วันเวลาปัจจุบัน 06 ต.ค. 2024, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[ทุสเจดีย์ พระสถูปในพรหมโลก สมุดภาพไตรภูมิฉบับหลวง สมัยธนบุรี]

ส มุ ด ข่ อ ย : ทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย

สมุดข่อย คือ หนังสือโบราณที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญาและความสามารถของบรรพบุรุษไทย
โดยการนำเอาวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ
คือเปลือกของต้นข่อยมาทำเป็นแผ่นกระดาษตามกรรมวิธี
แล้วนำเอาด้านกับด้านมาต่อกันด้วยกาวติดกันเป็นพืด
สำเร็จรูปเป็นผืนยาวเท่าที่ผู้ใช้ต้องการจะใช้ในการบันทึกข้อมูล
แล้วพับทบกลับมาเป็นเล่มสมุด


ลักษณะของเล่มสมุดข่อยมีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว
ไม่เย็บเป็นเล่มมีสันปกดังเช่นหนังสือที่เห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน
แต่เป็นเล่มสมุดประกอบด้วยรูปทรงเป็นปึกหนา
มีด้านกว้างและด้านยาวเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

อุปกรณ์ที่เขียนบันทึกลงบนกระดาษสมุดข่อย
เป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ ปากกา ปากไก่ ขนนก ดินสอและน้ำหมึก เป็นต้น

สมุดข่อยนับเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีคุณค่าทางวิชาการอย่างยิ่ง
ที่คนไทยทุกคนพึงภาคภูมิใจ สนใจศึกษาค้นคว้า
และช่วยกันเก็บรักษาเอาไว้เป็นสมบัติของชาติตลอดไป


รูปภาพ

สมุดข่อย มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สมุดไทย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๔๙๓
ได้ให้คำจำกัดความของสมุดข่อยไว้ว่า สมุดที่ทำด้วยกระดาษข่อยพับเป็นชั้น ๆ

จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวถึงความสำคัญของสมุดข่อยไว้ในหนังสือ ภาษาและนิรุกติศาสตร์ ว่า

“...จริงอยู่สมัยโบราณเมื่อเราใช้กระดาษข่อยเราเรียกว่าสมุดไทย
หรือถ้าเป็นสีดำเราเรียกว่าสมุดดำ ถ้าเป็นสีขาวก็เรียกว่าสมุดขาว

ครั้นเมื่อกระดาษฝรั่งตกเข้ามาในเมืองไทยใช้พิมพ์ทำหนังสือเป็นเล่ม ๆ ขาย
เรียกว่า สมุดฝรั่งบ้าง สมุดพิมพ์บ้าง
แต่มาภายหลังสมุดไม่ได้หมายถึงหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มอีกแล้ว
แต่แยกไปหมายถึงเล่มกระดาษเปล่า ๆ สำหรับเขียน
ส่วนที่พิมพ์หนังสือเป็นเล่มเราเรียกว่า หนังสือ อย่างที่เราใช้ในปัจจุบัน...”


ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่บันทึกไว้ในสมุดข่อยมีทั้ง
ประวัติศาสตร์ วรรณคดี ตำรายา โหราศาสตร์
และเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา เช่น พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ย่อ
เป็นต้น


ศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้นับเป็นข้อมูลทางวิชาการขั้นประถมภูมิที่สามารถอ้างอิง
และสอบสวนเรื่องราวของบรรพชนได้อย่างชัดเจน


(มีต่อ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[คังไคยหัตถี สมุดภาพตำราคชลักษณ์]


นอกจากนี้ยังอาจใช้เป็นเอกสาร
ในการศึกษาเปรียบเทียบทางด้านภาษาและตัวอักษรได้อีกด้วย
สมุดข่อยและจิตรกรรมรวมทั้งศาสตร์ต่าง ๆ ที่ปรากฏในสมุดข่อยเหล่านี้
เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็น คติความเชื่อ สภาพสังคม วิถีชีวิตไทย
และ ความเจริญรุ่งเรืองด้านอักษรศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ


คนไทยรู้จักใช้สมุดข่อย และเครื่องเขียนที่ได้จากธรรมชาติ
ในการบันทึกตำรับตำราต่าง ๆ มานานแล้ว
ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือราชอาณาจักรสยาม ของ มร.เดอ ลาลูแบร์
หนึ่งในคณะราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามายังราชสำนักอยุธยา
ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้บันทึกไว้ว่า

“...ชาวสยามทำกระดาษจากผ้าฝ้ายเก่า ๆ
และยังทำจากเปลือกต้นไม้ชนิดหนึ่งชื่อต้นข่อย (Ton Coe) อีกด้วย
ซึ่งต้องนำมาบดย่อยให้ละเอียด เช่นอย่างย่อยผ้าขี้ริ้ว
แต่กระดาษเหล่านี้มีความหนาบางไม่สม่ำเสมอ
ทั้งเนื้อกระดาษและความขาวผ่องก็หย่อนกว่าเรา

ฉะนั้น ชาวสยามจึงไม่ใช้หมึกจีน (สีดำ) เขียนบนกระดาษของพวกเขา
ส่วนมากมักชุบหมึกให้ดำ ซึ่งทำให้เนื้อกระดาษแน่นขึ้น
แล้วใช้เขียนด้วยดินสอ (สอ แปลว่า ขาว) ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นดินเหนียวปั้นตากแดด

หนังสือของพวกเขาไม่มีการเข้าเล่ม เย็บสัน
หากทำเป็นแผ่นยาวเหยียดไม่ใช้วิธีม้วนเก็บเช่นบรรพบุรุษของเรา
หากพับทบไปมาอย่างพับพัดด้ามจิ้ว และทางที่ตีเส้นบรรทัดเขียนตัวอักษรนั้น
เป็นไปตามทางยาวของรอยพับ หาได้เขียนทางด้านขวางไม่”


รูปภาพ
[สมุดภาพวัดปากคลอง จังหวัดเพชรบุรี เล่ม ๓]


สมุดข่อยเป็นงานหัตถกรรมที่คนไทยสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญา
เป็นงานที่ต้องใช้ทั้งเวลาและประสบการณ์ซึ่งสั่งสมมาเป็นเวลานาน
ในที่นี้จะกล่าวถึงกรรมวิธีการทำกระดาษข่อย เพียงสังเขป ดังนี้

ก. ขั้นตอนในการทำกระดาษข่อย

๑. การตัดข่อย ๒. การหมักเปลือกข่อย
๓. กรรมวิธีนึ่งเปลือกข่อย ๔. การสบข่อย หรือทุบเปลือกข่อย
๕. การหล่อกระดาษ ๖. การลบสมุด
๗. การทำเล่มสมุด

ข. อุปกรณ์ในการทำสมุดข่อย

๑. มีดหักสมุดมีปลายมนไม่มีคม ๒. ไม้แบบเพื่อจะพับเป็นเล่มสมุด
๓. แบบพิมพ์เพื่อหล่อกระดาษ มีกรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ๔. โอ่งหรือตุ่มสามโคก
๕. ครุไม้ไผ่ใช้ละลายเยื่อข่อย ๖. ปูนขาว

(รายละเอียดของขั้นตอนการทำจะไม่ขอกล่าวถึง เนื่องจากมีความยาวมาก)

รูปภาพ
[อัปสรฟ้อนรำ สมุดภาพวัดปากคลอง จังหวัดเพชรบุรี เล่ม ๑]

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 14:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ม.ค. 2010, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[วิกขิตตกอสุภกรรมฐาน สมุดภาพวัดปากคลอง จังหวัดเพชรบุรี เล่ม ๒]


สมุดข่อยมีชื่อเรียกตามลักษณะของเส้นที่เขียน ได้แก่

สมุดดำเขียนด้วยดินสอขาว

ได้จากดินสอพองปั้นเป็นแท่ง
ส่วนเส้นขาวอีกวิธีหนึ่งได้จากการนำเปลือกหอยมุก
มาบดจนละเอียดผสมกับกาวยางมะขวิด

สมุดขาว

เขียนด้วยหมึกดำได้จากการนำเอาเขม่าไฟผสมน้ำกาวยางไม้หรือหมึกจีน

ส่วนเส้นตัวอักษรสีเหลือง สีแดง สีทอง ใช้เขียนได้ทั้งสมุดดำและสมุดขาว
เส้นแดงได้จากชาด เส้นเหลืองได้จากรงผสมกับหรดาล
และเส้นสีทองได้จากทองคำเปลวปิดบนตัวอักษรเขียนด้วยกาว

รูปภาพ
[หนังสือสวดเรื่องพระมาลัย]


สมุดข่อยจำแนกออกเป็นหลายประเภท ตามลักษณะประโยชน์ใช้สอย ดังนี้

๑. สมุดพระอภิธรรม

สมุดชนิดนี้บันทึกบทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ย่อ
มักเขียนด้วยตัวอักษรขอมภาษาบาลี อาจมีภาพจิตรกรรมเรื่องประกอบ
สมุดชนิดนี้น่าจะมีเพื่อวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ

๑.๑ พระภิกษุใช้สวดให้พุทธศาสนิกชนฟังในงานศพ
เพื่อให้เกิดธรรมสังเวชและถือว่าได้บุญกุศล

๑.๒ อักษรขอมถือว่าเป็นภาษาที่ศักดิ์สิทธิ์
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก
เป็นภาษาที่พระภิกษุสามเณรต้องเล่าเรียนศึกษา
ต้องฝึกอ่าน ฝึกเขียนให้เกิดความชำนาญช่ำชอง


๒. สมุดสวดพระมาลัย

สมุดชนิดนี้บันทึกบทสวดพระมาลัยด้วยตัวอักษรขอม ภาษาไทย
ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ขอมไทย”
สำหรับพระภิกษุและคฤหัสถ์ใช้สวดในงานมงคล เช่น แต่งงาน
ต่อมาในภายหลังจึงใช้สวดในงานศพ

๓. สมุดถือเฝ้า

เป็นสมุดที่อาลักษณ์ใช้จดบันทึกข้อราชการต่าง ๆ
แล้วนำขึ้นอ่านถวายพระมหากษัตริย์ในที่เฝ้า

๔. สมุดรองทรง

เป็นสมุดที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการทรงพระอักษร

๕. สมุดไตรภูมิ

เป็นสมุดที่บันทึกเรื่องไตรภูมิ ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมและคำบรรยายภาพ
อันเป็นเรื่องที่นิยมมาก เพราะสอนให้ทำดี เกลียดกลัวความชั่ว ไม่เบียดบังกัน


รูปภาพ
[นางอัปสร ๕ องค์ ประโคมดนตรี สมุดภาพวัดปากคลอง จังหวัด เพชรบุรี เล่ม ๒]


สมุดข่อยอาจมีชื่อเรียกตามสีของเส้นอักษรที่เขียนอยู่ในสมุดนั้น ๆ
โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาว่าเกี่ยวกับเรื่องใด หรือใช้ประโยชน์เพื่อการใด เช่น


๑. สมุดข่อยดำ

ที่เขียนตัวอักษรด้วยดินสอขาว เรียกว่า สมุดดำเส้นดินสอขาว
หากเขียนตัวอักษรด้วยสีขาวอีกชนิดหนึ่งก็จะเรียกว่า สมุดดำเส้นขาว

๒. สมุดข่อยสีดำ

ที่เขียนตัวอักษรด้วยสีเหลืองซึ่งได้จากหรดาล เรียกว่า สมุดดำเส้นหรดาล

๓. สมุดข่อยสีขาว

ที่เขียนตัวอักษรด้วยหมึกสีดำ เรียกว่า สมุดขาวเส้นดำ

๔. สมุดข่อยที่เขียนตัวอักษรด้วยเส้นหลายสีผสมกัน เรียกว่า สมุดเส้นรงค์

๕. สมุดข่อยที่ใช้กาวซึ่งได้จากยางไม้

เขียนตัวอักษรแล้วใช้ทองคำเปลวปิดทับบนกาวนั้น เรียกว่า สมุดเส้นทอง

รูปภาพ
[สมุดภาพวัดหัวกระบือ กรุงเทพมหานคร เล่มที่ ๑]


ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ในสมุดข่อยมีทั้งจดหมายเหตุ
วรรณกรรม ตำนาน พงศาวดาร โหราศาสตร์ กฎหมาย
ตำรายา จิตรกรรม ตลอดจน ปรัชญาธรรมในพุทธศาสนา
ฯลฯ

สมุดข่อยจึงเป็นทั้งตำราและเป็นเครื่องมือให้คนปัจจุบัน
ได้ทราบถึงความเป็นไปของขนบธรรมเนียมประเพณี อารยธรรม
ตลอดจนศิลปะและวัฒนธรรมของชาติในอดีต


:b8: :b8: :b8:

(ที่มา : สมุดข่อย โดย บุญเตือน ศรีวรพจน์ และประสิทธิ์ แสงทับ.
กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. ๒๕๔๒)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 10 ม.ค. 2010, 15:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2014, 11:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2013, 10:07
โพสต์: 406

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีประโยชน์มากครับ ขออนุโมทนา :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2015, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 05:25
โพสต์: 621


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2019, 09:07 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2021, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร