วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 06:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 01:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 29.36 KiB | เปิดดู 2554 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:
cool


เลือกตาย ความปรารถนาสุดท้ายของชีวิต “มีสิทธิหรือไม่”

เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้เข้ามา หากผู้ป่วยต้องการปฏิเสธการรักษา โดยแพทย์ยอมรับคำร้องขอและยุติการรักษา แพทย์ท่านนั้นผิดหรือไม่ และผู้ป่วยมีสิทธิปฏิเสธการรักษาของตนได้อย่างนั้นหรือ ?

นพ.ชาตรี เจริญศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาไว้อย่างน่าสนใจว่า กฎหมายประเทศไทยไม่ได้ห้ามการเสียชีวิตเหมือนกฎหมายประเทศอื่น ด้วยเหตุผลที่ว่าการตายเป็นไปด้วยเหตุปัจจัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปด้วยเรื่องสุขภาพ และเป็นการบอกความปรารถนาในวาระสุดท้ายของชีวิตของคนคนหนึ่ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นหนังสือบอกความปรารถนาในวาระสุดท้ายของชีวิต ถือว่าเป็นการปฏิเสธการรักษา ซึ่งแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าในขณะที่ผู้ป่วยยังมีสติดีอยู่

สิทธิขอหยุดความทรมานจากเทคโนโลยี...เพื่อการตายดี

ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตราที่ ๑๒ ระบุว่า บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ โดยกระบวนการยืดความตายที่ว่านี้ อาจเป็นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ หรือเครื่องมือบางอย่างเพียงเพื่อยืดการตายออกไป ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยได้ก้าวเข้าสู่วาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะที่แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและพิจารณาว่า การรักษานั้น ๆ เป็นการรักษาเพียงเพื่อการยืดชีวิตหรือไม่ เดิมทีก่อนที่จะมีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติที่รับรองเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้ป่วยก็มีสิทธิตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น ผู้ป่วยไม่ได้มารับการรักษาที่โรงพยาบาล และได้แจ้งความประสงค์กับญาติว่า ถ้าตนไม่มีสติแล้วไม่ต้องพาไปโรงพยาบาล ขอเสียชีวิตโดยได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกหลานที่บ้าน หลังจากนั้นก็จากไปโดยไม่ได้มาพบแพทย์ ซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้เอาผิดผู้ป่วยหรือญาติ กรณีนี้เรียกว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของบุคคล แต่ถ้าจะทำเป็นหนังสือแสดงเจตนาชัดเจน กรุณาใช้สิทธินี้ตามมาตราที่ ๑๒ และถ้าทำเป็นหนังสือแล้วแพทย์ปฏิบัติตาม จะมาฟ้องแพทย์ไม่ได้

หากแสดงเจตนาปฏิเสธการรักษาแล้วต่อมามีแนวโน้มว่าอาจรักษาได้ จะมีปัญหาหรือไม่

อาจมีกรณีที่ผู้ป่วยได้ตัดสินใจไว้ล่วงหน้าในอดีตตอนยังมีสติดี แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป เทคโนโลยีพัฒนาจนสามารถรักษาได้ การปฏิเสธการรักษาจึงต้องมีเงื่อนไขอื่นประกอบการพิจารณาด้วยว่า ในสถาณการณ์นั้นเมื่อพิจารณาอย่าถี่ถ้วนแล้ว เป็นวาระสุดท้ายของชีวิตจริงหรือไม่ และก่อนจะกระทำการใด ๆ แพทย์และพยาบาลควรที่จะปรึกษาผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งการปรึกษานี้ไม่ได้เกิดจากกฎหมาย แต่เป็นมาตรฐานวิชาชีพ และเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ป่วยกับแพทย์ด้วย ซึ่งการปฏิเสธการรักษาควรต้องพิจารณา ๓ ปัจจัยหลัก ๆ ประกอบกันคือ
๑. ต้องเคารพเจตนาของผู้ป่วย
๒. แพทย์ต้องใช้ดุลยพินิจตามมาตรฐานวิชาชีพ
๓. ปรึกษาญาติ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยในหนังสือแสดงเจตนาจะต้องระบุชื่อบุคคลดังกล่าวไว้ด้วย

เชื่อว่าด้วยระบบความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยที่ดีมากของเมืองไทย เพียงแค่บอกกล่าว แพทย์ก็รับฟังความต้องการของผู้ป่วย แต่ในทางกลับกัน หากเขียนหนังสือแสดงเจตนาไว้ แต่ไม่ได้แสดงหนังสือให้ใครทราบ หนังสือฉบับนั้นจะไม่มีประโยชน์ใด ๆ เพราะถือว่าไม่ได้แสดงเจตนา ปัจจุบันหากผู้ป่วยไม่ได้ระบุเจตนาไว้ล่วงหน้า ต่อมาญาติได้แจ้งขอปฏิเสธการรักษา และขอนำตัวผู้ป่วยกลับบ้าน อาจด้วยเหตุผลด้านการรักษาหรือค่าใช้จ่าย ญาติก็มีสิทธิทำได้อยู่แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน แพทย์เห็นว่าคนไข้ยังอยู่ในอาการที่ไม่สามารถให้กลับบ้านได้ แพทย์ก็มีสิทธิปฏิเสธคำขอได้เช่นเดียวกัน เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกัน ระหว่างมาตรฐานวิชาชีพ กับความต้องการของญาติ แต่กรณีเช่นนี้จะกระจ่างชัดมากขึ้น ถ้าทำหนังสือไว้ล่วงหน้า ว่าแค่ไหนที่จะไม่ทำการรักษาต่อไป


ทำอย่างไรหากญาติทำใจไม่ได้ แต่ผู้ป่วยแสดงเจตนาไว้แล้ว

กรณีนี้สิ่งที่ต้องย้อนกลับไปคำนึงถึงคือ เจตนาของผู้ป่วยเป็นสำคัญ สำหรับผู้ที่มีความหมายต่อตัวผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต กรุณาอย่าได้รู้สึกผิดกับการดำเนินไปตามเจตนานั้น เพราะนี่คือสิทธิของการบอกเจตนาปฏิเสธการรักษาที่แท้จริง

(บทความจาก...Health Magazine /vejthani hospital)

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 01:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


ยิ่งความเจริญด้านวัตถุมากขึ้นเท่าใด?
ก็หนีไกลจากธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น
ความซับซ้อน สับสน และวุ่นวาย จึงเจริญงอกงามตามมา
แม้กระทั่งจะตาย....ถึงเวลาแล้ว...ก็ยังต้องขออนุญาต
เพื่อจะไป....มนุษย์นี่เก่ง..มากในการทำเรื่องง่ายๆ
ให้เป็นเรื่องยากๆ...... :b23:
(แค่บ่นนะค่ะ ไม่ใช่ความคิดเห็น)

อนุโมทนาค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ถ้าเลือกตายได้...ขอแก่ตายครับ :b13:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 01:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.พ. 2009, 01:02
โพสต์: 337


 ข้อมูลส่วนตัว




1.jpg
1.jpg [ 24.12 KiB | เปิดดู 2369 ครั้ง ]
:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

cool

มีบทความมาฝากครับ.....

:b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6: :b6:

คนเรามักไม่ค่อยนึกถึงความตายของตนเท่าใดนัก แต่เมื่อใดที่นึกถึง ก็อยากให้ตัวเอง "ตายดี" ซึ่งส่วนใหญ่หมายถึง ตายโดยไม่เจ็บปวด ไม่ทุรนทุราย ไม่น่าเกลียด ไม่มีใครมาทำให้ตาย หรือตายเพราะอุบัติเหตุ ความตายที่พึงปรารถนายังรวมถึง ความตายท่ามกลางคนรัก ญาติมิตรอยู่พร้อมหน้า ไม่จากไปอย่างโดดเดี่ยวอ้างว้างในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่คนที่ยังอยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือตายในสภาวะทางกายและทางสังคมที่เกื้อกูล

อย่างไรก็ตามยังมีองค์ประกอบอีกประการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือองค์ประกอบหรือสภาวะทางจิตวิญญาณ ได้แก่ สภาวะจิตที่สงบโปร่งเบาเพราะได้ปล่อยวางทุกสิ่ง ไม่มีอะไรเป็นภาระให้ต้องห่วงกังวล น้อมรับทุกอย่างในวาระสุดท้ายโดยไม่ปฏิเสธผลักไส ไม่หวาดกลัวต่อความตาย นอกจากเห็นความตายเป็นเรื่องธรรมดาแล้ว ยังรู้จักใช้ความตายให้เกิดประโยชน์ในทางจิตวิญญาณด้วย

องค์ประกอบหรือเงื่อนไขประการหลังนี้ถือว่าสำคัญที่สุด การตายแบบไม่รู้ตัว เช่น ตายในขณะหลับ หรือหมดสติและตายไปอย่างกะทันหัน แม้จะเป็นการตายที่ไม่เจ็บปวดหรือทรมาน แต่จะเรียกว่าตายดีไม่ได้หากวาระสุดท้ายของผู้ตายอยู่ในอารมณ์ที่หม่นหมอง เนื่องจากกำลังฝันร้ายหรือครุ่นคิดในเรื่องที่เป็นอกุศล เช่น โทสะ พยาบาท หรือเศร้าโศก ในทำนองเดียวกัน แม้จะอยู่ท่ามกลางญาติมิตร แต่หากตายไปในขณะที่ยังห่วงกังวลลูกหลาน วิตกกับภาระที่ยังไม่แล้วเสร็จ หรือมีเรื่องค้างคาใจกับใครบางคนอยู่ ก็ยังไม่เรียกว่าผู้นั้นตายดี เพราะเป็นการตายที่ยังมีความทุกข์อยู่ และหากเชื่อในเรื่องภพภูมิหลังตาย การตายในสภาวะจิตเช่นนั้นย่อมมีทุคติเป็นเบื้องหน้า จะนานเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความดีหรือความชั่วที่ได้กระทำไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่

ในทางตรงข้าม แม้จะเผชิญกับความเจ็บปวดที่แผดเผาทิ่มแทงกาย ห่างไกลจากคนรัก โดดเดี่ยวไร้ญาติมิตร แต่หากสามารถประคองจิตให้เป็นปกติ มีสติรู้ตัว หรืออยู่ในภาวะที่เป็นกุศล จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ไม่มีอะไรเป็นภาระในจิตใจเพราะปล่อยวางไปหมดทุกสิ่ง การตายเช่นนั้นย่อมจัดว่าเป็นการตายดี เพราะนอกจากจะจากไปโดยไม่ทุกข์ใจแล้ว ยังจะนำไปสู่สุคติอีกด้วย

มีคนจำนวนไม่น้อยที่แม้จะถูกโรคร้ายกัดกินร่างกาย เช่น มะเร็ง หรือเอดส์ แต่ก็สามารถรักษาใจให้เป็นปกติได้ ความเจ็บปวดทำร้ายได้แค่ร่างกาย แต่ไม่สามารถย่ำยีจิตใจได้ บางคนใช้สมาธิภาวนาระงับความเจ็บปวด โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดแต่อย่างใด และในที่สุดก็จากไปอย่างสงบ

ในสมัยพุทธกาล มีกรณีที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้น แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ชี้ว่าตายดีนั้นไม่จำเป็นต้องหมายถึงการตายที่ไร้ความเจ็บปวด พระนางสามาวดีเป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทน พระนางเป็นผู้ที่ศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า และประพฤติตนอยู่ในกุศลธรรมมาโดยตลอด แต่เป็นที่อิจฉาของพระนางมาคันทิยา ซึ่งเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน ฝ่ายหลังนั้นได้หาทางกลั่นแกล้งพระนางสามาวดีมาหลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ครั้งสุดท้ายได้ลวงให้พระนางสามาวดีและหญิงบริวารเข้าไปในเรือนคลังแล้วขังไว้ จากนั้นได้จุดไฟเผาทั้งปราสาท พระนางสามาวดีเมื่อรู้ว่าวาระสุดท้ายมาถึงแล้ว แทนที่จะตื่นตกใจ กลับแนะให้บริวารกำหนดจิตทำสมาธิภาวนา โดยถือเวทนาเป็นอารมณ์ บริวารทั้งหมดได้ทำตามคำแนะนำจนตายคากองไฟ ต่อมาเมื่อมีภิกษุนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสว่า อุบาสิกาเหล่านั้นได้บรรลุธรรม เป็นโสดาบันก็มี เป็นสกทาคามีก็มี เป็นอนาคามีก็มี จากนั้นพระองค์ได้สรุปว่า "อุบาสิกาเหล่านั้น ทำกาละ (ตาย) อย่างไม่ไร้ผล"

น่าแปลกที่ว่าในยุคปัจจุบันซึ่งเต็มไปด้วยเทคโนโลยียืดชีวิตอายุนั้น การตายอย่างสงบกลับกลายเป็นเรื่องยาก แม้แต่อาจารย์กรรมฐานหรือเกจิอาจารย์ชื่อดังก็เลี่ยงปัญหานี้ได้ยาก ส่วนใหญ่ต้องสิ้นลมในห้องไอซียูโดยมีสายระโยงระยางทั่วร่างกาย ทั้งนี้เพราะลูกศิษย์ลูกหาพยายามหาทางหน่วงเหนี่ยวชีวิตของท่านให้อยู่นานที่สุด โดยหารู้ไม่ว่านั่นเป็นการหน่วงเหนี่ยวการตายให้เป็นไปอย่างยืดเยื้อ ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ใครเลย ผลก็คือความตายของครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่สามารถสอนผู้คนให้รู้จักพร้อมรับความตายด้วยใจสงบ ดุจเดียวกับใบไม้ที่พร้อมจะหลุดจากขั้วเมื่อถึงเวลา

การตายอย่างสงบนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนควรมีโอกาสเข้าถึง ไม่เว้นแม้กระทั่งฆราวาสหรือคนธรรมดาสามัญ สภาพแวดล้อมมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เราตายอย่างสงบได้ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการฝึกฝนพัฒนาตน ไม่ใช่แต่เฉพาะเวลาใกล้ตายเท่านั้น หากต้องทำไปทั้งชีวิต การดำเนินชีวิตอย่างถูกทำนองคลองธรรมและหมั่นสร้างความดีอยู่เสมอเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราเผชิญความตายได้อย่างสงบ อานิสงส์ประการหนึ่งของกายวาจาและใจที่สุจริตก็คือ ช่วยให้ไม่หลงตาย หรือลืมสติเวลาตาย ปัจจัยสำคัญประการต่อมาก็คือการฝึกฝนอบรมจิตด้วยสมาธิภาวนา เพื่อประคองจิตให้มีสติอย่างต่อเนื่อง พร้อมเผชิญกับทุกขเวทนาและอาการต่าง ๆ ที่มากระทบอย่างรู้เท่าทัน แม้ทุกขเวทนาทางกาย ตลอดจนความพลัดพรากจากของรัก เป็นสิ่งที่ยากจะหลีกพ้น แต่เราสามารถรักษาจิตมิให้ทุกขเวทนาและความเศร้าโศกมาครอบงำได้

จะว่าไปแล้วชีวิตทั้งชีวิตมีขึ้นก็เพื่อเปิดโอกาสให้เราฝึกฝนตนเองจนพร้อมที่จะเผชิญกับความตายในวาระสุดท้ายนั่นเอง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นศิษย์รุ่นแรก ๆ ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มีคราวหนึ่งท่านไปเยี่ยมพระรูปหนึ่งซึ่งอาพาธหนักใกล้จะมรณภาพ เมื่อท่านมาถึง พระรูปนั้นก็ลุกกราบท่านแล้วก็ล้มตัวนอนตามเดิม ไม่ได้พูดอะไร ส่วนหลวงปู่ดูลย์ยิ้มรับ จากนั้นท่านก็พูดว่า "การปฏิบัติทั้งหลายที่เราพยายามปฏิบัติมา ก็เพื่อจะใช้ในเวลานี้เท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่จะตาย ให้ทำจิตเป็นหนึ่ง แล้วหยุดเพ่ง ปล่อยวางทั้งหมด" นี้มิใช่คำแนะนำสำหรับภิกษุเท่านั้น หากยังเหมาะสำหรับคนทั่วไปด้วย



(บทความจาก.....พระไพศาล วิสาโล)


:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

เจริญในธรรมครับ :b8: :b8: :b8: smiley

:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b42: :b42: :b42: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

.....................................................
ราตรีของผู้ตื่นอยู่นาน...โยชน์ของผู้ล้าแล้วไกล
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ย. 2010, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 ก.ย. 2009, 14:50
โพสต์: 69

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเลือกได้ขอตายอย่างสงบ พร้อมจิตใจที่ไม่เศร้าหมองครับ

ขออนุโมทนา สาธุ :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร