วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 18:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 10:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 22:34
โพสต์: 173

ชื่อเล่น: เจ้ก
อายุ: 23

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาปวารณา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน

หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วยจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน

ปัจจุบันวันที่พระสงฆ์ทำมหาปวารณา รู้จักดีในชื่อ วันออกพรรษา


ความเป็นมาของวันมหาปวารณา

ภิกษุจำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกาไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสถาม ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา

คือ การอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ภิกษุจำพรรรษาแล้วปวารณาด้วยเหตุ 3 ประการคือ

โดยได้เห็น
โดยได้ยิน ได้ฟัง
โดยสงสัย

วิธีปวารณา

ภิกษุเถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา 3 ครั้งเพื่อให้ภิกษุนวกะกล่าวปรวารณาตอบ

ภิกษุนวกะก็ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา 3 ครั้ง ต่อมา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้นั่งกระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา

และทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ปวารณาแล้วนั่งบนอาสนะ เพราะเคยมีภิกษุชราภาพนั่งกระโหย่งคอยนานจนเป็นลมล้มลง

ปวารณาสูตร พระพุทธเจ้าทรงปวารณาแก่หมู่สงฆ์

คราวหนึ่งในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พระพุทธเจ้าประทับอยู่กับภิกษุสงฆ์ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหัตน์ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำเพื่อจะทรงทำปวารณา

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่เหล่าภิกษุนั้นว่า จะติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจาของพระองค์บ้างหรือไม่ พระสารีบุตรตอบปฏิเสธเพราะพระองค์ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

จากนั้นพระสารีบุตรก็กล่าวปวารณาให้พระพุทธเจ้าติเตียนท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวปฏิเสธ เพราะพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก พระสารีบุตรทูลถามอีกว่า

พระองค์จะไม่กล่าวติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจา ของเหล่าภิกษุบ้างหรือ พระองค์กล่าวปฏิเสธ เพราะเหล่าภิกษุได้บรรลุวิชชา 3 อภิญญา 6 ได้อุภโตภาควิมุตติ และได้ปัญญาวิมุติเป็นพระอรหัตน์

เหตุที่ทำให้เป็นคนว่ายากและว่าง่าย
อนุมานสูตร ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ

เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
เป็นผู้มักโกรธ มีความโกรธครอบงำแล้ว
เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ

เป็นผู้มักโกรธ มักระแวง
เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์
เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์

เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อนพูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย ความไม่เชื่อฟังปรากฏ
เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ
เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์
ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ

ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่
ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
ภิกษุเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้นถอนได้ยาก


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

.....................................................
จะขอเป็นแก้วน้ำที่ว่างเปล่า..เพื่อเติมเต็มธรรมที่ขาดหาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ สาธุ สาธุ

เป็นพิธีกรรมที่สำคัญมาก

ในสังคมใด กลุ่มใด ถ้ามีการปวารณา
สังคมนั้น กลุ่มนั้น จะรักสามัคคี กลมเกลียวกัน

ทำไม เพราะอะไร

เพราะว่า วันนี้ เป็นวันที่ทุกท่านเสมอภาคกันหมด สามารถว่ากล่าวตักเตือนกันได้
ในสิ่งที่เป็นธรรม วินัย สิ่งที่เหมาะสม ไม่โกรธ ไม่แค้นกัน

เนื้อความว่าอย่างงี้ครับ

พอถึงวันมหาปวารณา
พระสงฆ์ทุกรูปจะต้องพร้อมเพียงกัน พระองค์อาวุโส จะก้มหาพระที่อาวุโสต่ำกว่า แล้วกล่าวคำปวารณา
แล้ว พระองค์ลำดับถัดไป ก็ว่าไปเรื่อย ๆ จนทุกองค์


คำว่า ปวารณา แปลว่าให้โอกาสเต็มที่ คือ จะตักเตือนยังไงก็ได้ ที่ถูกต้องตามธรรมวินัย ยินดีรับฟังและแก้ไขตัวเอง

บาลีที่ท่านว่าอย่างงี้ ครับ

สังฆัม ภันเต ปวาเรมิ ทิฏเฐน วา สุเตน วา ปริสังกายะ วา วทันตุ มัง อายัสมันโต อนุกัมปัง อุปาทาย
ปัสสันโต ปฏิกกริสสามิ


แปล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปวารณาให้โอกาสต่อพระสงฆ์ จะเห็นด้วยตัวเอง จะได้ยินเขาว่า หรือ เกิดสงสัยก็ตาม (ว่าข้าพเจ้าบกพร่อง) ขอท่านทั้งหลาย จงเกิดความอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนด้วย
ข้าพเจ้า ผู้เห็นโทษผิด จักแก้ไขทำคืนให้ดีขึ้น


เป็นอะไรที่ดีมาก ๆ ครับ

ปัญหาอย่างหนึ่งที่เกิดในการปกครองในปัจจุบัน คือ ใช้ลิ้นทำงาน เป็นขุนพลอยพยัก ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน

ไม่ชี้แนะตามความเป็นจริง


:b53: :b53: :b53:
นิธีนังวะ ปะวัตตารัง ยัง ปัสเส วัชชะทัสสินัง

นิคคัยหะวาทิง เมธาวิง ตาทิสัง ปัณฑิตัง ภะเช

ตาทิสัง ภะชะมานัสสะ เสยโย โหติ นะ ปาปิโยติ

ควรคบหาบัณฑิตผู้ที่ตนเห็นว่าเป็นคนมีปัญญา

หมั่นว่ากล่าวตักเตือนชี้ข้อผิดพลาด เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้

เพราะเมื่อคบหาคนเช่นนั้น จะมีแต่ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย ดังนี้แล.
.

ธรรมบท บัณฑิตวรรค


:b48: :b48: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร