วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 19:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระอริยสาวกถามพระพุทธองค์ว่า การเห็นความจริง เห็นไตรลักษณ์ เห็นอริยสัจสี่นั้น เห็นด้วยอะไร พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า ให้เห็นด้วยปัญญาจักษุ

หมายถึงว่า มีความเห็นตรงตามความเป็นจริงของโลกและชีวิตว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบเป็นโลกและจักรวาลนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป มีความแปรปรวนอยู่ตอลดเวลา ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอด บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะเกิดจากเหตุจากปัจจัยมาประชุมรวมตัวกันชั่วคราว พร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่ต้องแยกแตกสลายก็ต้องแตกสลาย เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด เพราะสิ่งนั้นดับ สิ่งนี้จึงดับ หรือสรุปเป็นคำๆ เดียวว่า ไม่เที่ยง

รูปก็ดี นามก็ดี ไม่เที่ยง ทั้งหลายทั้งปวง คือ สิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่เที่ยง ตัวเราก็ไม่เที่ยง เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีอะไรรอดจากความจริงของโลกและชีวิตนี้

ทุกข์ในโลก แบ่งเป็นสอง คือ ทุกข์ที่ธรรมชาติสร้าง ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมา คือ ความโศกเศร้า รำพึงรำพัน การโหยหา ความไม่สบายใจ ความลำบากใจ (โดยย่อ อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์)

การดับทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาได้ ก็ดับทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติได้ เพราะการเกิดแก่เจ็บตาย หรือการเกิดชาติภพ มาจากการที่คนเรายังมีทุกข์ หรือมีบาป หลงเหลืออยู่ในจิตใจ

เมื่อเกิดความคิดเห็นแบบนี้ คือมีดวงตาเห็นธรรม คือผู้เห็นธรรมแล้วด้วยปัญญาจักษุ ไม่ได้หมายถึงต้องมองเห็นด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นตานอก หรือตาใน

พระสารีบุตรได้ยินคำของพระอัสสชิกล่าวว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ" ก็เกิดมีดวงตาเห็นธรรม คือ ถึงบางอ้อว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดจากเหตุจากปัจจัยไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ

พระพุทธองค์ใช้วิธีการนั่งสมาธิ ประกอบด้วยวิปัสสนา ที่บอกว่าไม่เหินห่างจากฌาน นั้นเป็นวิธีการหาความจริง ไม่ใช่วิธีการดับทุกข์ (วิธีการวิจัย ไม่ใช่ผลการวิจัย) พระพุทธองค์จะบอกเรื่องนี้กับพวกพราหมณ์ เพราะพวกพราหมณชอบถามว่าท่านตรัสรู้ด้วยตนเองได้อย่างไร เพราะพระพุทธองค์สั่งสมบุญบารมีมาว่า ๔ อสงไขย์แสนกัปล์ จึงพบปัญญาที่จะนำมาดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง หรือพูดง่ายๆ ว่า การนั่งสมาธิจนพบวิธีการดับทุกข์นั้นเกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ที่สามารถบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าได้เท่านั้น

เปรียบเหมือนการค้นพบยาปฏิชีวนะ หากเราป่วยจะรักษาตน ก็คือเอายามากิน ไม่ใช่ไปเดินย้อนรอยวิธีการค้นพบยา หรือเอาวิธีการที่พระพุทธองค์ค้นพบมาปฏิบัติ คือการเจริญความเห็นเพื่อสร้างปัญญาที่ดับทุกข์ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชาสูตร

[๕๖] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเมื่อรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งจักษุ โดยความเป็นของไม่เที่ยงจึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งรูป ... จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัสสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิดขึ้น บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ซึ่งหู จมูก ลิ้นกาย ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย โดยความเป็นของไม่เที่ยง จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ดูกรภิกษุ บุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะละอวิชชาได้ วิชาจึงจะเกิด ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 12:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาสูตร

ว่าด้วยสัตว์มีปัญญาจักษุน้อย


ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ในปลายพระนขา แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มี พระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่นเล็กน้อยที่ พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ ส่วนเสี้ยว.

[๑๗๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปในอวิชชา เป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ.

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


ก. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยอะไร?

สา. พระโยคาวจรย่อมรู้ธรรมอันตนพึงรู้ด้วยปัญญาจักษุ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์
สังโยชนสูตร
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค




จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติดกับรูปรูปไม่ติดกับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด หูไม่ติดกับเสียงเสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียงทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติดกับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูกฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้นชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติดกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติดกับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ติดกับใจ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด

ภิ. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2010, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จักขุสูตร

[๒๓๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ มังสจักษุ ๑ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓อย่างนี้แล ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่าบุรุษ ได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้คือ มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ๑ ความบังเกิดขึ้น แห่งมังสจักษุเป็นทางแห่งทิพยจักษุ เมื่อใดญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อนั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะการได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ฯ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร