วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ค. 2010, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อเนื่องจากกระทู้เดิม


สมถะ ที่มีความหมายไกลไปกว่า"ศิลาทับหญ้า" มีอยู่ไหม?

viewtopic.php?f=1&t=32200

กระทู้เดิมเปิดไม่ได้ครับ


...................



ต่อกันที่ คห.ของคุณ mes ครับ


อ้างคำพูด:
ปัญญาที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าญานทัสสนะต้องมีสมาธิเป็นผู้กำเนิด หรือสมถะ

ญานทัสสนะมีหลายระดับ

ระดับสูงสุดคือ ยถาภูตญานทัสสนะ เป็นญานที่รู้เห็นตามความเป็นจริง

หรือรู้แจ้งเห็นจริง

เป็นการทำนิพพานให้แจ้งด้วย

ซึงเป็นการนิสรณะ ไม่ใช่"ศิลา"ทับหญ้าอีกต่อไป


เห็นด้วยครับ



ผม ระลึกถึง พระพุทธวจนะ ที่ตรัสไว้ว่า

http://84000.org/tipitaka/read/?16/69/37

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
@๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๆลๆ



........................


ยถาภูตญาณทัสสนะ มีสมาธิเป็นเหตุที่อิงอาศัย


ยถาภูตญาณทัสสนะ ถ้าจะเทียบในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาญาณะ

ส่วน สมาธิ ในพระสูตรนี้ ถ้าจะเทียบในสัมมัตตะ๑๐(จาก มหาจัตตารีสกสูตร) ก็น่าจะตรงกับระดับ สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแสดงทรรศนะ เจโตวิมุติ กับ ปัญญาวิมุติ

มักเข้าใจกันว่า

เจโตวิมุติเป็นการใช้สมาธิเป็นเครืองนำสู่วิมุติ

ปัญญาวิมุติเป็นการใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำสู่วิมุติ


ผมว่าไม่ใช่ครับ

ทั้งเจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุติ ทั้งสองอย่างต้องใช้สมาธิและปัญญาเหมือนกัน

แตกต่างกันที่เจโตวิมุติท่านที่บรรลุจะมีมโนมยิทธิ อิทธิวิชชา

หมายถึงว่าท่านเหล่านั้นเจริญสมาธิได้ฌานสมาบัติในขั้นสูงมากจนมีอทธิฤทธิ์ทำปาฏิหาริย์ได้

และผมอยากตั้งข้อสังเกตุว่า

ท่านที่ได้มโนมยิทธิกับอิทธิปาทะอาจไม่บรรลุนิพพานก็มี

หมายถึงได้อิทธปาฏิหาริย์กับการบรรลุนิพพานเป็นคนละส่วนแยกจากกัน

สุดท้ายต้องอาศัยปัญญาจึงนำเข้าสู่นิพพาน

ปัญญาวิมุติก็ต้องอาศัยสมาธิ จะเรียกสมถะก็ไม่เห็นจะผิดอะไร

ปัญญากับสมาธิเป็นฝาแฝดติดกัน

จะว่าเป็นตัวเดียวกันก็ยังได้

หากไร้สมาธิก็ขาดปัญญา หากไม่มีปัญญาก็ไร้สมาธิ

ฉนั้นในการบรรลุนิพพานจะอาศัยแต่สมาธิหรือปัญญาล้วน นั้นไม่มี

สรุปว่า

เจโตวิมุติกับปัญญาวิมุติต่างกันตรงที่

มีอิทธิฤทธิ์ หรือ ไม่มีอิทธิฤทธิ์ เท่านั้น

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกประเด็นที่อยากแสดงทรรศนะคือ

ปริญญา หรือญานทัสสนะ ที่หมายถึงการหมายรู้ กำหนดรู้ หรือรู้แจ้ง

เรามักไปนึกถึงในคืนวันเพ็ญเดือน6 วันวิสาข ที่ผ่านไปเมื่อไม่นานว่า

พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดังรายละเอียดในพระพุทธประวัติ

เราจึงมีจินตนาการว่า

การตรัสรู้ต้องปฏิบัติเลียนแบบพระพุทธเจ้า

ซึงผิดมหันต์

การบรรลุอรหันต์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในท่าน่งคู้บังลังถ์

หรือในขณะปฏิบัตินั่งกรรมฐาน

อรหันต์บางท่านสำเร็จตอนระหว่างเอนกายลงนอนก็มีในประวติศาสตร์พระพุทธศาสนา

จึงอยากสือว่า

ปัญญา ปริญญา ญานทัสสนะ ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในขณะทำสมาธิ

แต่จะผุดขึ้นหลังการทำสมาธิ

การทำสมาธิเปรียบเสมือนการเผาเหล็กให้ร้อน

เมือเลิกเผาแล้วความร้อนในตัวเหล็กก็ยังอยู่

จะอยู่นานหรือไม่อยู่ที่คุณสมบัติของชิ้นเหล็กนั้นๆ

ไม่ใช่เหมือนการเปิดปิดไฟฟ้า


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:

ปัญญาวิมุติก็ต้องอาศัยสมาธิ จะเรียกสมถะก็ไม่เห็นจะผิดอะไร

ปัญญากับสมาธิเป็นฝาแฝดติดกัน

จะว่าเป็นตัวเดียวกันก็ยังได้

หากไร้สมาธิก็ขาดปัญญา หากไม่มีปัญญาก็ไร้สมาธิ

ฉนั้นในการบรรลุนิพพานจะอาศัยแต่สมาธิหรือปัญญาล้วน นั้นไม่มี





เสนอสดับ พระธรรมเทศนา มุตโตทัย

โดย หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต


พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ

อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่ ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค

มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้ ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน

ฉะนั้นจึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


mes เขียน:

ปัญญาวิมุติก็ต้องอาศัยสมาธิ จะเรียกสมถะก็ไม่เห็นจะผิดอะไร





คุณ mes เป็นผู้ที่เข้าใจแล้วว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็เรียกว่า สมถะ เช่นกัน(สมถะในอริยมรรค)



แต่ เชื่อไหมครับว่า ในเว็บบางเว็บ ผู้ที่นิยมศึกษาตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลบางท่านเคยตั้งกระทู้ถามแบบงงๆในลักษณะที่ว่า

สัมมาสมาธิในองค์มรรค จัดว่า เป็นสมถะ ด้วยหรือ?

คือ คำว่า สมถะ ในความเข้าใจของเขา ก็คือ ไม่มีความหมายใดๆที่ไกลไปกว่า ศิลาทับหญ้า.... แบบของ อาฬารดาบส อุทกดาบส

พูดง่ายๆคือ ในการบรรลุมรรคผลนั้น เขาเชื่อว่า สมถะไม่จำเป็นต้องบริบูรณ์แบบminimum requirement(ไม่มีก็ได้) หรือ อาจถึงขั้น สมถะเป็นตัวปิดกั้นวิปัสสนา...



และ อาจจะได้ยินการกล่าวในลักษณะที่ว่า

เวลาเจริญภาวนานั้น พึงให้บังเกิดสัมมาสมาธิ แต่ ระมัดระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ!!!


จึงเป็นที่มาแห่งกระทู้นี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตมีสัมมาสมาธิ และใช้ปัญญา ละอุปาทานชันธ์ 5 สำเร็จ ..... ปัญญาวิมุตติ
จิตอาศัยรูปฌาน หรืออรูปฌาน, หรืออัปมัญญา 4ประกอบด้วยสัมมาสมาธิ แล้วใช้ปัญญาละอุปาทานขันธ์สำเร็จ .... เจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุติ เจโตวิมุติ ต่างก็เป็นวิมุติจิต มีสัมมาสมาธิเป็นบาทแห่งปัญญา หรือมีปัญญาเป็นบาทแห่งสัมมาสมาธิ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำเจโต วิมุตติ ไม่ได้ก็แสดง ว่า ไม่มีปัญญาที่จะทำ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 12:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




imageGQI.jpg
imageGQI.jpg [ 119.85 KiB | เปิดดู 5530 ครั้ง ]
๑๗. พระอรหันต์ทุกประเภทบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ
อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตวา อุปฺปสมฺปชฺช วิหรติ
พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใดย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ...ที่ปราศจากอาสวะในปัจจุบัน หาได้แบ่งแยกไว้ว่า ประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ หรือปัญญาวิมุติไม่
ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า
เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์ผู้ได้สมาธิก่อน ส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆ นั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรค

มรรคประกอบด้วยองค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำต้องบำเพ็ญมรรค ๘ บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรมไม่ได้
ไตรสิกขาก็มีทั้งสมาธิ ทั้งปัญญา อันผู้จะได้อาสวักขยญาณจำต้องบำเพ็ญไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน

ฉะนั้น จึงว่า พระอรหันต์ทุกประเภทต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติด้วยประการฉะนี้แลฯ

ที่มา....
มุตโตทัย (๔)

แนวทางการปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น
WWW.LUANGPUMUN.ORG
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
และ อาจจะได้ยินการกล่าวในลักษณะที่ว่า

เวลาเจริญภาวนานั้น พึงให้บังเกิดสัมมาสมาธิ แต่ ระมัดระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ!!!


จึงเป็นที่มาแห่งกระทู้นี้


เราใช้ภาษาในการสือสารได้ในระดับหนึ่ง

แต่สิ่งแวคล้อม และพื้นฐานตลอดจนถึงประสพการณ์รวมไปถึงโลกทรรศของบุคคล เป็นตัวแปรทำให้

การสือสารนั้นสือสารผิดพลาด

การสนทนาธรรมจึงเป็นประโยชน์ และหากได้สนทนากับกัลยาณมิตรจะหมายถึง

บุพกาลแห่งอรุณรุ่งอัษฎังคิกมรรค

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะที่มีความหมายไกลไปกว่าศิลาทับหญ้า นั้น ...ที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ สัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค

(เว้นแต่ จะไม่ยอมรับว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคก็เรียกว่าสมถะด้วยเช่นกัน)

สมถะ แบบนี้ นั้น นอกเหนือไปจากพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ไม่มีใครในสมัยก่อนพุทธกาลรู้จักกัน ครับ. แม้นแต่ ท่านดาบสอดีตอาจารย์ของพระพุทธองค์ ก็ไม่รู้จักสมถะชนิดนี้...

ทำไมผมถึงกล่าวเช่นนั้น???

ลองอ่าน มหาจัตตารีสกสูตร ให้ดีๆ


”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”


(ตอนเริ่มต้นพระสูตรนี้ ตรัสว่า จักแสดงสัมมาสมาธิที่เป็นโลกุตระเป็นองค์มรรค )


โลกียฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับเอกัคคตาจิต(ฌาน)ได้เช่นกัน..... แต่ขาด คุณสมบัติตามมหาจัตตารีสกสูตร ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่มีอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ )เป็นตัวกำหนดทิศทาง.ดังนั้น โลกียฌานทั่วๆไป จึงยังไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในองค์มรรค ครับ

สัมมาสมาธิในองค์มรรค เป็นจุดรวมขององค์แห่งอริยมรรคทั้งเจ็ด ก่อนที่จะบังเกิดให้ผลเป็น สัมมาญาณะ และ สัมมาวิมุติ

ถ้า ปฏิบัติถูกตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้.... ต่อให้ปฏิบัติแบบแนวทางไหน....สัมมาสมาธิในองค์มรรค ก็จะต้องบังเกิดขึ้นแน่นอน.

เพราะ ถ้าหากปราศจาก สัมมาสมาธิในองค์มรรค เสียแล้ว มรรคย่อมไม่ครบองค์ประกอบ และมรรคสมังคี ย่อมไม่บังเกิดขึ้น......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


มีคำถาม ที่น่าสนใจในเรื่องนี้ มาเสนอเพิ่มครับ



อ้างคำพูด:

ประเด็น มันจึงเกิดจากผลการปฎิบัติตามแนวทางต่างๆ และที่ปฎิบัติๆสอนๆกันอยู่ ส่วนใหญ่ก็ว่่าเป็นวิปัสสนากันทั้งนั้น ไม่ใช่อยากมุ่งที่สมถะกัน(หรือไม่ใช่?)




ผมถือตาม พระไตรปิฎกดั้งเดิมที่แสดง สัมมาสมาธิในองค์มรรค ว่าเป็น สมถะในอริยมรรค ครับ

และ ในอริยมรรค แยกขาดสมถะออกจากวิปัสสนาไม่ได้



ดังนั้น ส่วนตัวผม จึงถือว่า ถ้าจะบรรลุอริยมรรคมรรคผล ต้องพร้อมมูล ทั้ง สมถะในอริยมรรค(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) และ วิปัสสนา....

ผมจึงไม่มามัวกังวลว่า จิตจะเป็นสมถะในอริยมรรค อย่างที่หลายๆท่านกลัวกัน
(ลองหาอ่านดูน่ะครับ พระสูตรจะบรรยายลักษณะของสมถะด้วย ไม่ฟุ้งซ่าน;อวิกเขโป เป็นหนึ่ง-มีอารมณ์เดียว;เอกัคคตา ตั้งมั่นชอบ;สมาธิ )


ไม่มีเหตุผลใดๆสำหรับผมเลย ที่จะกลัว สมถะในอริยมรรค

เพราะ ผมเข้าใจชัดเจนว่า สมถะในอริยมรรค ก็คือ องค์ธรรมที่เรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ นั้นเอง



ผมจึงขออนุญาตใช้พื้นที่กระทู้นี้ ชักชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ เลิกกลัวสมถะแบบเหมารวม กันเถิด....

ถ้า จะกลัว ก็ให้กลัวมิจฉาสมาธิ หรือ ระวังการที่ไปมัวติดตันยินดีอยู่กับสุขในสมาธิจนไม่นำผลที่จิตสงัดจากนิวรณ์มาต่อยอดเจริญปัญญา(สมถะแบบศิลาทับหญ้า)


...........................




ประเด็นที่สำคัญที่สุด ที่ ทำให้ชาวพุทธรุ่นใหม่(ที่มักสมาทานตามอาจารย์ที่ท่านถือตามคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล) เข้าใจไม่ตรงกับ พระไตรปิฎกดั้งเดิม ก็คือ


จัดเรียกว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะด้วยไหม???


ถ้า จัดเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะด้วย ก็จะไปในทิศทางหนึ่ง

แต่ ถ้า ไม่จัดเรียก สัมมาสมาธิในองค์มรรคว่าเป็นสมถะ ก็จะไปในอีกทิศทางหนึ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 พ.ค. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ มี ๒ แบบคือ

๑. ปริตตสมถะ แปลว่า สมถะเล็กน้อย ได้แก่ สมถะที่เจริญแล้ว มีสมาธิเกิดเพียง ๒ ชั้น คือ
ขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ เท่านั้น เช่นผู้ปฏิบัติไปสู่ป่าช้าแล้ว เอาร่างกระดูกเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า " อิฏฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ " จนเกิดสมาธแล้ว พิจรณาว่า ร่างกระดูกนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วใช้สติกำหนดดูอาการที่ท้องพองยุบ ( เพราะเมื่อบริกรรมภาวนาหายไป
จิตจะนิ่ง สงบ แต่จะมีการเคลื่อนไหวของกายที่เห็นชัดคือ ท้องพองยุบ ให้นำจิตมารู้ตรงกายแทน )
จนกว่าจะเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ได้มรรค ผล นิพพาน อย่างนี้เรียกว่า
" แบบสมถะก่อน แล้วต่อ วิปัสสนา "

๒.มหัคคตสมถะ แปลว่า สมถะที่ทำให้ดีจนถึงฌาน เช่น
เจริญอัฏสังขลิกอสุภะ ถึงฌาน ถึงอัปปนาสมาธิ เมื่อได้ฌานแล้ว ให้เอาฌานเป็นบาทต่อวิปัสสนา
จนเห็นความเกิดดับไปของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว เห็นทุกข์โทษของรูปนาม
เบื่อหน่ายรูปนาม อยากหลุดพ้นจากรูปนาม ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ ใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
เห็นอริยสัจ ๔ รูปนามดับ ทำลายโคตรของปถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า
ตัดกิเลสได้เป็นสมุจเฉทประหาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่า
เอา " สมถะที่ได้ฌานเป็นบาท แล้วต่อ วิปัสสนา "


" ถ้าไม่มีสมถะ วิปัสสนาจะเอากำลังมาจากไหน "
คำว่า " สมถะ " หมายถึงผลของการทำสมาธิ คือ จิตสงบ

แล้วกำลังของสมาธิที่จิตสงบลงไปนั้น มี 3 ระดับ
ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปนาสมาธิ ๑

แต่ละคนสร้างเหตุมาแตกต่างกันไป ในแนวทางปฏิบัติ ผลของสมาธิจึงมีกำลัง
ของสมาธินั้น มาก น้อยแตกต่างกันไป ตามที่เหตุกระทำมา

แม้แต่ขณิกะ ก็ขึ้นชื่อว่า เป็นผลของสมาธิ จัดว่าเป็นสมถะเหมือนกัน
แต่เพราะการให้ค่าให้ความหมายว่า สมถะต้อง สมาธิระดับ อุปจารสมาธิและอัปนาสมาธิเท่านั้น
จึงทำให้กลายเป็นข้อถกเถียงไม่รู้จบ

การทำให้เกิด สติ สัมปชัญญะนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยสมาธิให้เป็นพื้นฐานแต่อย่างใด
แต่ สมาธิต่างหากที่ต้องอาศัยสติ สัมปชัญญะ ในการสร้างสมาธิ ให้เป็นสัมมาสมาธิ
ส่วนสติ สัมปชัญญะ โดยทั่วๆไป จะทำให้เป็นสัมมาสติได้ ต้องอาศัยการเจริญสติเท่านั้น


เวลาพูดเรื่องสมถะ จะมีเพียงความหมายเดียว คือหมายถึงผลที่ได้รับจากการทำสมาธิ
แต่ถ้าพูดถึงเรื่อง สมาธิ จะมีสองความหมายคือ มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ


การที่นำมากล่าวกันว่า การทำสมถะนั้นเปรียบประดุจหินทับหญ้า
จึงเป็นคำกล่าวที่นำมากล่าวด้วยความไม่เข้าใจของผู้ปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติทำได้แค่ไหน ย่อมรู้เพียงแค่นั้น จะรู้มากกว่านั้นเป็นไปไม่ได้


สภาวะมีความแตกต่างจากตำรา คือ มีรายละเอียดมากกว่า
แต่ตัวตำรานั้น มีแต่เพียงเห็นแค่รูปธรรม แต่ไม่สามารถแยกออกมาให้เห็นเป็นนามธรรมได้ชัดเจนได้
ยกเว้นผู้ที่ผ่านๆสภาวะนั้นๆมาแล้ว จึงสามารถแยกสภาวะที่เป็นรูปธรรม ให้เห็นเป็นนามธรรมได้ชัดเจนได้


เฉกเช่นเดียวกับ มิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ
ข้อแตกต่างของสมาธิทั้งสองชนิดนี้คือ ตัวสติ สัมปชัญญะ

มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิล้ำหน้าสติ สัมปชัญญะ
สัมมาสมาธิคือ สมาธิที่มีกำลังของสมาธิและสติ สัมชัญญะ เสมอกัน ไม่ก็มีกำลังของสตินำหน้า


ไม่ใช่นำมากล่าวกันว่า เมื่อมีสัมมาสมาธิ จึงจะเกิดสัมมาสติ
คำกล่าวนี้ผู้กล่าวอาจจะจดจำจากคำพูดต่อๆกันมา แต่ยังปฏิบัติไม่ถึงสมาธิที่เป็นสัมมาสมาธิ
จึงไม่สามารถแยกสัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิออกจากกันได้


แต่ถ้ากล่าวว่า เมื่อมี สัมมาสติแล้ว สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายมากขึ้น คำกล่าวนี้จึงจะถูกต้อง
แม้แต่องค์ฌานต่างๆ ก็มีทั้งองค์ฌานที่เป็นมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
จึงมีผู้ที่เข้าใจผิดๆ คิดว่า องค์ฌานจะต้องเป็นสัมมาสมาธิอย่างเดียว
ตามที่พระไตรปิฎกที่นิยมนำมาอ้างอิงกัน เช่น จตุตตถฌาน

เฉกเช่นคำว่า " สภาวะ " สภาวะก็คือ กิเลสที่เกิดขึ้นในใจของเรา หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในตัวเรา
แต่มีคนอีกมากมายยิ่งนักที่ไม่เข้าใจคำว่า สภาวะ
มีบางคนไปมองว่า สภาวะคือสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไปคิดว่า สิ่งๆนั้นเป็นสิ่งที่เกิดนอกตัวเรา

สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดขื้นของแต่ละคนสภาวะย่อมไม่เหมือนกัน ขื้นกับเหตุที่กระทำมา
แต่กิเลสเหมือนๆกัน แตกต่างตรงที่ว่า ใครสร้างเหตุกิเลสตัวไหนมามากกว่ากันเท่านั้นเอง
เหตุที่ทำ ที่เกิดจากกิเลส จึงได้รับผลแตกต่างกันไป

สมาธิมีอาจแนบแน่นโดยความเป็นหนึ่ง ในอารมณ์ธรรมดาของตนได้ต่อเมื่อ
วิริยะทำกิจคือ ประคอง ( จิต ) ไว้ให้สำเร็จ
และสติทำกิจคือไม่ฟั่นเฟือนไปให้สำเร็จอยู่ ( สมาธิ )
เป็นธรรมได้รับอุปการะ ( ดังนั้น ) แล้ว จึงอาจ ( แนบแน่นได้ )

( ต่อไป ) นี้เป็นอุปมาในธรรม ๓ ประการนั้น ( วิริยะ สติ สมาธิ )
เหมือนอย่างว่าในสหาย ๓ คน ผู้เข้าไปสู่อุทยานด้วยประสงค์ว่า จักเล่นนักขัตฤกษ์
ต่างว่าสหายผู้หนึ่งเห็นต้นจำปามีดอกบานงาม ก็เอื้อมมือขึ้นไป แต่เก็บไม่ถึง
คนที่สองจึงก้มตัวลงให้แก่สหายผู้นั้น สหายผู้นั้นแม้ยืนอยู่บนหลังสหายผู้หนึ่ง
เหยียบยันไหล่สหายผู้หนึ่ง จึงเลือกเก็บดอกไม้ตามใจชอบมาประดับกาย เลนนักขัตฤกษ์ได้ฉันใด

ข้ออุปไมยนี้พึงเห็นฉันนั้น
อันธรรม ๓ ประการ มี สัมมาวายามะ เป็นต้น เป็นธรรมเกิดร่วมกัน
เปรียบเสมือนสหาย ๓ คน ผู้เข้าสู่อุทยานด้วยกัน
อารมณ์ ( ของสมาธิ ) เหมือนต้นจำปามีดอกบานงาม
สมาธิไม่อาจะแนบแน่น โดยความเป็นหนึ่งแน่ในอารมณ์ โดยธรรมดาของตนได้
เหมือนสหายผู้แม้เอื้อมมือขึ้นไปแล้ว แต่เก็บไม่ถึง
วายามะ เหมือนผู้ก้มหลังให้
สติ เหมือนสหายผู้ยืนเอียงไหล่ให้
เมื่อ วิริยะยังกิจ คือ การประคอง ( จิต ) ให้สำเร็จ
และเมื่อสติยังกิจ คือ ไม่ฟั่นเฟือนไปให้สำเร็จอยู่
สมาธิเป็นธรรมได้รับอุปการะ ( ดังนั้น ) แล้ว
จึงอาจแนบแน่นโดยความเป็นหนึ่งแน่ในอารมณ์ได้

เปรียบเหมือนในสหาย ๓ คนนั้น
อีกผู่หนึ่งยืนบนหลัง
อีกคนหนึ่งเหยียบยันไหล่ของคนหนึ่ง
จึงสามารถเก็บดอกไม้ได้ตามใจชอบฉะนั้น เพราะเหตุนี้ในธรรม ๓ ประการนั้น
สมาธิอย่างเดียว ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยสมาธิขันธ์ โดยความมีชาติเสมอกัน
ส่วนวายามะและสติ เป็นธรรมที่ท่านสงเคราะห์เข้าโดย กิริยา ( คือเป็นธรรมอุดหนุนสมาธิ )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 31 พ.ค. 2010, 20:58, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

http://84000.org/tipitaka/read/?16/69/37

[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป๑- เกิดขึ้นแล้ว ญาณ
@๑. อรหัตผล ในธรรมเป็นที่สิ้นไป อันนั้นแม้ใด มีอยู่ เรากล่าวญาณแม้นั้นว่า มีเหตุเป็นที่
อิงอาศัย มิได้กล่าวว่า ไม่มีเหตุเป็นที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป ควรกล่าวว่า วิมุตติ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิมุตติว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิมุตติ ควรกล่าวว่า วิราคะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งวิราคะว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่
อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งวิราคะ ควรกล่าวว่า นิพพิทา

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งนิพพิทาว่ามีเหตุที่อิงอาศัยมิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งนิพพิทา ควรกล่าวว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งยถาภูตญาณทัสสนะว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ ควรกล่าวว่า
สมาธิ


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๆลๆ








นำความหมายของ ยถาภูตญาณทัสสนะ มาลงเพิ่ม เผื่อผู้ที่สนใจคำแปล



จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



อ้างคำพูด:

ยถาภูตญาณ ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น

ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง






รู้-เห็น-ตามเป็นจริง.... :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 มิ.ย. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


โอวาทธรรม หลวงปู่ ชา สุภัทโท :b8:


"กุญแจ 4 ดอก"

รู้ ...เฉพาะหน้า

เห็น ...ตามเป็นจริง

เป็น ...ตามนั้น

อยู่ ...อย่างสม่ำเสมอ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร