วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 01:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าไปวิจัยให้เกิดผลในทางอื่น เพราะการปฏิบัตินี้ไม่ใช่เรียนหนังสือ ต้องทำโง่ไว้ ต้องทำโง่ทำให้เกิดเอง ปัญญาเกิดเอง และรู้เองอย่างนี้โดยไม่ได้รู้ตามคนอื่นบอกเล่า ไม่ใช่รู้ในหนังสือ ไม่ใช่รู้ว่าญานทัสสนวิสุทธิเกิดขึ้น ในหนังสืออย่างนี้ เป็นความรู้ธรรมะ
แต่ภาคปฏิบัตินี้ ป็นการปฏิบัติให้เกิดเอง แล้วก็ปัญญาก็เกิดเอง บอกตัวเองได้ โดยวิธีปฏิบัตินี้ อันนี้นักปฏิบัติอย่าลืมด้วย ตัวกำหนดมันมีอะไรเกิดขึ้นทุกวิถีทางต้องกำหนดให้หาย ถ้ากำหนดไม่หาย ปล่อยปละละเลยไป เป็นการสะสมหน่วยกิตทำให้เกิดสันดานเป็นพื้นฐานของจิต ทำให้เราปิดบังปัญญาไว้ เกิดโมหะจริต ปัญญาก็ไม่เกิดขึ้นแก่ผู้ปฏิบัติด้วย โดยวิธีนี้จึงต้องกำหนดทุกอิริยาบถ
เพราะฉะนั้น ที่พูดซ้ำมาเป็นเวลานานนี้ ก็ต้องการให้ผู้ปฏิบัติโดยถูกต้อง ไม่ต้องฟังเสียงใครและการปฏิบัตินี้ขอให้ปฏิบัติไปตามขั้นตอน อย่าไปเอาอย่างอื่นมาประสมประสานกัน เดี๋ยวพุทโบ้ง พองหนอ ยุบหนอบ้าง สัมมา อะระหังบ้าง เลยสับสนอลหม่านตลอดกาล ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ในวิธีปฏิบัติ
การปฏิบัติสติปัฏฐานสี่ต้องการให้มีสติ รู้ทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ เข้าทางทวารหก ขันธ์ ๕ รูปนาม เกิดทางทวารหก แล้วก็ดับพร้อมกันไป กิเลสก็เกิดขึ้นทางนั้นเหมือนกัน คือ โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในขันธ์สันดาน เรียกว่าขันธ์ ๕ รูปนามเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นทางอายตนะ ธาตุ อินทรีย์ โดยวิธีนี้เป็นต้น
ถ้าเราสติดี ปัญญาดีแล้ว มันจะบอกได้เป็นขั้นตอน มีเวทนาอยู่จุดไหน กำหนดได้ จุดนั้นมันก็หายไป เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในการฝึกเบื้องต้นมักมีอย่างนี้ ความวัวไม่ทันหาย...ความควายเข้ามาแทรก ครูเขามาสอนแล้วต้องเรียน ครูโลภะ ครูโทสะ ครูโมหะ ครูเวทนา ครูฟุ้งซ่าน ครูเสียใจมาสอนเราว่า ทำไมเสียใจ แก้ไขอย่างไร ก็กำหนดจิตใช้สติตลอดเวลา อริยสัจ๔ก็ชัดเจนขึ้น นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำเร็จมรรคผลมา ก็ใช้หลักสำเร็จที่อริยสัจ ๔ จากการเจริญสติปัฏฐานมานี่เอง

:b48: :b48: อานิสงส์การยืนหนอ ๕ ครั้ง :b48: :b48:
พระองค์จึงได้ย้ำหลักในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ขันธ์ ๕ รูปนามเป็นอารมณ์ ผู้ปฏิบัติธรรมอย่าลืม กำหนดให้ได้ ยืนหนอ ๕ ครั้ง นี่เอาไว้ใช้อะไร สำหรับเราดูคนอื่นเขา เห็นหนอ ๕ ครั้งตั้งแต่ปลายผมคนที่เราเห็น ปลายเท้าขึ้นมา เดี๋ยวสติจะบอกว่า คนนี้มีนิสัยไม่ดี คนนี้มีนิสัยดี คนนี้มีเล่ห์กระเท่ห์เพทุบาย มันจะแจ้งรายงานให้เราทราบเราเห็น นี่แหละยืนหนอ ๕ ครั้งนี่ สำหรับวิธีดูคนอื่นเขา เพราะดูตัวเองได้แล้ว ฝึกฝนตัวเองได้แล้ว อ่นตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น แล้วดูคนอื่น ทำไมอ่านไม่ออกเล่า...แบบเดียวกัน
เพราะฉะนั้น การยืนหนอ ๕ ครั้ง ต้องการจะดูคนอื่นที่เดินเข้ามา คืดสภาวรูป จะเป็นคนหรือมนุษย์ สัตว์ สิ่งทั้งหลายก็ตามโดยที่มีวิญญานและไม่มีวิญญาน เราอาจจะมองเห็นวิญญานมองเห็นดวงวิญญาน มองเห็นสิ่งเร้นลับโดยปัญญาได้ ด้วยยืนหนอ ๕ ครั้ง นี่แหละ ที่เราจะเพ่งสายตา จะไปดูสภาวรูปที่ไหน ก็กำหนดว่าเห็นหนอๆอย่างนั้น และเห็นจริงๆด้วยตาปัญญานี่แหละ ปัจจัตตัง ที่จะทำได้จึงต้องเห็นไว้ มันมีประโยชน์ในการแก้ปัญหาอย่างเหลือเกิน พอเราทำได้แล้ว ไม่ต้องกำหนดมันบอกเอง ดีเอง เรามองเห็นสภาวรูป รูปมันจะแจ้งชัดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไป มันจะบอกเป็นขั้นตอนออกมาเอง ไม่ต้องกำหนด
วิธีฝึกเบื้องต้น เราจิตยังไม่เข้าขั้น ยังไม่ถึงวิปัสสนาญานแล้วเราก็ไม่สามารถที่จะบอกได้อย่างนี้ ถ้าเราเข้าถึงขั้นแล้ว มันจะบอกได้ทั้งหมดเป็นการครอบจักรวาล โดยใช้สติสัมปชัญญะทุกประการ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 10:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: เคล็ดลับในการปฏิบัติให้ได้ผล :b42: :b42:
ที่อาตมาชี้แจงแสดงมานี้ต้องย้ำไว้ สำหรับผู้ปฏิบัติปล่อยปละละเลยมาก ไม่ปฏิบัติกันโดยต่อเนื่อง เราจะเดินไปห้องน้ำ ห้องส้วม ให้เดินจงกรมไป และรับประทานอาหารก็ให้เราพิจารณาปัจจเวกขณ์ด้วยการกำหนด กินหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ เป็นต้น ให้ช้าที่สุด อันนี้พิจารณาปัจจัยไปในตัวด้วย แต่งกายแต่งใจอยู่เสมอ
ส่วนใหญ่แล้วผู้ปฏิบัติจะทำโดยต่อเมื่อเดินจงกรม กับพองหนอ ยุบหนอ เท่านั้น เพราะว่ายังไม่สามารถจะใช้ได้ ที่จะให้ได้นั้นต้องกำหนดสิ่งแวดล้อมทั้งหมด การปฏิบัติของเราก็จะได้รับผลสมความมุ่งมาดปรารถนา
ขอเจริญพรผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน โปรดได้ปฏิบัติโดยต่อเนื่อง จะไปอยู่อิริยาบถใดก็ตามต้องกำหนดเรื่อยไป เป็นการสะสมเรื่อยไป และมันจะเกิดเต็มเปี่ยมขึ้นมาแล้ว มันจะเย็นอัตโนมัติ เห็นได้ชัดคือปัญญา
เพราะฉะนั้น การเจริญวิปัสสนา กับการศึกษาแบบอื่นต่างกัน ต้องทำขึ้นมาเอง ต้องทำไม่รู้ไม่ชี้ ฝากสิ่งทิฐิมานะเก็บไว้ใช้ในตัวเราที่แสดงออก ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ แล้วใช้สติกำนดไปตลอดภาวะของรูปนามขันธ์ ๕เป็นอารมณ์ จึงจะเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน แสดงผลงานของปัญญาให้ชัดแจ้งต่อไปด้วย

ผู้ปฏิบัติธรรม เดินจงกรมแล้วนั่งภาวนา นอนกำหนด เสร็จแล้ว เราก็มาที่ห้องพระ ถ้าไม่มีห้องพระตรงไหนก็ได้ อย่าลืมแผ่เมตตา โทรจิตอุทิศส่วนกุศลให้ผู้มีพระคุณ มีบิดา มารดาเป็นต้น ตลอดจนเจ้ากรรมนายเวร บรรดาญาติทั้งหลายผู้ล่วงลับไปแล้ว และเจ้ากรรมนายเวรที่จะมาทวงถามเราอยู่ทุกขณะ เราจะได้ไม่ปฏิเสธ ใช้หนี้เวรหนี้กรรม จากการกระทำโดยอโหสิกรรมนั่นเอง ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่อาฆาตเคียดแค้นต่อท่านผู้ใด กรรมนั้นเป็นอโหสิ ไม่มีเวรกรรมต่อเนื่องกันไป อันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับที่ได้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: อุทิศส่วนกุศล อโหสิกรรมทุกเวลา :b42: :b42:
หลังจากนั้นก็อุทิศส่วนกุศลและโทรจิตออกไปทุกทิศา อโหสิกรรมทุกเวลา ท่านจะได้รับผลทุกประการ จะทำกิจการงานทางโลกทางธรรมทำแล้วไม่ไร้ผล จะเรียกเงินเรียกทองก็ได้ เรียกแบบไหน เพราะจิตใจของเราเข้าสู่สภาวะของผู้มีปัญญาแล้ว จะคิดอ่านอันใดสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ สิ่งนั้นมีอานิสงส์ คิดเงินจะได้ไหลนอง คิดทองจะได้ไหลมา กิจการจะได้สำเร็จตามเป้าหมายที่เรียกว่าปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในเหตุการณ์ สามารถใช้ชีวิตให้เกิดประโยชน์ของตนเอง และบุคคลทั่วไปได้ สมปรารถนาทุกประการ
จึงขอเจริญพรผู้ปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเหลวไหลและเป็นเรื่องทำง่ายนะ ทำยากที่สุด ถึงยากอย่างไรก็ตาม ก็พยายามทำ พยายามที่จะกำหนด และปรารถขันติ...ความอดทนไว้ ฝืนใจไว้ให้ได้จนกว่าจะเคยชิน เข้าสู่ภาวะแห่งความสงบ นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ...สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี แล้วในโลกมนุษย์นี้ เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ทันเวลา ทันท่วงทีทุกประการ นี่แหละเป็นอาวุธที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้แก่เรา

:b42: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42:
......การเจริญกรรมฐาน...
......ต้องการเอามงคลมาใส่ตนเอง
......มีสติเพื่อสอนตนเอง
......ไม่ใช่คนอื่นมาสอนเรา
......ท่านจึงจะประสบผลสำเร็จ

.....................หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 มี.ค. 2010, 13:22
โพสต์: 176

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ,ฟังธรรมะ
อายุ: 0
ที่อยู่: อยู่กับปัจจุบัน

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุเจ้าค่ะ
มีสติระลึกรู้เสมอนั่นเอง ไม่ว่าจะทำการสิ่งใด
:b9: :b9: :b18:

.....................................................
เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b43: :b43: :b43: ปกิณกธรรม จาก หลวงพ่อจรัญ :b43: :b43: :b43:
:b42: :b42: :b42: คำสอนของพระพุทธเจ้า
คำสอนของพระพุทธเจ้า มีอยู่แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ อยู่ในพระไตรปิฏก แยกเป็น วินัยปิฏก(พระวินัย) สุตตนตปิฏก(พระสูตร)และอภิธรรมปิฏก(พระอภิธรรม)
สรุปเหลือสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อ ลงมาเหลือสอง คือ สติ กับ สัมปชัญญะ สรุปเหลือหนึ่ง คือ ความไม่ประมาท
....ศีล..สำรวมกาย วาจา ให้เป็นปกติ อย่าให้พลาด อย่าให้พลั้ง อย่าให้ประมาท คือมีสติ
....สมาธิ สังวร แปลว่า ความรู้จริง รู้ซึ้ง รู้ตื้นลึกหนาบาง อ่านตัวออก บอกตัวได้ ใช้ตัวเป็น คือ รู้หนอ

:b48: :b48: :b48: พุทธกิจของพระพุทธเจ้า :b48: :b48: :b48:
ขอเจริญพรว่า....
พระพุทธเจ้ามีพุทธกิจ ๕ ประการ
พระพุทธเจ้าเคยขี้เกียจไหม ทำไมหนอจึงเสด็จออกบรรพชา ทำไมหนอพระพุทธเจ้าจึงต้องเรียนถึง ๑๘ ศาสตร์
นี่เป็นเพราะความขยันหมั่นเพียรนั่นเอง ต้องการหาวิชาแก้ปัญหา วิชาแก้ทุกข์ วิชาบำรุงสุข ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในการงานและหน้าที่รับผิดชอบ...

พระพุทธเจ้า มีพุทธกิจ ๕ ประการคือ
๑. ปุพพัณเห ปิณฑะปาตัญจะ....เข้าออกบิณฑบาต โปรดสัตว์
๒. สายัณเห ธัมมะเทสะนัง...ตอนเย็นให้ธรรมะประชาชน
๓. ประโทเส ภิกขุโอวาทัง...หัวค่ำให้กรรมฐานสอนภิกขุ
๔. อ้ฑฒะรัตเต เทวะปัญหะนัง...ตีสิบสอง แก้ปัญหาเทวดา
๕. ปัจจุสเสวะคะเตกาเล ภัพพาภัพเพ วิโลกะนัง...ตีสี่เล็งญานช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากกองทุกข์
:b42: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ค. 2010, 11:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b48: อานิสงส์ของการเจริญกรรมฐาน :b42: :b42: :b48:
ท่านเจริญพระกรรมฐานได้ ท่านมีศีล สมาธิ ปัญญา จะได้ความว่า
-ทำคนให้ฉลาด รู้จักหลักความจริงในชีวิต
-ทำคนให้รู้จักปรมัตถธรรม
-ทำคนให้มีศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม
-ทำคนให้รักใคร่กัน สนิทสนมกลมกลืนกันเหมือนญาติ
-ทำคนให้มีความเมตตากรุณา และพลอยยินดีเมื่อเห็นคนอื่นได้ดี
-ทำคนให้เป็นดีกว่าคน ให้เด่นกว่าคน ให้เป็นพระ
-ทำคนให้ไม่เบียดเบียนกัน เว้นจากการเอารัดเอาเปรียบกัน
-ทำให้คนรู้จักตนเอง และรู้จักปกครองตนเอง
-ทำคนให้เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย
-ทำคนให้เป็นผู้หนักแน่น ในกตัญญูกตเวทิตาธรรม
-ทำคนให้มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์
-ทำคนให้ได้รับความเจริญรุ่งเรือง
-ทำคนให้พ้นจากความเศร้าโศก
-ทำคนให้ดับความทุกข์ร้อน ทาง กาย ทางใจ
-ทำคนให้เดินทางถูกต้องทุกประการ

:b51: :b53: :b54: :b53: :b51: :b53: :b54: :b55:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b46: :b46: :b46: ความสงบ :b46: :b46: :b46:
พระพุทธองค์ตรัสว่า..."ความสงบ" เป็นสุขอย่างยิ่ง คนที่มีจิตใจสงบ ไม่วุ่นวายกับสิ่งใดๆ มีความตั้งใจและสมาธิแน่วแน่ดี ในการเจริญพระกรรมฐานก็จะกระทำแต่สิ่งที่ดีๆทั้งนั้น และมีความตั้งใจที่จะทำงานของตน...ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ทำความชั่ว ไม่เบียดผู้อื่น ไม่ทำร้ายผูอื่น ก็จะทำให้ ชีวิตนั้นมีความสุขและความสงบ
ส่วนผู้ที่ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน สติปัญญาก็จะเกิดขึ้นจากความสงบนั้น และท่านก็จะได้บรรลุถึงการปฏิบัติธรรมในที่สุด

:b43: :b43: :b43: :b42: :b42: :b42: :b43: :b43: :b43:

:b48: :b48: :b48: ชีวิตมีแก่นสาร :b48: :b48: :b48:
ต้นไม้ที่เราปลูก จะมีแก่นก็ต่อเมื่อถึงคราวเวลา...เมื่อได้ที่ของมันก็มีแก่น เหมือนอย่างคนเราสร้างความดี ก็เป็นแก่นสารทั้งนั้น
ชีวิตเป็นแก่นสาร ก็คือ มีแก่นมีรากแก้ว มีความอดทน มีสัจจะ มีเมตตา มีสามัคคี มีวินัย
การเจริญกรรมฐานท่านเข้าใจอะไรหรือ? ต้องการจะเอาชีวิตเป็นแก่นสารไหม....ชีวิตที่มีแก่นสารสำคัญที่การเจริญกุศล บางคนขาดสติมาก แม้มีสตางค์เยอะ...ก็ไร้ความหมาย ถ้ามีเงินทอง ต้องมีสติ มีความคิดใช้ให้เป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตนเอง ส่วนรวม นั้นแหละชีวิตที่มีแก่นสารล่ะ

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

:b53: :b53: :b53: ดีแต่ชอบ ไม่ชอบทำดี :b53: :b53: :b53:
ของดีชอบอยู่กับคนที่มีความดี ตรงกันข้ามกับความชั่ว ของดีไม่ชอบอยู่ด้วย เพราะความชั่วเป็นตัวเสนียด ความดีเป็นตัวเสน่ห์ ศัตรูของความดีมีอะไรบ้างไหม? ขอให้ท่านพิจารณาดู ฉะนั้นคนเราจึงเกลียดความชั่ว ชอบความดี
แต่ก็น่าแปลกเหลือเกินที่คนบางตนชอบดี แต่ก็ไม่ทำ คือ "ดีแต่ชอบ ไม่ชอบทำดี" ขอท่านโปรดนำไปคิด อยากเป็นคนที่ฉลาด ที่รอบรู้ แต่ไม่ศึกษาเล่าเรียน..เสียใจด้วยนะ ไม่อยากเรียน ไม่อยากดูไม่อยากเห็น ไม่อยากฟัง ไม่ทำรึ..จะเป็นคนประเภทนี้นี้ทั้งนั้น นี่อุปสรรคมันเป็นอย่างนี้


แก้ไขล่าสุดโดย ศรีสมบัติ เมื่อ 19 พ.ค. 2010, 11:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: :b48: :b48: เพิ่มพูนทางแห่งความสงบ :b48: :b48: :b48:
พระศาสดาได้ทรงชักชวนพุทธบริษัท ว่า...จงเพิ่มพูนทางแห่งความสงบ ท่านจงเพิ่มพูนทางแห่งความสงบเท่านั้น ส่วนทางอื่นไม่ต้องเพิ่มพูนก็ได้ และทรงยืนยันว่า...ความสุขนอกจากความความสงบ...หาไม่ได้ เพราะมีแต่ความสุขผสมเท่านั้น
ความสงบตามที่กล่าวมานี้ โดยนัยแบ่งได้ ๓ คือ ความสงบส่วนตัวแต่ละคน ซึ่งทุกคนควรทำเป็นอันดับแรก ความสงบส่วนหมู่คณะ ที่ทุกคนในหมู่ควรทำเป็นอันดับต่อมา และความสงบชั้นสุดยอด ที่ผู้ปรารถนาควรทำเป็นอันดับสุดท้าย ให้เกิดมีขึ้นในตน
:b48: :b48: :b48:

:b42: :b42: :b42: ธรรมปฏิบัตินำไปสู่ความสงบ :b42: :b42: :b42:
การจะไปสู่ความสงบนั้น ต้องปฏิบัติธรรม คือ กรรมฐานที่อาตมาเสนอนี้ มี ๖ ประการ
๑. ความรู้จักตนเอง คือรู้จักสภาพของตนทุกด้าน ทั้งสภาพความเป็นอยู่ เศรษฐกิจสังคม เพศ วัย การงาน หน้าที่ อาชีพ วงศ์ตระกูล สติ ปัญญา และความรู้ความสามารถทุกประการ ว่าเป็นอย่างไรแน่
๒. ความรู้จักความเหมาะสม คือ รู้จัก ความพอดีตามฐานะอัตภาพของตน
๓. สัจจะ ความซื่อตรง จริงใจ
๔. เมตตา ความรักความปรารถนาดีต่อคนทั่วไป
๕. สามัคคี ความปรองดองในระหว่างกันและกัน
๖. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ เสียใจ ไม่รัก จะเป็นอย่างไร ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
๖.๑ ความรู้จักตนเอง ความรู้จักความเหมาะสม เป็นความสว่าง ความสงบให้กับตนเอง
๖.๒ ใช้สัจจะ เมตตา สามัคคี เป็นเครื่องสร้างความสงบ ให้กับหมู่คณะของตน
๖.๓ ใช้อุเบกขา เป็นเครื่องสร้างความสงบชั้นสุดยอดให้กับตน
คนที่รู้จักตนเอง และรู้จักความเหมาะสมเป็นคนไม่มีปัญหา หรือแม้อาจจะมีปัญหา ปัญหาก็รบกวนได้ยาก เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีความผิดพลาด ไม่เสียความปกติง่าย
แต่ถ้าขาดความรู้จักตนเอง และขาดความรู้จักพอเหมาะเมื่อไหร่ ความไม่ถูกต้อง ความผิดพลาดบกพร่อง ความเสียปกติจะเกิดขึ้นทันที ทำให้มีปัญหา แม้ไม่มากมาย แต่ก็ทำให้ต้องพ่ายแพ้แก่ปัญหาง่ายๆ นี่เป็นสัจจะธรรมที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
:b42: :b42: :b42:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b40: :b43: :b48: การพัฒนาชีวิต :b42: :b43: :b40:
แนวการศึกษาของชีวิต ในหลักพระพุทธศาสนานั้นให้เกิดประโยชน์ในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ
คันถธุระก็คือแนวการศึกษาในพระพุทธศาสนาทั้งหมด เรียกว่า การศึกษา
วิปัสสนาธุระ เขาเรียกว่า การปฏิบัติธรรม
ที่เรามาเจริญกรรมฐาน มีขันธ์ ๕ รูป นาม เป็นอารมณ์นั่นเอง เราให้แนวสติปัฏฐาน ๔ มรรค ๘ อริยสัจ ๔ วิธีปฏิบัติมีศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น ข้อกำหนดก็คือ สติสัมปชัญญะ เป็นตัวกำหนด ตัวกำหนดนี้เป็นตัวสร้างแบบให้แก่ชีวิต เป็นมนุษย์สมบูรณ์แบบ สร้างรูปแบบที่ดี นิสัยที่ดี เพราะสติสัมปชัญญะดี กรรมฐานจะแก้ปัญหาชีวิต ของเขาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าได้ ซึ่งก็เรียกว่า การปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมนี้ เรามีจิตมุ่งมาดปรารถนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือ ความไม่ประมาทเกิดขึ้นในชีวิตของท่าน จะเป็นเอกัคคตา...หนึ่งไม่มีสอง ประคองด้วยสติปัญญา แก้ไขปัญหาได้นั้นได้แก่ สมาธิภาวนา มีสมาธิเกิดขึ้น จิตใจท่านก็ดี เรียกว่าการพัฒนาชีวิต
การปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนานั้น เป็นการพัฒนาชีวิต ให้ชีวิตของท่านแจ่มใส ชีวิตนี้มีความรุ่งเรืองวัฒนาสถาพร

:b39: :b39: :b40: ความคิดที่ดี :b39: :b40: :b39:
ความคิดที่ดีนั้น มีหลัก ๓ ประการ
๑. คิดได้เร็ว
๒. คิดนั้นเป็นการถูกต้อง
๓. คิดนั้นนำมาใช้ได้
ในปัจจุบันเรียกว่า คิดดี ๓ ประการ ได้จากการกำหนดกรรมฐาน เรียกว่า คิดหนอ คิดหนอ จะออกมา ๓ อย่าง คิดได้เร็วมาก มีสมาธิดีจะออกมาได้เร็ว เมื่อออกมาแล้ว ความคิดนั้นมันจะถูกต้องทุกประการ จะแก้ปัญหาชีวิตได้ จะแก้กฏแห่งกรรมของตนได้ คือความคิดนั้นถูกต้องแล้ว ความคิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ได้แล้ว ไม่เสียหายประการใด เรียกว่า คิดดีจากพระกรรมฐาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2010, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 16:34
โพสต์: 1050

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: :b42: :b42: :b42: เมตตาค้ำจุนโลก :b42: :b42: :b42:
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนให้มีมุทิตาจิตต่อกัน มีเมตตา มีมุทิตาจิต คือ พลอยยินดีอนุโมทนาเมื่อผู้อื่นได้ดี มีความเจริญจงคิดว่าเพราะบุตรของเขา หรือเพราะว่าความสามารถของเขา เขาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองเช่นนั้น
เมื่ออยากจะได้ดีอย่างเขา เราต้องพยายามที่จะปรับปรุงตนเอง หมั่นแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ โดยยึดเขาเป็นแบบอย่าง ด้วยวิธีนี้จิตใจของเราจะสบาย และเปี่ยมไปด้วยมุทิตาจิต โลกก็จะถึงสันติสุข ปราศจากริษยาอาฆาตซึ่งกันและกันได้ เพราะเมตตาค้ำจุนโลก
:b42: :b42: :b42:
:b43: :b43: :b43:
......บาป...บุญ....คุณ.....โทษ
........ที่มีอยู่กับเราเหมือนเป็นเงาตามตัว
..........ถ้าตัวเราสวย.....
..........กายเป็นบุญ จิตเป็นบุญ
..........เงามันก็ตามเป็นบุญไปด้วย
..........เหมือนกระจกเงาส่องเงา ฉะนั้น

:b51: :b51: :b51: :b53: :b53: :b54:
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร