วันเวลาปัจจุบัน 26 พ.ค. 2025, 04:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 พ.ค. 2010, 17:07
โพสต์: 7

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การปฏิบัติที่ได้ชื่อว่าถูกต้องมีอะไรเป็นเครื่องวัด

มีศีล ๕ เป็นเครื่องวัด ปฏิบัติอันใดไม่ผิดศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง นั้นแหละเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง ทีนี้ สำหรับความรู้ความเห็น ความรู้อันใดเกิดขึ้น ยึดมั่น ถือมั่น มีอุปาทาน ทำให้เกิดปัญหาว่านี่คืออะไร นั่นคือตัวนิวรณ์ เป็นมิจฉาทิฏฐิ ความรู้ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตไม่ยึด ไม่สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อนเพราะรู้แจ้งเห็นจริง มีแต่ปล่อยวาง ความรู้นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิ

...สิ่งหนึ่งซึ่งนักปฏิบัติควรจะสังเกตทำความเข้าใจ ถ้าเราฝึกปฏิบัติแล้ว เราเกิดศรัทธาอยากปฏิบัติ ถ้าวันใดไม่ได้ปฏิบัติวันนั้นนอนไม่หลับ แสดงว่าท่านได้ศรัทธาพละ ในเมื่อท่านได้ศรัทธาพละ ท่านอยากปฏิบัติ ท่านก็ได้ความเพียร ในเมื่อท่านได้ความเพียร ท่านก็มีความตั้งใจคือสติ เมื่อมีสติก็มีความมั่นใจคือสมาธิ ในเมื่อมีความมั่นใจคือสมาธิ ท่านก็มีสติปัญญาพอที่จะคิดค้นหาลู่ทางในการปฏิบัติ นี่ให้ฝึกสังเกตอย่างนี้ อย่าไปกำหนดหมายเอาว่า ภาวนาแล้วจะต้องเห็นภูตผีปีศาจ ผีสาง เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ สิ่งเหล่านี้แม้จะรู้เห็นก็เป็นแค่เพียงอารมณ์ของจิตเท่านั้น ไม่ใช่ของดีวิเศษ

ทีนี้เราจะกำหนดหมายเอาที่ตรงไหน กำหนดหมายเอาตรงที่ว่า รู้ว่านี่คือจิตของเรา จิตของเรามีความเป็นธรรมไหม จิตของเราเที่ยงไหม จิตของเราดูดดื่มในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไหม เมื่อออกจากสมาธิไปแล้ว จิตของเรามีเจตนาที่จะงดเว้นจากความชั่วประพฤติความดีไหม มีความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองไหม ซื่อสัตย์สุจริตต่อหมู่คณะและครอบครัวไหม ดูกันที่ตรงนี้

ถ้าใครภาวนาแล้วเบื่อหน่ายต่อครอบครัว อยากหนีไปบวช มิจฉาทิฏฐิกำลังจะกินแล้ว ใครภาวนามีสมาธิดีแล้วเบื่อหน่ายงาน อยากทิ้งการทิ้งงานหนีออกไป อันนั้น ความผิดกำลังจะเกิดขึ้น

ถ้าใครภาวนาเก่งแล้ว สมมติว่าครูบาอาจารย์มีลูกศิษย์รักลูกศิษย์มากขึ้น ลูกศิษย์ภาวนาเก่งแล้วรักครูบาอาจารย์ เคารพครูบาอาจารย์มากขึ้น สามีภรรยาภาวนาเก่งแล้วรักกันยิ่งขึ้น รักลูกรักครอบครัว รู้จักประหยัด รู้จักสิ่งที่ควรไม่ควรดียิ่งขึ้น อันนี้จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการภาวนาได้ผลดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
...สิ่งหนึ่งซึ่งนักปฏิบัติควรจะสังเกตทำความเข้าใจ ถ้าเราฝึกปฏิบัติแล้วเราเกิดศรัทธาอยากปฏิบัติ ถ้าวันใดไม่ได้ปฏิบัติวันนั้นนอนไม่หลับแสดงว่าท่านได้ศรัทธาพละ ในเมื่อท่านได้ศรัทธาพละ ท่านอยากปฏิบัติท่านก็ได้ความเพียร ในเมื่อท่านได้ความเพียรท่านก็มีความตั้งใจคือสติ เมื่อมีสติก็มีความมั่นใจคือสมาธิ ในเมื่อมีความมั่นใจคือสมาธิ ท่านก็มีสติปัญญาพอที่จะคิดค้นหาลู่ทางในการปฏิบัติ นี่ให้ฝึกสังเกตอย่างนี้ อย่าไปกำหนดหมายเอาว่า ภาวนาแล้วจะต้องเห็นภูตผีปีศาจ ผีสาง เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ สิ่งเหล่านี้แม้จะรู้เห็นก็เป็นแค่เพียงอารมณ์ของจิตเท่านั้น ไม่ใช่ของดีวิเศษ


เห็นด้วยค่ะ การฝึกปฏิบัติธรรมนั้นฝึกเพื่อให้เข้าถึงธรรมที่แท้ค่ะ เมื่อเข้าถึงธรรมที่แท้ก็จะเข้าใจทางสู่พระนิพพานและกรรม กำลังของฌานจากการปฏิบัติจะทำให้รู้ถึงกรรมของผู้ปฏิบัติ เมื่อรู้ถึงกรรมของตนก็จะเข้าใจสิ่งที่ตนประสบ ธรรมของพระพุทธองค์สอนไว้แล้วว่าจะจัดการกับสิ่งที่ตนประสบอย่างไร นั่นแหละค่ะจุดประสงค์แท้ๆของการปฏิบัติ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 พ.ค. 2010, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2010, 14:54
โพสต์: 126

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใช่แล้วครับ คนทั้งหลายพากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร ก็เพราะมีเครื่องผูกมีเครื่องพาหนุน มีเครื่องพาวน เครื่องผูกนี้ ได้แก่สังโยชน์ สังโยชน์นี้แหละเป็นเครื่องผูกมัด
สังโยชน์ ตามนัยพระสูตรมีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิด เข้าใจผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัว ตน เรา เขา
๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจ ในพระพุทธ พระธรรม พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น
๓. สีลัพพตปรามาส การลูบคลำศีลและวัตร ได้แก่การปฏิบัติผิดจากมรรค ๘
๔. กามราคะ ความพอใจในกิเลสกามและวัตถุกาม
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งใจ ได้แก่ความไม่พอใจในอาณมณ์ที่มากระทบ
๖. รูปราคะ ความพอใจยินดีในรูปภพ หรือ รูปฌาน
๗. อรูปราคะ ความพอใจยินดีในอรูปภพ หรือ อรูปฌาน
๘. มานะ ความถือตัว
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้
ถ้าสังโยชน์ ๑๐ ตามในแห่งพระอภิธรรม มีอยู่ ๑๐ ประการเหมือนกันแต่ตัดอุทธัจจสังโยชน์ออกไป หนึ่งข้อ รวมรูปราคะ กับ อรูปราคะ เข้าเป็นภวราคสังโยชน์ และเพิ่ม อิสสาสังโยชน์ กับ มัจฉริยสังโยชน์เข้ามา
อิสสาสังโยชน์ สังโยชน์คืออิสสา ได้แก่ความริษยากัน
มัจฉริยสังโยชน์ สังโยชน์คือมัจฉริยะ ได้แก่ความตระหนี่


...................................................................................................


สังโยชน์ทั้ง ๑๐ นี้เป็นสิ่งที่คนสังเกตุเห็นได้โดยง่าย ทำความเข้าใจง่าย สิ้นสังโยชน์ ก็จะหลุดจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่องอยู่ในวัฏฏสงสารอีกต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ค. 2010, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องอาศัยสัปปายะทั้ง 4 อย่างเพิ่มเข้ามาด้วยครับ :b20:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร