วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 06:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: มัวแต่สันโดษ ชาติจึงไม่พัฒนา :b48: :b48:
...เมื่อสองวันมานี้ เพื่อนคนหนึ่งปรารภกับผมว่า เขามีความคิดเห็นตรงกับหลวงวิจิตรวาทการ อดีตปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผมถามว่าในแง่ไหน
เขาบอกว่า ในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายการเผยแผ่พุทธศาสนา หลวงวิจิตรท่านว่าที่ประเทศไทยพัฒนาไม่เท่าเทียมนานาอารยประเทศเขา มีความบกพร่องฉกาจฉกรรจ์อยู่ข้อหนึ่งคือ เพราะพระสงฆ์มัวพร่ำสอนแต่ให้ประชาชนมักน้อยสันโดษ ได้เท่าไรมีเท่าไรพอใจแค่นั้น ทำให้เป็นคนไม่กระตือรือร้นทำงานงอมืองอเท้า
...ผมบอกเพื่อนไปว่า อย่าได้เชื่อหลวงวิจิตรมากนัก หลวงวิจิตรอาจเป็นที่เชื่อถือได้ด้านอื่น แต่ในเรื่องศาสนาแล้วฟังๆ ไว้เท่านั้น
...ทรรศนะทางศาสนาที่ท่านผู้นี้แสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นบทความปาฐกถา หรือคำปราศัยของผู้นำประเทศที่ตนเป็นผู้ร่างให้อาจมิใช่จากความรู้จริงๆ ที่ท่านได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ก็ได้ อาจเป็นเพียง"การปรับ" หรือ "เบนทิศทาง" เพื่อให้เอื้ออำนวยแก่การเอาตัวรอดก็เป็นได้ พูดให้ชัดก็คือบิดเบือนพระพุทธศาสนาเพื่อประจบเจ้านาย
....เมื่อฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปฏิวัติใหม่ๆ ท่านผู้นี้แสดงทรรศนะออกมาอย่างชัดแจ้งว่าการปฏิวัติเป็นการดี พระพุทธเจ้าเองก็ทรงสรรเสริญการปฏิวัติในปฐมเทศนา(เทศน์กัณฑ์แรก)ที่ทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ พระองค์ตรัสว่า "โลเก อัปปฏิวัติยัง" การปฏิวัติที่ดีต้องเป็นปฏิวัติที่ผู้อื่นล้มไม่ได้(เผด็จการตลอดกาล)
....จากวาทะอันคมคายนี้ ทำให้ท่านได้บำเหน็จรางวัลด้วย ตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นคนแรก และคนเดียว ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นพลเรือนคนเดียวที่ได้เป็นนายพลตรี
.....บรรดาหลักธรรมพุทศาสนาที่มีผู้เข้าใจกันไม่ถูกต้อง นอกจากเรื่องหลักกรรมแล้ว สันโดษก็เป็นเรื่องหนึ่ง ความคลาดเคลื่อนอาจจะมาจากคำพูดที่ติดปากคนไทยว่า"สันโดษมักน้อย" หรือ"มักน้อยสันโดษ" ก็เป็นได้ การตีความแบบสร้างค่านิยมในแง่ลบ คือแฝง"การไม่กระทำ" หรือ"ความเกียจคร้าน"
อยู่ในตัว ไม่ต้องทำ ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องการมาก ต้องการน้อยๆ อยู่ไปวันๆ ผลที่ตามมาคือความเฉื่อยแฉะ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน งอมืองอเท้า ซึมเซื่อง ปล่อยตามบุญตามกรรม ไม่คิดสร้างสรรค์ พูดง่ายๆ ก็ว่าเป็นมนุษย์ไม่เอาไหน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ถ้าสันโดษของพระพุทธเจ้าหมายถึงอาการอย่างที่ว่ามานี้ ก็น่าจะถูกประณามว่า พระองค์สอนไม่เอาไหน สอนสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศอย่างร้ายแรง ใช้ไม่ได้จริงๆ
:b43: แต่สันโดษจริงๆ มันเป็นอย่างไร ? :b43:
...ลองหันไปดูตำราดูบ้างเป็นไร ในตำราท่านให้ความหมายของสันโดษไว้ว่า
....ยินดีตามที่หามาได้, ยินดีเท่าที่หาได้ด้วยความบากบั่นของตน(ยถาพลสันโดษ)
....ยินดีตามกำลังสามารถที่หามา, มีสติกำลังเท่าไรทุ่มเทลงไปได้เท่าไรก็พอใจ(ยถาพลสันโดษ)
....ยินดีในสิ่งที่หามาได้โดยชอบธรรม,ของที่ได้มาเป็นผลของการสร้างสรรค์ของตน โดยวิธีการที่ชอบธรรม ไม่ทุจริตฉ้อโกงเขามา(ยถาสารุปปสันโดษ)
สรุปให้เข้าใจง่าย"สันโดษคือความพึงพอใจในผลสำเร็จ หรือผลได้ที่ตนสร้างขึ้นด้วยความบากบั่นด้วยการทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดลงไปและโดยชอบธรรม"
....วิธีจะเข้าใจสันโดษดีอีกอย่างหนึ่งคือ ให้ดูสิ่งที่ตรงข้ามกับสันโดษและคุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษสิ่งที่ตรงข้ามกับสันโดษ คือ
(๑) การเบียดเบียนกันเพราะอยาก แต่ไม่อยากกระทำ
(๒) การทุจริตเพราะอยากได้ของคนอื่น
(๓) ความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยแต่ไม่ชอบทำงาน
(๔) การทอดทิ้งละเลยไม่เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน
(๕) ความกระวนกระวาย เร่าร้อนเห่อเหิมทะยานอยากไม่พอใจตลอดเวลา
(๖) ความเกียจคร้านเฉื่อยชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 12:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..คุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษคือ วิริยารัมภะ หรือการปรารภความเพียรเอาความง่ายๆ คือ การตั้งหน้าตั้งตาพยายามปฏิบัติหน้าที่การงานไม่หยุดยั้ง
.....จากการนิยามความหมายของสันโดษ จากการมองสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ตรงข้ามกับสันโดษและคุณ
ธรรมที่สนันสนุนสันโดษ เราพอจะมองเห็นลักษณะของคนที่มีสันโดษดังต่อไปนี้
(๑) คนสันโดษ จะต้องเป็นคนทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร และด้วนสติปัญญาเท่าที่เหมาะสมกับภาวะของตนและโดยชอบธรรม
(๒) คนสันโดษ จะไม่อยากได้ของคนอื่นหรือของที่ไม่ชอบธรรม ไม่ทุจริตเพราะปากท้อง หรือเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว
(๓) เมื่อหามาได้ก็ใช้สอยของที่ได้มาเท่าที่จำเป็น และด้วยสติปัญญาไม่กลายเป็นทาสสิ่งเหล่านั้น
(๔) เมื่อไม่ได้ เมื่อสุดวิสัยไม่สำเร็จตามต้องการ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่ยอมให้ความผิดหวังครอบงำ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนไปได้
(๕) ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ สมบัติของตน หรือความสำเร็จของตน มาเป็นเหตุยกตนข่มขู่ผู้อื่น
(๖) หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตนหรือเป็นสิทธิของตน สามารถดำรงชีวิตที่มีความสุขในทุกฐานะที่ตนเข้าถึงในขณะนั้นๆ
(๗) มีความภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากกำลังของตน มีความอดทนสามารถคอยผลสำเร็จที่พึงจะเกิดขึ้น จากการกระทำของตน
(๘) มีความรักและภักดีในหน้าที่การงานของตน มุ่งปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
:b51: :b53: :b51: คุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศชาติใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็ใคร่จะเรียนถามว่า ที่ประเทศชาติไม่ค่อยพัฒนาเท่าที่ควร เพราะมัวแต่สอนสันโดษ หรือเพราะไม่สอนสันโดษกันแน่? :b51:

ที่มา.,หนังสือ"พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์"โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๓,สำนักพิมพ์มติชน,ธันวาคม ๒๕๓๘,หน้า ๒๑๓-๒๑๖


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 10 มิ.ย. 2010, 12:15, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มิ.ย. 2010, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 14:44
โพสต์: 20

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในวันที่ผมออกมาเผชิญโลกใหม่ ๆ ผมมีอุดมการณ์ครับ และบทความในเชิงนี้ผมก็ได้อ่านอยู่เรื่อย ๆ แม้แต่ทุกสถาบันที่สอนให้นักศึกษาจบมา ก็ล้วนแต่เน้นการเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งทางด้านวิชาการ และจริยธรรม การเป็นพลเมืองที่ดีคนหนึ่งของหน่วยงานที่ตนทำงาน ต่อสังคม ต่อครอบครัว
ในวันที่ผมเรียนจบใหม่ ๆ ชีวิตของผมเต็มไปด้วยความรู้สึกอิสระ และกระตือรือร้น
ไฟ ครับ รุ่นพี่ที่ทำงานบอกว่า ยังมีไฟ และผมก็ยังคงเป็นคนที่เชื่อมั่น

จริง ๆ ไม่ค่อยอยากจะออกความเห็นเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้เลย เพราะบางครั้ง เอ่อ...ผมเคยได้ยินรุ่นน้องคนหนึ่งกล่าวลอย ๆ ขึ้นกับผม "วัฒนธรรมองค์กร ทำลายคนดี" การเป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมมาอย่างสมดุลทั้งในแง่ของวิชาการ ศีลธรรม จริยธรรม บางครั้งพื้นที่ในการหายใจก็จำกัดครับ บางครั้งอากาศที่เราหายใจอยู่ ก็เหมือนกับมีหนามแหลม ๆ คอยทิ่มแทงคอหอย จนบางครั้งเราก็ต้องถอยกลับมายืนตรงจุดที่จะมองภาพทุกอย่างให้เห็นได้ชัด ๆ แล้วพิจารณา ..

การเป็นคนดีในสังคม บางครั้งมันก็ทำให้เรารู้สึกเหมือนแมลงที่ตกลงไปในน้ำผึ้ง

ในความเข้าใจของผม ความสันโดษไม่ได้ทำให้อะไรต่อมิอะไรมันขาดประสิทธิภาพ นะครับ
ความสันโดษ ที่ผมพบและผมเข้าใจ คือ สภาวะแห่งจิตใจที่ไร้แรงหน่วง ไร้แรงเหนี่ยวรั้ง
ซึ่งเมื่อมันได้รับข้อมูล ศักยภาพของประสาทสัมผัสทุกส่วนจะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ
ประหนึ่งว่า ถ้าคุณอยู่ในสนามแข่งรถ ถ้าคุณไม่มีความกลัวความเร็ว และไม่มีความกลัวตายเข้ามาในหัวแล้วไซร้ คุณกับรถจะเป็นหนึ่ง เมื่อนั้นคุณจะเล่นไปด้วยศักยภาพสูงสุดที่รถคันนั้นจะทำได้...

:b8: ขอบคุณกระทู้ดี ๆ ครับ


แก้ไขล่าสุดโดย ผ้าเช็ดเท้า เมื่อ 10 มิ.ย. 2010, 12:44, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร