วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 01:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




19564.jpg
19564.jpg [ 27.57 KiB | เปิดดู 1838 ครั้ง ]
เมื่อเรารู้แนวปฏิบัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกดังกล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว เรามีหน้าที่จะต้องพิจารณาไตร่ตรองดูว่า เราจะทำอย่างไร เราเพียงท่องจำ อิติปิโส ภควาฯ ไว้กระนั้นหรือ หรือจะพยายามนึกคำแปลไว้ให้เข้าใจด้วย และระลึกถึงพระคุณเหล่านี้เนืองๆ ดังนี้หรือ เราไม่พึงกระทำอะไรยิ่งไปกว่านี้หรือ ในปัญหาเหล่านี้ขอให้เราส่งใจไประลึกถึงพระโอวาทในเรื่องบูชา บูชามี ๒ อย่าง อามิสบูชา คือ บูชาด้วยเครื่องสักการะอย่างหนึ่ง ปฏิบัติบูชา คือ บูชาด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง ในการบูชาทั้ง ๒ อย่างนี้พระองค์ทรงสรรเสริญว่าปฏิบัติบูชาดีกว่าอามิสบูชา เมื่อคิดทบทวนดูเหตุผลในพระโอวาทข้อนี้แล้ว เราจะเห็นได้ชัดทีเดียวว่าพระองค์มีพระประสงค์จะให้พวกเรามีความเพียรพยายามปฏิบัติเจริญรอยตามพระองค์มากกว่าที่จะมามัวบูชาพระองค์อยู่ หาไม่พระองค์จะตรัสเช่นนั้นทำไม และโดยนัยอันนี้เอง จึงเป็นที่เห็นได้ว่าแม้เวลานี้จะเป็นกาลล่วงมาช้านานจากที่พระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรเป็นข้อห้ามว่าผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผลอย่างที่ท่านได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างของคนเกียจคร้าน ข้อนี้มีคำว่าอกาลิโก ในบทธรรมคุณนี้เองเป็นหลักฐานยันอยู่ว่าธรรมของพระองค์ ผู้ใดปฏิบัติตามย่อมจะเกิดผลทุกเมื่อ ไม่มีขีดขั้น พระอริยสาวกทั้งหลายนั้นฐานะเดิมก็เป็นมนุษย์ปุถุชนนี้เอง แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาก็เช่นกัน มิใช่เทวดา อินทร์ พรหม ที่ไหน แต่ที่เลื่อนขั้นฐานะเป็นพระอริยะได้ก็เพราะการปฏิบัติเท่านั้น แนวปฏิบัติอย่างไหนถูกพระองค์สอนไว้ละเอียดหมดแล้ว ปัญหาจึงเหลือแต่ว่าพวกเราจะปฏิบัติกันจริงหรือไม่เท่านั้น

ดังที่พรรณนามานี้ ก็จะเห็นคำตอบในปัญหาข้างต้นได้แล้วว่า เพียงแต่จะท่องจำอิติปิโส ภควาฯ ไว้ หรือเพียงแต่ระลึกถึงพระคุณเหล่านั้นไว้ จะยังไม่พอแก่พระประสงค์ของพระองค์ กิจที่เราควรทำอย่างยิ่งจึงอยู่ที่การปฏิบัติของท่านตามแนวปฏิบัติของท่าน

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา นี้เรียกว่า อิทธิบาท ๔ เห็นหัวใจแห่งความสำเร็จทั้งมวล แปลอย่างจำได้ง่ายว่า ปักใจ, บากบั่น, วิจารณ์, ทดลอง, ไม่ว่าจะทำกิจการใด ถ้าประกอบด้วย ๔ อย่างนี้เป็นสำเร็จทั้งสิ้น ว่าโดยเฉพาะในการบำเพ็ญภาวนา ๑, ต้องปักใจรักการนี้จริงๆ ประหนึ่งชายหนุ่มรักหญิงสาวใจจดจ่อต่อหญิงคู่รักฉะนั้น ๒, ต้องบากบั่นพากเพียรเอาจริงเอาจัง ๓, วิจารณ์ตรวจดูการปฏิบัติให้ถูกต้องตามแนวสอนของอาจารย์ให้ดีที่สุด ๔. ทดลองในที่นี่ได้แก่หมั่นใคร่ครวญสอดส่องดูว่า วิธีการที่ทำไปนั้นมีอะไรขาดตกบกพร่องบ้างรีบแก้ไข อย่างนั้นไม่ดีเปลี่ยนอย่างนี้ลองดูใหม่ เช่นนั่งภาวนาในที่นอนมักจะง่วงก็เปลี่ยนมานั่งเสียที่อื่น เป็นต้น ข้อสำคัญให้ยึดแนวสอนเป็นหลักไว้ อย่าออกนอกทาง ๔ อย่างนี้เรียกว่า อิทธิบาท เป็นเครื่องที่จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในกิจทั้งปวง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




13.jpg
13.jpg [ 21.98 KiB | เปิดดู 1837 ครั้ง ]
ว่าด้วยรัตนะ




รตฺตนตฺตยํ นั้น แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ สามรัตนะนี้ประเสริฐกว่าสวิญญญาณกรัตนะที่มีในไตรภพด้วยเป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก กามโลกมีรัตนะที่ใช้กันอยู่ เช่นเพชร หรือแก้วทั้งเป็นและตายที่เป็นดังรัตนะเจ็ดของจักรพรรดิ ที่ตายดังรัตนะที่นำมาจากต่างประเทศโดยมาก

รูปโลกก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขา
อรูปโลกก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขาดุจกัน ตั้งแต่เทวดาขึ้นไปมีรัตนะทั้งเป็นและตาย เป็นเครื่องให้เทวดา พรหม และอรูปพรหมอาศัยรัตนะเหล่านี้ และเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม ได้เท่ากำลังของรัตนะนั้นๆ ดังนี้เป็น รัตนะ ๓ ส่วนโลก ที่เกิดของ รัตนะ ๓
ส่วนธรรม ต้องบรรยายแต่เหตุไป รัตนะทั้ง ๓ นี้เป็นรัตนะที่เป็นไม่ใช่รัตนะที่ตาย แต่ที่เกิดรัตนะ ๓ นั้นทำให้มีขึ้นได้ด้วยความเพียรระวังกาย, วาจา, ใจ ให้บริสุทธิ์เพียรละ กาย, วาจา, ใจ, ไม่บริสุทธิ์เสีย เพียรทำกาย, วาจา, ใจ, บริสุทธิ์ให้เกิดมีขึ้น เพียรรักษา กาย, วาจา, ใจ, ที่บริสุทธิ์แล้วให้คงที่และทวีขึ้น ความที่มีขึ้นแล้วแห่งความบริสุทธิ์นั้นให้รักษาไว้อย่าให้หายไปเสีย นึกถึงความบริสุทธิ์นั้นแหละร่ำไป จนใจของตนบริสุทธิ์เหมือนกับความบริสุทธิ์แล้ว ก็จะเห็นความบริสุทธิ์ใสปรากฏอยู่ตรงกลางของกายมนุษย์เหนือสะดือขึ้นมาราว ๒ นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่าศูนย์ เป็นดวงประมาณเท่าฟองไข่แดงใสบริสุทธิ์ดุจกระจกที่ส่องดูหน้าในเวลาแต่งหน้าและแต่งตัวประมาณของดวงไม่คงที่ บางทีโตกว่าเล็กกว่าก็ได้อย่างโตไม่เกินดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อย่างเล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน นี้เป็นเครื่องกำหนดของดวง ดวงนั้นแหละคือปฐมมรรค
จำเดิมแต่เห็นดวงปฐมมรรคแล้วให้เอาใจของตนจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงนั้นเสมอในอริยาบถทั้ง ๔ จนกระทั่งใจของตนนั้นไม่ไปจรดในที่อื่น หยุดอยู่ที่กลางดวงของปฐมมรรคเสมอ
เมื่อใจหยุดได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับใจนั้นเข้าไปในศูนย์กลางของดวงก็จะเห็นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรที่ศูนย์กลางของดวงนั้น
ในเมื่อส่งรู้เข้าไปในกลางว่างเต็ม ทั้งคิด ทั้งจำ ทั้งเห็นแล้ว ก็จะเห็นกายทิพย์ของตัวเองในกลางของว่างนั้น เห็นดังนี้ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือ กายทิพย์ในกายมนุษย์แล้วเข้าดูดวงปฐมมรรคในกายทิพย์ที่ตรงศูนย์ของกายทิพย์อีก ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกายทิพย์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้าอีก แล้วเอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางของดวง ทำแบบเดียวกับทำมาแล้ว ก็จะเห็นกายรูปพรหมในกลางของดวงนั้น กายนั้นเหมือนกายของตัวเองจึงใช้ได้
ถ้าไม่เหมือนกายของตนเองทำใหม่จนเห็นเหมือนกายของตนเองจริงๆ แล้ว ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือกายรูปพรหมในกายทิพย์ แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกลางกายรูปพรหมดุจที่เห็นมาแล้ว เอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางดวงก็จะเห็นกายอรูปพรหมในกลางดวงนั้น รูปเหมือนตัวเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนทำใหม่จนเหมือน แต่พอเหมือนแล้วใช้ได้ เรียกว่าเห็นกายในกาย คือเห็นกายอรูปพรหม แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายอรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นดวงใสในกลางกายอรูปพรหมดุจเห็นมาแล้ว เอาเห็น, จำ, คิด, รู้, จรดลงที่ศูนย์กลางดวงก็จะเห็นกายธรรมในกลางดวงนั้นรูปร่างเหมือนตัวเอง แต่ใสเหมือนดังแก้ว เกตุดอกบัวตูม แล้วเห็น, จำ, คิด, รู้, เข้าหยุดที่ศูนย์กลางของกายธรรม ที่ตรงนั้นเป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงไก่โตได้เล็กได้ ใสดุจเพชร ชื่อว่าธรรมสำหรับทำให้เป็นธรรมกาย
ธรรมสิ่งนี้แหละสำหรับรักษา เห็น, จำ, คิด, รู้, ให้บริสุทธิ์และให้หยุดด้วย ต้องให้หยุดให้มาที่สุดเท่าที่บังคับให้หยุดได้ หยุดให้มากที่สุดก็เจริญที่สุด หยุดต้องมีกลเม็ด หยุดดับหยาบไปหาละเอียดร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุดในหยุดนั้นและหนักขึ้นทุกที ไม่มีเวลาหย่อนจึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว ธรรมกายเป็นกายที่ ๕ นั้น เป็นกายสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าชื่อว่าอนุพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าตามเสด็จ พระพุทธเจ้า คำว่าพระพุทธเจ้ามีหลายจำพวก เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้าบ้าง ปัจเจกพุทธเจ้าบ้าง สาวกพุทธจ้าบ้าง สุตพุทธเจ้าบ้าง พหุสุตพุทธเจ้าบ้าง อนุพุทธเจ้าบ้าง ดังนี้ตรงกับกระแสพุทธฎีกาว่า เราตถาคตกล่าวว่า ท่านผู้สดับมากนั้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อว่าพหุสุตพุทธเจ้า เมื่อเป็นธรรมกาย คือเป็นพระพุทธเจ้าต้องเรียนวิชชาของพระพุทธเจ้าต่อไป

ถ้าจะเรียนต่อไปต้องรู้จักธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมดังแสดงมาแล้วข้างต้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ มีรูปพรรณสัณฐานสีสันวรรณะละม้ายคล้ายคลึงกัน ต่างกันแต่ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายโตมากกว่า แต่ส่วนเนื้อที่ละเอียด และความใสนั้นก็ละม้ายกันทั้ง ๔ กาย แต่กายธรรมละเอียดและใสกว่าทั้ง ๔ ส่วนที่ตั้งของธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ คือตรงกลางตัวตัดขาดแค่สะดือบังเวียนเข้าไปที่ศูนย์กลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้าย ขวา หน้า หลัง สำหรับสัตว์ที่จะไปเกิดมาเกิด ต้องอาศัยศูนย์กลางนั้นด้วยกันทั้งหมด จึงได้ชื่อว่าที่สิบ เทวดา, พรหม, อรูปพรหม, ตลอดพระนิพพาน ใช้เป็นแบบเดียวกันทั้งสิ้น ตรงที่สิบนั้นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์ หรือเมล็ดไทร เป็นอากาศว่าง เรียกว่ากำเนิดเดิมก็ถูก ที่กำเนินเดิมนั้นมีธรรมดวงหนึ่งเท่าฟองไข่แดงของไก่ สัณฐานกลมเนื้อละเอียดสีขาวใสหุ้มกำเนิดเดิมนั้นโดยรอบ กำเนิดเดิมนั้นอยู่ที่ศูนย์กลางข้างในพอดี ธรรมดวงนั้นแหละชื่อว่ามนุษยธรรม มนุษย์ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์อยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันทุกกายทั้งสุดหยาบ สุดละเอียด มีชื่อตามกายนั้นๆ เช่น ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าธรรมนี้ดับไป กายก็ต้องแตกจากกัน ตั้งอยู่ไม่ได้เพราะหมดธรรมที่รักษา เหมือนเครื่องยนต์ที่ปลดเอาหม้อไฟออกเสียเครื่องก็ต้องดับทันทีฉันนั้น

ถ้าธรรมกายจะทำวิชชาต่อไปต้องเอาเห็น, จำ, คิด, รู้, ของธรรมกายจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นก็ขยายส่วนออกไปประมาณวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก กลมโดยรอบ ๖ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจกเงาส่องหน้า ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น เหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจกเป็นบัลลังก์ จะไปไหนก็คล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ ๑ ถ้าจะทำต่อไป ธรรมกายต้องส่องเห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้าธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้น ก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก ปริมณฑลโดยรอบ ๖ วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจกเป็นบัลลังก์ ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้นเหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจก จะไปไหนคล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี่เป็นฌานที่ ๒ ถ้าจะทำต่อไปธรรมกายต้องส่องเห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้าธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ หรือที่ ๒ แล้วธรรมกายขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้นจะไปไหนคล่องแคล่วแหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ ๓ ถ้าจะทำต่อไปธรรมกายต้องส่องเห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ ๑ หรือที่ ๒ ที่ ๓ ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น จะไปทางไหนได้ตามใจนึก จบรูปณาน ทำอรูปฌานต่อไป ธรรมกายที่นั่งอยู่บนจตุตถฌานนั้นต้องส่องเห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดลงที่ตรงศูนย์ว่างกลางปฐมฌาน แต่พอถูกส่วนเข้าศูนย์ว่างกลางปฐมฌานนั้นก็จะขยายส่วนออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๘ ศอก โดยรอบ ๖ วา หนาหนึ่งคือ ใส, กายธรรมก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนศูนย์กลางของอรูปฌานแบบเดียวกันกับรูปฌาน นี่เรียกว่า อากาสานัญจายตนะ ทำต่อไปธรรมกายต้องส่องเห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดเข้าที่รู้ในว่างของศูนย์กลางทุติยฌานต่อพอถูกส่วนเข้า รู้ในศูนย์ว่างของทุติยฌานนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากับอากาสานัญจายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนกลางของวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ทำต่อไป ธรรมกายที่นั่งอยู่บนฌานนั้น ต้องเอาเห็น, จำ, คิด, รู้, เข้าไปจรดที่รู้อันละเอียด ในที่ว่างศูนย์กลางของตติยฌาน แต่พอถูกส่วนเข้า รู้อันละเอียดในตติยฌานนั้นก็ขยายส่วนออก ไปเท่ากันกับวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ทำต่อไปธรรมกายต้องเอา เห็น, จำ, คิด, รู้, ไปจรดเข้าที่เหตุว่างกลางของจตุตถฌานจรดเข้าที่ตรงรู้ก็ใช่ไม่รู้ก็ใช่ แต่พอถูกส่วนเข้า รู้ละเอียดและประณีตนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากันกับอากิญจัญญายตนฌานนั้น ธรรมกายขึ้นนั่งบนเนวสัญญายตนฌานนั้น เมื่อเข้าอนุโลมเป็นอย่างไร เมื่อจะปฏิโลมถอยกลับก็ต้องให้ตรงกับอนุโลม อย่าให้คลาดเคลื่อน ต้องให้ตรงเป็นแบบเดียวกันให้จงได้ จึงจะเป็นอันถูกต้องตามแบบธรรมกายนั้นแหละ ชื่อว่า โคตรภูบุคคล ถ้าจะให้เป็นอริยบุคคลต่อไป ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้นตาธรรมกายต้องดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิด, ของมนุษย์ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย, นิโรธ, มรรค, ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริงต้องดูไปอีกแต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายตกศูนย์วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๕ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๕ วา เป็นพระโสดา ทำต่อไปธรรมกายของพระโสดานั้นเข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้นต้องเอาตาธรรมกายของพระโสดาดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิด, ของเทวกาย เหตุให้เกิดและความดับ เหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริง ของทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค, ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริงต้องดูต่อไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้นธรรมกายของพระโสดาตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๑๐ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๐ วา เป็นพระสกทาคาทำต่อไป ธรรมกายของพระสกทาคานั้น เข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระสกทาคาดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิด, ของพรหมกาย เหตุให้เกิดและความดับ และเหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริง ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค, ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูต่อไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้นธรรมกายของพระสกทาคาก็ตกศูนย์วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๑๕ วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๑๕ วา เป็นพระอนาคา ทำต่อไป ธรรมกายของพระอนาคานั้น เข้าสมาบัติ ๘ ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระอนาคา ดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิด, ของอรูปพรหมกาย ทั้งเหตุให้เกิด และความดับทั้งเหตุให้ดับให้เห็นตามความเป็นจริง ของทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค, ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริงต้องดูไปอีกแต่พอเห็นถูกส่วนเข้าธรรมกายของพระอนาคาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น ๒๐ วา แล้วศูนย์นั้นหายวับกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก ๒๐ วา เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์นี้แล

ถ้าค้นคว้าหาให้เป็นขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดแนะนำสั่งสอนอย่างพระสิทธัตถะราชกุมารนั้น นั่นเป็นพระพุทธเจ้าในศาสนาของท่าน เป็นพระอรหันต์มากน้อยเท่าไร เป็นสาวกทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 07:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Upacut.jpg
Upacut.jpg [ 27.31 KiB | เปิดดู 1834 ครั้ง ]
ตั้งแต่ธรรมกายซึ่งเป็นกายที่ ๕ ตลอดจนถึงพระอรหันต์เป็นที่สุด นี่แหละเป็นตัวพระรัตนตรัย กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่ใช่รัตนตรัย จำเพาะแต่ธรรมกายอย่างเดียวเป็นตัวพระรัตนตรัย ในองค์ธรรมกายนั้นที่ตรงศูนย์กลางกายของธรรมกายนั้นมีธรรมดวงหนึ่ง คือธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมดวงนี้เป็นที่ตั้งที่หยุดของเห็น, จำ, คิด, รู้, ของธรรมกาย เห็น, จำ, คิด, รู้, ของธรรมกายไม่เผลอ หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเสมอไม่เผลอเลยนั้นเป็นอรหันต์ ตรงศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น เป็นศูนย์ว่างเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ตรงนั้นเป็นที่ตั้งที่อยู่ของเห็น, จำ, คิด, รู้, หยุดที่อื่นไม่ถูก ผิดศูนย์และไม่ถูกความจริงซึ่งเป็นทางไปของพระอริยะทั้งหลาย ธรรมกายนั้นมีเห็น, จำ, คิด, รู้, เหมือนกัน ทุกกาย เห็น, จำ, คิด, รู้ ก็ต้องมีดวงเป็นที่ตั้งเห็น, จำ, คิด, รู้, เป็นที่ตั้งของเห็นอยู่นอกดวงเป็นที่ตั้งของจำอยู่ในดวงเป็นที่ตั้งของจำอยู่นอกดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่ในดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่นอกดวงเป็นที่ตั้งของรู้อยู่ใน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y9296500-37.jpg
Y9296500-37.jpg [ 37.75 KiB | เปิดดู 1803 ครั้ง ]
ตัวพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย

ที่พรรณนามาข้างต้นนั้น ว่าด้วยเรื่องคุณพระรัตนตรัยตามบาลีที่ขึ้นต้นด้วยอิติปิโส ภควา และจบลงด้วยคำว่าโลกัสสาติ ต่อไปนี้จักแสดงสรุปให้สั้นถึงตัวพระรัตนตรัยโดยตรงว่า มีอะไรแน่ที่เรียกว่าพระรัตนตรัย และการเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นจะเข้าถึงได้อย่างไร

รัตนะ แปลว่า แก้ว ในที่นี้หมายเอาแก้วอย่างประเสริฐ เช่น แก้วมณีโชติ ซึ่งนับถือกันว่าเป็นแก้วมีคุณวิเศษสูงสุด ใครมีไว้ย่อมชื่นชมโสมนัสอิ่มอกอิ่มใจยิ่งกว่าทรัพย์สินอย่างอื่นทั้งหมดในโลก แก้วคือพระรัตนตรัยนี้เหมือนกัน ผู้ใดเข้าถึงก็ย่อมอิ่มใจ ชื่นใจเช่นเดียวกัน

ร่างกายพระสิทธัตถะ ไม่ใช่พุทธรัตนะ พระสิทธัตถะทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง ๖ พรรษา จึงพบรัตนะอันนี้ลี้ลับซับซ้อนอยู่ในพระองค์คือกายธรรม มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูมมีสีใสเหมือนกระจกปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้มีหลักฐานในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่วาเสฏฐสามเณรว่า ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฐาธิวจนํ ธมฺมกาโย อหํ อิติปิฯ ในสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ยืนยันความว่า ดูกรวาเสฏฐสามเณร คำว่าธรรมกายๆ นี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้

เรื่องพระวักกลิ ดังที่ยกขึ้นมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อระลึกถึงความในอัคคัญญสูตรนี้ ประกอบแล้วย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรานั้น หมายความว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือ ตถาคตนั่นเอง มิใช่อื่นไกล หรือพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า

ทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ๆ กับพระองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่า ที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานั้น เป็นแต่เปลือกของพระองค์คือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่าเรา และยังตรัสว่าเป็นกายที่เปื่อยเน่าด้วยนั่นคือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวชซึ่งเป็นกายภายนอกนั่นเอง คำว่าเราในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกายภายใน ซึ่งไม่ใช่กายเปื่อยเน่า กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือธรรมกายนั่นเอง จะเห็นได้อย่างไรข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้วท่านจะเห็นด้วยตาของท่านอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย ไม่ใช่ตาธรรมดา พระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นกล่าวมานั้น เป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่ อันผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจได้ยากแต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดายไม่ต้องไปถามใคร

ธรรมกาย มีสีใสเหมือนแก้วจริงๆ จึงได้ชื่อว่าพุทธรัตนะ

ธรรมทั้งหลายที่กลั่นออกจากหัวใจ ธรรมกายจึงได้ชื่อว่า ธรรมรัตนะ ธรรมรัตนะคือหัวใจธรรมกายนั้นเอง

ดวงจิตของธรรมกายนั้นได้ชื่อว่า สังฆรัตนะ นี่แหละที่ว่า พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทั้ง ๓ ประการนี้เกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวนั้น เกี่ยวกันอย่างนี้จะพรากจากกันไม่ได้ ผู้ใดเข้าถึงพุทธรัตนะ ก็ได้ชื่อว่าเข้าถึงธรรมรัตนะ สังฆรัตนะด้วย

การเข้าถึงรัตนะ ๓ ดังกล่าวมานี้ จะเข้าถึงได้อย่างไร เพียงแต่เลื่อมใสนับถือ ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะท่องบ่นน้อมใจระลึกถึงก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง แม้จะปฏิญาณตนว่ายอมเป็นข้าก็ยังไม่เรียกว่าเข้าถึง อย่างมากจะเรียกได้ก็เพียง ขอถึง

การที่จะเข้าถึงนั้น จำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียรปฏิบัติเจริญรอยตามปฏิปทาของพระบรมศาสดาจนบรรลุกายธรรมคือรู้จริงเห็นแจ้งด้วยตัวของตัวเองจึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้ และการปฏิบัติเช่นนี้ไม่เป็นการพ้นวิสัยของมนุษย์ เพราะในปัจจุบันนี้มีผู้ที่ได้บำเพ็ญบรรลุธรรมกายก็มีอยู่มากหลาย ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้วเขามีความอิ่มเอิบและสุขกายสุขใจเพียงไหน ถามเขาดูได้ เพื่อได้ทราบว่าการเข้าถึงพระรัตนตรัยมีผลอย่างไร ผิดกว่าที่ยังมิได้เข้าถึงอย่างไร ทั้งจะได้รู้ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระบรมศาสดามีความจริงแค่ไหน ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ สมาธิเป็นปัจจัยให้เกิดปัญญานั้นอย่างไร ก็จะรู้ความจริงได้ในเมื่อตนบำเพ็ญสำเร็จ หรือถ้าอยากรู้เพียงเงาๆ ก็ลองถามเขาดูได้



แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 07:59, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 32.46 KiB | เปิดดู 1829 ครั้ง ]
เพียรเถิดจะเกิดผล

ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอทำเนืองๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้ง อย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไร ท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 1827 ครั้ง ]
Y9296500-20.jpg
Y9296500-20.jpg [ 32.02 KiB | เปิดดู 1800 ครั้ง ]
ตนเป็นที่พึ่งของตน

นี่หมายความว่ากระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร นามรูปัง อนัตตา ก็แปลกันว่านามและรูป ไม่ใช่ตน ถ้ากระนั้นอะไรเล่าจะเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่า ขันธ์ ๕ เมื่อย่อเข้าเรียกอย่างสั้นก็เรียกว่า นามรูป โดยเอากองรูปคงไว้ ส่วนกอง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน ๔ กองนี้เรียกว่า นาม ฉะนั้น ที่ว่านามรูปก็คือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง เมื่อขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน จึงต้องถามว่าอะไรเล่าเป็นตน ถ้าค้นหาตนไม่พบก็ไม่รู้ที่ว่าจะทำอะไรให้เป็นที่พึ่งแก่อะไร พระพุทธวจนะที่มีอยู่ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ซึ่งแปลว่าตนเป็นที่พี่งแก่ตน จะมิได้มีทางออกหรือ ย่อมเป็นไปไม่ได้




ได้เคยกล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า พระองค์ทรงสอน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพเพื่อให้คิดค้น พระองค์เน้นสอนทางอนัตตา ก็เพื่อให้เห็นอัตตาเอาเอง สมในคำสันทิฎฐิโก ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระองค์นั้นผู้ที่ปฏิบัติย่อมเห็นเอง อกฺขาตาโร พระองค์เป็นแต่ผู้ทรงบอกแนวทางให้เท่านั้น

ฉะนั้น เมื่อมีเรื่อง อนัตตากับอัตตา ยันกันอยู่ จึงต้องคิดค้นต่อไป ธรรมของพระองค์จะขัดกันเองไม่ได้ เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งกัน จึงต้องแบ่งอัตตาออกเป็น ๒ อย่าง คือ อัตตาสมมติกับอัตตาแท้ อัตตาสมมติ ได้แก่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เพราะกายเหล่านี้ ยังมีเกิด มีตาย เป็นกายส่วนโลกีย์ ยังมีกายอีกกายหนึ่งซึ่งเป็นกายโลกุตระ คือ ธรรมกาย ธรรมกายนี้แหละเป็นอัตตาแท้หรือตนแท้



ที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนั้น ก็คือเพ่งยึดอาศัยกัน ดำเนินเข้าไปเป็นชั้นๆ คือ เพ่งกายมนุษย์ส่งให้ถึงกายทิพย์ เพ่งกายทิพย์ส่งให้ถึงกายรูปพรหม เพ่งกายรูปพรหมส่งให้ถึงกายอรูปพรหม เพ่งกายอรูปพรหมส่งให้ถึงธรรมกาย กายคือตน อาศัยพึ่งกันเป็นชั้นๆ เข้าไปเช่นนี้จึงได้ชื่อว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนในด้านภาวนาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วโดยละเอียดข้างต้นนั้น ยังมีคำว่า "กาเย กายานุปสฺสี" ในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นหลังฐานสนับสนุนอีก กายานุปสฺสี แปลว่า เห็นตามหรือตามเห็นซึ่งกาย กาเย แปลว่าในกาย รูปศัพท์มีวิภัติตรึงอยู่ชัดเช่นนั้น แปลตรงตามศัพท์ และย่นคำให้สั้นก็ว่าตามเห็นกายในกาย คือตามเห็นเรื่อยเข้าไปเป็นชั้นๆ เห็นกายมนุษย์ แล้วตามเข้าไปเห็นกายทิพย์ ตามเข้าเห็นกายรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายอรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายธรรม ดังนี้เป็นหลักฐานรับสมกันอยู่ กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาอย่างไร กายมนุษย์ รูปร่างหน้าตาก็เป็นมนุษย์ใช่อื่นไกล คือกายเรานี้เอง กายทิพย์ก็เป็นรูปเป็นร่างเช่นกันแต่สวยกว่า กายรูปพรหมสวยกว่างามกว่านั้นอีก กายอรูปพรหมสวยงามยิ่งกว่ารูปพรหมขึ้นไปอีก ธรรมกายนั้นมีสีใสเหมือนแก้ว สัณฐานดังรูปพระพุทธปฏิมากรนั่งสมาธิเหตุเป็นดอกบัวตูมดังได้กล่าวมาแล้ว


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 08:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




49.jpg
49.jpg [ 26.76 KiB | เปิดดู 1825 ครั้ง ]
การรักษาไตรทวาร


ไตรทวาร แปลว่า ประตูทั้ง ๓ คือ กาย วาจา ใจ ที่เรียกทวารก็เพราะความชั่วและความดีจะลอดเข้าไปถึงจิตนั้นเข้าทางนี้ ความชั่วเรียกว่า ทุจริต ความดีเรียกว่า สุจริต วิธีที่จะเข้าไปมีอาการไหวก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า วิญญัติไหวทางกายเรียกว่า กายวิญญัติ ทางวาจาเรียกว่า วจีวิญญัติ ทางใจเรียกว่า มโนวิญญัติ อะไรทำให้เกิดอาการไหวหรือบังคับให้ไหว ไม่ใช่อื่นไกล สังขารนั่นเอง บังคับให้ไหว บังคับทางกายได้แก่กายสังขาร ทางวาจาได้แก่วจีสังขาร ทางใจได้แก่จิตตสังขาร สังขารคือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง
และมีทางเกิดเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายทุจริตเกิดจากอวิชชาและอาสวะ ฝ่ายสุจริต เกิดจากวิชชาและอนาสวะ ฝ่ายเหตุทุจริตเป็นดวงดำมืดมน ฝ่ายเหตุสุจริตเป็นดวงขาวใสซ้อนอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นคู่ปราบกันอยู่ ฝ่ายชั่ว เป็นภาคมาร ฝ่ายดี เป็นภาคพระ ต่างมีเจ้าของด้วยกัน ฝ่ายชั่วอำนวยการให้มืด ฝ่ายดีอำนวยการให้สว่างคล้ายโรงงานทำหมอกควันพวกหนึ่ง โรงงานทำไฟฟ้าพวกหนึ่ง เมื่อเราไม่คอยระวัง ฝ่ายชั่วสอดเข้าไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้เราตกไปทางชั่ว คือจะทำอะไรก็ทำในทางชั่วจะพูดอะไรออกมากก็เป็นทางชั่ว จะคิดทำอะไรก็เป็นไปในทางชั่วหมด

ถ้าเราคอยระวังรักษาไว้ให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกายเสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดี คิดอะไรก็คิดไปทางดี เพราะฉะนั้น จึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นฝ่ายขาวเสมอเวลาจะตายถ้าปล่อยให้ไปตกอยู่ฝ่ายดำเรียกว่า หลงตายจะไปสู่ทุคติ ถ้าอยู่ในฝ่ายขาวเรียกว่า ไม่หลงตายจะไปสู่สุคติแน่แท้ จึงเป็นการจำเป็นยิ่งที่จะระวังให้อยู่ฝ่ายขาว

วะรัญญัง สะระณัง นัตถิ สิ่งอื่นจะเป็นที่พึ่งของเราได้ไม่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ รัตนะนี้เท่านั้น เป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของเรา

ด้วยสัจจวาจาภาษิตนี้ ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่สาธุชนทั้งหลายทั่วกันฯ





แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 08:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มี.ค. 2010, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp
000000000000000000000000000000000000000000000000000000.bmp [ 466.22 KiB | เปิดดู 1814 ครั้ง ]
__BdP-PotiIndia13k.jpg
__BdP-PotiIndia13k.jpg [ 13.23 KiB | เปิดดู 1811 ครั้ง ]
Y9296500-21.jpg
Y9296500-21.jpg [ 35.68 KiB | เปิดดู 1797 ครั้ง ]
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b48: :b48: :b48:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 04 มิ.ย. 2010, 08:14, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2010, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y9296500-34.jpg
Y9296500-34.jpg [ 37.14 KiB | เปิดดู 1796 ครั้ง ]
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘
ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา



๕. สรภังเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระสรภังคเถระ
[๓๖๕] เราหักแขมด้วยมือทั้งสองทำกระท่อมอยู่ เพราะฉะนั้น เราจึงมีชื่อ
โดยสมมติว่า สรภังคะ วันนี้เราไม่ควรหักแขม ด้วยมือทั้ง
สองอีก เพราะพระสมณโคดมผู้เรืองยศ ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่
เราทั้งหลาย เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคือ
อุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระ
ดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว
พระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระ
เวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป

ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม
ก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้
ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส
เสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย ผู้คงที่ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์
สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์
เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทาง
ไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และ
เพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็น
ผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.


-----------------------------------------------------
พระเถระ ๕ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละ ๗ คาถา รวมเป็น ๓๕ คาถาคือ
๑. พระสุนทรสมุททเถระ ๒. พระลกุณฏภัททิยเถระ
๓. พระภัททเถระ ๔. พระโสปากเถระ
๕. พระสรภังคเถระ.
จบ สัตตกนิบาต.
-----------------------------------------------------
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๗๘๐ - ๖๘๐๕. หน้าที่ ๒๙๐ - ๒๙๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 24 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร