วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 11:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ธ.ค. 2009, 13:40
โพสต์: 26

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เหมือนเคยได้ยินหลวงปู่ครูบาอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า
การทำบุญกุศล
เปรียบดังการดำนา
เพิ่งปักต้นกล้าดำนาจะหาผลอะไรจากต้นกล้านั้น
เพิ่งปักดำลงไปก็คิดจะเด็ดใบมันไปกินซะแล้ว
แล้วมันจะเหลือรอดออกเป็นรวงได้อย่างไร

.....................................................
นโม เม สพฺพอริยสํฆานํ
ขอผูกขาดจองขาดในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไปทุกภพทุกชาติ
จนกว่าจะสิ้นภพสิ้นชาติ
ขอนอบน้อมนมัสการธรรม องค์หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ด้วยเศียรเกล้า


แก้ไขล่าสุดโดย ผู้ศรัทธา เมื่อ 29 ม.ค. 2010, 11:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2010, 23:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ต.ค. 2009, 13:53
โพสต์: 95

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


spata300 เขียน:
อยากสวดมนต์บทไหน ก็สวดไปเถอะ
อยากทำบุญแบบไหน ก็ทำไปเถอะ
อยากทำดีแค่ไหน ก็ทำไปเถอะ

อยากฆ่าสัตว์ ก็อย่าฆ่า
อยากขโมย ก็อย่าขโมย
อยากผิดลูกเมีย-ผัวเขา ก็อย่าผิด
อยากโกหก ก็อย่าปด
อยากกินเหล้า ก็อย่ากิน


เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 03:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การสวดมนต์เป็นไปเพื่อสร้างสมาธิค่ะ แล้วก็ระลึกถึงคุณแห่งพระรัตนตรัยให้จิตรับรู้ บทสวดก็ทั่วไปค่ัะ จุฬาภินันท์สวด

อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง/ธัมมัง/สังฆ้ง อภิปูชยามิ

นะโม

ขอขมาพระรัตนตรัย
วันทามิ พุทธัง/ธัมมัง/สังฆ้ง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเมภันเต

นะโม

อาราธนาศีล
มะยังภันเต...

นะโม

สมาทานศีล
พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ...

ศีล ๕

บูชาพระรัตนตรัย
อิติปิโส...

โพชฌงค์ แค่วรรคแรก
โพฌังโค สติสังขาโต...

ชินบัญขร

พาหุงมหากา

แผ่เมตตา

แผ่ส่วนบุญส่วนกุศล


ตามลำดับน่ะค่ะ แต่ชินบัญชระพาหุงมหากา ก็แล้วแต่ค่ะ สวดก็ได้ ไม่สวดก็ได้ เอาความสบายใจของตัวผู้สวดค่ะ อย่าบังคับตัวเองเพราะนั่นขัดกับความพอกีของทางสายหลางน่ะค่ะ

ส่วนเบิกบุญ ก็อาราธนาศีล สมาทานศีล แล้วก็ศีลห้า ไงคะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2010, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
LOCOMOTIVEgเขียน: เคยอ่านเรื่องเบิกบุญของ...(ไม่ขอเอ่ยนาม) อ่านแล้วก็จะทำให้ผู้ด้อยปัญญาอย่างเราถลำลึกจนถึงขั้นเพี้ยนได้ ยกตัวอย่างเช่น การอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร เขาบอกว่าต้องอุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรแบบเจาะจงตรงประเด็นคือ ขออุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เราเป็นโรค...(โรคอะไรก็ว่าไป) ขออุทิศบุญกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรที่ทำให้เราเป็น...(เป็นอะไรก็ว่าไป) แรกๆก็เชื่อแต่พอนานไปก็ชักสงสัยว่ามีอย่างนี้ด้วยหรือ? เลยคิดต่อไปเองว่าเบิกบุญเปรียบเสมือนเบิกเงินและทำบุญเปรียบเสมือนฝากเงินหรือเปล่า? ถ้าเป็นจริงดั่งคิด...งั้นฝากเงินดีกว่าถึงแม้ดอกเบี้ยจะน้อย แต่นานวันไปคงจะเพิ่มพูนขึ้นเองมั้ง


อ้างคำพูด:
taktay เขียน: ศาสนาอะไร? นิกายไหนค่ะ?
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเรามีบุญแค่ไหน? เบิกได้ครั้งละเท่าไหร่?
เหลืออีกเท่าไหร่? จะเบิกได้อีกนานแค่ไหน?......


:b32: :b32: :b32: ....น่าสงสารจังไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ ของพระพุทธเจ้าสมณโคดมเลยไม่ทราบไม่รู้ว่า ทำได้อย่างไร ...ต้องพิสูจน์เท่านั้น :b4: http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=448.0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 00:08
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากให้รู้คำแปลด้วยนะครับ บางทีที่เราท่องๆๆสวดๆๆ เป็นนกแก้วนกขุนทองไป ได้สติแล้วต้องได้ปัญญาด้วยนะถึงจะเหาะสม อิอิ
ส่วน เรื่องการทำบุญ นั้นเป็นเรื่องที่ดีนะคับ จะดีมากดีน้อยให้ดูที่ประโยชน์ว่าเป็นประโยชน์แก่คนส่วนรวมใหม่ ก็ง่ายๆลองคิดดูว่าถ้าเราทำบุญกับพระ อรหันต์ทำไมบุญเยอะกว่าทำกับพระทั่วๆไป ก็เพราะว่าท่านจะได้ไปเผยแผ่ ไปโปรดให้บุคลที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้พ้นทกข์ เวลาเราไปทำบุญก็ควรบอกคนโน้นๆคนนี้เพื่อให้เขาเิกิดใจ มุทิตา เขาเองก็มีความสุขไปกับเรา เรื่องบุญนั้นสามารถแผ่ไปได้ไกล้ยิ่งบอกยิ่งเผยแพร่ก็จะมีคนมีความสุขมากขึ้นนะคับ อิิอิ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ไม่ว่าจะเบิกบุญ โอนบุญ ทำอะไรกับบุญก็ตามที
ถ้าแม้นจะเป้นจริงไม่จริงก้ตาม ข้าพเจ้าว่า ต้องมีสิ่งที่จะเบิก สิ่งที่จะโอนเสียก่อน
นั่นคือบุญ

ต้องรู้จักบุญอย่างถ่องแท้เสียก่อน
จึงจะทำอะไรต่อมิอะไรกับบุญได้นะ
ข้าพเจ้าว่าอย่างนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย ชาติสยาม เมื่อ 04 ก.พ. 2010, 12:52, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2010, 12:33
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำให้กิเลสในใจเรา ลดลง เรียกว่า บุญ

การทำให้กิเลสในใจเรา เพิ่มขึ้น เรียกว่า บาป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2010, 22:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


เอ... :b14:
ผมศึกษามาไม่ดีหรือเปล่านะ พยายามค้นคว้าแล้ว
ไม่เห็นมีกล่าวไว้ที่ไหนเลยเรื่องเบิกบุญ
เห็นจะมีรุ่นหลังๆ ทำเหมือนบุญเป็นของใช้เลย เบิกได้ด้วย
อีกหน่อยก็คงกู้บุญหรือมีหุ้นบุญแน่เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2010, 10:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 15:33
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ชาติสยาม เขียน; ไม่ว่าจะเบิกบุญ โอนบุญ ทำอะไรกับบุญก็ตามที
ถ้าแม้นจะเป้นจริงไม่จริงก้ตาม ข้าพเจ้าว่า ต้องมีสิ่งที่จะเบิก สิ่งที่จะโอนเสียก่อน
นั่นคือบุญ

ต้องรู้จักบุญอย่างถ่องแท้เสียก่อน
จึงจะทำอะไรต่อมิอะไรกับบุญได้นะ
ข้าพเจ้าว่าอย่างนั้น


บุญ คือ..........ขอตอบตามคำสอนศาสนาพุทธในพระไตรปิฎก จะไม่เอาความเห็นของตัวเองมาตอบหรอก เพราะกลัวผิดพลาด...ในการให้ความเห็น..ขอให้ท่านชาวพุทธทั้งหลาย ต้องขยันอ่านมาก ๆ ซึ่งการอ่าน ก็เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมาได้เหมือนกัน ....และก็ไม่ได้มาขัดแย้งความรู้สึกกับท่านชาติสยามแต่อย่างใด ก็เพียงนำความรู้จากพระไตรปิฎก มาให้สาธุชนชาวพุทธทั้งหลายได้อ่านศึกษากันเท่านั้นเอง เพื่อความเจริญในธรรมในพระศาสนาต่อไป

ฆราวาสชาวพุทธน่าจะเอาอย่างนาย ทีฆชาณุ (เพราะรู้จักกำลังเจ้าของ)
เล่ม 37 หน้า 560

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมแห่งชาวโกลิยะ ชื่อ กักกรปัตตะ ใกล้เมืองโกลิยะ
ครั้งนั้นแลโกลิยบุตรชื่อ ทีฆชาณุ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ ยังบริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอนเบียดบุตร (ภรรยา)
ใช้จันทร์ในแคว้นกาสี ยังทรงดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ยังยินดีเงินและทองอยู่
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมที่เหมาะแก่ข้าพระองค์
อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในปัจจุบัน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์
เพื่อความสุขในปัจจุบันแก่กุลบุตร ๔ ประการเป็นไฉน คือ

อุฏฐานสัมปทา ๑ (ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร)
อารักขาสัมปทา ๑ (ความถึงพร้อมด้วยการรักษาป้องกัน)
กัลยาณมิตตตา ๑ (การคบคนดี - ไม่คบคนชั่ว)
สมชีวิตา ๑ (เลี้ยงชีวิตด้วยความพอดี)

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อุฏฐานสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยการหมั่นประกอบการงาน คือ
กสิกรรม พาณิชยกรรม โครักขกรรม (เลี้ยงวัว) รับราชการฝ่ายทหาร รับราชการฝ่ายพลเรือน
หรือศิลปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น
ประกอบด้วยปัญญาเครื่องสอดส่องอันเป็นอุบายในการงานนั้น
สามารถจัดทำได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา.


ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็อารักขสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีโภคทรัพย์หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
สั่งสมด้วยกำลังแขน เหงื่อโทรมตัว ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เขารักษาคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้น
ไว้พร้อมมูล ด้วยทำไว้ในใจว่าไฉนหนอ พระราชาไม่พึงริบโภคทรัพย์เหล่านี้ของเรา โจรไม่พึงลัก
ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่พึงลักไป ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็กัลยาณมิตตตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ อยู่อาศัยในบ้านหรือนิคมใด
ย่อมดำรงตน เจรจา สั่ง สนทนากับบุคคลในบ้านหรือนิคมนั้น ซึ่งเป็นคฤหบดี
หรือบุตรคฤหบดี เป็นคนหนุ่มหรือคนแก่ ผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ (มีความประพฤติดีงาม)
ผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ศึกษาศรัทธาสัมปทาตามผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ
ศึกษาปัญญาสัมปทาตามผู้พึงพร้อมด้วยปัญญาดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สมชีวิตาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ รู้ทางเจริญแห่งทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว
เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย
และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้ ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือ
ลูกมือคนชั่งตราชั่ง ยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมลดออกเท่านี้ หรือต้องเพิ่มเข้าเท่านี้ ฉันใด
กุลบุตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ถ้ากุลบุตรผู้นี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างโอ่อ่า จะมีผู้ว่าเขาว่า
กุลบุตรผู้นี้ใช้โภคทรัพย์เหมือนคนเคี้ยวกินผลมะเดื่อ ฉะนั้น
ก็ถ้ากุลบุตรเป็นผู้ที่มีรายได้มาก แต่เลี้ยงชีพอย่างฝืดเคือง จะมีผู้ว่าเขาว่า กุลบุตรผู้นี้จักตายอย่างอนาถา
แต่เพราะกุลบุตรผู้นี้ รู้ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์แล้ว เลี้ยงชีพพอเหมาะ ไม่ให้ฟูมฟายนัก
ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า รายได้ของเราจักต้องเหนือรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักต้องไม่เหนือรายได้
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า สมชีวิตา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้วย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ
เป็นนักเลงหญิง ๑
เป็นนักเลงสุรา ๑
เป็นนักเลงการพนัน ๑
มีมิตรชั่ว สหายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง
บุรุษพึงปิดทางไหลเข้า เปิดทางไหลออกของสระนั้น ฝนก็มิตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้
สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเสื่อมอย่างเดียว ไม่มีความเจริญเลย ฉันใด
โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเสื่อม ๔ ประการ คือ เป็นนักเลงหญิง ๑
เป็นนักเลงสุรา ๑ เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรชั่ว หลายชั่ว เพื่อนชั่ว ๑.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมมีความเจริญ ๔ ประการ คือ
ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑
ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑
ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑
มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ เปรียบเหมือนสระน้ำใหญ่ มีทางไหลเข้า ๔ ทาง มีทางไหลออก ๔ ทาง
บุรุษพึงเปิดทางไหลเข้า ปิดทางไหลออกของสระนั้น ทั้งฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล ด้วยประการฉะนี้
สระน้ำใหญ่นั้นพึงหวังความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ฉันใด
โภคทรัพย์ที่เกิดโดยชอบอย่างนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมมีทางเจริญ ๔ ประการ คือ
ไม่เป็นนักเลงหญิง ๑ ไม่เป็นนักเลงสุรา ๑ ไม่เป็นนักเลงการพนัน ๑ มีมิตรดี สหายดี เพื่อนดี ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข ในปัจจุบันแก่กุลบุตร.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ธรรม ๔ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สัทธาสัมปทา ๑ (ความถึงพร้อมด้วยความศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างถูกต้อง)
สีลสัมปทา ๑ (ความถึงพร้อมด้วยการรักษาศีล)
จาคสัมปทา ๑ (ความถึงพร้อมด้วยการให้ทาน)
ปัญญาสัมปทา ๑ (ความถึงพร้อมแห่งปัญญา)

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็สัทธาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้มีศรัทธาคือ
เชื่ออพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ
เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าสัทธาสัมปทา.

ดูก่อนภิกษุพยัคฆปัชชะ สีลสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้
ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ๑ เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทาน ๑ เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ๑
เป็นผู้งดเว้นจากมุสาวาท ๑ เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็จาคสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ มีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน
มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะ ก็ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน กุลบุตรในโลกนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ
ประกอบด้วยปัญญาที่เห็นความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ
ดูก่อนพยัคฆปัชชะ นี้เรียกว่าปัญญาสัมปทา ดูก่อนพยัคฆปัชชะธรรม ๔ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในภายหน้าแก่กุลบุตร.

คนหมั่นในการทำงาน ไม่ประมาท จัดการงานเหมาะสม เลี้ยงชีพพอเหมาะ รักษาทรัพย์ที่หามาได้
มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล รู้ถ้อยคำปราศจากความตระหนี่ ชำระทางสัมปรายิก (ในภพหน้า)
ประโยชน์เป็นนิตย์ ธรรม ๘ ประการดังกล่าวนี้ ของผู้ครองเรือน ผู้มีศรัทธา
อันพระพุทธเจ้าผู้มีพระนามอันแท้จริงตรัสว่า นำสุขมาให้ในโลกทั้งสอง
คือ ประโยชน์ในปัจจุบันนี้และความสุขในภายหน้า
บุญ คือ จาคะนี้ย่อมเจริญแก่คฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้.




เล่ม 36 หน้า 146

.....ดูก่อนมหานามะ ธรรม ๕ ประการมีอยู่แก่กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง
เป็นขัตติยราช (กษัตริย์) ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม
ผู้ปกครองรัฐ ซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม
เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม
เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม
หัวหน้าพวกก็ตาม
ผู้เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม
กุลบุตรนั้นพึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนมหานามะ กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชามารดาบิดา
ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ
ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม มารดาบิดาผู้ได้รับการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์
กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน
กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้
ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ
ชอบธรรม ได้มาโดยชอบธรรม บุตร ภริยา ทาส กรรมกร และคนใช้ ผู้ได้รับสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า
ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันบุตร ภริยา ทาส กรรมกร และคนใช้อนุเคราะห์แล้ว
พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เพื่อนชาวนาและคนที่ร่วมงาน
ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ
ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน
กุลบุตรผู้อันเพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เทวดาผู้รับพลีกรรม (ทำบุญให้เทวดา)
ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้น ด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ
ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เทวดาผู้รับพลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน
กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สมณพราหมณ์
ด้วยโภคทรัพย์ที่หาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ
ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม สมณพราหมณ์ ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว
ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน
กุลบุตรอันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

ดูก่อนมหานามะ ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมมีอยู่แก่กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง
เป็นขัตติยราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกก็ตาม
ผู้ปกครองรัฐ ซึ่งได้รับมรดกจากบิดาก็ตาม
เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม
ผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม
หัวหน้าพวกก็ตาม
ผู้เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม.

กุลบุตรผู้โอบอ้อมอารี มีศีล ย่อมทำการงานแทนมารดาบิดา บำเพ็ญประโยชน์แก่บุตร ภริยา
แก่ชนภายในครอบครัว แก่ผู้อาศัยเลี้ยงชีพ แก่ชนทั้งสองประเภท กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิต
เมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม ย่อมยังความยินดีให้เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไป ทั้งที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
แก่สมณพราหมณ์ เทวดา กุลบุตรนั้นครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรมแล้ว
เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละโลกนี้ไปแล้ว
ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.

อยากจะได้สิ่งใดๆ ให้อาศัยการกระทำที่ถูกต้อง ไม่ใช่อ้อนวอนเพื่อขอพรเสริมบารมี
เล่ม 36 หน้า 97

ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุข ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก.

ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา (อย่างเดียว)
ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก
จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุหรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุ
อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) อันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ
ที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้น
ย่อมได้อายุที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะหรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ
อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้นย่อมได้วรรณะที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข
อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์หรือของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือแม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ
พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์

อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งสวรรค์
อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์
ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้วย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์.

ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิดในตระกูลสูง และความเพลินใจ
พึงทำความไม่ประมาทให้มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาทในการทำบุญ
บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและประโยชน์
ในสัมปรายภพ (ภพหน้า) ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุถึงประโยชน์ทั้งสองนั้น.

บทว่า อายุสํวตฺตนิกา ปฏิปทา ได้แก่ ปฏิปทาทางบุญ ซึ่งมีทานและศีล เป็นต้น.

เมื่ออ่านพระไตรปิฎกแล้ว หวังว่าท่านชาวพุทธทั้งหลาย คงจะเข้าใจคำว่าบุญมากพอสมควร ... :b8:


อ้างคำพูด:
กามโภคีเขียน : เอ...
ผมศึกษามาไม่ดีหรือเปล่านะ พยายามค้นคว้าแล้ว
ไม่เห็นมีกล่าวไว้ที่ไหนเลยเรื่องเบิกบุญ
เห็นจะมีรุ่นหลังๆ ทำเหมือนบุญเป็นของใช้เลย เบิกได้ด้วย
อีกหน่อยก็คงกู้บุญหรือมีหุ้นบุญแน่เลย


เอ้อ....ก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะพระไตรปิฎกมีตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ และที่นำมาสอนกันปัจจุบันนี้มีอยู่หลายชุด และหลากหลายพระสูตร มากๆ โดยเฉพาะ ฉบับบ มมร ชุด 91 เล่ม ท่านกามฯ อ่านหมดหรือยัง

หรือท่านกามฯเอาพระไตรปิฎก ฉบับบาลีมาแปลเป็นภาษาไทยเอง อาจจะให้คำความเห็นที่แตกต่างจาก ฉบับที่มีการแปลเป็นหมู่คณะอย่าง ฉบับ มมร.ชุด 91 เล่ม และได้นำคำอธิบายข้อสงสัยของท่านกามฯไว้ข้างล่างนี้เพื่อเป็นประโยชน์อันสูงสุดต่อสาธุชนชาวพุทธ...ทั้งหลาย
แต่ในความรู้ทางพุทธศาสนานั้น ก็เคยได้ยินบ่อย ๆ กับคำนี้เสมอ ๆ
“ขออำนาจคุณแห่งพระรัตนตรัย จงคุ้มครองและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่าน(ว่าไปกัน)..เทอญ.”

แต่จะมาเปลี่ยนเป็น
“ขออำนาจพุทธ ธรรม สงฆ์ จงบันดาลบุญข้าให้ญาติ ให้เทพที่รักษา ให้นายเวร ให้เชื้อโรค ของข้า”

คิดระลึกให้ได้วันละ 100- 10,000 รอบ บ้างไม่ได้หรือ มันผิดแผกกันตรงไหน เสียหายในพระศาสนาตรงไหน อย่างไร อะไรหรือท่านกามฯ....(ขอคำอธิบาย)
และ ก็การสอนนั่งสมาธิ ภาวนาตามสถานที่สอนธรรมและวัดต่าง ๆ ก็จะใช้คำว่า

” พุทโธ “ หรือ “สัมมาอะระหัง”.....

อย่างนี้มิใช่หรือ แต่..เราจะคิดมาเปลี่ยนเป็นคำระลึกแบบนี่ ที่กล่าวมาแล้วนั้น และก็ไม่ต้องไปนั่งสมาธิ หรือภาวนา ที่ไหนเลย คิดระลึกได้ตลอดทุกอิริยาบท ....มันเสียหายอย่างไร...? ผิดแผกไปท่านกามฯ รับไม่ได้เชียวหรือ......และข้างล่างนี้จะเป็นคำอธิบาย เรื่อบุญ การอุทิศบุญ การเบิกบุญตามเวปลิงค์ที่แนะนำมา เพื่อการศึกษาพระศาสนาพุทธอีกแง่มุมหนึ่งที่น่าสนใจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธ โดยไม่ต้องยุ่งยากลำบากใจเลย ง่าย ๆ ปฏิบัติง่าย เห็นผลง่าย โดยไม่เปลืองสตางค์เพื่อไปทำบุญ...แล้วได้บาป...ติดตัวตามมาให้ร้อนใจทีหลัง..



นี้คือตัวอย่าง ของเบิกบุญ โอนบุญ อุทิศบุญ คำว่า ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
เป็นข้อที่ 6 ในบุญกิริยาวัตถุ 10 คงจะเคยได้ยินมาบ้าง
เปรียบเทียบกับคำอธิบายจากพระไตรปิฎก จากเล่ม 75 หน้า 429 มีดังนี้

ถามว่า ก็เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญนี้ บุญย่อมไม่หมดไปหรือ ?
ตอบว่า ย่อมไม่หมดไป เหมือนอย่างว่า บุคคลตามประทีปให้โพลงอยู่หนึ่งดวง
แล้วก็ยังประทีปหนึ่งพันดวงให้สว่างโพลงได้เพราะประทีปหนึ่งดวงนั้น ใคร ๆ ไม่พึงพูดได้ว่า
ประทีป ดวงแรกสิ้นไปแล้ว แต่ว่าแสงสว่างแห่งประทีปดวงหลัง ๆ กับประทีปดวงแรกรวมกันแล้วก็เป็นแสงสว่างมากยิ่ง ฉันใด เมื่อบุคคลให้อยู่ซึ่งส่วนบุญก็ฉันนั้นเหมือนกัน ชื่อว่าบุญทั้งหลายที่จะลดลงไปย่อมไม่มี พึงทราบว่า ย่อมมีแต่เจริญขึ้นเท่านั้น. และอ่านศึกษาเพิ่มเติมได้ที่

http://www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1651.0


แก้ไขล่าสุดโดย keaksim เมื่อ 05 ก.พ. 2010, 10:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร