วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 19:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ม.ค. 2010, 11:43
โพสต์: 523

แนวปฏิบัติ: ดูปัจจุบันอารมณ์ เจริญมรรค ๘
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประทีปแห่งเอเซีย
ชื่อเล่น: อโศกะ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www




Resize of aa022.jpg
Resize of aa022.jpg [ 75.89 KiB | เปิดดู 5479 ครั้ง ]
tongue
ธรรมที่ถูกรู้...รูป เวทนา สัญญา สังขาร
ธรรมที่เข้าไปรู้...วิญญาณ

ชี้แจง

ธรรมที่ถูกรู้...รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ธรรมที่เข้าไปรู้ สตินทรีย์เจตสิก ปัญญิณทรีย์เจตสิก


วิญญาณ เป็นความรู้ขึ้นที่จิต (ส่วนสมอง) รู้อย่างเดียวแต่ไม่ปรุง เช่น วิญาณทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ความรู้ที่วิญญาณ ประสาทรับรู้ ส่งไปสู่มโนวิญญาณธาตุ ณ ที่มโนวิญญาณธาตุนี้จึงมีจิตสังขารเกิดขึ้นมาปรุงเป็นสิ่งต่างๆ

:b8: :b8: :b12: :b12: :b12:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพราะมีธรรมมารมณ์+มโน จึงเกิดมโนวิญญาณ

หากทว่า...
ความดำริถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่มี
ความคิดนึกถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่มี
การมีใจฝังลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี
ในกาลใด ในกาลนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น ย่อมไม่เป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย


เมื่ออารมณ์ไม่มี การตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณย่อมไม่มี

เมื่อวิญญาณไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ ไม่เจริญงอกงามแล้ว การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมไม่มี

เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสาฬายะตะนะ
เพราะมีความดับแห่งสฬายะตะนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ

เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา

เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ

เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
เพระมีความดับแห่งชาตินั้นเอง ชรามรณะโสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายสะทั้งหลายจึงดับสิ้น

การดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 07:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 07:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิปาละ เขียน:
"ผู้รู้" ในกระบวนการรับรู้ทางธรรมะคือ วิญญาณขันธ์ ซึ่งมีความหมายเดียวกับจิต
แต่โดยมากใช้เรียกแทนจิตในด้านการรับรู้

"ผู้ถูกรู้" ในกระบวนการรับรู้ทางธรรมะคือ อารมณ์ต่างๆ (อายตนะภายนอก ๖)
ที่เข้ามากระทบทางช่องทางการรับรู้ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖)


ชัดและกระชับ อนุโมทนา :b8:

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
อนัตตญาณ เขียน:
เพราะมีสิ่งที่ถูกรู้ จึงมีสิ่งที่เข้าไปรู้
หากไม่มีสิ่งที่ถูกรู้ สิ่งที่เข้าไปรู้ก็จักไม่มี

เพราะมีสิ่งที่เข้าไปรู้ จึงมีสิ่งที่ถูกรู้
หากสิ่งที่เข้าไปรู้ไม่มี สิ่งที่ถูกรู้ก็จักไม่มี

เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด


เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ


สิ่งใดมีการปรากฏเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา

....

ณ.ที่แห่งใด ไม่มีการปรากฏแห่งวิญญาณ
ณ.ที่แห่งนั้น การก้าวลงแห่งนามรูปย่อมไม่มี

ณ.ที่แห่งใด นามรูปไม่มีปรากฏ
ณ.ที่แห่งนั้น การเจริญแห่งสังขารย่อมไม่มี

ณ.ที่แห่งใด สังขารไม่มีปรากฏ
ณ.ที่แห่งนั้น การเกิดขึ้นแห่งภพย่อมไม่มี

ณ.ที่แห่งใด ภพไม่มีการปรากฏเกิดขึ้น
ณ.ที่แห่งนั้น ชาติ ชรา มรณะ ความโศกธุลีต่างๆทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ


ณ. ที่แห่งใด ????? เล่า :b12:

ถามจริง ๆ ...
เพราะ คำสนทนาเช่นนี้ ได้ยิน ได้ฟังมามาก
แต่ผู้นำมากล่าว มักจำต่อ ๆ กันมากล่าว
จึงเป็นแต่ภาษากรวง ๆ :b8:

แต่เราเห็นท่าน ไม่เป็นเช่นนั้น...

อืมมม...
ท่านเห็นว่าอย่างไร
ณ ที่แห่งใด และ มันเกี่ยวเนื่องอะไรกับ
เหตุอันหาที่เริ่มต้น และที่สุดไม่ได้ รึเปล่า อย่างไร
เพราะ ณ วันหนึ่ง ปมนี้มันเข้ามาน่ะ
ท่านช่วยชี้แนะด้วย...





“สิ่ง” สิ่งหนึ่ง ซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ไม่มีที่สุด แต่มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ,นั้นมีอยู่.

ใน “สิ่ง”นั้นแหละ ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้.
ใน “สิ่ง”นั้นแหละความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่ ความงาม ความไม่งามไม่หยั่งลงได้.

ใน “สิ่ง” นั้นแหละ นามรูปย่อมดับสนิท ไม่มีเศษเหลือ.

นามรูป ดับสนิทใน “สิ่ง” นี้ เพราะการดับสนิทของวิญญาณ, ดังนี้”.


แก้ไขล่าสุดโดย อนัตตญาณ เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 08:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พวกเทวดาทั้งหลาย ทั้งในชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิตชั้นนิมมานรดี และชั้นวสวัตตี
ล้วนแต่ถูกผูกมัดรัดรึงอยู่ด้วยเครื่องผูกคือ กามคุณ, ต้องกลับไปสู่อำนาจของมารอีก.

โลกทั้งปวงร้อนเปรี้ยง.
โลกทั้งปวงควันกลุ้ม.
โลกทั้งปวงลุกโพลง ๆ,
โลกทั้งปวงไหวโยกเยกอยู่.

ที่ใด มีมารไปไม่ถึง
ที่นั่นไม่หวั่นไหว
ที่นั่น ไม่โยกเยก
ที่นั่น ไม่ใช่ที่เที่ยวของปุถุชน.


มารเอย, ใจเรายินดีในที่นั้นเสียแล้ว.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"แน่ะเธอ !
ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ ;
เราไม่กล่าวว่าใคร ๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึง ที่สุดแห่งโลกนั้น

ด้วยการไป.

"แน่ะเธอ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งนี้ ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี่เอง,
เราได้บัญญัติโลก,
เหตุให้เกิดโลก,
ความดับสนิทไม่เหลือของโลก,
และทางดำเนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือของโลก ไว้" ดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่อาจเข้าไปอยู่ ในที่ใด ;
ในที่นั้น ดาวศุกร์ทั้งหลาย ย่อมไม่ส่องแสง;
ในที่นั้น, ดวงอาทิตย์ก็ไม่ปรากฏ ;
ในที่นั้น, ดวงจันทร์ก็ไม่ส่องแสง ;
แต่ความมืด ก็มิได้มีอยู่,ในที่นั้น.

ในกาลใด, มุนี ผู้ตั้งหน้าปฏิบัติ ได้รู้แจ่มแจ้ง (ในสิ่งที่กล่าวนี้) ด้วยตนเอง ด้วยความรู้;
ในกาลนั้น, มุนีนั้น ย่อมพ้นไปจากรูป ย่อมพ้นไปจากอรูป,
ย่อมพ้นไปจากสุขและทุกข์ โดยสิ้นเชิง, ดังนี้แล.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พาหิยะ !
เมื่อใดเธอเห็นรูป แล้ว สักว่าเห็น, ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง,

ได้กลิ่น, ลิ้มรส, สัมผัสทางผิวกาย, ก็สักว่า ดม ลิ้ม สัมผัส,

ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สัก ว่าได้รู้แจ้ง แล้ว;
เมื่อ นั้น "เธอ" จัก ไม่มี.

เมื่อใด"เธอ" ไม่มี;
เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้,
ไม่ปรากฏในโลกอื่น,
ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง : นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์ ละ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ท.!
"สิ่ง" สิ่งนั้นมีอยู่, เป็นสิ่งซึ่งในนั้นไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีไฟ ไม่มีลม,
ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ
ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ
ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ
ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ,

ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น,
ไม่ใช่ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง.

ภิกษุ ท.!
ในกรณีเกี่ยวกับ "สิ่ง" สิ่งนั้น เราไม่กล่าวว่ามีการมา,ไม่กล่าวว่ามีการไป,
ไม่กล่าวว่ามีการหยุด, ไม่กล่าวว่ามีการจุติ,
ไม่กล่าวว่ามีการเกิดขึ้น. สิ่งนั้นมิได้ตั้งอยู่,

สิ่งนั้นมิได้เป็นไป และ สิ่งนั้นมิใช่อารมณ์; นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์ ละ.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 11:59
โพสต์: 105

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภิกษุ ุท .!
สิ่งซึ่งมิได้เกิด (อชาต ํ)
มิได้เป็น (อภต ํ)
มิได้ถูกอะไรทำ (อกตํ)
มิได้ถูกอะไรปรุง (อสงฺขตํ) นั้นมีอยู่.

ภิกษ ุ ท .!
ถ้าหากว่า สิ่งที่มิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง จักไม่มีอยู่แล้วไซร้
การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง ก็จักไม่ปรากฏ

ภิกษุุ ท .!
เพราะเหตุที่มีสิ่ง ซึ่งมิได้เกิด มิได้เป็น มิได้ถูกอะไรทำ มิได้ถูกอะไรปรุง นั่นเอง
การรอดออกไปได้สำหรับสิ่งที่เกิด ที่เป็นที่ถูกอะไรทำ ที่ถูกอะไรปรุง จึงได้ปรากฏอยู่.


ใคร ๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว
อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน
ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของผุพัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.

ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น) นั้น
เป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด
ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึง
เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขาร
เป็นสุข. ดังนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
วิสุทธิปาละ เขียน:
"ผู้รู้" ในกระบวนการรับรู้ทางธรรมะคือ วิญญาณขันธ์ ซึ่งมีความหมายเดียวกับจิต
แต่โดยมากใช้เรียกแทนจิตในด้านการรับรู้

"ผู้ถูกรู้" ในกระบวนการรับรู้ทางธรรมะคือ อารมณ์ต่างๆ (อายตนะภายนอก ๖)
ที่เข้ามากระทบทางช่องทางการรับรู้ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖)


ชัดและกระชับ อนุโมทนา :b8:

วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่ความหมายเดียวกับจิต เพราะวิญญาณขันธุ์เป็นอนัตตาแต่จิตไม่ใช่
วิญญาณ คือการรับรู้ ไม่ใช่ผู้รู้ จิต คือ "ผู้รู้"
อายตนะ คือ สื่อรับรู้ ไม่ใช่ "ผู้ถูกรู้"
จันทร์เจ้าขา เขียน:
จันทร์เจ้าขาว่า (ว่าเองนะค่ะ)

ผู้รู้ คือ จิต จิตเป็นผู้รู้ เป็นธาตุรู้ ผู้คิดนึก ผู้ปรุงแต่ง
ผู้ถูกรู้ คือ ธรรมทั้งหลายทั้งมวล ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรม

สั้นๆ นะ ว่ายาวไม่ได้เดี๋ยวผิด อิอิ :b32: :b8:

เห็นด้วยกับคุณจันทร์เจ้าขา ขอโมทนา สาธุครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่จิต ไม่ใช่ความหมายเดียวกับจิต
ถูกต้องครับ ในบางมุม (ดูคำวินิจฉัยของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ด้านล่างครับ :b1: )
อ้างคำพูด:
วิญญาณขันธุ์เป็นอนัตตาแต่จิตไม่ใช่
ต้องลองปฏิบัติดู และรู้แจ้งด้วยตนเองครับว่า จิตเป็นอนัตตา (บังคับไม่ได้ เป็นไปตามเหตุปัจจัย) หรือเป็นอัตตา (บังคับได้) หรือไม่ครับ :b8:
อ้างคำพูด:
ผู้รู้ คือ จิต จิตเป็นผู้รู้ เป็นธาตุรู้ ผู้คิดนึก ผู้ปรุงแต่ง
ผู้ถูกรู้ คือ ธรรมทั้งหลายทั้งมวล ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรม
สาธุการด้วยครับ :b8:

เคยมีผู้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมือนและความต่างของ จิต กับ วิญญาณ ไว้ในหลายกระทู้ครับ :b1: เช่น

http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... ble=/guru/
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/006125.htm

คงต้องใช้หลัก กาลามสูตร ปฏิบัติและทดสอบเองครับ (ภาวนามยปัญญา) ว่า "บัญญัติ" ทั้ง ๒ คำนี้ จะตรงและแจ้งด้วยตนเอง (ปรมัตถ์) อย่างไร เพราะการ "คิดด้วยเหตุผล" อาจจะไม่ตรงสภาวะ

เช่นเดียวกับการที่จิต เป็นอนัตตา หรือไม่ใช่อนัตตา ถ้าเป็นศิษย์พระพุทธเจ้าที่ดี คงต้องลองสังเกตและรู้ได้ด้วยตัวเองว่า จิตนั้น บังคับได้ (เป็นอัตตา) หรือบังคับไม่ได้ (เป็นอนัตตา) และที่ว่า บังคับได้ (ในบางครั้ง) นั้น ใครเป็นผู้บังคับ และบังคับ "ได้" อย่างไรครับ :b1:

แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการใช้ความคิดด้วยเหตุผล (จินตามยปัญญา) ผมว่า ท่าน follower ในกระดานศาสนาของ google ได้สรุปและอ้างอิงไว้น่าฟังมากครับ :b8:
(ยาวหน่อยนะครับ แต่ผมว่า มีประโยชน์กับการเจริญปัญญา เพื่อการปฏิบัติธรรมดี :b8: )

จากคุณ follower 9 พ.ค. 2553, 10:01:44
http://guru.google.co.th/guru/thread?ti ... ble=/guru/

ผมขอนุญาตยกพระสูตรกับธรรมเทนาของสมเด็จพระสังฆราช มาตอบดังนี้ครับ
---------------------------------------------------------------------------------------
[๑๑๒] ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น
วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณา
อารมณ์นั้นแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็น
อย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่
พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นอัตตา
ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณา
เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดย
ความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อม
ละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลาย
กำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละ
ความถือมั่นได้ ฯ
http://84000.org/tipitaka//attha/v.php? ... amp;Z=1393

จิตและวิญญาณ เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่? พระพุทธองค์วินิจฉัยแล้ว

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง
คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ
นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย
ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ
จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้
เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ
ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา
ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... amp;A=2519

จากหนังสือ .... "วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก"
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

ท่านเขียนไว้ว่า

"เมื่อจะจัดเข้าขันธ์ ๔ หรือว่าจัด ๕ เข้าในหมวดเจตสิก,
วิญญาณ จัดเข้าในหมวด จิต,
เวทนา สัญญา สังขาร ๓ นี้เป็น เจตสิก,
เจตสิกทั้งปวงนี้ เมื่อย่นย่อลงแล้ว
ก็ย่นย่อลงในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหมด

และตามนัยในพระอภิธรรมนี้
วิญญาณ ในขันธ์ ๕ มนะ ในอายตนะภายใน
และ จิต ที่กล่าวถึงในที่ทั้งปวง จัดเข้าในหมวดจิตทั้งหมด


เพราะฉะนั้น หลักการจัดหมวดจิตในพระอภิธรรม
จึงต่างจาก หลักของการแสดงจิต มโน และวิญญาณ
ในสุตตันตะ หรือในพระสูตร

ในพระสูตรนั้น จิตมีความหมายอย่างหนึ่ง
วิญญาณมีความหมายอย่างหนึ่ง
มโนมีความหมายอย่างหนึ่ง ดังที่แสดงแล้วใน
อนัตตลักขณสูตร และใน อาทิตตปริยายสูตร


กล่าวโดยย่อ ใน อนัตตลักขณสูตร

วิญญาณนั้นเป็นขันธ์ ๕ ข้อหนึ่ง
ซึ่งตกในลักษณะของไตรลักษณ์
คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ดั่งที่ในพระสูตรนั้นสอนให้รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา

ใน อาทิตตปริยายสูตร
มนะเป็นอายตยะภายในข้อหนึ่ง
ที่ท่านสอนให้พิจารณาว่าเป็นของร้อน,
ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น

คราวนี้ ใครเป็นผู้พิจารณาวิญญาณว่าเป็นอันตตา
พิจารณามนะก็นับว่าเป็นของร้อน,
ต้องมีผู้พิจารณาอีกผู้หนึ่ง
ไม่ใช่วิญญาณพิจารณาวิญญาณเอง
หรือมนะพิจารณามนะเอง,


ในตอนท้ายของพระสูตรทั้งสองนี้
ก็แสดงว่าจิตพ้นจากอาสวกิเลส,
แต่ว่าไม่ได้แสดงว่าวิญญาณพ้นหรือมนะพ้น,
จะแสดงอย่างนั้น ก็ย่อมไม่ได้

เพราะเมื่อวิญญาณเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะเป็นผู้พ้นกิเลส,
และมนะก็เป็นของร้อนเพราะไฟกิเลส
ก็ไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้พ้น


นักอภิธรรมบางท่านได้กล่าวหาผู้ที่แสดงอย่างนี้ว่า

แสดงขันธ์ ๖ คือแสดง จิต เพิ่มขึ้นอีก ๑ ขันธ์,

เพราะว่าตามอภิธรรมนั้น
จิต มนะ วิญญาณ อยู่ในหมวดจิตอันเดียวกัน

คราวนี้ให้พิจารณาดูให้รู้อธิบายของท่าน
และเมื่อต้องการจะพูดถึงธรรมะในปิฎกใด
ก็เอาอธิบายของปิฏกนั้นมาอธิบาย...ก็ไม่ยุ่ง

คือว่าเมื่อจะอธิบายอภิธรรมก็อธิบายว่าทั้งสามนี้เหมือนกัน,
แต่ว่าเมื่อจะอธิบายพระสูตร
ก็อธิบายตามหลักฐานในพระสูตรดั่งที่กล่าวมาแล้ว

แต่อภิธรรมนี้ได้เป็นที่นิยมนับถือมาเป็นเวลาช้านาน,
พระอาจารย์ผู้อธิบายพระสูตร
เมื่อจะอธิบายถึง จิต ถึง มโนถึง วิญญาณ
ก็คัดเอาคำอธิบายในอภิธรรมมาใส่ไว้ในพระสูตรด้วย,
เพราะฉะนั้น จึงเกิดความสับสนกันขึ้น,


ดั่งเช่นบาลีพระสูตรกล่าวถึงจิต
พระอาจารย์ผู้อธิบายก็คัดเอามาจากพระอภิธรรมว่า
“จิตฺตนฺติ วิญฺญาณํ วิญญาณ ชื่อว่าจิต”
เป็นอย่างนี้เป็นพื้น ตั้งแต่ชั้นอรรถกถาลงมา,

อันนี้แหละวิญญาณเป็นเหตุให้สับสนกัน,
ถ้าหากว่าแยกเสียดั่งที่กล่าวมาแล้วก็จะไม่สับสน

พิจารณาดูในคัมภีร์อภิธรรมนั้น
ท่านต้องการแสดงเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น
คือจำแนกขันธ์ ๕ ออกไปอย่างวิจิตรพิสดาร
วิญญาณก็จำแนกออกไปเป็นจิตต่างๆ อย่างวิจิตรพิสดาร
และเวทนา สัญญา สังขาร
ก็จำแนกออกไปเป็นเจตสิกถึง ๕๒,
จาก ๓ ไปเป็น ๕๒ ,
แล้วรูปก็ยังจำแนกวิจิตพิสดารออกไปอีกมากมาย,

เพราะฉะนั้น
เมื่อจับได้ว่าท่านต้องการจะอธิบายธรรมะแค่ ขันธ์ ให้พิสดาร,
ท่านจะเรียกว่า จิต ว่า มนะ หรืออะไรๆก็ตาม
เราก็เข้าใจไปตามที่ท่านประสงค์ ก็เป็นการไม่ยุ่ง
แต่ไม่ควรไปอธิบายให้ปะปนกัน

และที่ท่านจำแนกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวงนั้น
ก็ด้วยยกเอาเจตสิกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อเท่านั้น
คือ เวทนา ๑ ญาณะ ความรู้ ๑
สังขาร คือปรุงขึ้นเองหรือว่าต้องกระตุ้นเตือน ๑,

เจตสิกมีถึง ๕๒ ยกขึ้นมาเพียง ๓ ข้อ ยังแจกออกไปตั้ง ๘๙,
คราวนี้ถ้ายกทั้ง ๕๒ จะได้จิตนับหาถ้วนไม่

เพราะฉะนั้นจิตที่จำแนกไว้นั้น
ก็หมายความว่ายกขึ้นมาไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น,
จิตของคนก็เป็นอย่างนั้น
เพียงในระยะครู่หนึ่ง ก็ความคิดไปต่างๆ มากมาย.

(ที่มา : “วิญญาณ มโน และจิต ใน ๒ ปิฎก” ใน ความรู้ทั่วไปเรื่องพระอภิธรรม, พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก , มหามงกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๘๒-๘๕)

v v v...คัดลอกมาจาก...v v v
viewtopic.php?f=66&t=29292

สรุป
1. จิตหากจำแนกอย่างพิศดาร (คือรวมเอาวิญญาณ สังขาร เวทนา สัญญาด้วย) จะไม่ใช่วิญญาณขันธ์ แต่หากจำแนกตามปรมัตถธรรม 4 คือ รูป จิต เจตสิก นิพพาน ได้ว่า รูปคือรูปขันธ์ทั้งปวง จิตคือวิญญาณขันธ์ ส่วนเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ต่างเป็นเจตสิก และนิพพานคือธรรมที่พ้นจากขันธ์ทั้งปวง
2. จิตเป็นอนัตตา (ตามแสดงในพระสูตรแรกสุด) เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ***นิพพานไม่ควรสมมติด้วยบัญญัติว่าเป็นอัตตาบ้าง อนัตตาบ้าง เพราะเป็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่งครับ

-------------------------------------------------------------------------------------------

อนุโมทนากับคุณ follower ด้วยครับ :b8:

อย่างไรก็ตาม การแจกแจงเพื่อให้เข้าใจว่า อะไรเป็นผู้รู้ อะไรเป็นผู้ถูกรู้นั้น ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ในทางปฏิบัติแล้ว ควรจะสาวต่อไปจากกระบวนการรับรู้ ซึ่งเป็นกระแสปกติตามธรรมชาติ จนถึงกระบวนการเสพเสวยโลก และกระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ (ปฏิจสมุปบาท) ด้วยครับ เพื่อให้เข้าใจเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) และรู้วิธีที่จะละเหตุแห่งทุกข์ด้วยครับ (สมุทัยให้ละ) จึงจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

เจริญในธรรมครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นด้วยครับ ต้องปฏิบัติ จึงจะรู้แจ้งว่า จิตคืออะไร
ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติแล้วนำมากล่าวอ้าง มีแต่ผิดกับผิด


สงสัยที่คุณยกมา
2. จิตเป็นอนัตตา (ตามแสดงในพระสูตรแรกสุด) เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ทำไมธรรมทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา?

เจริญในธรรมเช่นกันครับ :b4: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย ธรรมดาครับ เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 13:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนัตตญาณ เขียน:

ใคร ๆ ไม่ควรเพลิดเพลิน ต่อสิ่งซึ่งเกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว
อันปัจจัยกระทำแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ไม่ยั่งยืน
ปรุงแต่งเพื่อชราและมรณะ เป็นรังโรค เป็นของผุพัง มีอาหารและเนตติ (ตัณหา) เป็นแดนเกิด.

ส่วนการออกไปเสียได้จากสิ่ง (ซึ่งเกิดแล้วเป็นต้น) นั้น
เป็นธรรมชาติอันสงบ ไม่เป็นวิสัยแห่งความตรึก เป็นของยั่งยืน ไม่เกิด
ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เป็นที่ควรไปถึง
เป็นที่ดับแห่งสิ่งที่มีความทุกข์เป็นธรรมดา เป็นความเข้าไปสงบรำงับแห่งสังขาร
เป็นสุข. ดังนี้


:b1: ... ... :b1:

คือ...คำตอบ...กับคำถามที่ว่า...เกิดมาเพื่ออะไร...

:b38: :b38: :b38:


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 17:16, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2010, 12:46
โพสต์: 1012

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
2. จิตเป็นอนัตตา (ตามแสดงในพระสูตรแรกสุด) เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ทำไมธรรมทั้งปวงจึงเป็นอนัตตา?

นั่นนะซิครับ ? :b5:
อาจจะเพราะเหตุนี้กระมังครับ :b10:

รูปมิใช่ตัวตน (อนัตตา). ก็หากว่ารูปนี้จักเป็นตัวตน (อัตตา) แล้วไซร้ รูปนี้ ก็คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย.
ก็เพราะเหตุที่รูปมิใช่ตัวตน ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนาในรูปว่า ขอรูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด อย่างได้เป็นอย่างนั้นเลย.
(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พึงทราบตามทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล)
อนัตตลักขณสูตร หรือ ปัญจวัคคิยสูตร ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


หรือเพราะพระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นแจ้งแล้วว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวใช่ตน จึงทรงกล่าวเป็นคาถาว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา กระมังครับ :b8:

ส่วนตัวผมเอง เคารพพระพุทธเจ้าอย่างสูงที่สุด แต่ยังสงสัยในสภาวะธรรมบางอย่างที่ยังไม่เห็นแจ้งด้วยตนเอง จึงยังไม่เชื่ออย่างสนิทใจตามหลักกาลามสูตรที่พระองค์ทรงตรัสไว้ เพราะตอนนี้จิต "เห็น" แต่ยังไม่ยอม "รับ" ธรรมบางอย่างว่าเป็นอนัตตา ซึ่งคงต้องเพียรปฏิบัติต่อไปตามพระสูตรแรกที่คุณ follower ยกมา ที่พระพุทธเจ้าท่านให้ “พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา” เพื่อ “เบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน คลายกำหนัด ย่อมให้ดับ” และด้วยการพิจารณาดังนี้ ย่อมละสมุทัย และพ้นทุกข์ได้ กันต่อไปครับ :b1:

แต่ถ้าจะหาอ่านเพิ่มเติมจากผู้ซึ่งอาจจะ “รู้แจ้ง” แล้ว ในอรรถกถามีอธิบายไว้ ซึ่งคงใกล้เคียงบ้างกระมังครับ

บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้.
จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น.
บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วยญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ ย่อมกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา


เจริญในธรรมเช่นกันครับ :b8: :b1:


แก้ไขล่าสุดโดย วิสุทธิปาละ เมื่อ 11 ส.ค. 2010, 09:34, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร