วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 06:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 67 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 17:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
เดิมจะใช้หัวข้อว่า "เกจิอาจารย์ ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม" ดูจะแรงไป จึุงใช้ "วัตถุมงคล" แทน
ตั้งใจจะสื่อเรื่องพระสงฆ์ปลุกเสกวัตถุมงคลในพุทธศาสนา มิได้สื่อในเรื่องวัตถุเป็นหลัก
ต้องขอโทษด้วยครับที่ทำให้ความหมายหลักเปลี่ยนไป


คุณจะใช้คำว่า "เกจิอาจารย์ ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม" หรือจะใช้คำว่า "วัตถุมงคล ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม" มันก็เรื่องเดียวกัน คือ ใจคุณมองในแง่ลบ แต่คนอื่น ใจเขามองในแง่บวก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 13:53
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


"วัตถุมงคล ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม" อ่านหัวข้อกระทู้้แล้วก็ต้องตกใจ ว่ายังมีคนเข้าใจผิดๆแบบนี้อยู่อีกหรือ พุทธศาสนาไม่มีเสื่อม ทุกศาสนาไม่มีเสื่อม แต่ที่เสื่อมทรามแท้จริงคือศาสนิกชนบางคน ศาสนิกชนบางคนเสื่อมทรามเพราะโง่เขลาเบาปัญญาไปเชื่อคำสอนที่ถูกบิดเบือน ไม่มีใครหรอกที่จะทำให้ศาสนาเสื่อมได้เพราะความเสื่อมทรามนี้เป็นของตัวบุคคลไม่ใช่ของศาสนา พระพุทธรูปก็ดีพระประธานดี เสมาธรรมจักรที่อยู่รอบอุโบสถก็ดี ช่อฟ้าที่อยู่บนยอดสุดของอุโบสถก็ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นวัตถุมงคลที่พุทธศาสนิกชนล้วนให้ความเคารพทั้งสิ้น ปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ สาเหตุหนึ่งคือเกิดมาจากการบิดเบือนคำสอนขององค์ศาสดาใช่หรือไม่ ถ้าเรามีปัญญาก็ไม่มีใครจะมาล้างสมองเราได้ แล้วเราก็จะรู้ว่าเราควรศึกษาและปฏิบัติธรรมตามรอยองค์ศาสดาอย่างแท้จริง ขออนุโมทนา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ใครจะให้ความเห็นอย่างไร ก็ได้ แต่กรุณาอ่านพระสูตรเหล่านี้ก่อนจะเชื่อ ใคร

เมื่อขาดที่พึ่ง พระพุทธเจ้าให้พึ่งแบบนี้มิได้ตรัสไว้ ว่าให้ปั้นรูป เหรียญเป็นที่พึ่งใดๆ ทั้งสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 346

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ "
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๖. พหุ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ
เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ
เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ
เอตํ สรณมาคมฺม ชพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
" มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม
ถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง;
สรณะนั่นแลไม่เกษม, สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะ
บุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรค
มีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบ
แห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแลของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 347

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 90

อัตตทีปวรรคที่ ๕

อรรถกถาอัตตทีปสูตรที่ ๑

อัตตทีปวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อตฺตทีปา ความว่า ท่านทั้งหลายจงทำตนให้เป็นเกาะ
เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ ที่ไปในเบื้องหน้า เป็นที่พึ่งอยู่เถิด.
บทว่า อตฺตสรณา นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อตฺตทีปา นั้นแล. บทว่า
อนญฺสรณา นี้ เป็นคำห้ามพึ่งผู้อื่น ด้วยว่าผู้อื่นเป็นที่พึ่งไม่ได้ เพราะ
คนหนึ่งจะพยายามทำอีกคนหนึ่งให้บริสุทธิ์หาได้ไม่ สมจริงดังที่ตรัส
ไว้ว่า
ตนนั่นแลเป็นที่พึ่งของตน
คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนญฺสรณา ไม่มี
สิ่งอื่นเป็นสรณะ.
ถามว่า ก็ในที่นี้ อะไรชื่อว่าตน ?
แก้ว่า ธรรมที่เป็นโลกิยะและเป็นโลกุตตระ (ชื่อว่าตน).
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา
อนญฺสรณา มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
ดังนี้. บทว่า โยนิ ได้แก่ เหตุ ดุจในประโยคมีอาทิว่า โยนิ เหสา ภูมิชผลสฺส
อธิคมาย นี้แลเป็นเหตุให้บรรลุผลอันเกิดแต่ภูมิ. บทว่า กึปโหติกา
ได้แก่ มีอะไรเป็นแดนเกิด อธิบายว่า เกิดจากอะไร


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 373

๕. จัณฑาลสูตร
ว่าด้วยธรรมสำหรับอุบาสกดีและอุบาสกชั่ว
[๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด ธรรม ๕ ประการ
เป็นไฉน ? คือ

อุบาสกเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑
เป็นผู้ทุศีล ๑
เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อมงคลไม่เชื่อกรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำการสนับสนุนในศาสนานั้น ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม
๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกผู้เลวทราม เศร้าหมอง และน่าเกลียด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม
เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ?
คือ
อุบาสกย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ๑
เป็นผู้มีศีล ๑
เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าวเชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล ๑
ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำการสนับสนุนในศาสนานี้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้ประกอบด้วยธรรม ๕
ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว อุบาสกปทุม อุบาสกบุณฑริก.
จบจัณฑาลสูตรที่ ๕


พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี
สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.
ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ
อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า
รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ
ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด
ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า
ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ
พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย
ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า
ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต
นั้นไม่มี.

บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม
เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า
สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น
โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน
ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล
ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ
ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

[๓๑๙] ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเข้าสิงเวฏัมพรีเทพบุตรแล้วได้กล่าว
คาถานี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
สัตว์เหล่าใด ขวนขวาย ในความเกลียด
บาปด้วยตบะ รักษาความสงบสงัดอยู่ ติด
อยู่ในรูป ปรารถนาเทวโลก สัตว์เหล่านั้น
ย่อมสั่งสอนชอบ เพื่อปรโลกโดยแท้.
[๓๒๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า นี้เป็นมารตัว
ร้ายกาจ จึงได้ตรัสคาถาตอบมารผู้มีบาปว่า
รูปใด ๆ จะอยู่ในโลกนี้หรือโลกอื่น
และจะอยู่ในอากาศ มีรัศมีรุ่งเรืองก็ตามที่
รูปทั้งหมดเหล่านั้น อันมารสรรเสริญแล้ว
วางดักสัตว์ไว้แล้ว เหมือนเขาใส่เหยื่อล่อ
เพื่อฆ่าปลา ฉะนั้น.
[๓๒๑] ลำดับนั้น มาณวคามิยเทพบุตร ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ใน
สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ภูเขาเวปุละ เขากล่าวกันว่า สูงเป็น
เยี่ยมกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในกรุงราชคฤห์
เสตบรรพตเป็นเลิศกว่าภูเขาที่ตั้งอยู่ในป่า
หิมวันต์ ดวงอาทิตย์เป็นเลิศกว่าสิ่งที่ไป
ในอากาศ มหาสมุทรเป็นเลิศกว่าห้วงน้ำ
ทั้งหลาย ดวงจันทร์เป็นเลิศกว่าดวงดาว
ทั้งหลาย พระพุทธเจ้ากล่าวกันว่าเป็นเลิศ
กว่าประชุมในทั้งโลก พร้อมทั้งเทวโลก.
จบนานาติตถิยสูตร
จบ นานาติตถิยวรรค ที่ ๓


ถ้าพวกที่ชอบที่พึ่งเป็นรูป เหรียญ เมื่อตายไปอาจได้เป็นเช่นนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 107

พระภัททชิเถระ พอเมื่อพระศาสดาทรงปรารภเพื่อจะทรงกระทำอนุ-
โมทนา ก็ออกไปนอกบ้าน คิดว่า เราจักออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดา
เสด็จมาใกล้ทางที่ฝั่งน้ำคงคา แล้วนั่งเข้าสมาบัติ. แม้เมื่อพระมหาเถระทั้งหลาย
มาถึงก็ยังไม่ออกจากสมาบัติ ในเวลาที่พระศาสดาเสด็จมาแล้วนั่นแหละจึงออก
ภิกษุผู้เป็นปุถุชนทั้งหลาย พากันกล่าวยกโทษว่า พระภัททชินี้ บวชได้ไม่นาน
เมื่อพระมหาเถระทั้งหลายมาถึง กลับเป็นผู้กระด้างเพราะมานะ ไม่ยอมออกจาก
สมาบัติ พวกชาวโกฎิคาม ผูกเรือขนานจำนวนมากเพื่อพระศาสดาและภิกษุสงฆ์
พระศาสดาทรงพระดำริว่า เอาเถิด เราจักประกาศอานุภาพของพระภัททชิเถระ
ดังนี้แล้ว ประทับยืนบนเรือขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ไหน ? พระภัทท-
ชิเถระ ขานรับว่า ข้าพระองค์ภัททชิอยู่นี่พระพุทธเจ้าข้า แล้วเข้าไปเฝ้าพระ
ศาสดา ประนมมือยืนอยู่แล้ว พระศาสดาตรัสว่า มาเถิดภัททชิ ท่านจงขึ้น
เรือลำเดียวกันกับเรา พระภัททชิเถระ เหาะขึ้นแล้วไปยืนอยู่ในเรือลำที่พระ-
ศาสดาประทับ ในเวลาที่เรือไปถึงกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดาตรัสว่า
ภัททชิ รัตนปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเวลาที่เธอเป็นพระราชามีนามว่า มหาปนาทะ
อยู่ตรงไหน ? พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้พระเจ้าข้า. ตรัสว่า
ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย.
ในขณะนั้น พระเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังฤทธิ์
ยกยอดปราสาทขึ้นด้วยหัวแม่เท้าแล้วชะลอปราสาท สูง ๒๕ โยชน์ เหาะขึ้น
บนอากาศ และเมื่อเหาะขึ้นได้ ๕๐ โยชน์ ก็ยกปราสาทขึ้นพ้นจากน้ำ ลำดับนั้น
ญาติทั้งหลายในภพก่อนของท่าน เกิดเป็นปลาเป็นเต่าและเป็นกบ ด้วยความ
โลภอันเนื่องอยู่ในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกขึ้นก็หล่นตกลงไปในน้ำ
พระศาสดาเห็นสัตว์เหล่านั้นตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ ญาติทั้งหลายของเธอ
จะลำบาก. พระเถระจึงปล่อยปราสาท ตามคำของพระศาสดา

ใครจะคัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวอย่างไร เกี่ยวกับวัตถุอัปมงคลในศาสนาพุทธ ว่าดี ยอดเยี่ยม ก็เชิญ.......เพราะมันเป็นรายได้เพื่อเลี้ยงชีพและทำให้พวกท่านร่ำรวยจากการอาศัยพระศาสนามาหลอกลวงผู้คนให้หลงติดเป็นเหยื่อของพวกท่าน โดยไม่ได้เอาความจริง จากพระศาสนามาสอนให้รับรู้ .....และใครจะโง่ หรือพอใจ หลงติดเป็นเหยื่อ ก็เชิญ....เพราะผู้ที่เรียนรู้แล้วว่า พุทธศาสนา สอนอะไร เขาจะออกได้เอง โดยไม่ต้องไปกังวลกับอะไร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระบรมสารีริกธาตุ
เริ่มแย่งกันวันแรก ศาสนาก็เริ่มตั้งต้น นับความเสื่อม


แก้ไขล่าสุดโดย enlighted เมื่อ 05 พ.ค. 2010, 21:27, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 10:36
โพสต์: 32

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วัตถุมงคล ทำให้ทุกข์ก็ได้ ไม่ทุกข์ก็ได้ อยู่ที่ผัสสะ
ผมเห็นว่าอย่างนั้นครับ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ค. 2010, 23:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ม.ค. 2010, 21:56
โพสต์: 92

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: ทำตัวน่ารักไปวัน ๆ
สิ่งที่ชื่นชอบ: คู่มือสะกดใจคน - เดวิด เจ.ไลเบอร์แมน
ชื่อเล่น: นุช
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


cool สวัสดีคร๊า

อ้าวหรอ ทำให้ศาสนาเสื่อมหรอคะ ไม่เหงจะรู้เลยอ่ะ ไม่ใช่เพราะตัวเราความคิดเราหรอกหรือที่ทำให้ทุกอย่างดูเสื่อมแม้กระทั่งมองศาสนายังว่าเสื่อม แปร่ว .... ไม่รู้นะนุชมีวัตถุมงคลหลายชนิดเต็มบ้านเลยค่ะ บูชามาเต็มเลย 555+ เป็นความชอบส่วนตัวหน่ะค่ะ แหะ ๆ ไม่ว่าจะสาลิกา ตะกรุด ตระกล้อ จากวัดกาหลง พระเศษฐีนวโกศ หลวงปู่ทวด และอื่น ๆ อีกมากมายเลย ถามว่าบูชามาแล้วได้ผลมั้ย ก็ในระดับหนึ่ง ถ้าใจคิดดีอะไรดี ๆ ก็ตามมาหน่ะค่ะ เห็นกระทู้เลยงง ๆ เสื่อมจริงหรอออออออคะ ถ้าเสื่อมจริง จำเป็นต้องย้ายศาสนามั้ยคะ แล้วมีศาสนาไหนมั้ยที่ไม่เสื่อมมมมมม นุชเป็นคนชอบเข้าวัดมาก ๆ ทำไงดีหล่ะ ถ้ามันเสื่อม แปร่วววว !!!!

.....................................................
กฏเหล็กข้อแรกสุด ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 00:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มีรูปแบบการคิดบางประการ ที่ผมคิดว่าน่าป็นห่วง

คือมีความคิดว่า พระพุทธรูปเป็นส่วนเกิน ที่มีขึ้นภายหลัง
ซึ่่งก็นับว่าถูกต้อง เพราะพระพุทธรูป มีในสมัยที่พระมเหสีของพระเจ้าอโศก มีดำริให้สร้างขึ้น
กล่าวได้ทีเดียวเลยว่า พระพุทธรูป เป้นเนื้องอกของศาสนาพุทธ

พระเครื่อง ก็คงจะเป็นพัฒนาการมาจากพระพุทธรูปนี่เอง

และเพราะแนวความคิดนี้มีความเชื่อว่า
สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทำ เราต้องไม่ทำ
สิ่งใดไม่ได้ตรัส ก็ต้องไม่ทำ
ซึ่งก็นับว่าถูกต้องอีก
พระพุทธรูปเป้นสิ่งที่มีมาทีหลัง จึงไม่ยอมรับพระพุทธรูป

เมื่อมีความคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเนื้องอก
จึงมีความคิดที่จะ "ทำลายเสีย"

มาพลาดตรงความคิดที่จะทำลายนี่แหละครับ

การ "มี แต่ไม่ยึด" ต่างจาก "การยึด ความไม่มี"

มีแต่ไม่ยึด ก็คือการเป้นอิสระจากสิ่งที่มี
ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจ ของสิ่งที่มี
เช่น ร่างกายของเรา เราไม่ยึดว่านี่เป้นเรา ชื่อเสียงของเรา ความหนุ่มสาวของเรา
เพราะในที่สุดแล้ว ทุกสิ่งล้วนเป็นสมมุติ
จึงไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้มาบงการชีวิตจิตใจของเรา

แต่การ "ยึดความไม่มี"
ก็เช่น พวกที่มีแนวความคิดจะทำลายพระพุทธรูปนี่ก็คือ การยึด"ความไม่มี" (อุปปาทานในความว่าง)
คือทนไม่ได้ที่มีพระพุทธรูปอยู่ ทนไม่ได้ที่มีสิ่งสมมุติอยู่ สิ่งเกินไปจากพระไตรปิฏก
ต้องทำให้มันหายไปเสียกอน จึงจะนับว่าตนเองไม่ยึด ซึ่งนับว่าหลอกตัวเอง

เพราะการยึดความไม่มีนั่นแหละ มันคือการยึดมั่นถือมั่นเรียบร้อยแล้ว
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แม้กระทั่ง "ยึดถือความว่าง" ก็ไม่เคยสอน
จึงต้องคิดเอาเองว่าการยึดความไม่มีนี้ เป็นเนื้องอกของพระไตรปิฏกหรือเปล่า


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 06 พ.ค. 2010, 00:45, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 01:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โมทนาสาธุ...กับอาหยาม..ครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 01:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนตัวผมอยากรู้ว่า คุณเช่นนั้น มีพระเครื่องอะไรครอบครองอยู่บ้าง อยากรู้จริงๆ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนี้ คือ
รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี
และกุมารว่า ท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป
ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๓) ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวง และการพูด
เลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูด
และเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
จบมัชฌิมศีล

มหาศีล
(๑๑๔ ) ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทาย
อวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่าเป็นต้น ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนาย
หนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบ
บูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนย
บูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วย
โลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอ
ปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอ
ทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกัน
ลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
(๑๑๕) ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ทายลักษณะแก้วมณี ทายลักษณะผ้า ทายลักษณะไม้พลอง ทายลักษณะ
ศาตรา ทายลักษณะดาบ ทายลักษณะศร ทายลักษณะธนู ทายลักษณะ
อาวุธ ทายลักษณะสตรี ทายลักษณะบุรุษ ทายลักษณะกุมาร ทายลักษณะ
กุมารี ทายลักษณะทาส ทายลักษณะทาสี ทายลักษณะช้าง ทายลักษณะ
ม้า ทายลักษณะกระบือ ทายลักษณะโคอุสภะ ทายลักษณะโค ทาย
ลักณะแพะ ทายลักษณะแกะ ทายลักษณะไก่ ทายลักษณะนกกระทำ
ทายลักษณะเหี้ย ทายลักษณะตุ่น ทายลักษณะเต่า ทายลักษณะมฤค
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๖) ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้
ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
ดูฤกษ์ยาตราทัพ ว่าพระราชาจักยกออก พระราชาจักไม่ยกออก พระ
ราชาภายในจักยกเข้าประชิด พระราชาภายนอกจักถอย พระราชาภายนอก
จักยกเข้าประชิด พระราชาภายในจักถอย พระราชาภายในจักมีชัย
พระราชาภายนอกจักปราชัย พระราชาภายนอกจักมีชัย พระราชาภายใน
จักรปราชัย พระราชาองค์นี้จักมีชัย พระราชาองค์นี้จักปราชัย เพราะเหตุนี้ ๆ

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๗) ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ พยากรณ์ว่า
จักมีจันทรคราส จักมีสุริยคราส จักมีนักษัตรคราส ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
จักเดินถูกทาง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์จักเดินผิดทาง ดาวนักษัตรจักเดิน
ถูกทาง ดาวนักษัตรจักเดินผิดทาง จักมีอุกกาบาต จักมีดาวหาง จักมี
แผ่นดินไหว จักมีฟ้าร้อง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักขึ้น
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักตก ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และ
ดาวนักษัตรจักมัวหมอง ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรจักกระจ่าง
จันทรคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ สุริยคราสจักมีผลเป็นอย่างนี้ นักษัตรคราส
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินถูกทางจักมีผลเป็นอย่างนี้
ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินถูก
ทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดาวนักษัตรเดินผิดทางจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีอุกกา-
บาตจักมีผลเป็นอย่างนี้ มีดาวหางจักมีผลเป็นอย่างนี้ แผ่นดินไหวจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ฟ้าร้องจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาว
นักษัตรขึ้นจักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรตก
จักมีผลเป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรมัวหมองจักมีผล
เป็นอย่างนี้ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดาวนักษัตรกระจ่างจักมีผลเป็น
อย่างนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๘) ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ
พยากรณ์ว่า จักมีฝนดี จักมีฝนแล้ง จักมีภิกษาหาได้ง่าย จักมีภิกษา
หาได้ยาก จักมีความเกษม จักมีภัย จักเกิดโรค จักมีความสำราญหาโรค
มิได้ หรือนับคะแนนคำนวณ นับประมวลแต่งกาพย์ โลกายตศาสตร์
แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๑๙) ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้
ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง
ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ ให้ยาผดุงครรภ์
ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ไห้มือสั่น ร่ายมนต์
ให้หูไม่ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอ
ทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ
ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๒๐) ๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉาน-
วิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วย
ศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทำ
พิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยา สำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง
ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยา

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

ทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
(๑๒๑) มหาบพิตร ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบ
ภัยแต่ไหน ๆ เลย เพราะศีลสังวรนั้นเปรียบเหมือนกษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษก
กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะราชศัตรูนั้น
มหาบพิตร ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแล สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้แล้ว ย่อมไม่
ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะศีลสังวรนั้น ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์นี้
ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน มหาบพิตร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้
ถึงพร้อมด้วยศีล ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล.
จบมหาศีล



พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

๘. ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย
[๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรม
ปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตต-
ปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจัก-
ขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิต
โดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณ
อันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุ-
พยัญชนะ เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้น
ไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์
เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเกี่ยวโสตินทรีย์ด้วยขอเหล็กอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
โสตวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณนิมิตโดยอนุพยัญชนะในเสียงอัน
นิมิตหรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลคว้านฆานินทรีย์ด้วยมีดตัดเล็บอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในกลิ่นอัน
ฆานวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีใน
นิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้
ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ
๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเฉือนชิวหินทรีย์ด้วยมีดโกนอันคม
ไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรส อันชิวหา
วิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
พึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ
นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงกาอินทรีย์ด้วยหอกอันคม ไฟติด
ลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในโผฏฐัพพะ อัน-
กายวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต
หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะเมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคล
ทำกาลกิริยาในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรก
หรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขึ้นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นโทษอันนี้ จึงได้กล่าวอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลับยังดีกว่า แต่เรากล่าวความหลับว่า
เป็นหมันไร้ผล เป็นความงมงาย ของคนที่เป็นอยู่ ตนลุอำนาจของวิตก
เช่นใดแล้ว พึงทำลายหมู่ให้แตกกันได้ ก็ไม่ควรตรึกถึงวิตกเช่นนั้นเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเห็นความเป็นหมันอันนี้แลว่าเป็นอาทีนพของคน
ที่เป็นอยู่ จึงกล่าวอย่างนี้.
[๓๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า จักขุนทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหลาวเหล็กอันร้อน
ไฟติดลุกโพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า
จักษุไม่เที่ยง รูปไม่เที่ยง จักษุวิญญาณไม่เที่ยง จักษุสัมผัสไม่เที่ยง แม้
สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส
เป็นปัจจัยไม่เที่ยง โสตินทรีย์ที่บุคคลเกี่ยวด้วยขอเหล็กอันคม ไฟติดลุก
โพลงแล้ว จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า โสตไม่เที่ยง
สัททะเสียงไม่เที่ยง โสตวิญญาณไม่เที่ยง โสตสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ฆานินทรีย์ที่บุคคลคว้านด้วยมีดตัดเล็บอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ฆานะจมูกไม่เที่ยง
คันธะกลิ่นไม่เที่ยง ฆานวิญญาณไม่เที่ยง ฆานสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา
เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัยก็
ไม่เที่ยง ชิวหินทรีย์ที่บุคคลเฉือนด้วยมีดโกนอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ชิวหาลิ้นไม่เที่ยง
รสไม่เที่ยง ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็ไม่เที่ยง กายินทรีย์ที่บุคคลแทงด้วยหอกอันคม ไฟติดลุกโพลงแล้ว
จงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า กายไม่เที่ยง โผฏฐัพพะ
ไม่เที่ยง กายวิญญาณไม่เที่ยง กายสัมผัสไม่เที่ยง แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัยก็ไม่เที่ยง ความ
หลับจงพักไว้ก่อน ผิฉะนั้น เราจะทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า มนะใจไม่เที่ยง
ธรรมารมณ์ไม่เที่ยง มโนวิญญาณไม่เที่ยง มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
ไม่เที่ยง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ
จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์
แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมือเบื่อหน่าย
ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว
ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเรียกว่าอาทิตตปริยาย และธรรมปริยายฉะนี้แล
จบ อาทิตตปริยายสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

คำว่า ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่ในโลกนี้
คือ ไม่ทำเพิ่มเติม ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร
คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ละเสียซึ่งตน เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมอยู่
ในโลกนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
พราหมณ์ไม่กล่าวความหมดจดในอารมณ์ที่เห็น
อารมณ์ที่ได้ยิน ศีลและวัตรหรืออารมณ์ที่ทราบ โดยมรรค
อื่น พราหมณ์นั้นผู้ไม่เข้าไปติดในบุญบาป ละเสียซึ่งตน
เรียกว่าเป็นผู้ไม่ทำเพิ่มเติมในโลกนี้.
[๑๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไปตาม
ความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ สมณ-
พราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ และ
ละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.


ว่าด้วยการจับ ๆ วาง ๆ พ้นกิเลสไม่ได้
[๑๒๔] คำว่า ละต้น อาศัยหลัง มีความว่า สมณพราหมณ์
เหล่านั้น ละศาสดาต้น อาศัยศาสดาหลัง ละธรรมที่ศาสดาต้นบอก อาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ธรรมที่ศาสดาหลังบอก ละหมู่คณะต้น อาศัยหมู่คณะหลัง ละทิฏฐิต้น
อาศัยทิฏฐิหลัง ละปฏิปทาต้น อาศัยปฏิปทาหลัง ละมรรคต้น อาศัย อิง-
อาศัย พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงมรรคหลัง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า ละต้น อาศัยหลัง.
[๑๒๕] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไปตามความแสวง
หา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้ มีความว่า ตัณหา เรียกว่า
ความแสวงหา ได้แก่ ความกำหนัด ความกำหนัดกล้า ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล. คำว่า ไปตามความแสวงหา คือไปตาม ไปตามแล้ว
แล่นไปตาม ถึงแล้ว ตกไปตามความแสวงหา อันความแสวงหาครอบงำ
แล้ว มีจิตอันความแสวงหาควบคุมแล้ว. คำว่า ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่อง
เกี่ยวข้องได้ คือ ย่อมไม่ข้าม ไม่ข้ามขึ้น ไม่ข้ามพ้น ไม่ก้าวพ้น ไม่
ก้าวล่วง ไม่ล่วงเลย ซึ่งกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ
ทิฏฐิ กิเลส ทุจริต, เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไป
ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้.
[๑๒๖] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ มี
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมถือศาสดา ละศาสดานั้นแล้วย่อม
ถือศาสดาอื่น ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ละธรรมที่ศาสดาบอกนั้น
แล้ว ย่อมถือธรรมที่ศาสดาอื่นบอก ย่อมถือหมู่คณะ ละหมู่คณะนั้นแล้ว
ย่อมถือหมู่คณะอื่น ย่อมถือทิฏฐิ ละทิฏฐินั้นแล้วถือทิฏฐิอื่น ย่อมถือปฏิ-
ปทา ละปฏิปทานั้นแล้ว ถือปฏิปทาอื่น ย่อมถือมรรค ละมรรคนั้นแล้ว
ถือมรรคอื่น ย่อมถือและปล่อย คือ ย่อมยึดถือและย่อมละ. เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมจับถือ ย่อมละ.
[๑๒๗] คำว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น
มีความว่า สมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมจับถือและปล่อย คือย่อมยึด
ถือและสละทิฏฐิเป็นอันมาก เหมือนลิงเที่ยวไปในป่าใหญ่ ย่อมจับกิ่งไม้
ละกิ่งไม้นั้นแล้วจับกิ่งอื่น ละกิ่งอื่นนั้นแล้วจับกิ่งอื่น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เหมือนลิงจับและละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ละต้น อาศัยหลัง ไป
ตามความแสวงหา ย่อมไม่ข้ามกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมจับถือ ย่อมละ เหมือนลิงจับ
และละกิ่งไม้เบื้องหน้า ฉะนั้น.
[๑๒๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า:-
ชันตุชนสมาทานวัตรทั้งหลายเอง เป็นผู้ข้องใน
สัญญา ย่อมดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ ส่วนบุคคลผู้มีความรู้ รู้
ธรรมด้วยความรู้ทั้งหลาย เป็นผู้มีปัญญากว้างขวางดุจ
แผ่นดิน ย่อมไม่ดำเนินผิด ๆ ถูก ๆ.



พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วง
แล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี
วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัย
อันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
ดูก่อนอานนท์ บัดนี้
พวกภิกษุเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโสฉันใด โดยล่วงไปแห่งเรา ไม่ควร

ใครจะตอบตามความเห็นของตัวเองก็ตอบไป เพราะ ผิด ถูกอย่างไร ก็พิจารณากันเอาเอง .....การมีที่พึ่งที่เป็นวัตถุ....ไม่เคยเห็นมีกัณฑ์ไหนพระพุทธเจ้าสรรเสริญ ถ้าใคร ศึกษาเจอ ก็ช่วยบอกให้ทราบด้วยจะ :b8: ...ให้

ใครจะเชื่อหรือนับถืออย่างไร ก็แล้วแต่ปัญญาของแต่ละคน
การทำลาย ก็ไม่ได้ไปทำลายในสิืทธิของผู้ใด
เมื่อเรียนศึกษา อย่างดีและเข้าใจแล้ว
จะรู้สึกได้ว่า ทำลายไปเสียดีกว่า เพราะ
ครั้งสมัยพุทธกาล ...บาตร ...และกุฏิ ที่สร้างขึ้นมาผิดวินัย พระพุทธเจ้ายังตรัสสั่งให้ทำลาย....
เพราะวัตถุที่เหล่า ท่าน ๆ ที่ชื่นชอบชมทั้งหลาย เหล่านี้คือ สิ่งที่ทำลายศาสนาพุทธ อันดับหนึ่งเลยทีเดียว.......
ให้ดูประเทศอินเดียเป็นที่แรก ซึ่งมีวัตถุมามากมายที่สร้างไว้ แล้วใย...
ตอนนี้ชาวพุทธที่นั่นมีเพียงน้อยนิด....
เมื่อศึกษาพระศาสนา ไม่เข้าใจดีพอ ก็พากันดันทุรัง....ว่าไป....เรื่อย..
เพราะผลประโยชน์ของตัวเองทั้งสิ้น แล้วมาอ้างว่า
เพื่อพระศาสนา..ให้เจริญรุ่งเรือง รุ่งเรืองในทางเสื่อมนะไม่ว่า......

ขายกัน..กินทำไม.
มีราคาแพงทำไม..
วางกับพื้นดินทำไม

เชิดชูศาสนาหรือทำลายศาสนา...
เล่าเหล่าท่าน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 22:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.....ไปกันใหญ่แล้ว
.....คงไม่ต้องถึงกับทำลายพระพุทธรูปก็ได้
.....บ้างคนจะเปลี่ยนศาสนาก็ยินดีด้วย การต้องกราบไหว้ อ้อนวอน รูปเคารพ เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติ มีให้เลือกอยู่สองสามศาสนา ลองเลือกดูนะครับ
.....ผมก็ไหว้พระพุทธรูปแต่ไม่บ่อยนัก เวลาไหว้ก็นึกถึงพระพุทธเจ้า ทำจิตให้สงบสักนาทีสองนาที ไม่เคยขออะไร หรือบนบานศาลกล่าวใดๆ
.....พระเครื่องเคยมี เมื่อมีคนให้ก็ขัดไม่ได้ แต่ก็ให้คนอื่นไปต่อจนจะหมดบ้านแล้ว
.....อยากให้ทุกคนตั้งสติแล้วอ่านกระทู้ใหม่ว่าผมตั้งกระทู้มีเจตนาเรื่องใด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แกงได เขียน:
.....ไปกันใหญ่แล้ว
.....คงไม่ต้องถึงกับทำลายพระพุทธรูปก็ได้


ข้าพเจ้าก็ว่า ข้าพเจ้าก้ยังคงอยู่ในประเด็นนะ
ไม่มีอะไรเกินเลย

พระพุทธรูปก็คือวัตถุมงคล พระเครื่องก็คือวัตถุมงคล
ต่างกันแค่ขนาดเท่านั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 23:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 10:41
โพสต์: 114

แนวปฏิบัติ: ลัทธินิยมความจริง
สิ่งที่ชื่นชอบ: เฒ่าทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณชาติสยาม
....ผมเสนอเรื่องเจตนาในการผลิต เจตนาในการบูชา เจตนาในการตั้งชื่อให้ร่ำรวย
....ไม่ว่าพระพุทธรูป หรือพระเครื่อง ถ้ามีเจตนาไม่บริสุทธิ์ สร้างเพื่อกราบไหว้อ้อนวอน หรือประสงค์ทรัพย์ของผู้บูชา โดยละซึ่ง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ก็เข้าข่ายในเจตนาของผม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ค. 2010, 23:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:


พระเครื่อง ก็คงจะเป็นพัฒนาการมาจากพระพุทธรูปนี่เอง

และเพราะแนวความคิดนี้มีความเชื่อว่า
สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ทำ เราต้องไม่ทำ
สิ่งใดไม่ได้ตรัส ก็ต้องไม่ทำ
ซึ่งก็นับว่าถูกต้องอีก
พระพุทธรูปเป้นสิ่งที่มีมาทีหลัง จึงไม่ยอมรับพระพุทธรูป

เมื่อมีความคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเนื้องอก
จึงมีความคิดที่จะ "ทำลายเสีย"

มาพลาดตรงความคิดที่จะทำลายนี่แหละครับ






คิดว่าคุณ แกงได คงอ่านผ่านมังๆคะ เลยทำให้เกิดคำพูดนี้ขึ้นมา




แกงได เขียน:
.....ไปกันใหญ่แล้ว
.....คงไม่ต้องถึงกับทำลายพระพุทธรูปก็ได้





เคยมีการลงข่าวครึกโครมเรื่องการทำลายพระพุทธรูป นานมาแล้วนะคะ
คุณชาติสยามเลยเปรยๆคำพูดมาทำนองว่า "มาพลาดตรงความคิดที่จะทำลายนี่แหละครับ "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 01:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
ส่วนตัวผมอยากรู้ว่า คุณเช่นนั้น มีพระเครื่องอะไรครอบครองอยู่บ้าง อยากรู้จริงๆ :b12:


ยกมือครับ ถูกพาดพิง :b17:

พระเครื่องมีครับ มีเป็นกล่องๆ ได้ตอนทำบุญ ทอดผ้าป่า บำรุงศาสนาสถาน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 67 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร