิดเมื่อไหร่กำหนดรู้

เมื่อนั้นทันที นี่คือจุดเริ่มเรียนรู้ธรรม มิใช่ไปทำให้มันเป็นยังงั้นยังงี้ดังเราอยากให้มันเป็น ไม่ใช่ๆ อย่าง

นั้นผิด

จะยกตัวอย่างสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้พอมองเห็นเค้า เช่น ฝนตกเราพึงกำหนดรู้ในใจว่า ฝนมันตกแล้วนะๆๆ

รู้ตามนั้น...ฝนตกๆแล้วมันก็หยุดของมันเอง มิใช่นั่งยืนคิดวิพากษ์วิจารณ์ฝนด่าฝนฉันใด

เวทนา เป็นต้น ก็ฉันนั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยให้เกิดมันก็เกิดหมดเหตุมันก็ดับลง

ปัญหาคือตอนนี้เรายังไม่รู้ถึงขั้นนั้น คือยังไม่เห็นการเกิดดับของมัน เมื่อไม่รู้ไม่เห็น พอเวทนาเป็นต้น

เกิดจึงดิ้นรนคิดวิพากษ์ธรรมไปต่างๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศรีสมร เขียน:
ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ และการฝึกหัดใช้ปัญญานี้ก็ยังละอวิชชาไม่ได้ เพียงฝึกให้จิตมันหัดใช้ปัญญาบ่อยๆ ก็อย่างที่เล่าว่ายังเป็นขั้นทำสมาธิ พอสมาธิ
แนบแน่นกว่านี้ นี่แหละ เริ่มวิปัสสนาแล้ว



กรัชกายบอกก่อนหน้าแล้วครับว่า เมื่อคุณเห็นอย่างนั้นดีถูกใจก็ทำอย่างนั้นไป :b13:

แต่ความเห็นกรัชกาย ที่คุณว่าทำสมาธิ+ปัญญา เพื่อต้องการให้ปัญญามาอบรมสมาธิ แล้วจะได้

เป็นวิปัสสนาแบบคุณศรีสมรคิดและทำอยู่นั่น วิธีนี้ส่วนมากเริ่มจากการใช้วัตถุภายนอก (อาศัยวัตถุภาย

นอกเข้าช่วย) เช่น เพ่งกสิณ เพื่อเหนี่ยวนำจิตให้เกิดสมาธิได้ง่ายขึ้น

ครั้นเพ่งกสิณพอจิตเริ่มสงบแล้ว จึงมาพิจารณาสภาวธรรมคือกาย กับใจ

แต่คุณศรีสมร บอกท่องพุทโธๆๆๆ จนจิตสงบ อยู่กับคำบริกรรมนั่นแล้วก็ถอนออกมาคิด คิดว่า

เพื่อให้เกิดปัญญาว่า เวทนาเกิดเพราะ... นั่นนี่อะไรก็คิดไป กรัชกายว่า คิดไม่จบ ยิ่งคิดยิ่งเห็น

เป็นช่องเป็นฉากไป...เป็นความเห็นนะครับ หากอยากทำอย่างนั้นก็ทำไป :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


[๒๘] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณของเวทนาจักไม่มีแล้ว สัตว์
ทั้งหลายก็ไม่พึงติดใจในเวทนา แต่เพราะคุณของเวทนามีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึง
ติดใจในเวทนา
ถ้าโทษของเวทนาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงเบื่อหน่ายในเวทนา แต่เพราะ
โทษของเวทนามีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเบื่อหน่ายในเวทนา
ถ้าเครื่องสลัดออกจากเวทนาจักไม่มีแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ไม่พึงสลัดออกจากเวทนา
แต่เพราะเครื่องสลัดออกจากเวทนามีอยู่ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงสลัดออกจากเวทนา

..................ผมตัดทอนและแปลงสารเล็กน้อยครับเพื่อให้สั้น

แต่เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายรู้ชัดคุณโดยความเป็นคุณ โทษโดยความเป็นโทษ
เครื่องสลัดออกโดยความเป็นเครื่องสลัดออกจากอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ตาม
ความเป็นจริง เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงออกไป หลุดไป พ้นไป มีใจปราศจาก
แดนอยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์”


หมายเหตุ เวทนา มีอยู่ในอุปาทานขันธ์ 5

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 15:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


อะไรเล่าเป็นสิ่งที่แตกสลาย และ อะไรเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
คือ
รูปจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
เวทนาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ส่วนความดับ ความสงบระงับ ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งเวทนานั้น จัดเป็นสิ่งที่ไม่แตกสลาย
สัญญาจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
สังขารจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...
วิญญาณจัดเป็นสิ่งที่แตกสลาย ...

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 15:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


เวทนาใดล่วงไป ดับไป แปรผันไปแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นปรากฏแล้ว เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรปรากฏแล้ว

เวทนาใดยังไม่เกิด ยังไม่ปรากฏ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ
ความเสื่อมไปแห่งเวทนานั้นจักปรากฏ เมื่อเวทนานั้นตั้งอยู่ ความแปรจักปรากฏ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 16:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเริ่มทำสมาธิทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง โดยบริกรรมพุทโธๆ พอปวดเท้าก็ บริกรรมพุทโธเร็วๆ ชัดๆๆ จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ มันไม่ได้ไปรู้ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่เกิดปัญญาอะไร เพียงรู้สึกจิตสงบมากขึ้น (ขณิกสมาธิ) อาการปวดเท้าไม่รบกวนและจะแยกอย่างนี้ได้ช่วงสั้นๆๆค่ะ

ที่เล่ามาเป็นขั้นตอนการทำสมาธิค่ะ ฝึกให้จิตมีกำลังก่อนนะค่ะ พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญาพิจารณาเวทนา ถ้าไม่มีกำลังสมาธิเลย พิจารณาเวทนาไม่ได้ค่ะ จิตมันไม่สงบพอ



ติดใจภาคภาวนา (ปฏิบัติ) กับภาคคิดคุณศรีสมร...อ้างอิงคำพูดคุณมาสองตอนสาระเรื่องเวทนา+

สมาธิ+ปัญญาที่รู้เวทนา ฟังดูขัดๆกันยังไงไม่รู้ ขอความชัดเจนหน่อยนะครับ

ทวนคำพูดคุณ=> (...พอปวดเท้า ก็บริกรรมพุทโธเร็วๆ ชัดๆๆ จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ มันไม่ได้ไปรู้

ที่เวทนา มันก็ไม่ปวดเท้า จึงบอกว่ามันแยกด้วยกำลังสมาธิ ยังอยู่ในขึ้นของสมถะ เพราะมันยังไม่

เกิดปัญญาอะไร
) ….ตอนนี้คุณศรีสมรก็รับรู้แล้วว่าปวด (ทุกขเวทนา) ถูกไหมครับ ? แต่คุณศรี

สมรไม่รับรู้ดูเวทนาต่อ (น่าจะคิดว่า ไม่ใช่เวทนาที่ต้องการดูแบบที่คิดในตำรา) แต่ไปบริกรรมพุทโธ

หลบไป=>(...จิตมันรู้อยู่กับพุทโธ ไม่รู้เวทนา จึงไม่ปวด...)....ฟังๆดูคล้ายคุณศรีสมรคิด

ว่า พุทโธเป็นสมถะเป็นสมาธิไปแล้ว ถูกไหมครับ หรือยังไง ฟังคำอธิบายตรงนี้หน่อย...

แล้วปัญญาที่คุณศรีสมรว่า หรือคิดว่า => (พอมีกำลังก็เริ่มฝึกหัดใช้พิจารณาเวทนา...)

ปัญญาที่คุณศรีสมรต้องการให้เป็นเนี่ยะ ต้องยังไงครับ แล้วเวทนาที่คุณต้องการให้เป็นต้องยังไงครับ ?


เรียงคำถามสับสนไหมครับ แต่กรัชกายเห็นความเข้าใจสับสนคุณประมาณเนี่ย คือว่า ทุกขเวทนา

คุณก็ประสบแล้ว (ปวดเท้า = ทุกขเวทนา) แต่คุณคิดยังไงไม่ทราบ ก็จึงไม่ดูเวทนากลับไปท่อง

พุทโธเสีย แล้วก็ว่าพุทโธเป็นสมถะ เป็นสมาธิ (หรือยังไง) จึงคิดค้นหาปัญญามาพิจารณาเวทนา

อนึ่งกรัชกายยังไม่เห็นกรรมฐานที่คุณใช้เลย หรือว่าท่องพุทโธๆๆๆ เป็นกรรมฐานของคุณหรือยังไงครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้วตรงนี้แหละที่จิตพอจะเริ่มฝึกหัดฝึกปัญญาได้โดยการ เช่นถามตัวเองว่า เวทนามาจากไหน เกิดได้อย่างไร มีกาย มีความรับรู้มันก็ต้องปวด? ตั้งโจทย์ให้คิด พิจารณาอย่างนี้พอปวดเท้าขึ้นมาใหม่ก็บริกรรมพุทโธๆๆต่อ พอจิตสงบอาการปวดเท้าไม่รบกวนก็พิจารณาต่อ ทำอย่างนี้ไป จิตก็จะสงบมากๆขึ้น
จนขณะบริกรรมพุทโธๆแล้วจิตไม่แลบออกไป แสดงว่าสมาธิถึงขึ้นอุปจาระ ซึ่งสมาธิขึ้นนี้พอจิตออกพิจารณา ถ้าจะดูเวทนา ปัญญาจะเป็นระดับโลกุตตระ จะเข้าใจขบวนการของเวทนาอย่างแท้จริงแล้วจะปล่อยวางได้
อันนี้เล่าตามความเข้าใจในการปฏิบัติแนวกรรมฐานวัดป่าสายหลวงปู่มั่นที่กำลังทำอยู่ค่ะ
การพิจารณาเวทนา โดยใช้สมาธินำเพื่อให้เกิดวิปัสสนาปัญญา ขอแนะนำเพิ่มเติมด้วยวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในอานาปานสติสูตรครับ เป็นการปฏิบัติแบบสุขาปฏิปทาด้วย แต่ยากหน่อยที่ต้องเข้าอัปปนาสมาธิให้เกิดฌาน

คือทำสมาธิก่อนให้เกิดกำลัง รู้กองลมผ่านฌาน ๑ จนเกิดฌาน ๒ มีปีติ รู้ชัดในปีติ เกิดเอโกธิภาวะหรือจิตผู้รู้ จนล่วงเข้าฌาน ๓ มีสุข รู้ชัดในสุข และรู้การปรุงแต่งของสุขในจิต (กำหนดรู้จิตสังขาร) จนรู้ชัดถึงการดับของการปรุงแต่งสุขในจิต (ระงับจิตสังขาร) นั่นคือล่วงเข้าฌาน ๔ ครับ ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านปีติโสมนัสเวทนาเหล่านี้ ถ้าอบรมจิตจนความรู้แก่รอบพอ จิตจะเกิดปัญญาจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) ขึ้นมาเอง และตัดสังโยชน์ได้ด้วยตัวจิตเอง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์


เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ส.ค. 2010, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เคยมีท่านหนึ่งที่รู้จักกันเป็นการส่วนตัวเล่าว่า ระหว่างทำสมาธิผ่านฌานที่ ๑ เข้าสู่ฌานที่ ๒ จนล่วงเข้าฌานที่ ๓ อันมีโสมนัสเวทนาเป็นองค์ฌานเด่น กำหนดตามรู้ชัดอยู่ในสุขอยู่ดีๆ เกิดภาวนามยปัญญารู้แจ้งขึ้นมาเอง (อะไรผุดขึ้นมา จิตจะกำหนดรู้เองโดยอัตโนมัติตามที่องค์หลวงตาบัวท่านกล่าว :b8: หรืออีกนัยหนึ่งคือ จิตภาวนาของเขาเอง)

คือจิตดวงใหม่เห็นจิตดวงเก่าที่กำลังเสวยโสมนัสเวทนา เหมือนเห็นคนกำลังกินอาหารอร่อย โดยเห็นจิตแยกไปทาง เวทนาก็แยกไปทาง โดยเวทนาปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร) และจิตกำลังบริโภคเวทนา จิตก็อ๋อของเขาเองว่า จิตก็ไม่ใช่เรา เวทนาก็ไม่ใช่เรา ต่างอาศัยกันเกิดขึ้นตามเหตุและปัจจัย ปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น สักกายทิฏฐิก็ขาดลงตรงนี้เอง

เจริญในธรรมครับ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร