วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 13:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


การทำสมาธิด้วย “ไทเก๊กโบราณ” ตามหลักปรามาจารย์จางซานฟง (เตีย ซำ ฮง)


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้นไม้ชนิดเดียวกันทั้งโลก มีกี่ต้น? (น่าจะมากกว่าล้าน)

ต้นไม้ชนิดเดียวกันแต่ละต้น มีรูปร่างทับกันสนิทหรือไม่? (น่าจะแตกต่างกันทุกต้น)

ต้นไม้ที่เกิดมาแต่ละต้น เป็นธรรมชาติใช่ไหม? ปรับตัวตามธรรมชาติใช่ไหม? (ก็ใช่สิ)

เช่นนั้น สภาวธรรมจะจำได้ไหม? จะมาจากการจดจำได้หมดถ้วนไหม? (ไม่น่าจะได้)
เช่นนั้น ท่วงท่าของไทเก๊กเหตุไฉนจะได้มาด้วยการจดจำ? (ไทเก๊กมาจากสภาวธรรม)

ปัจจุบันมีการฝึกไทเก๊กกันทั่วโลกมากมาย มากเสียยิ่งกว่ามวยชี่กง และมวยเส้าหลิน และหากเทียบกับการฝึกสมาธิแนวโยคะอื่นๆ เช่น สหจโยคะ และกุณฑาริณี ต่างก็เสื่อมหายไปหมด จนเพิ่งมาเริ่มต้นใหม่เมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นถึงความเรียบง่ายเป็นธรรมชาติเข้ากับคนได้กว้างขวางของไทเก๊ก ว่าเป็นหลักการฝึกจิต ฝึกสมาธิ หลอมรวม กาย, จิต, วิญญาณ เข้าสู่สภาวธรรมได้ง่ายและกว้างขวางและได้รับความนิยมตลอดมา

ทว่าในปัจจุบัน วิชชาการต่างๆ ในสมัยโบราณล้วนเสื่อมลงและถูกกลืนหาย ทำให้การเรียนการสอนเป็นแบบท่องจำ มีแต่ท่วงท่าที่จดจำกันมา ไม่กี่พันท่า ทั้งๆ ที่ไทเก๊กมีมากกว่าล้านๆ ท่าเสียอีก นับได้ว่าไร้ท่าไร้ลักษณ์ ย่อมมีนานัปการนับไม่ถ้วนท่านั่นเอง การเรียนไทเก๊กกันในปัจจุบันจึงขาดตกบกพร่องในหลักหัวใจที่สำคัญที่สุด คือ เคล็ดวิชชานั่นเอง อันได้แก่ หลักการทำสมาธิ, การฝึกปราณ, การหลอมรวมสามเป็นหนึ่ง

หลักการทำสมาธิแบบร่ายรำ
ในประเทศไทยมีการทำสมาธิแบบเคลื่อนกายของหลวงพ่อเทียน แต่จะไม่มีการร่ายรำและเคลื่อนลมปราณเป็นท่าการต่อสู้ต่างๆ ไทเก๊กก็มีการทำสมาธิขณะเคลื่อนที่เช่นกัน


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


o หลักการฝึกลมปราณแบบไทเก๊ก
หลักการฝึกลมปราณของไทเก๊ก เป็นหลักการเดียวกับของเส้าหลิน เนื่องจากปรมาจารย์จางซานฟง เคยบวชเป็นเณรที่วัดเส้าหลิน และฝึกลมปราณพื้นฐานจากวัดนี้ ซึ่งก่อตั้งโดยปรามาจารย์ตั๊กม้อ (ซึ่งเป็นองค์อวตารแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์) สรุปดังนี้
o


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการลมปราณ ๗ ฐาน[/B]
ฐานที่กายและจิตจะเชื่อมสัมพันธ์กันได้ดี และประสานการทำงานกันได้ดีนั้น จะต้องมีวิญญาณขันธ์มาเชื่อมและคุ้มครองไว้ ทำให้วิญญาณในร่างกายมนุษย์ มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ แต่จะเลื่อมออกมามากกว่าร่างกายมนุษย์ เพื่อปกป้องคุ้มครองแต่ละส่วน โดยวิญญาณจะทำหน้าที่เชื่อมโยงกับร่างกายในขณะรับความรู้สึก เรียกว่า “วิญญาณขันธ์ที่เกิดขึ้น ณ อายตนะต่างๆ” และหากทำงานเข้าร่วมกับจิตเพื่อเสริมการรับรู้ของจิตให้ชัดเจน ด้วยการปรุงแต่งเสริมให้ชัดขึ้นนั้น เรียกวิญญาณที่ปรุงแต่งร่วมกับจิตว่า “มโนวิญญาณธาตุ” คือ เป็นวิญญาณธาตุที่ประสานกับจิตในขณะดวงจิตรับรู้สิ่งต่างๆ ดังนั้น วิญญาณจึงเป็นตัวกลางประสานการทำงานระหว่างกายและจิต วิญญาณจะครองทั่วร่าง แต่จะมีฐานสำคัญที่มีมวลวิญญาณรวมตัวหนาแน่น ที่เรียกว่าที่รวมลมปราณ หรือที่เรียกว่า “จักระ” มีทั้งหมด ๗ แห่งทั่วร่างกาย ตามแกนร่างกายเป็นสำคัญ โดยจักระต่างๆ จะทำหน้าที่สอดคล้องกับร่างกาย ณ ตำแหน่งนั้นๆ และมีการเคลื่อนไหวหมุนเวียนช้าๆ ตามการหมุนเวียนของสรรพสิ่งในจักรวาล จึงนับเป็นจักรวาลน้อย หรือระบบที่คล้ายกับจักรวาลย่อส่วนมานั่นเอง (สรรพสิ่งไม่ว่าใหญ่ที่สุดหรือเล็กที่สุด ย่อมมีโครงสร้างระบบเช่นเดียวกัน) การเคลื่อนไหวนี้จะมีจังหวะถูกควบคุมด้วยอัตราการเต้นของหัวใจ ที่เรียกว่า “ชีพจร” ดังนั้น การเดินลมปราณตามเส้นชีพจร ก็คือ การกำหนดจิตสำรวจตามตำแหน่งที่มีการเต้นของโลหิตที่สำคัญๆ ไปทีละจุด ไล่ทะลวง ตรวจดูจุดที่ติดขัดก็ทะลวงให้คลายออก จนลมปราณเดินได้สมบูรณ์ดี แบบนี้ จะเป็นการฝึกลมปราณแบบเต๋า ซึ่งจะใช้เวลานานมาก เพราะเริ่มจากชีพจรเล็กๆ ไปจนทั่วร่าง ไม่ได้จับหลักจากจักระทั้งเจ็ด แต่สำหรับไทเก๊กจะทะลวงชีพจรเพื่อเปิดทางให้ลมปราณไหลเวียนสะดวก ด้วยการเริ่มต้นจากจักระที่สำคัญก่อน แล้วรวมกำลังจิตเพื่อดึงพลังปราณในจักระนั้น มาใช้ ปลุกลมปราณให้ตื่นขึ้น แล้วควบคุมหรือนำทางลมปราณด้วยจิต ไปยังทางออกที่ถูกต้อง เช่น ปลุกลมปราณจากจักระที่หนึ่ง (บริเวณก้นกบ ที่เรียกว่ากุณฑาริณี) ให้ไหลตามแกนกลางร่างกายไปสู่จักระที่เจ็ด (ทะลุศีรษะ) ก็จะส่งผลให้เกิดการทะลวงชีพจรหลักๆ ทุกจักระทั่วร่าง เมื่อลมปราณมีทางออกแล้ว จะไม่ถูกกักไว้ ไม่ขังอยู่ จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาในร่างกาย ขณะปลุกขึ้นมาใช้ และเมื่อปลุกมาใช้ควรใช้ให้หมด หรือเก็บเข้าที่จักระเดิมให้ถูกวิธี ไม่เช่นนั้นจะคั่งค้างเป็นปราณเสีย อุปมาเหมือนน้ำที่ขังแช่จนเน่าเสียฉะนั้น ลมปราณทั้งเจ็ดฐานนี้ ต้องฝึกสมาธิแบบเจ็ดฐานเป็นเบื้องต้นก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้น จึงฝึกปลุกลมปราณขึ้นมาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนั่งสมาธิบนพื้นน้ำแข็ง, การนั่งสมาธิกลางน้ำ, การใช้เคลื่อนเสียงปลุก, การใช้หลักหยิน-หยางปลุก


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการถ่ายเท-หมุนเวียนลมปราณ
ลมปราณทั้ง ๗ ฐาน คือ บริเวณก้นกบ, บริเวณท้องน้อย, บริเวณกลางตัว (ใต้ลิ้นปี่), บริเวณหน้าอก, บริเวณลำคอ, บริเวณตาที่สาม (ระหว่างคิ้วสูงขึ้นไปเล็กน้อย), และตำแหน่งกระหม่อม เป็นฐานที่เก็บลมปราณจำนวนมากและหนาแน่น สำหรับควบคุมกิจกรรมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแต่ละส่วน แต่จะไม่แน่นิ่งเหมือนสิ่งที่ตายแล้ว ตรงกันข้าม หากยังมีชีวิตก็จะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง มีการเคลื่อนไหวตามการเคลื่อนไหวของจักรวาลอย่างเบาบางเล็กน้อย การปลุกลมปราณขึ้นมาใช้ เช่น เมื่อไฟไหม้ จะตกใจและยกโอ่งน้ำได้ นั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของลมปราณที่ตื่นขึ้นโดยธรรมชาติ ในภาวะที่ขาดสติกำกับดูแล ทำให้เสียพละกำลังไปในการยกโอ่งน้ำ ซึ่งไม่สำคัญเลย แล้วยังทำให้สูญเสียลมปราณไปเปล่าประโยชน์อีกด้วย ทั้งนี้ ลมปราณเมื่อเปิดจักระที่เจ็ดแล้ว จะมีการถ่ายเทเข้าออกโดยธรรมชาติ เสมือนลมหายใจที่เข้าออก โดยจะเข้ามาเพราะจิตของเราเป็นสื่อ กล่าวคือ หากจิตมีความเป็นอกุศล จะดึงลมปราณสายดำที่มีผลเสียต่อตนเองในระยะยาวมา ในขณะที่จิตที่เป็นกุศลจะดึงลมปราณสายขาวที่มีผลดีต่อตนเองเข้ามา ยิ่งบำเพ็ญเพียรช่วยเหลือคนมากเท่าไร สูญเสียลมปราณเก่าออกไปเท่าไร ลมปราณใหม่ที่บริสุทธิ์กว่าดีกว่าจะเข้ามาแทนที่ ในขณะที่ยิ่งทำร้ายคนมากเท่าไร ลมปราณที่เลวยิ่งกว่าจะยิ่งเข้ามาแทนที่ ลมปราณภายนอกเหล่านี้มาจากธรรมชาติ แหล่งที่สำคัญที่สุดคือดวงจิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ที่ชาวพราหมณ์หรือฤษีต่างๆ นับถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง หากจิตสามารถเปิดรับและสื่อตรงกับเทพเทวดาเหล่านั้นได้แล้ว ก็จะได้รับพลังเหล่านี้ตามหลักการฝึกจิตแบบโยคะนั่นเอง ดังนั้น การหมุนเวียนเข้าออกของลมปราณ จึงต้องพิจารณาถึงแหล่งที่มาของลมปราณด้วย ว่ามาจากแหล่งที่เป็นกุศลหรือไม่ เพราะลมปราณที่มีพลังมาก แต่เป็นลบ มีแต่จะส่งผลร้าย


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักการหลอมรวมสามเป็นหนึ่ง
สามนั้นคือ กาย, จิต, วิญญาณ และหนึ่งนั้นคือ “ธรรม” อธิบายได้ดังนี้ว่า กายคือฐานที่ตั้งแห่งสติอย่างหนึ่ง ขณะเคลื่อนกายไปตามท่าไทเก๊กต่างๆ หากมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วมีฐานตั้งมั่นแห่งจิต สมาธิย่อมเกิดในกายนั้น, จิตคือฐานที่ตั้งแห่งสติอย่างหนึ่ง ขณะเคลื่อนกายไปตามท่าไทเก๊กต่างๆ หากมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วมีฐานตั้งมั่นที่จิต สมาธิย่อมเกิดขึ้นที่จิตนั้น, ปราณคือเวทนาละเอียด คือ ความรู้สึกถึงกายในกายที่ละเอียด จึงฐานที่ตั้งแห่งสติอย่างหนึ่ง ขณะเคลื่อนกายไปตามท่าไทเก๊กต่างๆ หากมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วมีฐานตั้งมั่นที่ลมปราณ สมาธิย่อมเกิดขึ้นที่เวทนาอันละเอียดนั้น, และท้ายที่สุด คือ สภาวธรรม ที่อาศัยรูปภายนอก เป็นเครื่องแสดงสัจธรรมการเกิดดับและเปลี่ยนแปลงไปของแต่ละท่วงท่า เมื่อเห็นท่าของผู้บุกรุกเปลี่ยนแปลง ย่อมต้องมีสติรู้เท่าทัน ไม่ยึดมั่น และปรับตัวเองตามสภาวธรรมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงนั้น โดยไม่ทำลายฐานที่ตั้งของตนเองด้วยการปรับเปลี่ยนท่าที่ผิดพลาด เมื่อหลอมรวมสามเป็นหนึ่งดังนี้ จากฐาน กาย, เวทนา, จิต เข้าสู่ฐานธรรม จึงกลายเป็นมหาสติปัฏฐานสี่ ที่มีสมาธิเป็นเครื่องหลอมรวมอีกที นี่คือ หลักสามรวมเป็นหนึ่ง ของไทเก๊ก ซึ่งเป็นหลักการหลอมรวมของการฝึกจิตสาย “โยคะ” (โยคะ แปลว่าการหลอมรวม เป็นพราหมณ์โบราณที่ได้รับการสืบทอดจากโยคีทิคัมพร ซึ่งถือว่าเป็นองค์อวตารจากพระศิวะ ผู้เป็นบรมครูของฤษีทั้งมวล) โดยนำพระธรรมจากพุทธศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องนำทางในการฝึก


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่วงท่าของไทเก๊กแบบไม่ต้องจำเป็นอย่างไร?
ให้เข้าสู่สมาธิ วางจิตไว้ที่จักระใดจักระหนึ่ง จากนั้น ปลุกลมปราณในจักระนั้นขึ้นมา เมื่อสติละเอียดดีจะรู้สึกถึงเวทนาอันละเอียดในร่างกายได้ คือ กายในกาย คือ ลมปราณ อันมีอุเบกขาเวทนาเป็นสำคัญในการทำสมาธิ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่ริษยา ไม่อาฆาต เมื่อลมปราณตื่นขึ้นมาแล้ว ให้จิตจับลมปราณสายนั้น ว่าเคลื่อนไหวไปมาในร่างกายอย่างไร อุปมาลมปราณที่ไหลเวียนในร่างกายเหมือน น้ำที่ค้างอยู่ในท่อยาว เมื่อท่อเคลื่อนที่น้ำก็ไหวตาม เมื่อน้ำเคลื่อนที่ก็ให้ปรับท่อตามน้ำนั้น ดังนั้น ท่าร่างของไทเก๊กจึงมาจากการดูลมปราณในร่างกายเป็นสำคัญ แล้วปรับตัวไหลไปตามลมปราณนั้นเป็นเบื้องต้นก่อน โดยพยายามไม่ให้น้ำในท่อหก หรือก็คือ ไม่ให้ร่างกายเสียศูนย์ถ่วง หรือจุดสมดุล ทำอย่างไร ให้ขยับท่อน้ำไปมา เพื่อเอาน้ำในท่อไปเลี้ยง ไปล้างส่วนต่างๆ ทั้งท่อน้ำนั้น (ทั่วร่างกาย) ให้สะอาดหมดจดบริสุทธิ์ ชำระสิ่งสกปรกทั้งมวลออกไปได้ โดยที่ร่างกายภายนอกไม่เสียสมดุล (ต้องมีสมาธิมั่นคง) เมื่อได้ถึงขั้นนี้แล้ว ให้หา “รูป” ภายนอก เช่น ต้นไม้เถาวัลย์ หรือบุคคลผู้ฝึกด้วยกัน เพื่อให้เป็นโจทย์ฝึกจิต สมมุติว่าเราจะปรับตัวตามสภาวธรรมภายนอกได้อย่างไร เมื่อมีผู้เข้ามาประชิดก็ดี เมื่อร่างกายไปสัมผัสแตะต้องต้นไม้เถาวัลย์ก็ดี จะปรับอย่างไร ไม่ให้ร่างกายปะทะจนตัวเองต้องเจ็บ และร่างกายบิดพลิ้วหลบเลี่ยงการถูกปะทะจากบุคคลภายนอกได้ นั่นแหละ คือ ที่มาของกระบวนท่าไทเก๊กโบราณ ที่ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ แต่อาศัยจิตสัมผัสฐานทั้งสี่ ที่นับเป็นหลักการฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนาโดยแท้


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มวยไทเก๊กตระกูลหยาง81 ท่า


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านหมอ ,อาจารย์ และจอมยุทธ์ เมื่อนำคำทั้ง 3 คำมารวมกันก็จะได้ชื่อปรมาจารย์กังฟูผู้เป็นตำนานของจีน นั่นคือ หวงเฟยหง

ในช่วงยุคปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นยุคศตวรรษที่ 20 หวงเฟยหง ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ในตำนานของหน้าประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมจีน เขาเป็นทั้งหมอที่คอยช่วยเหลือชาวบ้านและยังเป็นอาจารย์สอนกังฟูที่คอยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องให้กับลูกศิษย์ของเขาอีกด้วย

หวงเฟยหง เกิดเมื่อปี 1847(พ.ศ.2390) เขาเป็นลูกชายของ หวงฉีอิง 1 ใน 10 พยัคฆ์กวางตุ้ง และเชื่อกันว่าหวงเฟยหง ได้แต่งงานกับน้า 13 (เหมือนที่เราเห็นกันในภาพยนตร์) จนในปี 1924(พ.ศ.2467) หวงเฟยหงได้เสียชีวิตลงในวัย 77 ปี

พอมาถึงปี 1949(พ.ศ2492) หวงเฟยหงก็เข้าไปมีบทบาทในวงการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ตลาดหนังฮ่องกงกำลังซบเซาอันเนื่องมาจากผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะนี้เองที่เปิดโอกาสให้นักแสดงที่ผันตัวมาจากการเป็นดารางิ้วอย่าง กวานตั๊กฮิง ได้เข้ามาสวมบทบาทเป็น หวงเฟยหง ในซีรี่ส์หนังชุดนี้ถึง 99 เรื่อง ที่ตะบี้ตะบันสร้างกันขึ้นมาภายในเวลาแค่ 21 ปี (เรื่องสุดท้ายในปี 1970) แต่กวานตั๊กฮิงก็ยังไม่อ่อนระโหยโรยแรง เขายังคงแสดงหนังแนวคล้าย ๆ กันนี้อีกถึง 11 เรื่อง เรื่องสุดท้ายที่เขาแสดงเป็นหวงเฟยหงก็คือ Dreadnaught ในปี 1981(พ.ศ.2524)ของผู้กำกับหยวนวูปิง ที่มี หยวนเปียว แสดงนำ

ในชีวิตจริงนั้น ตั๊กฮิง ก็มีชีวิตที่คล้าย ๆ กับหวงเฟยหง เพราะเขาก็เคยทำงานอยู่ในร้านเภสัชมาก่อนและเขาก็ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญวิชากังฟูอีกด้วย แต่น่าเสียดายใน ปี 1997(พ.ศ.2540) กวานตั๊กฮิง ได้เสียชีวิตลงในวัย 91 ปี

แต่ไม่ได้มีกวานตั๊กฮิงคนเดียวที่เคยถ่ายทอดตำนานของหวงเฟยหง ในช่วงยุคปี 1970-1980 ก็ยังมีนักแสดง 2 คนที่รับบทเป็นหวงเฟยหงในวัยหนุ่ม คนแรกคือ หลิวเจียฮุย(กอร์ดอน หลิว) ในหนังปี 1976(พ.ศ.2519)เรื่อง Challenge of the Master ของ ชอว์บราเดอร์ส(เรื่องนี้ยังไม่มีวางขาย) ซึ่งผู้กำกับ หลิวเจียเหลียง(เขาเป็นศิษย์สายตรงที่สืบทอดวิชากังฟูมาจากหวงเฟยหงอีกทอดหนึ่งเลยทีเดียว)ต้องการให้คนดูเห็นภาพการฝึกวิชาระหว่างหวงเฟยหงกับ Luk Ah Choy อาจารย์ในชีวิตจริงของเขา (แสดงโดย เฉินกวนไท่) อีกคนนึงที่มาแสดงเป็นหวงเฟยหงในวัยหนุ่มก็คือ เฉินหลง(แจ็คกี้ ชาน) กับหนังฮิตของเขา Drunken Master ในปี1978 (พ.ศ.2521)ของผู้กำกับ หยวนวูปิง ในสังกัด ซีแซนนอลฟิล์ม หวงเฟยหงเวอร์ชั่นนี้ เป็นหนุ่มจอมทะเล้น ที่พ่อของเขาส่งไปเรียนวิชาหมัดเมากับอาจารย์ ซึ่งเป็นลุงของเขา ยาจก ซู(หยวนเสี่ยวเถียน แสดงได้อย่างยอดเยี่ยมมาก)

ยกเว้นหนังเรื่อง Dreadnaught ที่ตั๊กฮิงแสดงเป็นหวงเฟยหงนั้น ไม่อยู่บนพื้นฐานความจริงเลย กับหนังแอคชั่นคอเมดี้ปี 1986(พ.ศ.2529)เรื่อง Millionaires’Express ของหงจินเป่า ในสังกัดโกลเด้นฮาร์เวสต์ ที่ได้ จิมมี่ หวังอยู่ มาสวมบทบาทเป็นหวงฉีอิง กับเด็กผู้ชายตัวเล็ก ๆ ที่รับบทเป็นหวงเฟยหงวัยเด็กนั้น ซึ่งกังฟูของหวงเฟยหงกับหวงฉีอิงในเรื่องนี้ ดูไม่ค่อยขาวสะอาด อย่างที่เราเห็น ๆ กันในหนังหวงเฟยหงเรื่องอื่น ๆ เลย

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้ชื่อว่ามีส่วนทำให้หวงเฟยหง กลับมายิ่งใหญ่ในวงการภาพยนตร์ได้อีกครั้งก็คือ สตีเว่น สปีลเบิร์กฮ่องกง “ฉีเคอะ” ในปี 1991(พ.ศ.2534) เขาเขียนบท อำนวยการผลิตและกำกับหนังเรื่อง Once Upon a Time in China ในหนังเรื่องนี้ ฉีเคอะ ได้ผสมผสานและสร้างสรรค์คิวบู๊สไตล์ใหม่ที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมาก ในอีกด้านหนังก็มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงระยะเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์จีนสอดแทรกมาด้วย ผู้ที่มาแสดงเป็นหวงเฟยหงนั้น ก็คือนักวูซูชาวจีนแผ่นดินใหญ่ที่ชื่อ หลี่เหลียนเจี๋ย ซึ่งตอนนี้เขาได้กลายเป็นดาราฮอลลีวูดไปแล้ว นับว่าหวงเฟยหงก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้หลี่เหลียนเจี๋ยได้กลายมาเป็นซูเปอร์สตาร์อย่างทุกวันนี้ โดยหลี่เหลียนเจี๋ยได้แสดงเป็นหวงเฟยหงในหนังชุดนี้ถึง 3 ภาค(และยังมีภาคพิเศษอีก 2 ภาค) ต่อมาจ้าวเหวินจั๋วก็ได้มารับช่วงต่อของหนังอีก 2 ภาค


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ในปี 1992(พ.ศ.2535) Chin Kar Lok (เฉินเจียเล่อ)นักแสดง/สตั๊นท์แมนฮ่องกงได้มาสวมวิญญาณเป็นหวงเฟยหงใน Martial Arts Master Wong Fei-hung ส่วนนักร้องอย่างอลัน ทัมก็เคยมาสวมบทบาทเป็นหวงเฟยหงเหมือนกันในหนังเรื่องOnce Upon a Time A Hero in China และตามมาด้วย Master Wong vs. Master Wong ต่อมาในปี 1993(พ.ศ.2536) หยวนวูปิงก็ได้สร้างหนังหวงเฟยหงขึ้นอีกครั้งกับเรื่อง Iron Monkey แต่ตัวเอกกลับกลายเป็น หวงฉีอิง บิดาของหวงเฟยหง(แสดงโดยดอนนี่ เยน) ส่วนหวงเฟยหงในเรื่อง อายุเพียง 10 ขวบ รับบทโดยเด็กผู้หญิง (ซึ่งในชีวิตจริง ตอนนี้เธอเป็นแชมป์วูซูของแผ่นดินใหญ่ไปแล้ว)

ในปี 1994(พ.ศ.2537) เฉินหลงกลับมาแสดงเป็นหวงเฟยหงวัยละอ่อนอีกครั้งกับหนังภาคต่อ Drunken Master 2 โดยมีตี้หลุงมารับบทเป็นหวงฉีอิง ถึงแม้ตามความจริงแล้ว ตี้หลุงกับเฉินหลงจะอายุห่างกันเพียง 7 ปี แต่การแสดงที่ลื่นไหลของทั้งคู่ สามารถทำให้คนดูเชื่อถือได้ว่าพวกเขาเป็นพ่อลูกกัน และในภาคนี้ เฉินหลงได้กำกับคิวบู๊ร่วมกับหลิวเจียเหลียงอีกด้วย ฉากไฮไลท์คือฉากสุดท้ายที่หวงเฟยหงต้องต่อกรกับนักสู้ผู้เชี่ยวชาญเพลงเตะ Ken Lo(บอดี้การ์ดในชีวิตจริงของเฉินหลง) ถึง 10 นาที ฉากนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ในฉากต่อสู้ของหนังกังฟูที่ดีที่สุดตลอดกาล

เวลากว่า 45 ปีที่ผ่านมา หวงเฟยหงไม่ได้เป็นแค่สัญลักษณ์ของหน้าประวัติศาสตร์จีนเท่านั้น แต่เขายังเป็นสัญลักษณ์ของวงการภาพยนตร์จีนอีกด้วย นับได้ว่าเขาก็มีส่วมริเริ่มในการทำให้หนังแอคชั่นศิลปะการต่อสู้ที่เรียกกันว่า”หนังกังฟู”ให้เกิดขึ้นมา จนกลายเป็นรากฐานให้กับวงการหนังแอคชั่นในปัจจุบัน

หากหวงเฟยหงยังมีชีวิตอยู่ละก็ เขาคงไม่ได้เป็นแค่พระเอกในหนังจอเงินเท่านั้น แต่อาจจะได้ไปโผล่ในหนังจอแก้วด้วยก็เป็นได้….ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมผู้ชายที่เป็นทั้งหมอและนักศิลปะการต่อสู้คนนี้ จะกลายมาเป็น 1 ใน ตำนานที่สูงส่งที่สุดของหน้าประวัติศาสตร์โลกใบนี้ไป

เส้นสายการสืบทอดวิชากังฟูจาก Luk Ah-Choy ถึง หลิวเจียเหลียง
Luk Ah Choy (อาจารย์) ถ่ายทอดให้ หวงเฟยหง
หวงเฟยหง (อาจารย์) ถ่ายทอดให้ Lam Sai Wing
Lam Sai Wing (อาจารย์) ถ่ายทอดให้ Lau Charn
Lau Charn (พ่อ/อาจารย์) ถ่ายทอดให้ หลิวเจียเหลียง


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 15.23 KiB | เปิดดู 4387 ครั้ง ]
รูปหว่อง เฟ ห่ง หรือ หวง เฟย หง ตัว จริง !

ในบรรดาวีรบุรุษที่มีตัวตนอยู่จริงของจีน หวงเฟยหง (หรือ “หว่องเฟห่ง” ในสำเนียงกวางตุ้ง) น่าจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงโด่งดังแพร่หลายมากสุด พร้อม ๆ กับเป็นบุคคลที่มีข้อมูลคลุมเครือสับสน เนื่องจากได้รับการเล่าลือแต่งเติมจนพิศดารพันลึก ขณะที่หลักฐานอันแน่ชัด กลับมีอยู่ไม่มากนัก

หวงเฟยหงมีชื่อเดิมว่า หว่องเส็กเฉิ่ง (ไม่ทราบชื่อนี้ในสำเนียงจีนกลาง) แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ระบุว่า เกิดเมื่อวัน 9 เดือน 7 ปีที่ 25 ในรัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวงแห่งราชวงศ์ชิง (ตรงกับปี 1847)

อย่างไรก็ตาม บางข้อมูลก็บอกเล่าผิดแผกออกไป และลงความเห็นว่า หวงเฟยหงเกิดเมื่อปีที่ 6ในรัชสมัยจักรพรรดิเซียนเฟิง (ตรงกับปี 1856) ทว่าวันและเดือนเกิดนั้นตรงกัน

หวงเฟยหงเกิดที่หมู่บ้าน หลูเจ้า ใกล้ภูเขาสีเฉียว เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง เป็นบุตรของหวงจี้อิง (หว่องไค่อิง) ซึ่งเป็นครูมวยผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่ม “10 พยัคฆ์กวางตุ้ง” อันโด่งดัง (เรื่องราวของบรรดาวีรบุรุษกลุ่มนี้ ได้รับการนำมาสร้างเป็นหนังบ่อยครั้งเช่นกัน)

แม้ว่าหวงเฟยหงจะเป็นทายาทวีรบุรุษ แต่ในขั้นเริ่มต้น หวงจี้อิงกลับไม่ยอมถ่ายทอดวิชาฝีมือให้แก่บุตรชาย (ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัด แต่ในหนังปี 1976 เรื่อง Challenge of the Masters หรือ “จอมเพชฌฆาตเจ้าสิงโต” ผลงานกำกับของหลิวเจียเหลียง ซึ่งถ่ายทอดชีวประวัติของหวงเฟยหงในช่วงวัยนี้ ได้ให้คำอธิบายเอาไว้ว่า พ่อของหวงเฟยหงไม่อยากให้ลูกร่ำเรียนวิทยายุทธ เนื่องจากเกรงว่าจะนำไปใช้ในทางไม่ถูกควร ทะเลาะวิวาทต่อยตีกับผู้อื่น) ทว่าเมื่อไม่อาจขัดขืนความตั้งใจมุ่งมั่นอันแรงกล้า หวงเฟยหงจึงได้รับอนุญาติให้ฝึกฝีมือกับลู่อาไค (ลกอาฉอย) ซึ่งเป็นอาจารย์ของหวงจี้อิง (แปลง่าย ๆ ก็คือ สองพ่อลูกตระกูลหวง มีอาจารย์คนเดียวกัน)

เหตุการณ์ช่วงนี้เป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของวิชาฝีมือในแขนงที่เรียกกันว่า “หงฉวน” (หงก่า) ซึ่งคิดค้นบัญญัติขึ้นโดยวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่หงซีกวน มีกระบวนท่าอันเลื่องชื่อคือ “หมัดพยัคฆ์-กระเรียน”

ลู่อาไคเป็นเพื่อนศิษย์ร่วมสำนักเส้าหลินฝ่ายใต้ร่วมกับหงซีกวน และสืบทอดรับช่วงวิชาฝีมือดังกล่าว กระทั่งส่งผ่านมาถึงหวงเฟยหง

กล่าวกันว่า เมื่อถึงรุ่นของหวงเฟยหง วิชาฝีมือเหล่านี้ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งสมบูรณ์ลงตัว และเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ขยาย กระทั่ง “หงฉวน” ได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากกราบกรานลู่อาไคเป็นอาจารย์แล้ว ในวัยเยาว์หวงเฟยหงยังได้ร่ำเรียนวิชา “หงฉวน” เพิ่มเติมจากหล่ำฟกซิง (ไม่ทราบชื่อจีนกลาง) จากนั้นก็ได้รับการสั่งสอนเพิ่มเติมจากหวงจี้อิงผู้เป็นบิดา

ในวัยเด็กครอบครัวของหวงเฟยหงมีฐานะยากจน ต้องตระเวนรอนแรมไปเปิดทำการแสดงวิชาฝีมือและขายยาตามท้องถนน


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 18:58, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




.jpg
.jpg [ 24.82 KiB | เปิดดู 4384 ครั้ง ]
jet li ในบท หวง เฟ ย หง


โดยสรุปแล้ว ช่วงวัยเยาว์และวัยหนุ่มของหวงเฟยหง เป็นระยะเวลาของการฝึกฝนวิชาฝีมือต่อสู้ป้องกันตัว และการรับมรดกสืบทอดวิชาแพทย์จากบิดา ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณที่ได้รับการยกย่องนับถือ

กระนั้นก็มีวีรกรรม 2 เหตุการณ์ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องจริง

เหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อหวงเฟยหงมีอายุ 16 ปี ชาวตะวันตกกลุ่มหนึ่งคิดค้นกิจกรรมสร้างความบันเทิง โดยฝึกฝนพันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ดจนมีสภาพดุร้ายกระหายเลือด จากนั้นก็เปิดเวทีท้าประลองให้ชาวจีนสู้กับ ผู้ชนะจะได้รับเงินรางวัลมูลค่าสูง แต่หากพลาดพลั้งบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ก็ถือเป็นคราวเคราะห์ที่ไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ

ความบันเทิง “คนสู้” กลายเป็นเรื่องเกรียวกราวไปทั่ว ผู้คนจำนวนมากที่เข้าประลองล้วนแล้วแต่พ่ายแพ้ บ้างโชคดีก็แค่บาดเจ็บ แต่มีจำนวนไม่น้อยนำเอาชีวิตเข้าสังเวยและตายไปอย่างสูญเปล่าไร้ค่า

หวงเฟยหงล่วงรู้เรื่องดังกล่าว จึงเข้าประลองเพื่อกอบกู้ศักดิ์ศรีให้แก่เพื่อนร่วมชาติ และเป็นฝ่ายชนะอย่างง่ายดาย ด้วยกระบวนท่า “เท้าไร้เงา” ซึ่งเป็นไม้ตายประจำตัวที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากสุดของเขา (เหตุการณ์ครั้งนี้ ได้รับการนำมาสร้างเป็นหนังเรื่อง How Huang Feihong Vanquished the Terrible Hound at Shamian เมื่อปี 1956)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 19:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร