วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 13:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นธรรมชาติของตัวท่านเองคือ เซน ไม่คิดถึงอะไรคือเซน ทุกสิ่งที่ท่านทำคือเซน รวมคำสอนของท่านโพธิธรรม เช่น หลักการปฏิบัติธรรม ธรรมเทศนาดุจกระแสเลือด จงทำตามธรรม แต่อย่าทำตามความคิด การถ่ายทอดธรรมคือการถ่ายทอดจิตสู่จิต เสียงปลุก การบรรลุธรรม การบูชา เป็นต้น แปลจาก THE ZEN TEACHING OF BODHIDHARMA แปลโดย พุทธยานันทภิกขุ


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงบู๊ตี่ เหลี่ยงบู๊ตี่ฮ่องเต้ตรัสถามท่านเรื่องอานิสงค์จากการสร้างโบสถ์วิหารจำนวนมากของพระองค์ ว่าจะได้อะไร ท่านโพธิธรรม ตอบว่า "ไม่ได้อะไร"เมื่อตรัสถามต่อว่า หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ท่านโพธิธรรม ตอบว่า "ไม่มีอะไร" ตรัสถามต่อว่า ตัวท่านพระโพธิธรรมที่มาอยู่ตรงหน้าพระองค์ในเวลานี้ คืออะไร ท่านโพธิธรรมตอบว่า "ไม่มีอะไรเหมือนกัน"

จากนั้นท่านโพธิธรรมะจึงเดินทางมาพำนักที่วัดเส้าหลิน ปรับปรุงพระธรรมวินัยในวัดเส้าหลิน เผยแผ่นิกายฌาน บำเพ็ญภาวนาอย่างเคร่งครัด ท่านได้สอนการทำจิตใจให้ผ่องใส โคจรลมปราณ ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อเอาชนะความหนาวเย็นและสร้างพลานามัย ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นศิลปการต่อสู้และป้องกันตัวแบบวัดเส้าหลิน


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




9yhd,hv.bmp
9yhd,hv.bmp [ 422.29 KiB | เปิดดู 9210 ครั้ง ]
วัตรปฏิบัติของท่านโพธิธรรมนั้น ท่านเคร่งครัดและพูดน้อยมาก หลังจากปรับปรุงพระธรรมวินัยของวัดเส้าหลิน อบรมสั่งสอนพระลูกวัดจนมีผู้สืบทอดการสอนธรรมต่อไปได้แล้ว ท่านจึงได้นั่งสมาธิเข้าฌานอยู่ถึง 9 ปี โดยหันหน้าเข้าฝาผนังถ้ำโดยตลอด


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 มี.ค. 2010, 19:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




pic4tamo.jpg
pic4tamo.jpg [ 47.23 KiB | เปิดดู 9288 ครั้ง ]
ท่านโพธิธรรมเคยกล่าวโศลกไว้ว่า


"ฉันเดิมมาถึงแผ่นดินนี้
ถ่ายทอดธรรมช่วยผู้หลงงมงายอารมณ์
หนึ่ง-ดอกไม้บานครบ 5 กลีบแล้ว
ผลที่สุดธรรมชาติจะปรากฎขึ้นมาเอง"

ท่านสอนว่า

"ธรรมชาติแท้ของ จิต นั้น ถ้าเข้าใจซึมซาบแล้ว
คำพูดของมนุษย์ ไม่สามารถหว่านล้อม หรือเปิดเผยมันได้
ความตรัสรู้ คือความไม่มีอะไรให้ใครต้องลุถึง
และผู้ซึ่งได้ตรัสรู้ ก็ไม่พูด ว่าเขารู้อะไร"


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 27 ม.ค. 2010, 18:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




9yhd,hv.bmp
9yhd,hv.bmp [ 422.29 KiB | เปิดดู 9209 ครั้ง ]
ท่านโพธิธรรม ถือเป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 28 และเป็นองค์สุดท้ายของนิกายฌานในอินเดียแต่ถือเป็นสังฆปรินายกองค์แรกของนิกายฌานในประเทศจีนตำแหน่งสังฆปรินายกนี้ได้สืบต่อมาตามลำดับ

จนถึงปลายสมัยราชวงศ์ถัง เกิดวิกฤตการณ์พุทธศาสนา มีการทำลายวัด เผาคัมภีร์ ฆ่าพระและชีจำนวนมาก พุทธศาสนานิกยายที่มีแบบแผนพิธีกรรมถูกกำจัด ชาวพุทธหันมาหานิกายฌานมากขึ้น วัดนิกายฌานจึงขยายตัว แต่วัดที่มีบทบาทในการฝึกเคลื่อนไหวร่างกายและพัฒนาไปสู่การฝึกหมัดมวยเพื่อป้องกันตัวคือวัดเส้าหลิน

ตอนที่แยกออกมาเป็นเส้าหลินใต้นั้น เป็นสมัยของท่านเว่ยหล่าง สังฆปรินายกองค์ที่ 6 ของนิกายฌานในจีน ท่านได้รับมอบบาตรและจีวรจากพระอาจารย์ฮ่งยิ้มไต้ซือ สังฆปรินายกองค์ที่ 5 หลังจากท่านเขียนโศลก แก้
โศกกที่พระภิกษุซิ้งซิ่ว เขียนไว้ว่า


กายเหมือนต้นโพธิ์
จิต เหมือน กระจกเงาใสบนแท่น
ทุก ๆ เวลาต้องหมั่นปัดเช็ด
อย่าใช้ยั่วเย้า(ก่อ)ฝุ่นละออง"
(สำนวนแปลของท่านธีรทาส)

ความจริงท่านเว่ยหล่าง อ่านหนังสือไม่ออก แต่ให้เด็กวัดช่วยอ่านให้ท่านฟัง เมื่อท่านได้ฟังแล้วจึงอาศัยเด็กวัดช่วยเขียนโศลกแทนท่าน ความว่า

"โพธิ์ เดิม ไม่มีต้นไม้
กระจกเงาใส ก็มิใช่แท่น
เดิมมาไม่มีแม้แต่หนึ่งสิ่ง
ที่ไหนจะยั่วเย้า(ก่อ)ฝุ่นละออง?"
(สำนวนแปลของท่านธีรทาส)


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 05 มี.ค. 2010, 19:34, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่ออาจารย์ฮ่งยิ้มไต้ซือมาเห็นเข้า สอบถามจากเด็กวัด จึงรู้ว่าท่านเว่ยหล่างบรรลุธรรมแล้ว ท่านจึงได้มอบบาตรและจีวรให้ ซึ่งหมายถึงให้สืบทอดตำแหน่งสังฆปรินายก แต่ขณะนั้นท่านเว่ยหล่างยังเป็นเพียงคนป่าคนดงที่เข้ามาอาศัยขอศึกษาธรรมอยู่ในวัด อาจารย์ฮ่งยิ้มไต้ซือจึงสั่งเสียให้เดินทางไปหลบซ่อนตัวในทางใต้ก่อนที่จะเผยแผ่พระธรรมในเวลาที่เหมาะสม ท่านเว่ยหล่างจึงจาริกลงไปทางใต้ หลายปีต่อมาท่านจึงบวช เผยแพร่พระธรรม และได้ตั้งวัดเส้าหลินขึ้นที่ภาคใต้

ส่วนวัดเส้าหลินเหนือ ผู้สืบทอดตำแหน่งเจ้าอาวาส คือพระภิกษุซิ้งซิ่ว ผู้เขียนโศลก "กาย คือ ต้นโพธิ์" เรื่องของท่านเว่ยหล่างเกิดขึ้นในปลายสมัยราชวงศ์ถังตรงกับช่วงที่บูเช็คเทียนเรืองอำนาจ จนถึงขึ้นครองราชบัลลังก์สถาปนาเป็นจักรพรรดินีบูเช็คเทียน

พระนางบูเช็คเทียนให้การอุปถัมภ์พุทธศาสนาอย่างมาก ให้ความยกย่องทั้งท่านซิ้งซิ่ว(ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ราชครูชินเชาเพราะท่านเป็นราชครูสอนธรรมะพระนางบูเช็คเทียน)และท่านเว่ยหล่าง รวมถึงพระนางได้อุปถัมภ์ให้พระสมณะอี้จิงเดินไปทางอินเดียตามรอยพระถังซัมจั๋งอีกด้วย


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จากการที่วัดเส้าหลินสัดทัดในเรื่องการทำโยคะ การโคจรลมปราณ และการฝึกการเคลื่อนไหวต่างๆ จนกลายเป็นการฝึกหมัดมวยเพื่อการป้องกันตัวในแบบฉบับของวัดเส้าหลินนี้ ต่อมานำไปสู่เหตุการณ์ที่ทำให้วัดเส้าหลินได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่องกู้ชาติในปลายสมัยราชวงศ์ซ้อง

ปลายสมัยราชวงศ์ซ้อง ศิษย์วัดเส้าหลินได้มีบทบาทสนับสนุนการต่อสู้ป้องกันการรุกรานของมองโกลที่นำโดยเจงกีสข่าน ต่อมาเมื่อมองโกลสามารถยึดครองจีน ก่อตั้งราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวนจึงหันไปสนับสนุนพุทธศาสนานิกายตันตระของธิเบตแทน วัดเส้าหลินถูกปราบปราม ลดบทบาทลง แต่เนื่องจากวัดเส้าหลินมีสาขาในที่ต่างๆ บทบาทในการเป็นวัดที่ถ่ายทอดการฝึกเพลงมวยป้องกันตนเองควบคู่กับการเผยแพร่นิกายฌานจึงยังคงดำรงอยู่

ปรมาจารย์ตั๊กม้อแห่งวัดเส้าหลิน เป็นพระเถระผู้ใหญ่ในพระพุทธศาสนาจากอินเดียใต้ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่นิกายฌาน ซึ่งต่อมานิกายฌานนี้ได้แพร่หลายไปยังประเทศญี่ปุ่น ซึ่งออกเสียงเรียกคำว่า ฌาน ว่า เซน เราจึงมักเรียนนิกายนี้ว่า นิกายเซน ตามเสียงญี่ปุ่น


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


สำนักเส้าหลิน (สำนักเสี้ยวลิ้ม)

ท่านผู้อ่านต้องร้อง อ๋อ.. สำนักนี้รู้จักดีจากนิยายกำลังภายใน และภาพยนต์ที่สร้างเกี่ยวกับสำนัก
นี้กันนับไม่ถ้วน

สำนักเส้าหลินเป็นหนึ่งในสำนักใหญ่ของวิทยายุทธ์จีน มีการบันทึกว่าหลวงจีนแห่งวัดเส้าหลิน
ภูเขาซงซานในสมัยราชวงศ์ถัง จำนวน 13 รูป ได้ช่วยถังไท่จงฮ่องเต้ปราบกบฏได้สำเร็จ มี
คุณูปการต่อราชวงศ์ถัง สำนักนี้มีการถ่ายทอดวิทยายุทธ์ออกไปอย่างกว้างขวาง

วิชามวยของสำนักเส้าหลินมีท่วงท่าที่เหยียดกว้าง แกร่งกร้าว มีพลัง มีการเคลื่อนไหวท่วงท่า
ที่เรียบง่าย สามารถใช้ในการต่อสู้ได้เป็นอย่างดี

สำนักเส้าหลินมีวิชามวยและวิชาอาวุธมากมายหลากหลายชนิด ที่มีชื่อเสียง เช่น หลอฮั่นเฉวียน
(หล่อฮั่งคุ้ง มวยอรหันต์) เผ้าเฉวียน (เพ่าคุ้ง), เหมยฮวาเฉวียน (บ่วยฮวยคุ้ง มวยดอกเหมย)
เส้าหลินกุ้น (เสี้ยมหลิ่มกุ่ง พลองเส้าหลิน) ต๋าหมัวเจี้ยน (ตักหม่อเกี่ยม กระบี่ตั๊กม้อ) เหมยฮวา
เตา (บ่วยฮวยตอ ดาบดอกเหมย) และชุนชิวต้าเตา (ซุงชิวตั่วตอ ง้าวชุนชิว) เป็นต้น

ห้าสำนักใหญ่เส้าหลิน สำนักเส้าหลิน แบ่งออกเป็นห้าสำนักใหญ่ อันมี เอ๋อเหมยเส้าหลิน
(หง่อไบ๊เสี้ยวลิ้ม), อู่ตังเส้าหลิน (บูตึงเสี้ยวลิ้ม), ฝูเจี้ยนเส้าหลิน (ฮกเกี่ยงเสี้ยวลิ้ม), กว่างตง
เส้าหลิน (กึงตังเสี้ยวลิ้ม) และเหอหนานเส้าหลิน (ห่อน้ำเสี้ยวลิ้ม วัดเส้าหลินที่เขาซงซาน)

เหอหนานเส้าหลิน ยังแบ่งออกเป็น 3 ตระกูล คือ เส้าหลินตระกูลหง (อั๊ง) วิชามวยเน้นความแข็ง
แกร่ง, เส้าหลินตระกูลข่ง (ข้ง) วิชามวยเน้นด้านอ่อนหยุ่น และเส้าหลินตระกูลหยู (ยู้) วิชามวย
เป็นแนวทางที่ผสมกัน ทั้งด้านแกร่งและอ่อนหยุ่น


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เส้าหลินเหนือ เส้าหลินใต้

การแบ่งเส้าหลินเหนือ - ใต้ อาศัยแม่น้ำแยงซีเกียงเป็นเส้นแบ่งเหนือ - ใต้ ฝั่งใต้ของแม่น้ำแยงซี
เกียงคือ เส้าหลินใต้ เรียกวิชามวยในแถบนี้ว่า หนานเฉวียน (หน่ำคุ้ง มวยใต้) ส่วนฝั่งเหนือของ
แม่น้ำคือ เส้าหลินเหนือ มีฉางเฉวียนเป็นตัวแทนของวิชามวยเหนือ

ปรมาจารย์ต๋าหมัว (ตักม้อ) พวกเรารู้จักและเรียกกันว่า ตั๊กม้อ ท่านเป็นพระในพุทธศาสนาชาวอินเดีย
ได้เดินทางไปยังเมืองจินหลิงในสมัยของกษัตริย์เหลียงอู่ตี้ เพื่อเผยแพร่พระธรรม แต่ไม่ได้ผลดี จึง
เดินทางไปยังทิศตะวันออกไปถึงแคว้นเว่ย และได้ไปถึงวัดเส้าหลินที่เขาซงซาน เห็นว่าเป็นที่สงบ
และเหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จึงได้พำนักอยู่ที่วัดนี้ ท่านปรมาจารย์ต๋ำหมัวได้นั่งหันหน้าเข้าผนังถ้ำ
บนเขา เข้าฌาณเป็นเวลา 9 ปี ภายหลังได้ถ่ายทอดธรรมะให้แก่มหาสมณะฮุ่ยเข่อ (หุ่ยข้อ) ซึ่งเป็น
ศิษย์ เป็นอาจารย์องค์ที่ 1 แห่งพุทธศาสนานิกายเซน


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


วัดเส้าหลิน เป็นชื่อวัดทางพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานในประเทศจีน วัดเส้าหลินในจีนมีอยู่ 3 แห่ง
ด้วยกัน แห่งแรกอยู่ที่เมืองเฉวียนโจว (จั่วจิว) ในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) แห่งที่สองอยู่ที่ตำบลจี้
(กี๋) ในมณฑลเหอเป่ย และแห่งที่สามอันมีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันดีก็คือ วัดเส้าหลิน ที่ตำบล
เติงเฟิง (เต็งฮง) ในมณฑลเหอหนาน

ซงซาน (ซงซัว) คือชื่อภูเขาที่เป็นที่ตั้งของวัดเส้าหลิน มีอีกชื่อว่าซงเกา ซงซานเป็นหนึ่งในห้า
ขุนเขา ที่เขานี้มียอดเขาสามยอด ยอดกลางมีชื่อว่าจวิ้นจี๋ (จุ้งเก๊ก) ยอดทางทิศตะวันออกมีชื่อว่า
ไท่สื้อ (ไท่สิก) ส่วนยอดทาง ทิศตะวันตกมีชื่อว่าเส้าสื้อ (เซียวสิก)

วัดเส้าหลินซงซาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาซงซานที่ชื่อว่า เส้าสื้ออยู่ในตำบลเติงเฟิง (เต็งฮง)
มณฑลเหอหนาน วัดนี้สร้างขึ้นในปีรัชกาลไท่เหอ ในราชวงศ์เว่ย (งุ้ย) ต่อมาสุยเหวินตี้ฮ่องเต้
(สุ่ยบุ่งตี่) ในราชวงศ์สุยได้เปลี่ยนชื่อเป็นจื้อฮู่ (เท็กหู) สืบต่อมาในราชวงศ์ถัง ได้เปลี่ยนชื่อกลับมา
เป็นเส้าหลินตามเดิม



ในวัดมีป้ายหินซึ่งเจ้าฉินอ๋อง (คือหลี่ซื่อหมิน ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นถังไท่จง ฮ่องเต้แห่งราช
วงศ์ถัง) ในสมัยของถังอู่เต๋อ (ถั่งบูเต็ก) หลี่เอียนซึ่งเป็นพระบิดาของเจ้าฉินอ๋อง ได้พระราชทาน
ให้แก่วัดเส้าหลิน มีคำจารึกคำสรรเสริญคุณูปการของพระวัดเส้าหลินที่ช่วยปราบกบฏจนสำเร็จ

เส้าหลินอู่เฉวียน (เสี้ยวลิ้มโหงวคุ๊ง) เป็นวิชามวยของวัดเส้าหลิน มีห้าวิชาที่ถือว่าเป็นยอดวิชา
หมัดมวย ห้าวิชานี้มี หลงเฉวียน (เหล่งคุ้ง มวยมังกร) ใช้ฝึกจิตฝึกสติ หู่เฉวียน (โหวคุ้ง มวย
พยัคฆ์) ใช้ในการฝึกกระดูก ป้าเฉวียน (ป้าคุ้ง มวยเสือดาว) ใช้ฝึกพลัง เสอเฉวียน (จั่วคุ้ง มวยงู)
ใช้ฝึกพลังปราณ (ชี่) เฮ่อเฉวียน (เหาะคุ้ง มวยกระเรียน) ใช้ฝึกจิง (เจ็ง ในทางการแพทย์จีน
ในร่างกายคนเรามีสารสำคัญอยู่ในร่างกายที่เรียกว่าสารจำเป็น) วิชามวยทั้งห้าชนิดนี้ ท่าน
ปรมาจารย์ต๋าหมัวเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาถ่ายทอดให้กับพระในวัด


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เส้าหลินสือปาหลอฮั่นโส่ว (เสี้ยวลิ้มจับโป้ยหล่อฮั่งชิ่ว) วิชานี้ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์
เหลียง โดยท่านปรมาจารย์ต๋าหมัวเป็นผู้คิดค้นขึ้น ท่านต๋าหมัว เมื่อมาอยู่ที่วัดเส้าหลินได้เห็นเหล่า
พระเณรขาดความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีอาการง่วงเหงาหาวนอน เวลาฟังท่านบรรยายธรรมก็ไม่มี
สมาธิ ท่านจึงได้คิดค้นวิธีการบริหารแก่เหล่าพระเณรในวัด ซึ่งมีทั้งหมด 18 ท่า มีชื่อเรียกคือ

เฉาเทียนจื๋อจวี่ (เฉี่ยวเทียงติกกื้อ) 2 ท่า
ไผซานอวิ้นจ่าง (ไป่ซัวอุ่งเจี้ย) 4 ท่า
เฮยหู่เซินเอียว (เฮ็กโฮ่วซุงเอีย) 4 ท่า
อิงอี้ซูจั่น (เอ็งเอ๊กซูเตี้ยง) 1 ท่า
อีโจ่วโกวเซียง (อิ๊บอิ้วเกาเฮง) 1 ท่า
หวั่นกงไคเก๋อ (มังเก็งไคแกะ) 1 ท่า
จินป้าลู่เจ่า (กิมป่าโล้วเยี่ยว 1 ท่า
ถุ่ยลี่เตียต้าง (ถุยลักเตียกตั๋ง) 4 ท่า

(4 ท่านี้เป็นท่าเท้า นอกนั้นเป็นท่ามือ


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


อี้จินจิง (เอ็กกึงเก็ง) คือคัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น ท่านปรมาจารย์ต๋าหมัวเป็นผู้คิดค้นขึ้น และได้ถ่าย
ทอดให้กับเหล่าศิษย์ ท่านต๋าหมัวได้รจนาคัมภีร์ขึ้นสองฉบับ หนึ่งคือ สีสุ่ยจิง (เซยชวยเก็ง) คือ
คัมภีร์ล้างไขกระดูก ได้ถ่ายทอดคัมภีร์นี้ให้แก่ท่านฮุ่ยเข่อ (หุ่ยข้อ) ไม่ได้ถ่ายทอดแก่คนทั่วไป
คัมภีร์นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกตามวิถีทางก่อนกำเนิด (เซียนเทียน) ส่วนอีกฉบับหนึ่งคือ อี้จินจิง
(เอ็กกึงเก็ง) ได้ถ่ายทอดให้แก่เหล่าศิษย์ในวัดเส้าหลิน และได้มีการถ่ายทอดเรื่อยมาจนถึงยุค
ปัจจุบัน อี้จินจิงมีเนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกฝนกระดูกและเส้นเอ็นให้แข็งแรงเป็นการฝึกตามวิถี
ทางหลังกำเนิด (โฮ่วเทียน)


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เกร็ดบู๊ลิ้ม สำนักอู่ตัง (ตอนที่ 2)
โดย อ.เซียวหลิบงั้ง (webmaster www.thaitaiji.com)

ตีพิมพ์ในวารสารฮวงจุ้ยกับชีวิตปีที่ 2 ฉบับที่ 16-23

(ตอนก่อน)

อู่ตังพ่าย (บูตึงผ่าย) หมายถึงสำนักบูตึงหรือบู๊ตึ๊ง สำนักอู่ตังเป็นอารามทางลัทธิเต๋า เป็นสำนัก
ฝ่ายพรต สำนักอู่ตังเริ่มต้นจากปรมาจารย์จางซันเฟิง (เตียซำฮง) ได้บำเพ็ญพรตอยู่บนเขาอู่ตัง
และต่อมาได้รับศิษย์เอาไว้ได้ถ่ายทอดวิชามวยไท่เก๊กและวิชาอื่นๆ ที่เป็นฝ่ายมวยภายใน โดย
สำนักอู่ตังเป็นตัวแทนฝ่ายมวยภายใน ส่วนวัดเส้าหลินเป็นตัวแทนฝ่ายมวยภายนอก ซึ่งทั้งสอง
สำนักนี้เป็นสำนักศิลปะการต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

อู่ตังซาน (บูตึงซัว) คือภูเขาบูตึงตั้งอยู่ในมณฑลหูเป่ยทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
มีอีกชื่อว่าไท่เหอซาน (ไท่หั่วซัว) ข้างบนมีอารามของลัทธิเต๋าและมีผู้บวชเป็นนักพรตบำเพ็ญอยู่
ที่นี่ เขาอู่ตังมี 72 ยอดเขา36 หน้าผา 24 ถ้ำ ที่มีชื่อเสียง เล่ากันว่าที่เขาอู่ตังมีนักพรตเจินอู่
(จิงบู้) มาบำเพ็ญพรตจนสำเร็จเป็นเซียนเง็กเซียนฮ่องเต้มีบัญชาให้เฝ้าพิทักษ์ทางด้านทิศเหนือ
เจินอู่มีชื่อเดิมว่าเสวียนอู่ (เหี่ยงบู้) ฮ่องเต้เจินจงของราชวงศ์ซ่งได้เปลี่ยนชื่อให้เสียใหม่ว่าเจินอู่

อู่ตังเฉวียน (บูตึงคุ้ง) คือวิชามวยของอู่ตังหรือบูตึง อันเป็นวิทยายุทธ์ของสำนักใหญ่สำนักหนึ่ง
ของจีน วิชามวยของสำนักนี้เน้นความสงบมาสยบความเคลื่อนไหว ใช้ความอ่อนหยุ่น พิชิตความ
แข็งแกร่ง ใช้ความช้าเข้าต่อกรกับความเร็ว ใช้ช่วงสั้นเอาชนะช่วงยาว ฝึกฝนทั้งภายในและภาย
นอก ให้ความสำคัญทั้งทางด้านรูปลักษณ์และจิต

วิชามวยอู่ตังที่สำคัญก็มี มวยไท่จี๋ (ไท่เก๊ก) มวยอู๋จี๋ (มวยบ่อเก๊ก) มมวยอู่ตังไท่อี้อู่สิง (มวยบูตึง
ไท่อิกโหงวเฮ้ง) มวยอู่ตังอวี๋เหมิน (มวยบูตึงหื่อมึ้ง) อู่ตังปาเสอ (บูตึงโป้ยจี้) อู่ตังจิ่วกงสือปาถุย
(บูตึงเกาเก็งจับโป้ยทุ่ย) มวยภายในอู่ตังจางสงซี (มวยภายในบูตึงเตียส่งโคย) เป็นต้น

อู่ตังไท่อี้อู่สิงเฉวียน (บูตึงไท่อิกโหงวเห่งคุ้ง) มวยนี้มีชื่อดั้งเดิมว่า อู่ตังไท่อี้อู่สิงฉินพูเอ้อสือ
ซานซื่อ (บูตึงไท่อิกโหงวเฮ้งคิ่มผกหยี่จับซาเส็ก) ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงในปี
รัชกาลหงจื้อ โดยจางโซ่วชิ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์รุ่นที่ 8 แห่งสำนักมังกร ในปี 1929

จินจื่อเทา (เป็นเชื้อพระวงศ์แมนจูที่มีชื่อเป็นแมนจูว่าอ้ายซินเจี๋ยหลอผู่ซวน) ได้ไปยังเขาอู่ตัง
เรียนวิชามวยนี้จากนักพรตหลี่เหอหลิน

มวยไท่อี้อู่สิงใช้ฝึกเพื่อบำรุงลมปราณ เสริมสร้างสุขภาพและยังใช้ในการป้องกันตัวได้ การเคลื่อน
ไหวอ่อนหยุ่นคล่องแคล่วและเป็นวงกลม ใช้จิตไม่ใช้กำลัง เคลื่อนไหวช้าๆ การเคลื่อนไหวดุจดั่ง
งู มวยนี้ยังมีการฝึกพื้นฐานมีชื่อเรียกว่า อู่ตังจิ่วกงสือเอ้อฝ่า (บูตึงเกาเก็งจับหยี่หวบ)

อู่ตัวอวี๋เหมินเฉวียน (บูตึงหื่อหมึ่งคุ้ง) เป็นหนึ่งในสี่วิชามวยของอู่ตังที่มีชื่อเสียง (มวยสี่ชนิดคือ
มวยอวี๋เหมิน, ปาเสอ, ไท่อี้อู่สิง, และจิ่วกงสือปาถุ่ย ตามบันทึกของอู๋จื้อชิง ซึ่งเขียนไว้ในหนังสือ
ไท่จี๋เจิ้งจง กล่าวไว้ว่า

มวยอวี๋เหมิน มีเพลงมวยทั้งหมด 13 ชุด การใช้มีส่วนคล้ายคลึงกับมวยไท่เก๊ก และมีการผลักมือ
(ทุยโส่ว) มวยอวี๋เหมินใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว เช่นเดียวกับมวยสายอู่ตังอื่นๆ ใช้ความ
อ่อนพิชิตความแข็งกร้าว อาศัยการคล้อยตามท่าทางของคู่ต่อสู้ การปล่อยพลัง เลียนแบบการ
สะบัดตัวของปลา มีการใช้ร่างกาย 5 ส่วน เป็นอาวุธ ที่เรียกว่า อู่เฟิง (โงวฮง) ซึ่งหมายถึงส่วน
ศีรษะ หัวไหล่ ศอก ก้น และหัวเข่า ทั้ง 5 ส่วนนี้สามารถออกพลังทำร้ายคู่ต่อสู้ได้

วิชานี้ถ่ายทอดมาจากเมืองเสียนหนิง มณฑลหูเป่ย ในสมัยปลายราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิง
ที่เขาหลงถันเมืองเสียนหนิง มีคนอยู่ 6 คนเป็นเพื่อนสนิทกัน เชี่ยวชาญทั้งบุ๋นและบู๊ หกคนนี้มี
แซ่เกอ เหอ จง ต่ง หัน จั๋ว ครั้งได้ไปเที่ยวที่เขาเฉวียนในช่องเขาจินเฟิ่ง ได้พบเห็นปลาในบึง
ว่ายน้ำไล่กันอย่างคล่องแคล่วว่องไวเป็นอัศจรรย์ พร้อมกับได้เห็นชาวประมงทำการเหวี่ยงแห
จับปลาอย่างคล่องแคล่วชำนาญ จึงได้คิดค้นมวยนี้ขึ้นมาจากแรงบันดาลใจของปลา

มวยภายในอู่ตังจางสงซี (มวยภายในอู่ตังเตียส่งโคย) วิชามวยนี้เกิดในสมัยราชวงศ์หมิงในรัช
สมัยเจียจิ้ง จางสงซีได้พัฒนามวยนี้จากพื้นฐานมวยอู่ตังรวมกับมวยของอีก 8 ตระกูลคือ เจิง
เยี่ย ตู้ จ้าว หง จื้อ และ หัว หลอมรวมเป็นวิชามวยนี้ขึ้นมา จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า ปาเหมินฮุ่ยจง
(โป้ยมึ้งห่วยจง) วิชามวยนี้ได้รวมเอาวิชาทางการใช้ยา และวิชาชี่กงรวมอยู่ด้วย

อาวุธของสำนักอู่ตัง อาวุธที่พบเห็นกันบ่อยของสำนัก

อู่ตังมีกระบี่ไท่จี๋ (กระบี่ไท่เก๊ก) กระบี่อู่ตัง (กระบี่บูตึง) กระบี่ไป๋หง (กระบี่แป๊ะฮ้ง -กระบี่รุ้งขาว)
ดาบไท่จี๋ ดาบไท่จี๋เสวียนเสวียน (ดาบไท่เก๊กเหี่ยงเฮี้ยง) ดาบลิ่วเหอ (ดาบหลักฮะ -ดาบหก
สัมพันธ์) ทวนไท่จี๋, ทวนอินฝู (ทวนอิมฮู้) พลองไท่จี๋ พลองอินฝู (พลองอิมฮู้) พลองสงซี
(พลองซ่งโคย) เป็นต้น


โพสต์ เมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 20:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

การฝึกฝนไท่เก๊ก ในประเทศจีนวิชามวยไท่เก๊ก หรือ ไท่เก็กคุ้ง (จีนตัวเต็ม: 太極拳; จีนตัวย่อ: 太极拳; พินอิน: Tàijíquán) เรียกกันตามภาษาจีนแต้จิ๋วซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่คนจีนบ้านเรา อ่านแบบจีนกลางว่า ไท่จี๋เฉวียน เขียนเป็นภาษาอังกฤษคือ Taijiquan หรือ Tai'chi Chuan แต่ในบ้านเราเรียกกันหลายสำเนียงทั้ง ไท่เก๊ก ไทเก็ก ไท้เก๊ก ไท่จี๋ ไท้จี๋ ไทชิ ไทกิ๊บ

วิชามวยไท่เก๊กเป็นศิลปยุทธ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน เชื่อกันว่าปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กคือนักพรตชื่อ จางซานฟง (เตียซำฮงในภาษาแต้จิ๋ว) ซึ่งมีชีวิตอย่ในช่วงปี ค.ศ. 12xx-14xx แต่วิชานี้มามีชื่อเสียงเอาในสมัยราชวงศ์ชิง โดยท่านหยางลู่ฉานซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง และภายหลังได้แพร่ขยายขจรขจายไปทั่วโลก สำหรับในประเทศไทยอาจารย์ต่งอิงเจี๋ย (ตั่งเองเกี๊ยก) นำมวยไทเก๊กมาเผยแพร่ในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. 2498 ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 อาจารย์ต่งส่งบุตรชายของท่านคืออาจารย์ต่งหูหลิ่ง (ตั่งโหวเนี่ย) มาเป็นครูมวยไทเก๊กคนแรกในประเทศไทย จึงกล่าวได้ว่ามวยไทเก๊กในไทยนั้น สืบสายมาจากมวยไท่เก๊กตระกูลหยาง

ในปัจจุบัน มวยไท่เก๊กที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วไปมีอยู่มากมายหลายสาย หลายตระกูล ซึ่งสายมวยอันเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันมีอยู่ 5 สายหลักคือ ไท่เก๊กตระกูลเฉิน, ตระกูลหยาง, ตระกูลอู่, ตระกูลอู๋ และตระกูลซุน ซึ่งภายหลังรัฐบาลจีนได้นำท่ามวยของทั้งห้าตระกูลมาเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันลีลายุทธ์ด้วย นอกจากห้าตระกูลนี้แล้ว ภายหลังยังมีมวยไท่เก๊กตระกูลอื่นๆ ซึ่งแตกแยกย่อยไปจากห้าตระกูลนี้ รวมถึงยังปรากฏมวยไท่เก๊กประจำถิ่นอีกหลายๆ สายปรากฏออกมาอีกมากมาย หากไม่ว่าจะเป็นมวยไท่เก๊กสายใดตระกูลใด แม้ท่วงท่าจะแตกต่างกัน แต่ยังอิงเคล็ดความเดียวกัน และล้วนนับถือท่านจางซานฟงเป็นปรมาจารย์เช่นเดียวกัน

มวยไท่เก๊กมีลักษณะนุ่มนวล โอนอ่อน ผ่อนคลาย การเคลื่อนไหวลื่นไหลต่อเนื่อง การหายใจสอดประสานไปกับการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งต้องตั้งจิตติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกายไปตลอดทำให้เกิดสมาธิ เนื่องจากไม่มีการเกร็งกล้ามเนื้อ หรือการออกแรงกระแทก จึงมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บร่างกายได้น้อยเมื่อเทียบกับกีฬาที่ใช้แรงชนิดอื่นๆ ทำให้เหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย แม้แก่ชราอายุ 90-100 กว่าปีก็ยังฝึกฝนได้ ประโยชน์ที่ได้รับนอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็นศิลปะป้องกันตัวได้หากได้รับการฝึกฝนเพื่อใช้ต่อสู้ ในปัจจุบันไท่เก๊กมีผู้นิยมฝึกฝนกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 95 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 7  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร