วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 21:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

การอธิฐานเข้าพรรษาเป็นกิจอย่างหนึ่งที่พระภิกษุพึงกระทำ ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ในอุโบสถขันธ์พระวินัย ในสมัยก่อนนอกพรรษา ภิกษุทั้งหลายจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อแนะนำประชาชนให้รู้จักหลักธรรมอันควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งความเป็นอยู่ของประชาชน มีความเป็นอยู่ร่วมกันด้วยความสงบ ที่เรียกว่าประกาศศาสนา เมื่อถึงฤดูฝนก็ตก ทางไม่สะดวก เพราะมีฝนตกเสมอ เป็นความลำบาก จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุจำพรรษา คืออยู่ประจำไม่จาริกไปในที่ต่าง ๆ ตลอด ๓ เดือน เพราะเหตุที่ภิกษุอยู่ประจำที่นี้ จึงเป็นโอกาสให้กิจวัตรของพระศาสนาบริบูรณ์ยิ่งขึ้น

เมื่อจวนใกล้เข้าพรรษาท่านพุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาอันแรงกล้า ก็ให้บุตรหลานของตนบรรพชาเป็นเณรบ้าง อุปสมบทเป็นพระภิกษุบ้าง เพื่อประพฤติพรหมจรรย์ และศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย เป็นการอบรมกายวาจาใจของตนให้คลายจากความคิด เสริมสร้างความดีความชอบให้เกิดในตน อันเป็นผลกุศลบุญแก่ผู้บรรพชาอุปสมบทบ้าง แก่บิดามารดาญาติพี่น้องบ้าง และเป็นผลดีแก่พระศาสนาที่ผู้ศรัทธาได้ประพฤติพรหมจรรย์สืบต่อสมณะวงศ์ไว้ เมื่อวันเช่นนี้มาถึง พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาทั้งหลาย จึงพร้อมกันบำเพ็ญกุศล มีสมาทานศีล ถวายทาน ฟังพระธรรมเทศนาตามโอกาส เพื่อบูชาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอบรมบ่มนิสัยให้เว้นจากการทำ พูด คิด ไม่ดีที่ตนเคยผิดพลาดมาแต่ก่อน ตั้งใจอธิฐานประกอบความดีตามศรัทธา บางท่านตั้งใจไม่ดื่นสุราเมรัย บางท่านตั้งใจรักษาศีลอุโบสถ บางท่านตั้งใจฟังเทศน์ ตลอดพรรษา ในเรื่องของการเข้าพรรษานั้น วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และ ปัจฉิมพรรษา

1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม (หากเป็นปีอธิกมาส ก็จะเลื่อนไปเป็น วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง) และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม

2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ หลัง หรือราวเดือนสิงหาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ราวเดือนพฤศจิกายน (ในปัจจุบันไม่มีการเข้าพรรษาแบบนี้แล้ว เพราะจะไม่ได้รับกฐิน เนื่องจากวันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสุดท้ายในการทอดกฐิน) วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน มีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” วันเข้าพรรษาตรงกับฤดูฝน จึงมีชื่อเรียกตามภาษาบาลีว่า “วัสสานะ” มีกำหนดตามฤดูฝน 4 เดือน แต่ให้อยู่ประจำอาวาสเพียง 3 เดือน พอเดือนที่ 4 กำหนดให้หาจีวรมาผลัดเปลี่ยนใหม่ เรียกว่า “เดือนจีวรกาล” และเป็นช่วงที่พุทธศาสนิกชนจะประกอบพิธีทอดกฐิน ในสมัยโบราณ พระภิกษุสงฆ์องค์ใดที่ไม่พร้อมจะอยู่พรรษาในช่วงแรก (ปุริมพรรษา) สามารถอธิษฐานเข้าพรรษาในช่วงหลัง (ปัจฉิมพรรษา) ได้

แต่ในปัจจุบัน พระภิกษุไม่นิยมการเข้าพรรษาแบบที่ว่านี้ เพราะจะไม่ได้รับกฐิน เนื่องจากต้องอธิษฐานออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดการทอดกฐินตามพุทธานุญาต อีกทั้งพระภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันมีวัดวาอารามให้อยู่จำพรรษาสะดวกกว่าในสมัยโบราณ ประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา แต่เดิมในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ ทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะศากยบุตรไม่ยอมหยุดสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่พวกพ่อค้าและนักบวชในศาสนาอื่นๆ ต่างพากันหยุดสัญจรในช่วงฤดูฝนนี้การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้พระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ประจำที่ตลอดระยะเวลา 3 เดือนแห่งฤดูฝนภิกษุสงฆ์ที่อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาสที่อยู่ของตนไม่ได้แม้แต่คืนเดียว หากไปแล้วไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนดคือก่อนรุ่งสาง ถือว่าพระภิกษุรูปนั้นขาดพรรษา

แต่หากมีกรณีจำเป็น 4 ประการต่อไปนี้ ภิกษุผู้อยู่พรรษาสามารถกระทำ สัตตาหกรณียะ คือ ไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ต้องกลับมาภายในระยะเวลา 7 วัน คือ

1. ไปรักษาพยาบาลพระภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย
2. ไประงับไม่ให้ภิกษุสึก
3. ไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น ไปหาอุปกรณ์มาซ่อมแซมวัดซึ่งชำรุดในพรรษานั้น
4. ทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศล

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ
1. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้าหรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย
2.หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8-9 เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน
3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชนเมื่อถึงวันออกพรรษา
4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

การประกอบพิธีเข้าพรรษาในปัจจุบัน การประกอบพิธีในวันสำคัญนี้ แบ่งออกเป็น 3 ประการ คือ
1. พิธีหลวง หรือ พระราชพิธี
2. พิธีราษฎร์ หรือ พิธีของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
3. พิธีสงฆ์ พระราชพิธี องค์พระประมุขแห่งชาติ ผู้ทรงอุปถัมภกพระพุทธศาสนา พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี เช่น การถวายเทียนพรรษาแก่วัดต่างๆ ถวายพุ่มเทียนแด่พระภิกษุสงฆ์ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ทรงศีล ทรงธรรม จนเป็นพระราชประเพณีมาตราบเท่าทุกวันนี้ พิธีราษฎร์ สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ก็จะทำบุญตักบาตรเป็นกรณีพิเศษ เช่น ถวายสังฆทาน ถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายดอกไม้ธูปเทียนจตุปัจจัยไทยธรรม และผู้มีศรัทธาแก่กล้าก็จะทำการเข้าพรรษาด้วย คือ การงดเว้นจากอบายมุข สิ่งเสพติด สุราเมรัย ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่างๆ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนของการเข้าพรรษา ซึ่งจะเป็นหนทางให้สามารถละเลิกได้ตลอดกาลในโอกาสข้างหน้า พิธีสงฆ์ ทุกวัดจะมีการอธิษฐานเข้าพรรษา โดยเริ่มจาก
1. พระสงฆ์มาพร้อมกันที่โบสถ์หรือสถานที่กำหนด เพื่อทำวัตรสวดมนต์ในตอนเย็น
2. แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องการเข้าพรรษา หรืออ่านประกาศเรื่องการเข้าพรรษา เพื่อ
ก. บอกให้รู้เรื่องประวัติ ความเป็นมา และเหตุผลที่ต้องมีการเข้าพรรษา
ข. บอกให้รู้ถึงภารกิจ ที่ภิกษุสงฆ์ต้องกระทำในช่วงวันเข้าพรรษา เช่น ศึกษาพระธรรมวินัย ปฏิบัติธรรม และบอกให้ทราบถึงเรื่องที่ไม่สามารถไปค้างคืนที่อื่นได้ในช่วงเข้าพรรษา ค. บอกกติกาที่ควรปฏิบัติร่วมกัน ขณะอยู่ร่วมพรรษา
3. ขอขมาโทษต่อกัน
4. ปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีของทางวัดร่วมกัน เช่น บางวัดอาจมีการสวดมนต์จนถึงรุ่งเช้า หรือกิจกรรมอื่นๆ ในวันเข้าพรรษา

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 01 ก.ค. 2010, 20:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ปุจฉา ปีนี้เข้าพรรษาและออกพรรษา
ตรงกับวันที่เท่าไหร่ค่ะ? ไม่มีปฏิทินไทย
เลยไม่ทราบแม้กระทั่งวันพระ
ในแต่ละเดือนเลยค่ะท่าน


อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 16:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7820

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


taktay เขียน:
ปุจฉา ปีนี้เข้าพรรษาและออกพรรษา
ตรงกับวันที่เท่าไหร่ค่ะ? ไม่มีปฏิทินไทย
เลยไม่ทราบแม้กระทั่งวันพระ
ในแต่ละเดือนเลยค่ะท่าน


อนุโมทนาค่ะ :b8:


:b8: กัลยาณมิตร taktay...

วันจันทร์ที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘-๘
เป็น วันอาสาฬหบูชา

วันอังคารที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘-๘
เป็น วันเข้าพรรษา

วันเสาร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๓
ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
เป็น วันออกพรรษา
(เป็น วันปิยมหาราช ด้วยจ๊ะ)

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.ค. 2009, 20:44
โพสต์: 341

ที่อยู่: ภาคตระวันออก

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ ท่านสาวิกาน้อย

อนุโมทนาด้วยความเคารพ
:b8: :b8: :b8:
เทพบุตร

.....................................................
การให้ธรรมะเป็นทานชนะการให้ท้งปวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตั้งใจจะงดเหล้าเบียร์สักสามเดือน :b25: :b22:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสำหรับ วิสัชนาค่ะท่านสาวิกาน้อย :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2010, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


กรัชกาย เขียน:
ตั้งใจจะงดเหล้าเบียร์สักสามเดือน :b25: :b22:


ขอบิณฑบาต

รัก โลภ โกรธและหลง

ด้วยจะได้ไหมค่ะ? สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

กรัชกาย เขียน:
ตั้งใจจะงดเหล้าเบียร์สักสามเดือน :b25: :b22:
smiley smiley smiley
อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร