วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 06:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 22:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

เ ญ ย ย ธ ร ร ม
พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อ. ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย


เญยยธรรม คือ ธรรมที่ควรรู้ควรเห็นอันเป็นส่วนที่ควรละแลควรเจริญ
แล้วก็เป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ของใจ


มิได้หมายเอาความรู้ทั่วไปซึ่งมีอยู่ในโลก เช่นวิชาเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
ดังความเข้าใจของคนบางคน

เพราะความรู้เหล่านั้นซึ่งเป็นของมีไว้ใช้เฉพาะในโลกนี้เท่านั้น
แล้วก็เป็นวิชาที่เศร้าหมองใช้ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้

วิชาในสมัยก่อนพุทธกาลซึ่งคณาจารย์ทั้งหลายนิยม กันว่าเป็นของสูงสุด
มีถึง ๑๘ แขนง อันมีไตรเภทแลสรีรศาสตร์เป็นต้น
เมื่อใครได้เรียนจบแลแตกฉานแล้ว
ได้รับความยกย่องว่า เป็นยอดของปราชญ์
ถึงแม้พระองค์จะได้เรียนจบคล่องแล้ว
แต่เมื่อ ครั้งยังทรงพระเยาว์อยู่แล้วก็ตาม

แต่วิชาเหล่านั้นก็ไม่สามารถจะนำมาใช้
ให้พระองค์ได้ทรงตรัสรู้ซึ้ง เญยยธรรม ได้เลย


“เพราะวิชาเหล่านั้นเป็นโลกิยะวิชา มีไว้สำหรับใช้อยู่ในโลกนี้เท่านั้น
เรียนรู้ส่งออก นอก ไม่ใช่เรียนรู้ไว้เพื่อฟอกกายใจของตน
ยิ่งเรียนยิ่งรู้ก็มีแต่จะยิ่งเพิ่มความหดหู่เศร้าหมองของใจ
เกิดความลังเลสงสัยไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ จึงเรียกว่าโลก

ส่วนความรู้อันเรียกว่าเญยยธรรมนี้นั้น
เป็น ความรู้อันเกิดจากจิตซึ่งบริสุทธิ์ อันมีสัมมาสมาธิเป็นสมุฏฐาน
รู้ชัดแจ้งในแนวสัจธรรมอันมีเหตุมีผล ของกันและกัน ณ ที่ใจแห่งเดียว
จนเชื่อมั่นในพระทัยของพระองค์ว่า เราได้ตรัสรู้วิชชาอันยอดเยี่ยม แล้ว
วิชชาอื่นนอกเหนือไปจากนี้ย่อมไม่มีอีกแล้ว”


พูดง่าย ๆ เรียกว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ซึ่งเญยยธรรม
อันได้แก่รู้ของจริงทั้งสี่ตามเป็นจริง
ไม่หลงไม่โกหกหลอกลวงตนเองแลผู้อื่นเหมือนเมื่อก่อน

อันได้แก่ รู้เห็นทุกข์ที่มีอยู่ในกายแลใจทั้ง ของตนแลของคนอื่นว่าเป็นทุกข์จริง ๆ
แล้วก็เบื่อหน่ายอยากหนีให้พ้นไปเสียจากทุกข์นั้นด้วย ๑
รู้เห็นกายใจของตนแลของคนอื่น
ที่พากันทะเยอทะยานดิ้นรนกระเสือกกระสนอยู่ตลอดกาล
ว่าเป็นเหตุหรือบ่อให้เกิดทุกข์โดยส่วนเดียว

แล้วก็กลัวพยายามละเหตุนั้น ๆ จนเป็นผลสำเร็จ ๑
เห็นคุณค่า ประโยชน์เพราะได้รับความสุขสงบอันเกิดจากปัญญา
ที่เข้าไปรู้ไปเห็นทุกข์ตามเป็นจริง
พร้อมทั้ง เหตุให้เกิดทุกข์นั้น ๆ แล้วก็ละทุกข์นั้นได้จริง ๆ ด้วย ๑
เชื่อมั่นในปฏิปทาที่สัมมาทิฏฐิเป็นผู้นำจนได้
บรรลุผลสุดยอดซึ่งไม่เคยได้พบได้เห็นมาแต่ก่อนเลย ๑


ผู้ที่มาเรียนรู้แลปฏิบัติตามหลักสี่ประการดังได้อธิบายมานี้แล้ว
เรียกว่าเรียนรู้หรือรู้จากการ ภาวนา
นับได้ว่าเป็นวิชชาที่สุดของโลกตามบาทยุคลของพระองค์ นี่แลเญยยธรรม
แล้วจะไปแสวงหา วิชชาที่ไหนอีกเล่า

“เพราะที่โลกนี้ก็คือทุกข์เท่านั้นแหละ
เมื่อพ้นจากทุกข์ได้แล้วก็เรียกว่าเป็นผู้เกิดมา ไม่เสียชาติกับเขา
ก็คือผู้ไม่มองข้ามทุกข์มาเห็นทุกข์เป็นทุกข์จริง ๆ”


ผู้มาประกอบกรรมในอาชีพใด ๆ ก็ตามในโลกนี้
แม้ที่สุดแต่โยคาวจรเจ้าผู้มาเจริญกรรมฐาน
ภาวนา ฝ่าฝืนต่ออุปสรรคนานัปการ
บางครั้งถึงขนาดเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ตาม
ก็เพื่อปลดแอกต้อง การอิสระจากการทารุณบีบคั้นจากอิทธิพลของกิเลส
ซึ่งมีอวิชชาเป็นหัวหน้านั่นเอง

หมอยาผู้วิเศษผู้ เรียนรู้ซึ่งสรรพโรคทั้งปวงในตัวของคนเราแล้ว
เมื่อมาตรวจอาการของคนไข้รู้ชัดว่าเขาเป็นโรคชนิด นั้น ๆ แล้ว
วางยาให้เหมาะกับโรคที่เขาเป็นอยู่นั้น
โรคนั้นก็จะหายโดยฉับพลันในเวลาอันควร
แล้วกิจ ของคนไข้ที่จะต้องรักษาโรคนั้นต่อไปอีกก็ดี
หรือกิจภาระของหมอที่จะตามไปรักษาอีกก็ดีย่อมไม่มี อีกแล้ว

อนึ่งเญยยธรรมคำสอนของพระองค์นั้น
อุปมาเหมือนแว่นขยายสามารถมองเห็นวัตถุ
ที่ ละเอียดอันตาเปล่ามองเห็นไม่ได้ ให้มองเห็นชัดได้
ปัญญาอันเกิดจากการเจริญธรรมกรรมฐานทั้ง หลาย
อันมี สมถะแลวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานสี่ เป็นต้น
ของผู้เจริญธรรมนั้น ๆ ให้มองเห็นสภาพธรรม ตามเป็นจริงอย่างไร


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 23:00, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 22:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4147

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


เปรียบเหมือนผู้นำเอาแว่นขยายนั้นมาใช้
สรรพกิเลสทั้งหลายอันมีนิวรณธรรม เป็นต้น
ซึ่งปกคลุมจิตของมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายอยู่
มิให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมนั้น ๆ


โยคาวจรทั้ง หลายมาเห็นโทษในเรื่องนั้นแล้ว
แลเกิดศรัทธามาตั้งใจปฏิบัติขัดเกลาจิตใจของตน
ด้วยการเจริญ พระกรรมฐานมีสติปัฏฐานสี่เป็นต้น
ดังได้อธิบายมาแล้ว ก็จะกำจัดฝ้า คือ ความมืดของจิตนั้นให้หาย
กระจายออกจากความหลงมัวเมานั้นได้ในที่สุด

เมื่อผู้มาปฏิบัติตามโดยนัยดังได้อธิบายมานี้แล้ว
ได้ชื่อว่าเดินตามรอยบาทยุคล
รู้ซึ่งเญยยธรรมและเข้าถึงองค์พระไตรสรณาคมแล้วโดยสมบูรณ์
ณ ที่กาย ใจ ของตนโดยเฉพาะ
ไม่ต้องเชื่อต่อวาจาของผู้อื่นอีกแล้ว


เญยยธรรมคำสอนที่พระองค์ได้ทรงบัญญัติไว้นั้น
ไม่ว่าจะเป็นพระวินัยหรือพระธรรมก็ตาม
ย่อมเกิดขึ้นจากพระสัพพัญญุตญาณ
และได้ทรงวินิจฉัยด้วยพระทัยอันบริสุทธิ์ด้วยพระองค์เอง
โดยที่มิได้ขอมติจากใคร ๆ ทั้งนั้น

ฉะนั้นธรรมวินัยเหล่านั้นจึงเป็นของบริสุทธิ์
ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์ สิทธิ์ตลอดกาลนาน
มวลมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใส
มารับเอาเญยยธรรมคำสอนของพระองค์ไปปฏิบัติตาม
ย่อมได้รับผลนำมาซึ่งสันติ ตามฐานะชั้นภูมิแลความสามารถของตน ๆ
ดังปรากฏเห็นชัดแก่ใจของตนอยู่แล้วทุกคนในขณะนี้


“เนื่องด้วยเญยยธรรมเป็นของละเอียดลึกซึ้งสุขุมมาก
อันเกิดจากใจบริสุทธิ์ของท่านผู้ที่ได้ อบรมฝึกฝนมาดีแล้ว
จึงยากที่ปุถุชนคนธรรมดา ๆ อย่างพวกเราทั้งหลายที่จะตามเข้าไปพิสูจน์ให้รู้
และเข้าถึงอรรถรสของเญยยธรรมนั้นได้ทั่วถึง
เพราะเญยยธรรมเป็นวิชชานอกเหนือไปจากปรัชญา แลตำราใด ๆ ทั้งหมด

ธรรมและวินัยบางอย่างจะมาพิสูจน์ด้วยวัตถุธาตุย่อมไม่ได้
ต้องพิสูจน์ด้วย มโนธาตุที่บริสุทธิ์เท่านั้นจึงจะรู้ได้ด้วยภาษาใจ
แล้วก็เป็นความรู้เฉพาะตน (ปัจจัตตัง) อีกด้วย
แม้ถึงกระนั้นก็ตาม พระองค์ก็ยังได้ทรงบัญญัติไว้ด้วยภาษาคำพูด
ให้พวกเราได้รู้แลได้ปฏิบัติตามจนกระทั่งบัดนี้


จึงนับว่าเป็นบุญอักโขแก่พวกเรามิใช่น้อย
ฉะนั้น ผู้ที่มีการศึกษามากหรือการศึกษาน้อย ก็ดี
ปฏิบัติมามากหรือปฏิบัติมาน้อยก็ดี
เมื่อชำระจิตของตนยังไม่บริสุทธิ์พอ
จะเป็นพื้นฐานรับรอง ของเญยยธรรมแล้ว
จะมาพิสูจน์ซึ่งเญยยธรรมด้วยตัวหนังสือ
หรือการเทียบในหลักปรัชญานั้น ๆ หาได้ไม่
ดีไม่ดีอาจเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิขึ้นมาก็ได้

การพิสูจน์นั้นหากไปตรงกับเญยยธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้าก็ดีไป
หากไม่ไปตรงกันเข้าก็อย่าพึงคัดค้าน
หรือยกโทษคำสอนของพระองค์ก่อนเลย จะเป็นบาปเปล่า

จงทำตนเป็นเถรตรงศึกษาจดจำแลนำไปปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
ทำตนให้เป็น เหมือนตู้ทึบเก็บพระไตรปิฎกของพระองค์ไว้
เพื่อประโยชน์ความสุขแก่โลกแลอนุชนภายหลังก็ยังจะ ดีกว่า”


:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : ประมวลแนวปฏิบัติธรรม ของพระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) วัดหินหมากเป้ง จ. หนองคาย,
จัดพิมพ์โดยคณะศิษยานุศิษย์, พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๒๙๗-๓๐๑)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 04 ม.ค. 2010, 23:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร