วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:24  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมะระดับปรมัตถธรรม หรือ โลกุตรธรรม ที่ท่านอาจารย์พุทธทาส นำมาสอนมากกว่าใครๆในเมืองไทย...โยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่อง "สุญญตา" ซึ่งท่านอาจารย์เริ่มบรรยาย เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๓ และจบลง เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายาน พ.ศ. ๒๕๐๓ รวมเป็นคำบรรยายทั้งหมด ๒๒ ครั้ง สันนิษฐานว่าท่านต้องการบรรยายในครั้งต่อไปอีก แต่พรรษาจบเสียก่อน..
ในที่นี้กระผมขออนุญาตเอาคำบรรยายบางบทบางตอนในหนังสือ"สุญญตา"ลงให้พี่น้องญาติชาวสัมมาปฏิบัติ ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นแนวนาง เสริมสร้างปัญญาทางธรรมทางจิตวิญญานให้เจริญยิ่งขึ้นไป

:b48: ธาตุปัจจเวกขณ์ การบรรยายครั้งที่ ๑๑
วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓

.....วันี้จะได้พิจารณากันถึง หลักแห่งธาตุปุจจเวกขณ์ อีก ๓ บทที่เหลือ สืบไป.
(นิสฺตตฺโต นิชฺชีโว,สุญโญ)
ที่แล้วมาเราได้วินิจฉัยกัน ถึงบทว่า ธาตุมตฺตกํ ปวตฺตมานํ คือเป็นตามปัจจัยอยู่เนืองนิจ,และบทว่า นิสฺสตฺโต คือมิได้เป็นสัตวะอันยั่งยืน นิชฺชีโว มิได้เป็นชีวะอันเป็นบุรุษบุคคล สุญโญ ง่าเปล่าจากความหมายเป็นตัวตนสืบไป.
.......ผู้ศึกษาจะต้องไม่ลืมว่าทั้ง ๕ บทนี้ ล้วนแต่รุมกันอธิบายความหมายของบทว่า สุญโญ หรือที่เราเรียกในที่นี้ว่า สุญญตาเป็นส่วนสำคัญ.,คือจะต้องหยั่งเห็นความจริงให้ชักเจนอยู่เสมอไปว่า ทุกบทแสดงถึงความว่าง หรือสุญญตาอยู่ปริยายใดปริยายหนึ่งตามความมุ่งหมายของบทนั้นๆ ถ้าไม่ทำในใจไว้อย่างนี้ จะทำให้เกิดความฟั่นเฝือ หรืออย่างน้อยก็สลัวๆ ในขณะที่ทำหารศึกษา,เรากำลัง ศึกษาเรื่องสุญญตามาโดยลำดับ จนกระทั่งมาถึงการอธิบายลักษณะแห่งความว่างนั้น ด้วยการพิจารณาให้เห็นโดยความเป็นธาตุ ทั้งที่เป็น สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ และหยิบเอาตัวสิ่งที่ถูกสมมุติว่าบุคคลขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญ สำหรับการพิจารณาในที่นี้ โดยมีหลักว่า เมื่สิ่งที่เรียกว่าบุคคล โดยความเป็นจริงเป็นของว่าง หรือกลายเป็นของว่างไปแล้วเช่นนี่ สิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคลนั้นก็พลอยเป็นของว่างไปเอง. หรือแม้หากว่า ถ้าจะมีสิ่งที่เป็นตัวตนแท้จริงอยู่บางอย่าง แต่ถ้าเข้ามาเกี่ยวข้องกับบุคคล ซึ่งที่แท้เป็นของว่างจากตัวตนแล้วมันจะมีประโยชน์อะไร.,มันก็พลอยว่าง หรือไร้ความหมายแห่งความมีตัวตนไป ตามสิ่งที่เรียกว่าบุคคล หรือมีค่าเท่ากับความว่างไปด้วยกัน. อีกอย่างหนึ่งซึ่งเราจะต้องไม่ลืมนั้น คือความจริงข้อที่ว่า ปัญหาต่างๆนาๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น จะเป็นเรื่องทุกข์ก็ดีเรื่องดับทุกข์ก็ดี มันรวมอยู่ที่สิ่งๆเดียว คือสิ่งที่เรียกว่า"บุคคล" นั่นเอง. เมื่อปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับบุคคลสิ้นสุดลงไปแล้ว มันก็เท่ากับจบเรื่อง แล้วจะไปทนเหน็ดทนเหนื่อยด้วยการสร้างปัญหาต่างๆ ขึ้นมาอีกทำไมกัน.,แม้จะเป็นปัญหาเรื่องสิ่งที่มีตัวมีตนอย่างแท้จริงก็ตาม. เราควรระมัดระวังอย่าให้การศึกษาคิดค้นหรือการปฏิบัติแล่นเตลิดเลยออกไปนอกวง อย่างไม่มีสิ้นสุดเช่นนั้นเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 10:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....คนส่วนมากเมาปรมัตถ์ หรือเมาปรัชญา ยิ่งกว่าคนเมาเหล้า หรือคนเมาน้ำลาย.,ไม่คิดหรือไม่พูดกันแต่ในขอบวงของความดับทุกข์ เท่าที่เป็นปัญหาจำเป็น และเป็นปัญหารีบด่วนเฉพาะหน้าของตนโดยแท้จริง แต่ไปสนใจคิคค้น โต้เถียงกันด้วยปัญหานอกวงต่างๆ จนกระทั่งตายไปก็ยังไม่จบ หรือยังไม่เคยเข้าถึงตัวปัญหาเลย มีแต่เรื่องข้างๆคูๆ ไปเสียทั้งนั้น ดังนี้ก็ยังมี. ที่กี่ยวกับเรื่องนี้นั้น คนพวกนี้เขาพูดว่า เอาละเป็นอันยอมให้ว่าบุคคลนั้นไม่มีตัวตนจริง.,แต่สิ่งที่เรียกว่าอัตตา หรือตัวตนที่แท้จริงนั้นมีอยู่ คือไปมีตัวตนที่อสังขตธาตุ หรืออสังขตธรรม หรือนิพพานนั่นเอง. แล้วก็ชวนกันพูดถึงเรื่องนั้นๆ คือเรื่องตัวตนอันแท้จริง โดยไม่ยอมสนใจกับเรื่องการทำลายบุคคลให้ว่างเปล่าจากตัวตน แต่ประการใด
.....เขาจึงกลายเป็นบุคคลที่มีตัวตนอย่างยิ่งโดยไม่รู้สึกตัว คือมีความหมายรู้สึกว่ามีตัวมีตน สำหรับจะลุถึง หรือเข้าถึงนิพพาน หรือเข้าถึงอสังขตธรรมนั่นเอง. ทั้งๆที่มีตัว และมุ่งหมายจะเอานิพพานเป็นของตัวอยู่เช่นนี้ ก็หาได้สำนึกไม่ว่า ตนหลงอยู่ในความมีตัวอย่างลึกซึ้ง ทั้งฝ่ายตัวบุคคลและฝ่ายสิ่งที่บุคคลจะเอาให้ได้ จะถึงให้ได้, นับว่าเป็นการชักใยพันตัวเอง โดยไม่รู้สึกว่ามันเป็นใย แม้แต่เล็กน้อยเป็นเหตุให้คนพวกนี้เกิดมีอาการที่เรียกว่าเมาปรมัตถ์ เมาปรัชญาไปจนตลอดชีวิต., ขี้โมโหก็เก่ง ยกตนข่มท่านก็เก่ง และอะไรๆ ที่ไม่น่าจะเก่ง ก็เก่งอีกมากมายหลายอย่าง ซึ่งเป็นที่ปรากฏกันอยู่ทั่วไปแล้ว,
นี่แหละคือโทษของการที่มองข้ามตัวบุคคล มองข้ามการทำลายตัวบุคคล ด้วยการพิจารณาเห็นเห็นโดยความเป็นธาตุ ซึ่งเป็นหัวใจและหลักสำคัญที่สุด แห่งการทำความดับทุกข์. ฉะนั้นในบทธาตุปัจจเวกขณ์ จึงยกเอาสิ่งที่เรียกว่าบุคคลขึ้นมาตั้งเป็นประเด็นที่สำคัญหรือเป็นตัวเรื่องของเรื่อง ซึ่งได้แก่บทว่า ตทุปภุชฺชโก จ ปุคคโล นั่นเอง
....อธิบายว่า เมื่อบุคคลหรือสิ่งที่เนื่องด้วยบุคคล ในฐานะเป็นอารมณ์ ต่างๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ มา กลายเป็นของว่างจากตัวตน โดยความเป็นสักว่าธาตุไปเช่นนั้นแล้ว., จิตก็หลุดพ้นจากความยึดถือในบุคคลและในตัวตน รู้สึกว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นคนเลย ก็เป็นอันว่าจิตนั้นได้ลุ,ได้ถึง,ได้รู้ ได้สัมผัส ต่อสิ่งที่เป็นอสังขต หรือเป็นวิสังขาร ซึ่งเรียกสั้นๆ ในที่นี้ว่าเป็น สุญญตาผัสสะ คือมีผัสสะต่อสุญญตาได้แล้ว เป็นการเพียงพอแล้ว., และให้เรื่องจบสิ้นกันเสียที. ไม่ต้องมีปัญหาว่า จิตที่อยู่ในขั้นนี้เป็นอัตตาที่แท้จริงหรือไม่., หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็กล่าวว่า จิตที่ลุถึงนิพพาน หรือนิพพานเองก็ตาม เป็นอัตตาที่แท้จริงหรือไม่ ดังนี้เป็นต้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ปัญหาชนิดนี้เกิดขึ้นหนาแน่นแก่นักศึกษา ประเภทที่เรียกว่าเมาปรมัตถ์ หรือ เมาปรัชญา ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น, แต่ไม่เกิดแก่พระอริยเจ้า..โดยเฉพาะพระอรหันต์ขีณาสพ แต่ประการใดเลย., เพราะเรื่องของท่านมันจบสิ้นโดยการที่มันจบเองก็ตาม หรือท่านที่รู้จักทำให้มันจบก็ตาม จบลงที่จิตหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นว่าตัว ว่าตน ว่าบุคคลเป็นต้น ในนามรูปที่มันเคยยึดถือว่าสัตว์ ว่าบุคคลนั่นเอง, และท่านรู้แต่เพียงว่า "บัดนี้จิตหลุดพ้นแล้วจากการยึดถือโดยปรกการทั้งปวง, การเวียนว่ายในความทุกข์สิ้นสุดลงแล้ว ดังนี้"., ไม่มีทางที่จะเกิดปัญหาขึ้นสืบไปว่า จิตชนิดนี้เป็นตัวตนหรือไม่.,ความสิ้นสุดของความทุกข์โดยประการทั้งปวงนี้เป็นตัวตนของมันเอง หรือเป็นตัวตนของเรา คือจิตนั่นหรือหาไม่. ปัญหาไม่อาจจะเกิดขึ้น ก็เพราะว่า ความยึดถือว่าตัว ว่าตน โดยลักษณะใดก็ตามไม่มีเหลืออยู่เลยในบัดนี้
โดยเหตุที่มามีความรู้อันแท้จริง ชนิดที่เป็นความรู้แจ้งแทงตลอดว่า สิ่งที่เรียกว่าตัวตน สัตว์ บุคคล เป็นต้นนั้น เป็นเพียงผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลของความยึดมั่นถือมั่น มันผลิตออกมาพล่อยๆ ตลอดเวลาที่ยังมีความยึดมั่น กล่าวคืออุปาทานที่มีมูลมาจาก ตัณหาและอวิชชาตามลำดับ
.........เมื่อความยึดมั่น หรืออุปาทาน ถูกทำลายให้หมดไปด้วยการพิจารณาเห็นโดยความเป็นสักว่าธาตุ โดยสิ้นเชิงแล้ว,.ความรู้สึกว่าตน สัตว์ บุคคล็สูญเสียต้นกำเหนิด ไม่อาจจะผลิตออกมาได้อีกต่อไป. เป็นการดับหายสิ้นเชิงอย่างที่เรียกว่า"เข้าถึงความว่าง"หรือสุญญตาไปด้วยกัน., แล้วจะมีความรู้สึกว่า อัตตาที่ไหนเหลืออยู่ สำหรับให้ทำการจับแกะชนแพะ หรือจับแพะชนแกะได้อีกต่อไป. กล่าวคือการจะไปจับเอานิพพาน มาใส่ให้กับชื่อ"อัตตา" หรือโยกเอาคำว่า "อัตตา"ที่ถอดถอนออกจากนามรูปแล้วนำไปใส่ให้นิพพาน หรือจิตที่ลุถึงนิพพานแล้ว นี่จะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เป็นอันขาด แก่พระอรหันต์ขีณาสพ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอุปาทาน โดยประการทั้งปวง,. จะมีอยู่ก็แต่ที่ พวกเมาปรมัตถ์ หรือพวกเมาปรัชญา มาว่าเอาเอง หรือทำการแต่งตั้งลับหลังให้ท่าน โดยที่ท่านไม่รู้ไม่เห็นแต่ประการใดเลย เท่านั้น.
ทั้งหมดนี้สรุปความว่า การถอนความยึดถือว่าตัวตน หรือบุคคลออกเสียได้จากรูปนามทั้งปวงเท่านั้น เป็นการเพียงพอแล้ว., ไม่ต้องนำเอาตัวตนที่ถอนออกจากรูปนามนั้น ไปสวมครอบให้แก่นิพพาน หรือธาตุทั้งหลายฝ่ายอสังขตธาตุอีกต่อไป., เพราะว่าตัวตนนั้นหมดสิ้นเสียแล้ว ไม่เหลือซากอะไรเหลืออยู่อีกแต่นิดเดียว ตั้งแต่ในขณะแห่งการเพิกถอนสังขตธาตุ จากความเป็นตัวตนโดยประการทั้งปวง มันจึงไม่เหลืออยู่สำหรับจะนำไปสวม หรือครอบให้แก่ฝ่ายอสังขตธาตุอีกสืบไป.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 16:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ในแง่ของการปฏิบัตินั้น เราสรุปได้ว่า ปฏิบัติเท่าที่จะถอนความยึดถือว่าบุคคล หรือตัวตน ในนามรูปหรือในเบญจขันธ์ ที่ตนกำลังยึดมั่นถือมั่นอยู่โดยความเป็นตัวตน หรือโดยความเป็นของตน เสียให้ได้เท่านั้น., อย่าได้ขืนปฏิบัติข้ามไปถึงขั้นที่จะทำการแต่งตั้ง อสังขต หรือ นิพพาน ให้เป็นตัวตนขึ้นมาอีกเป็นอันขาด
ส่วนที่จะทำความเข้าใจกันในที่นี้นั้น มีอยู่ตรงที่จะชี้ให้เห็นว่า ตัวสิ่งที่เรียกว่า"บุคคล" นั่นแหละเป็นปัญหา หรือเป็นตัวปัญหา หรือเป็นตัวประเด็นของปัญหาแต่เพียงสิ่งเดียว, เราจัดการกับสิ่งๆนี้ เพียงสิ่งเดียวโดยทำลายมันให้สูญสิ้นไป เพียงอย่างเดียวก็พอแล้ว .,เรียกว่าเราทำเพียงอย่างเดียว กับสิ่งๆเดียวนี้ให้เสร็จสิ้นไปเถิด สิ่งต่างๆจะเป็นอันเสร็จสิ้นไปหมด., หรือที่เรียกว่า "จบกิจพรหมจรรย์ หรืออยู่จบพรหมจรรย์ ในพระพุทธศาสนา"นั่นเอง. ถ้าจะกล่าวสรุปให้สั้นเนื่องด้วยธาตุ ก็กล่าวว่า ถอนความยึดมั่นว่าตัวตนในสังขตธาตุทั้งหมดเสีย ความยึดมั่นว่าตน ก็ไม่อาจจะเกิดขึ้นในฝ่ายอสังขตธาตุ แม้แต่ประการใด,
ฉะนั้น การที่ท่านแนะให้ปฏิบัติเพียงเพื่อถอนความยึดมั่น ในบุคคลและปัจจัยต่างๆ ที่บุคคลนั้นกำลังบริโภคใช้สอย ก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว นี่คือผลของการพิจารณาโดยความเป็นธาตุ ที่ดำเนินไปในปัจจัย และบุคคลผู้บริโภคปัจจัยนั้น สำเร็จเป็นผลขึ้นมาในขณะแห่งการเข้าถึงสุญญตา. หรือความว่างโดยประการทั้งปวง
....สำหรับบทว่า นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว เป็นเพียงบทขยายความสืบไปหรือเป็นบทกำชับยืนยันเอาไว้ไม่ให้กลายเป็นอย่างอื่น.,ว่าหลังจากการเห็นโดยความเป็นธาตุแล้ว จะมีการเห็นเป็นสัตวะ หรือชีวะไปไม่ได้,สิ่งใดที่เป็นเพียงสักว่าธาตุ ไม่ว่าสังขตธาตุหรืออสังขตธาตุก็ตาม สิ่งนั้นไม่ใช่สัตวะ ไม่ใช่ชีวะ แต่เราก็ไม่รู้จะเรียกมันว่าอะไร จึงต้องใช้โวหารปฏิเสธอีกเช่นเคย.,ทำนองเดียวกับที่ได้อธิบายมาแล้วในวันก่อน
......คำว่า นิสฺสตฺต นิชฺชีวะ,.จึงเกิดขึ้น สำหรับใช้เรียกสิ่งที่ตรงกันข้ามจากสัตวะ หรือชีวะ., เพราะฉะนั้นเราอย่าพยายามไปให้ความหมายใดๆ ในทำนองที่เป็น Positiveแก่สิ่งเหล่านี้เป็นอันขาด จะเป็นการกระทำที่ผิดไปตั้งแต่ต้นทีเดียว,เพราะสิ่งที่เราจะบรรยายให้เป็นเรื่องเป็นราวหรือให้มีลักษณะต่างๆ ได้นั้น มันทำได้เฉพาะแก่สิ่ง ซึ่งเปิดเผยแก่เราแล้ว,คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีแก่เราแล้ว เคยชิมรสมาแล้วเป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น ซึ่งมีมากจนเรากำหนดไม่ไหว., แต่ก็ล้วนเป็นไปในขอบวงของความยึดถือ โดยความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนทั้งนั้น ซึ่งทำให้เราไม่ประสีประสาเสียเลยต่อคำว่า"เป็นสักแต่ว่าธาตุ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มิ.ย. 2010, 17:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....ครั้นมีการศึกษาชนิดที่ทำให้เราเข้าถึงความลับ หรือความจริงแท้ของสิ่งต่างๆเหล่านั้น มันกลับพบว่า มันตรงกันข้ามจากเรื่อง จากสิ่ง จากความรู้สึก หรือจากความเคยชินทุกๆอย่าง ทุกๆเรื่องของเรา., เป็นเรื่องที่เราไม่เคยแม้แต่ฝันเห็น เราจึงไม่มีถ้อยคำใดๆ ที่จะให้พูดเพื่อเรียกชื่อสิ่งอันตรงกันข้ามเหล่านั้น. เราจึงต้องใช้โวหาร ปฏิเสธ คือเติมคำว่า"ไม่" หรือคำว่า"ไม่ใช่" เข้าข้างหน้าคำที่เป็นชื่อที่คุ้นเคยกับเรามาแต่ก่อน.
....นี่แหละคือใจความสำคัญของคำ ๒ คำ ที่มีอาการเหมือนกับระเบิดออกมา และมีเสียงดังยิ่งกว่าเสียงฟ้าผ่า ว่าไม่ใช่สัตวะ ไม่ใช่ชีวะ ไม่ใช่อัตตาตัวตน ไท่ใช่บุคคล ดังนี้เป็นต้น. พึงถือว่ามันไม่ใช่คำพูดคำใหม่ ตามธรรมดาสามัญเฉยๆ แต่มันเป็นคำที่มีความหมาย ที่อยู่เหนือวิสัยโลก ซึ่งเราจะพูดว่าเป็นคำพูดของคนในโลกอื่น ดังนี้ มันก็ยังน้อยเกินไป ยังไม่ถูก เพราะมันเป็นคำพูดที่อยู่เหนือวิสัยโลกโดยประการทั้งปวง.
....สภาวะที่อยู่เหนือวิสัยโลกย่อมไม่มีการพูด., ฉะนั้น ความหมายอันแท้จริงของคำเหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่ใครๆ ไม่อาจจะพูด จะต้องหุบปากและเงียบเสียง แต่แล้วมันก็ยังคงดังยิ่งกว่าเสียงฟ้าผ่า. ฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือว่า คำว่า นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว เป็นต้นนี้ เป็นภาษาโลก หรือเป็นภาษาคนธรรมดาแต่ประการใด.,แต่ให้ถือภาษาของฝ่ายตรงกันข้าม กล่าวคือ ฝ่ายโลกุตตร หรือ ฝ่ายอสังขตซึ่งไม่ต้องมีการออกเสียง หรือเปล่งเสียง คงเงียบกริบ แต่มีความหมายมาก มีน้ำหนักมากท่วมทพ้นโลกทั้งหมดทั้งปวง
เลยทีเดียว จึงเรียกว่า มันดังยิ่งกว่าเสียงฟ้าผ่า ซึ่งจะทำให้เสียงฟ้าผ่ากลายเป็นของเล่นเด็กไป ในเมื่อนำเข้าไปเปรียบเทียบกับเสียงของธรรมะประเภทนี้.
.......ถ้าท่านผู้ใดเข้าใจข้อความที่กำลังกล่าวนี้ ผู้นั้นย่อมจะเข้าใจความหมายและน้ำหนักของคำว่า นิสฺสตฺโต นิชฺชีโว ได้อย่างสมส่วนกัน, อย่างไรก็ตาม ท่านจะต้องสำเหนียกไว้เสมอว่า แม้แต่คำว่า สัตวะ ชีวะ อัตตา บุคคล ตัวตน เป็นต้น เราก็ยังไม่เข้าใจเสียแล้ว หรือเข้าใจมันอย่างผิดๆ อยู่เป็นปกตินิสัย แล้วจะไปเข้าใจตัวสภาวะ ที่ตรงกันข้ามจากมันโดยสิ้นเชิงได้อย่างไรกันเล่า, เราไม่อาจเข้าถึงความหมายของคำ เช่น คำว่า นิสฺสตฺต นิชฺชีว เป็นต้นเหล่านี้ได้โดยวิถีทางของปริยัติทั้งหมดทั้งสิ้น,หรือวิถีทางของตรรกวิทยา หรือปรัชญา เป็นต้น

ซึ่งมันเพียงแต่ทำให้ปัญญาพุงฉูดฉาดไปทางนั้นที ทางนี้ที ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมันตั้งอาศัยอยู่บนที่ตนเรียน, ความรู้ที่มันนำมาใช้ในการคิด ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ในวิสัยของสังขต ทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่เป็นอิสระแก่ตน., มันจึงไม่สมารถทำให้จิตมีความแหลมคม แทงทะลุเปลือกหุ้มของอวิชชา และอุปาทานไปได้, หนทางมีอยู่ทางเดียว คือเราจะต้องใช้วิธีการที่มีไว้เฉพาะสำหรับเรื่องราวของจิต ซึ่งเราจะต้องใช้ประสพการณ์ทางจิตต่างๆ ที่เกิดมาแล้วแก่จิต เป็นที่ซึมซาบแก่จิตแต่หนหลัง หรือในปัจจุบัน., ทำให้เกิดความรู้สึกที่กำลังรู้สึกอยู่จริงๆ แล้วพยายาปฏิบัติไปในทางที่จะเกิดความรู้สึกตรงกันข้ามเป็นอย่างๆ ไป เรื่อยๆ ไป จนพบความจริงที่ว่า อย่างไหนหลอกลวง อย่างไหนไม่หลอกลวง อย่างไหนเป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ อย่างไหนไม่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ดังนี้เป็นต้น. จนจิตค่อยๆ น้อมไปเอง ในคลองแห่งธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 09:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....สำหรับในกรณีนี้ เราจะต้องทำให้ปรากฏแก่จิตของเราอย่างชัดแจ้งว่า ความยึดถือว่า สัตว์ บุคคล ว่าชีวะ ว่าอัตตานั้นมันเป็นอย่างไร มันอยู่ที่ตรงไหน? แห่งความรู้สึกนึกคิกของเรา หรือว่ามันเป็นทั้งหมดแห่งความรู้สึกคิดนึกของเรา มันเป็นของลวงหรือของจริง, มันให้ผลนำมาซึ่งทุกข์ หรือไม่นำมาซึ่งทุกข์ ดังนี้เป็นต้น ให้เป็นที่ชัดแจ้ง,
....เมื่อเข้าถึงความจริงได้ส่วนหนึ่งแล้ว ย่อมไม่เป็นการยากที่จะเข้าถึงความจริงอีกส่วนหนึ่งที่ยังเหลืออยู่หรือตรงกันข้าม, เราจะค่อยๆ เห็นคุณค่าของความไม่ยึดถือ จิตจะน้อมไปสู่ความไม่ยึดถือ และประสพผลของความไม่ยึดถือด้วยตนเอง., เมื่อนั้นแหละจึงจะรู้จักตัวของสิ่งที่เป็นความว่างอย่างยิ่ง อันมีชื่อว่า นิสฺสตฺต หรือ นิชฺชีวะ ในที่นี้,
.....ผู้ที่ได้ทำการปัจจเวกขณ์ในธาตุปัจจเวกขณ์ โดยวิธีบริกรรมอย่างพึมพำ หรือด้วยการสอดส่องนึกคิด ด้วยเหตุผลมาอย่างเพียงพอแล้ว ลองเขยิบให้สูงขึ้นมาลองใช้วิธีนี้ดูบ้าง ก็จะเป็นการเดินเข้าไปในความหมายของคำว่า นิสฺสตฺต นิชฺชีวะ ได้ยิ่งขึ้นไป.
......การอธิบายคำ ๒ คำนี้โดยวิถีทางแห่งปริยัตินั้น มีอยู่แล้วอย่างมากมายในตำราที่ใช้ศึกษากันอยู่ในปัจจุบันนี้ ไม่จำเป็นจะต้องนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ซึ่งจะทำให้เกิดความรำคาญขึ้นโดยไม่จำเป็น จึงได้กล่าวไปในลักษณะที่เป็นกิริยาอาการ อันจะน้อมนำจิตเข้าไปสู่ความว่าง จากตัวตนได้โดยรวดเร็วอย่างไร เป็นส่วนใหญ่., และตั้งอิงอาศัยอยู่บนการพิจารณาเห็นโดยความเป็น"ธาตุ" นั่นเอง, จึงได้กล่าวว่า มันเป็นเพียงบทขยายความ หรือบทย้ำในผลของการปฏิบัติข้อนั้น ว่าต้องดำเนินมาในลักษณะที่จะจำกัดความรู้สึกว่า สัตวะ ว่า ชีวะ ให้หมดสิ้นไป.,แล้วมีการเห็นประจักษ์ที่ท่านกล่าวว่าเป็น นิสฺสตฺต นิชฺชีวะ ดังกล่าวแล้ว.


:b48: :b48: :b48: จบการบรรยายครั้งที่ ๑๑ :b48: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุปัจจเวกขณ์
แสดงความว่างของอาหาร

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42:
บรรยายครั้งที่ ๑๖
วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓

....ในวันนี้จะได้สรุปใจความทั้งหมด ในบท "ธาตุปัจจเวกขณ์" เข้าด้วยกันว่าเป็น เครื่องแสดงให้เห็นลักษณะแห่ง "ความว่าง" ไว้อย่างไร
.....ควรระลึกหรือย้อนไปท้าวความมาตั้งแต่ต้นตามลำดับอีกครั้งหนึ่ง., กล่าวคือตอนที่เราพิจารณาความว่างกันโดยวงกว้าง ซึ่งมีหลักว่า "สังขตธาตุก็เป็นของว่างจากตัวตน,อสังขตธาตุก็เป็นของว่างจากตัวตน" หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็กล่าวว่า สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมเป็นของว่าง แม้แต่สิ่งที่เที่ยงและไม่เป็นทุกข์ ก็ยังเป็นอนัตตา จึงพลอยกลายเป็นของว่างไปโดยเท่ากัน เพราะมีความเป็นอนัตตาโดยเท่ากันนั่นเอง. และการที่จะเห็นอนัตตาหรือความว่างนั้น ทางดีที่สุดทางหนึ่งก็คือ การพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุ.
....ในการพิจารณาเห็นโดยความเป็นธาตุนั้น มีอยู่ ๒ ขั้น คือ
ขั้นแรก...พิจารณาให้เห็นว่า ธาตุหลายๆธาตุประชุมกุมกันเข้าเป็นกลุ่มหนึ่งเรียกว่าสัตว์ บุคคล แล้วแต่จะสมมุติ. เมื่อมีการเห็นแจ้งว่า สัตว์ หรือ บุคคลก็ตามเป็นเพียงกลุ่มของธาตุหลายๆ ธาตุประชุมกันเท่านั้นดังนี้แล้ว..สิ่งที่เรียกว่า สัตว์ บุคคล ก็ว่างไป เหลืออยู่แต่กลุ่มธาตุต่างๆ นี้ชั้นหนึ่ง.
....ขั้นที่สอง ซึ่งจะต้องพิจารณาต่อไปนั้นก็โดยที่เกรงว่า จะเกิดมีการยึดมั่นถือมั่นเหลืออยู่ที่ธาตุใดธาตุหนึ่ง อันเป็นธาตุที่ละเอียดและสุขุมกว่าธาตุทั้งหลาย ว่ามีตัวมีตนอยู่ที่นั่น จึงต้องพิจารณาอย่างย่อยให้ละเอียดลงไปทุกๆธาตุ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นสัตว์หรือบุคคล ว่าธาตุแต่ละธาตุเหล่านั้นเป็นเพียงสักว่าธาตุตามธรรมชาติ หามีส่วนใดส่วนหนึ่งซึ่งเป็นตัวตนคือเป็นอัตตาหรือเป็นสัตวะ หรือเป็นชีวะแต่ประการใดไม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


....แม้รวมความเข้าด้วยกันทุกธาตุแล้ว ก็หาได้ทำให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าอัตตา หรือชีวะเป็นต้นไปได้ไม่, ธาตุหนึงๆ เป็นของว่างจากตัวตนอยางไร เมื่อรวมกลุ่มกันเข้าหลายๆ ธาตุ แปรสภาพเป็นอย่างอื่นไป ก็ยังเป็นของว่างจากตัวตนอยู่ดังเดิม. ใช่ว่าการประชุมกุมกันเข้าหลายๆ ธาตุ จะสามารถผลิตสิ่งที่เรียกว่าตัวตนอันแท้จริงขึ้นมาได้ก็หาไม่ มีได้ก็เพียงแต่ช่องทางที่ทำให้คนเขลาเกิดความสำคัญผิด และยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนเอาเอง เพราะมันมีความประณีตและน่าอัศจรรย์มาก ถึงขนาดที่จะสำคัญเห็นเป็นตัวตนไปได้จริงๆ ส่วนที่แท้นั้นเป็นเพียงตัวตนมายาเกิดขึ้นเพราะความสำคัญผิดของบุคคลที่ยังไม่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิ., ครั้นเขาประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิขึ้นมาเมื่อไร ตัวตนนี้ก็หายไปกลายเป็นความว่างจากตัวตน., มีอยู่แต่เพียงสิ่งที่เป็นสักว่าธาตุตามธรรมชาติ ซึ่งไม่มีทางที่จะเห็นว่าเป็นตัวเป็นตนได้แต่ประการใด เพราะเป็นเพียงธรรมชาติเท่านั้นดังที่กล่าวแล้ว.
.....ในบทธาตุปัจจเวกขณ์นั้น มีข้อความที่แสดงไว้ครบถ้วนทั้งในทางที่จะพิจารณาว่า บุคคลหรือสิ่งเหล่านั้นเป็นสักว่าธาตุหลายๆ ธาตุรวมกลุ่มกันขึ้น และทั้งในทางที่จะพิจารณาว่า แม้แต่ละธาตุๆ ก็เป็นสักแต่ว่าธาตุเท่านั้น. ถ้าจะพูดให้เป็นหลักที่สั้นๆ ที่สุดก็ต้องพูดว่า บุคคลนั้นเป็นสักว่าธาตุ และธาตุนั้นก็เป็นสักว่าธาตุดังนี้. ผู้ที่เข้าถึงความจริงข้อนี้ ย่อมสามารถมองดูบุคคลให้สูญหายละลายกลายเป็นธาตุไป แล้วคงมองเห็นธาตุโดยความเป็นธาตุนั่นเอง ไม่ย้อนกลับมาเป็นบุคคลได้อีก และไม่เลยเตลิดไปเห็นเป็นบุคคลหรือตัวตนขึ้นมาได้อีกในรูปไหน หรือโดยปริยายใด. เขาเห็นบุคคล เป็นสิ่งที่ว่างจากตัวตนที่น่ายึดถือหรือหวงแหนฉันใด เขาก็เห็นสิ่งต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงและโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และเครื่องใช้สอยตลอดถึงยาแก้โรค ว่าเป็นเพียงสักว่าธาตุเท่านั้น หาได้มีตัวตนอะไรที่ตรงตามชื่ออันไพเราะเพราะพริ้งของมันไม่ คงเป็นสักว่าธาตุอย่างเดียวกัน. ดังนั้น ท่านจึงกล่าวกำชับไว้ทั้ง ๒ ฝ่ายว่า สิ่งต่างๆ ก็คือปัจจัยสี่ นั้นก็ดี และบุคคลผู้เข้าไปบริโภคใช้สอยซึ่งปัจจัยสี่ นั้นก็ดี เป็นสักว่าธาตุดังกล่าวแล้ว. และเป็นเรื่องที่เราจะต้องสนใจ ในการศึกษาและปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงความจริงข้อนี้ให้ได้. อย่าให้เป็นเพียงการศึกษาล้วนๆแต่ต้องเป็นการปฏิบุติประจำวัน ที่ปฏิบัติจนเกิดความรู้สึกดังกล่าวนั้นขึ้นมาจริงๆ ซึ่งมีแนวสังเขปดังนี้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 14:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ในบรรดา ปัจจัย ๔ เหล่านั้น จะขอยกเอาอาหารขึ้นมากล่าวก่อน. เมื่เราจะกินอาหาร ถ้ามีความรู้สึกว่ามันเป็นอาหาร ก็นับว่ายังอยู่ในฐานะที่ค่อยยังชั่ว คือยังปลอดภัยอยู่. คือคำว่า"อาหาร" ยังไม่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา หรือ อุปาทานมากเหมือนคำอื่นๆ ที่อยู่ในระดับต่ำลงไป เช่นคำว่า ข้าวมันแกงไก่ บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยวผัด ฯลฯ กะทั่งของหวาน ที่มีชื่อชนิดที่พอสักแต่ได้ยินก็ทำให้น้ำลายไหล หรือผลไม้ชนิดพิเศษ พอเห็นก็น้ำลายไหล เหล่านี้เป็นต้น, เมื่อสิ่งเหล่านี้มาอยู่ตรงหน้า ความรู้สึกมันไม่รู้สึกว่า เป็นเพียงสักว่าอาหาร มันไปรู้สึกเป็นข้าวมัน เป็นแกงไก่ เป็นต้นอย่างแน่นแฟ้น., คำว่า"อาหาร" หายไปทางไหนก็ไม่รู้, เมื่อความรู้สึกว่าเป็นเพียงสักว่าอาหารดังนี้ก็ไม่มีเสียแล้ว แล้วความรู้สึกว่าเป็นเพียงสักว่าธาตุจะมีได้อย่างไรกัน.
....เพราะฉะนั้น เราจะต้องจับความหมายอันสำคัญของมันให้ได้ว่า มันมีอยู่ ๓ ขั้นด้วยกันคือ
..............ขั้นที่เป็นสักว่าธาตุ ๑
..............ขั้นที่เป็นสักว่าอาหาร ๑
..............ขั้นที่เป็นข้าวมัน แกงไก่ ฯลฯ เป็นต้น ๑
แล้วพิจารณาโดยแยบคายก่อนว่า ชั้นไหนเล่าที่มีตัวตน? หรือมีความหมายแห่งความมีตัวตน ชนิดที่เป็นที่ตั้งของตัณหาอุปาทานมากน้อยกว่ากันอย่างไร? กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือว่า ชั้นไหนที่ทำให้พอสักได้ยินชื่อ ก็กระวนกระวายใจ หรือน้ำลายไหลเป็นต้น. ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านั้นยังไม่ได้มาปรากฏอยู่ตรงหน้าเลย.

......เรามีทางที่จะพิจารณาให้เห็นได้โดยไม่ยากในข้อที่ว่า มีความรู้สึกเป็นสักว่าธาตุ ก็รู้สึกเฉยๆ คือกินก็ได้ ไม่กินก็ได้ ถ้ารู้สึกว่าเป็นอาหาร มันก็รู้สึกว่าต้องกินเพื่อแก้หิว หรือเพื่อมีชีวิตอยู่ แต่ถ้ารู้สึกว่า มันเป็นแกงนั่นแกงนี่ ขนมนั่นขนมนี่ ผลไม้นั่นผลไม้นี่ ก็รู้สึกว่ากูจะกินให้อร่อย แต่ไม่มีความรู้สึกว่าเพื่อแก้หิว หรืเพียงเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตไว้ เป็นต้นเลย.
....ลองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกันดูตั้งแต่ต้นมาอีกครั้งหนึ่ง กล่าวคือ ในชั้นที่มีความรู้สึกว่าเป็นเพียงสักว่าธาตุ., ไม่มีความรู้สึกว่ามันเป็นอาหาร เป็นแกง กับ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น., มันไม่มีความรู้สึกว่าสัตว์ บุคคล ไม่มีความรู้สึกว่าจะมีชีวิตอยู่ หรือจะต้องตาย ไม่รู้สึกหิวหรือไม่หิว จะตายหรืออยู่ก็ได้ทั้งนั้น. จึงมีความรู้สึกว่างๆไปตามๆ กัน ที่จะกินก็ได้ไม่กินก็ได้. ความรู้สึกสักว่าเป็นธาตุทำให้ว่างจากบุคคล ไม่มีการกินหรือการไม่กิน มันจึงไม่ก่อให้เกิดตัณหาหรืออุปาทาน จึงเรียกว่ามันยังว่างอยู่.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ครั้นมีความรู้สึกว่า นี่เป็นอาหาร ก็ ยึดมั่นในความหมายของคำว่า "อาหาร" ซึ่งมีอยู่ว่าเป็นสิ่งที่สัตว์จะต้องกินเพื่อมีชีวิตอยู่ได้., และโดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือเมื่อหิว ถ้าลองหิวขึ้นมาแล้ว อะไรๆ ก็เป็นอาหารได้ทั้งนั้นแม้อุจจาระก็เป็นอาหารได้เหมือนๆ กันไปหมด. สรุปความว่า เพื่อบำบัดความหิวที่ร้ายกาจ และเพื่อป้องกันการตายไว้ทีก่อน . เพราะฉะนั้นคำว่า"อาหาร" จึงเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานระดับใดระดับหนึ่ง ไม่เหมือนกับคำว่า"ธาตุ" ซึ่งไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทานแต่ประการใด.
.......ฉะนั้น ความรู้สึกว่าเป็นธาตุ กับความรู้สึกที่เกิดขึ้นว่า อาหารนี้ จึงเป็นสิ่งที่แตกต่างกัน คือ อันแรกไม่ปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน., ส่วนอันหลังนี้ เป็นการปรุงแต่งให้เกิดอุปาทาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน,แม้มิใช่อุปาทานในทางกาม แต่เป็นอุปาทานในทางภพก็ตาม, ส่วนความรู้สึกที่รู้สึกว่ามันเป็นแกงนั่น แกงนี่ ขนมนั่น ขนมนี่ ผลไม้นั่น ผลไม้นี่ ที่ตรงกับรสนิยมของตัว จนถึงกับว่าพอสักว่าได้ยินชื่อไม่ทันเห็นตัวจริงสักทีก็น้ำลายไหล หรือกระวนกระวายใจนั้น มันไม่ทำให้เฉยอยู่ได้เหมือนกับความรู้สึกว่า เป็นเพียงสักว่าธาตุ., และไม่ทำให้รู้สึกว่า เพื่อแก้หิวหรือกันตายเหมือนที่มีความรู้สึกว่าอาหาร, แต่มันมีความหมายแห่งความมีตัวตน ที่จะสนองแก่กามตัณหาทางลิ้น และกลายที่ตั้งของกามุปาทานไปในที่สุด, ผลมันจึงเกิดขึ้นต่างกัน อย่างที่จะเปรียบกันไม่ได้เลย คือทำให้ยุ่งมาก เปลืองมาก หรือมีทุกข์มากในที่สุด
....ซึ่งอาจจะเทียบกันดูได้อีกครั้งหนึ่งว่า ความรู้สึกว่าธาตุ ไม่ก่อให้เกิดความทุกข์เลย, ความรู้สึกว่าอาหาร เริ่มก่อให้เกกิดความทุกข์บ้างเท่าที่รู้สึกว่าจำเป็น แต่ก็ไม่มากมายใหญ่โตอะไรนัก, ส่วนความรู้สึกว่าของกินชื่อนั้นชื่อนี้ นั้น ก่อให้เกิดความทุกข์รอบด้านและไม่มีที่สิ้นสุด, แม้เมื่อไม่มีอะไรเข้าจริงๆ เพียงแต่นึกอยากจะกินเท่านั้น ก็ทุกข์เล่นอย่างฟรีๆ เสียแล้ว.,ถ้าถึงกับไปซื้อหาหรือจัดทำมันขึ้นมา เพื่อสนองความอยากอันนี้เท่านั้นแล้ว มันจะเป็นที่น่าสมเพชสักเท่าไร, และทำให้เราเข้าใจและจับได้ทันทีว่า ตัวตนที่เป็นมายาของคำว่าแกงนั่น แกงนี่ ขนมนี่นั่น มันมีฤทธิ์เดชหรือพิษสง ยิ่งไปกว่าตัวตนของคำว่า "อาอาร" มากน้อยเท่าไร, ส่วน "ตัวตน"ของคำว่า"ธาตุ" นั้นไม่มีความหมาย หรือมีค่าเท่ากับไม่มีตัวตน.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2010, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ขอให้นักศึกษาทั้งหลาย จับใจความสำคัญของบทธาตุปัจจเวกขณ์ให้ได้ที่ตรงนี้เอง. คือข้อที่ว่า ฐิณฑบาตก็ดี บุคคลผู้บริโภคบิณฑบาตนั้นก็ดี เป็นสักว่า ธาตุ ว่างจากตัวตนนั่นเอง. ข้อนี้หมายความว่าแกง กับผลไม้ต่างๆ วางอยู่ตรงหน้าเรานั้น ได้รับความรู้สึกจากเราแต่เพียงว่า มันเป็นเพียงสักว่า ธาตุ
แล้วมันก็หมดเรื่องกัน, แต่ถ้ามีความรู้สึกว่า เป็นอาหารแล้วมันก็มีความหมายมากมีเรื่องมากตามส่วน แต่ก็ไม่ร้ายแรงอะไรนัก. แต่ถ้าหากว่ามันได้ลดส่วนน้อยลงไปจนถึงกับว่า ข้าวนั่น แกงนี่ แกงนั่น แกงนี่ ผลไม้นั่น ผลไม้นี่ ดังนี้ ดังนั้นแล้ว มันก็มีค่าเท่ากับถูกงูกัดตายแล้ว หรือเท่ากับว่าถูกพวกยมบาลจับเข้าใส่กะทะต้มสุกแล้วเท่านั้นเอง.,เพราะฉะนั้นคาถาที่ว่า ธาตุมตฺตโก นิสฺสตฺโต นิชฺชีโวสุญโญ จึงเป็นภาษาประเสริฐสำหรับเรา.
....ยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง จึงขอถือโอกาสกล่าวเสียด้วยในที่นี้ แม้ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงกับเรื่องความเป็นธาตุ แต่ก็นับเนื่องอยู่กับธาตุปัจจเวกขณ์โดยปริยาย ข้อนี้ก็คือคำว่า"บิณฑบาต" คำว่า"บิณฑบาต" มีความหมายแตกต่างกับคำว่าธาตุ ต่างกับคำว่าอาหาร, ต่างกับคำว่าแกงนั่น แกงนี่ ขนมนั่น ขนมนี่ ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนแล้ว.
....ความหมายของคำว่า"บิณฑบาต" ไม่ควรให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับความหมายทั้ง ๓ ประการนั้น., ควรจะแยกออกมามีความหมายของตัวเองโดยเฉพาะ และตรงตามพยัญชนะของมันด้วย. ความหมายของคำนี้เอากันง่ายๆ อย่างนี้ก็แล้วกันว่า ก้อนข้าวที่เขาหย่อนลงในบาต., หมายความว่าของที่เขาให้ด้วยศรัทธา ด้วยความเคารพบูชา ด้วยความไว้วางใจและมั่นใจว่า ผู้ที่รับไปบริโภคนั้นจักได้ทำให้เกิดประโยชน์และความดีแก่พระศาสนาและโลกเป็นส่วนรวม, และรวมทั้งตัวผู้บริจาคนั้นด้วย. ส่วนในทางวัตถุนั้น เมือกล่าวโดยทางพฤตินัยแล้วก็ ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร ทั่วๆไป ที่ภิกษุสามเณรตลอดถึงคนที่อยู่ในวัดทุกคน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ได้บริโภคประจำวันนั่นเอง., เพราะฉะนั้น ถ้าเขาจะทำความรู้สึกว่าเป็น"บิณฑบาต" แล้ว ย่อมมีความหมายต่างไปจากความรู้สึกว่าเป็นธาตุ หรือว่าเป็นอาหาร เป็นแกงกับชื่อนั้นชื่อนี้ เป็นต้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 15:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..แต่ต้องรู้สึกว่าเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ให้มาเพื่อไถ่ชีวิตของเราไว้ อย่าเพ่อให้ตายเสีย และให้รีบทำทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ รวมทั้งตนเองด้วย โดยไม่โลเลเหลวไหล. เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ถูกตรงตามความหมายของคกว่า"บิณฑบาต" หรือความรู้สึกว่าบิณฑบาต ที่เรารู้สึกต่อข้าวปลาอาหารเหล่านั้น.
........แต่อย่างไรก็ดี มันไม่มีความยุ่งยากมากมายออกไปอีก ถ้าหากว่าเราได้มีการพิจารณาสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นธาตุ อยู่แล้วเป็นประจำ แล้วสอนผู้อื่น หรือชักชวนผู้อื่นให้ทำเช่นนั้นด้วย, สิ่งที่เจ้าของบิณฑบาตต้องการให้เราทำก็มีเพียงเท่านี้ คือ การพิจารณาเห็นสิ่งทั้งปวงเป็นสักว่าธาตุ ว่างเปล่าจากตัวตน เป็นคนไม่มีความทุกข์เลย อยู่เป็นแบบฉบับอยู่ในโลกตลอดไป. โลกทั้งโลกได้รับประโยชน์สุขจากการเห็นตัวอย่างที่ดีนี้ เจ้าของทานได้ชื่อว่า ประสบบุญเป็นอันมากก็เพราะเหตุนี้ และสูงสุดเพียงเท่านี้.
การทำเช่นนี้จึงเป็นสิ่งประเสริฐสุด ขจัดปัญหาได้ทุกฝ่ายและทุกระดับ. เราจึงควรสนใจให้มากสมกัน.,
....มีการพิจารณาข้าวปลาอาหารเหล่านั้นโดยความเป็นธาตุ และเป็นอาหารบิณฑบาต มีความรู้สึกอยู่ว่าเป็นสักว่าธาตุ และเป็นบิณฑบาตด้วย อีกส่วนหนึ่งเป็นอย่างต่ำ. อย่าให้เลยไปจนถึงกับรู้สึกว่า เป็นอาหารหรือเป็นแกงกับชื่อนั้นชื่อนี้ ที่ทำให้น้ำลายไหลเป็นต้น แต่ประการใด. ความหมายแห่งความมีตัวตนของสิ่งเหล่านั้น ก็ครอบงำเราไม่ได้ คงมีอยู่แต่ความรู้สึกสักแต่ว่าเป็นธาตุ หรือว่างจากตัวตน ประสบผลตามความมุ่งหมายของบทปัจจเวกขณ์บทนี้ได้โดยสมบูรณ์.

จบการบรรยายครั้งที่ ๑๖


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร