วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ได้ทุกอย่างค่ะคุณเต้ จะนับประคำก็ได้ หรือจะใช้เป็นองค์บริกรรมภาวนาก็ได้ค่ะ
การนั่งสมาธิ ใครๆก็นั่งได้ค่ะ ไม่ว่าจะมีอาจารย์หรือไม่มีก็ตาม
แต่การที่มีผู้รู้ในเรื่องการปรับอินทรีย์ ตรงนี้สำคัญมากกว่าค่ะ
เพราะเวลาสมาธินำหน้าสติ มันจะก่อให้เกิดปัญหาเนืองๆกับผู้ปฏิบัติ



คุณน้ำค่ะ คุณน้ำช่วยอธิบายข้อความนี้ ให้กว้างอีกได้หรือปล่าวค่ะ
ปัญหาที่คุณน้ำพูดถึง เป็นปัญหาแบบไหนค่ะ
คุณน้ำช่วยเล่า ประสพการณ์ของคุณน้ำ ให้เราฟังบ้างสิค่ะ
ทำไมบางคน ถึงพูดว่า
ไปรู้ไปเห็นอะไรมา แล้วพูดไม่ได้
ถ้าพูดแล้วเป็นยังไงเหรอค่ะ

คุณน้ำค่ะ พอหลังจากที่เราได้คุยกับคุณน้ำ
เรื่องสวดคาถาแล้ว พอตอนนี้ เวลาที่เราหลับ
เราจะฝันว่า มีใครก็ไม่ทราบน่ะค่ ะมาพูดเรื่องธรรมะ
แล้วก็สอนเรื่องธรรมะ บางครั้งก็มีหนังสือธรรมะมาให้อ่าน
แล้วก็จะอธิบายให้เราฟัง

บางครั้ง ท่านก็จะพูดถึง เรื่องที่เราคุยเรื่องธรรมะในเว็บนี้ล่ะค่ะ
บางครั้งท่านพูดออกมา เราก็งง เราคุยกันในเว็บท่านรู้ด้วย

คือเราจะได้ยินแต่เสียง แต่ไม่เคยเห็นตัวของท่านค่ะ แต่เวลาที่ท่านสอน
หรือพูดให้เราฟัง ท่านจะบอกว่า แล้วนำไปเล่า
ไปบอกพวกเค้าซะ

เราก็คิดในใจว่า เราจะไปบอกใครน่ะ เพราะในเว็บ
ก็มีแต่คนที่เก่งๆกว่าเราทั้งนั้นเลย แล้วเราจะไปสอนใครอ่ะ
ท่านก็เหมือนรู้ว่า เราิคิดอะไรน่ะค่ะ
ท่านก็พูดว่า แต่บางอย่างพวกเค้าก็ยังไม่รู้
เราฝันแบบนี้ เกือบจะทุกคืนค่ะ
ฝันจนสว่าง คุณน้ำพอจะอธิบายอะไร
ให้เราฟังบ้างได้ืหรือปล่าวค่ะ

อ้อ! มีอยู่ครั้งหนึ่งพูดถึงคุณน้ำให้เราฟังด้วยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 01:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ปัญหาในด้านการปฏิบัติคือเกิดการยึดติด สุดท้ายเลยติดนิมิตแต่ไม่รู้ว่าติดนิมิตค่ะ
อีกอย่าง อะไรที่คุณเต้ทำแล้วสบายใจทำไปเลยค่ะ เพราะตัวคุณเต้เอง ตั้งแต่น้ำได้สนทนามา
คุณไม่เคยไปสร้างความเบียดเบียนใครๆ ไม่ว่าจะด้าน กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ส่วนการโพส เมื่อโพสไปแล้ว ใครจะคิดอย่างไร นั่นเรื่องของคนอื่นเขา
นั่นคือเหตุของเขา ผลเขารับเอง อย่าได้ไปใส่ใจเลยค่ะ

เหตุของแต่ละคนสร้างมาแตกต่างกันไป
ความศรัทธาของแต่ละคนหรือแนวทางของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไป
ไม่มีอะไรถูกหรือผิดหรอกค่ะ ถูกหรือผิดเป็นเพียงแค่ความคิดที่เกิดจากอุปทาน
ที่เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นของแต่ละคนเท่านั้นเอง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเต้ cool
พอดีเพิ่งนึกขึ้นได้ เรื่องที่คุณเต้นำมาเล่าให้ฟัง
จะคล้ายๆเรื่องของคุณสุเทพและคุณหยางเซิง
ซึ่งทพ.บัญชา ศิริไกร ท่านเป็นผู้นำมาเผยแผ่เรื่องราวอีกที

ทพ.บัญชา ศิริไกร อายุมากแล้วนะคะ ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า
เคยได้ติดต่อไปที่คลีนิคของท่าน ตั้งแต่สมัยที่ไปช่วยรับธรรมะ เพื่อต่ออายุให้คุณแม่ของคุณยุพิน
ลองเข้าไปอ่านตามลิงค์ดูนะคะ



http://www.buddhapoem.com/index.php?lay ... 61&Ntype=5

http://writer.dek-d.com/Writer/story/view.php?id=380427

คุณเต้ไม่เห็นเล่าให้ฟังเลย ท่านในฝันมาพูดเรื่องอะไรบ้าง
แถมมีเรื่องของน้ำด้วย ท่านพูดว่ายังไงหรือคะ

ส่วนตัวน้ำน่ะ เรื่องประหลาดๆเกี่ยวกับนิมิตน่ะมีเยอะค่ะ
เพียงแต่ไม่ใช่มีธรรมะมาแสดงแบบคุณเต้
บางทีจะเป็นแบบมาบอกเหตุล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดน่ะค่ะ
บางทีก็เป็นเรื่องในปัจจุบันบ้าง เรื่องในชาติก่อนๆบ้าง
สิ่งเหล่านี้เจอมาตั้งแต่เด็ก ก็เลยทำให้ไม่ไปยึดติดในนิมิต
ก็เลยไม่มีผลส่งไปยังเรื่องการปฏิบัติ
และนิมิตของน้ำ ส่วนมากจะเป็นความจริงค่ะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 01 ก.ค. 2010, 19:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนแรกที่ไม่เล่าให้คุณน้ำฟัง
เพราะกลัวว่าคุณน้ำจะไม่อยากให้เราเล่า :b1:

คือวันที่ เราคุยกับคุณน้ำ เราถามว่า
บทสวดมนต์นี้ เราจะสวดได้หรือปล่าว เพราะเราไม่มีอาจารย์

พอตอนกลางคืน เราก็ฝันว่า เราเดินไปที่ไหนก็ไม่รู้
เราเห็นพระยืนอยู่ที่ข้างทาง ด้านหลังเป็นแม่น้ำ
เราก็ไม่ได้คิดอะไร คือใจเราก็คิดว่าจะเดินผ่าน

ทีนี้เราได้ยินเสียงคนพูดกับเรา พูดดังค่ะ แต่น้ำเสียงจะนุ่มๆน่ะ
พูดว่า "พระองค์นี้ เวลาที่ท่านสวดมนต์ เสียงของท่าน
จะเพราะมากๆ เสียงที่สวดออกมา ไม่ต้องมีเครื่องดนตรี
แต่เวลาที่ท่านสวด จะเหมือนมีเสียงดนตรีออกมาด้วย"

พอเราได้ยิน เราก็นั่งคุกเข่าพนมมือที่เบื้องหน้าท่าน
ท่านก็พูดว่า "ศึกษาธรรมะต่อไป ถ้าไม่เข้าใจ ก็ถามพวกเค้า
แล้วพวกเค้าจะให้คำตอบกับเธอ

เธอรู้มั๊ย! คุณน้ำน่ะ เค้ามีความตั้งใจศึกษา-ปฎิบัติธรรมะ
เค้ามีความตั้งใจสูง ต่อไปเค้าจะสำเร็จถึงขั้นอะ....(เราก็พูดไม่ถูกค่ะ
เพราะพอถึงตรงนี้ ท่านพูดภาษาธรรมะเราฟังไม่เข้าใจค่ะ)
แล้วท่านก็พูดว่า ส่วนเธอ ใจของเธอมีเมตตา
พวกเธอทุกคน มีจิตที่ผูกพันธ์กันมา ถ้าเธอไม่เข้าใจ ก็ถามพวกเค้า

แล้วก็ให้เราเห็นอดีตชาติ ของเรากับคุณน้ำ แล้วท่านก็พูดเรื่อง
ที่หลายๆท่าน คุยกันในเว็บนี้ นี่เป็นเรื่องคืนวันแรกที่เราฝันค่ะ

แล้ววันหลัง เราจะเล่าเรื่อง ที่เราคุยกับคุณกรัชกาย
ในกะทู้แดนสุขาวดีให้ฟังน่ะค่ะ ทุกวันนี้ เราไม่กล้าคิดอะไรที่ไม่ดีเลยค่ะ
เพราะสิ่งศักด์สิทธิ์ท่านรู้ทั้งหมด

ส่วนเรื่องภพชาติของคนเรานั้น จริงอย่างที่คุณน้ำพูด
คนเราเกิดมาหลายภพหลายชาติ เพราะฉนั้น การที่หลายๆท่าน
ได้มาคุยเรื่องธรรมะด้วยกัน ฟังบทสวดธรรมะด้วยกันนั้น
ไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่เป็นจิตที่ผูกพันธ์กันมา
ซึ่งไม่ใช่แค่ภพเดียวชาติเดียว
(ถ้าจะให้ดี คุณน้ำหรือใครก็ได้น่ะค่ะ ช่วยอธิบายต่อก็ดีน่ะค่ะ
พอถึงตรงนี้แล้วเราพูดไม่ถูก)

แต่ที่แน่ๆคือ เราเชื่อเรื่องภพชาติแล้วค่ะ แต่ก่อนเราก็คิดว่า
"ทำไม!คุณน้ำ ถึงชอบพูดคำว่าหลายภพหลายชาติน่ะ"
แต่ตอนนี้เราคงต้องขอใช้คำนี้ด้วยค่ะ :b41: :b55: :b45:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



ทุกอย่างมีเหตุมาก่อนค่ะ เหตุคือ สิ่งที่เราเคยกระทำร่วมกันไว้
ผลก็เลยได้มาสนทนากัน ส่วนจะเชื่อกันหรือไม่นั้น นั่นก็อีกเหตุหนึ่ง

เหมือนที่น้ำจะพูดเรื่องสภาวะ สภาวะคือ สิ่งที่เกิดขึ้น
สิ่งที่เกิดขึ้นตัวนี้แหละ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีผลกระทบต่อจิตของคนๆนั้น
ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม ล้วนเกิดจากเหตุที่เคยทำมาร่วมกัน

แล้วสภาวะที่เกิดขึ้นตัวนี้ ก็สามารถเป็นเหตุให้ก่อภพชาติใหม่ขึ้นได้ด้วยค่ะ
จากอุปทานของคนที่ถูกกระทบที่เคยมีเหตุมาร่วมกันนั่นเอง
และก็สามารถทำให้ก่อภพชาติได้น้อยลงไปด้วย เพราะถ้าเข้าใจเรื่องของสภาวะ

ส่วนสภาวะเมื่อเกิดขึ้นมาแล้ว หรือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับตัวเราเอง ณ ขณะนั้นๆ
ไม่มีผลใดๆทำให้จิตเรากระเพื่อม ไม่ว่าจะไปทางดีหรือไม่ดี นั่นคือ คนๆนั้นหรือสิ่งๆนั้น
เขาไม่เคยสร้างเหตุร่วมมากับเรา

ถ้าเราเข้าใจเเร่องของสภาวะว่าสภาวะที่แท้จริงคืออะไร
เราย่อมเข้าใจถึงเหตุและผล

เมื่อเข้าใจถึงเหตุและผล เราย่อมไม่คิดจะสร้างเหตุใหม่ที่ก่อให้เกิดภพชาติอีกต่อไป
เพียงแต่ว่า เราอาจจะเลือกสร้างเหตุที่ดี ที่เราคิดว่าดีไปก่อน
ส่วนเหตุที่เราคิดว่ามันไม่ดี เราจะไม่สร้างขึ้นมาอีก
เหมือนกับเรื่องความคิดที่คุณเต้พูดมาน่ะค่ะ

เรื่องสภาวะหรือเรื่องเหตุและผลนี่ เป็นเรื่องละเอียด มันต้องไล่ไปทีละขั้น
เพราะมันเป็นเรื่องของกิเลสด้วย กิเลสภายนอก และกิเลสภายใน
สิ่งเหล่านี้ เป็นผลจากการเจริญสติทั้งนั้นแหละค่ะ ถึงได้มารู้แบบนี้ได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เมื่อเข้าใจถึงเหตุและผล เราย่อมไม่คิดจะสร้างเหตุใหม่ที่ก่อให้เกิดภพชาติอีกต่อไป
เพียงแต่ว่า เราอาจจะเลือกสร้างเหตุที่ดี ที่เราคิดว่าดีไปก่อน
ส่วนเหตุที่เราคิดว่ามันไม่ดี เราจะไม่สร้างขึ้นมาอีก


ตรงนี้ คุณน้ำพูดเหมือนกับที่ท่านสอน
แล้วก็พูดให้เราฟังเลยค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว



อย่าลืมเดินก่อนนั่งนะคะ ทำให้ได้ทุกวัน
หากคุณเต้เกิดมาเพื่อสิ่งๆนี้ แล้วคุณเต้จะได้รับการสื่อสารอย่างต่อเนื่องค่ะ
หากวันใดสิ่งที่คุณเต้ เห็นว่า สิ่งที่เคยเจอนั้นหายไป อย่าแปลกใจนะคะ
เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะสิ่งที่คุณเต้เจอมานั้น น้ำเจอมาแล้วทั้งนั้น
ถึงบอกว่า คุณเต้คุยกับน้ำได้ ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะว่าอะไร :b12:

คุณเต้ามาเจอสิ่งเหล่านี้ตอนโตแล้ว เลยดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ ดูไม่ปกติ
แต่น้ำน่ะเจอกับสิ่งเหล่านี้มาตั้งแต่เด็กๆ ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่ค่อยพูดให้ใครๆฟัง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัปปายะ ๗

๑. อาวาส-ที่อยู่

เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตหมายเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงด้วยสติ ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น
จิตก็เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น ในวัดใดที่มีอยู่หลายแห่งด้วยกัน
ในวัดเช่นนั้น โยคีบุคคลพึงอาศัยทดลองดู แห่งละ ๓ วัน ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้
ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุได้ที่อยู่เป็นที่สบาย

๒. โคจรคาม-หมูบ้าน บิณฑบาต

มีภักษาหารบริบูรณ์ หาได้สะดวก

๓. ภัสสะ-คำพูด

ถ้อยคำที่นับเนื่องในติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ มีการพูดเรื่องพระราชาเป็นต้น
ชื่อว่าเป็นถ้อยคำที่ไม่เป็นที่สบาย เพราะถ้อยคำนั้นย่อมเป็นไปเพื่ออันตธานเสียแห่งนิมิตโยคีนั้น

ถ้อยคำที่อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ มีพูดถึงเรื่องความมักน้อยเป็นต้น ชื่อว่าถ้อยคำที่สบาย
แม้ถึงเป็นถ้อยคำที่สบายเช่นนั้น ก็พึงพูดแต่พอควร

๑. อปฺปิจฺฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย
๒. สนฺตุฏฐิิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษ
๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัด
๔. อสํสคิคกถา ถ้อยคำชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่
๕. วิรยารมฺภกถา ถ้อยคำชักนำให้ปรารภความเพียร
๖. สีลกถา ถ้อยคำชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล
๗. สมาธิกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจให้สงบ
๘. ปญฺญากถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดปัญญา
๙. วิมุติติกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส
๑๐. วิมุตติญาณทสฺสนกถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดความรู้ความเห็น ในการพ้นจากกิเลส.


http://www.samyaek.com/pratripidok/inde ... opic=361.0

แลติรัจฉานกถานั้นมี ๓๒ ประการ
ราชกถา คือกล่าวถึงพระยามหากษัตริย์ว่ามีอานุภาพมากดังนี้ ๆ รูปโฉมงดงามดังนี้ ๆ
รู้ศีลปศาสตร์วิเศษดังนี้ ๆ กล้าหาญในการศึกสงครามดังนี้ ๆ

กล่าวเนื่องโดยโลกีย์เนื่องด้วยฆราวาสอย่างนี้ เป็นติรัจฉานกถาเป็นปฐม
โจรกถากล่าวถึงโจรว่า โจรนั้น ๆ รูปร่างสูงต่ำดำขาวพีผอมอย่างนั้น ๆ ร้ายกาจกล้าหาญ
กระทำโจรกรรมสิ่งนั้น ๆ ได้ทรัพย์สิ่งของนั้น ๆ มาอันนี้เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒

มหามตฺตกถา กล่าวถึงมหาอำมาตย์ว่าผู้นั้นสูงยศสูงศักดิ์ดังนี้ ๆ พระบรมมหากษัตริย์โปรดปรานี
ดังนี้ บริบูรณ์ด้วยบุตรภรรยาดังนี้ ๆ จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๓

เสนากถา กล่าวถึงเสนาว่ายกทัพไปเป็นกระบวนศึก เสนาช้างตกแต่งอย่างนั้น
เสนาม้าประดับประดาอย่างนั้น เสนารถแต่งดังนี้ เสนาบทจรถือสาตราวุธธนูหน้าไม้ปืนใหญ่ปืนน้อย
ดังนี้ ๆ จัดเป็นติรัจฉานดถาคำรบ ๔
ภยกถา กล่าวถึงภัยอันตราย เป็นต้นว่าช้างร้ายที่นั้น ๆ มันแทงมันไล่ย่ำไล่เหยียบดังนั้น ๆ
เสือร้ายป่านั้น มันด้อมมันมองคอยจับคอยฟัดหยิกข่วนคาบคั้นดังนั้น ๆ
จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ๕

ยุทฺธกถา กล่าวถึงการสงครามนั้น ๆ เกิดฆ่าเกิดฟันเกิดรบเกิดตีกันดังนี้ ๆ
จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๖

อนฺนกถา กล่าวถึงข่าวว่าที่นั้นงามที่นั้นไม่งาม ที่โน้นเขากระทำได้มาก ที่นี้เขากระทำได้น้อย
ไร่โน้นข้าวขาวไร่นี้ข้าวจ้าวไร่นั้นข้าวเหนียว ข้าวพรรณนั้น ๆ ฉันมีรส ข้าวพรรณนี้ ๆ
ฉันไม่มีรส กล่าวถึงข้าวเป็นอาทิดังนี้ จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๗

ปานกถา กล่าวถึงน้ำว่าน้ำที่นั้น ๆ ขุ่นเป็นเปือกตมเป็นน้ำใบไม้น้ำแร่น้ำพลวง น้ำที่นั้น ๆ เป็นน้ำใส่
น้ำน่าอาบน่ากิน กล่าวถึงน้ำเป็นอาทิ ฉะนี้ จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๘

วตฺถกถา กล่าวถึงนุ่งผ้านุ่งผ้าห่มโขมพัสตร์ กัปปาสิกพัสตร์ โกสัยพัสตร์ กัมพลพัสตร์ สาณพัสตร์
จัดเป็นติรัจฉานคำรบ ๙

สยนกถา กล่าวถึงที่หลับที่นอน เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๐

มาลากถา กล่าวถึงดอกไม้สรรพต่าง ๆ ในน้ำแลบกเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๑

คนฺธกถา กล่าวถึงเครื่องหอมเครื่องลูบไล้ชโลมทาแต่บรรดาสุคันธชาติสรรพทั้งปวงนั้น
เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๒

ญาตกถา กล่าวถึงญาติแห่งตนว่ากอปรไปด้วยสุรภาพแกล้วกล้าสามารถดังนั้น
เคยขี่ยวดยานคานหามพากันเที่ยวเป็นดังนี้ ๆ เป็นอาทิจัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๓

ยานกถา กล่าวถึงยวดยานคานหามช้าง ม้ารถเกวียนมีประเภทต่าง ๆ  นั้น
เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๔

คามกถา กล่าวถึงบ้านว่าบ้านตำบลนั้นตั้งอยู่เป็นอันดี บ้านนั้นตั้งมิดี บ้านโน้นข้าวแพง
บ้านนั้นข้าวถูกชาวบ้านนั้น ๆ แกล้วกล้าสามารถเป็นอาทิดังนี้ จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๕

นิคมกถา กล่าวถึงนิคมคือ กล่าวถึงบ้านใหญ่ดุจกล่าวแล้วในนามคาถานั้น
เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๖

นครกถา กล่าวถึงชนบทดุจกล่าวมาแล้ว จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๗

นครกถา กล่าวถึงเมืองนั้นตั้งชอบกล เมืองนั้นตั้งไม่ชอบกล เมืองนั้นข้าวแพง เมืองนั้นข้าวถูก
คนในเมืองนั้นกล้าหาญ คนในเมืองนั้นมิได้กล้าหาญ กล่าวเป็นอาทิ ฉะนี้ เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๘

อิตฺถิกถา กล่าวถึงหญิงเป็นต้นว่ารูปงามโฉมงามน่ารักน่าใคร่ดังนี้ ๆ เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๑๙

สุรกถา กล่าวถึงคนกล้า กล้าช้างกล้าเสือกกล้าศึกสงครามเป็นอาทินั้น เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๐

วิสิขากถา กล่าวถึงตรอกน้อยตรอกใหญ่ถนนหนทาง เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๑

กุมฺภทาสิกถา กล่าวถึงกุมภทาสี่ที่ตักน้ำ ว่ารูปงามฉลาดขับร้องเป็นอาทิ เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๒

ปุพฺพเปตกถา กล่าวถึงญาติที่ล่วงไปแล้วแต่ก่อน ๆ นั้น เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๓

นานตฺตกถา กล่าวต่าง ๆ แต่บรรดาที่หาประโยชน์บ่มิได้นั้น เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๔

โลกกฺขายกถา กล่าวถึงลัทธิโกหก อันพาลในโลกเจรจากันว่า แผ่นดินแผ่นฟ้านี้
ท้าวมหาพรหมตกแต่ง คำที่ว่ากาเผือกนั้นบ่มิได้ผิด เพราะเหตุที่ว่ากระดูกมันขาว
คำที่ว่านกยางแดงนั้นบ่มิได้ผิด เหตุว่าเลือดมันแดง กล่าวถึงลัทธิโกหกอันพาลในโลก
เจรจากันเป็นอาทิฉะนี้ จัดเป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๕

สมฺทฺทกขายิกา กล่าวถึงมหาสมุทรว่ามหาสมุทรนี้ได้ชื่อว่าสาคร เหตุว่าพระราชบุตร
แห่งพระยาสาครจัดแจงให้ขุด ให้ชื่อว่าสมุทร ๆ นั้นเพราะว่าพระยากำพระหัตถ์เข้า
ให้ชนทั้งหลายรู้ว่าทะเลนี้พระยาให้ขุด กล่าวถึงสมุทรเป็นอาทิฉะนี้ เป็นติรัจฉานกถาคำรบ ๒๖

อิติภวาภวกถา กล่าวถึงภวะแลอภวะมี ๖ ประการ คือกล่าว สสฺตทิฏิฐิ ว่าสัตว์โลกเที่ยงอยู่ไม่แปรปรวน
คือกล่าว อุจฺเฉททิฏฐิ ว่าสัตว์โลกจุติแล้วก็สูญไป บ่มิได้ปฏิสนธิ ๑ คือกล่าวถึงเจริญสมบัติ ๑
คือกล่าวถึงเสื่อมจากสมบัติ ๑ คือกล่าวสรรเสริญสุขในเสพกาม ๑ คือกล่าวอัตตกิลมถานุโยค
ประกอบความเพียรให้ลำบากกายเป็นฝ่ายปฏิบัติแห่งเดียรถีย์ ๑ เป็น ๖ ประการด้วยกัน
ชื่อว่าอิติภาวภวกถา สิริเป็น ๓๒ ด้วยกันกับติรัจฉานกถา ๒๖ ที่กล่าวแล้วในก่อนนั้น


ติรัจฉาน ๓๒ ประการนี้รวมกันเข้าเป็น ๑ บุคคลเป็นเหตุอันมิได้เป็นที่สบายนั้นได้แก่บุคคลอันเป็นพาล
พอใจแต่ที่จะเจรจาเป็นติรัจฉานกถา มากไปด้วยการบำรุงบำเรอกาย คบหาบุคคลเห็นปานฉะนี้
มีแต่จะเศร้าจะหมอง เปรียบประดุจเอาน้ำใส่ไประคนด้วยน้ำเปือกน้ำตม อับคบบุคคลเห็นปานฉะนี้
ถึงได้ฌานสมาบัติอยู่แล้ว ฌานนั้นก็จะเสื่อมสูญ จะป่วยกล่าวไปไยถึงปฏิภาคนิมิตนั้นเล่า
จะสงสัยว่าไม่เสื่อมสูญ มีแต่จะเสื่อมจะสูญนั้นแลเป็นเบื้องหน้า

นำมาจาก http://www.larnbuddhism.com/visut/2.4.html



๔. ปุคคโล-บุคคล

บุคคลผู้ไม่ชอบพูดเรื่องติรัจฉานกถา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติมีศิลเป็นต้น
ที่โยคีบุคคลอาศัยแล้ว จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น
บุคคลเห็นปานนี้ เรียกว่า บุคคลเป็นที่สบาย

๕-๖. โภชนะ-อาหาร

อาหารที่มีรสหวาน ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน
ที่มีรสเปรี้ยว ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน

แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน
อากาศร้อนเป็นที่สบาย สำหรับบุคคลบางคน

เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคลส้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใด จึงมีความผาสุกสบาย
หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น
อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ชื่อว่าเป็นที่สบาย
อาหารและอากาศชนิดอื่น นอกจากนี้ชื่อว่าไม่เป็นที่สบาย

๗. อิริยาปโถ-อิริยาบถ

แม้ในอิริยาบถ ๔ บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย
บางคนมีอริยาบทนอน อิริยาบทยืนหรืออิริยาบทนั่ง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย
เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงทดลองอิริยาบถนั้นๆอย่างละ ๓ วัน เหมือนกับทดลองที่อยู่

ในอิริยาบถใด จิตยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้ว ย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น
พึงทราบว่าอิริยาบทนั้น ชื่อว่าเป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย
อิริยาบถอื่นๆนอกจากนี้ ไม่ใช่เป็นอิริยาบทที่สบาย

จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง


สัปปายะ ๗ นี้ ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับการปฏิบัติ ควรปฏิบัติตามกิเลสไปก่อน
แรกๆต้องทำตามความถนัด ทำตามความชอบไปก่อน จนกว่ากำลังของสติ สัมปชัญญะมากพอ
จะพลิกแพลงปรับเปลี่ยนตามสภาวะได้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ก.ค. 2010, 18:13, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ควรทำ

๑. จงอย่ากล่าวโทษผู้อื่น แต่จงหมั่นเพ่งโทษตัวเอง
เพราะหนึ่งคำพูดหรือหนึ่งการกระทำ สร้างเหตุอย่างไร ผลย่อมได้รับเช่นนั้น

๒. ธรรมะ ไม่ใช่เรื่องยากหรือง่าย
แต่ที่ว่ายากหรือง่าย ล้วนเกิดจากเหตุที่เราทำมาทั้งสิ้น

๓. หมั่นถามตัวเองว่าปฏิบัติเพื่ออะไร
คำตอบที่ได้ คือ ตัวกิเลสที่มีอยู่ในใจของเราเอง
เช่น อยากพ้นทุกข์ อยากไปนิพพาน อยากโน่นอยากนี้ ล้วนเป็นความอยากทั้งสิ้น
ยิ่งทำยิ่งได้กิเลสความอยากเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะทำด้วยความอยาก
ความอยากเป็นเหตุบดบังไม่ให้ปัญญาเกิดขึ้น

เรามาปฏิบัติเพื่อดับที่เหตุ เหตุที่เป็นเหตุให้ก่อภพก่อชาติไม่รู้จักจบสิ้น
ทำไมต้องปฏิบัติเพราะความอยาก ในเมื่อรู้อยู่แล้วว่า สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นั้น

๔. สร้างเหตุอย่างไร ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
เมื่อต้องการดับที่เหตุ เหตุคือกรรม กรรมคือการกระทำ
ให้สิ่งใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ตามเหตุที่กระทำลงไป

๕. เมื่อเกิดการกระทบ อย่าให้ค่าต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
เพราะไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ล้วนเป็นเพียงความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ
สิ่งที่มากระทบ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆที่ส่งผลให้จิตเรากระเพื่อม
ล้วนเกิดจากเหตุที่เราทำมาทั้งสิ้น

ให้ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เพราะทุกๆการกระทำต่อสภาวะที่เกิดขึ้น นั่นคือ
เรากำลังได้สร้างเหตุใหม่ให้เกิดขึ้น

๖. ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ก.ค. 2010, 19:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ค. 2010, 18:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิ

อะไรชื่อว่า สมาธิ?
สภาวะที่จิตมีอารมณ์อันเดียวฝ่ายกุศล ชื่อว่า สมาธิ

ที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะอรรถว่ากระไร?
เพราะอรรถว่า ความตั้งมั่น

ที่ว่า ความตั้งมั่นได้แก่อะไร?
ได้แก่ ความตั้งอยู่หรือความดำรงอยู่ของจิตและเจตสิกทั้งหลายในอารมณ์อันเดียวอย่างสม่ำเสมอ
และโดยถูกทางด้วย เพราะฉะนั้น จิตและเจตสิกทั้งหลายย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว
อย่างสม่ำเสมอและโดยถูกทางด้วย ไม่ฟุ้งซ่านและไม่ส่ายไปในอารมณ์อื่น
ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติใด ธรรมชาตินี้ พึงทราบว่า คือ ความตั้งมั่น

อะไรเป็นลักษณะ,เป็นรส,เป็นอการที่ปรากฏและเป็นปทัฏฐานของสมาธิ
มีวิสัชนาว่า สมาธินั้นมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ

มีการกำจัดเสียซึ่งความฟุ้งซ่านเป็นรส

มีการไม่หวั่นไหวเป็นอาการปรากฏ

มีความสุขเป็นปทัฏฐานเพราะพระบาลีรับรองว่า

สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ
จิตของบุคคลผู้มีความสุข ย่อมตั้งมั่น


( ที.สี.( ไทย ) 9/225/75 )

จากคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา
สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ อาสภมหาเถระ ) แปลและเรียบเรียง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 18 ก.ค. 2010, 19:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2010, 23:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิตามธรรมชาติ

สมาธิที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยยังไม่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเป็นหลักการ
หรือที่เรียกกันว่าเป็นกรรมฐาน ตามธรรมชาตินั้นเมื่อคนเราลงมือนึกคิด สมาธิก็เกิดขึ้น
เกิดพอสมควรที่จะให้คิดนึกได้

ถ้ามันไม่มีสมาธิเสียเลย คือ ไม่เกิดความสงบตั้งมั่นรู้อยู่กับเรื่องที่คิดนึกนั้นเพียงเรื่องเดียว
มันก็คิดนึกอะไรไม่ได้ สมาธิมันจะเกิดขึ้นมาเองพอสมสัดส่วนให้คิดได้ แล้วก็ซ่อนอยู่ในนั้น
ทำให้เราไม่สามารถมองเห็นมันได้

เมื่อมองไม่เห็นสภาพของจิตที่เป็นสมาธิจากการคิดนึก จึงไม่เกิดการรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึก
ในขณะที่จิตเป็นสมาธิ ความเข้าใจในอารมณ์ที่เป็นสมาธิอยู่ในขณะนั้นก็ไม่เกิด จึงเป็นเหตุให้
ไม่สามารถรู้และเข้าใจสภาพของจิตที่เป็นสมาธิได้

งานทุกอย่าง ทุกประการที่ทำกันอยู่ในโลก ล้วนแล้วแต่ต้องการจิตที่ปกติสมาธิทั้งนั้น
แม้อย่างคนธรรมดานี้ก็ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ตามธรรมชาติเข้ามาช่วย อันจะทำให้
การงานเหล่านั้นเป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะงานประณีต งานฝีมือ งานศิลปะที่ต้องใช้การวาดด้วยแล้ว
ต้องมีสมาธิมากจึงจะทำได้ดี ความชำนาญอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ

จะเย็บปักถักร้อยหรืออะไรก็ตาม แม้แต่แม่ครัวจะหั่นผักหั่นเนื้อ
ถ้าทำด้วยจิตที่เป็นสมาธิก็จะหั่นได้ดี เช่นหนาเท่ากันทุกแว่น เรียบร้อยสม่ำเสมอ

ถ้าแม่ครัวจิตฟุ้งซ่านจะหั่นเปะปะ หนาบ้าง บางบ้าง ดูแล้วยุ่งยากตลอดเวลา
จะลุกขึ้น จะนั่งลง จะเดินไป จะไปทำอะไร มันจะมีจิตที่เป็นสมาธิตามธรรมชาติช่วยอยู่ตลอดเวลา

เราจะทำสิ่งต่างๆได้โดยไม่ผิดพลาด เช่น ปอกผลไม้โดยที่มีดไม่บาดมือ หรือตอกตะปูโดยที่
ฆ้อนไม่ตอกถูกมือ ซึ่งเกิดจากจิตที่มีความเป็นปกติตามธรรมชาติช่วยอยู่ตลอดเวลานั่นเอง

ไม่ว่าเราจะทำการงานสิ่งใด ขอให้ทำด้วยจิตเป็นสมาธิ มันจะได้ผลดี
มิฉะนั้น จะทำไม่ได้ดี จะเกิดความผิดพลาด ชีวิตนี้จะยุ่งเหยิง

ถ้ามีความถูกต้องพอดี มันจะเรียบร้อยไปหมดทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน
ดังนั้น ความเป็นสมาธิตามธรรมชาตินี้จะขาดไม่ได้ ต้องมีตามที่ธรรมชาติต้องการ
มันจำเป็นสำหรับทุกคนที่มีชีวิตอยู่บนโลก ไม่ว่าเขาจะประกอบการงานอะไร หน้าที่อะไร
สมาธิเป็นสิ่งที่ต้องมีพอสมควรทุกกรณี

ไม่ว่าเราจะเป็นคนชนิดไหน จะทำอะไร เราจะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า สมาธิ ตามสมควรแก่กรณี
มิฉะนั้น เราจะไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยความถูกต้องหรือปกติที่เรียกว่า มีสติสมประดี
จิตใจไม่เลื่อนลอย จิตใจไม่อ่อนแอ ไม่ฟุ้งซ่าน

จากหนังสือ กาลครั้งหนึ่งเมื่อฉันหัดเดิน วัดตาลเอน อยุธยา แจกผู้ที่เข้าอบรมกรรมฐาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2010, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิภาวนา

สมาธิภาวนา คือ การทำความเจริญด้วยจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นมาด้วยการฝึกฝน
โดยการกระทำที่เรียกว่า สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อกระทำจิตให้เจริญขึ้น


สมาธิที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เท่าที่ธรรมชาติให้มานั้นมันยังไม่สมบูรณ์ เราจึงต้องมาฝึกให้สมบูรณ์
เปรียบเหมือนดั่งเมล็ดพืช ธรรมชาติให้มาแต่เมล็ดพืช จากนั้นเป็นหน้าที่ที่เราจะต้องเพาะให้มัน
เกิดเป็นต้น เป็นลำ เป็นดอก เป็นผลขึ้นมา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณน้ำเขียน
หากวันใดสิ่งที่คุณเต้ เห็นว่า สิ่งที่เคยเจอนั้นหายไป อย่าแปลกใจนะคะ
เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ เพราะสิ่งที่คุณเต้เจอมานั้น น้ำเจอมาแล้วทั้งนั้น
ถึงบอกว่า คุณเต้คุยกับน้ำได้ ไม่ต้องกังวลว่าน้ำจะว่าอะไร


ก็เหมือนอย่างที่คุณน้ำพูดน่ะค่ะ สิ่งที่เคยเจอหายไป
แต่ก็มีมาใหม่ค่ะ
ทีนีที่เจอคือเหมือนไม่ใช่ฝัน

คือเราเห็นตัวเราเอง ไปเดินในป่า แต่ไม่ใช่ป่าทึบ
คือเป็นป่าที่สงบโล่ง เราเห็นมีพระธุดงค์องค์หนึ่ง ท่านนั่งสมาธิอยู่
ทีนี้เราก็คิดว่า ถ้าจะเดินต่อหรือหันหลังกลับ ก็กลัวว่าเสียงเดินจะรบกวนท่าน
เราก็เลยนั่งสมาธิ ที่ระยะไม่ห่างแต่ก็ไม่ใกล้ซะเลย

แล้วพอเราลืมตา เราก็จะเห็นว่าตอนนี้เช้าแล้ว เรากลับบ้านล่ะ
แต่เราก็จะเห็นพระธุดงค์ ท่านยังนั่งอยู่น่ะ
จะเป็นอย่างนี้ทุกคืน ประมาณไม่เกิน1อาทิตย์ค่ะ
แต่สถานที่จะไม่เหมือนกัน บางครั้งเราลืมตาตอนเช้า
เราจะเห็น ตัวเรานั่งอยู่ที่โขดหินอยู่ก้อนหนึ่ง
พระธุดงค์ท่านก็จะนั่งอยู่ที่โขดหินอีกก้อนหนึ่ง
ตอนช่วงนั้นเราก็คิดน่ะว่า
ใช่ความฝันหรือปล่าว

ทีนี้การนั่งสมาธิของเรา เรารู้สึกว่าการนั่งสมาธิของเราเปลี่ยนไปเองค่ะ
คือทีนี้เราจะมีความรู้สึกว่า เหมือนเรารู้การรวมจิต ก่อนที่เราจะสวดพุทธ-โธ
คือเราจะมีความรู้สึกว่า เหมือนเรารวมจิตมาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก
กับคำว่าพุท-โธ :b8:


มีต่อค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ส.ค. 2010, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.พ. 2009, 22:21
โพสต์: 1975


 ข้อมูลส่วนตัว


ซึ่งดูแล้ว เหมือนไม่น่าจะมีปัญหาอะไรน่ะค่ะ เพราะนั่งแล้วจะรู้สึก
ได้ถึงการแตกต่างกับตอนก่อน

แต่ทีนี้เราสงสัยอยู่อย่างหนึ่งค่ะ คือบางครั้งที่เรานั่ง
โดยไม่ส่งจิตออกและรับอะไรเข้า
ที่รับรู้ จะมีแต่ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

ทีนี้บางครั้ง เรามีความรู้สึกว่า เหมือนมีอะไรจะเข้ามา
แต่จิตของเราต่อต้าน เหมือนลักษณะผลักไว้ อย่าเข้ามาๆ
แล้วก็เหมือนจิตจะออกไป แต่ก็จะต่อต้านคืออย่าออกๆ
โดยที่เราก็ไม่ได้ไปเกร็ง ไม่ได้ไปยึดติดอะไร
ที่รับรู้คือหายใจเข้า หายใจออก
ทำไมเราถึงเป็นแบบนี้ล่ะค่ะ บางครั้งน่ะค่ะ

ตอนนี้เรามีความรู้สึกว่า เรานั่งสมาธิได้นานขึ้น แล้วก็เหมือนสนใจปฎิบัติ
เรื่องธรรมะมากกว่าที่ผ่านๆมาค่ะ คือถ้าว่างไม่ได้ไปไหน
จะนั่งสมาธิ มีความรู้สึกว่า สนใจมากกว่าที่ผ่านๆมาน่ะค่ะไ
ม่รู้เหมือนกันน่ะค่ะว่าเพราะอะไร
คือใจเป็นไปเองค่ะ ขอบคุณค่ะ :b8: :b41: :b55: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2010, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


bbby เขียน:
ทีนี้การนั่งสมาธิของเรา เรารู้สึกว่าการนั่งสมาธิของเราเปลี่ยนไปเองค่ะ
คือทีนี้เราจะมีความรู้สึกว่า เหมือนเรารู้การรวมจิต ก่อนที่เราจะสวดพุทธ-โธ
คือเราจะมีความรู้สึกว่า เหมือนเรารวมจิตมาไว้ที่ลมหายใจเข้าออก
กับคำว่าพุท-โธ :b8:



สติ สัมปชัญญะเริ่มมีกำลังมากขึ้น ทำให้รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้นค่ะ
ส่วนเรื่องที่คุณเต้เล่าให้ฟังนั้น อีกหน่อยคุณเต้จะชิน
เพราะจะมีอะไรอีกหลายๆอย่างให้ได้รู้และได้เห็นมากขึ้นค่ะ
เพียงแต่สิ่งที่ได้รู้ ได้เห็นนั้น การเกิดจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ




bbby เขียน:

ทีนี้บางครั้ง เรามีความรู้สึกว่า เหมือนมีอะไรจะเข้ามา
แต่จิตของเราต่อต้าน เหมือนลักษณะผลักไว้ อย่าเข้ามาๆ
แล้วก็เหมือนจิตจะออกไป แต่ก็จะต่อต้านคืออย่าออกๆ โดยที่เราก็ไม่ได้ไปเกร็ง ไม่ได้ไปยึดติดอะไร
ที่รับรู้คือหายใจเข้า หายใจออก ทำไมเราถึงเป็นแบบนี้ล่ะค่ะ บางครั้งน่ะค่ะ




เป็นเรื่องของความรู้สึก ไม่มีอะไรค่ะ
ถ้าเกิดสภาวะนี้อีก ให้หายใจยาวๆ กำหนดลงไปว่า รู้หนอๆๆๆ ๓ ครั้งพอค่ะ

คุณเต้ได้เดินจงกรมก่อนที่จะนั่งหรือเปล่าค่ะ แล้วตั้วเวลาด้วยมั๊ยคะ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร