วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ม.ค. 2010, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิสุทธิ ๗


วิสุทธิ ๗ ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค ( วิสุทธิมคฺค,ตติยภาค,น.๑๐และ ๒๐๕ - ๒๐๖ )
ว่า ธรรมประเภทต่างๆ เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจจ์ ๔
และปฏิจสมุปบาทเป็นต้น เป็นภูมิซึ่งเปรียบด้วย พื้นแผ่นดิน ( สำหรับเพาะปลูกปัญญา )

วิสุทธิ ๒ คือ สิลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ เป็นมูล คือ ปลูกรากเหง้า ( ของปัญญา )
ส่วน วิสุทธิอีก ๔ คือ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
และปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นอิสระ คือ ลำต้น หรือ ร่างกาย ( ของปัญญา )
และญาณทัสสนวิสุทธิ เป็น ยอด หรือ ศรีษะของปัญญา ซึ่งปัญญาในที่นี้หมายถึง
วิปัสสนาปัญญาหรือวิปัสสนาญาณ

การที่โยคี ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ทั้งสูงอายุและหนุ่มสาว ผู้ปรารถนาจะบรรลุหรือ
ผ่านวิสุทธิ ๗ ญาณ ๑๖ และได้รับอานิสงส์คือ มรรค ผล นิพพาน เป็นความปรารถนาโดยชอบ
และสามารถบรรลุได้อย่างเที่ยงแท้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้แก่เจ้ามหานาม ศากยะ ว่า

" ดูก่อนท่านมหานาม ตถาคตมิได้กล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นด้วยวิมุตติของอุบากสก ผู้มีจิตหลุดพ้น
มาแล้วอย่างนั้น มีการกระทำแตกต่างอะไรกับพระพภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นมาแล้วตั้ง ๑๐๐ ปี
"
(สฺ.มหาวาร.๑๙/๕๑๖ )

หมายถึงว่า " ในการรู้แจ้งแทงตลอด ( อริยะ ) มรรคก็ดี ( อริยะ ) ผลก็ดีของอุบาสก ( อุบาสิกา )
ทั้งหลาย กับ พระภิกษุทั้งหลายนั้น หามีการกระทำที่แตกต่างกันไม่
"
( สารตฺถปภสินี,ตติยภาค,น.๔๐๓ )

ท่านอรรถกถาจารย์จึงอธิบายขยายความไม้ในคัมภีร์มโนรถปุรณี ( ตติยภาค,น.๒๒ ) ว่า
" ไม่ว่าจะเป็นทารกอายุ ๗ ขวบ หรือ พระเถระอายุ ๑๐๐ ปี หรือภิกษุ หรือ ภิกษุณี หรือ อุบาสก
หรือ อุบาสิกา หรือ เทวดา หรือ มาร หรือ พรหม รู้แจ้งแทงตลอดวิมุตติ ก็ตาม
หามีความแตกต่างกันในโลกุตรมรรคที่รู้แจ้งแทงตลอดนั้นๆไม่ "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


" จตฺตาโรเม ภิกฺขุเว สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา เอกนฺตนิพฺพิทาย
วิราคย นิโรธาย อุปสมาย อภญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพิทาย สวตฺตติ
"

:b44: ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย สติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้
บุคคลที่เจริญปฏิบัติเต็มที่แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อความดับสนิท เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพราะพระนิพพานโดยส่วนเดียว

" เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว คงคานที ปาจีนนนฺนา ปาจีนโปณา ปาจีนปพฺภารา เอวเมว โข ภิกฺขเว
จตฺตาโร สติปฏฐาเน ภาเวนฺโต สติปฏฐานเน พหุลีกโรนฺโต นิพฺพานนินฺโน โหติ
นิพฺพานโปโณ นิพฺพานปพฺภาโร
"

:b44: " ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย แม่น้ำคงคาย่อมไหลไปหลั่งไป สู่ทิศปราจีน
แม้ฉันใด ผู้เจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ปฏิบัติบัติตามสติปัฏฐานทั้ง ๔ เต็มที่แล้ว ย่อมน้อมไป
โน้มไป เงื้อมไปสู่นิพพานฉันนั้นนั่นแล "



:b39: ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ลอยมา จึงตรัสแก่เหล่าสาวกว่า
" ภิกษุทั้งหลาย ขอนไม้นี้ ถ้าไม่ติดฝั่งนี้ ติดฝั่งโน้น ไม่จมลงในท่ามกลาง ไม่ติดค้างอยู่บนบก
ไม่ถูกมนุษย์ลากเอาไว้ ไม่ถูกอมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกเกลียวน้ำวนดูดลงไป ไม่ผุข้างใน
ก็จะลอยไปจนถึงทะเลหลวง เพราะกระแสน้ำมีกำลังเชี่ยว ข้อนี้ฉันใด

เมื่อบุคคลไม่ติดฝั่งนี้ ไม่ติดฝั่งโน้น ไม่จมลงท่ามกลาง ไม่ติดค้างอยู่บนบก
ไม่ถูกมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกอมนุษยลากขึ้นฝั่ง ไม่ถูกน้ำวนดูดลงไป ไม่ผุข้างใน
ก็ไหลไปสู่นิพพานเหมือนกัน เพราะสัมมาทิฏฐิมีกำลังแรงกล้าดังนี้ "

ฝั่งนี้ คือ อายตะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

ฝั่งโน้น คือ อายตะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

จมลงในท่ามกลาง ได้แก่ ระหว่างตากับรูปกระทบกัน เช่น
เห็นรูปแล้วชอบใจ โลภะเกิดขึ้น
เห็นรูปแล้วไม่ดีไม่ชอบใจ โทสะเกิดขึ้น
เห็นแล้วไม่มีสติกำหนดรู้ โมหะเกิดขึ้น
อย่างนี้ซึ่งเรียกว่า จมลงในท่ามกลางระหว่าง อายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน
จมลงเพราะ โลภะ โทสะ โมหะ นั่นเอง


ติดค้างอยู่บนบก ได้แก่ ความเป็นคนมีทิฏฐิมานะ ( อัสมินานะ )

ถูกมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ได้แก่ คบหาสมาคมกับบุคคลไม่ดี แล้วก็เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา

ถูกอมนุษย์ลากขึ้นฝั่ง ได้แก่ มีความปรารถนาติดอยู่แค่กามาวจรภูมิเท่านั้น ไม่ต้องการให้ได้บรรลุมรรค
ผล นิพพาน หรือ ผู้มีเจตนาประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อไปเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง หรือ
อยากเป็นแค่เทวดา และ พรหม ติดในอิทธิฤทธิ์ ไม่มุ่งนิพพาน

ถูกน้ำวนดูดลงไป ได้แก่ ถูกกามคุณ ๕ ดูดลงไป

ผุข้างใน ได้แก่ ความเป็นผู้ประพฤติผิดศิลธรรม



" เอวเมว ภิกฺขเว อยํ อตฺตภาโว นาม ภิชฺชนตฺเถน อถาวรตฺเถน กุลาลภาชนสทิโส "

:b48: ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย อัตตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นเดียวกันกับภาชนะดินโดยแท้
เพราะต้องแตกสลายไปและไม่ถาวรมั่นคงอะไรเลย

" กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมิทํ จตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเธถ มารํ
ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา
"

:b40: บัณฑิตรู้จักกายนี้ว่า เปรียบเหมือนหม้อ พึงกั้นจิตไว้ให้ดี เหมือนบุคคลกั้นพระนคร
ฉะนั้น พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา ครั้นแล้วพึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะนั้นไว้ให้ดี
และอย่าให้ติดอยู่เพียงแค่นี้

คำว่ารู้จักกายนี้ ได้แก่ รู้จักกายด้วยการปฏิบัติ คอ รู้จักกายของเรานี้ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ มี
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ว่าเปรียบเหมือนกันกับหม้อที่เขาปั้นด้วยดิน
จะเป็นหม้อขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ทั้งสุก ทั้งดิบ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด
ด้วยกันทั้งนั้น ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของคนเรา ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา
ล้วนมีความแตกดับด้วยกันทั้งนั้น

โดยใจความแล้วได้แก่ รู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ผู้ที่จะรู้อย่างนี้ได้ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นต้นไป เมื่อถึงญาณนี้แล้ว
จะรู้เองว่า รูป นาม นี้ ดับไปตรงไหน เมื่อไร ขณะไหน โดยไม่ต้องไปถามใครอีก
" รู้แจ้ง " ชัด ด้วยการปฏิบัติกรรมฐานของตนเอง


เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร

อาการสำรวมจิตมี ๓ อย่าง

๑. สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ มิให้ความยินดีครอบงำในเมื่อเห็นรูป ฟังเสียง
ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าปรารถนา

๒. มนสิการกัมมัฏฐานอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ คือ อสุภะ และกายคตาสติ
หรืออันยังใจให้สลดคือ มรณสติ

๓. เจริญวิปัสสนา คือ พิจรณาสังขารแยกออกเป็นขันธ์ สันนิษฐานให้เห็นเป็นสภาพไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

กิเลสกาม คือ เจตสิกอันเศร้าหมอง ชักให้ใคร่ ให้รัก ให้อยากได้ กล่าวคือ ตัณหา ความทะยานอยาก
ราคะ ความกำหนัด อรติ ความขึ้งเคียดเป็นอาทิ จัดว่าเป็นมาร เพราะเป็นโทษล้างผลาญคุณความดี
และทำให้เสียคน

วัตถุกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นของน่าชอบใจ
จัดเป็นบ่วงแห่งมาร เพราะเป็นอารมณ์เครื่องผูกใจให้ติดแห่งมาร

บ่วงแห่งมารนี้ ผู้ที่สำรวมระวังจิตด้วยวิธีทั้ง ๓ วิธีดังกล่าวแล้ว
จึงจะสามารถหลุดพ้นจากอำนาจของมันได้


วิวิตฺตํ อปฺปนิคฺโฆส พาลมิคนิเสวิตํ เสเว เสนาสนํ ภิกฺขุ ปฏิสลฺลาน การณา


นักปฏิบัติธรรมพึงอยู่ในเสนาสนะอันสงัด ปราศจากเสียงกึกก้องเป็นที่อยู่อาศัยแห่งพาล มฤค ทั้งหลาย
เพราะมุ่งหมายจะหลีกเร้นอยู่ในที่อันสงัด เพื่อรีบรัดปฏิบัติให้ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน โดยเร็วพลัน


กุมฺโม องฺคานิ สเกกปาเล สโมทหํ ภิกฺขุ มโน วิตกฺ เก อนิสฺสิโต
อญฺญมญฺญวิเหฐยมาโน ปรินิพฺพุโต นูปวาทเยย กญฺจิ



พระโยคี ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ พึงรักษาใจเอาไว้ให้ดี มิให้ตกไปในวิตก ไม่ติดอยู่ด้วยตัณหา
มานะ ทิฏฐิ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ดับกิเลสรอบโดยด้าน ไม่กล่าวค้าน และค่อนขอดติเตียนใดๆ
ปานดังเต่าใหญ่รักษาตัวหดหัวและเท้าอยู่ในกระ-ดองของตน จนรอดพ้นอันตราย


ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ เมื่ออารมณ์มากระทบทางประตูต่างๆ เช่น รูปมากระทบทางตา เสียงมากระทบทางหู คือ
กระทบอายตนะไม่ว่าจะทางไหนๆก็แล้วแต่ ไม่หนี ไม่สู้ ไม่อยู่ ไม่ไป ให้อยู่ในกระ-ดองคือ สติปัฏฐาน 4
มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ รักษาสมณธรรมเอาไว้ให้ดี

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


" กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา นครูปมิทํ จตฺตมิทํ ถเกตฺวา โยเธถ มารํ
ปญฺญาวุเธน ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา
"

บัณฑิตรู้จักกายนี้ว่า เปรียบเหมือนหม้อ พึงกั้นจิตไว้ให้ดี เหมือนบุคคลกั้นพระนคร
ฉะนั้น พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา ครั้นแล้วพึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะนั้นไว้ให้ดี
และอย่าให้ติดอยู่เพียงแค่นี้

คำว่า รู้จักกายนี้ ได้แก่ รู้จักกายด้วยการปฏิบัติ คือ รู้จักกายของเรานี้ อันประกอบด้วยอาการ ๓๒ มี
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เป็นต้น ว่าเปรียบเหมือนกันกับหม้อที่เขาปั้นด้วยดิน
จะเป็นหม้อขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ทั้งสุก ทั้งดิบ ทั้งเก่า ทั้งใหม่ ล้วนมีความแตกทำลายเป็นที่สุด
ด้วยกันทั้งนั้น ข้อนี้ฉันใด ร่างกายของคนเรา ทุกเพศ ทุกชั้น ทุกวัย ทุกชาติ ทุกภาษา
ล้วนมีความแตกดับด้วยกันทั้งนั้น

โดยใจความแล้วได้แก่ รู้พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ผู้ที่จะรู้อย่างนี้ได้ต้องเจริญวิปัสสนากรรมฐานจนถึงอุทยัพพยญาณเป็นต้นไป เมื่อถึงญาณนี้แล้ว
จะรู้เองว่า รูป นาม นี้ ดับไปตรงไหน เมื่อไร ขณะไหน โดยไม่ต้องไปถามใครอีก
" รู้แจ้ง " ชัด ด้วยการปฏิบัติกรรมฐานของตนเอง

คำว่า " กั้นจิตไว้ให้ดี " ได้แก่ กั้นไว้มิให้กิเลสต่างๆมี โลภ โกรธ หลง เป็นต้น
เข้ามาย่ำยีจิตใจได้ กั้นไว้ด้วยอำนาจวิปัสสนากรรมฐาน จนสามารถ
ละกิเลสอย่างหยาบที่จะล่วงออกมาทางทาง กาย วาจา
ละกิเลสอย่างกลางที่จะล่วงออกมาทางใจคือ นิวรณ์ ๕
ละกิเลสอย่างละเอียด คือ อนุสัยที่นอนดองอยู่ในขันธสันดานเสียได้ เป็นสมุทเฉจประหาน
หรือนักรบผู้ป้องกันประเทศของตนไว้เป็นอย่างดีไม่ให้ข้าศึกเข้ามายึดครอง
หรือทำลายได้ด้วยอาวุธนานาชนิด ฉะนั้น

คำว่า " พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญา " ปัญญาในที่นี้มีอยู่ ๔ อย่างคือ
๑. สุเมตมยปัญญา ได้แก่ ปัญญาอันเกิดจากการเรียนรู้วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
มีเดินจงกรม นั่งกำหนด เป็นต้น จนมีความเข้าใจได้ดีและทำได้ถูกต้อง
๒.ววัฏฐานปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่เกิดขึ้นในขณะที่ลงมือปฏิบัติ
๓. สัมสนปัญญา ได้แก่ปัญญาที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่มีศรัทธาจริง ตั้งใจปฏิบัติจริงโดยความไม่ประมาท
คือ มีสติกำหนด กาย เวทนา จิต ธรรม อยู่ตลอดไป
เมื่อทันรูปนาม ได้สมาธิดี ปัญญาจะเกิดขึ้นเป็นลำดับๆไป

นับตั้งแต่ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ ปัญญารู้จักแยกรูปนามออกจากกันได้
ปัจจยปริคหญาณ ปัญญารู้จักเหตุ รู้จักปัจจัยของรูปนาม จนกระทั่งถึงญาณที่ ๑๓ คือ
โคตรภูญาณ อย่างนี้เรียกว่า สัมมสนปัญญา ปัญญาถึงขั้นนี้ จะรบกับมารได้
จึงจะกันมารกั้นมาร ไม่ให้มารบกวนได้ แต่ยังไม่เด็ดขาด

๔. อภสมยปัญญา ได้แก่ปัญญาที่เกิดขึ้นกับมรรคจิต โดยใจความคือ
มรรคญาณ อันเป็นญาณที่ ๑๔ ต่อจากโคตรภูญาณนั่นเอง

คำว่า " พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ ปัญญานั้น " ต้องปฏิบัติถึงญาณนี้ จึงจะสู้รบกันได้อย่างเด็ดขาด
เพราะอาวุธคือ ปัญญานั้น ต้องฝึกฝนอบรมมาจนถึงขั้นนี้จึงจะคมกริบและสามารถสู้รบกับมาร
คือ กิเลส ได้อย่างไม่มีวันจะกลับมาแพ้ได้ สมเด็จพระจอมไตร ตรัสว่า
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา
หมายเอาปัญญาอันเกิดจากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง

คำว่า " พึงรักษาสนามรบที่ตนได้ชัยชนะไว้ให้ดี " หมายความว่า ให้เพียรพยายาม
ปฏิบัติต่อไป
อย่าประมาท ต้องหมั่นเจริญยิ่งๆขึ้นไปอย่าให้ขาด พยายามให้ผลสูงๆขึ้นไปโดยลำดับ
จนกระทั่งสิ่นอาสวกิเลสถึงอมตนิพพาน

คำว่า " อย่าติดอยู่เพียงแค่นี้ " หมายความว่า อย่าติดอยู่ อย่าพอใจในสมาธิขั้นต่ำ หรือ ในญาณขั้นต่ำ
เช่น เมื่อผู้ปฏิบัติได้ปฏิบัติไปจนถึงญาณที่ 3 อย่างแก่ เข้าเขตญาณที่ 4 อย่างอ่อน อุปกิเลสจะเกิดขึ้น
อุปกิเลสนั้นมี ๑๐ อย่าง มีโอภาส แสงสว่าง ปีติคือ ความอิ่มใจ มีอยู่ ๕ อย่าง
ปัสสัทธิคือ จิตเจตสิกสงบดี สุขคือ ความสบายมาก ศรัทธาคือ ความเชื่อ ความเลื่อมใสเป็นพิเศษ
เป็นต้น บางคนเมื่อมาถึงญาณนี้ นิมิตต่างๆเช่น พระเจดีย์ ต้นไม้ ป่าไม้ ถูเขา แม่น้ำ เป็นต้น จะเกิดขึ้น
เมื่อสิ่งเหล่นี้เกิดขึ้นมา ผู้ปฏิบัติอย่าพอใจ อย่าติดอยู่ อย่าอยากให้เกิดอีก ต้องใช้สติกำหนดให้หายไป
แล้วพยายามปฏิบัติต่อๆไป จนกว่าจะได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน

อันโรงเรือนเปรียบเสมือนกับสังขาร
ปลูกไว้นานเก่าคร่ำฉล่ำฉลาย
แก่ลงแล้วโคร่งคร่างหนอร่างกาย
ไม่เฉิดฉายเหมือนหนุ่มกระชุ่มกระชวย

ตาก็มัวหัวก็ขาวเป็นคราวคร่ำ
หูก็ซ้ำไม่ได้ยินเอาสิ้นสวย
แรงก็น้อยถอยกำลังนั่งก็งวย
ฟันก็หักไปเสียด้วยไม่ทันตาย

แต่ตัณหาเป็นไฉนถึงไม่แก่
ยังปกแผ่พังพานผึงจึงใจหาย
ถึงสังขารจะแก่ก็แต่กาย
แต่ว่าตายไม่มีคิดถึงรำพึงเลย

สพฺพํ รตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรม ชนะความยินดีทุกอย่าง

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 00:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สภาวะ


สภาวะ แปลว่า ความเป็นเอง ความเกิดขึ้นเอง การปรากฏขึ้นเอง เช่น
สภาวะลักษณะ หมายถึง ลักษณะที่เป็นเอง เกิดเอง เป็นเองตามธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ

ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน หมายถึงสภาวะหรือปรากฏการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นภายในกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติ

ต้นจิต คือ การฝึกจิตให้อยู่กับการเคลื่อนไหว และอริยาบทต่างๆของร่างกาย เช่น
ขณะนั่งอยู่ก็กำหนดรู้ตัวว่านั่งอยู่ และถ้าจะลุกขึ้น ก่อนจะลุกก็กำหนดรู้อยู่
การจะเปลี่ยนอริยาบทหรือเคลื่อนไหวใดๆ หรือเมื่อจำเป็นต้องสนทนา จะพูดจากล่าวคำใดๆ
ถ้ากำหนดรู้พร้อมกันไป การกำหนดในทำนองดังกล่าวนี้ เป็นการช่วยให้โยคีมีสติและสมาธิ
เชื่อมโยงติดต่อกันไปไม่ขาดระยะ ท่านว่าสมาธิของโยคีผู้นั้น " ไม่รั่ว "

โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่า เหมือนท่อน้ำที่มีข้อต่อ อุดรูรั่วสนิทดี น้ำในท่อก็จะไหลติดต่อ
และมีกำลังส่งแรงดีไม่ขาดระยะ ฉันใด สมาธิของโยคีผู้กำหนดต้นจิต ก็จะติดต่อและมีกำลังดี
ไม่ขาดระยะ ฉันนั้น และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นการช่วยโยคีบางท่านที่เดินจงกรม
ไม่ทน แต่นั่งสมาธิกำหนดได้นาน เมื่อกำหนดต้นจิตติดต่อกัน วิริยินทรียกับสมาธินทรียเสมอกันได้ด้วย

การกำหนดทำนองดังกล่าวนี้ เรียกว่า กำหนดโดยกัมมัฏฐาน เป็นการปฏิบัติตามพระสติปัฏฐานสูตร
ในหมวด อิริยาปถปัพพะ และ สัมปชัญญะปัพพะ

ในการฝึกหัดกำหนดต้นจิต หรือการปฏิบัติโดยละเอียดตามอิริยปถปัพพะ และ สัมปชัญญะปัพพะ
ในสติปัฏฐานสูตรนี้ ในตอนแรกๆ โยคีก็อาจกำหนดขาดตกบกพร่อง เช่น เคลื่อนไหวหรือ
เปลี่ยนอิริยาบทโดยมิได้กำหนดรู้ก่อน แต่นึกได้ต่อมาภายหลัง เคลื่อนไหวโดยมิได้กำหนดบ้าง
กำหนดสับสนไปบ้าง ขาดๆหายๆ ซึ่งคนเราส่วนมากก็เป็นเช่นนั้น

ถ้าไม่ท้อถอยและเลิกเสียก่อน แต่พากเพียรกำหนดต่อไป จะพบเองในภายหน้าว่า
มีสติกำหนดได้เป็นส่วนมาก และจะค่อยๆกำหนดได้ติดต่อกันดีขึ้นๆ แล้วในที่สุดก็สามารถกำหนด
ได้โดยติดต่อกัน ซึ่งแสดงว่า ท่านมีสติมั่นคงเป็นพื้นฐานแก่การนั่งสมาธิกำหนดต่อไปเป็นลำดับ

มีเรื่องเล่าว่า

พระเถระรูปหนึ่ง ขณะนั่งสนทนากับพวกอันเตวาสิก ( ของท่าน ) ในที่พักกลางวัน
ท่านคู้แขนเข้ามาโดยเร็ว แล้วเหยียดกลับไปวางอย่างเดิม แล้วค่อยๆคู้เข้ามา

พวกอันเตวาสิกเรียนถามท่านว่า
" ท่านอาจารย์ขอรับ เหตุไร อาจารย์จึงคู้แขนเข้ามาโดยเร็วแล้วเหยียดกลับไปวางอย่างเดิม
แล้วค่อยๆคู้เข้ามาอีก "

พระเถระตอบว่า
" อาวุโส ก็เพราะฉันเริ่มต้นมนสิการกัมมัฏฐาน ฉันไม่ควรละทิ้งกัมมัฏฐาน แล้วคู้มือเข้ามา
แต่เมื่อกี้ ฉันกำลังสนทนากับพวกเธออยู่ ได้ละกัมมัฏฐานเสียแล้ว คู้มือเข้ามา
เพราะฉะนั้น ฉันจึงกลับวางมือไว้อย่างเดิมเสียก่อน แล้วจึงคู้ ( โดยกัมมัฏฐาน ) เข้ามาอีก "

พวกอันเตวาสิกกราบเรียนว่า
" สาธุ ท่านอาจารย์ ธรรมดาภิกษุควรเป็นอย่างนี้ "

อิมานิ โข ภิกฺขเว ปญฺจินฺทริยานิ ภาวิตานิ พหุลีกตานิ สญฺโญชนานํ ปหานาย สวตฺตนฺติ
อนุสยสมุคฺฆาตย สํวตฺตนฺติ อทฺธานปรญฺญาย สํวตฺตนฺติ อาสาวานํ ขยาย สํวตฺตนฺติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย ๕ ทั้งหลายนี้แล โยคีทำให้เกิดแล้ว ทำให้มากๆครั้งแล้ว
ดำเนินไปเสมอสมดุลย์ร่วมกัน เพื่อละเสียซึ่งสัญโญชน์ทั้งหลาย เพื่อถอนเสีย
เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยาวนาน ดำเนินไปร่วมกันเสมอกัน เพื่อความสิ้นไปของอาสวะทั้งหลาย
สํ.มหาวาร ๑๙/๓๑๒



หากโยคีนั้นๆ พากเพียรเดินจงกรม ด้วยการกำหนดเป็นระยะๆ และนั่งสมาธิกำหนดเป็นระยะๆ
จะเกิดสภาวะ ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียกว่า อินทรีย และ พละ ภายในตัวของท่าน ปรับปรุงทั้งร่างกาย
และจิตใจของโยคีเอง ให้มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นภายในตัวของท่านเป็น อัตตปัจจักขะ

อัตตปัจจักขะ คือ ประสพพบเห็นเป็นประจักษ์ด้วยตัวของท่านเอง และเมื่อสภาวธรรมนั้นๆ
ประณีตเข้าๆและพร้อมเพรียงสม่ำเสมอกัน โยคีผู้นั้นก็จะผ่านวิสุทธิและญาณต่างๆตามข้อที่ระบุไว้ข้างต้น
เป้นขั้นเป็นตอนไปโดยลำดับ ท่านเปรียบไว้เหมือนการเดินทางไปสู่ที่หมายปลายทางโดย
เปลี่ยนรถเดินทาง ๗ ผลัดหรือขึ้นอาคารหรือปราสาท ๗ ชั้น หรือเปรียบเทียบเหมือนกับบันได ๑๖ ขั้น

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 00:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่เชื่อหมอดู เชื่อเรื่องดวง ควรอ่านมากๆ

Ann21 says:
หายไปนานเลย

สุขที่แท้จริง says:

ไม่เป็นไรค่ะ เจริญสติไว้บ้างนะคะ

Ann21 says:

ค่ะ ตั้งแต่แอนนอนดึก ไม่ได้สวดมนต์ นับวันรู้สึกจะยิ่งห่างๆเลย พี่ค่ะ แอนมีคำถามนิดนึง....


สุขที่แท้จริง says:

ใช้การเจริญสติก็ได้ค่ะ อริยาบทไหนก็ได้ เวลาไหนก็ได้ค่ะ เช่นเดินก็ให้รู้เท้าที่กระทบพื้น
นั่งว่างๆขยับมือไปมา เอาจิตจดจ่อรู้อยู่กับมือที่เคลื่อนไหว หรือจะนั่งดูลมหายใจเข้าออก
ดูท้องพองยุบ ทำได้หมดแหละค่ะ



Ann21 says:

คนเราฝืนดวงได้มั้ยค่ะพี่ หรือว่ามันอยู่ที่ตัวเรา

สุขที่แท้จริง says:
ดวง ... ก็คือการกระทำต่างๆของเราในอดีตแหละแอน เคยสร้างเหตุอะไรไว้ ผลมันก็ส่งมาที่ปัจจุบัน
ถ้าทำจริงๆมันแก้ได้ คือ แก้ปัจจุบัน ส่วนอดีตไปแก้ไขอะไรไม่ได้ค่ะ
เราต้องยอมรับผลที่เกิดขึ้นตามนั้น ชดใช้กับเขาไป เพราะเราเคยทำกับเขาไว้


Ann21 says:

เพื่อนแอน เคยบอกว่าถ้าฝืนดวงแล้วมันจะแย่ มันจะแย่จริงมั้ยค่ะพี่ งืมๆ

สุขที่แท้จริง says:

มีแต่การเจริญสติเท่านั้นแหละค่ะที่จะช่วยเราได้ เราต้องทำเอง
ฝืนคือ ไม่ยอมรับผลไงคะ มันย่อมแย่ลงอย่างแน่นอน
เพราะการชดใช้มันจะเปลี่ยนรูปแบบ พี่น่ะเจอมาแล้ว การคิดแก้ไข
แทนที่จะยอมใช้เขาไปสะ มันก็จะจบลงง่ายๆ ดันไปคิดแก้ไข คนที่แย่ก็คือตัวพี่เอง
เพราะกรรมมันยืดยาวต่ออกไปอีก ทุกข์แทนที่จะจบลง เลยทำให้ทุกข์หนักกว่าเดิม


Ann21 says:

งืมๆๆค่ะ อืมม คือว่า แบบว่า หมอดูทำนายว่าแอนจะได้งานกรุงเทพค่ะพี่
แต่แอนอยากอยู่บ้าน ดูแลพ่อกับแม่มากกว่า

สุขที่แท้จริง says:

อ่อ .. หมอดู ไปเชื่ออะไรกับหมอดู
เจริญสติสิคะ แล้วเราจะเป็นไปได้ตามสิ่งที่ปรารถนา


Ann21 says:

มันอยู่ที่ตัวเราใช่มั้ยค่ะ

สุขที่แท้จริง says:

ใช่ค่ะ อยู่ที่เหตุที่เรากำลังจะสร้างขึ้นมา และเหตุเก่าที่เคยกระทำไว้

Ann21 says:

งืมๆ ขอบคุณมากค่ะพี่ กระจ่างเลย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2010, 23:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การรู้ถึงที่สุด

รู้ปัจจุบัน เช่น ขณะตาเห็น หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส การถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
มีสติกำหนดรู้อยู่เฉพาะปรมัตถธรรม คือรูปกับนามเท่านั้น ไม่ให้เลยไปถึงบัญญัติ เพราะกิเลสอาศัย
บัญญัติเกิด กิเลสอาศัยอารมณ์อดีต อาศัยอารมณ์อนาคตเกิด ไม่อาศัยอารมณ์ปัจจุบันเกิด

ปัจจุบัน แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะหน้า คือปรากฏในขณะนั้น
ผู้ปฏิบัติต้องมีสติรู้ทันในขณะนั้นเช่นกัน เช่น เวลาเห็นผ้าให้รู้อยู่แค่เห็น ไม่ให้เลยไปถึงผ้า
เพราะผ้าเป็นบัญญัติ สีของผ้าเป็นปรมัตถ์ ให้สติกับจิตรู้อยู่แค่ปรมัตถ์เท่านั้น เวลาได้ยิน ได้กลิ่น เป็นต้น
ก็พึงเข้าใจทำนองเดียวกันนี้

รู้รูปนาม เช่นขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขันธ์ ๕ เกิดแล้ว ขันธ์ ๕ นั่นแหละเป็นรูปนาม
ตัวอย่าง เวลาเห็นนาฬิกา นาฬิกาเป็นรูป ตาเป็นรูป
เห็นนาฬิกางามๆแล้วใจสบาย ความสบายนั้น เป็นเวทนา
จำนาฬิกาได้ว่างาม ความจำได้นั้นเป็นสัญญา
แต่งใจให้เห็นว่างาม เป็นสังขาร
เห็นนาฬิกา ผู้เห็นเป็นวิญญาณ คือจักขุวิญญาณจิต เป็นจิตดวงหนึ่งเกิดทางจักขุทวาร

ตาเห็นรูปครั้งหนึ่งครบขันธ์ ๕ พอดี ย่อขันธ์ ๕ ลงเป็น ๒ คือ รูปคงเป็นรูปคงเป็นรูปไว้ตามเดิม
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๔ ขันธ์นี้ ย่อลงเป็นหนึ่ง เรียกว่า นาม
เมื่อย่อลงมาในแนวปฏิบัติจึงเหลือเพียงรูปกับนามเท่านี้

ปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายถูกเย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ก็มีเพียง ๒ อย่างเท่านี้ คือมีแต่รูปกับนาม เป็นอย่างนี้ทั่วสากลโลก นี้เป็นสัจธรรมที่จริงแท้ไม่แปรผัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.พ. 2010, 00:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


รู้พระไตรลักษณ์


รู้พระไตรลักษณ์ คือ รู้ลักษณะทั้ง ๓ ของรูปนาม ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
การรู้พระไตรลักษณ์นั้น แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

๑. รู้พระไตรลักษณ์ขั้นปริยัติ คือ จำจากตำรา เช่น เวลาสวดทำวัตรเช้าว่า

รูปํ อนจฺจํ รูปไม่เที่ยง
เวทนา อนจฺจา เวทนาไม่เที่ยง
สญฺญา อนจฺจา สัญญาไม่เที่ยง
สงฺขารา อนจฺจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
วิญฺญาณํ อนจฺจา วิญญาณไม่เที่ยง ดังนี้เป็นต้น

การรู้พระไตรลักษณ์อย่างนี้ เป็นการรู้เพียงขั้นปริยัติเท่านั้น

๒. รู้พระไตรลักษณ์ขั้นปฏิบัติ แต่อยู่ในเกณฑ์จินตามยญาณคือ ญาณที่ ๑-๒-๓ เช่น

๑. รู้รูปนามได้ดี คือหายความข้องใจสงสัยในคำว่า รูปนามจริงๆ
เกิดขึ้นเพราะการเจริญสติปัฏฐาน เรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ เช่น สิ่งที่ถูกรู้ กับจิตที่รู้ เป็นคนละอันกัน

๒.รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม บางครั้งรูปเป็นเหตุ นามเป็นผล บางครั้งนามเป็นเหตุ รูปเป็นผลก็มี
เช่น การก้าวเดินไปก่อน แล้วสติจึงตามไปกำหนดทีหลัง หรือ ตั้งใจกำหนดก่อนแล้ว ถึงจะก้าวเดิน
เรียกว่า ปัจจยปริคคหญาณ

๓. รู้ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของรูปนาม เช่น

ก.พิจรณารูปนาม คือร่างกายและใจนี้ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้
เป็นอนัตตา คือ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครๆทั้งสิ้น


ข.พิจรณากาลไกลๆ เช่น เมื่อก่อนเป็นเด็กๆ แต่เดี๋ยวนี้รูปนามนั่นแก่เฒ่าชราลงมากแล้ว
เพราะรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จึงเป็นอย่างนี้

ค. พิจรณาว่า รูปนามอดีตก็ดับไปในอดีต รูปนามอนาคตก็ดับไปในอนาคต รูปนามปัจจุบัน
ก็ดับไปในปัจจุบัน รูปนามอดีตจะกลับไปเป็นรูปนามอนาคตไม่ได้ รูปนามอนาคตจะกลับไป
เป็นรูปนามในอดีตไม่ได้ รูปนามปัจจุบันจะกลับไปเป็นรูปนามอดีตหรือเป็นรูปนามไม่ได้


เช่น ขณะที่เราเอาไม้เคาะกระดาน เสียงดังขึ้น เมื่อหยุดเคาะ เสียงดังก็ดับไป เสียง กับ หู เป็นรูป
ได้ยินเป็นนาม รูปกับนามนี้เกิดชั่วขณะนิดหน่อยแล้วก็ดับไปตามธรรมชาติของเขาใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
เป็นธรรมนิยาม ธรรมฐีติอยู่อย่างนี้ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว

พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นมาตรัสในโลกหรือไม่ก็ตาม รูปนามย่อมเป็นไปอย่างนี้ตลอกกัลปาวสานต์
ทั้งนี้ ก็เพราะรูปนามเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตานั่นเอง

ฆ. พิจรณา ทุกขณะที่ลมหายใจเข้าออก ทุกขณะที่ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นว่า
ลมเข้าและลมออกก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำนองเดียวกันนี้


การพิจรณารูปนามเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ คือทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา คือบังคับบัญชาไม่ได้
อย่างนี้เรียกว่า สัมมสนญาณ

ญาณที่ ๑ คือนามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่ ๒ คือปัจจยปริคคหญาณ ญาณที่ ๓ คือสัมมสนญาณ
ทั้ง ๓ ญาณนี้ อยู่ในเขตของจินตามยปัญญาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น การรู้พระไตรลักษณ์โดยอาการ
ดังกล่าวมานี้ จึงจัดเป็นเพียงจินตามยปัญญาเท่านั้น


รู้พระไตรลักษณ์ชั้นภาวนามยญาณ ได้แก่ เห็นความเกิดดับของรูปนามชัดเจนแจ่มแจ้ง
ปราศจากการจำตำรา ปราศจากการนึกคิดค้นเดาใดๆทั้งสิ้น เกิดขึ้นในขณะปัจจุบันเท่านั้น
เช่น

สภาวะโดยการเปรียบเทียบใหนภาพที่ชัดเจนทั้งของพม่า และของไทย ถึงแม้คำพูดจะแตกต่าง
แต่สภาวะเดียวกัน

สันตติขาด ฆนบัญญัติแตก

เมื่อโยคีบุคคลได้กำหนดพิจรณาในสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและฆนบัญญัติที่กำบังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามที่ขาดแตกไป
เป็นความเห็นที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นเวลาใด เวลานั้นวิปัสสนาญาณของโยคีบุคคลก็เข้าถึงความเป็นอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นได้ หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีการกำหนดรู้ในสังเขตธรรมที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าทุกๆระยะของจิตและรูปนั้น อย่าว่าแต่ความเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามเลย แม้แต่รูปนามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าก็ไม่รู้ไม่เห็นเสียแล้วคงรู้คงเห็นแต่บัญญัติ เช่น
เมื่อได้เห็นสีก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ บ้านเรือน ผ้าผ่อน
เมื่อได้ยินเสียง ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้เป็นเสียงชาย หญิง สัตว์ ดนตรี หัวเราะ ร้องไห้
เมื่อได้กลิ่น ก็คงรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ เป็นกลิ่นดอกไม้ กลิ่นของหอม กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระ
เมื่อได้รส ก็คงจะรู้คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ รสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล
เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง ก็คงเข้าใจไปในแง่ที่ว่านี้ น้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน พอง ยุบ ร่างกาย หย่อน เบา แข็ง ตุง หนัก ยกมือ ยกขา ดังนี้เป็นต้น
นี้เป็นโดยสันตตบัญญัติและฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอกต่างๆและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเอาไว้นั่นเอง จึงมีความรู้ความเข้าใจไปดังนี้ เรียกว่า สันตติบัญญัติไม่ขาด ฆนะก็ไม่แตก

แต่ความเป็นจริงนั้น ขณะที่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ รูปารมณ์เก่าย่อมดับไป รูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้น ติดต่อกันไม่ขาดสาย ผู้เห็นคงเห็นแต่รูปารมณ์ที่เกิดใหม่ตลอดระยะเวลาที่ดูอยู่ วิถีจิตที่เกิดขึ้นรับรูปารมณ์คือ การเห็นนั้นแล้ว ก็มีการเห็นเก่าดับไป การเห็นใหม่เกิดแทน ติดต่อกันโดยไม่ขาดสายเช่นกัน แต่แล้วผู้ดูอยู่ก็เห็นผิดเข้าใจไปในรูปารมณ์และการดูของตนว่า รูปารมณ์ที่ตนดูอยู่ก็ดี การเห็นของตนที่กำลังเห็นก็ดี ในนาทีแรกและนาทีหลังคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่เป็นปกติ ขณะได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัสอยู่ เสียงกับการได้ยินก็ดี กลิ่นกับการได้กลิ่นก็ดี รสกับการกินก็ดี เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง กับการสัมผัสก็ดี เหล่านี้มีสภาวะเช่นกันคือ เก่าดับไป ใหม่เกิดขึ้นติดต่อกันไปไม่ขาดสาย แต่แล้วก็มีการเข้าใจผิดไปว่าเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันคงที่อยู่ปกติ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมมณิกวิถีจิตภายในเป็นสันตติบัญญัติ การเกิดขึ้นสืบต่อเนื่องกันไปมีสภาวะไม่ขาดสายแห่งอารมณ์ภายนอกและอารัมณิกวิถีจิตภายในนั้น ซึ่งคล้ายๆกับเป็นกลุ่มเป็นกอง นี้เป็น ฆนบัญญัติ ในบัญญัติ ๒ ประการนี้ เมื่อสันตติบัญญัติปรากฏในใจ ฆนบัญญัติก็ปรากฏในในพร้อมๆกัน ดังนั้นจะเรียกรวมกันทั้งสองอย่างว่าสันตติฆนบัญญัติก็ได้
สันตติฆนบัญญัติได้กำบังปกปิดไว้ดังกล่าวนี้แหละ จึงทำให้ผู้ที่ไม่มีสติกำหนดรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า ไม่มีใครได้รู้เห็นความเกิดดับที่เป็นอนิจจลักขณะได้

ฝ่ายผู้ที่ทำการกำหนดสังเขตธรรมรูป,นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้า โดยมีสติรู้อยู่ติดต่อกันไม่ขาดสายนั้น ย่อมรู้เห็นแทงทะลุปรุโปร่งสันตติฆนบัญญัติ ที่กำลังปกปิดการเกิดดับของสังเขตธรรมรูป,นามไปได้ โดยการกำหนดรู้เห็นวิถีจิตที่ก่อเกิดก่อนและวิถีจิตที่เกิดขึ้นทีหลังในระยะเวลาที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสกับ ความเย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง เมื่อย เจ็บ ปวด ดีใจ เสียใจ นึกถึงต่างๆเหล่านี้ขาดลงเป็นตอนๆไม่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน ในด้านรูปนั้น ก็คงกำหนดรู้เห็นรูปที่เกิดก่อนและรูปที่เกิดหลัง ในระยะเวลาที่พองขึ้น ยุบลง หายใจเข้า หายใจออก ยกมือ ยกขา ก้าวไปข้างหน้า ถอยมาข้างหลัง ลุกขึ้น นั่งลง เหลียวซ้าย แลขวา กระพริบตา อ้าปาก เหล่านี้ขาดเป็นตอนๆ ไม่ใช่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การรู้เห็นในวิถีและอารมณ์ขาดเป็นตอนๆดังนี้เรียกว่า สันตติบัญญัติขา,ฆนบัญญัติแตก อนิจจลักขณะคือ ความเกิดดับไปก็ปรากฏขึ้น เป็นอันว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นได้เข้าถึงอนิจจานุปัสสนาที่แท้จริง

จาก วิปัสสนาทีปนีฎีกา รจนาโดย หลวงพ่อภัททันตะ อาสภมหาเถระ


หลักการดูและเห็นทางจิต

-- ข้อที่ต้องเปรียบเทียบกันตั้งแต่ขั้นต่ำสุด คือ ขั้นที่ดูด้วยตาธรรมดา เช่น จดไว้ในกระดาษแล้วเราก็ดูด้วยตา แล้วก็เห็น มันก็เห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ก็ดูตัวหนังสือในกระดาษแล้วก็เห็นนะ มันไม่เห็นธรรมะ เพราะมันไม่ได้ดูด้วยธรรมจักษุ มันดูด้วยตาเนื้อ ต่อเมื่อดูด้วยธรรมจักษุ จึงจะเห็นธรรม ซึ่งดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น
-- ธรรมจักษุที่จะเห็นธรรมนั้น มันต้องดูด้วยอะไร? ลองสังเกตุของตัวเองดู ในบาลีก็มีคำว่า ธัมมจักขุง จักษุสำหรับเห็นธรรม ก็คือ ปัญญา หรือเจตสิกธรรม ที่เป็นกลุ่มของปัญญานั่นแหละ ปัญญานี้มันต้องอาศัยการดูด้วยจิตที่เป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิแล้วก็น้อมไปเพื่อจะเห็น ฉะนั้น เราจะต้องทำปัญญาจักษุกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้เห็นอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ไม่ใช่ปากว่าบริกรรม แต่ให้รู้สึกเห็น เห็นอย่างรู้สึก รู้สึกอย่างที่เห็น นับตั้งแต่ดูด้วยตา แล้วก็ดูด้วยปัญญา แล้วก็รักษาการดูนั้นไว้ด้วยปัญญา ยกตัวอย่างเรื่องที่พวกเราทำกันอยู่เป็นประจำ คือว่า เดินจงกรมนี้ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ถ้าดูที่เท้าด้วยตา มันก็คือการเห็น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ดูด้วยตา ดูที่เท้า ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องศึกษาด้วยปัญญาก่อนจนเห็นว่า มันมีแต่ การยกหรือย่าง หรือเหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีบุคคล ผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบเลย เพราะว่าเรื่องธรรมะขั้นปัญญานั้น มันไม่ใช่ยกเท้าขึ้นมา แล้วยื่นออกไป แล้วเหยียบลง ตัวอย่างนี้ มันเป็นเรื่องสติ หรือสมาธิ
-- ยกหนอ หมายความว่า มันสักว่ามีการยกเท้า มีเท้าที่ยกขึ้นแล้วหนอ แต่ไม่มีบุคคล ที่เป็นผู้ยกหรือเป็นเจ้าของเท้านี้ ให้เขาบริกรรมสั้นมากกว่า ยกหนอ เท่านั้น ถ้าทำได้ลึกอย่างนั้น มันก็เป็นการเห็นอยู่ เห็นธรรมะอยู่ เมื่อยก ย่าง เหยียบนั่นแหละ สักว่าการยกเท้าเท่านั้นหนอ สักว่าการย่างเท้าไปเท่านั้นหนอ สักว่าการเหยียบเท้าลงเท่านั้นหนอ นี่มันลึกมาก มันเป็นหัวใจของธรรมะทั้งหมด คือว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ถ้าทำถึงที่สุดเป็นวิปัสสนา มีความหมายอย่างนี้
-- ถ้าทำในขั้นริเริ่มต้นๆ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นขั้นสติ ว่าสติอยู่ที่เท้ายกขึ้นมา ที่เท้าเสือกไป ที่เท้าหย่อนลง ก็เป็นสติเท่านั้น ยังไม่ใช่ปัญญา ยังไม่ใช่การเห็น เป็นการควบคุมด้วยสติหรือว่าการที่มีสติมั่น ผูกพันติดอยู่กับเท้าที่ยก ย่าง เหยียบนี้ อย่างนี้มันก็เป็นสมาธิ ยังไม่ใช่ตาเห็นธรรม ยังไม่ใช่เห็นในขั้นวิปัสสนา ขั้นวิปัสสนามันก็ต้องเห็นที่ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่แท้ที่จริงแล้ว ต้องการให้เห็นอนัตตาหรือสุญญตา ว่าไม่มีสัตว์ บัคคล ตัวตนอะไรที่ไหน ซึ่งเป็นผู้ยก ผู้ย่าง ผู้เหยียบ ตัวธรรมะแท้ เห็นด้วยปัญญา เรียกว่า วิปัสสนา
-- ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ไม่เพียงแต่ว่าเป็น สติ หรือว่าเป็นสมาธิ และไม่ได้หมายความว่า เห็นด้วยตา ความจริงการดับกิเลสตัณหานี้ ดับด้วย อนัตตา เพียง อนิจจังยังไม่ดับ ต้องให้เห็นทุกขัง เพียงทุกขัง ยังไม่ดับ ต้องเห็นอนัตตา มันจึงจะเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด บรรลุมรรคผลได้ ให้เห็นว่า สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งหลายเป็นอนัตตา เอาปัญญาเป็นจักษุ ธรรมจักษุนี้มาดูอยู่ด้วยกันตลอดเวลาทุกอริยาบถ เมื่ออริยาบทยืนก็ยืนหนอ สักว่าการยืนหนอ ไม่มีเจ้าของตัวผู้ยืน เมื่อเดินนี้แยกเป็น ยก ย่าง เหยียบนี้ มันก็สักว่า ยก ย่าง เหยียบ ไปตามเหตุ ปัจจัยของมันเท่านั้นเองหนอ ไม่มีส่วนไหนที่จะเป็นบุคคล ตัวตนอันแท้จริง เพราะฉะนั้น ทุกๆหนอ อาจจะทำให้เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าขั้นฉันอาหาร หยิบหนอ ยกหนอ ใส่ปากหนอ เคี้ยวหนอ กลืนหนอ นี่ก็เหมือนกันอีก สักว่ามือมันหยิบอาหารมาด้วยเหตุปัจจัยนามรูปอะไรก็ตาม ไม่มีกู ไม่มีกูผู้หยิบอาหาร ไม่มีกูผู้กินอาหาร ไม่มีผู้กลืนหนอ อร่อยหนอ ไม่มีตัวตนแห่งความอร่อย ไม่มีตัวตนแห่งบุคคลอร่อยเลย
-- จะเดิน จะยืน จะนั่ง จะนอน จะกิน จะอาบ จะถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ ทุกอย่างแหละ ใส่คำว่า หนอ แล้ว มันเป็น สักว่า เท่านั้น หรือ เช่นนั้น เท่านั้นหนอ มันเป็นวิปัสสนาอยู่ในอริยาบถนั้นๆถึงกับว่าจะบรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ในอริยาบถนั้นๆอยู่ก็ได้ เพราะว่าเป็นวิปัสสนา
-- การดูและการเห็น มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเมื่ไร ในอริยาบถไหนมันก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ ในอริยาบถนั้นๆที่นั่น และเมื่อนั้น เพราะฉะนั้น เราทำให้ดีๆสิ ทำให้ถูกๆ ให้ดีๆ ให้เป็ยวิปัสสนา คือ ดูและเห็น อยู่ด้วยปัญญาจักษุ ก็จะบรรลุธรรม คือ บรรลุมรรคผล
-- สรุปความว่า ขอให้ปฏิบัติถึงขั้นที่มันเป็นวิปัสสนา เช่น ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ ก็ให้ถึงขั้นวิปัสสนา คือ รู้อยู่แก่ใจแจ่มชัดว่า มันสักว่า อริยาบถ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ ไม่มีผู้ยก ย่าง เหยียบ สักว่า เป็นกิริยา อาการของการ ยก ย่าง เหยียบ เท่านั้นหนอ นี้เรียกว่า วิปัสสนา คือ การเห็น

รจนาโดย หลวงพ่อพุทธทาส




ภาพแบบ matrix เป็นเรื่องของสมาธิและสติ ทำงานร่วมกันในระดับหนึ่ง
สภาวะนี้สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

แต่ถ้าสมาธิและสติที่มีกำลังมากกว่านั้น จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นมากกว่านั้น
คือจะเห็นภาพหรือกิริยาของการเคลื่อนไหว ขณะนั้นๆ ขาดออกจากกันเป็นตอนๆ
ไม่เป็นสายแบบ matrix เขาเรียกว่า สันตติขาด ฆนะบัญญัติแตก
สภาวะนี้เห็นได้แค่ทางจิตทางเดียวเท่านั้น

สันตติ คือความสืบต่อของรูปนามจะขาดลง เมื่อสติ สมาธิ ปัญญาของผู้นั้นแก่กล้าสามารถ
จะรู้ความเกิดขึ้น และดับไป ของรูปนามได้ดีทีเดียว และรู้ได้เฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติเท่านั้น
แม้คนอื่นตั้งหมื่นแสนซึ่งนั่งดูอยู่ที่นั้น ก็ไม่สามารถรู้ตามผู้นั้นได้เลย


ญาณนี้ท่านเรียกว่า อุทยพยญาณ จัดเป็นภาวนามยปัญญาแท้ แม้ญาณที่ ๕-๖-๗-๘ เป็นต้นไป
ก็จัดเป็นภาวนามยปัญญาเช่นกัน

รู้มรรค ได้แก่ ญาณที่ ๑๔

รู้ผล ได้แก่ ญาณที่ ๑๕ คือผลญาณ

รู้นิพพาน ได้แก่ ญาณที่ ๑๓-๑๔-๑๕

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 05 เม.ย. 2010, 22:22, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


งามอยู่ที่ผี ดีอยู่ที่ละ เป็นพระอยู่ที่จริง


งามอยู่ที่ผี หมายความว่า ร่างกายของบุคคลทุกๆคน เวลาตายแล้ว
เขานิมเรียกว่า " ผี " หรือ " ศพ " ผีหรือศพนี้เป็นของอันพึงไม่น่าปรารถนา
ไม่ชอบ ทั้งเกลียด ทั้งกลัวเสียด้วยซ้ำไป

แต่ผีนั้นจะงามได้ด้วยเครื่องประดับประดา แต่งให้งามด้วยศิล สมาธิ ปัญญา
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่า ได้บำเพ็ญศิล สมาธิ ปัญญา ไปพร้อมกัน


ดีอยู่ที่ละ หมายความว่า กิเลสต่างๆ ถ้าใครละได้แล้วเป็นดีวิเศษแท้


เป็นพระอยู่ที่จริง หมายความว่า ถ้าผู้ใดเจริญสติปัฏฐาน ๔ จนเห็นของจริง
คือ อริยสัจ ๔ แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า เป็นพระ เรียกว่า " พระอริยเจ้า " นับตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.พ. 2010, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวนา

ภาวนา มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สมถภาวนา ๑ วิปัสสนาภานา ๑

กรรมฐานทั้ง ๒ นี้ มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกทั้งอรรถกถาและฎีกา ทางพระศาสนาถือว่า
กรรมฐานทั้ง ๒ นี้ เป็นธุระอันสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา

ถ้าพระศาสนาปราศจากธุระทั้ง ๒ นี้เสียแล้ว จะไม่มีความหมายอะไรเลย ตัวอย่างง่ายๆจะพึงเห็นได้
จากการบวชเป็นภิกษุ สามเณร นี้เอง

คือ ผู้ที่บรรพชาเป็นสามามเณรก็ดี ผู้ที่จะอุปสมบทเป็นพระก็ดี จะต้องเรียนให้รู้กรรมฐานเสียก่อน
เรียนตั้งแต่ยังเป็นนาคอยู่ ต้องท่องกรรมฐานให้ได้คล่องแคล่วดี สามารถว่ากลับไปกลับมา
ซึ่งเรียกว่า อนุโลม ปฏิโลม จนชำนาญ แล้วจึงจะให้บวช

ก่อนพระอุปัชฌาย์จะเอาผ้าอังสะใส่บ่าก็ต้องสอนให้ว่า " ตจปัญจกรรมฐาน " ก่อน
เมื่อว่าได้ดีแล้ว จึงจะยอมเอาผ้าเหลืองไปสวมให้ แล้วบอกให้ออกไปนุ่งห่มผ้าได้
และเมื่อบวชแล้วก็ต้องอบรมเรียนทั้งภาคปริยัติ ภาคปฏิบัติ อยู่ในสำนักของพระอุปัชฌาย์
ให้ครบ ๕ ปีก่อน จึงจะไปอยู่ที่อื่นได้ อย่างนี้ก็พอชี้ให้เห็นได้อย่างเด่นชัดแล้วว่า กรรมฐาน
เป็นหัวใจของนักบวชจริงๆ

นอกจากนี้ ยังีมีตัวอย่างอีกมากมายเช่น สมัยเมื่อพระพุทธองค์ประทับอยู่พระเชตุวันมหาวิหาร
ปรารภพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อว่า ธัมมาราม

พอพระองค์ได้แจ้งข่าว่า อีกประมาณ ๔ เดือน จักปรินิพพาน ภิกษุเป็นจำนวนหลายพันรูป
ได้ตามแวดล้อมพระองค์ไป ที่เป็นปถุชนก็ร้องไห้ ที่เป็นพระชีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช

ส่วนพระธัมมาราม ไม่คลุกคลีกับใครๆเลย ตั้งใจปฏิบัติกรรมฐานอย่างสุดความสามารถ
ใส่ใจแต่เรื่องพระกรมฐานเท่านั้น

พระองค์ประทานสาธุการแก่ท่านว่า " สาธุๆ สาธุๆ " ดังนี้ ทรงชี้ให้ภิกษุทั้งหลายเอาเป็นตัวอย่างว่า

" ภิกฺขเว อญฺญนปิ มยิ สิเนหวนฺเตน ภิกฺขุณา ธมฺมาราม สทิเสเนว
ภวิตพฺพํ นหิ มยฺหํ มาลาคนฺธาทีหิ กโรนฺตา ปูชํ กโรนฺติ นาม "

" ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความจงรักภักดีในเรา จงเจริญกรรมฐาน
เช่นกับพระมมารามนั่นเถิด เพราะว่าผู้ที่เอาดอกไม้ ของหอมเป็นต้น มาบูชาเรา ยังไม่ได้ชื่อว่า
บูชาเราอย่างแท้จริงเลย ส่วนผู้ที่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คอ เจริญกรรมฐาน สมควรแก่
มรรค ผล นิพพาน เท่านั้น จึงได้ชื่อว่า ได้บูชาเราอย่างแท้จริง "

ดังนี้แล้ว ทรงแสดงธรรมเทศนาอีกกัณฑ์หนึ่งว่า

" ธมฺมาราโม ธมฺมรโต ธมฺมํ อนุวิจินฺตย ธมฺมํ อนุสฺสรํ ภิกฺขุ สทฺธมฺมา น ปริหายติ "

" ภิกษุมีธรรมคือ สมถะและวิปัสสนา เป็นที่มา ยินดียิ่งในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา
คิดอยู่บ่อยๆ นึกถึงบ่อยๆ กระทำไว้ในใจบ่อยๆ อนุสรณ์ถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งสมถะและวิปัสสนานั้น
ย่อมไม่เสื่อมจากโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และไม่เสื่อมจาก โลกุตรธรรม ๙
คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ดังนี้ "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2010, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


กัมมัฏฐาน

กัมมัฏฐาน มาจากคำบาลีสองคำคือ กมฺม+ฐาน แปลความหมายตามอธิบายในคัมภีร์
ปรมัตถมัญชุสา และตามหลักในการปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนา

ที่ตั้งคือ เหตุที่ยังเกิดของ กรรม อันสมณะ ( หรือ โยคี ) พึงกระทำ
ที่ตั้งของกรรมคืออะไร? ท่านอาจารย์สุมังคละ ผู้รจนาคัมภีร์อภิธรรมมัตถวิภาวินี
อธิบายความว่า กัมมัฏฐานนั้น ได้แก่ อารมณ์ ที่ตั้งของการภาวนาอย่างหนึ่ง
และได้แก่ ภาวนาวิธีคือ วิธีการภาวนาอย่างหนึ่ง

อารมณ์ทางกัมมัฏฐาน หมายถึง เครื่องยึดหน่วงของจิตใจ

สมถกรรมฐาน มีบัญญัติเป็นอารมณ์ ใช้ในการบริกรรมภาวนา เช่น พุทโธ พองหนอ ยุบหนอ
ปฐวี-ดิน อาโ-น้ำ เป็นต้น หรืออารมณ์ที่เป็นอสุภะอื่นๆ รวม ๔๐ อย่าง

วิปัสสนา มีอารมณ์เป็นปรมัตถ์ สภาวธรรมทั้งหลายในสกลกายของเรา
กล่าวโดยย่อคือ นามและรูป หรือเบญจขันธ์ กับทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์
( คือ ความนึกคิด-ความรู้สึก ) หรืออัตภาพร่างกายนี้ นับเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ของวิปัสสนา

" รูปํ ภิกฺขเว โยนิโสมนสิการ รูปานิจฺจญญจ ยถาภูตํ สมนุปสฺสถ "
" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการตั้งสติกำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว
รูปนั้นเป็นอนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน "

" โผฏฐพฺเพ อนิจฺจโต ชานโต ปสฺสโต อวิชฺชา ปหียติ วิชฺชา อุปฺปชฺชติ
" โยคีบุคลลที่โผฏฐัพพาถูกต้องสัมผัสนั้น ตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยง
บุคคลนั้น อวิชชาหายไป วิชชาญาณปรากฏ "


การเจริญวิปสสนา คือ การกำหนดรูปนามเป็นอารมณ์ ถ้าผิดจากการกำหนดรูปนามเสียแล้ว ก็หาใช่วิปัสสนากัมมัฏฐานไม่

การกำหนดรูป ถ้ารูปใหญ่ไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อยที่สุด ให้กำหนดรูปที่ละเอียด ได้แก่
รูปที่ลมหายใจถูกต้อง คือ ลมหายใจเข้าออก ไปถูกที่ใดก็ให้กำหนดที่นั้น

ในที่นี้ สถานที่ลมหายใจถูกต้องอยู่เสมอนั้นมีอยู่ ๒ แห่ง คือ ที่จมูก และที่บริเวณท้อง
ใน ๒ แห่งนี้ ปรากฏว่า สำหรับที่จมูกจะกำหนดได้ชัดเจน ก็เพียงแต่ในระยะแรกเท่านั้น
ครั้นกำหนดนานเข้า เมื่อลมหายใจละเอียดลง จะปรากฏไม่ชัดเจน


ส่วนที่บริเวณท้อง ซึ่งมีอาการพอง-ยุบ นั้น กำหนดได้ชัดเจนสม่ำเสมอ ถึงจะนานเท่าใดก็กำหนดได้
และแสดงสภาวะชัดเจน บริเวณท้องนั้น พองก็ดี ยุบก็ดี ที่มีการเคลื่อนไหวชัดเจนนั้น เรียกว่า
วาโยโผฏฐัพพรูป ( คือ รูปที่ลมถูกต้อง )

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ

สมถะ มี ๒ แบบคือ

๑. ปริตตสมถะ แปลว่า สมถะเล็กน้อย ได้แก่ สมถะที่เจริญแล้ว มีสมาธิเกิดเพียง ๒ ชั้น คือ
ขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ เท่านั้น เช่นผู้ปฏิบัติไปสู่ป่าช้าแล้ว เอาร่างกระดูกเป็นอารมณ์
ภาวนาว่า " อิฏฐิสงฺขลิกํ ปฏิกูลํ " จนเกิดสมาธแล้ว พิจรณาว่า ร่างกระดูกนี้เป็นของไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วใช้สติกำหนดดูอาการที่ท้องพองยุบ ( เพราะเมื่อบริกรรมภาวนาหายไป
จิตจะนิ่ง สงบ แต่จะมีการเคลื่อนไหวของกายที่เห็นชัดคือ ท้องพองยุบ ให้นำจิตมารู้ตรงกายแทน )
จนกว่าจะเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ ได้มรรค ผล นิพพาน อย่างนี้เรียกว่า
" แบบสมถะก่อน แล้วต่อ วิปัสสนา "

๒.มหัคคตสมถะ แปลว่า สมถะที่ทำให้ดีจนถึงฌาน เช่น
เจริญอัฏสังขลิกอสุภะ ถึงฌาน ถึงอัปปนาสมาธิ เมื่อได้ฌานแล้ว ให้เอาฌานเป็นบาทต่อวิปัสสนา
จนเห็นความเกิดดับไปของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว เห็นทุกข์โทษของรูปนาม
เบื่อหน่ายรูปนาม อยากหลุดพ้นจากรูปนาม ตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ ใจวางเฉยอยู่กับรูปนาม
เห็นอริยสัจ ๔ รูปนามดับ ทำลายโคตรของปถุชนเข้าสู่โคตรของพระอริยเจ้า
ตัดกิเลสได้เป็นสมุจเฉทประหาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่า
เอา " สมถะที่ได้ฌานเป็นบาท แล้วต่อ วิปัสสนา "

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2010, 01:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา

แบบ วิปัสสนา มี ๓ คือ จุฬวิปัสสนามัชฌิมวิปัสสนา มหาวิปัสสนา

๑. จุฬวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาน้อยๆ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้ลงมือเจริญวิปัสสนา โดย กำหนดรูปนาม
ตามอาการที่เกิดขึ้นขณะปัจจุบัน เช่น ท้องพอง-ยุบ ลมหายใจเข้าออกที่กระทบจมูก เป็นต้น
จนเห็นรูปนาม เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง มีแต่สิ้นไป หมดไปฝ่ายเดียว
เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว เป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ และไม่มีสาระแก่นสารใดๆ

๒. มัชฌิมวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาอย่างกลาง ได้แก่ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ โดย
เดินจงกรมบ้าง นั่งกำหนดบ้าง กำหนดเวทนาบ้าง กำหนดจิตบ้าง กำหนดธรรมบ้าง
ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อันมีปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานนั่นเอง เห็นความเกิดดับของรูปนาม
คือ ญาณ ที่ ๔ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณ ที่ ๑๑

๓. มหาวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาใหญ่ คือ วิปัสสนาที่มีกำลังแก่กล้า สามารถเห็นอริยสัจ ๔
ซึ่งเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ และสามารถทำลายปุถุโคตร คือ โคตรของปถุชนอันหนาแน่น
ไปด้วยกิเลสตัณหาให้เบาบางลงไป รูปนามดับหมด ซึ่งเรียกว่า โคตรภูญาณ ต่อจากนั้น
มรรคญาณก็เกิดขึ้น ประหานกิเลสคือ สักายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ให้เด็ดขาดออกไป
แล้ว ปัจจเวกขณญาณ ก็เกิดขึ้นมาพิจรณากิเลสที่ละ ที่เหลือ มรรค ผล นิพพาน

ผู้ที่จะปฏิบัติให้ถึงมหาวิปัสสนานั้น จะต้องอาศัยคุณธรรมหลายอย่างมาเป็นเครื่องประคับประคอง
ให้การปฏิบัติได้ดำเนินไปถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ในปฏิสัมภิทามรรค
ท่านแสดงไว้มีอยู่หลายอย่าง จะได้ยกมาบรรยายพอเป็นตัวอย่างสัก ๑๑ ข้อ ดังต่อไปนี้

๑. ทัสสนะ มีความเห็นถูกเป็นลักษณะได้แก่ เห็นปัจจุบันธรรม เห็นรูปธรรม เห็นพระไตรลักษณ์เป็นต้น

๒. ปหานะ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ แล้วละโลภะ โทสะ โมหะ ได้ตามสัดส่วนแห่งการปฏิบัติ

๓. อุปัตถัมภนะ ต้องหมั่นบำเพ็ญไตรสิกขาให้แก่กล้า ดุจบุคคลหมั่นรดน้ำต้นไม้ในสวนของตน ฉะนั้น

๔. ปริยาทานะ ครอบงำกิเลส ด้วยไตรสกขา

๕. วิโสธนะ ชำระกิเลสให้หมดไปด้วย ศิล สมาธิ ปัญญา

๖. อธิษฐานะ ตั้งใจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่ย่อหย่อน

๗. โวทานะ ยังใจให้ผ่องแผ้วสะอาดปราศจากมลทิน ด้วย ศิล สมาธิ ปัญญา

๘. วิเสสาธิคมะ พยายามปฏิบัติเต็มที่ ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน จนสามารถบรรลุคุณธรรมวิเศษ
ตั้งแต่ต่ำจนถึงสูง

๙. ปฏิเวธะ ปฏิบัติต่อไปไม่ท้อถอย จนได้รู้แจ้งแทงตลอดอริยธรรม

๑๐. สัจจาภิสมยะ มีความบากบั่นมั่นอยู่ในศิล สมาธิ ปัญญา เป็นนิตย์ จนสามารถ
ได้รู้แจ้งเห็นจริงซึ่งทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

๑๑. ปติฏฐาปนะ สามารถยังจิตของตนให้ตั้งมั่นอยู่ในศิล สมาธิ ปัญญา จนกระทั่งถึงมรรค ผล
นิพพาน เป็นปริโยสาน

ทั้ง ๑๑ ข้อนี้ เมื่อย่อให้สั้นก็ได้แก่ ศิล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
ศิล สมาธิ ปัญญา ในที่นี้ ได้ปรมัตถ์ คือ รูปกับนามเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
ถ้าจะย่อให้สั้นกว่านี้ ได้แก่ ความไม่ประมาท

ความไม่ประมาท คือ มีสติอยู่เสมอ ไม่อยู่ปราศจากสติ จะมีสติอยู่เสมอได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔
โดยกำหนดรูปนาม รูปนามอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

อตฺถิ กาโย หมายความว่า สกลกายของผู้ปฏิบัติมีเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือ รูปกับนาม
แม้สกลกายของบุคคลทั่วโลกก็มีเพียง รูปกับนาม เท่านั้น เหมือนกันหมด ไม่มียกเว้นใครเลย

อนิสฺ สิโต หมายความว่า ไม่มีตัณหา ไม่มีมานะ ไม่มีทิฏฐิ เพราะการปฏิบัติของผู้นั้นได้ผลดีแล้ว

น จ กิญฺจิ หมายความว่า ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นรูปนาม เพราะละกิเลสได้แล้วตามส่วนของมรรค
มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น



สภาวะของ วิปัสสนา

วิปัสสนา มี 2 สภาวะ คือ

1. วิปัสสนา ที่ดูตามความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ตรงนี้ยังอาศัยบัญญัติอยู่ ถึงแม้จะเป็นการดูรูป,นามก็ตาม
ตราบใดที่รูป,นามที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ยังไม่ปรากฏ ยังถือว่า อาศัยบัญญัติอยู่

จุฬวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาน้อยๆ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติได้ลงมือเจริญวิปัสสนา โดย กำหนดรูปนาม
ตามอาการที่เกิดขึ้นขณะปัจจุบัน เช่น ท้องพอง-ยุบ ลมหายใจเข้าออกที่กระทบจมูก เป็นต้น
จนเห็นรูปนาม เห็นเหตุปัจจัยของรูปนาม เห็นรูปนามเป็นของไม่เที่ยง มีแต่สิ้นไป หมดไปฝ่ายเดียว
เป็นทุกข์ คือ ทนอยู่ไม่ได้ เป็นของน่ากลัว เป็นอนัตตา คือ บังคับบัญชาไม่ได้ และไม่มีสาระแก่นสารใดๆ


2.วิปัสสนาญาณ ตรงนี้จะเกิดในวิปัสสนาญาณเท่านั้น

มัชฌิมวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาอย่างกลาง ได้แก่ผู้ปฏิบัติตั้งใจปฏิบัติอย่างจริงๆ โดย
เดินจงกรมบ้าง นั่งกำหนดบ้าง กำหนดเวทนาบ้าง กำหนดจิตบ้าง กำหนดธรรมบ้าง
ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อันมีปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานนั่นเอง เห็นความเกิดดับของรูปนาม
คือ ญาณ ที่ ๔ เป็นต้นไป จนกระทั่งถึง สังขารุเปกขาญาณ คือ ญาณ ที่ ๑๑

มหาวิปัสสนา แปลว่า วิปัสสนาใหญ่ คือ วิปัสสนาที่มีกำลังแก่กล้า สามารถเห็นอริยสัจ ๔
ซึ่งเรียกว่า สัจจานุโลมิกญาณ และสามารถทำลายปุถุโคตร คือ โคตรของปถุชนอันหนาแน่น
ไปด้วยกิเลสตัณหาให้เบาบางลงไป รูปนามดับหมด ซึ่งเรียกว่า โคตรภูญาณ ต่อจากนั้น
มรรคญาณก็เกิดขึ้น ประหานกิเลสคือ สักายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ให้เด็ดขาดออกไป
แล้ว ปัจจเวกขณญาณ ก็เกิดขึ้นมาพิจรณากิเลสที่ละ ที่เหลือ มรรค ผล นิพพาน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 09 เม.ย. 2010, 20:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


แนวทางปฏิบัติ

" สเจ ปนสฺส เตน เตน มุเขน รูปํ ปริคฺคเหตฺวา อรูปํ ปริคฺคณฺหโต สุขุมตฺตา อรูปํ น อุปฏฐาติ เตน
ธุรนิกฺเขปํ อกตฺวา รูปเมว ปุนปฺปุนํ สมฺมสิตาพฺพํ มนสิกาตพฺพํ ปริคฺคเหตพฺพํ ววฏฐเปตพฺพํ ยถา ยถา
หิสฺสรูปํ สุวิกฺขาลิตํ โหติ นิชฺชฏํ สุปริสุทฺธํ ตถา ตถา ตทารมฺมณา อรูปธมฺมา สยเมว ปากฏา โหติ
"

แปลว่า หากโยคี กำหนดรูป โดยมุขนั้นๆแล้ว กำหนดอรูปแต่ยังไม่ปรากฏขึ้นมา เพราะอรูป
เป็นของละเอียดอ่อน โยคีผู้นั้นก็มิควรละเลิกกำหนดเสีย ควรพิจรณาใส่ใจใคร่ครวญ กำหนดรูปนั้นแหละ
ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า เพราะว่ารูปของโยคีที่ชำระล้างดีแล้ว สะสางออกดีแล้ว บิรสุทธิ์ดีแล้วด้วยอาการใดๆ
สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ ก็จะปรากฏขึ้นมาเองโดยแท้ด้วยอาการนั้นๆ



ตทารมฺมณา อรูปฺธมฺมา สยเมว ปากฏา โหตนฺติ

" สิ่งที่เป็นอรูปทั้งหลาย ซึ่งมีรูปนั้นเป็นอารมณ์ก็จะปรากฏขึ้นมาเอง "

เพราะตลอดเวลาปฏิบัติ จะมีสภาวะต่างๆเกิดและปรากฏให้เห็นในมโนทวารอยู่เนืองๆและตลอดไป



วิวิชากาเรน อนิจฺจาทิวาสน ปสฺสตีติ วิปสฺสนา

ปัญญาใด ย่อมพิจรณานามรูปโดยอาการต่างๆด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา ปัญญานั้นชื่อว่า วิปัสสนา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


มนสิการ แปลว่า ทำไว้ในใจ หรือใส่ใจ แยกออกเป็นสองอย่างคือ

๑. อุปายมนสิการ ทำไว้ในใจ จนพบช่องทางแห่งความสำเร็จ เช่น กำหนดตามแนว
แห่งสติปัฏฐาน ๔ คือ กำหนดกายบ้าง กำหนดเวทนาบ้าง กำหนดจิตบ้าง กำหนดธรรมบ้าง
เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดไปๆ ศิล สมาธิ ปัญญา ก็จะแก่กล้าขึ้นมาดดยลำดับๆไป วิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖
ก็จะดำเนินเต็มที่ จะละสักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เสียได้โดยอย่างเด็ดขาด
เป็นสมุจเฉทปหาน อย่างนี้ชื่อว่า พบช่องทางแห่งความสำเร็จแล้ว



๒. ปถมนสิการ ทำไว้ในใจ จนพบช่องทางไปสู่ทางดับทุกข์ ดับกิเลส จนพบทางเดิน
ของพระอริยเจ้า คือ จนเข้าถึงซึ่งพระอมตะมหานฤนิพพานเป็นวาระสุดท้าย ที่เกิดมีอยู่แล้ว
ก็ย่อมเจริญยิ่งๆขึ้นไป จนทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้สิ้นอาสวกิเลส สิ้นทุกข์ สิ้นภพชาติ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2010, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5976

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


การพิจรณา มี 2 ภาค

การพิจรณานั้น มีวิธีปฏิบัติแบ่งออกเป็น ๒ ภาค คือ ภาคธรรมดา ๑ ภาคสภาวะ ๑

ภาคธรรมดา ได้แก่ การพิจรณาตั้งแต่ขณะเริ่มแสวงหา ขณะรับ ขณะบริโภค บริโภคแล้ว
ตัวอย่างในการพิจรณาปัจจัย ๔ ตามพระบาลีดังนี้คือ

๑. พิจรณาจีวร " ปฏิงฺขา โยนิโส จีวรํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้วเสพจีวร
เพียงเพื่อบำบัดหนาว บำบัดร้อน บำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อคลานทั้งหลาย
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ทำให้เกิดความละอาย

๒. พิจรณาอาหาร ว่า " ปฏิสงฺขา โยนิโส ปิณฑปาตํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้ว
เสพบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อให้กายตั้งอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์
แก่การประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักระงับเวทนาเก่าเสียได้ ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
เราจักเป็นไป เราจักไม่มีโทษ เราจักผาสุขเพราะอย่างนี้

๓.พิจรณาที่อยู่ ว่า " ปฏิสงฺขา โยบิโส เสนาสนํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณาโดยแยบคายแล้วเสพเสนาสนะ
เพียงเพื่อบำบัดความหนาว บำบัดความร้อน บำบัดสัมผัสเหลือบ ยุง ลม แดด สัตว์เลื้อยคลาน
เพื่อบรรเทาอันตรายแก่ฤดู และพอใจในการหลีกเร้นสำหรับภาวนา

๔. พิจรณายาแก้ไข้ ว่า " ปฏิสงฺขา โยนิโส คิลานปจฺจยเภสชฺช ปริกฺขารํ ปฏิเสวามิ " เราพิจรณา
โดยแยบคายแล้วเสพยาเป็นปัจจัยสำหรับแก้ไข้ เพียงเพื่อบำบัดเวทนา อันเกิดแต่อาพาธต่างๆ
ที่เกิดขึ้นแล้ว และเพื่อความเป็นผู้ไม่มีความลำบาก

ทั้ง ๔ ข้อนี้ ใช้พิจรณาในขณะที่กำลังใช้สอย กำลังบริโภคอยู่ แม้บริโภคแล้วก็พิจรณาอีก ๔ ข้อ
เช่นกัน มีคำว่า " อชฺช อปจฺจเวกฺขิตฺวา ยํ จีววรํ ปริภุตฺตํ " เป็นต้น ใจความว่า

" จีวรใด อันเราได้พิจรณาแล้ว บริโภคแล้ว ในวันนี้ จีวรนั้น เราบริโภคแล้ว เพียงเพื่อบำบัดหนาว
บำบัดร้อน " ดังนี้เป็นต้น

๒. ภาคสภาวะ จะได้ยกมาพอเป็นตัวอย่าง เช่น ในเวลาบริโภคอาหาร ให้พิจรณาตั้งแต่ตาเห็น
ใจนึกอยากเคลื่อนอวัยวะไปจับ ถูก ยกขึ้นมา อ้าปาก อม เยว ถ้ารสปรากฏ ก็หยุดกำหนดรสเสียก่อน
แล้วจึงเคี้ยวต่อไปได้ กลืนลงไปในท้องก็ให้กำหนด หมดแล้วก็ให้กำหนด จะเอาใหม่อีกก็ให้กำหนด
ให้พิจรณาอย่างนีทุกๆคำข้าวที่เราบริโภค เพื่อให้ทันปัจจุบันเห็นรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ได้มรรค
ผล นิพพาน

อย่างนี้ เรียกว่าภาคสภาวะ พิจรณาภาคสภาวะ คือ พิจรณาโดยวิธีวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง
ในขณะที่กำลังพิจรณาดังกล่าวนี้ กายกรรม วจีกรรม มดนกรรม บริสุทธิ์ จัดเป็นศิล ศิลอย่างนี้
จัดเป็นศิลบริสุทธิ์ เพราะเกิดกับสมาธิปัญญา ศิลบริสุทธิ์อย่างนี้ เกิดขึ้นเพราะการพิจรณาปัจจัย ๔
ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ แปลว่า บริสุทธิ์ด้วยการพิจรณา

ศิลมีกำหนดคือ นับจำนวนได้ ได้แก่ศิล ๕ - ๖ - ๘ - ๑๐ และศิลที่บริสุทธิ์ดีด้วย
เรียกว่า ปริยันตปาริสุทธิ์

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 260 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 18  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร