วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 22:58
โพสต์: 1

แนวปฏิบัติ: อานาปานุสสติ
งานอดิเรก: เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: อตุโล
ชื่อเล่น: Ake
อายุ: 27
ที่อยู่: นครปฐม-สุพรรณบุรี

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวแล้วผมนั่งสมาธิแบบอานาปานุสสติก็รู้สึกสงบนิ่งและเกิดสมาธิดีส่วนตัวแล้วผมเข้าใจว่านี่เป็นการฝึกสมาธิ ถ้าผมเข้าใจถูกแล้ว การฝึกสติหรือการเจริญสติจะมีการปฏิบัติหรือแนวทางแตกต่างกันอย่างไร สติหรือสมาธิเป็นตัวเดียวกันหรือไม่ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


สติ
คือความระลึกได้ถึงความปรากฏของ รูปนาม สติเป็นอนัตตาเช่นเดียวกับธรรมทั้งปวง
ดังนั้นไม่มีใครที่จะสั่งหรือจงใจให้สติเกิดขึ้นได้ สติจะเกิดขึ้นเองเมื่อทำเหตุที่สมควรให้ถึงพร้อม
โดยไม่ต้อง พยายามทำให้เกิด เหตุให้เกิดสติได้แก่ การที่จิตรู้จักและจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ
เพราะได้เจริญสติปัฏฐานหรือตามรู้สภาวะของกาย เวทนา จิต หรือธรรมเนืองๆ
และทันทีที่สติเกิดขึ้น สติจะทำหน้าที่คุ้มครองจิต คืออกุศลจะดับไปแล้วกุศลเกิดขึ้นทันที

สติหรือสัมมาสตินี้จะแตกต่างจากมิจฉาสติหรือสติธรรมดา
ตรงที่สัมมาสตินั้นเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์ ได้แก่ รูปนามในขั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น
และระลึกรู้นิพพานในขณะที่เกิดอริยมรรค
ส่วนมิจฉาสติเป็นเครื่องระลึกรู้อารมณ์ บัญญัติอันเป็นสาธารณกุศลต่างๆ
สัมมาสติจะสักว่าระลึกรู้อารมณ์ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปพร้อมกับจิตเป็นขณะๆ
ส่วนสติธรรมดามักจะเข้าไปตั้งแข็งหรือนอนแช่อยู่ในอารมณ์
และให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าสตินั้นเป็นของที่ตั้งอยู่ได้นานๆ โดยไม่เกิดดับ

มิจฉาสมาธิ
หลักสำคัญคือการเพ่งเพื่อให้จิตหยุดอยู่ในอารมณ์อันเดียว
โดยเอาความสงบเป็นเป้าหมาย
มักจะเกิดจากโลภะ คือความอยากจะรู้อารมณ์ให้ชัดๆ แล้วเกิดการกำหนด การประคอง การเพ่ง
การรักษาจิตและอารมณ์ไว้ จิตมักจะเกิดโมหะและโลภะแทนที่จะเกิดปัญญา
รู้ความจริงของรูปนาม จิตมักมีอาการหนักแทนที่จะเบา แข็งแทนที่จะอ่อน
ถูกนิวรณ์ครอบงำแทนที่จะควรแก่การงาน ซึมทื่อแทนที่จะปราดเปรียว
และเข้าไปแทรกแซงอารมณ์แทนที่จะรู้อารมณ์อย่างซื่อๆ ตรงๆ

สัมมาสมาธิ
คือความตั้งมั่นของจิตในการ ระลึกรู้อารมณ์ปรมัตถ์
ได้แก่ ความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้รูปนามในขั้นการเจริญมรรคเบื้องต้น
และความตั้งมั่นของจิตในขณะที่รู้นิพพานเมื่อเกิด อริยมรรค
ความตั้งมั่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจิตเข้าไปตั้งแช่หรือนอนนิ่งอยู่กับอารมณ์
แต่เป็นสภาวะที่จิตไม่คลาดเคลื่อนจากอารมณ์ปรมัตถ์นั้นๆ แล้วไหลไปสู่อารมณ์บัญญัติแทน
พูดง่ายๆ ก็คือในขณะที่รู้รูปนามก็รู้ด้วยความไม่ลืมตัว ไม่หลงไปหาอารมณ์อื่น
และไม่เพ่งอารมณ์ที่กำลังรู้นั้นจนลืมตัว จิตจะตั้งมั่นและเป็นกลาง ไม่เผลอไป แต่ก็ไม่เพ่งอารมณ์ไว้

สัมมาสมาธิต่างจากมิจฉาสมาธิ ตรงที่จิตที่ตั้งมั่นอย่างมีสัมมาสมาธินั้นจะมีความเบา
ความอ่อน ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว และความซื่อตรงในการรู้อารมณ์รูปนาม
โดยไม่เข้า ไปแทรกแซง และเกิดขึ้นได้เพราะจิตมีความสุขใน การรู้รูปนาม
ซึ่งความสุขนั้นก็เกิดเพราะจิตมีสตินั่นเอง

สัมมาสมาธิต้องประกอบด้วยศีล และปัญญาด้วยเสมอ
เพราะในขณะที่จิตตั้งมั่น มีสติระลึกรู้อารมณ์นั้น
จิตย่อมมีศีล คือความเป็นปกติของจิต เป็นตัวของตัวเองไม่ถูกกิเลสครอบงำ
และมีปัญญารอบรู้การเกิดดับของรูปนามอย่างเป็นปัจจุบัน

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


paake เขียน:
ส่วนตัวแล้วผมนั่งสมาธิแบบอานาปานุสสติก็รู้สึกสงบนิ่งและเกิดสมาธิดีส่วนตัวแล้วผมเข้าใจว่านี่เป็นการฝึกสมาธิ ถ้าผมเข้าใจถูกแล้ว การฝึกสติหรือการเจริญสติจะมีการปฏิบัติหรือแนวทางแตกต่างกันอย่างไร สติหรือสมาธิเป็นตัวเดียวกันหรือไม่ :b8:


การเจริญสติปัฏฐาน 4 หรือการเจริญสมาธิภาวนาก็ตาม คือสิ่งเดียวกัน
เรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือการปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรม โดยย่อแล้ว ก็คือการเจริญจิต ให้เป็นกุศล ตั้งอยู่ในกองกุศลให้ได้นาน จนกระทั่งมีปัญญาแทงตลอด มรรค ผล นิพพาน.

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 02:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องดูว่าจุดประสงค์ของการทำสมาธิเพื่ออะไร
เพื่อความสงบความสุขของจิตและข่มนิวรณ์
หรือเพื่อให้จิตเกิดปัญญา

หากเป็นอย่างหลังต้องเจริญวิปัสสนาต่อ
โดยเมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิจวนแน่วแน่ (อุปจารสมาธิ)
ใช้จิตพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ (กาย เวทนา จิต ธรรม) ว่าดำเนินไปตามกฎไตรลักษณ์
เมื่อใดจิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม เป็นอนัตตาได้
ปัญญาเห็นแจ้งในฐานทั้งสี่ย่อมเกิดขึ้น แล้วจิตจะปล่อยวางสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนได้
หมดความยึดถือกายยึดถือใจ แล้วก็จะปล่อยวางกายและใจพ้นทุกข์ได้ในที่สุด

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 12:05
โพสต์: 282

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญสติ
การฝึกระลึกถึงความมีอยู่และความเคลื่อนไหวของกายกับใจ
ด้วยใจตั้งมั่นและเป็นกลาง
หากไม่เป็นกลาง ก็คอยรู้ทันความไม่เป็นกลางนั้น

คอยรู้สึกตัวเท่าที่จะรู้ได้ เพราะสติก็ไม่เที่ยง ไม่ได้เกิดตลอดเวลา
ไม่ไปดักจ้องอารมณ์ที่จะเกิด ไม่ไหลไปกับอารมณ์ความคิด
แต่หากเผลอไหลไป ก็คอยรู้ว่าไหลไปแล้ว ไม่ต้องดึงกลับมาไม่ให้เผลอ
แค่รู้อยู่เฉยๆ ไม่ต้องพยายามไปดึงใจคืนมา
ถ้าพยายามแก้ไข จะอึดอัด
แต่ถ้าใจเรายอมรับสภาพ มันไม่มีแรงแล้วมันไหลไป รู้อยู่อย่างนี้ รู้ด้วยใจที่เป็นกลาง
ใจเรายอมรับ ไม่ต้องดิ้นออกมา ตรงที่ยอมรับมัน ใจจะเป็นกลาง จะดีดผางขึ้นมา มีพลังขึ้นมา
รู้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ใจมันจะเป็นกลางของมันเอง
แรกๆจะเผลอนาน ต่อไปจะเผลอบ่อย (คือเผลอสั้นลง รู้ตัวได้บ่อยขึ้น)

เราไม่ได้ฝึกเจริญสติเพื่อจะต้องให้มีแต่อารมณ์ที่เป็นกุศลเกิด
เพราะทุกอารมณ์ ทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความหดหู่ ดีใจ เสียใจ
ต่างมีค่าให้จิตได้เรียนรู้ไตรลักษณ์เท่าๆกัน

ไม่ได้ฝึกเพื่อเอาความรู้ตัวอย่างเดียว ไม่ได้ฝึกเพื่อไม่ให้หลงเลย
แต่เราจะเรียนรู้จนเห็นเลยว่าจิตจะเผลอไปก็ห้ามไม่ได้ จิตจะรู้สึกตัวก็สั่งไม่ได้
รู้สึกตัวแล้วก็รักษาไว้ตลอดไปไม่ได้
เมื่อปัญญาเกิดเห็นว่าความหลงก็ไม่เที่ยง ความรู้สึกตัวก็ไม่เที่ยง ฯลฯ
ไม่มีอะไรที่จะสามารถยึดถือได้ว่าเป็นเรา จนปล่อยวางกายใจได้ในที่สุด

.....................................................
อย่ามัวเสียใจกับเรื่องที่ผ่านมา อย่าปล่อยให้ชราแล้วตายไปเปล่า อย่ามัวแต่ตำหนิตนเองหรือผู้อื่นอยู่ คิดอยู่เสมอว่าจะพัฒนาจิตใจตน และทำประโยชน์ให้ผู้อื่นอย่างไร แล้วเร่งกระทำทันที อย่ามัวรีรอ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ศีล สติ สมาธิ
ผมว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหมด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 มี.ค. 2010, 16:12
โพสต์: 2298

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิ คือ การฝึกสติเพื่อควบคุมจิต ทำให้จิตสงบตั้งมั่นเป็นหนึ่ง
ให้สงบระงับจากนิวรณ์ห้า ไม่ส่ายแส่ไปตามอารมณ์ที่มากระทบ ให้ตั้งมั่นอยู่เฉพาะ

เจริญ หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น ทำให้มาก ทำให้บ่อย ๆ

การเจริญสมาธิ ก็คือ ทำให้มากขึ้น ทำสมาธิให้บ่อย ๆ
จะทำให้สติมากขึ้น ทำให้สติเจริญขึ้น สติเข้มแข็งขึ้น

การเจริญสมาธิกับการเจริญสติ จึงเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้แล..

สาธุ.. :b8:

.....................................................
"พุทโธ .. พุทโธ .. พุทโธ"
ภาวนาวันละนิด จิตแจ่มใส


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ท่าน จขกท.ครับ



อ้างคำพูด:
ส่วนตัวแล้ว ผมนั่งสมาธิแบบอานาปานุสสติก็รู้สึกสงบนิ่งและเกิดสมาธิดี ส่วนตัวแล้วผมเข้าใจว่านี่เป็นการฝึกสมาธิ



ถูกต้องครับ เป็นการฝึกสมาธิ อนุโมทนาครับ :b8:



พระพุทธองคฺทรงตรัสคำว่า อานาปานสติสมาธิ หรือ การเจริญสมาธิอันเกิดจากการมีสติตามรู้ลมหายใจ

เสนอ อ่านจากพระพุทธพจน์โดยตรง ด้วยตัวท่านเอง ดีกว่า ครับ


พระไตรปิฎกเล่มที่17

[๑๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี
อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก
มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณา
โดยความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน
หายใจเข้า) ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่าง
นี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยัง
มิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก
จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การฝึกสติ หรือ การเจริญสติ จะมีการปฏิบัติหรือแนวทางแตกต่างกันอย่างไร




การฝึกสติ กับ การเจริญสติ ก็ความหมายเดียวกัน นั่นละครับ


เอาเป็นว่า

ในขั้นการฝึกฝนเจริญสตินั้น การตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติไม่ใช่เรื่องผิดพลาด อะไรหรอกครับ

ตรงกันข้าม ในขั้นตอนการฝึกฝนเจริญสตินั้น จำเป็น ต้องตั้งใจ(จงใจ)ครับ



เสนออ่าน



สติปัฏฐาน ๔


พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป



ส่วนเรื่อง สติอัตโนมัติ นั้น จะบังเกิดเป็นเองเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม คือ ต้องผ่านการฝึก อบรม จนเคี่ยวตกผลึก ....ไม่ใช่ จู่ๆ ก็เกิดขึ้นลอยๆ

หลวงตา ท่านแสดงไว้ดังนี้

ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ

พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

• สติเป็นของสำคัญ
เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงในก็ให้มันอยู่ในวงกาย
ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้
ระลึกเป็นที่เป็นฐานเป็นจุดเป็นต่อมนี่เรียกว่าสติ

ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ
รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้งมันก็รู้
มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง
โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ
นั้นเป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ
ได้อย่างมั่นเหมาะไม่มีอะไรสงสัย


• ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย

พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา


viewtopic.php?f=2&t=26255


ดังนั้น ไม่ต้องกังวลว่า จะเป็น การฝึก(ตั้งใจ-จงใจ) หรอกครับ

เอา เวลาที่จะเสียไปกับการกังวล มาตั้งใจเจริญสติ กันดีกว่า


......................


นอกจากนี้

พระอาจารย์ตั๋น วัดป่าบุญญาวาส จังหวัดชลบุรี

เทศน์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เรื่องปฏิปทาที่เหมาะสม


"....ตามหลัก ผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต อย่าไปหลงกลกิเลส ปรุงแต่งส่งเสริมไป.... จะว่าบังคับ จะว่าควบคุม ก็ช่างเถอะ เราจะทำสติสมาธิก่อน ..."

ๆลๆ

"....ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ หรือนั่งสมาธิก็ตาม กำหนดระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะกำหนดอาปานสติ หรือ พุทธานุสติ หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็แล้วแต่ ให้ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต เรื่ิองปัจจุบัน ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าเรานั่งอยู่กับหมู่ ให้เราทำใจให้เหมือนนั่งอยู่บนท้องฟ้าคนเดียว กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานของเราเท่านั้นแหละ ถ้าคิดเรื่องอดีต ก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่ คิดถึงเรื่องอนาคตก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับคำบริกรรมภาวนา ทำอย่างนี้ไปก่อน .....สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตาม ไม่สนใจ.... เราจะควบคุมจิตใจเราให้ได้หนิ ปล่อยจิตใจมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว เค้ายังฝึกช้างให้เชื่องได้ ฝึกม้าให้หายพยศ ฝึกหมาให้เชื่องได้ ทำไมใจตัวเราฝึกให้ดีไม่ได้ จะฝึกให้มันนิ่ง นิ่งไม่ได้เหรอ กำหนดอยู่ตรงนั้นแหละ...."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มิ.ย. 2010, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติ หรือ สมาธิ เป็นตัวเดียวกันหรือไม่



คำสอนจากพระไตรปิฎก ใน เรื่อง องค์แห่งอริยมรรค ...สัมมาสติ เป็น คนล่ะองค์ธรรม กับ สัมมาสมาธิ.... แต่ สืบเนื่องกัน อย่างชนิดแยกขาดออกจากกันไม่ได้

ทั้ง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในสมัยพุทธกาล จัดสงเคราะห์ลงใน สมาธิขันธ์(ขันธ์ แปลว่า กอง) ด้วยกันครับ


http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... 420&Z=9601

เรื่องมรรค ๘ กับขันธ์ ๓

[๕๐๘] วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ ไฉน?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑
ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะหรือเป็นอสังขตะ?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นสังขตะ.
วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ขันธ์ ๓ (กองศีล กองสมาธิ กองปัญญา) พระผู้มีพระภาค
ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือว่าอริยมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วย
ขันธ์ ๓.
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ
วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์
ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์
ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์.

เรื่องสมาธิและสังขาร

วิ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ก็ธรรมอย่างไร เป็นสมาธิ ธรรมเหล่าใด เป็นนิมิตของสมาธิ
ธรรมเหล่าใด เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิ การทำให้สมาธิเจริญ เป็นอย่างไร?
ธ. ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ความที่จิตมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว เป็นสมาธิ สติปัฏฐาน ๔
เป็นนิมิตของสมาธิ
สัมมัปปธาน ๔ เป็นเครื่องอุดหนุนสมาธิความเสพคุ้น ความเจริญ ความ
ทำให้มากซึ่งธรรมเหล่านั้นแหละ เป็นการทำให้สมาธิเจริญ.



ปล... ท่าน ธรรมทินนาเถรี เป็นภิกษุณีสมัยพุทธกาลผู้เป็นเลิศด้านการแสดงธรรม

"สติปัฏฐาน๔ เป็น นิมิตของสมาธิ" คือ สัมมาสมาธิในองค์มรรค บังเกิดสืบเนือง จากการเจริญสติปัฏฐาน๔ นั่นเอง.




ปัจจุบัน อาจจะมีบางท่าน แยกการเจริญสติปัฏฐานว่าเป็นการเจริญวิปัสสนา ส่วน การเจริญสมาธิเป็นอีกส่วนหนึ่งไม่เกี่ยวข้องกับสติปัฏฐาน ....ซึ่ง ในสมัยพุทธกาลไม่ใช่เช่นนั้น



ในยุคสมัย หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย (ไม่นานมานี้เอง ) ท่านก็จัดว่า การเจริญสติตามรู้อารมณ์จิต(ความคิด) ว่าเป็น การปฏิบัติสมาธิ


โอวาทธรรม หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย


การปฏิบัติสมาธิใครจะใช้อารมณ์ใด สัมมาอรหัง ยุบหนอ พองหนอ พุทโธ หรือ จะพิจารณาทำสติตามรู้อารมณ์จิต เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิได้ ต้องไปสู่จุดอันเดียวกันคือปฐมฌาน

สมาธิที่ถูกต้องซึ่งเป็นองค์แห่งการตรัสรู้ได้ต้องประกอบด้วยองค์ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ซึ่งเป็นสมาธิในฌานที่ ๑ ซึ่งเรียกว่าปฐมฌาน อันนี้คือจุดนัดพบของนักภาวนาใครจะภาวนาแบบไหนอย่างไรก็มาพบกันที่จุดนี้ ถ้าสมาธิที่ถูกต้อง ต้องประกอบด้วยองค์ คือมีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา


แก้ไขล่าสุดโดย ตรงประเด็น เมื่อ 16 มิ.ย. 2010, 21:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...เจริญ...ข้าพเจ้าขออธิบายว่า การพัฒนาสิ่งที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่...ถ้าไม่ดีขึ้นไม่เรียกเจริญค่ะ...
...เจริญสติ...การพัฒนาวิธีการทำสติให้ดีขึ้นและมั่นคงจนเกิดเป็นสติสัมปชัญญะ..การรู้ตัวทั่วพร้อม...
...เจริญสมาธิ...การพัฒนาวิธีทำสมาธิให้ดีขึ้นและมั่นคงเกิดความสงบทางความคิด(หยุดคิดฟุ้งซ่าน)...
...เปรียบเทียบในทางธรรมก็คือการเจริญสติคือจิตภาวนาแบบวิปัสสนาภาวนา(วิปัสสนากรรมฐาน)...
...และการเจริญสมาธิคือจิตภาวนานำไปสู่ความสงบลดการคิดฟุ้งซ่านเป็นสมถภาวนา(สมถกรรมฐาน)...
...จะปฏิบัติสมถกรรมฐานก่อนหรือวิปัสนากรรมฐานก่อนหรือทำทั้ง2วิธีควบคู่กันไปก็ได้ขึ้นกับความถนัด...
:b12:
:b44: :b44:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 17 มิ.ย. 2010, 09:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีสมาธิ ก็มีสติ...มีสติ...ก็มีสมาธิ
เจริญสติ...เจริญสมาธิ..เป็นเบื้องบาทกัน..เกี่ยวเนื่องกัน
ทั้งสติ และ สมาธิ ไม่แตกต่างกัน...ควรปฏิบัติไปพร้อมกัน เกื้อหนุนกัน ให้พอดีกัน ดังนี้แลฯ
ขอเจริญในธรรม :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b6:
...ถ้ายังไม่มีหลักในการปฏิบัติที่แน่นอนขอแนะนำวิธีนี้ค่ะ...
...ใช้หลักวิปัสสนาดูกายกับจิตของวัดป่าดงไร่ อ.บ้านเชียง จ.อุดรธานี...
...ท่านเจ้าอาวาสพระครูพิศาลวิริยคุณและพระสงฆ์ในวัดนี้ปฏิบัติแบบนี้เจ้าค่ะ...
:b20:
...โดยเน้นให้ผู้ปฏิบัติพิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์...คือความไม่เที่ยงของตัวตน...
...เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และเป็นการระลึกรู้กาย เวทนา จิต ธรรมไปด้วย...
:b1:
...ไม่ว่าจะทำงานอะไรอยู่ไม่สำคัญ...แต่ให้จิตระลึกรู้ตัวทั่วพร้อม...
...กำหนดตามอิริยาบถขณะปัจจุบันบ่อยๆ...ว่าเรายืนหรือเดินหรือนั่งหรือนอน...
...ถ้าขณะที่ระลึกอยู่ในอาการต่างๆเกิดสุข ทุกขื ปวดเมื่อย เบื่อหน่ายก็ให้รู้สติในธรรมนั้น...
:b12:
...(ยืน,เดิน,นั่ง,นอน)อยู่นี่ คือ กาย...
...สุข-ทุกข์ คือ เวทนา...
...ความรู้สึกนึกคิดคือจิต...
...สิ่งที่กำหนดรู้คือสติ...
...(กิเลสที่เกิดคืออกุศลธรรมและนิวรณ์ธรรม)...บรรทัดนี้กำหนดเมื่อกิเลสเกิด
...สิ่งที่พิจารณาเห็นอยู่คือปัญญา...
...ตัวเราของเราไม่มี...
:b16:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...บางคนอาจจะคิดว่าการเจริญสมาธิต้องทำท่านั่งหลับตาขัดสมาธิเท่านั้น...
...ก็ท่านั่งจะเป็นลักษณะของการฝึกให้จิตมีกำลังทำความสงบได้เร็ว...แต่เมื่อยเร็ว...
...ถ้าเกิดนั่งนานๆไม่ได้...ก็เปลี่ยนเป็นการเดินจงกรม...แต่ต้องเดินแบบมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมค่ะ...
:b12:
...ซึ่งจริงๆ แล้วสมาธิเกิดทำได้ทั้งท่ายืน เดิน นั่ง นอน จะหลับตาหรือไม่ขึ้นกับการฝึกค่ะ...
...ถ้ามันคิดไปนอกตัวเองบ่อยไม่อยู่กับปัจจุบันก็ดึงกลับมา ที่ข้าพเจ้าใช้ประจำคือพุทโธ...
...ทุกวันนี้จิตข้าพเจ้าไม่นิยมการคิดฟุ่งซ่าน ไม่กำหนดคำบริกรรมก็เป็นสมาธิแบบไม่หลับตา...
...เวลาจะคิดทำอะไรก็รู้สึกว่าคิดได้เร็ว...ส่วนใหญ่เน้นการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม...
:b9:
...คือจะพยายามพิจารณาเพื่อให้เกิดการเห็นด้วยปัญญา...มองยังไงก็ยังไม่เป็นอนัตตาสักทีค่ะ...
:b32:
...แนะนำการฝึกใหม่ด้วยการระลึกพุทโธได้ตลอดเวลาทุกอิริยาบถ...เป็นการหางานเดียวให้จิตทำ...
...คือเป็นการใช้พุทโธหลอกจิตทำงาน...ให้เลิกคิดฟุ้งซ่านวุ่นวายจากสิ่งตัวเราเห็นมาทุกๆวัน...
...ซึ่งการเห็นอันนั้นมันระดมกันมาแบบห่าฝน...จากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ...
:b16:
:b44: :b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มิ.ย. 2010, 14:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
...รู้และเข้าใจธรรมไม่ต้องใจร้อน...อย่าร้อนกว่าไฟ...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=110
...สังขารที่เป็นปรมัตธรรม...จิต...เจตสิก...รูป...นิพพาน...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=111
...แม่ชีรวมอยู่ในอุบาสิกาธรรมดา...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=112
...การปฏิบัติของสงฆ์ละเอียดตามพระวินัย...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=113
...รู้และเข้าใจกรรมฐานทั้งสมถะและวิปัสสนา...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=114
...ปัญญารู้เท่าทันว่าปัจจุบันขณะนี้ที่กำลังเห็นปรากฎไม่มีตัวตนเป็นอนัตตา...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=115
...การเริ่มต้นของปัญญาคือความเข้าใจมั่นคงในสภาวะธรรม...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=116
...เพื่อเข้าใจในการรู้สติที่เป็นสภาวะธรรม...
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=117
:b16:
:b44: :b44:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 32 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร