วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 03:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังนึกภาพความสุขตั้งแต่ระดับที่ 2ไป ไม่ออก มีตัวอย่างของผู้ปฏิบัติธรรมท่านหนึ่งเป็นเครื่องเทียบเคียง

เป็นที่น่าสังเกตว่า เขาได้หนังสือมาแล้วอ่านแล้วลงมือทำลงมือปฏิบัติ พิจารณาดูดังนี้


ก่อนหน้านี้ไม่เคยปฏิบัติธรรมจริงๆจังๆเลย จนกระทั่งไม่นานมานี้ วาสนาพาให้ได้พบกับพระสงฆ์ไทยรูปหนึ่ง

ที่...ทราบว่าท่านน่าจะมาโปรดสัตว์

ผมได้ถามท่านว่า ทำอย่างไรจึงจะพ้นทุกข์ ท่านก็ไม่ตอบอะไร ยื่นหนังสือของท่านให้สามเล่ม

เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแนวทางในอานาปานสติสูตร แล้วผมก็กราบลาท่านมา

ผมอ่านแค่เล่มแรกก่อน ใจความในเล่มแรกคือ ให้กำหนดรู้ลมหายใจให้ตลอด ในชีวิตประจำวัน จะทำกิจกรรม

อะไรก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจไปด้วย ยกเว้นเวลาขับรถ หรือเวลาอ่านหนังสือ แต่ก็ให้มีสติรู้อยู่ว่าเราทำอะไรอยู่

ท่านว่าให้กำหนดรู้ลมหายใจเสมือนว่า ลมหายใจเป็นกัลยาณมิตร ให้เรายึดกัลยาณมิตรนี้ไว้

หลังจากนั้นผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน แต่ผมก็คิดว่า

เวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า

ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นแบบอัปปมัญญา ๔ แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย

ไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า-เบื้องหลัง –เบื้องบน ฯลฯ

พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น

จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ

รู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปีติ มีแต่ความสุขไปหมด

คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้
ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"


จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่า คือ ลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก
ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปีติ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น
แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่


จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ"

จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล)

ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

แต่หลังจากนั้นมาผมก็ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะดังกล่าวได้อีกเลย คือ ทำได้มากสุดก็แค่ทำปีติให้เกิดขึ้น

แวบหนึ่งเท่านั้น (แต่ก็สามารถทำให้เกิดได้ตลอดเวลา ตามที่ต้องการทันที)แต่ไม่สามารถทำให้เกิดค้างไว้

จนรู้สึกเหมือนจุ่มลงในปีติ แล้วมีลมหายใจละเอียดแบบครั้งแรกได้

http://fws.cc/whatisnippana/index.php?topic=78.0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 พ.ค. 2010, 09:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 19:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูความหมายของคำว่า ฌาน สักเล็กน้อย เพื่อจะได้เข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น แต่จะให้เข้าใจมากกว่านี้

พึงลงมือทำเองปฏิบัติเอง



ฌาน แปลว่า เพ่ง หมายถึงภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ ได้แก่ ภาวะจิตที่มีสมาธินั่นเอง

แต่สมาธินั้นมีความประณีตสนิทชัดเจนผ่องใสและมีกำลังมากน้อยต่างๆกันแยกได้เป็นหลายระดับ

ความต่างของระดับนั้นกำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำความเข้าใจต่ออีก


ฌาน อาจใช้ในความหมายอย่างหลวมๆ โดยแปลว่า เพ่ง พินิจ ครุ่นคิด เอาใจจดจ่อก็ได้

และอาจใช้ในแง่ไม่ดี เป็นฌานที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ เช่น เก็บเอากามราคะ พยาบาท ความหดหู่

ความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ความลังเลสงสัยไว้ในใจ ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกลุ้มรุมใจ เฝ้าแต่ครุ่นคิดอยู่

ก็เรียกว่าฌานเหมือนกัน (ม.อุ.14/117/96)

บางทีก็นำมาใช้แสดงความหมายด้านวิปัสสนาด้วย โดยแปลว่า เพ่งพินิจ หรือ คิดพิจารณา

อรรถกถาบางแห่งจึงแบ่งฌานออกเป็น 2 จำพวก คือ การเพ่งอารมณ์แบบของสมถะ เรียกว่า

อารัมมณูปนิชฌาน (ได้แก่ฌานสมาบัตินั่นเอง)

การเพ่งพิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์ตามแบบวิปัสสนาหรือวิปัสสนานั่นเอง เรียกว่า ลักขณูปนิชฌาน

(ในกรณีนี้ แม้แต่มรรคผล ก็เรียกว่า ฌาน ได้ เพราะแปลว่า เผากิเลส ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุดท้ายก่อนจะบรรลุฌาน ก็คือการละนิวรณ์ 5 ได้ ผู้ละนิวรณ์ได้แล้ว จะมีความรู้สึกปลอดโปร่งโล่ง

เบาสบายและอิ่มใจเกิดขึ้นเป็นพื้นนำของการจะได้ความสุขในฌานต่อไป

ดังที่ท่านอุปมาไว้ 5 ประการ

1. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่เคยกู้ยืมเงินคนอื่นมาประกอบการงาน

แล้วประสบความสำเร็จ ใช้หนี้สินได้หมดแล้วและยังมีเงินเหลือไว้เลี้ยงครอบครัว

2. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่ฟื้นหายจากความเจ็บป่วยเป็นไข้หนักกินข้าว

กินปลาได้ มีกำลังกายแข็งแรง

3. เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่พ้นจากการถูกจองจำไปได้โดยสวัสดี

ไม่มีภัย และไม่ต้องเสียทรัพย์สิน

4.เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนที่หลุดพ้นจากความเป็นทาส อาศัยตนเองได้

ไม่ขึ้นกับคนอื่น เป็นไทแก่ตัว จะไปไหนก็ไปได้ตามใจปรารถนา

5.เปรียบเหมือนการเกิดความปราโมทย์มีโสมนัสชื่นฉ่ำใจของคนมั่งมีทรัพย์ผู้เดินทางข้ามพ้นหนทางไกล

กันดาร ที่หาอาหารได้ยากและเต็มไปด้วยภยันตราย มาถึงถิ่นบ้านอันเกษมปลอดภัยโดยสวัสดี

ต่อแต่นั้นก็จะได้ประสบความสุขสบายในฌานที่ประณีตดียิ่งกว่านั้นขึ้นไปอีกตามลำดับ กล่าวคือ

ในฌานที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายของตนให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม

ซาบซ่านด้วยปีติและความสุข ไม่มีส่วนใดของกายทั่วทั้งตัว ที่ปีติและความสุขจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือน

แป้งสีกายที่เขาเทใส่ภาชนะสำริด เอาน้ำพรมปล่อยไว้ พอถึงเวลาเย็น ก็มียางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด

ไม่กระจายออก

ในฌานที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยปีติ สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและความ

สุขที่เกิดจากสมาธิ อย่างทั่วไปหมดทั้งตัว เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก ที่น้ำผุดขึ้นภายใน ไม่มีน้ำไหลจากที่อื่น

หรือแม้แต่น้ำฝนไหลเข้ามาปน กระแสน้ำเย็นผุดพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้น ทำให้ห้วงน้ำนั้นเองชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึม

เยือกเย็นทั่วไปหมดทุกส่วน


ในฌานที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย สุข และเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติทำกายให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยความสุข

ที่ปราศจากปีติทั่วไปหมดทุกส่วน เปรียบเหมือนกอบัวเหล่าต่างๆที่เติบโตขึ้นมาในน้ำ แช่อยู่ในน้ำและน้ำ

หล่อเลี้ยงไว้ ย่อมชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นทั่วไปหมดทุกส่วน ตั้งแต่ยอดตอลดเหง้า

ในฌานที่ 4 ซึ่งประกอบด้วยอุเบกขาและเอกัคคตา ผู้ปฏิบัติแผ่จิตใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วไปทั่วทั้งกาย

เหมือนเอาผ้าขาวล้วนบริสุทธิ์มานุ่งห่มตัวตลอดหมดทั้งศีรษะ

(ที.สี.9/126-130/96-100 ฯลฯ)

ต่อจากความสุขในฌาน 4 นี้ไป ก็มีความสุขในอรูปฌานอีก 4 ขั้น ซึ่งประณีตยิ่งขึ้นไปตามแนวเดียวกันนี้

โดยลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




DSC01694.jpg
DSC01694.jpg [ 44.92 KiB | เปิดดู 1479 ครั้ง ]
ผู้ปฏิบัติถูกต้องต่อกามสุข ย่อมก้าวหน้าไปสู่สุขที่ประณีตได้ง่ายขึ้น เมื่อประสบสุขประณีตแล้ว สุขประณีต

นั้น ก็กลับเป็นเครื่องช่วยควบคุมการแสวงหาและการเสพเสวยกามสุขให้อยู่ในขอบเขตแห่งความดีงาม

เพราะบุคคลผู้นั้นเห็นคุณค่าของสุขประณีตสูงกว่า และความสุขประณีตต้องอาศัยกุศลธรรม ครั้นบุคคลนั้น

บรรลุธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอีก ประสบสุขประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดก็จะไม่วกเวียนมาหากามสุขอีกเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปาสราสิสูตร ท่านเปรียบ กามคุณ เหมือนบ่วงดักของนายพราน แล้วกล่าวถึงสมณพราหมณ์ที่เกี่ยวข้อง

ในเรื่องนี้ไว้ 3 จำพวก


พวกที่หนึ่ง คือสมณพราหมณ์ที่บริโภคกามคุณทั้ง 5 โดยมีความติดใจ หลงใหล หมกมุ่น ไม่รู้เท่าทันเห็น

โทษ ไม่มีปัญญาพาตัวรอด เป็นเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วงและนอนทับบ่วงอยู่ ย่อมจะประสบความเสื่อม

ความพินาศ ถูกพรานทำเอาได้ตามปรารถนา

พวกที่สอง คือสมณพราหมณ์ที่บริโภคกามคุณทั้ง 5 โดยไม่ติด ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น รู้เท่าทันเห็น

โทษ มีปัญญาพาตัวรอดได้ เป็นเหมือนเนื้อป่าที่นอนทับบ่วงแต่ตัวไม่ติด ย่อมจะไม่ประสบความเสื่อม

ความพินาศ ไม่ถูกพรานคือมารร้ายทำอะไรเอาตามปรารถนา


พวกที่สาม คือภิกษุที่สงัดจากกามปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้บรรลุรูปฌาน และอรูปฌาน ขั้นใด

ขั้นหนึ่ง ตลอดจนบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธและเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว (ประสบสุขประณีตสูงสุดแล้ว)

ได้ชื่อว่าทำให้มารตาบอด มองไม่เห็นร่องรอย ถึงภาวะที่มารมองไม่เห็น เป็นเหมือนเนื้อป่าเที่ยวไปใน

ป่าใหญ่ จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนก็ปลอดโปร่งเบาใจ เพราะไม่อยู่ในสายตาของนายพราน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ตามความในสูตรนี้ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้ามิได้ทรงเพ่งแต่จะสอนให้ละเลิกความเกี่ยวข้องกับกามคุณไปถ่าย

เดียว แต่ทรงสอนให้รู้จักปฏิบัติต่อกามคุณอย่างถูกต้องโดยที่ยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้ ไม่ตกไปเป็นทาส

ของกามคุณและมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อโทษทุกข์ภัย

การเกี่ยวข้องกับกามคุณตามแบบของสมณพราหมณ์พวกที่สอง นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่พึงเน้นมากที่สุด

สำหรับคนทั่วไป ตามวิธีปฏิบัติแบบนี้ คำแสดงหลักที่ควรสังเกตเป็นพิเศษคือ คำว่า “ปัญญาพาตัวรอด”

"นิสสรณปัญญา" จะแปลว่าปัญญารู้ทางรอดก็ได้ หมายถึง ปัญญาที่รู้จักทำตนให้เป็นอิสระได้

นิสสรณปัญญานี้ ตามปกติอรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า หมายถึงการรู้จักพิจารณาเมื่อบริโภคใช้สอย

ปัจจัย โดยมองถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของการบริโภคสิ่งเหล่านั้น คือมองที่ตัวประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้

ของสิ่งเหล่านั้นต่อชีวิต เช่น ใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันหนาวร้อนแดดลมเหลือบยุง และปกปิดที่อาย

มิใช่มุ่งเพื่อยั่วยวนอวดโก้หรูหรา เป็นต้น

บริโภคอาหารเพื่อยังชีวิตให้ร่างกายมีกำลังอยู่สบายทำกิจได้ด้วยดี มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมาหรืออวดโก้

ฟุ้งเฟ้อเป็นต้น

การรู้จักปฏิบัติโดยใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ นอกจากจะทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของวัตถุ

ไม่ก่อให้เกิดโทษและความทุกข์ที่เกิดจากการวกเวียนวุ่นอยู่ในวงจรอันคับแคบแห่งความหงุดหงิดดีใจเสียใจ

สมใจผิดหวังแล้ว ยังทำให้เกิดความพอดีในการบริโภคหรือใช้สอย ซึ่งเป็นคุณแค่ชีวิตอีกด้วย

ท่านจึงเรียกว่า การปฏิบัติด้วยนิสสรณปัญญา

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

ความหมายของกามคุณ 5 มิใช่มีขอบเขตแคบๆ อย่างที่มักเข้าใจกัน รูปสวยงามที่บำเรอตา เสียงไพเราะ

ที่บำเรอหู รสอาหารอร่อยที่ถูกลิ้น สัมผัสที่นั่งที่นอนอ่อนนุ่มเป็นต้นที่ปรนเปรนกาย ล้วนเป็นกามคุณ

ทั้งสิ้น พูดง่ายๆว่า กามมิใช่เฉพาะเรื่องเพศเท่านั้น แต่ครอบคลุมสิ่งที่เสพเสวยเพื่ออามิสสุขทั้งหมด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron