วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 14  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 21 ก.ค. 2010, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 23:07
โพสต์: 21

แนวปฏิบัติ: เจริญสติภาวนา
งานอดิเรก: ปฏิบัติธรรม
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b8: สาธุครับ คิดเยอะแยะเลยน่ะ คิดมากก็สงสัยมาก คุณนี้เก่งจริงๆเลยน่ามีข้อความให้อ่าน
ทุกวันเลยมีความรู้ดี ฮิฮิฮิ


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.ค. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


คิดว่าเขียนดีกว่า... ที่คิดค้างไว้คือ

1. ความทรงจำต่างๆ ของเรา มันถูกบันทึกลงไปในจิตด้วยหรือเปล่า (ซึ่งจะด้วยวิธีการใดก็ตามแต่) เพราะปกติจิตและสมอง จะทำงานคู่กันไปตลอด มันก็น่าจะมีความเป็นไปได้ ที่ความทรงจำต่างๆ จะถูกบันทึกลงไปในจิต คู่ขนานไปกับสมอง
แต่คิดแล้ว เรื่องนี้เห็นจะ พิสูจน์ ไม่ได้ เพราะ จิต-เจตสิก อาศัยรูปปรมัตถ์เชื่อมกับสมอง ซึ่งแม้ความทรงจำต่างๆ จะถูกบันทึกลงในจิตด้วย แต่การสืบค้นของจิตจะผ่านสมอง จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะพิสูจน์หรือทดลอง

ตัวอย่างก็ การนอนหลับนี่แหล่ะ ทันทีที่สมองใช้งานได้ (จะสมบูรณ์หรือไม่ก็ตาม) เราก็จะรับรู้ผ่านสมองทันที การรู้ตนทั้งหลายในช่วงเวลาที่ร่างกายหลับ จึงถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง

อ้อ เพิ่งคิดออก การพิสูจน์ในแง่นี้ เห็นจะต้องทำโดย ญาณทัศนะ ซึ่งเราไม่มี... โดยการดูว่า ในช่วงเวลาที่ไม่ได้เกิดความฝันนั้น จิตคิดอะไร ? ถ้าจิตสามารถคิดถึงคนที่รู้จักได้ หรือมีสิ่งของวัตถุต่างๆ ในโลก โต๊ะเก้าอี้ รถ เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ย่อมแสดงว่า ความทรงจำนั้น ถูกบันทึกลงไปในจิตด้วย

แก้ไขหน่อย... เรื่องพระอรหันต์ฝันหรือไม่
ข้อความข้างล่างนี้ คงไว้...
จิตต้องมีการทำงานตลอดเวลา หากไม่คิดก็ต้องจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากจิตไม่มีงานทำ จิตจะตกภวังค์ นี่คือสิ่งที่เราเคยเขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว
ซึ่งหากภวังค์ (ภวังคุปัจเฉท) คือภาวะที่จิตลดการติดต่อกับรูปปรมัตถ์ (ไม่ใช่ดับ) ก็ต้องเขียนใหม่ว่า...
หากจิตไม่มีอะไรทำในโลกนี้ จิตก็จะ หลบ อยู่ในภวังค์


พระอรหันต์ฝันหรือไม่... ตอนนี้เชื่อว่า ไม่
การคิดอะไรเรื่อยเปื่อย ย่อมไม่ใช่วิสัยของพระอรหันต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคิดเป็นภาพ ซึ่งจะถูกเรียกว่าความฝัน ทันทีที่จิตระลึกได้

ซึ่งถ้ามองโดยทั่วไป ในภาวะปกติ ผู้ที่ฝึกจิตจนเชี่ยวชาญ ก็จะไม่คิดเป็นภาพอยู่แล้ว แต่จะคิดเป็นเสียงแทน

เราเข้าใจว่า ความฝันนอกจากจะเป็นความคิดแล้ว มันยังมีส่วนในการ ชดเชย อายตนะที่พร่องไป
เป็นไปได้ว่า ในหมู่ผู้ฝึกสติปัฎฐานแบบกายานุปัสสนา คือจิตจดจ่อกับอายตนะ ความฝันจะเด่นชัดมาก ยิ่งชำนาญก็จะยิ่งชัด และมันจะค่อยๆ จางลงจากความเสมือนจริง เมื่อจิตเริ่มละกาย คืออัตตาน้อยลง สักกายทิฎฐิน้อยลง
นั่นคือ ในระดับอริยะบุคคล คือชั้นโสดาบันขึ้นไป ความฝันประเภทสมจริงสมจัง ไม่น่าจะมีแล้ว จะเหลือแต่ความฝันจางๆ ที่เป็นความคิด และจะยิ่งเลือนลงเรื่อยๆ ตามกิเลสที่น้อยลงไป

เพราะงั้นพระอรหันต์ที่ละกิเลส (สังโยชน์) ได้เด็ดขาด การคิดเป็นภาพจึงไม่น่าจะปรากฎ หากจะมีก็จะมีเป็นเสียง ซึ่งจะไม่ถูกบันทึกลงในความจำระยะสั้น แปลว่า... ไม่มีความฝัน

การนอนหลับของพระอรหันต์ จึงไม่ใช่ภวังค์ ที่จิตสงบ นิ่งเฉยจากอายตนะทั้งหลาย ซึ่งเมื่อสมองมีพลังงานจนถึงจุดที่ฝัน (คิดเป็นภาพ) ได้ จิตที่ฝึกมาดีแล้ว หากจะคิดก็จะคิดด้วยเสียงแทน และแน่นอน พระอรหันต์ก็รู้สึก ตื่น เช่นกัน เพราะร่างสังขารมีกลไกเป็นแบบนั้น

สรุปว่า พระอรหันต์ก็คิด แต่เพราะไม่ได้คิดเป็นภาพ จึงไม่ปรากฎว่ามีความฝัน...

และจากตรงนี้ เราก็ได้ความคิดอีกอย่างว่า ความจำระยะสั้นในสมองนั้น น่าจะผูกอยู่กับ ภาพ เป็นสำคัญ ซึ่งก็ดูจะสมเหตุสมผลดี เพราะเราสามารถนึกภาพที่เราเห็นแป๊บๆ ได้ เช่นเมื่อเรามองนาฬิกา พอละสายตามา เราก็พอจะนึกภาพนาฬิกานั้นออก แต่เราจะได้ยินเสียง รู้กลิ่น รส สัมผัส ในภาวะปัจจุบันเท่านั้น (หรือเปล่า ? คิดว่าใช่นะ)


ปล. น่าลองว่า หากเราพยายามไม่คิดเป็นภาพ เวลานอนจะฝันหรือเปล่า... ถ้าไม่ฝัน ก็ได้เฮล่ะมึ๊ง อิอิ :b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 24 ก.ค. 2010, 19:48, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 26 ก.ค. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิในขั้นฌาณ 4 จะทดแทนการนอนได้หรือไม่

ฌาณ 4 เป็นฌาณที่จิตรับรู้อายตนะน้อยลง จนถึงขั้นไม่รับรู้เลยในฌาณแบบฤาษี และรับรู้แค่ทรวงอกในฌาณแบบพุทธ
จาก google สมาธิทำให้คลื่นสมองลดต่ำลง ซึ่งน่าจะสันนิษฐานได้ว่า... ฌาณ 4 อาจเป็นภาวะที่ แม้ไม่ใช่หลับหรือใกล้หลับ (เพราะความทรงจำยังใช้ได้) แต่สมองในช่วงนั้น อาจมีกระบวนการที่ พอจะ ทดแทนการหลับได้

การเข้าภวังคุปัจเฉท ก็น่าจะทดแทนได้เช่นกัน และเห็นจะทดแทนได้มากกว่าสมาธิฌาณ 4 ธรรมดา...


เมื่อไม่มีความฝัน สมองจะมีประจุตกค้างเพิ่มขึ้นๆ มันจึงเป็นคำอธิบายได้ไหมว่า...
ทำไม "เมื่อเพศฆราวาสบรรลุอรหัตผล จะต้องนิพพาน ในไม่ช้า " ไม่ใช่ภายใน 7 วันนะ
เพราะเพศฆราวาส ยังต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก ไม่สามารถจะเข้ากรรมฐานได้อย่างต่อเนื่อง จนสามารถทดแทนการนอนหลับได้
การบวชจึงเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าหากพิจารณาแล้ว ยังไม่ถึงวาระที่จะต้องละสังขาร

ตรงนี้ก็คือ พระอรหันต์จะต้องมีช่วงเวลาเข้ากรรมฐานในวันหนึ่งๆ อาจจะหลายชั่วโมง

ปล. หากไม่บวช ก็ต้องไปอยู่ป่าเป็นฤาษี อิอิ :b32: :b32: :b32:

ปล2. มันอาจมีวิธีอื่นในเชิง พลังจิต ที่จะช่วยทดแทนการฝันได้ กำลังสงสัยอยู่ :b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 26 ก.ค. 2010, 22:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 19:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดความคิดแปลกๆ เป็น นิยาย... :b1: :b1: :b1:

โลกเรานี้ มีผู้ที่มี เจตนาพิเศษ ขึ้นมาเป็นระยะๆ

โลกตะวันตกอาจเป็นผู้ถูกเลือก ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (วัตถุ) ผ่านผู้ที่มีความ หยั่งรู้ ที่ผิดธรรมดา
และเมื่อความรู้มั่นคงในระดับหนึ่ง ก็มีการกระจายความรู้ออกไป โดยการล่าอาณานิคม...

สงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้ที่มีเจตนาพิเศษเกิดขึ้น ใน 2 เขตคือ ตะวันออกและตะวันตก
2 ประเทศนี้ ทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ คือ ครอบครองพื้นที่มากมายมหาศาล... และมีการบูมของเทคโนโลยีอย่างมากมาย
แม้เจตนาแรกเริ่มจะเป็นอย่างหนึ่ง แต่ในที่สุด 2 ผู้นำนี้ ก็ ล้ำเส้น ในด้านศีลธรรม

ทางเลือกที่ 3 จึงแสดงตน ซึ่งทำในสิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ยิ่งกว่า คือ ชาติเดียวแผ่อิทธิพลทั่วโลก

ไม่นานก็มีอีกชาติหนึ่ง แผ่อิทธิพลขึ้นทาบรัศมี ด้วยทางเลือกในอีกระบอบการปกครอง และแน่นอนก็มีผู้นำที่ 3 ซ่อนตัวอย่างเงียบๆ

วันเวลาผ่านไป ระบอบของทางเลือกที่ 1 (ทางเลือกที่ 3 เดิม) ถือว่าเป็นระบอบที่ดีกว่า ทางเลือกที่ 2 จึงต้องถูกกำจัดบทบาทลง
ไม่นาน ทางเลือกที่ 3 ก็ปรากฎ เป็นตัวแทนของฝ่ายตะวันออก...

ก็ไม่รู้ว่า ทางเลือกที่ 1 นั้น มีการล้ำเส้นในด้านศีลธรรมอย่างขนานใหญ่หรือเปล่า...
แต่เป็นไปได้ว่า ผู้นำในเขตตะวันตก จะค่อยๆ ย้ายมาทางยุโรป เพื่อให้สอดคล้องกับการกำเนิดของทางเลือกที่ 3... หรือไม่งั้น อิทธิพลของทางเลือกที่ 1 จะค่อยๆ ลดลง จนเทียบเท่ายุโรป
ดูเหมือนจะเป็นการทดลองระบอบการปกครองหลายๆ แบบ...

ส่วนโซนตะวันออกเฉียงใต้ เห็นจะเด่นทางจิตวิญญาณเป็นหลัก และอาจกำลังมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่... หากไม่ "ชาววิไล" ก็ "ชาววิลัย"

ย้ำว่า เป็นนิยาย...


โพสต์ เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีค่ะ ทุกๆ ท่าน
ขอร่วมแสดงความคิดเห็นด้วยค่ะไม่ทราบว่าพอจะมีประโยชน์บ้างไหมเพราะมันมาจากประสบการณ์ ในความคิดเห็นว่าจิตกับสมองต่างกันทั้งสถานที่ตั้ง ระบบการทำงาน และ ความสำคัญ(ผิดถูกอย่างไรช่วยท้วงติงให้ด้วยค่ะ) กล่าวคือ
1. ในคนปกติทั่วไป การทำงานของสมองจะมีความสำคัญ ในร่างกายสมองคือส่วนสำคัญของแต่ละคน สมองคือส่วนรับรู้ว่าการดำเนินชีวิตประจำวันของร่างกาย ร่างกายจะมีสมองเป็นผู้ควบคุมบังคับบัญชา

2. ในคนที่ปฎิบัติสติปัฎฐาน ๔ แยกเป็น 2 ภาวะ คือ
2.1 ในการทำงานของร่างกายปกติทุกๆ วัน สิ่งที่ควบคุมและแสดงความรู้สึกของร่างกายตลอดเวลาจะ มี 2 ส่วนควบคู่กันไปก็คือ จิต กับ สมอง โดยจิตและสมองจะทำงานพร้อมกันทันทีตั้งแต่ตื่นขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จิตจะเป็นผู้รับรู้อารมณ์ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนสมองจะเป็นผู้คำนวณ ผู้วางแผนงาน สั่งงานร่างกายให้กระทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ในภาวะอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์(4 เมษายน 53- 27 มิถุนายน 53) ค่อนข้างนานพอสมควรที่พอจะอธิบายความรู้สึกคือ ทุกๆ เช้าตื่นขึ้นมาทุกวันจิตจะลอยเด่นในอก กระเพื่อมไปกระเพื่อมมาตลอดเวลา ควบคู่กับการทำงานของสมองซึ่งก็ทำหน้าที่ของมันไปในร่างกายของเราตั้งแต่ทันทีที่ตื่นจนกระทั่งหลับไปก็เลิกทำงาน
ตลอดเวลาจิตมันลอยเด่นในอกทำให้รู้ว่ากายกับจิตมันแยกกันมันไม่ใช่สิ่งเดียวกันตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจิตมันจะแสดงตัวของมันอยู่ตรงหน้าอกให้รู้ เลยต้องดูจิตไปโดยอัตโนมัติตลอดทั้งวันเพราะจิตแสดงตัวให้รู้เอง รู้ว่ากิเลสใดเกิดขึ้นกับกายหรือกิเลสใดเกิดขึ้นกับจิตก็รู้ และรู้ว่ามันเกิดและดับได้อย่างไรในแต่ละวันรู้และดูมันอยู่ตลอดเวลา :b46:


โพสต์ เมื่อ: 31 ก.ค. 2010, 21:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ
เวทนาทื่เกิดขึ้นกับกายเช่น เจ็บบริเวณใดในร่างกายก็เจ็บเฉพาะบริเวณนั้น จิตมันไม่รู้สึกอะไรด้วย มันไม่เจ็บด้วยมันอยู่ของมันเฉยๆ สมองก็ไม่เจ็บสมองก็อยู่ส่วนสมอง กายจะเจ็บก็เจ็บไปคนละส่วนกัน ขนาดร่างกายปวดทุกข์หนักเบาแต่จิตมันไม่ปวดด้วยมันเฉยจนกระทั่งมันจะออกแล้ว รู้ว่าต้องไปทำภารกิจนั้นๆ ไป
ตอนอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้นในช่วงนี้นั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมาก
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าเรื่องอะไรมากระทบมันเหมือนไม่เข้ามาที่ใจหรือจิตเลย ได้ยินเสียงหรือตาเห็นคนที่มาติดต่อเราคุยกับเราเราก็แก้ปัญหาหรือคุยตอบไปโดยใจมันไม่นำมาเข้าที่ใจ ทั้งวันจะรู้สึกเช่นนั้น
อะไรๆ เกิดขึ้นก็ได้ยินหรือเห็นแต่มันไม่มาอยู่ในใจเลย มันแค่ได้ยินหรือได้เห็นเท่านั้นทุกๆ อย่างมันอยู่พ้นความสนใจของจิต จิตมันจะลอยอยู่เฉยไม่ทุกข์ไม่สุขอยู่อย่างนั้นเองนี่หรือเปล่าสักแต่ว่าเห็นหรือ
สักแต่ว่าได้ยินในบางขณะ

2.2 ในภาวะการเดินจงกรมจนเกิดสติหรือการนั่งสมาธิ
จากประสบการณ์สมองจะดับการทำงานไปเลย คนสั่งการ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้คิด คือจิตส่วนเดียว

ผิดถูกอย่างไรขอผู้รู้แก้ความเข้าใจให้ด้วย

ขอทุกๆ ท่านเจริญรุ่งเรืองมีความสุขมีสุขภาพแข็งแรงด้วยค่ะ :b46:


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 00:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
ต่อ
เวทนาทื่เกิดขึ้นกับกายเช่น เจ็บบริเวณใดในร่างกายก็เจ็บเฉพาะบริเวณนั้น จิตมันไม่รู้สึกอะไรด้วย มันไม่เจ็บด้วยมันอยู่ของมันเฉยๆ สมองก็ไม่เจ็บสมองก็อยู่ส่วนสมอง กายจะเจ็บก็เจ็บไปคนละส่วนกัน ขนาดร่างกายปวดทุกข์หนักเบาแต่จิตมันไม่ปวดด้วยมันเฉยจนกระทั่งมันจะออกแล้ว รู้ว่าต้องไปทำภารกิจนั้นๆ ไป
ตอนอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้นในช่วงนี้นั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมาก
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าเรื่องอะไรมากระทบมันเหมือนไม่เข้ามาที่ใจหรือจิตเลย ได้ยินเสียงหรือตาเห็นคนที่มาติดต่อเราคุยกับเราเราก็แก้ปัญหาหรือคุยตอบไปโดยใจมันไม่นำมาเข้าที่ใจ ทั้งวันจะรู้สึกเช่นนั้น
อะไรๆ เกิดขึ้นก็ได้ยินหรือเห็นแต่มันไม่มาอยู่ในใจเลย มันแค่ได้ยินหรือได้เห็นเท่านั้นทุกๆ อย่างมันอยู่พ้นความสนใจของจิต จิตมันจะลอยอยู่เฉยไม่ทุกข์ไม่สุขอยู่อย่างนั้นเองนี่หรือเปล่าสักแต่ว่าเห็นหรือ
สักแต่ว่าได้ยินในบางขณะ

2.2 ในภาวะการเดินจงกรมจนเกิดสติหรือการนั่งสมาธิ
จากประสบการณ์สมองจะดับการทำงานไปเลย คนสั่งการ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้คิด คือจิตส่วนเดียว

ผิดถูกอย่างไรขอผู้รู้แก้ความเข้าใจให้ด้วย

ขอทุกๆ ท่านเจริญรุ่งเรืองมีความสุขมีสุขภาพแข็งแรงด้วยค่ะ :b46:


อืมห์...
เราก็เคยคิดอย่างนี้ แต่เมื่อนั้น...เราก็เจอคำถามหนึ่ง...
"งั๊นให้จิตกำหนดให้หัวใจหยุดเต้น...ได้หรือไม่

อืมห์...
เราก็เลยออกไปสู่การพิจารณาในเรื่อง อิทัปปจยตา...

:b1:


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 00:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool ท่าน murano

อิ อิ ...คอเดียวกัน 555 ก่อนหน้านี้เอกอนก็ออกแนวนี้ค่ะ... อิ อิ :b4:
555 ... ขอบอกเป็นอะไรที่...เพลิน...มั๊กมั๊ก
ติดการพิจารณาในลักษณะนี้ ... เหมือนติดกัญชา ...
ความต้องการที่จะรู้มันไม่มีที่สิ้นสุด...จริง ๆ ...
...
และสภาวะการเข้าไปรู้ในเรื่อง...พวกนี้...
ก็เป็นอะไรที่... :b13: :b22:
ชนิดที่ว่า อยากจะ ถอนตัว แต่ก็ถอนตัวไม่ขึ้นเลยล่ะ...
...
แต่บังเอิญที่ดันไปเจอตอนช่วงงานยุ่งมาคั่น... 555
จึงได้...ซา ๆ...ไปได้... หูยยยย์... ยิ่งค้นก็ยิ่งมีให้ค้น...

:b16:

แล้วท่านมู...ล่ะ เป็นไงบ้าง...


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 02:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
2. ในคนที่ปฎิบัติสติปัฎฐาน ๔ แยกเป็น 2 ภาวะ คือ
2.1 ในการทำงานของร่างกายปกติทุกๆ วัน สิ่งที่ควบคุมและแสดงความรู้สึกของร่างกายตลอดเวลาจะ มี 2 ส่วนควบคู่กันไปก็คือ จิต กับ สมอง โดยจิตและสมองจะทำงานพร้อมกันทันทีตั้งแต่ตื่นขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จิตจะเป็นผู้รับรู้อารมณ์ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ ส่วนสมองจะเป็นผู้คำนวณ ผู้วางแผนงาน สั่งงานร่างกายให้กระทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
ในภาวะอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์(4 เมษายน 53- 27 มิถุนายน 53) ค่อนข้างนานพอสมควรที่พอจะอธิบายความรู้สึกคือ ทุกๆ เช้าตื่นขึ้นมาทุกวันจิตจะลอยเด่นในอก กระเพื่อมไปกระเพื่อมมาตลอดเวลา ควบคู่กับการทำงานของสมองซึ่งก็ทำหน้าที่ของมันไปในร่างกายของเราตั้งแต่ทันทีที่ตื่นจนกระทั่งหลับไปก็เลิกทำงาน
ตลอดเวลาจิตมันลอยเด่นในอกทำให้รู้ว่ากายกับจิตมันแยกกันมันไม่ใช่สิ่งเดียวกันตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจิตมันจะแสดงตัวของมันอยู่ตรงหน้าอกให้รู้ เลยต้องดูจิตไปโดยอัตโนมัติตลอดทั้งวันเพราะจิตแสดงตัวให้รู้เอง รู้ว่ากิเลสใดเกิดขึ้นกับกายหรือกิเลสใดเกิดขึ้นกับจิตก็รู้ และรู้ว่ามันเกิดและดับได้อย่างไรในแต่ละวันรู้และดูมันอยู่ตลอดเวลา


วันหนึ่งๆ คุณตามดู ตามรู้กิเลส หมกมุ่นกับกิเลส ย่อมเป็นธรรมดาที่ จิตของท่านจะกระเพื่อมไปมาตลอดเวลา แม้บางคราวจะรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ นั้นก็เป็นความทุกข์อยู่ดี ตราบใดที่คุณไม่ทำเหตุอันเป็นกุศล ละวางความรู้ที่จำมาซึ่งนำมาแต่ความหลง เช่นการมีสัญญาว่ากายจิตนั้นแยกจากกันต่างทำหน้าที่กันไป

โดยธรรมชาติธรรมดาของจิต ย่อมมีที่โคจรไปคือ กาย เวทนา จิต ธรรม และการโคจรไปนั้นความคิดอันเป็นบาปอกุศล หรือบุญกุศลย่อมปรุงแต่งคุณภาพการโคจรของจิตนั้นสุดแล้วแต่ว่าจิตนั้นได้น้อมนำเอาความคิดใดเป็นอารมณ์ ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องตามดูตามรู้กิเลสทุกขณะลมหายใจ
ยิ่งไปกว่านั้น ก็ไม่จำเป็นต้องย้ำคิดย้ำจด ซึ่งพระพุทธองค์ไม่เคยสอนอะไรแบบนั้น

ทำไมไม่พยายามตามดูตามรู้กุศลทุกลมหายใจแทน ใส่ใจในกุศล ตั้งความตั้งใจในการทำความดีทุกขณะ เมื่อจิตหมกมุ่นกับกุศล มีความเพียรพยายาม ความสวัสดีย่อมเป็นอันหวังได้ ดีกว่าการทำความเพียรในการเจริญนิวรณ์เครื่องปิดกั้นปัญญา

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 02:05, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 02:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้แก่ เขียน:
เวทนาทื่เกิดขึ้นกับกายเช่น เจ็บบริเวณใดในร่างกายก็เจ็บเฉพาะบริเวณนั้น จิตมันไม่รู้สึกอะไรด้วย มันไม่เจ็บด้วยมันอยู่ของมันเฉยๆ สมองก็ไม่เจ็บสมองก็อยู่ส่วนสมอง กายจะเจ็บก็เจ็บไปคนละส่วนกัน ขนาดร่างกายปวดทุกข์หนักเบาแต่จิตมันไม่ปวดด้วยมันเฉยจนกระทั่งมันจะออกแล้ว รู้ว่าต้องไปทำภารกิจนั้นๆ ไป เป็นความรู้ผิดๆ ที่ถูกสอนมาให้รู้สึกและรับรู้อย่างนั้น

เวทนาเกิด จิตก็เป็นผู้เสวยเป็นผู้รู้ ถ้าหากสมองไม่รับรู้ความเจ็บนั้นจริงๆ ก็ลองพิจารณาดูคนเป็นอัมพฤตอัมพาตแล้วเปรียบเทียบดู กายและจิตล้วนทำงานร่วมกันไม่แยกเป็นส่วนใครส่วนมัน ร่างกายปวดหนักปวดเบา จิตนั่นแหละรู้ว่าปวดหนักปวดเบาเสวยเวทนาไปแล้วจึงสั่งให้ไปทำภาระกิจคลายทุกข์
ต้นไม้แก่ เขียน:
ตอนอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์เกิดขึ้นในช่วงนี้นั้นมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันมาก
เพราะทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าเรื่องอะไรมากระทบมันเหมือนไม่เข้ามาที่ใจหรือจิตเลย ได้ยินเสียงหรือตาเห็นคนที่มาติดต่อเราคุยกับเราเราก็แก้ปัญหาหรือคุยตอบไปโดยใจมันไม่นำมาเข้าที่ใจ ทั้งวันจะรู้สึกเช่นนั้น
อะไรๆ เกิดขึ้นก็ได้ยินหรือเห็นแต่มันไม่มาอยู่ในใจเลย มันแค่ได้ยินหรือได้เห็นเท่านั้นทุกๆ อย่างมันอยู่พ้นความสนใจของจิต จิตมันจะลอยอยู่เฉยไม่ทุกข์ไม่สุขอยู่อย่างนั้นเองนี่หรือเปล่าสักแต่ว่าเห็นหรือ
สักแต่ว่าได้ยินในบางขณะ


คุณกำลังจะบอกว่า คุณมีจิตสองส่วนไม่รู้อารมณ์ของกันและกันในขณะจิตเดียวกระนั้นหรือ ซึ่งเป็นไปไม่ได้นอกจากคุณหลงจำตามคำบอกกล่าวว่าอาการอย่างนี้เรียกว่าแยกอารมณ์ออกจากจิตได้ซึ่งเป็นความรู้ความเข้าใจอันก่อความหลงตัวเองว่า สามารถวางใจเป็นกลางต่ออารมณ์ทั้งปวงได้สำเร็จ จนนึกว่าสำเร็จกิจเช่นท่านพาหิยะ

จิตรู้ประมาณว่าเห็น จิตรู้ประมาณว่าได้ยิน ฯลฯ เพราะความรู้พร้อม มีความวางเฉย ไม่ตามติดใจ ไม่ยินดีต่ออารมณ์อันก่อให้เกิดความยินดี ไม่ตามยินร้ายต่ออารมณ์อันก่อให้เกิดความเศร้าหมอง จิตมีความรู้เต็มเปี่ยมบริบูรณ์ อะไรเข้ามากระทบก็วางได้ อย่างนี้


ต้นไม้แก่ เขียน:
2.2 ในภาวะการเดินจงกรมจนเกิดสติหรือการนั่งสมาธิ
จากประสบการณ์สมองจะดับการทำงานไปเลย คนสั่งการ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้คิด คือจิตส่วนเดียว

สภาวะนี้ เป็นไปไม่ได้

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 16:04 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2010, 23:39
โพสต์: 34


 ข้อมูลส่วนตัว


lสวัสดีค่ะ คุณออเรกอน และคุณเช่นนั้น
อีม...ก็อาจจะเป็นเช่นคุณเช่นนั้นพูดก็ได้นะเพราะการหมกมุ่นกับการปฎิบัติธรรมมากเกินไปบางครั้งก็มีอะไรเกิดขึ้นมากมายเช่นสิ่งที่ได้เขียนไปก็ได้
ขอบคุณค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 01 ส.ค. 2010, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


อืมม.... :b6: :b6: :b6:
ก็พอจะนึกภาพออกนะ ที่คุณ ต้นไม้แก่ เขียนมา แต่รู้สึกว่า จะใช้ คำ ผิดไปหน่อยนะ คือ อาจทำให้คนอ่านเข้าใจไปอีกอย่าง เช่น

อ้างคำพูด:
2.2 ในภาวะการเดินจงกรมจนเกิดสติหรือการนั่งสมาธิ
จากประสบการณ์สมองจะดับการทำงานไปเลย คนสั่งการ ผู้รู้ ผู้ดู ผู้คิด คือจิตส่วนเดียว


เราก็พอนึกออกถึงสภาวะนี้นะ จริงๆ สมองไม่ได้ดับการทำงานหรอก เพราะนั่นแปลว่า ตาย แต่จิตนั้น ลดการรับรู้จากอายตนะทั้งหลาย เป็นสภาวะฌาณในแบบหนึ่ง

ส่วนเรื่องอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์ เราก็ไม่มีความเห็นอะไรหรอกนะ นอกจากคิดว่า บางที... อาจเป็น อุเบกขาญาณ หรือเปล่า... 1 ในโพชฌงค์ 7 อันนี้ก็ไม่รู้นะ


ส่วนท่านเอรากอน ตอนนี้ข้าพเจ้าขอสนใจใบไม้นอกกำมือก่อน อิอิ :b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 01 ส.ค. 2010, 21:54, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6: กำลังสงสัยว่า เราให้ความหมายของภวังคุปัจเฉท ถูกต้องหรือเปล่า...
เท่าที่ลองค้นดูอีกที ภวังคุปัจเฉท ที่เขาให้ความหมายกัน มันก็คือ อารัมมณูปนิชฌาน นี่... คือฌาณแบบฤาษี

งั้นสิ่งที่เราคิดว่าเป็นภวังคุปัจเฉท แท้จริงแล้ว มันคืออะไร ?

หรือว่ามันคือ นิโรธสมาบัติ :b10: :b10: :b10: ว๊าว :b23: :b23: ถ้าใช่ เห็นทีเราจะต้องอัพเดทข้อความเก่าๆ กันแยะเลย แล้วถ้างั้น...

อั้วเป็นอนาคามีรึเนี่ย ฮี่ฮี่ :b13: :b13: :b13: ถึงว่าดิ รู้สึกเมพๆ ยังไงพิกล ฮิฮิ :b13: :b13: :b13:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 04 ส.ค. 2010, 19:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อสมมุติฐานใหม่ที่น่าจะถูกต้องกว่าเดิม... :b6: :b6: :b6:

สมองไม่ได้มีการสับสวิทซ์ และไม่ได้มีส่วนใดที่ทำหน้าที่เฉพาะในการขจัดประจุส่วนเกิน รวมถึงไม่ได้มีการชาร์จพลังงานในเวลานอนหลับด้วย...

สมมุติฐานนี้เริ่มต้นที่ สมอง โดยตัวมันเองคือแบตเตอรี่ที่จะส่งพลังงานให้กับอายตนะต่างๆ รวมถึงการส่งพลังงานให้กับกล้ามเนื้อต่างๆ ในการเคลื่อนไหว

ส่วนที่ถือเป็นศูนย์กลางของระบบมี 2 ส่วนคือ ระบบลิมบิก จะใช้คำว่า controller ก็ได้ และน่าจะเป็นจุดที่เชื่อมเข้ากับเจตสิก... เป็นส่วนที่ส่งคำสั่งต่างๆ ให้กับสมองส่วนอื่นๆ รวมถึงการสืบค้นและบันทึกความทรงจำด้วย
อีกส่วนคือสมองส่วนท้าย ซีรีเบลลัม เป็นระบบค้ำจุนร่างกายขั้นพื้นฐาน คล้ายกับรอบเดินเบาของเครื่องยนต์
2 ระบบนี้ น่าจะใช้พลังงานจากส่วนอื่น ทายว่า เป็นส่วนก้านสมอง... :b6: :b6: :b6:

การชาร์จพลังงานเข้าสู่สมอง เกิดขึ้นตลอดเวลาจากกล้ามเนื้อในขณะพัก ผ่านทางเส้นประสาทต่างๆ รวมถึงประจุต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทสัมผัสด้วย

พลังงานทั้งหลายจะไหลเข้าสู่สมองอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดก็จะเกิดการ Over charge คือมีประจุมากเกินไป...
ผลของประจุที่มากเกินไป (ซึ่งเดาว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับความต้านทาน ความต่างศักย์ของตัวเซล) ทำให้เซลสมองทั้งหมด ด้อยประสิทธิภาพลง และนั่นคือ ความง่วง ซึ่งจริงๆ แล้ว ความง่วงนั้น ไม่มี... แต่มันเป็นอาการผสมของความด้อยประสิทธิภาพของสมองส่วนต่างๆ (ยกเว้น ซีรีเบลลัม)

การนอนหลับโดยปกติ น่าจะเป็นหน้าที่ของซีรีเบลลัม ที่จะ ลด การส่งพลังงานให้กับระบบลิมบิก จนไม่อยู่ในระดับที่จะสั่งการไปยังสมองส่วนอื่นได้ แต่ยังมีพลังงานเพียงพอที่จะทำหน้าที่พื้นฐานอื่นๆ

แต่สมองเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายประสาท เมื่อซีรีเบลลัมลดการส่งพลังงานลง ประจุส่วนเกินทั้งหลายก็จะไหลเข้ามาแทนในระบบลิมบิก และเมื่อมีพลังงานมากจนถึงระดับหนึ่ง ก็เพียงพอที่จิตจะใช้งาน จนเกิดเป็น ความฝัน

การสั่งการของระบบที่กลับมาใช้ได้บ้าง ย่อมรวมไปถึงการเคลื่อนไหวด้วย แต่ที่เราไม่เคลื่อนไหวในขณะหลับ ก็เป็นไปได้ว่า การเคลื่อนไหวต่างๆ นั้น ต้องสืบค้นจากสคริปต์ที่บันทึกอยู่ในซีรีเบลลัม ซึ่งลดการติดต่อกับระบบไปแล้ว
นี่อาจเป็นเหตุผลว่า เหตุใดสมองส่วนนี้ จึงแยกออกจากสมองส่วนใหญ่

ตามสมมุติฐานนี้ จึงบอกได้ว่า... ระบบค้ำจุนร่างกายพื้นฐานของคนเรานั้น อยู่ในระดับที่เรียกว่า โคม่า และสมองส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ซีรีเบลลัม ซึ่งเป็นตัวควบคุมการจ่ายพลังงานให้กับระบบลิมบิก ให้เรามานั่งจิ้มแป้นกันอยู่ตอนนี้ :b6: :b6: :b6:


เพิ่มเติม: บางทีเราอาจหาจุดที่เจตสิกเชื่อมกับสมองได้ โดยดูจากพลังงานที่ส่งมาที่ระบบลิมบิก มันน่าจะมีจุดหนึ่งที่มีพลังงานที่สูงที่สุด คำว่าพลังงานขั้นต่ำในภพมนุษย์อาจหมายถึงพลังงานระดับนี้ก็ได้ คือ เป็นพลังงานในระดับที่เจตสิกสามารถเชื่อมต่อกับระบบลิมบิกได้อย่างสมบูรณ์

การตื่นจากหลับ ก็คือพลังงานถูกส่งมาที่จุดๆ นี้ สังเกตดีๆ ความง่วงไม่ได้ทำให้ การรู้ตนของจิต พร่องไป (ไม่อยากใช้คำว่า สติ เดี๋ยวจะงงไปกันใหญ่) แต่เกิดจากการการรับรู้ และอายตนะทั้งหลายที่ด้อยประสิทธิภาพลง คือระบบทั้งหมดรวน...

ความง่วงมีหลายแบบ
- ง่วงที่เกิดจากการ over charge เป็นความง่วงก่อนนอน รวมถึงเวลาหลังกินข้าว (สัก 30 นาที) ออกจะทึบตื๊อ หนักๆ
- ง่วงที่เกิดจากการใช้แรงงานมาก คือสมองจ่ายพลังงานจนเหลือน้อย ความง่วงแบบนี้จะแตกต่างออกไป...
เมื่อพลังงานส่วนใหญ่ไหลเข้าสมองผ่านทางก้านสมอง หากสมองส่วนอื่นดึงพลังงานไปใช้มาก มันย่อมกระทบต่อพลังงานที่จะส่งเข้าไปในระบบลิมบิกด้วย
- หรือง่วงที่เกิดจากความเคยชิน เข้าใจว่า เป็นการลดการส่งพลังงานโดยตรง

กรรมฐาน....
กรรมฐานระดับฌาณ (ฌาณแบบฤาษี) จะทดแทนการนอนได้บ้าง เพราะการรับรู้ของอายตนะทั้งหลาย รวมถึงความคิดต่างๆ ลดลง (คล้ายกับการนอน) เมื่อระบบดึงพลังงานมาใช้น้อยลง พลังงานที่เป็นส่วนเกินจากสมองใหญ่ก็จะไหลเข้ามาแทน
ตามสมมุติฐานนี้ ระบบลิมบิกจะมีการใช้พลังงานที่สูงกว่าระบบอื่นๆ (เพราะเป็นส่วน controller) ซึ่งแม้จะทดแทนโดยพลังงานส่วนเกินจากที่อื่นๆ มันก็ไม่ได้มีมากถึงกับจะทดแทนได้ทั้งหมด

ในผู้ฝึกใหม่ การนิ่งแบบนี้อาจทำให้ตกภวังค์ (คล้ายหลับ - ภวังค์จลนะ) และก่อให้เกิดความฝัน ซึ่งก็คือนิมิตทั้งหลาย
ในแง่นี้ กรรมฐานก็คือการพักผ่อนในแบบหนึ่ง ที่คล้ายกับการนอน แต่ไม่ใช่ เพราะเจตสิกยังเชื่อมกับสมองอย่างสมบูรณ์...


:b6: :b6: :b6:
บางที... คีย์เวิร์ดของความแก่ชราอันหนึ่ง (จากหลายอัน) น่าจะอยู่ที่ประสิทธิภาพของสมอง รวมถึงระบบประสาทต่างๆ หากเส้นประสาทไม่สามารถถ่ายพลังงานออกจากเซลต่างๆ ได้ดีพอ พลังงาน (ประจุ) ที่สะสมอยู่อาจทำให้เซลต่างๆ เริ่มเสื่อม และ...

สิ่งที่เรียกว่า พลังจิต อาจเป็นพลังงานที่มีประจุตรงข้ามกันกับพลังงานที่พบโดยทั่วไป การเข้าฌาณระดับสูง เช่น ในระดับฌาณ 4 ภวังคุปัจเฉท หรือนิโรธสมาบัติ จึงสามารถทดแทนการนอนได้มาก เพราะพลังจิตที่เกิดขึ้น จะหักล้างพลังงานส่วนเกินที่มีอยู่... นั่นก็หมายความได้อีกว่า การส่งพลังจิตให้ใคร ย่อมก่อให้เกิดผลดีในระดับหนึ่งด้วย

แต่การนอนหลับ มีจุดมุ่งหมายอื่น เช่น การซ่อมแซมร่างกายด้วย การจะใช้ฌาณสมาบัติทดแทนการนอนหลับไปเลย แม้จะมีสติครบถ้วน แต่ร่างกายก็อาจทรุดโทรมอย่างรวดเร็ว



ปล:
1. สัตว์ต่างๆ อายุสั้น เพราะโดยทั่วไปมันจะไม่หลับจริงๆ นั่นทำให้มีประจุอยู่ในระดับ over ตลอดเวลา และอาจส่งผลให้เซลสมอง เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
2. ความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ แท้จริงแล้ว เกิดจากพลังงานสะสมมากเกินไป จนเกิดขีดที่เซลจะรับได้หรือเปล่า
3. จบการอัพเดทล่ะ

บางทีอาจจะต้องกลับไปอัพเดทข้อความเก่าๆ อีกที... :b6: :b6: :b6:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 19:44, แก้ไขแล้ว 8 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 10 ส.ค. 2010, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ลบโพสต์เก่าๆ แนวคิดที่ใช้ไม่ได้ไปบางอัน... :b6: :b6: :b6:
เพิ่งรู้นะเนี่ย ว่าข้อความที่เราเขียน มันต่อเนื่องจนแก้ไขได้ยาก...

เดี๋ยวอาจจะเขียนใหม่ เรื่องรายละเอียดของสมาธิ... รออารมณ์ดีๆ อิอิ :b9: :b9: :b9:


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 10 ส.ค. 2010, 20:27, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 206 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 ... 14  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร