วันเวลาปัจจุบัน 05 พ.ค. 2025, 05:42  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




610x.jpg
610x.jpg [ 117.99 KiB | เปิดดู 5681 ครั้ง ]
แม้ชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย จะยอมรับนับถือพุทธศาสนา มีศาสดาองค์เดียวกัน

แต่โดยภาพรวมแล้วยังขาดความเป็นเอกภาพ

แตกหน่อแยกย่อยเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย เกือบจะเป็นคนละนิกายคนละลัทธิ เหมือนเหตุการณ์

ครั้งพุทธกาล ซึ่งมากมายด้วยเจ้าลัทธิ ดังต้นกำเนิดแห่งกาลามสูตร

ทีนี้ ผู้ใหม่ต่อลัทธิศาสนาปัจจุบัน เห็นแล้วออกอาการ งึกๆงักๆ มันเป็นงึกๆงักๆ มันเป็นกะอึ่กกะอั่ก :b32:

เพราะไม่รู้จะเชื่อใครเอาไงดี

ดังอารมณ์เพลง

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... 9&gblog=94


โปรดอ่านลิงค์นี้ก่อน

viewtopic.php?f=2&t=19015

ศึกษาความเป็นมาของพุทธศาสนากว้างๆ


ครั้นอ่านแล้วพอตั้งสติได้รู้จักวางจิตเบาใจขึ้นบ้างแล้ว

ค่อยมาอ่านกาลามสูตร ให้สังเกตอาการชาวกาลามะด้วย :b1:

ศึกษาวิธีของพระพุทธเจ้าด้วย ว่าพระองค์แนะนำพวกเขา ซึ่งมีสภาพงวยงง ให้รู้พินิจพิจารณายังไง
:b8:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 13:31, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(กำเนิดกาลามสูตร)


สำหรับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้นับถือทฤษฎี ลัทธิ หรือ คำสอนอันใดอันหนึ่งอยู่แล้ว หรือ ยังไม่นับถือ

ก็ตาม มีหลักการตั้งทัศนคติที่ประกอบด้วยเหตุผล

ตามแนวกาลามสูตร (บาลีเรียก เกสปุตติยสูตร -องฺ.ติก.20/505/241) ดังนี้


ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าเสด็จจาริก ถึงเกสปุตตนิคมของพวกกาลามะ ในแคว้นโกศล

ชาวกาลามะ ได้ยินกิตติศัพท์ของพระองค์ จึงพากันไปเฝ้า แสดงอาการต่างๆกัน

ในฐานะยังไม่เคยนับถือมาก่อน และได้ทูลถามว่า



“พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มาสู่เกสปุตตนิคม

ท่านเหล่านั้น แสดงเชิดชูแต่วาทะ (ลัทธิ) ของตนเท่านั้น แต่ย่อมกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น

พูดกดวาทะฝ่ายอื่น ชัดจูงไม่ให้เชื่อ

สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มาสู่เกสปุตตนิคม ท่านเหล่านั้น แสดงเชิดชูแต่วาทะของตนเท่านั้น

แต่ย่อมกระทบกระเทียบ ดูหมิ่น พูดกดวาทะฝ่ายอื่น ชัดจูงไม่ให้เชื่อ

พวกข้าพระองค์ มีความเคลือบแคลงสงสัยว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ ?”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 11:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้า : “กาลามชนทั้งหลาย เป็นการสมควรที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลง

สมควรที่จะสงสัย ความเคลือบแคลงสงสัยของพวกท่านเกิดขึ้นในฐานะ

กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

-อย่ายึดถือ โดยการฟัง (เรียน) ตามกันมา (อนุสสวะ)

-อย่ายึดถือ โดยการถือสืบๆกันมา (ปรัมปรา)

-อย่ายึดถือ โดยการเล่าลือ (อิติกิรา)

-อย่ายึดถือ โดยการอ้างตำรา (ปิฎกสัมปทาน)

-อย่ายึดถือ โดยตรรก (ตักกะ)

-อย่ายึดถือ โดยอนุมาน (นยะ)

-อย่ายึดถือ โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (อาการปริวิตักกะ)

-อย่ายึดถือ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน (ทิฏฐินิชฌานักขันติ)

-อย่ายึดถือ เพราะเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ (ภัพพรูปตา)

-อย่ายึดถือ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (สมโณ โน ครูติ)


เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ มีโทษ ธรรมเหล่านี้

วิญญูชนติเตียน

ธรรมเหล่านี้ ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ

เมื่อใด ท่านทั้งหลาย รู้ด้วยตนเองว่า

ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนสรรเสริญ

ธรรมเหล่านี้ ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบำเพ็ญ ธรรมเหล่านั้น”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า ยึดถือ ในที่นี้ หมายถึงการไม่ตัดสินหรือลงความเห็นแน่นอนเด็ดขาดลงไปเพียง

เพราะเหตุเหล่านี้ ตรงกับคำว่า “อย่าปลงใจเชื่อ”

อนึ่ง ไม่พึงแปลความเลยเถิดไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ และให้เชื่อสิ่งอื่นนอกจากนี้

แต่พึงเข้าใจว่า แม้แต่สิ่งเหล่านี้ ซึ่งบางอย่างก็เลือกเอามาแล้วว่าเป็นสิ่งที่น่าเชื่อที่สุด ท่านยังเตือนไม่ให้

ปลงใจเชื่อ ไม่ให้ด่วนเชื่อ ไม่ให้ถือเป็นเครื่องตัดสินเด็ดขาด ยังอาจผิดพลาดได้

ต้องใช้ปัญญาพิจารณาก่อน

ก็ขนาดสิ่งที่น่าเชื่อที่สุดแล้ว ท่านยังให้คิดให้พิจารณาให้ดีก่อน สิ่งอื่นคนอื่น เราจะต้องคิดต้องพิจารณาระมัด

ระวังให้มากสักเพียงไหน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีที่ผู้ฟังยังไม่รู้ไม่เข้าใจและยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใดๆ ก็ไม่ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้

พิจารณาตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขาเห็นได้ด้วยตนเอง เช่น ในเรื่องความเชื่อทางจริยธรรมเกี่ยวกับชาตินี้ชาติ

หน้า ก็มีความในตอนท้ายของสูตรเดียวกันนั้นว่า



“กาลามชนทั้งหลาย อริยสาวกนั้น ผู้มีจิตปราศจากเวรอย่างนี้ มีจิตปราศจากความเบียดเบียนอย่างนี้

มีจิตไม่เศร้าหมองอย่างนี้ มีจิตบริสุทธิ์อย่างนี้ ย่อมได้ประสบความอุ่นใจถึง ๔ ประการ ตั้งแต่ในปัจจุบันนี้แล้ว

คือ


“ถ้าปรโลกมีจริง ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วมีจริง การที่ว่าเมื่อเราแตกกายทำลายขันธ์ไปแล้ว

จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้”

นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๑ ที่เขาได้รับ


“ถ้าปรโลกไม่มี ผลวิบากของกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี เราก็ครองตนอยู่โดยไม่มีทุกข์ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขอยู่แต่ในชาติปัจจุบันนี้แล้ว”

นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๒ ที่เขาได้รับ


“ก็ถ้า เมื่อคนทำความชั่ว ก็เป็นอันทำไซร้ เรามิได้คิดการชั่วร้ายต่อใครๆ ที่ไหนทุกข์จักมาถูกต้องเรา

ผู้มิได้ทำบาปกรรมเล่า”

นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๓ ที่เขาได้รับ


“ก็ถ้า เมื่อคนทำความชั่ว ก็ไม่ชื่อว่าเป็นอันทำไซร้ ในกรณีนี้ เราก็มองเห็นตนเป็นผู้บริสุทธิ์

ทั้งสองด้าน”

นี้เป็นความอุ่นใจประการที่ ๔ ที่เขาได้รับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักคำสอนใดๆ พระองค์จะตรัสธรรมเป็นกลางๆ เป็นการเสนอแนะ

ความจริงให้เขาคิด ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ตัวเขาเอง โดยมิต้องคำนึง ว่าหลักธรรมนั้นเป็น

ของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง

ไม่มีการชักจูงให้เขาเชื่อ เลื่อมใสต่อพระองค์หรือเข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์

พึงสังเกตด้วยว่าจะไม่ทรงอ้างพระองค์หรืออำนาจเหนือธรรมชาติพิเศษอันใดเป็นเครื่องยืนยันคำสอน

ของพระองค์

นอกจากเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณาเห็นด้วยปัญญาของเขาเอง เช่น เรื่องในอปัณณกสูตร -

(ม.ม.13/103-124/100-121)

ซึ่งแสดงให้เห็นเหตุผลที่ควรประพฤติธรรม โดยไม่ต้องอ้างนรกสวรรค์ ไม่ต้องยึดมั่นในความหวังผล

ที่จะมีในโลกหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


...ดังนี้


พระพุทธเจ้า เสด็จจาริกถึงหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ สาลา พวกพราหมณ์คหบดีชาวหมู่บ้านนี้

ได้ทราบกิตติศัพท์ของพระองค์ จึงพากันไปเฝ้า แสดงอาการต่างๆ ในฐานะ อาคันตุกะ

ที่ยังไม่ได้นับถือกัน พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า



“คหบดีทั้งหลาย พวกท่านมีศาสดาท่านใดท่านหนึ่งที่ถูกใจ ซึ่งท่านทั้งหลายมีศรัทธาอย่างมีเหตุผล

(อาการวตีสัทธา) อยู่บ้างหรือไม่ ”

พวกพราหมณ์คหบดี “ไม่มี”


ตรัสว่า “เมื่อท่านทั้งหลาย ยังไม่ได้ศาสดาที่ถูกใจ ก็ควรจะถือปฏิบัติหลักการที่ไม่ผิดพลาด

แน่นอน (อปัณณกธรรม) ดังต่อไปนี้ ด้วยว่า อปัณณกธรรมนี้ เมื่อถือปฏิบัติถูกถ้วน

จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน

หลักการที่ไม่ผิดพลาดแน่นอนนี้เป็นไฉน ?”


“มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบำเพ็ญทานไม่มีผล

การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำไว้ดีทำไว้ชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี ปรโลกไม่มี

มารดาไม่มี บิดาไม่มี ฯลฯ

ส่วนสมณพราหมณ์ อีกพวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิ ที่เป็นข้าศึกโดยตรงกับสมณพราหมณ์

พวกนั้นทีเดียวว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การบำเพ็ญทานมีผล การบูชามีผล ฯลฯ

ท่านทั้งหลายเห็นเป็นไฉน

สมณพราหมณ์เหล่านี้ มีวาทะเป็นข้าศึกโดยตรงต่อกันมิใช่หรือ “


พวกพราหมณ์คหบดี “ใช่อย่างนั้น”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 11:26, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2009, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรัสว่า “ในสมณพราหมณ์ ๒ พวกนั้น พวกที่มีทิฐิว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบำเพ็ญทาน

ไม่มีผล ฯลฯ สำหรับพวกนี้ เป็นอันหวังสิ่งต่อไปนี้ได้ คือ พวกเขาจะละทิ้ง กายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต อันเป็นกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเสีย แล้วจะยึดถือประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ซึ่งเป็นอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่าง

ข้อนั้น เป็นเพราะเหตุอะไร ? ก็เพราะท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มองเห็นโทษ

ความทราม ความเศร้าหมอง แห่งอกุศลธรรม และอานิสงส์ในเนกขัมมะ อันเป็นฝ่ายสะอาดผ่องแผ้ว

ของกุศลธรรม”


“อนึ่ง เมื่อปรโลกมี เขาเห็นว่าปรโลกไม่มี ความเห็นของเขาก็เป็นมิจฉาทิฐิ

เมื่อปรโลกมี เขาดำริว่า ปรโลกไม่มี ความดำริของเขา ก็เป็นมิจฉาสังกัปปะ

เมื่อปรโลกมี เขากล่าวว่า ปรโลกไม่มี วาจาของเขา ก็เป็นมิจฉาวาจา

เมื่อปรโลกมี เขากล่าวว่า ปรโลกไม่มี เขาก็ทำตนเป็นข้าศึกกับพระอรหันต์ผู้รู้ปรโลก

เมื่อปรโลกมี เขาทำให้คนอื่นพลอยเห็นด้วยว่าปรโลกไม่มี การทำให้พลอยเห็นด้วยนั้น ก็เป็นการให้พลอย

เห็นด้วยกับอสัทธรรม และด้วยการทำให้คนอื่นพลอยเห็นด้วยกับอสัทธรรม เขาก็ยกตนข่มคนอื่น


โดยนัยนี้ เริ่มต้นทีเดียว เขาก็ละทิ้งความมีศีลดีงาม เข้าไปตั้งความทุศีลเข้าไว้เสียแล้ว มีทั้งมิจฉาทิฐิ

มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา ความเป็นข้าศึกกับอริยชน การชวนคนให้เห็นกับอสัทธรรม การยกตน

การข่มผู้อื่น บาปอกุศลธรรมอเนกประการเหล่านี้ ย่อมมีขึ้น เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัย”


“ในเรื่องนั้น คนที่เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ถ้าปรโลกไม่มี

ท่านผู้นี้ เมื่อแตกตายทำลายขันธ์ไป ก็ทำตนให้สวัสดี (ปลอดภัย) ได้

แต่ถ้าปรโลกมี ท่านผู้นี้ เมื่อแตกตายทำลายขันธ์ ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เอาเถอะถึงว่า ให้ปรโลกไม่มีจริงๆ ให้คำของท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็นความจริงก็เถิด

ถึงกระนั้น บุคคลผู้นี้ ก็ถูกวิญญูชนติเตียนได้ในปัจจุบันนี้เองว่า เป็นคนทุศีล มีมิจฉาทิฏฐิ

เป็นนัตถิกวาท

ก็ถ้าปรโลกมีจริง บุคคลผู้นี้ก็เป็นอันได้แต่ข้อเสียหายทั้งสองด้าน คือ ปัจจุบันก็ถูกวิญญูชนติเตียน

แตกกายทำลายขันธ์ไปแล้วก็เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกอีกด้วย” ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 17:07, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ คุณกรัชกาย

ขอบคุณสำหรับธรรมะดีดีที่มีให้กับกัลยาณมิตรตลอดมานะคะ
แวะมาที่บทความธรรมะบ่อยๆนะคะ
ช่วยมาเติมความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ด้วยค่ะ
อนุโมทนาบุญกับทุกสิ่งดีดีที่คุณกรัชกายหมั่นทำแล้วด้วยดีนะคะ

เจริญยิ่งๆขึ้นไปทั้งในทางธรรมในทางโลกนะคะ

:b48: ธรรมะสวัสดีวันพระค่ะ :b48:

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 11:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

“สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะมีทิฐิว่า "ความดับภพหมดสิ้นไม่มี"

ส่วนสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง ซึ่งมีวาทะมีทิฐิ ที่เป็นข้าศึกโดยตรงกับสมณพราหมณ์พวกนั้น

กล่าวว่า "ความดับภพหมดสิ้นมีอยู่" ฯลฯ


ในเรื่องนั้น คนที่เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า ที่ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฐิว่า

“ความดับภพหมดสิ้นไม่มี” นี้ เราก็ไม่ได้เห็น

แม้ที่ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะมีทิฐิว่า “ความดับภพหมดสิ้นมีอยู่จริง” นี้ เราก็ไม่ทราบเหมือนกัน


ก็เมื่อเราไม่รู้ไม่เห็นอยู่ จะกล่าวยึดเด็ดขาดลงไปว่า อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จ ดังนี้

ย่อมไม่เป็นการสมควรแก่เรา

ก็ถ้าคำของสมณพราหมณ์ที่มีวาทะมีทิฐิว่า “ความดับภพหมดสิ้นไม่มี” เป็นความจริง

การที่เราไปเกิดในหมู่เทพ ผู้ไม่มีรูปผู้เป็นสัญญามัย ซึ่งก็ไม่เป็นความผิดอะไร ก็ย่อมเป็นสิ่ง

ที่เป็นไปได้

ถ้าคำของพวกสมณพราหมณ์ที่มีวาทะมีทิฐิว่า “ความดับภพหมดสิ้นมีอยู่” เป็นความจริง

การที่เราปรินิพพานได้ในปัจจุบัน ก็ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

แต่ทิฐิของสมณพราหมณ์ฝ่ายที่มีวาทะมีทิฐิว่า “ความดับภพหมดสิ้นไม่มี” นี้ ใกล้ไปทางการมีความ

ย้อมติด ใกล้ไปทางการผูกมัดตัว ใกล้ไปทางการหลงเพลิน ใกล้ไปทางการหมกมุ่นสยบ

ใกล้ไปทางการยึดมั่นถือมั่น

ส่วนทิฐิพวกสมณพราหมณ์ฝ่ายที่มีวาทะมีทิฐิว่า “ความดับภพหมดสิ้นมีจริง” นั้น

ใกล้ไปทางการไม่มีความย้อมติด ใกล้ไปทางการไม่มีความผูกมัดตัว ใกล้ไปทางการไม่หลงเพลิน

ใกล้ไปทางการไม่หมกมุ่นสยบ ใกล้ไปทางไม่มีการยึดมั่นถือมั่น

เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธ แห่งภพทั้งหลายเป็นแท้”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 13:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gallery_20090928_a694fd0.jpg
gallery_20090928_a694fd0.jpg [ 134.85 KiB | เปิดดู 5497 ครั้ง ]
ช่วงนี้ขั้นด้วยภาพสวยๆ เพื่อพักสายตา เพราะบทความต่อนี้ไป ค่อนข้างยากต่อการ

ทำความเข้าใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 18:06, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณลูกโป่งพิจารณาบทความต่อไปอีกนะครับ

พุทธพจน์ต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่า ความรู้ความคิดเห็นในระดับที่ยังเป็นความเชื่อและเหตุผล

ยังเป็นความรู้ ความเห็นที่บกพร่อง มีทางผิดพลาด ยังไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงความจริง



“แน่ะ ท่านภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบาก ๒ ส่วนในปัจจุบันทีเดียว คือ

๑. ศรัทธา ความเชื่อ

๒. รุจิ ความถูกใจ

๓. อนุสสวะ การฟัง (หรือเขียน) ตามกันมา

๔. อาการปริวิตักกะ การคิดตรองตามแนวเหตุผล

๕. ทิฐินิชฌานักขันติ ความเข้ากันได้กับ (การเพ่งนินิจด้วย) ทฤษฎีของตน


(ขยายความแต่ละข้อๆ)

-ก็สิ่งที่เชื่อสนิททีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปก็มี

ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อเลยทีเดียว แต่กลับเป็นของแท้ ไม่เป็นอื่นเลยก็มี

- ถึงสิ่งที่ถูกกับใจชอบทีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปเสียก็มี

ถึงแม้สิ่งที่มิได้เห็นชอบถูกใจเลย แต่กลับเป็นของจริง แท้ ไม่เป็นอื่นไปเลยก็มี

-ถึงสิ่งที่คิดไตร่ตรองอย่างดีแล้วทีเดียว กลับเป็นของเปล่าเป็นของเท็จไปเสียก็มี

ถึงแม้สิ่งที่มิได้เป็นอย่างที่คิดตรองเห็นไว้เลย แต่กลับเป็นของจริง แท้ ไม่เป็นอื่นไปเลยก็มี

-ถึงสิ่งที่เพ่งพินิจไว้เป็นอย่างดี (ว่าถูกต้องตามทิฐิทฤษฎีหลักการของตน) กลับเป็นของเปล่า

เป็นของเท็จไปเสียก็มี

ถึงแม้สิ่งที่ไม่เป็นอย่างที่เพ่งพินิจไว้เลย แต่กลับเป็นของจริง แท้ ไม่เป็นอื่นเลยก็มี”


(ม.ม.13/655/601)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 17:57, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 18:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากนั้น ทรงแสดงวิธีวางตนต่อความคิดเห็นและความเชื่อของตน และการรับฟังความคิดเห็น

และความเชื่อของผู้อื่น ซึ่งเรียกว่าเป็นทัศนคติแบบคุ้มครองสัจจะ

(สัจจานุรักษ์ แปลเอาความว่า คนรักความจริง)ว่า




“บุรุษผู้เป็นวิญญู เมื่อจะคุ้มครองสัจจะ ไม่ควรลงความเห็นในเรื่องนั้นเด็ดขาดลงไป

อย่างเดียวว่า ”อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเหลวไหลทั้งนั้น”


“ถ้าแม้นบุรุษมีความเชื่อ - (ศรัทธา อยู่อย่างหนึ่ง) เมื่อเขากล่าวว่า

“ข้าพเจ้ามีความเชื่ออย่างนี้” ยังชื่อว่า เขาคุ้มครองสัจจะอยู่

แต่จะลงความเห็นเด็ดขาดลงไปอย่างเดียวว่า “อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเหลวไหลทั้งนั้น” ไม่ได้

ก่อน ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ ชื่อว่ามีการคุ้มครองสัจจะ และคนผู้นั้น ก็ชื่อว่าคุ้มครองสัจจะ

อีกทั้งเราก็บัญญัติการคุ้มครองสัจจะด้วยการปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่า เป็นการหยั่งรู้สัจจะ”


“ถ้าแม้นบุรุษมีความเห็นที่ถูกใจ...มีการเรียนต่อกันมา...มีการคิดตรองตามเหตุผล...มีความเห็น

ที่ตรงกับทฤษฎีของตนอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเขากล่าวว่า “ข้าพเจ้า มีความเห็นถูกใจอย่างนี้...มีการเล่าเรียนอย่างนี้...มีสิ่งที่คิดตรองตาม

เหตุผลได้อย่างนี้...มีความเห็นตามทฤษฎีของตนว่าอย่างนี้”

ก็ชื่อว่าเขายังคุ้มครองสัจจะอยู่ แต่จะลงความเห็นเด็ดขาดลงไปเป็นอย่างเดียวว่า

“อย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเหลวไหลทั้งนั้น” ไม่ได้ก่อน ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้

ชื่อว่ามีการคุ้มครองสัจจะ และคนผู้นั้น ก็ชื่อว่าคุ้มครองสัจจะ อีกทั้งเราก็บัญญัติการคุ้มครองสัจจะ

ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการหยั่งรู้สัจจะ”


(ม.ม.13/655/6/601-2)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 24 ธ.ค. 2009, 18:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(เมื่อเกิดกรณีนี้ประมาณนั้นขึ้นกับพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าให้ทำอย่างไร ไม่ให้ทำอย่างไร

เทียบเคียงเหตุการณ์ปัจจุบัน และเทียบความคิดของตน)



ท่าทีปรากฏชัด เมื่อตรัสเจาะจงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา คือ ในคราวที่มีคนภายนอก

กำลังพูดสรรเสริญบ้าง ติเตียนบ้าง ซึ่งพระพุทธศาสนา

พระภิกษุสงฆ์นำเรื่องนั้นมาสนทนากัน

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า




“ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีคนพวกอื่นมากล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์

เธอทั้งหลาย ไม่ควรอาฆาต ไม่ควรเศร้าเสียใจ ไม่ควรแค้นเคือง เพราะคำติเตียนนั้น

ถ้าเธอทั้งหลายโกรธเคือง หรือ เศร้าเสียใจ เพราะคำติเตียนนั้น ก็จะกลายเป็นอันตราย

แก่พวกเธอทั้งหลายเองนั่นแหละ คือ หากคนพวกอื่นติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์

ถ้าเธอทั้งหลายโกรธเคือง เศร้าเสียใจ เพราะคำติเตียนนั้นแล้ว

เธอทั้งหลาย จะรู้ชัดถ้อยคำนี้ของเขาว่าพูดถูก หรือ พูดผิด ได้ละหรือ ?”


ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่อาจรู้ชัดได้”


“ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีคนพวกอื่นมากล่าวติเตียนเรา ติเตียนธรรม ติเตียนสงฆ์

ในกรณีนั้น เมื่อไม่เป็นจริง พวกเธอก็พึงแก้ให้เห็นว่าไม่เป็นจริงว่า “ข้อนี้ ไม่เป็นจริงเพราะอย่างนี้ๆ

ข้อนี้ ไม่ถูกต้อง เพราะอย่างนี้ๆ สิ่งนี้ไม่มีในพวกเรา สิ่งนี้หาไม่ได้ในหมู่พวกเรา”



“ภิกษุทั้งหลาย ถ้ามีคนพวกอื่นมากล่าวชมเรา ชมธรรม ชมสงฆ์

เธอทั้งหลายไม่ควรเริงใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระหยิ่มลำพองใจ ในคำชมนั้น

ถ้ามีคนมากล่าวชมเรา ชมธรรม ชมสงฆ์

ในกรณีนั้น เมื่อเป็นความจริง พวกเธอ ก็พึงรับรองว่าเป็นจริงว่า “ข้อนี้ เป็นจริงเพราะอย่างนี้ๆ

ข้อนี้ถูกต้อง เพราะอย่างนี้ ๆ สิ่งนี้มีในพวกเรา สิ่งนี้หาได้ในหมู่พวกเรา”



(ที.สี.9/1/3)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ธ.ค. 2009, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b17: :b17: :b17:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 22 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร