วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 13:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


โดยนัยพระสูตรกล่าวโดยเหตุการณ์รวมๆ ว่า สิ่งที่ไม่ดีที่เราประสบในชีวิตประจำวัน

เกิดจากอกุศลกรรมในอดีต โภคะพินาศ เช่น รถถูกขโมย ไฟไหม้บ้าน เป็นต้น

ในสัพพลหุสสูตร แสดงว่า ผลของอทินนาทาน ทำให้เกิดในอบาย วิบากอย่างเบา

เมื่อมาเกิดเป็นมนุษย์ โภคทรัพย์ย่อมพินาศ ด้วยเหตุต่างๆ แต่ถ้ากล่าวโดยนัยของ

พระอภิธรรมมีรายละเอียดมากว่านี้ คือ ท่านแยกเป็นขณะจิตครับ

ตามหลักคำสอนโดยนัยพระสูตรมีว่า มนุษย์ที่มีอายุสั้น ตายก่อนวัยอันควร เกิด

จากผลของอกุศลกรรมในอดีต แต่ยังมีส่วนประกอบอย่างอื่นที่ช่วยทำให้อกุศล-

กรรมให้ผล เช่น กาล ปโยคะ คติ อุปธิ เป็นต้น การขับรถด้วยความประมาท

ก็เป็นปโยคะวิบัติ คือ การกระทำที่ทำให้อกุศลกรรมให้ผล นี้เป็นการอธิบาย

แบบย่อๆ แต่รายละเอียดยังมีอีกมากครับ

ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาไม่มีแสดงพยัญชนะไว้ว่า หัวใจของพระพุทธ

ศาสนาคืออะไร แต่ผู้ศึกษารุ่นหลังๆ มีการกล่าวสรุปที่แตกต่างกันหลายๆนัย

เช่น หลักคำสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๓ ปิฎก หรือโอวาทปาติโมกข์ที่ทรง

แสดงวันมาฆะบูชา หรือปรมัตถธรรมทั้ง ๔ จิ เจ รู นิ อริยสัจ ๔ ไตรสิกขา

ไตรลักษณะ ความไม่ประมาท และ ปัญญา เป็นต้น ซึ่งความจริงแล้วจะ

กล่าวโดยนัยไหนก็ได้ เพราะพระธรรมคำสอน ทั้งหมดเพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง

ความจริง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 186

มูลสูตร

ว่าด้วยธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีนิพพานเป็นที่สุด

[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกพึงถาม

อย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไร

เป็นแดนเกิด มีอะไรเป็นเหตุเกิด มีอะไรเป็นที่ประชุมลง มีอะไรเป็น

ประมุข มีอะไรเป็นใหญ่ มีอะไรเป็นยิ่ง มีอะไรเป็นแก่น มีอะไรเป็นทิ

หยั่งลง มีอะไรเป็นที่สุด เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงพยากรณ์

แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่าอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่พึ่ง

พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่ม

แจ้งกะพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วจักทรงจำไว้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้า เช่นนั้นเธอทั้งหลาย

จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

พึงถามอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลายธรรมทั้งปวงมีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็น

แดนเกิด... มีอะไรเป็นที่หยั่งลงมีอะไรเป็นที่สุดเธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้

แล้ว พึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล มีมนสิการเป็นแดนเกิด มีผัสสะเป็น

เหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง มีสมาธิเป็นประมุข มีสติเป็นใหญ่ มี

ปัญญาเป็นยิ่ง มีวิมุตติเป็นแก่น มีอมตะเป็นที่หยั่งลง มีนิพพานเป็นที่สุด ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้วพึงพยากรณ์แก่อัญญเดียรถีย์

ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้แล.

จบมูลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๕๕๔
ว่าด้วยแก่นของพรหมจรรย์

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือน

ไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว

มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้ง

มวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความ

สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม

ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ

ลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท

แล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความ

ถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้

อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม

ยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม

แห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้นเขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะ

นั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อ

เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ . ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่น

ไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือ

ไปรู้จักว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้

เจริญนี้รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริง

อย่างนั้นบุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว

เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่า

แก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา

ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือน

บวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่าเราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ

ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุ

กข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะ

พึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้

บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภ

สักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภ

สักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมาไม่ถึงความประมาท

เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม

ยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม

แห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม

ยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม

แห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น

เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความ

ประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว

ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่

มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม .เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะ

นั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อ

เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส

ที่จะมีได้.

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๕๕๔

ว่าด้วยที่สุดของพรหมจรรย์

[๓๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้

จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่ง

ศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณ-

ทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์

เป็นแก่น เป็นที่สุด.พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่า

นั้นชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.

จบ มหาสาโรปมสูตรที่ ๙


โมหะคือ อวิชชา ความไม่รู้ ความหลง

ตรงกันข้ามกับโมหะคือ อโมหะ วิชชา ความรู้

เมื่อวิชชาเกิดขึ้น อวิชชาก็ค่อยๆลดลงและหมดไป

โมหะอวิชชาเปรียบเหมือนความมืด วิชชา ปัญญา เปรียบด้วยแสงสว่าง

เมื่อแสงสว่างเกิดขึ้น ความมืดย่อมหายไป ความมืดจะหมดไปแค่ไหน

ย่อมขึ้นอยู่ที่แสงสว่าง(ปัญญา ) การสะสมความรู้ความเข้าใจเริ่มตั้นตั้งแต่

การศึกษา การฟัง..

การสมาศีลสำหรับผู้ไม่มีศีล ผู้ที่มีศีลแล้ว ไม่จำเป็นต้องสมาทานใหม่

บ่อยๆ อนึ่งแม้เจตนาเกิดขึ้นวิรัติงดเว้นจากทุจริต ก็เป็นกุศลศีล ไม่ต้องไปสมาทาน

ต่อพระพุทธรูปก็ได้ ถ้าเว้นไม่ได้ตามที่สมาทาน ก็เป็นอกุศล เป็นความทุศีล ส่วน

การถวายทานแก่สงฆ์ ควรเป็นสิ่งของที่สมควรแก่สมณะ ถวายของที่ไม่สมควรหรือ

ทำด้วยความไม่เข้าใจ อานิสงส์ย่อมไม่มาก ผู้ที่สนใจพระธรรม เพราะอดีตเคยสะสม

เคยเห็นประโยชน์มาก่อน ปัจจุบันจึงสนใจศึกษาพระธรรมครับ
-ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สมาทาน คืออะไร? คำว่า สมาทาน หมายถึง การถือเอา

ด้วยดี, การถือเอาเป็นข้อปฏิบัติด้วยดี โดยไม่จำเป็นต้องมีการกล่าวเป็นข้อความใด ๆ

ทั้งสิ้น เพราะเป็นเรื่องของเจตนาในการที่จะงดเว้นจากสิ่งที่ควรงดเว้น ซึ่งสิ่งที่ควร

งดเว้นเป็นนิตย์ ในชีวิตประจำวันมี ๕ ประการ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลัก

ทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากการพูดเท็จ และเว้นจากการดื่มสุรา

เมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่พ้นไปจากความประพฤติเป็นไป

ทางกาย วาจา ของแต่ละบุคคลเลย ในแต่ละวันอกุศลย่อมเกิดมากกว่ากุศล เป็น

ธรรมดา แต่ถ้ามีการล่วงศีล มีการกระทำทุจริตกรรมประการต่าง ๆ เกิดขึ้น นั่นก็แสดง

ว่ากิเลสหนาแน่นมากทีเดียว บุคคลที่เห็นโทษของอกุศล เห็นโทษของการล่วงศีล

ท่านก็งดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้นดังกล่าวนั้น

- สังฆทาน หมายถึง ทานที่ถวายมุ่งตรงต่อพระอริยสงฆ์ ไม่ใช่อยู่ที่ถังสีเหลืองที่

อยู่ตามร้านสังฆภัณฑ์หรือตามวัดต่าง ๆ

สังฆทานเป็นกุศลกว่าการถวายแก่บุคคล เพราะเหตุว่า ปาฏิบุคลิกทาน

คือ การถวายแก่ภิกษุบุคคล แล้วแต่ว่าจะนิมนต์ภิกษุรูปใด เช่น อาจจะเป็น

เจ้าอาวาส หรือว่าเป็นพระผู้ใหญ่แล้วก็คิดว่าจะได้บุญมาก เข้าใจว่าจะเป็นเช่นนั้น

แต่ว่ากุศลนั้นจะไม่สูงเท่ากับสังฆทาน เพราะสังฆทานไม่ได้เป็นการถวายเฉพาะ

เจาะจงแก่ภิกษุรูปหนึ่งรูปใด แต่มุ่งถวายต่อสงฆ์ คือ ผู้ที่เป็นอริยบุคคล แม้ว่า

ผู้รับจะไม่ใช่ แต่เจตนาของผู้ถวายๆ ด้วยความนอบน้อมต่อภิกษุนั้น เสมอด้วย

การนอบน้อมต่อพระอริยสงฆ์ ขณะนั้นเป็นกุศลทั้งเป็นทานที่ไม่เจาะจง และเป็น

จิตใจที่นอบน้อมต่อพระอริยสงฆ์ด้วย จึงเป็นกุศลที่มีผลมากอย่างแน่นอน ถ้า

จิตใจเป็นอย่างนั้นจริงๆ คือ เป็นผู้ที่มีปกติอ่อนน้อม และในการถวายก็ถวายโดย

ไม่เจาะจง ด้วยความอ่อนน้อมด้วย ต่างกับท่านที่ต้องการกุศลมาก ซึ่งก็

ผิดกันแล้ว สังฆทานจริงๆ คือ จิตที่อ่อนน้อมและไม่ได้หวังผล จิตขณะนั้น

จึงเป็นกุศลมาก เพราะฉะนั้นผลก็มาก แต่ว่าถ้าขณะใดบุคคลต้องการผลมาก

ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิต ขณะที่กำลังต้องการผลมากนั้น ไม่เหมือนกับขณะที่

กำลังนอบน้อมถวายเลย
สังฆทาน มาจากคำว่า สงฆ + ทาน ทานคือการให้ สังฆทานเป็นการให้แก่ภิกษุ

บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยไม่เจาะจง แต่มุ่งตรงต่อหมู่ของสงฆ์ซึ่งเป็นพระอริยบุคคล

พระรัตนตรัย พระสังฆรัตนะ พระสังฆรัตนะไม่ได้หมายถึงภิกษุบุคคล แต่หมายถึง

ภิกษุ ผู้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ

พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น สังฆทานจึงเป็นขณะจิตที่สละ สิ่งที่เป็นประโยชน์ถวายต่อพระ

อริยบุคคล ด้วยความนอบน้อม เวลาใส่บาตรถ้ามีความตะขิตตะขวงใจในเรื่องของผู้รับ

เช่น อาจาร คือความประพฤติของพระภิกษุ ซึ่งทำให้จิต ของผู้ให้ไม่ผ่องใส ขณะนั้น

อกุศลจิตเกิดสลับ กับกุศลจิต แสดงให้เห็นว่าจิตไม่ผ่องใสเต็มที่ เพราะมีอกุศลจิต เกิด

สลับแทรกแซง ฉะนั้น การใส่บาตรกับพระภิกษุเพียงรูปเดียวก็เป็น สังฆทานได้ในขณะ

ที่จิตนอบน้อมต่อพระภิกษุ เสมือนท่านเป็นพระอริยบุคคล เพราะเหตุว่า เราไม่สามารถ

รู้ได้ว่า พระภิกษุรูปใดเป็น พระอริยบุคคล เนื่องจากข้อประพฤติของพระภิกษุทุกรูป

โดยพระวินัยบัญญัติแล้วเสมอเหมือนกับความประพฤติของพระอรหันต์




--------------------------------------------------------------------------------


ด้วยเหตุนี้ ผู้มีจิตนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อใส่บาตรหรือถวายภัตตาหารในกาล

ใดก็ตาม มีจิตใจนอบน้อมต่อภิกษุผู้รับเหมือนท่านเป็นพระอริยบุคคล ขณะนั้นจิตไม่

เศร้าหมองเลย เพราะไม่ว่าสามเณรก็เป็นพระอริยบุคคลได้ พระภิกษุใหม่ พระภิกษุ

เถระก็เป็นพระอริยบุคคลได้ ขณะที่จิตนอบน้อมโดยมุ่งตรงต่อพระอริยสงฆ์นั้น เป็น

สังฆทาน ซึ่งมีโอกาสทำได้เสมอ ไม่ใช่ต้องไปขวนขายทำตามระเบียบอะไรต่างๆ

เมื่อมีความเข้าใจว่า สงฆ์ คือ หมู่แห่งพระอริยบุคคลซึ่งสืบเนื่องมาจากพระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถวายให้ด้วยความนอบน้อมเสมอกันกับพระอริยบุคคล

ซึ่งแม้จะไม่ใช่ชื่อว่าสังฆทาน แต่ก็เป็น สังฆทานได้




--------------------------------------------------------------------------------


ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ การกระทำทางกายก็เป็นกุศล หรือแม้

วาจา ก็เป็นวาจาที่เป็นทางกุศล ถ้าจิตไม่เป็นกุศล กาย วาจา ก็เป็นกุศลไม่ได้เพราะ

ฉะนั้น ขณะที่จิตเป็นไปในทานการให้เพื่อประโยชน์ของผู้รับจริงๆ ไม่ใช่หวังผลตอบ

แทนเหมือนการซื้อขายหรือฝากธนาคาร ขณะที่ให้เพื่อประโยชน์ของผู้รับ บางท่านมี

จิตที่ผ่องใสมากรู้ว่าผู้รับได้ประโยชน์จริงๆ เช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน อุปกรณ์การเรียน

ที่ให้แก่เด็ก ขณะที่คิดถึง เด็กว่า เขาจะได้ใช้ของใหม่ ๆ สะดวกสบาย ขณะนั้นเป็นจิตที่

ผ่องใสที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน เพราะฉะนั้น อานิสงส์ก็มาก ไม่ต้องถามใครเลยว่าได้

บุญมากไหม เพราะบุญคือจิต ซึ่งผ่องใส ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ

คำว่าเจดีย์ มีหลายความหมายดังนี้

1. ควรก่อ

2.ควรบูชา

3.วิจิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา ชื่อว่า เจติยะ

เพราะวิจิตรแล้ว.

บริโภคเจดีย์ หมายถึง บรรดาสิ่งต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร

ต้นโพธิ เป็นต้น บริโภคเจดีย์ มีต้นโพธิ เป็นต้น จึงควรแก่การบูชา เคารพเพราะเป็น

เหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า

ธรรมเจดีย์ หมายถึง การเคารพธรรม ธรรมที่ควรเคารพก็คือพระธรรมคำสั่งสอน

ของพระพุทธเจ้า ที่สามารถนำหมู่สัตว์ออกจากทุกข์ได้ ธรรมนั้นก็คือ โพธิปักขิยธรรม

37 ประการ มีการเจริญสติปัฏฐาน เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

บทว่า ธมฺมเจติยานี เป็นคำบอกถึงการทำความเคารพพระธรรม.จริงอยู่ เมื่อ

กระทำความเคารพในรัตนะหนึ่ง ในบรรดารัตนะทั้ง ๓ ก็ย่อมเป็นอันกระทำในทุกรัตนะ

ทีเดียว.เพราะฉะนั้นเมื่อกระทำความเคารพในพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ย่อมเป็นอันกระทำ

ความเคารพในพระธรรมด้วย เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ธรรมเจดีย์

ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 666

บทว่า ธมฺมเจติย สมุสฺเสตฺวา ได้แก่ ประดิษฐานพระเจดีย์สำเร็จด้วยโพธิปักขิย

ธรรม ๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 267

อรรถกถากาลิงคชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระ-

ปรารภการบูชามหาโพธิ์ ที่พระอานนท์เถระการทำแล้ว ตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ราชา กาลิงฺโค จกฺกวตฺติ ดังนี้.

ความพิสดารว่า พระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปตามชนบท เพื่อ

ประโยชน์จะทรงสงเคราะห์เวไนยสัตว์ ชาวกรุงสาวัตถีต่างถือของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้นไปยังพระเชตวัน ไม่ได้ปูชนียสถานอย่างอื่นไปวางไว้ที่ประตู

พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น เขาก็มีความปราโมทย์กันอย่างยิ่ง. ท่านอนาถปิณฑิก

มหาเศรษฐีทราบเหตุนั้นแล้ว จึงไปยังสำนักพระอานนท์เถระ ในเวลาที่

พระตถาคตเสด็จมาพระเชตวัน กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อพระตถาคต

เสด็จหลีกจาริกไป พระวิหารนี้ไม่มีปัจจัย มนุษย์ทั้งหลายไม่มีสถานที่บูชา

ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ขอโอกาสเถิดท่านเจ้าข้า ขอท่านจงกราบทูล

ความเรื่องนี้แด่พระตถาคต แล้วจงรู้ที่ที่ควรบูชาสักแห่งหนึ่ง.

พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง. พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.

พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้างพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑. พระอานนทเถระทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์

ได้หรือ. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้ เพราะ

ธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สำหรับอุทเทสิกเจดีย์

ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้า

อาศัยเป็นที่ตรัสรู้ ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้ว

ก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน. พระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย มนุษย์ทั้งหลาย

ไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา ข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตู

พระเชตวัน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด

เมื่อเป็นเช่นนั้น ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์. พระอานนท์เถระ

บอกแก่พระเจ้าโกศล อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา

เป็นต้น ให้ขุดหลุม ณ ที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิที่ประตูพระเชตวัน แล้วกล่าวกะ

พระมหาโมคคัลลานเถระว่า ท่านขอรับ กระผมจักปลูกต้นโพธิที่ประตูพระ-

เชตวัน ท่านช่วยนำเอาลูกโพธิสุกจากต้นมหาโพธิให้กระผมทีเถิด.

พระมหาโมคคัลลานเถระรับว่า ดีละ แล้วเหาะไปยังโพธิมณฑล

เอาจีวรรับลูกโพธิที่หล่นจากขั้วแต่ยังไม่ถึงพื้นดิน ได้แล้วนำมาถวายพระ-

อานนทเถระ. พระอานนทเถระได้แจ้งความพระเจ้าโกศลเป็นต้นว่า เราจัก

ปลูกต้นโพธิ์ในที่นี้. พระเจ้าโกศลให้ราชบุรุษถือเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่างเสด็จ

มาพร้อมด้วยบริวารใหญ่ในเวลาเย็น. อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี มหาอุบาสิกา

วิสาขา และผู้มีศรัทธาอื่น ๆ ก็ได้ทำเช่นนั้น.

พระอานนทเถระ ตั้งอ่างทองใบใหญ่ไว้ในที่เป็นที่ปลูกต้นโพธิ ให้

เจาะก้นอ่างแล้วให้ลูกโพธิสุกแด่พระเจ้าโกศล ทูลว่า มหาบพิตร พระองค์

จงปลูกโพธิสุกนี้เถิด พระเจ้าโกศลทรงพระดำริว่า ความเป็นพระราชามิได้

ดำรงอยู่ตลอดไป ควรที่เราจะให้อนาถปิณฑิกมหาเศรษฐีปลูกต้นโพธินี้ ทรง

ดำริดังนี้ แล้วได้วางลูกโพธิสุกนั้นไว้ในมือของมหาเศรษฐี. อนาถปิณฑิก

มหาเศรษฐีรวบรวมเปือกตมที่มีกลิ่นหอมแล้ว ฝังลูกโพธิสุกไว้ในเปือกตมนั้น

พอลูกโพธิพ้นมือมหาเศรษฐี เมื่อชนทั้งปวงกำลังแลดูอยู่ ได้ปรากฏลำต้น

โพธิประมาณเท่างอนไถ สูงห้าสิบศอก แตกกิ่งใหญ่ห้ากิ่ง ๆ ละห้าสิบศอก

คือในทิศทั้งสี่และเบื้องบน ต้นโพธินั้นเป็นต้นไม้ใหญ่กว่าต้นไม้ใหญ่ในป่า

ตั้งขึ้นในทันใดนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

พระราชารับสั่งให้เอาหม้อทองคำและหม้อเงิน ๘๐๐ หม้อ ใส่น้ำหอม

เต็ม ประดับด้วยดอกบัวเขียว สูงขึ้นมาหนึ่งศอกเป็นต้น ตั้งเป็นแถวแวดล้อม

ต้นมหาโพธิ แล้วรับสั่งให้ทำแท่นสำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด โปรยปรายผสมทอง

สร้างกำแพงล้อมรอบ ทำซุ้มประตูสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ เครื่องสักการะได้มีเป็น

อันมาก. พระอานนทเถระเข้าไปเฝ้าพระตถาคต กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระองค์จงประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์ที่ข้าพระองค์ปลูก เข้าสมาบัติ

ที่ข้าพระองค์เข้า ณ โคนต้นมหาโพธิ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน.

พระศาสดาตรัสว่า พูดอะไร อานนท์ เมื่อเรานั่งเข้าสมาบัติที่ได้เข้าแล้ว ณ

มหาโพธิมณฑล ประเทศอื่นก็ไม่อาจที่จะทรงอยู่ได้. พระอานนท์เถระกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน ขอพระองค์จง

ใช้สอยโคนต้นโพธิ์นั้น ด้วยความสุขเกิดแก่สมาบัติ โดยกำหนดว่าใกล้ภูมิ-

ประเทศนี้เถิด. พระศาสดาทรงใช้สอยโคนต้นโพธินั้น ด้วยความสุขเกิดแต่

สมาบัติตลอดราตรีหนึ่ง.

พระอานนท์เถระถวายพระพรแด่พระเจ้าโกศลเป็นต้น ให้ทำการฉลอง

ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น

ต้นโพธิ. และต้นโพธิ์แม้นั้น ก็ปรากฏว่า อานนท์โพธิทีเดียว เพราะเป็น

ต้นไม้ที่พระอานนท์ปลูกไว้......
ผมเข้าใจว่า ปัจจุบันนี้การสมาทานศีลของสามเณรในวันพระ เป็นเพียงการกระทำ

ตามประเพณีเท่านั้น ไม่ใช่การตั้งใจจริงๆ ไม่ใช่การรับสรณะและศีลใหม่ตามพระวินัย

ถ้าทำยังไม่ถูกต้องตามพระวินัย ก็ควรจะเป็นเถยยสังวาส ในกรณีลองใส่ชุดฆราวาส

ตามอรรถกถาท่านว่า ถ้ายินดี ขาดจากความเป็นสามเณร... แต่ไม่ยินดีก็ไม่น่าจะขาด

ถ้าไม่ขาดจากความเป็นสามเณร เถยยสังวาสก็ไม่มีครับ

เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทานเจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผูใส่บาตรตามถนนหนทาง
อาราธนาศีล รักษาศีล ได้รักษษอาการป่วยของแม่ ศึกษษการรักษาโรค
ช่วมพ่อแม่ทำงานบ้าน กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธรูป
สร้างบารมี ให้ครบทั้ง 10 อย่าง ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย

ขอเชิญสมัครบรรพชาและอุปสมบท
พระ 100 รูป เณร 50 รูป
ในวันที่ 3 เมษายน2553
โทร.0818153970

ขอให้สรรพสุตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร