วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 04:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/kaival/kaival1.html


ไกวัลยธรรม
คือสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง

การบรรยายธรรมประจำวันเสาร์ ภาควิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๖ จักบรรยายเรื่อง "ไกวัลยธรรม" จุดมุ่งหมาย ของการบรรยายธรรม ในวันเสาร์ เพื่อต้องการ ให้พุทธบริษัท ได้รู้ ในเรื่องที่ควรรู้ เพื่อยกฐานะ ของพุทธบริษัท ให้สูงขึ้น ทั้งที่เป็น ส่วนของการปริยัติ และการปฏิบัติ

สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และอยู่หลังสิ่งทั้งปวง ได้แก่ ธรรมชาติที่ไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง. (๑)

คำว่า "ไกวัลย์" เป็นภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลีว่า "เกวะละ" แปลว่า "สิ้นเชิง" หมายถึง "นิพพาน". (๒)

คำว่า "เกวะละ" หรือ "เกวลัง" ยังแปลได้อีก หลายความหมาย แต่โดยใจความ ระบุถึง "นิพพาน" คือ
- ความเต็มไปหมด ไม่มีที่ว่าง
- ความโดดเดี่ยวที่สุด
- ความแบ่งแยกซอยละเอียดถี่ยิบ
- ความแข็งเป็นดุ้นเป็นก้อนเดียว
- ความไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม (๓)

ไกวัลย์มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง

สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีความสิ้นสุด จึงอยู่ในฐานะที่เป็น สิ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และอยู่ภายหลังสิ่งทั้งปวง หมายความว่า สิ่งทั้งปวง มีความหมุนเวียน เปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ท่ามกลาง อาณาจักรแห่งความไม่เปลี่ยนแปลงของ "ไกวัลย์" นั้น. (๔)

มีประโยชน์อะไรหรือ ในการที่จะต้องรู้จัก "ไกวัลย์"

คำตอบ - เพราะ ไกวัลย์ เป็นสิ่งตรงข้ามกับ สังขารทั้งปวง ในเมื่อสังขารทั้งปวง เป็นที่ตั้ง ของความทุกข์ ครั้นนำความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง ออกไปเสีย ก็จะพบความสุข ในที่เดียวกันอยู่ตรงนั้น ในทำนองเดียวกัน เอาความร้อนออก พบความเย็น เอาความไม่เที่ยงออก พบความเที่ยง ดังนี้เป็นต้น รวมความว่า เมื่อเอาสิ่งทั้งปวง ออกไปให้หมด ก็จะพบความว่าง คือ "ไกวัลยธรรม" (๕)

โดยที่แท้แล้ว ไกวัลยธรรม ก็คือสิ่งเดียวกันกับ สิ่งที่เรียกว่า อสังขตะ หรือ นิพพาน หรือ สุญญตา นั่นเอง ฉะนั้น การรู้เรื่องนี้ การปฏิบัติเรื่องนี้ การเข้าถึงเรื่องนี้ ย่อมทำให้ความเป็นพุทธบริษัท สมบูรณ์ขึ้น (๖)

คำว่า "พุทธะ" แปลว่า "ผู้ตื่น" หมายถึง การตื่นขึ้นใน "ไกวัลยธรรม" อันเป็นการเข้ารวม เป็นอันเดียวกับกาลเวลา อย่างเต็มพื้นที่ เพราะ "ไกวัลย์" เป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ตลอดเวลา และมีอยู่ตลอดพื้นที่ "สิ่งทั้งปวง" ที่ปรากฏขึ้นในไกวัลย์ เป็นเพียงสัตว์น้ำ ที่โผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ แห่งมหาสมุทร แล้วก็จมหายไป หมายความว่า สิ่งใดที่เกิดมาทีหลัง ในไกวัลย์ ย่อมดับหายไป ในไกวัลย์ แต่ไกวัลย์ก็ยังมีสภาพ เป็นอย่างเดิม ทั้งก่อน และ หลังสิ่งทั้งปวง ไม่เปลี่ยนแปลง อันความไม่เปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคน กำลังแสวงหา อยู่แล้วมิใช่หรือ. (๗)

"ไกวัลย์" ทำให้มนุษย์ทุกคนเป็นมิตรกันหมด

การกำหนดว่า เป็นเราเป็นเขา เป็นของเราของเขา จะทำให้ เกิดการแบ่งแยก เมื่อมีการแบ่งแยก การแย่งชิงผลประโยชน์กัน ก็เกิดขึ้น ทำให้คิดเห็นแต่ ประโยชน์ตน พร้อมกันนั้น ก็มีการเบียดเบียน ทำลายประโยชน์ผู้อื่น ความเป็นศัตรูกัน ก็เกิดขึ้น ด้วยการไปยึดถือ เอาสิ่งเล็กน้อย ที่เปลี่ยนแปลง อันเป็น ประดุจ ฟองคลื่นแห่งไกวัลย์ แต่ถ้ามีการเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลย์" อันเปรียบด้วยแผ่นน้ำ อันกว้างใหญ่ ของมหาสมุทรแล้ว จะทำให้เห็นว่า ทุกคน ย่อมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่อาจแบ่งแยก ออกจากกันได้เลย แล้วความรัก ความเมตตา ความเป็นมิตร กับผู้อื่น ก็เกิดขึ้น. (๘)

แม้การทะเลาะวิวาทกัน ในระหว่างศาสนา ก็พลอยสิ้นสุด ลงไปด้วย เพราะ "ไกวัลยธรรม" คือสภาวะที่เป็นหนึ่งเดียวอันเต็มเปี่ยม และมีอยู่ทั่วไป ในทุกหนทุกแห่ง นั่นคือ ย่อมมีอยู่ ในทุกศาสนาด้วย ใครก็ตาม เมื่อเข้าถึงความหมาย ของศาสนาแห่งตนแล้ว ย่อมทำให้เห็น ตรงกันว่า ในโลกนี้ มีเพียงศาสนาเดียว คือ "ศาสนาแห่งไกวัลย์" ไม่ต้องมีการแบ่งแยก ตามชื่อสมมติ ที่ใช้เรียกศาสนา โดยเหตุนี้ จึงทำให้สามารถ ปิดประตู การทะเลาะวิวาท อันเนื่องมาจาก การถือศาสนาเสียได้ แล้วการแยกนิกาย ของแต่ละศาสนา ก็จะไม่เกิดขึ้น ที่ใดมีการแบ่งแยก ที่นั่นแสดงว่า มีการรู้ไม่จริง เป็นลักษณะ แห่งการไร้เดียงสา ของผู้นับถือศาสนานั้นๆ (๙)

โดยเฉพาะพุทธบริษัท ควรมองศาสนาอื่น ในฐานะที่ว่า เป็นเครื่องมือ ดับทุกข์ระดับหนึ่ง ด้วยกันทั้งนั้น จึงจะชื่อว่า เป็นผู้มอง ด้วยความหมายของ "ไกวัลย์" เมื่อมีความเข้าใจใน "ไกวัลย์" ในความหมาย ที่ทำให้ทุกคน และทุกศาสนา เป็นมิตรกัน อย่างนี้แล้ว ย่อมเป็นการง่าย ที่จะเข้าถึง สุญญตา หรือ นิพพาน หรือ อสังขตธรรม ในทางพุทธศาสนา. (๑๐)

ในความหมายที่กล่าวถึง "พระเจ้า" ในฐานะเป็นผู้สร้างสิ่งทั้งปวง ก็ควรหมายถึง "ไกวัลย์" เพราะว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และสิ่งทั้งปวงก็ออกมาจาก "ไกวัลย์" อาศัยไกวัลย์ตั้งอยู่ ในลักษณะอย่างนี้ ย่อมกล่าวได้ว่า ไกวัลย์ เป็นมารดา ของสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งหลายทั้งปวง เป็นลูก ที่คลอดออกมาจากไกวัลย์ เปรียบด้วย ฟองน้ำ อันเกิดจากน้ำ ฉันใด ก็ฉันนั้น. (๑๑)

ธรรมะในฐานะเป็นลูก ย่อมอยู่ในสภาพ ที่เกิดขึ้น แล้วดับหายไป ทำนองเดียวกับ ฟองน้ำ แต่ธรรมะ ในฐานะเป็นแม่ เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่มีอยู่ได้เอง ตลอดอนันตกาล คือ กาลเวลาอันไม่สิ้นสุด และอนันตเทศ คือพื้นที่อันไม่สิ้นสุด. (๑๒)

การที่มนุษย์ไม่อาจเข้าถึง "ไกวัลย์" ได้ ก็เพราะมัวหลงใหลมัวเมา อยู่กับ ฟองน้ำ หรือ ฟองคลื่นแห่งวัฏฏสงสาร อันสำเร็จมาจาก การตกจม อยู่ในรสอร่อย ทางเนื้อหนัง ได้แก่ รสอร่อย ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทำให้เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง ความยึดมั่นถือมั่น อันเป็นตัว สร้างความทุกข์ สร้างปัญหา ให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น เมื่อมนุษย์สามารถ รู้จัก และเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" แล้ว จะทำให้สามารถ แก้ปัญหา แห่งความทุกข์ ได้ทุกปัญหา และมีความเป็นมิตร หรือ เป็นอันเดียวกับทุกคน เพราะ "ไกวัลยธรรม" เป็นทั้งหมด ของทุกสิ่ง.

นี่คือ ความจำเป็น ที่จะต้องศึกษา ให้รู้จัก "ไกวัลยธรรม" เพื่อสร้าง ความเป็นมิตร ให้เกิดขึ้น. (๑๓)

ความหมายของคำว่า "ไกวัลยธรรม"

ร่องรอยของ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" ที่อยู่ในรูป พระพุทธภาษิต อันขึ้นต้น ด้วยคำว่า "อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปทา วา ตถาคตานํ" อย่างนี้ มีอยู่ ๒ ชุด ชุดหนึ่งหมายถึง "ไตรลักษณ์" คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อีกชุดหนึ่งหมายถึง "อิทัปปัจจยตา" คือ ปฏิจจสมุปบาท ดังปรากฏจากพระไตรปิฎก ดังนี้ -

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม

ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว

ธมฺมฎฐิตตา ธมฺมนิยามตา
- ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม

สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา ติ.
-ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง.

ดังนี้เป็นต้น นี้อย่างหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับไตรลักษณ์. (๑๔)

อีกอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่อง อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท มีบาลีที่ขึ้นต้นอย่างเดียวกัน คือ

อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ, อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ.
- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตถาคตทั้งหลายจะเกิดขึ้นก็ตาม พระตถาคตทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นก็ตาม

ฐิตา ว สา ธาตุ - ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว
ธมฺมฏฐิตตา - ตั้งอยู่ในฐานะเป็นธรรมดาแห่งธรรม
ธมฺมนิยามตา - เป็นกฏตายตัวแห่งธรรม
อิทปฺปจฺจยตา - ความที่เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ ย่อมเกิดขึ้น
อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา ติ. - ว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารทั้งหลายจึงเกิดขึ้น.

ดังนี้เป็นต้น นี่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท. (๑๕)

ในความหมายนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุป ก็ได้แก่ความหมายตามคำต่างๆ เหล่านี้ คือ -

ตถตา
อวิตถตา
อนญฺญถตา
อิทปฺปจฺจยตา
- ความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น
- ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น
- แต่จะเป็นไปตามความที่ "เมื่อมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น".


เมื่อพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว ทุกท่านจะพบ ด้วยตนเองว่า ทุกคำ มีความหมาย ระบุถึง สิ่งเดียวกัน คือ สิ่งที่มีสภาวะเป็นหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้นแลที่ได้นามว่า "ไกวัลยธรรม". (๑๖)

คำว่า "ตถาคต" แปลว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ถ้าหมายถึง พระพุทธเจ้า ก็กล่าวได้ว่า "มาอย่างพระพุทธเจ้า ไปอย่างพระพุทธเจ้า" ทีนี้ ในความหมายที่ พระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้น หรือไม่ก็ตาม สิ่งที่เรียก "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่แล้วอย่างนั้น (ฐิตา ว สา ธาตุ) ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นตถาคตทั้งหลาย จะเปลี่ยนแปลง ไปอย่างใด มันก็ยัง ตั้งอยู่อย่างนั้น อย่างไม่ฟังเสียงใคร. (๑๗)

เมื่อถือเอาความหมาย ของคำว่า "ตถาคต" ว่า "มาอย่างไร ไปอย่างนั้น" ก็มีความหมาย รวมไปถึง สัตว์ทั้งหลายด้วย คือ "มาอย่างสัตว์ ไปอย่างสัตว์" เมื่อมี การมา ก็ย่อมคู่กับ การไป อันนี้ยังเป็นไป ตามลักษณะของการปรุงแต่ง ฉะนั้น องค์พระพุทธเจ้า ในความหมายของ ตถาคต คงหมายถึง การปรากฏขึ้น โดยรูปธรรม อันอยู่ในกฏที่ว่า "สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นดับ" เมื่อกล่าวถึง การเกิดขึ้น ของพระพุทธเจ้า ก็ย่อมมีการดับไป ของพระพุทธเจ้า อันเป็นส่วนของ รูปธรรม เช่นเดียวกับ สิ่งทั้งหลายที่มี "การเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป". (๑๘)

หมายความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะเกิดขึ้นในโลก กี่ล้านองค์ ก็ตาม แต่ "ธาตุนั้นก็ยังตั้งอยู่อย่างนั้น" ไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งนั้น จึงมิใช่พระพุทธเจ้า หรือตถาคต แต่ผู้ใดมาพบสิ่งนั้นเข้า จะได้นามว่า เป็น "พระพุทธเจ้า" สิ่งนั้นคือ "ไกวัลยธรรม" อันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ ตลอดกาล. (๑๙)

ศึกษาสิ่งทั้งหลายในแง่วิทยาศาสตร์

"ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะที่เป็น "กฏ" อันเป็นที่รองรับ ปรากฏการณ์ ของสิ่งทั้งปวง โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ รวมทั้งสิ่งทั้งปวง ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ใน "กฏ" อันนี้ ด้วยอำนาจของ อิทัปปัจจยตา ซึ่งตั้งอยู่ ในฐานะเป็น ไกวัลยธรรม นั่นคือ เพราะมี ไกวัลยธรรม สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ได้อาศัยเกิดขึ้น รวมทั้งพระพุทธเจ้า ด้วย. (๒๐)

สิ่งที่เรียกว่า "พระเจ้า" ก็ควรหมายถึง "กฏ" อันนี้ ในฐานะที่เป็น สิ่งตั้งอยู่ตลอดกาล แล้วสิ่งทั้งปวงก็ปรากฏขึ้น ด้วยอำนาจแห่งพระเจ้า ฉะนั้น "พระเจ้า" ที่แท้จริง ควรหมายถึง "ไกวัลยธรรม" อันมีชื่อเรียกรวมไปว่า "ธรรมธาตุ" แปลว่า "ความมีอยู่แห่งธรรม". (๒๑)

คำว่า "ธา-ตุ" แปลว่า "ทรงตัวอยู่" หมายถึงการทรงอยู่อย่างถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม" นั่นเอง สิ่งนอกนั้น เป็นเพียง ปฏิกิริยา ที่ถูกปรุงแต่ง ขึ้นมา มีการเกิดขึ้น แล้วดับไป เป็นลักษณะของ การทรงตัวอยู่ ของความเปลี่ยนแปลง อันปรากฏอยู่ ในที่เดียวกัน ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า จะพบความ ไม่เปลี่ยนแปลงได้ ตรงที่มี ความเปลี่ยนแปลง พิจารณาเห็น ความเปลี่ยนแปลง ตามเป็นจริง แล้วปล่อยวาง ความเปลี่ยนแปลง เสีย ก็จะพบ ความไม่เปลี่ยนแปลง ที่ตรงนั้น ดังที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า "จะพบพระพุทธเจ้าได้ ที่ความแก่ ความเจ็บ ความตาย"ดังนี้. (๒๒)

ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" ตั้งอยู่ในฐานะเป็น "ธรรมธาตุ" ที่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ตถาคตจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตาม ธรรมธาตุนั้น ตั้งอยู่แล้วนั่นเทียว คือ ตั้งอยู่ตลอดกาล". (๒๓)

สมัยพุทธกาล มีผู้พบ "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง"

มนุษย์มีสัญชาติญาณ ที่ตรงกันอยู่อย่างหนึ่งคือ มีความสนใจ ที่จะรู้จักต้นตอ หรือ "ปฐมเหตุ" ของสิ่งทั้งปวง เมื่อพบแล้ว ก็ให้ชื่อเรียก ไปต่างๆกัน เช่น เต๋า พระเจ้า หรือ ปรมาตมัน เป็นต้น. (๒๔)

ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสเรียก ปฐมเหตุของสิ่งทั้งปวงว่า "ธรรมธาตุ" ได้แก่ความจริงที่เป็น อสังขตธรรม คือสิ่งที่เหตุปัจจัย ปรุงแต่งไม่ได้ กฏอันนี้ เป็นกฏที่ตั้งขึ้นโดยธรรมชาติ เรียกว่า "กฏอิทัปปัจจยตา" มันเป็นตัวของมันเอง มันแต่งตั้งตัวของมันเอง แล้วมันบังคับสิ่งทั้งปวงด้วย ตั้งอยู่ในฐานะที่เรียกได้ว่า เป็น "ปฐมเหตุ". (๒๕)

ในยุคเดียวกับพระพุทธเจ้า ทางประเทศจีน มีบุคคลสำคัญผู้หนึ่งนามว่า "เหลาจื๊อ" ได้บัญญัติคำสอนเกี่ยวกับ "เต๋า" เอาไว้ว่า มีสิ่งอยู่สิ่งหนึ่ง มีอยู่ก่อนโลก ไม่ใช่วัตถุ ไม่ใช่จิตใจ สิ่งนั้นเรียกว่า สิ่งนั้นเรียกว่า "เต๋า" อันหมายถึงสิ่งที่มีอยู่ก่อนโลกเกิด แล้วคำว่า "เต๋า" นี้ มีคำแปลตรงกับคำว่า "ธรรม". (๒๖)

ในประเทศอินเดีย มีสิ่งที่เรียกว่า "ปรมาตมัน" สิ่งนี้ก็บัญญัติขึ้น เพื่อแสดงถึง สภาพที่มีอยู่ตลอดกาล แล้วสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งหลายนั้น ล้วนแยกออกไป จากปรมาตมัน ทั้งสิ้น สิ่งที่แยกออกไปนั้น เรียก "อาตมัน" ครั้นภาวะของ อาตมัน สิ้นสุดลง ตามเหตุตามปัจจัย ก็กลับไปรวมกับ ปรมาตมัน ตามเดิม. (๒๗)

ในดินแดนปาเลสไตน์ ของพวกยิว ก่อนที่จะเกิด ศาสนาคริสเตียน ซึ่งนับได้ว่า เป็นยุคเดียวกันกับ พุทธศาสนา ก็มีคำพูด ที่เรียกสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง เรียกว่า "พระเจ้า" หรือ "God-ก๊อด" ตรงกับ "กฏ" ที่หมายถึง ในพระพุทธศาสนา. (๒๘)

ครั้นมาถึง สมัยศาสนาคริสเตียน เกิดหลังพระพุทธศาสนา ประมาณ ๕๐๐ ปี ก็มีการรับรองว่า God หรือพระเจ้า เป็นสิ่งที่ "มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง" คือ มีอยู่ตลอดอนันตกาล สิ่งทั้งปวงนั้น ถูกสร้างขึ้น ด้วยน้ำมือของพระเจ้าทั้งสิ้น อันมีลักษณะ ที่ตรงกันกับ สิ่งที่เรียกว่า "ไกวัลยธรรม". (๒๙)

ยังมีลัทธิเบ็ดเตล็ด อีกหลายแขนง ที่ล้วนแสดง ให้เห็นว่า คนยุคนั้น ได้ยอมรับ ตรงกันไปหมดว่า มันมีอยู่สิ่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง และเป็นที่มาของสิ่งทั้งปวง อันปรากฏขึ้นในโลก แต่สิ่งนั้นไม่เปลี่ยนแปลง ไปตามสิ่งทั้งปวง นับเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ ตลอดอนันตกาล. (๓๐)

นี่แสดงว่า "ไกวัลยธรรม" หรือ "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง" ในความหมายทั่วไป มิใช่มีเฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา ย่อมมีอยู่ทั่วไปในลัทธิต่างๆ ดังกล่าวมา ฉะนั้น โดยหลักใหญ่ ในศาสนาต่างๆ มิได้ปฏิเสธ "สิ่งนี้" อาจมี แตกต่างกันไปบ้าง ในส่วนปลีกย่อย ที่ไม่สำคัญเท่านั้น. (๓๑)

เมื่อรู้ว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นตัวแม่ดั้งเดิม ของทุกสิ่ง อันมีสภาพที่ไม่รู้จัก เกิดแก่เจ็บตาย ก็จะทำให้เห็นว่า สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต เป็นเหมือน ฟองน้ำ หรือ เกลียวคลื่น ที่กำลังโลดแล่น อยู่บนพื้นผิวของทะเล เท่านั้น คือ ตกอยู่ภายใต้ของ สภาพแห่งความเปลี่ยนแปลง อย่างเท่าเทียมกัน ถ้ารู้ได้อย่างนี้ จะทำให้ ไม่มีการทะเลาะวิวาทกัน ทั้งในส่วนบุคคล และส่วนสังคม และยิ่งกว่านั้น จะทำให้เกิดความพอใจ ต่อการที่จะกลับคืน สู่สภาวะเดิม อันเป็นที่สิ้นสุด แห่งความทุกข์ คือ ความไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย อีกต่อไป. (๓๒)

วิถีทางที่จะนำไปสู่ สภาวะเดิม ได้แก่ ความรู้เรื่องไตรลักษณ์ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องอริยสัจจ์ ซึ่งเป็นกฏเกณฑ์ อันเดียวกัน ที่สำเร็จมาจาก กฏ "อิทัปปัจจยตา" ฉะนั้น การรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา จึงเป็นการง่ายที่จะเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" เพราะมันเป็นสิ่งเดียวกัน โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า การรู้จัก ไกวัลยธรรม ย่อมทำให้รู้จัก สิ่งทั้งหมด ในพระพุทธศาสนา "รู้หนึ่ง รู้หมด". (๓๓)

ทั้งหมดนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่มีก่อน และหลังสิ่งทั้งปวง การเข้าถึงไกวัลยธรรม ก็ต้องอาศัย สิ่งทั้งปวงนั้น นั่นเอง เป็นสะพานหรือ เป็นตัวกำหนด ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่จะคิดกลับบ้านเดิม กันเสียที. (๓๔)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสต์ เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๙. มหาสาโรปมสูตร
อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้

..... [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนั้น
พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภ
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์
มิใช่มีสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์
มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์
มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์

แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.

ลิงค์ แก่นธรรม แก่นพรหมจรรย์ ตามพุทโธวาท

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


peepong เขียน:
จะตามหาแก่นธรรมได้ที่ไหน

แก่นธรรม คือ จิต
ศาสนาพุทธ สอนลงที่จิตที่ใจ
แก้ทุกข์ แก้โศก แก้ที่จิต พ้นโลกพ้นสงสาร พ้นที่จิตที่ใจ

หาแก่นธรรม หานิพพาน หาที่จิต หาที่ใจนี้เท่านั้น
หาที่อื่นไม่เจอดอก..

สาธุ.. :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
แก่นธรรม คือ จิต
ศาสนาพุทธ สอนลงที่จิตที่ใจ
แก้ทุกข์ แก้โศก แก้ที่จิต พ้นโลกพ้นสงสาร พ้นที่จิตที่ใจ

หาแก่นธรรม หานิพพาน หาที่จิต หาที่ใจนี้เท่านั้น
หาที่อื่นไม่เจอดอก..

สาธุ.. :b8:

ขอโมทนาครับ

ขออภัยนะครับ ขอเรียนถามว่า ตำราหนังสือและพระไตรปิฎก ไม่ใช่แก่นธรรมหรือครับ
คงไม่ถือโทษนะครับ สงสัยจริงๆ ครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 11:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุตต ในพระไตรปิฏก หรือ พุทธพจน์ ในพระไตรปิฏก คือ "แก่นธรรม"

เพราะแสดงสภาวะ ของ "ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ" โดยพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น.

เพียงแต่ ท่าน JJD เมื่อศีกษา ด้วยใจ แล้วน้อมไปรู้ สภาวะนั้นได้หรือไม่ เท่านั้นเอง.

ดังนั้น นี่ก็คือ การที่บอกว่า "แก่นธรรม" .... ไม่ใช่ "จิต"

เจริญธรรม

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 14:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


JJD เขียน:
ขออภัยนะครับ ขอเรียนถามว่า ตำราหนังสือและพระไตรปิฎก ไม่ใช่แก่นธรรมหรือครับ
คงไม่ถือโทษนะครับ สงสัยจริงๆ ครับ :b8:

ยินดีที่ได้สนทนานะครับ..ขอตอบคำถาม คุณ JJD ดังนี้ครับ..

หนังสือตำราและพระไตรปิฎก มาจากไหน?
พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกตรัสรู้อย่างไร?

พระพุทธเจ้าและพระสาวก ท่านตรัสรู้ที่จิต เอาชนะกิเลสตัณหาทั้งหลายก็ที่จิต
ธรรมทั้งหลายทั้งมวล ล้วนเกิดที่จิต

พระองค์ เอาธรรมจากจิตที่ตรัสรู้แล้วนั่นแหละมาสอน เรียกว่า ธรรมนั้นเกิดที่จิตก่อน
ตรัสรู้ที่จิตก่อน สอนก็สอนออกมาจากจิตและสอนลงที่จิตของสัตว์โลก
แล้วภายหลังจึงได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เรียกว่า พระไตรปิฎก

หนังสือตำราคำภีร์ทั้งหลายก็เช่นกัน เป็นผลของเหตุทั้งสิ้น เหตุก็คือ การบรรลุธรรม
ของหลวงปู่ หลวงตา ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เวลาท่านแสดงธรรมก็แสดงออกมาจากจิต
ที่ได้บรรลุทั้งสิ้น สอนลงที่จิตของลูกศิษย์ลูกหาทั้งนั้น แล้วบันทึกไว้ เป็นหนังสือเป็นตำรา

ในหนังสือตำรา จึงมีแต่ชื่อของกิเลส ชื่อของธรรม อ่านร้อยเที่ยวพันเที่ยว
กิเลสตัวเดียวก็ไม่หลุดออกจากใจ ต่อให้กอดตำรา กอดพระไตรปิฏกร้อยเล่มพันเล่มเป็นร้อยปีพันปี
ก็ไม่เรียกว่า ผู้เห็นธรรม ผู้พบธรรม

อยากพบธรรม เห็นธรรม ต้องค้นหาต้องปฏิบัติลงที่จิตที่ใจตนเท่านั้น
เพราะธรรมนั้นเกิดที่จิต ธรรมไม่ได้เกิดขึ้นหรือผุดขึ้นที่ตำรา ที่คำภีร์

อย่างที่ท่านหลวงปู่มั่นฯ ตอบหลวงตาฯ ว่า

"ท่านมาหามรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ
เขาไม่ได้เป็นกิเลส เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน..กิเลสจริงๆ
มรรคผลนิพพานจริงๆ อยู่ที่หัวใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ
ท่านจะได้เห็นทั้งความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ
แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับลำดา.."

หรือ ..

"เห็นใจตนแล้ว คือ เห็นธรรม
รู้ใจ แล้วคือ รู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตนแล้ว คือ ถึงพระนิพพาน"

อยากเห็นธรรม พบแก่นธรรม เห็นนิพพาน ให้หาที่จิตที่ใจตนนี่
หาที่อื่น ก็มีแต่รู้ชื่อธรรม รู้ชื่อกิเลส เท่านั้นแหละ

สาธุจ้า.. :b12: :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 พ.ค. 2010, 12:41
โพสต์: 38

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
"เห็นใจตนแล้ว คือ เห็นธรรม
รู้ใจ แล้วคือ รู้ธรรมทั้งมวล
ถึงใจตนแล้ว คือ ถึงพระนิพพาน"

ขอบคุณครับ เข้าใจแล้วครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:44
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:

"ท่านมาหามรรคผลนิพพาน มรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ
เขาไม่ได้เป็นกิเลส เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน..กิเลสจริงๆ
มรรคผลนิพพานจริงๆ อยู่ที่หัวใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ
ท่านจะได้เห็นทั้งความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ
แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับลำดา.."

สาธุจ้า.. :b12: :b8:


ช่วยแจงรายละเอียดเพิ่มเติมได้รึเปล่าครับ :b8:


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ช่วยแจงรายละเอียดเพิ่มเติมได้รึเปล่าครับ

ประตูนรก ประตูสวรรค์ ประตูนิพพาน อยู่ที่จิตตัวเดียวนี่แหละ
เพียงแต่ในประโยคที่อ้างมาหมายถึงจิตอยู่ที่หัวใจ แต่จริงๆแล้วจิตมีอยู่หลายตามตำแหน่ง
สำคัญของร่างกาย โดยเฉพาะตามอายตนะทั้ง6

กำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ - จดจ่อคือเกิดสมาธิ สติที่หัวใจคือเอาสติกำกับจิตผูกเข้าไว้กับจิตไม่ให้
จิตหลงไปไหน ส่วนการกำหนดจิต นั่นหมายถึงการทำกรรมฐานทั้งหลาย ทั้งด้วยสมถะและวิปัสสนา
กรรมฐาน เมื่อทำกรรมฐานได้แล้ว พื้นฐานคุณธรรมจะเกิดขึ้นจิตจะยกระดับสุงขึ้น เกิดคุณธรรมตามมาและรองรับธรรมขั้นสูงต่อและธรรมะข้ออื่นให้บริบุรณ์ขึ้นและเหนภัยการการที่จิตขาดสมาธิและขาดสติ
ว่าเป็นสิ่งที่ต้องควรระวังมาก เห็นเวทนาต่างๆไม่ว่าจะเกิดไรขึ้นในขณะที่จิตเป็นสมาธิหรือออกจากสมาธิแล้วก็ตามสามารถเข้าใจและควบคุมโดยจิตใจที่ไม่ยินดียินร้ายได้เป็นอย่างดี


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประโยคนี้ อยู่ในหนังสือ หยดน้ำบนใบบัว บทที่ ๔ หน้าที่ ๖๐ แสวงหาครูอาจารย์
ขอให้ท่านผู้ถาม คุณผ้าเช็ดเท้า ทำความเข้าใจเอาเองนะขอรับ ข้าน้อยขอผ่าน..

:b8: :b12:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"แก่นธรรม" .... ไม่ใช่ "จิต"

Quote Tipitaka:
แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด.


Quote Tipitaka:
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน?
อสังขตธาตุ สภาวธรรม นี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.


สนทนา เรื่องแก่นธรรม แต่ดันไปจับสมถะวิปัสสนา มาแสดงเป็นแก่นธรรม

นี่แหละ ถึงเรียกว่า ไม่รู้ เพราะไม่ได้ศึกษาให้ดี

ยังยก เอาอาจาริยวาท ของท่านมั่น มาสนับสนุน

สงสัยสนทนาคนละเรื่องเดียวกัน แน่นอน.... :b9: :b9:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิริยะ เขียน:
แก่นธรรม คือ จิต
ศาสนาพุทธ สอนลงที่จิตที่ใจ
แก้ทุกข์ แก้โศก แก้ที่จิต พ้นโลกพ้นสงสาร พ้นที่จิตที่ใจ

หาแก่นธรรม หานิพพาน หาที่จิต หาที่ใจนี้เท่านั้น
หาที่อื่นไม่เจอดอก..

สาธุ.. :b8:





ขออภัยด้วยนะคะ
คุณ วิริยะ


ไม่แน่ใจว่า คุณเขียนตัวหนังสือติดพันไปหรือเปล่าคะ
แก่นธรรม ที่นำมาพูดๆกัน เป็นเพียงสิ่งที่ถูกจิตรู้ แต่ไม่ใช่เป็นตัวจิต
สิ่งที่ถูกรู้นี้ ไม่มีชื่อ แต่เรามาบัญญัติคำเรียกกันว่า" แก่นธรรม "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสต์ เมื่อ: 25 มิ.ย. 2010, 23:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:44
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:

ไม่แน่ใจว่า คุณเขียนตัวหนังสือติดพันไปหรือเปล่าคะ
แก่นธรรม ที่นำมาพูดๆกัน เป็นเพียงสิ่งที่ถูกจิตรู้ แต่ไม่ใช่เป็นตัวจิต
สิ่งที่ถูกรู้นี้ ไม่มีชื่อ แต่เรามาบัญญัติคำเรียกกันว่า" แก่นธรรม "


:b8:
สิ่งที่ถูกจิตรู้ แต่ไม่ใช่ตัวจิต ช่วยชี้แจงเพิ่มเติมด้วยครับ
แล้ว จิต คืออะไร


โพสต์ เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 00:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แหม..ได้เห็น..ได้อ่าน..ธรรมของหลวงปู่มั่น..แล้วนี้..ถึงใจจริง ๆ ครับ..สาธุ

ให้อ่านแบบดูที่หัวใจ..เจตนา..ความมุ่งหมาย..ของธรรมนี้..เป็นสำคัญนะครับ

อย่ามัวแต่สาละวน..กับคำบางคำ..ศัพท์บางตัว..หยุมหยิม ๆ ..เกินไป..จนไม่ได้พิจารณาธรรมวิมุตที่อยู่ในธรรมสมมุติเหล่านั้น..จะทำให้เสียโอกาสของตัวเองไปเปล่า
:b12: :b12:


โพสต์ เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 00:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:44
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แหม..ได้เห็น..ได้อ่าน..ธรรมของหลวงปู่มั่น..แล้วนี้..ถึงใจจริง ๆ ครับ..สาธุ

ให้อ่านแบบดูที่หัวใจ..เจตนา..ความมุ่งหมาย..ของธรรมนี้..เป็นสำคัญนะครับ

อย่ามัวแต่สาละวน..กับคำบางคำ..ศัพท์บางตัว..หยุมหยิม ๆ ..เกินไป..จนไม่ได้พิจารณาธรรมวิมุตที่อยู่ในธรรมสมมุติเหล่านั้น..จะทำให้เสียโอกาสของตัวเองไปเปล่า
:b12: :b12:


:b8: ต้องขอโทษถ้าผมยังสับสนในคำนะครับ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจ ซึ่งเท่าที่ผมเคยศึกษามาผมก็เห็นแต่เขาใช้สมมติ เปรียบเทียบกับ ปรมัต ในเชิงนั้นนะ แต่คุณนำ ธรรมวิมุตที่อยู่ในธรรมสมมติ
เป็นยังไงครับ หมายถึงสิ่งเดียวกับที่คุณ walaiporn พูดถึงรึเปล่า


แก้ไขล่าสุดโดย ผ้าเช็ดเท้า เมื่อ 26 มิ.ย. 2010, 00:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร