วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:32  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา มูลเหตุแห่งทุติยสังคายนา พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ และชนชาติไทย ถ้าท่านไม่ได้อ่านน่าเสียดายนัก
พระพุทธศาสนาศตวรรษที่ ๑-๒
มูลเหตุแห่งทุติยสังคายนา

ในตำแหน่งฝ่ายบาลีกล่าวว่า มูลเหตุแห่งทุติยสังคายนาเพราะ
สืบเนื่องมาแต่วัตถุ ๑๐ ประการของเหล่าพวกวัชชีบุตรแห่งเวสาลี แม้ใน
ตำนานฝ่ายนิกายอื่น เช่นในมหาสังฆิกวินัย มหิศาสกวินัย สรวาสติวาท-
วินัย และธรรมคุปตวินัย ล้วนกล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่า เมื่อพุทธ-
ศตวรรษที่ ๑ ได้มีการทำทุติยสังคายนากันขึ้น ทุติยสังคายนาจึงเป็น
เหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริง แต่ในคัมภีร์สํสกฤตชื่อ เภทธรรมมติ-
จักรศาสตร์ แต่งโดยพระวสุมิตร ในราวพุทธศตวรรษที่ ๔ กล่าวว่า
สังฆมณฑลครั้งพุทธศตวรรษที่ ๑ เกิดแตกสามัคคีเพราะมติ ๕ ข้อของ
ภิกษุมหาเทวะ ข้อกล่าวทั้ง ๒ ฝ่ายล้วนเป็นเหตุการณ์จริงและเชื่อถือได้ว่า
สังฆมณฑลในยุคพระเจ้ากาฬาโศกเกิดวิบัติในทิฏฐิสามัญญตา และวิบัติ
ในสีลสามัญญตาขึ้น ในหนังสือของภาวยะว่า เมื่อพุทธศก ๑๓๗ ปี ใน
แผ่นดินพระเจ้านันทะและพระเจ้ามหาปัทมะ (ความจริงเป็นองค์เดียวกัน)
พญามารสำแดงร่างเป็นภิกษุชื่อ ภัทร เสนอทิฐิ ๕ ข้อขึ้นในคณะสงฆ์
และมีพระเถระ ๒ รูป ชื่อนาคะ ๑ ชื่อสถิรมติ ๑ เป็นผู้ประกาศทิฐิ
ทั้ง ๕ ให้แพร่หลายเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกนิกายออกเป็น ๒ พวก
พวกเถรวาทินพวก ๑ พวกมหาสังฆิกวาทินพวก ๑ แก่งแย่งกันยุ่งเหยิง
อยู่ตลอด ๖๓ ปี จนมีภิกษุเหล่าวัชชีบุตรมาระงับเรื่องราว

หลังจากนั้นประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ หลังพุทธปรินิพพาน พระเจ้าอโศก
มหาราชแห่งแคว้นมคธ ได้ทรงส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ยังดินแดนต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นสาย ๆ คือ ในภาคตะวันตกได้ส่งไปยัง
ประเทศต่าง ๆ แถบทะเลเมดิเตอเรเนียน เช่นประเทศซีเรีย อียิปต์
เมสิโดเนีย เอปิโรส ทางทิศใต้ทรงส่งไปยังประเทศลังกา ทางทิศตะวันออก
ทรงส่งไปประเทศพม่า ทางทิศเหนือ ทรงส่งไปประเทศอาฟฆานิสถาน
ซึ่งประเทศเหล่านั้นต่างก็ได้รับรสแห่งพระธรรมโดยทั่วกัน

อย่างไรก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่า ในบรรดาประเทศต่างๆ ที่
พระสมณทูตเหล่านั้นได้นําพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่นั้น ประเทศทาง
ตะวันออกเท่านั้น ที่พุทธศาสนาหยั่งรากลงได้อย่างมั่นคง เมื่อพระ
ศรีศากยมุนีได้ทรงแสดงพระสัทธรรมปุณฑริกสูตร ณ ยอดเขาคิชฌกูฏนั้น
กล่าวกันว่า พระฉัพพัณณรังษีจากพระอุณาโลมของพระองค์ ได้สาด
ส่องไปทั่วประเทศทางตะวันออก เรื่องดังกล่าวนี้เป็นศุภนิมิตว่า พระ
พุทธศาสนา จะเจริญรุ่งเรืองในประเทศเหล่านั้นเป็นแน่แท้ เมื่อ
พระเจ้าอโศกยังทรงพระชนม์อยู่ พวกกรีกได้สถาปนาอาณาจักรบากเตรียขึ้น
ในแดนลุ่มแม่นํ้าอามู ในอาเซียกลาง ต่อมาอาณาจักรนี้ได้ถูกพระเจ้า
เกเต้ (Getae) ยึดครองไว้ก่อน ค.ศ. ๑๓๐ ต่อมาในปี ๑๔๐ ปี พระ
เจ้ากนิษกะได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเมืองนี้ และได้สถาปนาเมือง
ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนทางตอนใต้ของแม่นํ้ากามูลให้เป็นเมืองหลวง ซึ่งต่อ
มาเมืองนี้เรียกว่า คันธาระ

การที่พระเจ้ากนิษกะทรงดํารงพระองค์ในตําแหน่งอัครศาสนูปภัมภกนั้น
ทําให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นเกตัล พระพุทธ
ศาสนาฝ่ายมหายาน ได้ก่อกําเนิด และเจริญขึ้นในแคว้นนี้เป็นครั้งแรก
ความกลมกลืนระหว่างความเชื่อถือของพวกกรีก และศาสนาของชาว
อิหร่านนั้น ได้ก่อให้เกิดดินแดนที่เรียกว่า Land of Perfect Joy
(ดินแดนแห่งบรมสุข) ขึ้นและแม้ว่าจะได้มีการสร้างศิลปวัตถุทางพระพุทธ
ศาสนาอยู่บ้างแล้วในอินเดีย แต่ก็ไม่มีหลักฐานพบว่า ได้มีการขุดค้นพบพระ
พุทธรูปในอินเดียเลย แต่กลับมีการขุดข้นพบขึ้นเป็นครั้งแรก ในสมัยของ
พระเจ้ากนิษกะนี้เองและในปัจจุบันโบราณวัตถุเหล่านั้น เชื่อว่าพระอวโลกิ-
เตศวรโพธิสัตว์เป็นผู้รักษา จึงทำให้วัตถุโบราณไม่มีการแปรสภาพ หรือการ
เสื่อมสลายหรือโดนทำลายจนหาไม่พบเหมือนในอินเดียเลย สามารถขุดข้นพบ
ในสภาพสมบูรณ์ได้ ผลของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่มีมานานโดยแท้

พระเจ้ากนิษกะอยู่ในราชสมบัติ ๒๘ พรรษาก็สวรรคต
พระโอรสขึ้นเสวยราชย์ต่อมามีพระนามว่า หุวิสกะ ทรงเป็นกษัตริย์ที่
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้สร้างพระวิหารและสถูปเจดีย์ในแคว้น
กาศมีระ พระองค์ทรงสร้างพระอารามที่สง่างามชื่อหุวิสการะวิหารและ
สร้างนครใหม่แห่งหนึ่ง ณ แคว้นนั้นด้วยชื่อ "หุษปาปุระ" ในปี พ.ศ.
๕๔๑ พระเจ้าหุวิสกะส่งธรรมทูตเข้าไปแสดงพระพุทธธรรมในประเทศ
จีน ตรงกับแผ่นดินพระเจ้าฮั่นอายเต้ของจีน กษัตริย์พระองค์นี้มีรัชสมัย
ยืดยาวที่สุด คือ เสวยราชย์อยู่ ๔๐ พรรษาจึงสวรรคต

พระราชาองค์ที่ ๔ มีพระนามว่า กุชุละกัทฟิเสส ขึ้นเสวยราชย์
ในปี พ.ศ. ๕๘๓ มีรัชสมัย ๓๕ พรรษา พระเจ้ากุชุละกัทฟีเสสทรง
ฟื้นฟูพระราชอำนาจปราบรัฐง้วยสี ๔ รัฐสำเร็จ แล้วทรงยกพยุหโยธาตี
ดินแดนซึ่งเสียไปกลับคืน ตีได้อาณาจักรปาร์เธียร์ในอิหร่าน คันธาระ
และปัญจาปในอินเดีย แล้วตั้งราชธานีที่นครปุรุษปุระ พระเจ้ากุชุละ-
กัทฟีเสสมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา เหรียญตราในรัชสมัยของ
พระองค์มีภาพพระพุทธรูป และมีคำจารึกว่า "พระราชาผู้พิทักษ์
พระธรรม" อนึ่งปรากฏว่าราชทูตของราชสำนักพระเจ้าฮั่นเม่งเต้แห่ง
กรุงจีน ได้เดินทางมาสืบพระพุทธศาสนาถึงอาณาจักรของพระองค์
พระเจ้ากุชุละกัทฟีเสสทรงสถาปนาพระสถูปวิหารในนครปุรุษปุระ ทรง
สร้างพระวิหารประดิษฐานบาตรของพระบรมศาสดาไว้สักการะบูชา ณ
เบื้องตะวันออกเฉียงเหนือของราชธานีด้วย

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหายาน มีความแตกต่างจากเถรวาท คือฝ่ายเถรวาทย้ำเรื่องอริยสัจจ์ ๔
เป็นสำคัญ แต่ฝ่ายมหายาน อินเดียเหนือ ย้ำเรื่องโพธิญาณ ทศบารมีเป็น
สำคัญคือ พุทธการกธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้าตามปกติหมายถึง
บารมี ๑๐ นั่นเองได้แก่ ทานะ๑ ศีละ๑ เนกขัมมะ๑ ปัญญา๑ ...ฯลฯ
(ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)มูลเหตุที่ไทยนิยมฟังเทศน์มหาชาติ
ก็เพราะอิทธิพลในพระสูตรกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์สูตรหรือที่ไทยเรียกว่า มาลัยสูตรซึ่งแสดงว่าพระศรีอริยเมตไตรยตรัสบอกผ่านพระกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์ว่า
ผู้ใดปรารถนาไปเกิดทันศาสนาของพระองค์ ต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบ ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวกัน และบูชาด้วยธูปเทียนดอกบัวอย่างละพัน ปัจจุบันยังมีผู้ปูชาพระกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์หรือพระมาลัยรองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์หลักฐานประวัติศาสตร์ชาติไทย พระพุทธศาสนาเข้ามาทางแหลมมลายู วัดแห่งแรกของประเทศไทยคือ จังหวัดพัทลุง มีการขุดพบ การสร้างพุทธสถานและพระเครื่องเป็นจำนวนมากเช่นที่เรียกกันภายหลังว่า พระร่วงรางปืน และพระหูยาน จริงแล้วเป็นพระพิมพ์แบบพุทธศาสนามหายาน สำหรับพระร่วงนั้นเป็นรูปสนองพระองค์พระไวโรจนพระพุทธะเจ้า ส่วนพระหูยาน เป็นรูปสนองพระองค์ อักโษภยพระพุทธะเจ้า และพระเครื่องนารายณ์ทรงปืนซึ่งความจริงไม่ใช่นารายน์ทรงปืน แต่เป็นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ฯลฯ

ปัจจุบันในประเทศไทย แม้มีอิทธิพลหินยานของอินเดียใต้เข้ามากลบมหายานของอินเดียเหนือแต่วัดหินยานในประเทศไทย ยังมีอิทธิพลของมหายานอินเดียเหนือให้เห็นอยู่เนืองๆ เช่น ประเพณีของชาวไทยที่ยังนับถือมาตั้งแต่บรรพบุรุษผู้ถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานอินเดียเหนือมาช้านานคือ สาทรเดือนสิบ บุญพระเวท การเทศน์มหาชาติ ส่วนตัวกษัตริย์ตั้งแต่สุโขทัย อู่ทอง เป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่บำเพ็ญโพธิญาณทั้งสิ้น หรือเรียกง่ายๆว่าสายโพธิ์สัตว์ ไม่ใช่สายอรหันต์มัคค์ อริยสัจจ์ ๔ แบบหินยานหรือเถรวาท ดังจะกล่าวต่อไป ส่วนพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานของจีนนั้นเกิดจากพระมหายานอินเดียเหนือนำเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน จีนเลยประยุกต์กับความเชื่อเดิมของเต๋า ขงจื๊อ จนเป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายใหม่ที่เกิดขึ้นเองที่จีนไม่ใช่พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเดิมแท้ที่มาจากอินเดียเหนือและเมื่อพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานจากจีนไปสู่เกาหลี และญี่ปุ่น ก็กลายพันธ์เป็นพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนิกายใหม่ที่เป็นแบบของเกาหลี และญี่ปุ่นเอง ปัจจุบันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2ประเทศญี่ปุ่นไม่มีพระสักรูปมีเพียงศาสนาจารย์(อาจารย์สอนศาสนาแต่ไม่ใช่พระ)สามารถทำมาค้า ขาย และมีภรรยา บุตร ปกครองวัดเฉยๆ วัดถือเป็นสมบัติประจำตระกูลตกทอดเฉยๆ พวกนี้เหมือนอาจารย์สักยันตร์หมอผีของไทย ไม่ใช่พระแต่มีชุดที่ใส่ประจำสำหรับทำหน้าที่ ระยะหลังๆเริ่มมีพระจริงๆให้เห็นแต่ไม่มากนัก

มหายาน มีความแตกต่างจากเถรวาท คือ ฝ่ายเถรวาทย้ำเรื่องอริยสัจจ์ ๔ ฝ่ายมหายานย้ำเรื่องโพธิญาณ ในอินเดียได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายดังนี้ เพียงแต่ในปัจจุบันอินเดียเหนือล่มสลาย เพราะมุสลิมโจมตีทำให้ตำรามหายานส่วนใหญ่จึงสูญหาย และไปอยู่ที่จีน ซึ่งยังรักษาได้ดีในฉบับภาษาจีน ส่วนต้นฉบับภาษาสันสกฤตในอินเดียมีไม่ครบ มีชำรุด สุญหายเป็นอันมาก ประเทศที่แต่ก่อนเคยนับถือพุทธศาสนามหายานทั้งประเทศอย่างอาฟฆานิสถานก็กลายเป็นประเทศมุสลิมไป ในอินเดียได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ

1. ทักษัณนิกาย หรือ หินยานนิกาย คนอินเดียใต้นิยมทองเหลือง ภาชนะ พุทธรูปจึงเป็นทองเหลือง
ได้ถือปฏิบัติกันในหมู่ภิกษุภาคใต้ แห่งชมพูทวีป และใช้หนังสือบาลี ( มคธ ) กับยึดถือหลักทฤษฎี อรหันตตมัคค์ โดยกำหนดมาตรฐานจากสมัย เจ้าชายสิทธัตถโคดมได้ทรงตรัสรู้เป็นพระศากยมุนีพุทธเจ้าคือ เริ่มแต่สมัยที่เรียกพระพุทธองค์ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ขึ้นต้นและเรียกนิกายว่า เถรวาทนิกาย

2. อุตตรนิกาย หรือ มหายานนิกาย คนอินเดียเหนือนิยมหินอ่อน หินสี
พุทธรูปจึงเป็นหินอ่อน หินสี หินแกะสลัก หินผา เป็นต้น
ได้ถือปฏิบัติในหมู่ภิกษุภาคเหนือแห่งชมพูทวีป และใช้หนังสือสันสกฤต กับยึดหลักทฤษฎี โพธิสัตตมัคค์ โดยกำหนดมาตรฐานจากสมัย เจ้าชายสิทธัตถโคดมทรงออกผนวช ทรงเป็นพระศากยมุนีโพธิสัตว์เจ้า ขึ้นต้น
และเรียกนิกายว่า อาจาริยวาทนิกายในมหาสีหนาทสูตร มีอรรถว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้เริ่มปฏิบัติพระองค์เองในวัตต์
เรียกว่า ตบะศีลวัตต (ศีลมังสะวิรัติ ซึ่งทางอุตตรนิกายสงเคราะห์เรียกชื่อว่า พระโพธิสัตว์ศีล อันเป็นวัตต์สำคัญยิ่งในการเริ่มต้นปฏิบัติเพื่อบรรลุพระโพธิสัตตผลก่อน คือให้เห็นความลำบากก่อนเหมือนเด็กอยู่ในเมือง ไม่เคยพบความลำบาก พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี อยู่ๆมาพูดถึงอริยสัจจ์ ๔ ว่าชีวิตเป็นทุกข์ ไปเป็นอรหันต์เถิดจะได้ไม่ทุกข์ เด็กมันก็เถียงว่าทุกข์ยังไงสบายจะตาย
แล้วคนที่อยู่อย่างสุขสบายร่ำรวยกับเงินทองจะเข้าใจธรรมอันถ่องแท้ได้อย่างไร ยากที่จะพูด หากว่าสภาวะจิตใจไม่ได้แจ้ง ธรรมชาติไม่ได้เห็น ไม่ได้ผ่านพ้นความวิตกและเคราะห์ภัยทั้งหลายถึงแม้ว่าเบื้องหน้าจะเป็นคำสอนที่เป็นหนทางสว่างแห่งทางทั้งปวง ก็ยังไม่รู้ว่าจะเหยียบย่างไปยังไงตั้งแต่นภากาศตลอดจนถึงพุทธภูมิ ก็ยังงงๆไม่รู้ว่าดินแดนใดที่เป็นที่ที่มีความสุขเป็นที่สุด ฉะนั้นทางฝ่ายมหายานจึงเริ่มที่บำเพ็ญตนให้รู้จักทุกข์แบบพระพุทธเจ้าก่อน
แล้วค่อยเห็นทางดับทุกข์เพราะทางฝ่ายมหายานเชื่อว่า ถ้าให้คำสอน สอนๆไปเลย อธิบายไปเลยว่านี้คือ ทุกข์ ทุกข์เป็นอย่างงี้ พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่างงี้ และก็สมุทัย นิโรธ มรรค นี่คือทางแห่งการดับทุกข์คือมรรค
ได้แต่บอกๆสอนๆไป ยากที่คนจะเข้าใจ ถ้าไม่ถามหาเหตุก่อนแล้วจึงเป็นผลคือพระพุทธเจ้าอุปมาเหมือนกับ แก้วน้ำ ถ้าให้เห็นเป็นแก้วน้ำก่อนคนทั่วไปยากจะพิจารณาออกว่าเกิดจากทรายสกัดแต่ถ้าให้เห็นแต่ละขั้นแต่ละตอนกว่าจะมาเป็นแก้วน้ำให้เราใช้ ใช้ทรายซิลิกา หลอมกับน้ำความร้อนร้อยองศา ขึ้นรูปจนมาเป็นแก้วน้ำ ย่อมทำให้ปัญญาชัดแจ้งในเหตุมากกว่า แล้วจึงมาเป็นผลในที่สุดจนเห็นแจ้งในสัจธรรมที่แท้จริงที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ )

คำว่า ตบะ แปลว่า ความเพียรเป็นเครื่องแผดเผากิเลส ในสมัยพุทธองค์มีแสดงว่า ตบะของพราหมณ์คือการเล่าเรียนพระเวทย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ตบะของกษัตริย์คือการคุ้มครองไพร่ฟ้าประชาชน ตบะของเวสสะหรือไวสยะ(พ่อค้า) คือ การทำบุญให้ทานแก่พราหมณ์ตบะของศูทร(พวกใช้แรงงาน)คือการรับใช้ ตบะของฤๅษีผู้ทรงศีลพระสมณะ คือการกินอาหารที่เป็นผัก

ได้ปรากฏในพระบาลีเสลสูตรพระพุทธองค์ตรัสแก่พราหมณ์ชื่อ เสละ ผู้ทูลถามว่า ใครที่เป็นผู้รองลำดับจากพระพุทธเจ้า ที่จะสามารถประกาศธรรมจักรที่พระองค์ประกาศไว้แล้ว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูกร เสละพราหมณ์ สารีบุตรเป็นผู้รองลำดับตถาคต ย่อมประกาศตามเราได้ซึ่งอนุตตรธรรมจักรอันเราประกาศแล้ว" ส่วนพระโมคคัลลานะได้เป็นเอตทัคคะทางอิทธิปาฏิหาริย์ สามารถทรมานผู้ไม่เชื่อพระพุทธศาสนาให้มาเชื่อได้ เป็นกำลังสำคัญในการแผ่ศาสนา ทั้งสององค์นี้ได้รับยกย่องเป็นเอกอัครสาวกซ้ายขวา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงสันนิษฐานว่า บางทีพระพุทธองค์จะทรง
มอบธุระให้ท่านทั้งสองเป็นคณาจารย์ใหญ่ แยกคณะออกไปสอนศาสนา
พระสารีบุตรเป็นหัวหน้าในฝ่ายทักษัณนิกาย หรือ หินยานนิกาย ให้แก่คนอินเดียใต้พระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า คณะฝ่ายอุตตรนิกาย หรือ มหายานนิกาย ให้แก่คนอินเดียเหนือ

อนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ จากการที่ได้ขุดสุสานเก่าทางภาคเหนือ
ของประเทศอาฟฆานิสถาน ได้พบพระพุทธรูปเป็นจํานวนมาก ซึ่งมี
พระพักร์ พระเกศ และจีวรเป็นแบบกรีก และโรมันด้วย จึงแสดง
ว่า อินเดียได้สร้างพระพุทธรูปตามแบบกรีกและโรมัน ศิลปะเหล่านี้ถือ
กันว่า เป็นสมบัติอันลํ้าค่า ในทางประวัติวัฒนธรรมของมนุษย์ ทั้ง
ชาติตะวันตกและชาติตะวันออกร่วมกัน

อย่างไรก็ดี โดยพระบรมราชูถัมภ์ของพระเจ้ากนิษกะ พระ
พุทธศาสนาและศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเกิดขึ้นในอินเดีย
แล้วมาเจริญรุ่งเรืองในแคว้นคันธาระ ก็แผ่กระจายไปยังแคว้นแคช
เมียร์ โขตาน กาษกาคร์ คุจะ และแม้กระทั่วถึงดินแดนที่จีนเรียกว่า
ประเทศทางตะวันตก ในที่สุดจีนซึ่งแต่เดิมนับถือลัทธิขงจื้อและเต๋านั้น
ก็ยอมรับพระพุทธศาสนาตลอดถึงศิลปะต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา ซึ่ง
แพร่เข้าไปควบคู่กับลัทธิเดิมของตน แม้ว่าประเทศอินเดียและจีนจะ
แตกต่างกันทางธรรมเนียมประเพณี ภาษา ตลอดถึงอุปนิสัยใจคออื่นๆ
ก็ตาม จีนก็ยังมีศรัทธาและกระตือรือร้นในอันที่จะยอมรับพระพุทธ
ศาสนาและเผยแผ่ให้แพร่หลายต่อไป

การนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่นั้น ทำให้หลักธรรมของ
พระพุทธศาสนาแพร่หลายกว้างขวางยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนาในอินเดีย
นั้น ตอนต้น ๆ มีเพียงฝ่ายเถรวาทเท่านั้น แต่เมื่อแพร่มาสู่ตะวันตก
ของจีนแล้วก็เกิดมีมหายานหลายนิกายขึ้น ส่วนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันออก (ของอินเดีย) ได้รับผลสำเร็จเป็นอันดีทั้งในด้านปริยัติและ
ปฏิบัติ โดยวิธีการสอนจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปหาหลักธรรมที่ยาก คือ จาก
โลกิยธรรม ขึ้นไปหาโลกุตรธรรม และจากปริยัติธรรมไปหาปฏิบัติธรรม

บทความข้างล่างต่อไปนี้ ท่านจะได้พบกับความมหัศจรรย์ของพระสูตร
และการเดินทางของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน จากอินเดียเหนือ สู่จีน
ไปเกาหลี และไปยังประเทศญี่ปุ่น และพบกับประวัติศาสตร์อันลี้ลับของชน
ชาติไทยสมัยโบราณตลอดจนการเดินทางของชนชาติไทยจนกลายมาเป็น
ประเทศไทยในทุกวันนี้แม้ว่าจะมีคำวิชาการ และคำทางพระพุทธศาสนา
มากซักนิดแต่ผู้เขียน(กชกร กุโศทรา)อยากให้ผู้อ่านทุกท่านอดทนติดตาม
อ่านไปเรื่อยๆ แล้วจะพบความแยบยลอันน่าอัศจรรย์ใจ

ความเจริญของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนในขณะนั้น ยัง
ไม่มีอิทธิพลต่อชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป จนกระทั่งลัทธิเล่าจื้อ
และจังจื้อเริ่มแพร่หลายขึ้น ในยุคที่จีนแบ่งการปกครองเป็น ๒ พวก
คือ พวกราชวงศ์เหนือและราชวงศ์ใต้นั้น แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะพบ
กับอุปสรรคนานัปการ แต่ก็มีลักษณะสมบูรณ์ และคงตัวอยู่ได้ ความ
เจริญอย่างรวดเร็วของพระพุทธศาสนานั้น เป็นเพราะการเชื่อในหลัก
ศุนยตาหรือสมาธิ (หลักว่าด้วยความว่างเปล่า) หลักนี้เข้ากันได้กับ
หลักธรรมของเล่าจื้อ และจังจื้อ ลัทธิทั้งสองนี้อับแสงลงเมื่อพระพุทธศาสนา
ได้แพร่เข้าสู่ประเทศจีน เมื่อประมาณ พ.ศ. ๘๐๐ ท่านกุมารชีพ
เจ้าชายแห่งแคว้นกุสตาน ได้แปลพระคัมภีร์มหายาน ๓๐๐ คัมภีร์
พร้อมกับสั่งสอนสานุศิษย์ประมาณ ๓๐๐ คนอย่างเข้มแข็ง

ด้วยเหตุนี้ ท่านกุมารชีพจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ให้กำเนิดนิกายตรีศาสตร์
ในประเทศจีน นิกายนี้เจริญถึงขีดสุดเพราะสานุศิษย์ของท่านชื่อเต้าเซิง
(Dosing) ดัมเจ (Damja) เชิ้งหน่าง ( Sheungnang) เชิ้งจุ้น(Sheung jun) บับนั้ง (Buppnang) และกิลจาง (Kil jang)โดยเฉพาะเชิ้งหน่างได้มีบทบาทอย่างสำคัญในงานเผยแพร่นิกายตรีศาสตร์นี้มากกว่ารูปอื่น ๆ ที่ศึกษาข้อความธรรมะในคัมภีร์ในนิกายนี้และรวมทั้งคัมภีร์ซังสิลศาสตร์ด้วย (Sungsil' s astra) เพราะเหตุที่กุมารชีพเป็นผู้ก่อกำเนิดนิกายตรีศาสตร์ ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาในตะวันออกเป็นคนแรก

เชิ้งหน่าง ผู้เปิดศักราชพระพุทธศาสนาในประเทศจีนนั้น เป็น
ภิกษุชาวเกาหลี การที่นามของท่านปรากฏอยู่ในหนังสือเรื่อง " ชีวประวัติ
ของภิกษุผู้มีชื่อเสียง" ซึ่งชาวจีนเป็นผู้จัดพิมพ์ขึ้นนั้น แสดงว่าท่าน
มีเกียรติคุณอันโด่งดังในประวัติพระพุทธศาสนาฝ่ายตะวันออก นอกจาก
นี้ เมื่อพระพุทธศาสนาในประเทศจีน ได้แบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ
เช่นนิกายสัมปริคครหศาสตร์ นิกายแซอึงตอย (Cheuntoy Sect)นิกายนิรวาน (Nirvan) นิกายศุนยตา (Sunyata) และนิกายลักษณะ(Laksana) ซึ่งนิกายเหล่านี้ทั้งหมดภิกษุชาวเกาหลีเป็นผู้นำทั้งสิ้น

ความจริง นิกายลักษณะ ซึ่งมีท่านอสังคะ และท่านวสุภถพัทธุ
เป็นผู้ก่อตั้งนั้น เจริญขึ้นมาได้ก็เพราะภิกษุชาวเกาหลีแท้ ๆ ท่านฮวนฉ่าง
เมื่อเดินทางกลับจากอินเดีย ก็ได้นำเอาคัมภีร์พระพุทธศาสนาด้วย
เป็นจำนวนมาก และได้พิมพ์คัมภีร์วิชญาณปฏิมาตราตศาสตร์ ๑๐ เล่ม
รวมทั้งคำบรรยายของท่านธรรมปาละและท่านสธิตามาตร ซึ่งชื่อว่า
วิชญาณมาตราเสฏฐิตริมสติศาสตร์การิกะ ของท่านอสังคะ นักปราชญ์ชาว
พุทธได้ศึกษาคัมภีร์ทั้ง ๑๐ เล่มนี้โดยละเอียดแล้ว ก็ได้ตั้งนิกายวิชญาณ
ขึ้น ในขณะนั้นมีศิษย์ของท่านฮวนฉ่างประมาณ ๓,๐๐๐ คน ในจำนวน
นี้ กุยกีและวันฉัก (Kuei-Chi, Woncheuch) มีชื่อเสียงโด่งดังมากท่านรูปหลังนี้ เคยเทศนาคัมภีร์ วิชญาณปฏิมาตราตะ ที่วัดอีหมิงสื่อ
ท่านเป็นผู้แตกฉานในคัมภีร์นั้น และการสอนของท่านในส่วนหลักธรรม
นั้น แตกต่างจากหลังของอาจารย์ของท่านเพียงเล็กน้อย ท่านวันฉักก็
เป็นชาวเมืองชินลาในเกาหลี

ปรัชญาของวันฉัก เป็นปรัชญาที่สูงส่งและสมบูรณ์ที่สุดของพระ
พุทธศาสนาฝ่ายตะวันออก ปรัชญานี้เกี่ยวข้องกับประเทศเกาหลีอย่าง
ใกล้ชิด แม้ว่าท่าดูซัง (Du Sun) จะเป็นผู้ตั้งนิกายนี้ ในสมัยราชวงศ์สุยและคำสอนหรือหลักธรรมของนิกายนี้ ท่านเฉียม (ในสมัยราชวงศ์ถัง)
เป็นผู้เผยแผ่ก็ตาม แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์อยู่นั่นเอง ในปี ค.ศ. ๗๑๒
ท่านบับซัง (Buppchang) ได้ดำเนินการก่อตั้งนิกายนี้จนสำเร็จ โดยการช่วยเหลือจากท่านอีเสียง (Isang) ชาวชินลา ตอนแรกท่านเป็นเพียงศิษย์ของอาจารย์เฉียม ซึ่งเป็นภิกษุชาวจีนเท่านั้น ในที่สุดท่านบับซัง
ก็กลายเป็นนักปราชญ์นามอุโฆษของนิกายนี้ หลังจากที่ท่านได้ศึกษา
อย่างจริงจังแล้ว

เมื่อท่านเดินทางกลับประเทศเกาหลีแล้ว ได้มีสานุศิษย์ถึง ๓,๐๐๐ คน
พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลีในปัจจุบัน ก็สืบเนื่องมาจากนิกาย
วันนั่นเอง ท่านได้เขียนหนังสือหลายเล่มขึ้น หนังสือของท่านที่มีชื่อ
มากคือ "อีเสิ่น บุพเกโด" เป็นหนังสืออธิบายพุทธวตัมสกสูตร มี
ปรัชญาวันที่เขียนไว้อย่างสมบูรณ์ โดยใช้ถ้อยคำเพียง ๒-๓ ร้อยคำเท่านั้น

ในปรัชญาวันมีสิ่งที่น่าภูมิใจอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือ ท่านหวั่งเอี้ยว
ได้ก่อตั้งและเผยแผ่นิกายใหม่ขึ้นมาอีก โดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบดั้งเดิม
ของจีน และธรรมเนียมประเพณีโบราณที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาใน
เกาหลีด้วย

นิกายนี้เรียกว่า นิกายเอ้ตึง (Haytong) หรือนิกายบุนหว่าง
(Bunwhang) ในระยะแรก ๆ ท่านหวั่งเอี้ยวได้ศึกษาในสำนักของ
ท่านอี้เชียง ต่อมาท่านอีเชียงได้ไปศึกษาเพิ่มเติมในสำนักท่านเฉียง ดังนั้น
ท่านหวั่งเอี้ยวจึงได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวของท่านเองจนแตกฉาน นิกาย
เอ้ตึงของท่านนิกายเดียวเท่านั้นที่เข้มแข็ง ทั้งได้บรรจุหลักปรัชญาไว้
อย่างสมบูรณ์ที่สุด

หวั่งเอี้ยวผู้ตั้งพระพุทธศาสนาแบบสมบูรณ์ขึ้นในเกาหลี
พระภิกษุชาวเกาหลีหลายรูป ซึ่งเป็นผู้มี
บทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญให้แก่พระพุทธศาสนาในประเทศจีน
พระพุทธศาสนาในประเทศจีนนี้ ไม่ใช่พระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในเกาหลี
มาแต่เดิม แต่เป็นพระพุทธศาสนาที่ได้รับการดัดแปลงให้เหมาะแก่
ชาวจีนอีกทีหนึ่ง จุดมุ่งหมายของการปรับปรุงพระพุทธศาสนานี้ ก็เพื่อ
จะวางแนวทางดำเนินชีวิตให้แก่ชาวจีนทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ กลุ่ม
ธรรมทูตชาวเกาหลี จำต้องปรับปรุงพระพุทธศาสนาให้สมบูรณ์ขึ้น
พระพุทธศาสนาที่ปรับปรุงใหม่นี้ต่างจากที่นำจากอินเดีย และต่างจาก
พระพุทธศาสนาที่มีอยู่ในดินแดนตะวันตกและบางส่วนของจีน ผู้ที่มี
บทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเป็นผลสำเร็จในครั้งนี้ก็คือ
ท่านหวั่งเอี้ยวนั่นเอง

พระธรรมวินัย ที่พระศรีศากยมุนีได้ทรงเทศนาสั่งสอนตลอด
พระชนมายุของพระองค์ รวมทั้งสอนของพระสาวกของพระองค์นั้น
ถือกันว่าเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเรียกกันในภาษาสันสกฤตว่า
พระไตรปิกฎ หลังจากพุทธปรินิพพานนานได้สามเดือน พระมหาสาวก
ทั้งหลายได้ประชุมกันทําสังคานนาและทรงจําสืบต่อกันมา จนลุถึง
ประมาณ ๒๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพาน จึงประชุมกันทําสังคายนาและจารึก
เป็นอักษร ซึ่งในการสังคายนาครั้งต่อมาก็มีข้อความเพิ่มเติมมากขึ้น
เป็นลําดับ เมื่อท่านกัสสปะมาตังคะได้นําพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่ใน
ประเทศจีนเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.๖๘ ท่านได้แปลพระสูตรเป็นภาษา
ทอดคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาลงสู่พากย์จีน ในปี ๕๙๗ ท่านเฝจังฝัง
(Fei Chang Fang) พระภิกษุรูปหนึ่งแห่งราชวงค์สุย ได้พิมพ์บัญชีรายชื่อหนังสือคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชื่อไคฮวงสัมปัวลู มีหนังสือที่
แปลแล้ว ๑๐๗๖ คัมภีร์ คิดเป็นจํานวนเล่มได้ ๓๒๙๒ เล่ม อีกเล่ม
หนึ่งซึ่งพิมพ์ในปีที่ ๑๘ แห่งสมัยไกเวียน ปีที่ ๗๓๐ ชื่อชิเชง หรือ
ที่รู้กันในนามว่าไกเวียนลู หนังสือเล่มนี้บรรจุรายชื่อหนังสือ ๑๐๗๖
คัมภีร์ นับเป็นเล่มได้ ๕๐๔๘ เล่ม บัญชีรายชื่อหนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อ
เฮงอัง หรือ Hsuchen-yuan Shi Chiao-lu พิมพ์ในปี ๖๙๔๕ ในฐานเป็นหนังสือเพิ่มเติมคัมภีร์ที่ยวนชางเขียนไว้ในปี ค. ศ. ๘๐๐ นั้นทําให้เราได้ทราบว่า ในยุคนี้ได้มีคัมภีร์จํานวน ๑๒๑๔ คัมภีร์ นับเป็นเล่ม
หนังสือได้ ๕๔๓๑ เล่ม ในปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าเราไม่มีต้นฉบับเดิมของ
คัมภีร์เหล่านั้น แต่ก็มีเหตุผลพอที่เชื่อได้ว่า คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
อันมีจํานวนมากมายนี้นั้นได้พิมพ์แล้วทั้งนั้น หรือเป็นบางส่วนก่อน
รัชสมัย ๕ ราชวงศ์ ( ๙๐๗-๙๖๑)

งานเผยแผ่พระธรรมคําสอนอันลํ้าเลิศของพระพุทธองค์ เกาหลเป็น
ประเทศหนึ่งที่เหมาะแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมอื่นๆ
ทั้งสะดวกในการขยายอิทธิพลในด้านนี้ไปยังประเทศญี่ปุ่น เพราะ
ประเทศญี่ปุ่นในเวลานั้น ยังด้อยกว่าเกาหลีในทุกด้าน วัฒนธรรมดั้งเดิม
ของญี่ปุ่นอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็ดี เกี่ยวกับลักธิขงจื้อก็ดี
อารยธรรมจากผืนแผ่นดินใหญ่จีนก็ดี ล้วนแล้วแต่ได้ถูกนํามาเผยแผ่โดยผ่าน
เกาหลีทั้งสิ้น

ตามประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ในปีที่ ๑๓ (ค.ศ.๕๕) แห่งแผ่นดิน
พระเจ้าจักรพรรดิกิมเม(Kimmei) พระเจ้าซีงเมียง (Sung-mung) แห่งรัฐบักแจ (Bakche) ได้ส่งทูตชื่อนูริซิเก (Nurishicka) พร้อมทั้งนําเอาพระพุทธรูปทองคําและพระพุทธรูปทองบรอนซ์จํานวนหนึ่ง คัมภีร์พระไตรปิฎกและเครื่องบรรณาการอื่นๆ ไปยังประเทศญี่ปุ่น ทางญี่ปุ่นได้นิมนต์พระภิกษุชาวเกาหลีไปยังประเทศของตน เพื่อเป็นผู้ดําเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและศิลปะ ท่านได้สร้างวัดวาอารามและพระพุทธรูปขึ้นเป็นจํานวนมาก ทั้งยังเป็นผู้นําของนิกายทางพระพุทธศาสนาทุกๆนิกาย ตลอดถึงเป็นผู้นําในการประกอบพิธีทางศาสนาทุกอย่างอีกด้วย
ในปี ค.ศ.๕๘๘ ท่านได้ติดต่อช่างผู้ชํานาญสาขาต่างๆ จากเกาหลีเช่น
ช่างก่อสร้างสถาปนิกผู้ออกแบบเป็นต้นไป ให้เดินทางไปญี่ปุ่น

ดังนั้น วัดที่มีชื่อทรงความสําคัญในทางพระพุทธศาสนาจึงได้ถูก
สร้างมากขึ้น ๆ โดยลําดับ วัดที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกวัดหนึ่ง คือวัตโฮริ
อูจิ (Horyuji) ซึ่งวัดนี้เด่นในทางการก่อสร้างแบบโบราณ ที่ทําด้วย
ไม้อันเป็นที่นิยมสร้างกันสมัยนั้น สิ่งก่อสร้างเหล่านี้สามารถเลียนแบบ
สถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ของเกาหลีได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด นอกจากนี้ ภาย
ในสุวรรณศาลาแห่งวัดนี้ ได้มีศิลปกรรมฝาผนังที่สวยงามมาก อันเป็น
ฝีมือแกะสลักของท่านดัมเยิง (Tamchung) ภิกษุชาวเกาหลีรูปหนึ่ง
นอกจากนั้นยังมีรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมที่มีชื่อเสียง ซึ่งปัจจุบันนี้นํา
ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์อิมพีเรียล เมืองนรา ให้ประชาชนได้ชม
เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาตลอดถึงสถาปัตยกรรม
ของญี่ปุ่นสมัยนั้นสําเร็จขึ้นมาได้ก็โดยอาศัยนํ้าพักนั้าแรงของพระภิกษุ
ชาวเกาหลีโดยแท้

บทบาทของชาวเกาหลีที่มีต่อพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น มีความ
สัมพันธ์สําคัญเพียงใดนั้นปรากฏชัดตลอดราชวงศ์อาสึกะ (Asuka) และ
ราชวงศ์นารา (Nara) ผู้ตั้งนิกายทั้ง ๖ ในราชวงศ์นารานั้นเล่าก็เป็น
พระภิกษุชาวเกาหลีเกือบทั้งหมด นิกายซันรอน ( Sanron Sect)
พระชาวเกาหลีชื่อเฮก๋วน (Hekwan) เป็นผู้ตั้งนิกายโจยินสุ
(Jojitsu Sect) เจริญขึ้นมาได้ก็เพราะท่านโดชัง (Dochang) ชาวเกาหลี ท่านชีบอง (Chibong) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังมากรูปหนึ่งของนิกายฮอสโซซู (Hossoshu Sect) ก็เป็นชาวเกาหลีเหมือนกัน ท่านเกียวงิโบสสัตสุ (Kyogibossatsu) ซึ่งรู้จักกันดีในวงการพระพุทธศาสนาในสมัยราชวงศ์นารา เป็นศิษย์ของท่านชีบอง นิกายเคงอน
(Kegon Sect) ก็มีท่านชิมสางแห่งนครชินลาเป็นผู้ให้กําเนิน ท่านผู้นี้ได้นําเอาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปเทศนาสั่งสอนเป็นครั้งแรกที่วัดกินเชาจิ(Kinshouji)

ส่วนนิกายริชชู (Risshu) ภิกษุจีนชื่อกังจิน (Kamjin) เป็น
ผู้ตั้งขึ้น และชีอีก ๓ คน คือ อเจงฉิน อิโซ อิเชน ซึ่งทั้งหมดนี้ ในระยะ
แรกที่จะเผยแผ่นิกายนี้ก็ได้ศึกษาธรรมของพระพุทธองค์ที่เมืองบักแจมา
ก่อน ดังนั้นคาบสมุทรเกาหลีจึงเป็นเสมือนเมืองมารดรแห่งพระพุทธ
ศาสนาในญี่ปุ่น และต่อมาภิกษุชาวญี่ปุ่นก็ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนา
และศิลปวิทยาอื่นๆ ในแคว้นชินลาเกาหลีด้วย

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 19:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยนั้น ญี่ปุ่นยังไม่ชํานาญในการต่อเรือและการเดินเรือ ผู้
โดยสารชาวญี่ปุ่นจึงต้องอาศัยเรือและคนเดินเรือของชินลา เมื่อมีความ
ประสงค์จะเดินทางไปประเทศจีน ใน ค.ศ. ๑๘ ฟูจิวารา สุเนชุกุ
(Fujiwara Tsunezugu) ราชทูตคนสุดท้ายผู้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีนแห่งราชวงศ์ถัง ซึ่งเป็นภิกษุอาวุโส องค์
ที่สองและเป็นซาซึองค์ที่ ๓ แห่งวัดเอนริยากจี (Enryakuji) ได้เดิน
ทางไปยังประเทศจีนด้วยเรือของชินลา ในขณะเดียวกัน การนําเอาพระ
พุทธศาสนาไปประดิษฐานในญี่ปุ่น ซึ่งมีลัทธิเชื่อถืออย่างอื่นอยู่ก่อน
แล้วเช่นลักธิชิน โต เต๋า และลักธินับถือเทวดาประจําธาตุทั้ง ๔ เซกิซัน
มโยซิน (Sekisan-Myozin) เทพเจ้าที่นํามาจากชังโบโงก็ดี อารักขเทวดาที่สิงสถิตอยู่เทวสถานไมอิเทรา (Miidera) ชื่อเช็นสินแห่งนครชินลาก็ดี หิยากูชาอิ-งอนเงน (Hyakusai-Gongen) หรือกูราอิงอนเงนแห่งภูเขาฮาโกเน่ก็ดี เหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นเทพเจ้าที่เกาหลี
บูชาทั้งสิ้น เทพเหล่านั้นจึงพลอยติดไปญี่ปุ่นพร้อมกับที่เกาหลีนําเอา
พระพุทธศาสนาไปเผยแพร่นั้นเอง

ทีนี้มาถึงในประเทศไทยเราบ้าง เริ่มจากต้นบรรพบุรุษของคนไทยเลย ในอาณาจักรน่านเจ้าก่อนจะเดินลงมาในแทบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสุวรรณภูมิ

สมัยน่านเจ้า ####################
ในสมัยน่านเจ้า ระยะนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก มีวัดจำนวนมากในเมืองหนองแส ซึ่งยังปรากฏซากอยู่ ระฆังใหญ่ใบหนึ่งมีข้อความจารึกว่า พระเจ้าขุน เป็นผู้หล่อระฆังนี้อุทิศเป็นพุทธบูชา ระฆังใบนี้ยังเก็บรักษาอยู่ ในน่านเจ้าตอนนี้พระพุทธศาสนาเป็นแบบมหายานและตันตระ ชายไทยเคารพพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มากว่าเป็นเทพเจ้าประจำชาติ ต่อมาในศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อกุบไลข่าน ยกกองทัพมาตีประเทศจีน ได้เข้าตีอาณาจักรน่านเจ้าก่อน แล้วจึงย้อนเข้าไปตีราช-สำนักซ้อง น่านเจ้าจึงเสียแก่พวกมงโกล ภายหลังถูกยุบเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งขึ้นตรงต่อจีน อาณาจักรไทยในยูนานจึงอวสานลง

แต่คนไทยก็ยังค้างอยู่ในเมืองจีนมีไม่น้อย หมอสอนศาสนา
ชาวอเมริกันคนหนึ่งชื่อหมอด๊อด ทำงานศาสนาอยู่ที่เชียงใหม่ เรียน
รู้ภาษาท้องถิ่นของไทยหลายภาษา ได้เดินทางไปสำรวจชนชาติไทยใน
เมืองจีน หมอด๊อดกล่าวว่า ในจีนใต้อย่างน้อยก็มีคนไทยตกค้างอยู่ราว
๑,๐๐๐,๐๐๐ คน เขาเดินทางลึกเข้าไปจนถึงเสฉวน ในที่ ๆ เข้าใจ
ว่าจะไม่มีคนไทยแล้ว วันหนึ่งหมอด๊อดเข้าไปในร้านอาหารแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีผู้นั่งรับประทานอาหารแต่งตัวอย่างชาวจีนทั้งหมด มีแต่ใบหน้า
เท่านั้นที่คล้ายกับคนไทย หมอด๊อดจึงลองตรงเข้าไปทักชายชราผู้หนึ่ง
ว่าพ่อเฒ่า ชายชราผู้นั้นแสดงความตื่นเต้น ตะโกนให้แก่คนทั้งหลายฟัง
ว่า เปิ้นอู้คำไต อ่านว่า เผินพูดคำไทย หมอด๊อดจึงใช้ภาษาไทยพายัพคุยกับคนเหล่านั้น จึงรู้ความจริงว่าในบริเวณเมืองนั้นล้วนเป็นคนไทยอาศัยอยู่ ในมณฑลไกวเจาอันเป็นมณฑลเหนือกวางตุ้ง หมอด๊อดได้พบพวกไทยจำนวน
หลายร้อยครัวเรือนที่ยังรักษาขนบธรรมเนียมไทยไว้ได้ เมื่อหมอด๊อด
ไปถึงหมู่บ้าน คนเหล่านี้ทำพิธีรับขวัญแบบไทย มีการผูกข้อมือ ใน
มณฑลกวางสี หมอด๊อดพบพวกคนไทยซึ่งยังพูดภาษาไทยลื้ออย่างเดียว
กับพวกไทยสิบสองปันนาพูดกัน เพราะฉะนั้น ประชาชนไทยใน
อาณาจักรน่านเจ้า ที่ยังรักถิ่นเดิมไม่ยอมอพยพลงใต้ คนเหล่านี้ได้หลีก
หนีพวกจีนออกไปอยู่ตามชนบทและตามป่า แต่ไม่ยอมขึ้นไปอยู่บนเขา
เพราะปกตินิสัยคนไทยไม่ชอบอยู่เขา ผิดกับพวกพื้นเมืองเช่น พวกแม้ว
หรือมูเซอร์เหล่าอื่น พวกนี้เมื่อหนีจีนแล้วก็ขึ้นเขาสูงทั้งนั้น แต่คนไทย
ยังอาศัยในที่ราบ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงใกล้ชิดกับการปกครองของจีน ง่าย
ต่อการถูกกลืนให้เป็นคนจีนยิ่งกว่าพวกพื้นเมืองอื่น พวกจีนแคระนั้น
นักค้นคว้าเชื่อว่าคือคนไทยที่ถูกกลืนเป็นจีนนั่นเอง ธรรมเนียมไทย
บางอย่างยังติดอยู่ในพวกจีนแคะ เช่น การแต่งงานต้องมีขันหมาก
ในจีนเหล่าอื่นไม่เคยมี ยังพวกจีนไหหลำ เชื่อกันว่าคือพวกไทยลื้อ
อพยพข้ามมาอยู่เกาะหลังน่านเจ้าแตกแล้ว แม้แต่พวกพื้นเมืองในเกาะ
ฟอร์โมซา หรือใต้หวัน ก็มีคนสันนิษฐานว่า เป็นคนไทยพวกหนึ่ง
วิธีการกลืนชาติของจีนนั้นน่ากลัวมาก ไม่มีชาติใดในโลกที่กลืนชาติอื่น
เก่งเท่าจีน เมื่อตีบ้านเมืองใดได้ จีนวางนโยบายกลืนชาติดังนี้
๑. อพยพชายฉกรรจ์ในชนชาตินั้นออกไปจากถิ่นเดิม แล้วส่ง
กองทหารจีนมาอยู่แทน ให้ทหารแต่งงานกับหญิงพื้นเมือง
๒. ตั้งโรงเรียนสอนหนังสือจีนให้แก่ชาวพื้นเมือง
๓. บรรจุตำแหน่งสำคัญให้แก่ชาวพื้นเมือง ที่ยอมเปลี่ยนแปลง
ตนเองเป็นคนจีน
๔. ปลูกฝังความรู้สึกว่า ชาติพื้นเมืองเป็นชาติต่ำต้อยป่าเถื่อน
เพื่อให้ชาวพื้นเมืองเกิดปมด้อยในชาติของตน หันไปนิยมชาติจีนว่าเป็น
ชาติมหาอำนาจ ทุกคนอยากเป็นคนจีน
๕. เทครัวจีนจากทางเหนือลงมาแบ่งที่ทำกินของพวกพื้นเมือง
เป็นการขับไล่พวกพื้นเมืองให้เข้าดงไปโดยปริยาย

สภาพสุวรรณภูมิในขณะที่ไทยเดินลงมาจากจีน
สุวรรณภูมิในสมัยศตวรรษที่ ๘-๑๗ ได้ผ่านสมัยสำคัญ คือ
สมัยฟูหนำ ทวาราวดี ศรีวิชัย และลพบุรี เป็นลำดับ ทำให้วัฒนธรรม
และอารยธรรมในภูมิภาคนี้รุ่งเรืองถึงขีดสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีศูนย์
กลางในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อคนไทยลงมาถึง ไทยพวกที่อยู่ฝั่งซ้ายของ
แม่น้ำโขง ค่อนข้างจะอาภัพสักหน่อย เพราะบริเวณฝั่งซ้ายดังกล่าวนั้น
ไม่มีร่องรอยแห่งอารยธรรมอันสูงส่งใด ๆ เลย ส่วนมากเป็นป่าดง
ไทยฝั่งนั้นจึงอยู่กันอย่างสภาพชุมนุมกลุ่มชนเล็ก ๆ น้อย ๆ กระจัดกระจาย
กันไป ผิดกับคนไทยที่ข้ามมาฝั่งขวา ได้มาพบซากแห่งอารยธรรมที่สูง
ยิ่ง และรับเอาอารยธรรมเหล่านี้ไว้เป็นของตน โดยเฉพาะคนไทยที่เดิน
ลงมาถึงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา รับมรดกทางอารยธรรมจากพวกทวาราวดี
ได้หมด ทั้งยังได้เปรียบกว่าพวกคนไทยทางฝั่งซ้าย ในทำเลทำกินอีก
ด้วย เป็นเหตุให้ศูนย์อำนาจของชนชาติไทยอยู่ตรงลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ลาว มีอดีตประวัติสืบสายเป็นเชื้อชาติเดียวกับไทย หมอด๊อดกล่าว
ไว้ในหนังสือเรื่องชนชาติไทยของเขาว่า 'ชนชาติลาว แห่งแคว้นลาว
ของฝรั่งเศสนั้นเป็นสาขาหนึ่งของชาติอ้ายลาวหรือไทยซึ่งยึดชื่อตำนาน
ดึกดำบรรพ์ของเขาไว้ได้' เมื่อคนไทยอพยพกันลงมาทางตอนใต้ของ
ประเทศจีน มีการอพยพมาเป็นระยะ ๆ อาศัยลำน้ำเป็นทางอพยพ
คือ แม่น้ำสาลวิน และแม่น้ำโขง เอาตะวันและทะเลเป็นจุดหมาย
พวกที่อพยพในทางแม่น้ำสาลวิน ไปตั้งอาณาจักรสิบเก้าเจ้าฟ้าในภาค
เหนือของพม่า ส่วนพวกที่มาตามลำน้ำโขงก็เข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศ
ลาวทุกวันนี้ มีเมืองสำคัญคือ เมืองแถน ปัจจุบันเรียกเดียนเบียนฟูใน
สิบสองจุไทย ในบรรดากลุ่มชนชาติไทยที่อพยพต่อ ๆ มา พวกที่มาตั้ง
หลักแหล่งอยู่บริเวณฝั่งซ้ายค่อนข้างอาภัพ ไม่มีอารยธรรมสูง ส่วนมาก
เป็นป่าดง ส่วนอีกพวกหนึ่งที่ข้ามฝั่งขวาเรื่อยมาตามลำน้ำเจ้าพระยา
ก็ได้พบกับอารยธรรมอันสูงที่มีอยู่ก่อน แล้วรับเอาอารยธรรมนั้นกลาย
เป็นศูนย์กลางของชนชาติไทยที่ใหญ่ที่สุดยิ่งกว่าชนชาติในกลุ่มอื่นๆ

ประเทศลาว มีพื้นที่ ๒๓๖,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่
เป็นภูเขา ภาคเหนือมีภูเขาสูงถึง ๒,๘๕๐ ฟุต เรียกภูเบี้ย และภูเขา
อื่นๆ มากมายต่อเนื่องมาจากภูเขาในยูนาน แล้วแผ่ปกคลุมไปทั่วภาค
เหนือ บริเวณนี้เป็นถิ่นกันดาร เต็มไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่า ทางตอน
ใต้มีภูเขาดงรักกันแดนลาวกับเขมร ทางตะวันออกมีภูเขาแดนแกวกั้น
ลาวกับญวนเหนือและญวนใต้ ใต้เวียงจันทน์ลงไปมีทุ่งราบและทุ่งกว้าง
เช่น ทุ่งสามปันนา ทุ่งเมืองสอง ทุ่งสุวรรณเขต ทุ่งจำปาศักดิ์ ชน
ลาวตั้งบ้านเรือนตามริมฝั่งน้ำ ห้วยลำธาร ส่วนพื้นที่สูง ๆ ตามไหล่เขา
เป็นที่อาศัยของพวกชาวเขา คือ แม้ว ลานแตน และอีก้อ

แม่น้ำเส้นโลหิตได้แก่แม่น้ำโขง ต้นน้ำอยู่ประเทศจีน ยาว
๔,๐๐๐ กิโลเมตร ผ่านยูนานสู่ลาว รัฐชานของพม่า ไทย เขมร และ
ญวนใต้มีคนไทยอาศัยอยู่เกือบตลอดสาย สองฝั่งโขงตั้งแต่ไชยบุรีถึงปาก
คานเป็นภูเขาซับซ้อน มีเกาะแก่ง หาดทราย และสัตว์ป่า วิวธรรมชาติ
สวยงามแต่มีอันตราย แม่น้ำโขงตอนใต้สุดของลาว มีบริเวณกว้างขวาง
เต็มไปด้วยเกาะแก่งเรียกว่า สี่พันดอนหรือสีทันดร แก่งที่มีอันตรายเรียก
แก่งลี่ผี เหนือแก่งนี้ เป็นเกาะโคกหินกลางน้ำ มีบริเวณกว้าง ผู้ไม่
ชำนาญเอาเรือเข้าไปแล้วอาจหลง เรียกว่า ลับแลทางน้ำ ทรัพยากรที่
สำคัญเช่น ไม้สัก ฝ้าย ฝิ่น สมุนไพร และของป่า
สมัยสุโขทัย ##############################
บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน มีเมืองเก่า
ของขอมหลายเมืองตั้งอยู่คือเมืองสุโขทัยเมืองศรีสัชนาลัย เมืองเหล่านี้
พ่อเมืองเป็นคนไทย แต่ขึ้นกับกษัตริย์ขอมซึ่งไทยเราเรียกว่า ผีฟ้าแห่ง
ยโสธรบุระ (นครธม) พลเมืองส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ตลอดลงมาจนถึง
ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้นับถือศาสนาที่แพร่หลายอยู่ในเวลานั้น มี
พุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาทและศาสนาพราหมณ์ในตอนต้นแห่ง
ศตวรรษที่ ๑๘ เมื่อจักรวรรดิขอมตั้งต้นเสื่อมลงผู้นำคนไทยในภาคนี้มี
พ่อขุนบางกลางท่าวและพระสหายของพระองค์จึงได้ปลดแอกขอม โดย
เริ่มต้นยึดเมืองสุโขทัยก่อน

อิทธิพลลังกาวงศ์ต่อการปกครองคณะสงฆ์ไทย ได้ทำให้
เกิดสมณศักดิ์ขึ้น สมณศักดิ์นี้ในอินเดียหาเคยมีไม่ ลังกาเป็นผู้คิดขึ้น
ก่อนไทยได้ปรับปรุงสมณศักดิ์เทียบด้วยยศของพวกพราหมณ์ในทางโลก
จึงเกิดทำเนียบสมณศักดิ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย คือ
๑.ครูบา ๒.เถระ ๓.มหาเถระ ๔.สังฆราชา ๕.สังฆปริณายกสิทธิ

สมัยสุโขทัยการปกครองคณะสงฆ์แบ่งออกเป็น ๓ คณะ คือ คณะคามวาสี
มีเจ้าคณะชื่อพระสังฆราชญาณรูจีมหาเถระ คณะอรัญวาสีมีเจ้าคณะชื่อ
พระบรมครูติโลกดิลกติรัตนสีลคันธวนวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสวามี
อีกคณะหนึ่งเรียกว่าคณะพระรูป คณะนี้มืดมนไม่ทราบที่มาที่ไป

ศาสนประเพณี ในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้พรรณนาถึง
สภาพของชาวสุโขทัย และประเพณีทางศาสนา
มีข้อความว่า "คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน
พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัย ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง
ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธ
ศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่ง
จึงแล้ว เมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอน
นั่งหมอนนอน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแลญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐิน
ถึงอรัญญิกพู้น.....ใครจะมักเล่น เล่น ใครจะมักหัว หัว (หัวเราะ)
ใครจะมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง เทียนมอญคน
เสียดกันเข้าดูท่านเผาเทียน เล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจะแตก"

ด้วยอิทธิพลของพระพุทธศาสนาทำให้สุโขทัยไม่มีทาสเลย ระบบ
ทาสเพิ่งจะเริ่มในสมัยอยุธยา เมื่อไทยไปเลียนแบบจากเขมร ซึ่งถือ
กษัตริย์เป็นเทพาวตารตามคติศาสนาพราหมณ์ แต่ในสมัยสุโขทัยราษฎร
เป็นลูกเมืองเสมอกันหมด เพราะฉะนั้นในพระอัยกาลักษณะลักพาซึ่ง
ตราขึ้นในปี พ. ศ. ๑๘๙๙ สมัยพระเจ้าอู่ทองของอยุธยา กล่าวถึง
ทาสที่หนีไปสู่เมืองชะเลียง สุโขทัย ทุ่งยั้ง บางยม สองแคว สระหลวง
ชากังราว เจ้าทาสขอร้องให้รัฐบาลอยุธยาไปติดตามจับ พระเจ้าอู่ทอง
รับสั่งว่า แม้แต่ขายกันในกรุงอยุธยายังบังคับเรียกค่าไถ่ ไล่
เบี้ยกันยาก ที่หนีไปถึงแดนสุโขทัยใต้หล้าฟ้าเขียว จักทำเอาอย่างเช่น
เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณ บ่ชอบเลย

ทาสที่หนีไปสู่อาณาจักรสุโขทัย จะได้รับอิสระ รัฐบาลสุโขทัย
จะมอบทุนทรัพย์ทำกินให้ แม้ในสมัยพระธรรมราชาที่ ๒ คือพระเจ้า
ไสยลือไท เมื่อกรุงสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอยุธยาแล้ว ถึงกระนั้น
ทางสุโขทัยก็ยังถือเป็นกฏหมายว่า ทาสเชลยใดที่หนีมามีกำหนดระยะ
เวลาถ้าไม่มีเจ้าทาสตามมา พ้นระยะกำหนดแล้วก็จะเป็นอิสรชนทันที

เนื่องจากกษัตริย์สุโขทัยตั้งพระองค์เป็นพ่อ ใกล้ชิดกับ
ราษฎรผู้เป็นลูกอยู่เสมอ จึงได้เกิดสุภาษิตสอนราษฎร เช่นพ่อสอนลูก
เรียกว่าภาษิตพระร่วง คือ "อาสาเจ้าจนตัวตาย อาสานายจนพอแรง
ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย อย่าขูดคนด้วยปาก อย่าถาก
คนด้วยตา อย่าแผ่เผื่อความผิด อย่าผูกมิตรคนจร อย่ารักเขากว่าผม
อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน"

ิอิทธิพลทางศิลปะ ไทยได้พระพุทธสิหิงค์จากลังกา ซึ่งเป็น
แม่แบบของพระพุทธรูปสุโขทัย พระพุทธรูปในประเทศไทยก่อนหน้านี้
ทุกยุคไม่เคยมีเปลวรัศมีสูง เพิ่งจะมีขึ้นครั้งแรกในสมัยสุโขทัย สังฆาฏิ
พระพุทธรูปในสมัยก่อนหน้านี้ ไม่เคยเป็นแฉกชนิดที่เรียกว่า เขี้ยว
ตะขาบ พุทธปฏิมาแบบสุโขทัยมี พระเจดีย์แบบลอมฟางซึ่งถ่ายจาก
มรีจิวัดเจดีย์ในลังกาก็ดี ถูปารามในลังกาก็ดี สมัยสุโขทัยได้สร้างขึ้น
เช่นพระมหาธาตุวัดช้างร้อง เมืองชะเลียง

พระพิมพ์พระพุทธรูปลีลาองค์งดงามที่สุดจากสุโขทัย ปัจจุบันตั้งอยู่ในวิหารคดวัดเบญจมบพิตรพระนอนงามที่สุดของสุโขทัยปัจจุบันอยู่ในวิหารวัดบวรนิเวศวิหารน่าเสียดายพระพุทธรูปลีลาเป็นปูนปั้น ซึ่งเป็นรูปนูนจากพระเจดีย์องค์หนึ่งในสุโขทัยเก่า ภาพนี้เป็นตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีพระพรหมและพระ-อินทร์อยู่สองข้าง ถือกันว่าเป็นพระลีลาปูนปั้นที่มีอิริยาบถเป็นธรรมชาติละมุนละไมเหนือศิลปะปูนปั้นทั้งหลายในตะวันออก แต่ก็ถูกผู้เคร่งครัดศาสนา(มุสลิม)ขุดทำลายไปเสียเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากพระอัลเลาะร์ พระเจ้าในศาสนาอิสลาม ไม่ทรงโปรดวัตถุปูนปั้น

การศึกษาในพระศาสนา พระเจ้าลิไทเมื่อยังเป็นราชบุตร
ทรงศึกษาพระไตรปิฎกกับคณาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในครั้งนั้น อาทิเช่น พระ
อโนมทัสสี พระสารีบุตร (คนละคนกับพระสารีบุตรอรหันต์สาวก) และอุปเสนราชบัณฑิตเป็นต้น จึงนับว่าเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่รอบรู้ในภาษามคธและพระไตรปิฎกจนถึงกับทรงพระราชนิพนธ์เตภูมิกถาในบางแผนกของหนังสือนี้ ทรงอ้างถึงตำรับตำราที่ใช้เรียบเรียง ล้วนแต่เป็นคัมภีร์มคธทั้งอรรถกถาฎีกาประ-มาณ ๓๐ ปกรณ์ บางปกรณ์ปัจจุบันไม่มีต้นฉบับ หนังสือเตภูมิกถา จึงเป็นวรรณคดีพุทธศาสนาเล่มแรกในภาษาไทยทีคนไทยเขียนขึ้น สมเด็จกรมพระยาดำรง เป็นผู้เปลี่ยนชื่อหนังสือว่า ไตรภูมิพระร่วง รสอักษร
ในหนังสือนี้แต่งเป็นลักษณะร่ายยาว มีสัมผัสในบางตอนพรรณนาความ
เป็นไปของสัตว์ในไตรภูมิ

ในการคณะสงฆ์ พระเจ้าลิไทได้ส่งทูตไปนิมนต์คณะสงฆ์
ลังกาเข้ามาสุโขทัย คณะสงฆ์ชุดนี้มาตั้งอยู่ก่อนแล้วที่เมืองเมาะตะมะ
และมีพระเถระที่สำคัญ มหาสวามีซึ่งต้องไม่ใช่ชื่อเป็นแน่ แต่เป็น
ฐานันดรศักดิ์ ในจารึกวัดป่ามะม่วงเรียกว่าสังฆราชลังกา
พระเจ้าลิไท ได้ทำพิธีนิมนต์พระสังฆราชลังกาเป็นการมโหฬาร
ถึงกับให้ตัดถนนจากสุโขทัยไปกำแพงเพชร จากกำแพงเพชรไปเมาะ-
ตะมะ เมื่อคณะสงฆ์ลังกามาถึงสุโขทัยได้จำพรรษาอยู่ในวัดป่ามะม่วง
พระเจ้าลิไทเองก็ทรงพระราชศรัทธาออกผนวชเป็นกษัตริย์ไทยองค์แรก
ที่บวชในขณะเสวยราชย์ พิธีผนวชทำเป็นสองตอน ตอนบรรพชาเป็น
สามเณรทำในพระราชมณเฑียร ต่อหน้าพระสุวรรณปฏิมา (คือพระทอง
วัดไตรมิตรในปัจจุบัน) ก่อนจะบรรพชาทรงเพศเป็นดาบส ประกาศพระราชปฏิญ-ญาณท่ามกลางสงฆ์ มุ่งปรารถนาพระโพธิญาณอย่างเดียว พระสังฆราชลังกาได้สรรเสริญพระจริยาวัตร หลังบรรพชาแล้วในขณะที่เสด็จไป เพื่อประกอบพิธีอุปสมบทว่าทรงมีอินทรีย์สังวรยิ่งนัก อุปมาดังพระมหาเถระผู้มีพระวัสสาได้ ๖๐ เป็นประมาณ ตอนสองทำพิธีสวดญัตติอุปสมบทใน
วัดป่ามะม่วง เข้าใจว่าจะทรงประทับอยู่ที่นั่นตลอดเวลาอุปสมบท และ
ถ้าไม่มีกองทัพไทยใต้ขึ้นไปรุกรานอาณาเขตแล้ว กษัตริย์องค์นี้คงจะ
เพลิดเพลินในเนกขัมมสุข พระองค์ได้ปริวรรตเพศออกมาในท่ามกลาง
อ้อนวอนขอร้องของเหล่าอำมาตย์

โรงเรียนไทยโรงเรียนแรกเกิดขึ้นในแผ่นดินนี้ ซึ่งเป็นโรวเรียนสอนศาสนา กล่าวคือพระเจ้าลิไทได้ทรงอุทิศพระราชมณเฑียรเป็นที่บอกปริยัติธรรมแก่
ภิกษุสามเณรขึ้นครั้งแรก อันเป็นแบบอย่างให้กษัตริย์ในอยุธยาและรัตน-
โกสินทร์ทำตาม

พระเจ้าลิไทได้ส่งทูตไปจำลองรอยพระพุทธบาทบนยอด
เขาสุมนกูฏในลังกา มาสร้างไว้ตามไหล่เขา ตามหัวเมืองสำคัญ เช่น
สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก รอยพระบาทนี้พึงเห็นตัวอย่างได้ที่
วัดบวรนิเวศ จึงเกิดประเพณีไหว้พระบาทขึ้นเป็นครั้งแรก

พระเจ้าลิไทโปรดให้ทูตไปเชิญหน่อพระศรีมหาโพธิ์จาก
อนุราธปุระมาปลูกไว้ในอาณาเขตสุโขทัยหลายแห่ง ประเพณีบูชา
ต้นโพธิจึงเกิดขึ้นในเมืองไทย

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าลิไทแล้ว พระเจ้าเสยลือไทได้เสวยราชย์
ในตอนนี้สุโขทัยต้องรับศึกสองด้าน คือศึกเชียงใหม่ทางเหนือด้านหนึ่ง
ศึกอยุธยาทางใต้ด้านหนึ่ง แต่ทางเชียงใหม่ยังพอต่อสู้สะกดไว้ได้ บาง
ครั้งก็กลับเป็นฝ่ายรุก ไปตีได้ถึงเมืองลำปาง แต่สำหรับศึกอยุธยา
ประจวบกับเป็นรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิราชที่ ๑ ซึ่งเป็นนักรบ จน
สามารถตีอาณาจักรกัมพูชาแตก พระเจ้าไสยลือไทต้องย้ายราชธานีลงมา
ประทับที่เมืองพิษณุโลก เพื่อจะรับมือกับพระเจ้าบรมราชาเต็มที่ แต่
ผลสุดท้ายพระองค์กลับเป็นฝ่ายยอมสวามิภักดิ์ ยอมถวายบังคัมพระเจ้า
บรมราชา สุโขทัยจึงตกเป็นประเทศราชของอยุธยา มีกษัตริย์สืบมาอีก
๒ พระองค์แล้วเลยถูกยุบรวมเข้าเป็นราชอาณาเขตเดียวกับอยุธยาใน
สมัยพระเจ้าสามพระยา

สมัยอยุธยา ############################
บริเวณที่ตั้งพระนครศรีอยุธยาเดี๋ยวนี้ แต่เดิมมีมาเมืองโบราณ
ตั้งอยู่ก่อนแล้วหลายเมือง ชื่อเมืองอโยธยา และเมืองเสนาราชนคร ฝั่ง
ตะวันตกของทางรถไฟ มีการขุดพบซากเมืองโบราณสถูปเจดีย์โดย
เฉพาะพระพุทธปรากฏเป็นหลักฐานสำคัญอยู่ข้อหนึ่งคือ พระพุทธรูป
องค์ใหญ่วัดพนัญเชิง ได้สร้างก่อนสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง ๒๖ ปี

ที่ตั้งพระนครศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอยู่กว่า ๔ ศตวรรษ พระนครศรีอยุธยาสร้างในชั้นแรก
กำแพงเมืองยังเป็นพูนดิน เอาไม้ไผ่ปัก ยังไม่ได้ก่ออิฐถือปูนใด ๆ ทั้ง
นั้น แม้แต่พระราชวังก็เป็นเครื่องไม้ ที่ก่ออิฐถือปูนถาวรมีแต่วัด ซึ่ง
พระเจ้ารามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนาขึ้นที่สำคัญมี ๒ วัดคือ วัดพุทไธศวรรย์
วัดนี้สร้างอยู่ในบริเวณตำบงเวียงเหล็ก ในที่ตั้งพลับพลาก่อนสร้างพระ-
นคร วัตถุสำคัญในวัดนี้ที่ยังเหลืออยู่คือพระปรางค์องค์ใหญ่ พระวิหาร
พระพุทธรูปตามระเบียงคด ซึ่งทำด้วยศิลา และกุฏิสมเด็จพระพุทธ-
โฆษาจารย์ วัดพุทไธศวรรย์นี้เรียกได้ว่าเป็นปฐมอารามในสมัยอยุธยา
เป็นวัดประสิทธิ์ประสาทวิชาการพิชัยสงคราม ตลอดสมัยอยุธยา แม่ทัพ
นายกองไทยส่วนมากได้รับการอบรมจากสำนักวัดพุทไธศวรรย์นี้ ใน
ปลายแผ่นดินพระองค์ได้สร้างวัดเจ้าพระยาไทขึ้น (คือวัดใหญ่ชัยมงคล
เดี๋ยวนี้) ในทางวรรณคดีได้ทรงตั้งกฏพระอัยการ และมีโองการแช่งน้ำ
ซึ่งยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 18:30
โพสต์: 165

แนวปฏิบัติ: มหายาน
งานอดิเรก: ทรงพระสูตร
ชื่อเล่น: พุทธศานติ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมเนียมของเมืองใหญ่ที่เป็นชั้นราชธานีหรือเมืองลูกหลวง ต้องมีวัด
สำคัญประจำพระนคร ๓ วัด เรียกชื่อเหมือนกันคือ วัดมหาธาตุ วัด
ราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน ที่เรียกว่าวัดมหาธาตุนั้น ต้องมีพระบรม
ธาตุเป็นหลักสำคัญของวัด ในสมัยสุโขทัย เมืองสุโขทัยเก่าก็มีวัดมหาธาตุ
เมืองสวรรคโลก คือเมืองศรีสัชนาลัยเก่าก็มีวัดมหาธาตุ เมืองกำแพง
เพชรและเมืองพิษณุโลกก็มีวัดมหาธาตุ ในสมัยอยุธยานอกจาวัดมหา-
ธาตุดังกล่าวนี้แล้วที่เมืองสุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ชัยนาท ล้วนมี
วัดมหาธาตุทั้งนั้น สำหรับวัดมหาธาตุในกรุงศรีอยุธยามีฐานะสำคัญมาก
คือเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชมาทุกแผ่นดิน

รัชกาล พระเจ้าบรมไตรโลกนาถได้ทรงอุทิศพระราชวังเดิมซึ่งสร้างมาแต่ครั้งพระเจ้าอู่-ทองให้เป็นวัด แล้วย้ายพระราชวังไปติดอยู่ทางริมน้ำ วัดที่ว่านี้เป็นวัดในเขตกำแพงวังไม่มีพระสงฆ์อยู่ มีแต่พุทธาวาสอย่างวัดพระแก้วในกรุง
เทพฯ เรียกว่า วัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ ทรงหล่อรูปพระโพธิสัตว์ ๕๐๐ ชาติ
ไว้ในวัดนี้ รูปเหล่านี้ปัจจุบันยังเหลือเพียง ๒-๓ รูป แล้วทรงนิพนธ์
มหาชาติคำหลวงสำหรับใช้เทศนาตามวัด เพราะฉะนั้นร่ายมหาชาติจึงเกิด
ขึ้นครั้งแรก แต่ประเพณีฟังเทศน์มหาชาติมีมาครั้งสุโขทัยแล้ว หากยัง
ไม่มีเทศน์ฉบับหลวงเพิ่มจะมีขึ้นในครั้งนี้ มูลเหตุที่ไทยนิยมฟังเทศน์มหา
ชาติ ก็เพราะอิทธิพลในพระสูตรกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์สูตร ซึ่งแสดงว่าพระศรีอริยเมต-ไตรยตรัสบอกผ่านพระกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์ว่า ผู้ใดปรารถนาไปเกิดทันศาสนาของพระองค์ ต้องฟังเทศน์มหาชาติให้จบ ๑๓ กัณฑ์ในวันเดียวกัน และบูชาด้วยธูปเทียนดอกบัวอย่างละพันปัจจุบันยังมีผู้ปูชาพระกษิติครรภ์โพธิ์สัตว์หรือพระมาลัย รองลงมาจากพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

ในรัชกาลพระเจ้าทรงธรรมนี้ เนื่องจากพระองค์เป็นผู้รู้พระ-
ไตรปิฎก แม้เสวยราชย์แล้วก็ยังเสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง ๓ หลังบอก
บาลีแก่พระสงฆ์สามเณรทุกวัน มีพระเณรในวัดต่าง ๆ ผลัดกันเข้ามา
เรียน เมื่อพวกญี่ปุ่นเป็นกบฏยกกองทัพเข้าปล้นพระราชวัง วันนั้นเป็น
วันพระสงฆ์วัดประดู่เข้ามาเรียนหนังสือ พระสงฆ์วัดประดู่เหล่านั้นได้กันพระเจ้าแผ่นดินให้พ้นภัย ในรัชกาลนี้มีพระสงฆ์ไทยพวกหนึ่งกลับจากลังกามา
ทูลว่า พระสงฆ์ลังกายืนยันมีรอยพระพุทธบาทในประเทศไทยแน่แท้ คือ
พระศาสดาได้ประทับรอยพระบาทในมงคลสถาน ๕ แห่งด้วยกัน คือ
๑. เขาสุวรรณมาลิก
๒. เขาสุวรรณบรรพต
๓. สุมนกูฏ
๔. โยนกปุระ
๕. ริมหาดแม่น้ำนัมมทา
พระสงฆ์ลังกายืนยันว่า สุวรรณบรรพตนั้นอยู่ในเมืองไทย จึงมี
พระโองการให้สอบหาเขาลูกนี้ตามหัวเมืองทั่วไป เจ้าเมืองสระบุรีมี
หนังสือมากราบทูลว่า พรานป่าในเมืองนี้ไปล่าเนื้อ ยิงเนื้อตัวหนึ่งบาด
เจ็บ เนื้อนั้นวิ่งหายไปในซอกหินแห่งหนึ่ง ครั้นกลับออกมาบาดแผล
หายเป็นอัศจรรย์ พรานบุญจึงตามเข้าไปดู เห็นเป็นรอยเท้ามนุษย์บน
แผ่นหิน ในรอยเท้ามีน้ำขังอยู่ พรานบุญจึงวักน้ำในรอยเท้านั้นลูบไล้
ตามผิวหนังของตนซึ่งเป็นกลากเกลื้อน ปรากฏว่าโรคผิวหนังได้หาย
เป็นปลิดทิ้ง และนำเรื่องราวมาแจ้งให้เจ้าเมืองสระบุรีทราบ พระเจ้า
ทรงธรรมเมื่อทรงทราบเรื่องเช่นนี้ จึงเสด็จออกไปทอดพระเนตรสอบ
สวนรายละเอียดบนฝ่าเท้านั้น เห็นต้องตามคำมหาปุริสลักษณะ จึงมี
พระราชศรัทธาอุทิศที่ดินโดยรอบภูเขาลูกนั้น ทิศละ ๑๐๐ โยชน์ ให้
เป็นพุทธบูชา แล้วทรงสถาปนามณฑปครอบรอยพระพุทธบาท พร้อม
ทั้งตั้งเจ้าพนักงานรักษาตามตำแหน่ง พระราชทานชายฉกรรจ์ให้เป็นข้า
พระ จึงเกิดเป็นประเพณีเทศกาลไหว้พระพุทธบาทขึ้นในกลางเดือน ๓
และเดือน ๔ ทุกปีมา

พระพุทธบาทเป็นของเกิดในอินเดียก่อน มีสมัยเก่ากว่าสมัยมี
พระพุทธรูปด้วยซ้ำ คือเริ่มสร้างกันแต่สมัยพระเจ้าอโศกเป็นต้นมา และ
มีหลายแบบ คือพระบาทคู่ก็มี สร้างเป็นรูปตะแคงพระบาทก็มี สร้าง
พระบาทคู่แต่รอยไม่เสมอกันก็มี อย่างหลังนี้ หมายถึง พุทธลีลา ส่วน
อย่างตะแคงพระบาทนั้นเข้าใจว่าเป็นเครื่องหมายปรินิพพาน ที่เป็น
รอยคู่เสมอกันเป็นเครื่องหมายประทับยืน ที่เป็นรอยเดียวก็มี เป็นเครื่อง
หมาย พระพุทธศาสนาแพร่หลายมาถึงที่นั่น ที่ทำเป็นพระบาท ๕ รอย
ก็มี เป็นเครื่องหมายพระพุทธเจ้าในภัททกัปนี้ ๕ พระองค์ รอยพระ
บาทในไทยชั้นเก่าที่สุดเป็นของสมัยทวาราวดี มีพบในริมแม่น้ำเจ้าพระยา
จนถึงที่ราบสูงโคราช และเข้าใจว่าจะมีการสร้างติดต่อกันเรื่อยมา ใน
สมัยสุโขทัยไปพิมพ์รอยพระบาทจากลังกา เข้ามาสร้างประดิษฐานบนเขา
พระศรี เขารังแร้ง เขากบ แต่ตามความเชื่อถือของประชาชน เชื่อว่า
พระพุทธองค์เสด็จมาถึงสระบุรี ซึ่งในครั้งนั้นมีชื่อเมืองสุนาปรันตะ ส่วน
ไหล่เขานั้นชื่อว่าสัจจพรรณคีรีตามชื่อของดาบสตนหนึ่ง ซึ่งมีสำนักอยู่
ในเขานั้น โดยพุทธองค์ทรงโปรดดาบสตนนี้ เมื่อจะเสด็จกลับได้ประทานรอย
พระบาทไว้ให้ ชาวบ้านมีศรัทธาเชื่อว่า ผู้ใดขึ้นได้ ๗ ครั้ง สามารถ
ปิดอบายภูมิ เพราะฉะนั้นเทศกาลรอยพระพุทธบาทจึงเป็นงานมหกรรมใหญ่ที่
ไม่เคยมีงานใดมาเทียบตั้งแต่สมัยโบราณ

รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง รัชกาลนี้ไทยตีกัมพูชาได้ทรงพระดำริถึงกลียุคที่จะมาถึง โปรดให้ตั้งพิธีลบศักราช มีพระราชสาส์นไปยังประเทศใกล้เคียง
ให้ถือศักราชตามที่พระองค์ลบใหม่นี้ แต่พระเจ้าอังวะส่งทูตมาว่า ศักราช
ใหม่ให้พวกเจ้ากรุงศรีอยุธยาใช้ไปพระองค์เดียวเถิด กรุงอังวะจะใช้ด้วยไม่ได้
ก็ทรงกริ้วว่าไอ้พม่ามันดูหมิ่น รับสั่งให้เอาอาหารที่พระราชทาน
เลี้ยงทูตเทรดหัวทูตแล้วขับไล่ออกไป

รัชกาลพระนารายน์ (พระนารายณ์ในที่นี้เป็นชื่อพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททองที่เกิดกับเจ้าจอมมารดา มิได้หมายถึง พระนารายณ์พระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู)
ครั้งหนึ่งที่กรุงศรีอยุธยา พวกบาทหลวงสามารถเกลี้ยกล่อม
คณะขุนนางไทยคณะหนึ่งหันมานับถือคริสต์ แต่ทราบถึงพระสงฆ์เหล่าหนึ่ง
ท่านก็ได้มาชี้แจงเปรียบเทียบเรื่องศาสนาพุทธกับคริสต์ จนขุนนาง
เหล่านั้นก็กลับมานับถือพุทธศาสนาอีก บาทหลวงแสดงความขัดเคืองไว้
ในบันทึกว่า เหตุการณ์อย่างนี้มีเนือง ๆ บางคนไปรับศีลมหาสนิทล้าง
บาปแล้ว ก็ถูกพระสงฆ์ใช้ปัญญากลับใจคนเหล่านี้ให้กลับมาเป็นพุทธ
อีก

ออกญาวิชาเยนทร์ ออกญาเทศผู้นี้ เป็นชาติกรีก ชื่อเยรากี ภายหลังเปลี่ยนเป็นฟอลคอนฟอลคอนมาอยู่กรุงศรีอยุธยาได้ไม่ถึง ๒ ปีใน รัชกาลพระนารายน์ก็พูดไทยคล่อง สาเหตุที่ได้รับราชการ ก็เพราะเป็นผู้คิดบัญชีทวงหนี้หลวงจากพ่อค้ามุสลิมพวกนี้ทีแรกตั้งต้นเป็นเจ้าหนี้กรมพระคลังสินค้า แต่แล้วโดยความ
สามารถของนายฟอลคอน กลับคิดบัญชีย้อนหลังปรากฏว่า เจ้าหนี้กลับ
เป็นลูกหนี้กรมพระคลังเสียอีก ด้วยความชอบครั้งนี้ เจ้าพระยาพระคลัง
จึงเป็นผู้แนะนำตัวนายฟอลคอนต่อสมเด็จพระนารายณ์ ได้รับบรรดา-
ศักดิ์เป็นออกหลวง ได้ทำงานในกรมพระคลังพร้อมทั้งทำหน้าที่เป็น
ได้วางแผนการร่วมมือกับพวกฝรั่งเศสที่จะเอาเมืองไทย
เป็นเมืองขึ้น แต่เดิมเยรากีนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ แต่เพื่ออาศัย
อิทธิพลฝรั่งเศสก็เปลี่ยนเป็นโรมันคาธอลิค พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้
พระราชทานฐานันดรศักดิ์แก่ฟอลคอน พร้อมทั้งอิสริยาภรณ์ริบอง-
ออนเนอร์ และให้สัญญาว่า ถ้าเอาเมืองไทยเป็นเมืองขึ้นได้แล้ว ก็ให้
กลับไปรับราชการในปารีสเลยทีเดียว แผนการณ์เอาเมืองไทยเป็นเมือง
ขึ้นมีดังนี้
๑. ให้พยายาทำลายอิทธิพลพุทธศาสนา โดยส่งบาทหลวง
เข้ามาเมืองไทยจำนวนมาก โดยมีสาส์นฝากฝังจากโป๊ปอินโนเซนถึง
สมเด็จพระนารายณ์โดยตรง ให้ช่วยคุ้มครองโรมันคาธอลิคในเมืองไทย
เมื่อมีผู้นับถือคริสตศาสนามาก พวกเหล่านี้จะเป็นกำลังพร้อมที่จะขาย
ชาติไทยได้
๒. ให้เกลี้ยกล่อมสมเด็จพระนารายณ์หันมานับถือคริสต์ ถ้าทำไม่สำเร็จ
ให้พยายามเกลี้ยกล่อมเจ้านายในราชวงศ์ชั้นสูงหรือขุนนางผู้มีอิทธิพลสูง
ให้หันมานับถือคริสต์ให้จงได้ สิ่งแลกเปลี่ยนคือ ตำแหน่งอันสูงทางการเมือง เมื่อ
พวกฝรั่งเศสเข้ายึดครองเมืองไทยแล้ว
๓. ส่งกำลังทหารเข้ามาเมืองไทย ให้ยึดป้อมสำคัญ ๆ เอาไว้
แผนการณ์ทั้งสามขั้นนี้ ปรากฏผลคือ

ข้อแรก พวกบาทหลวงเข้ามาอาศัยในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก
ยิ่งกว่าเมืองใด ๆ ในตะวันออก แต่ผู้เลื่อมใสคริสตศาสนามีแต่พวกเชลย
พวกทาส พวกคนป่า คนดง เช่น พวกกะเหรี่ยง พวกข่า คนไทย
ที่หันมานับถือคริสต์ส่วนใหญ่ก็พวกยากจน ไม่ปรากฏมีชนชั้นกลางหรือชั้นสูง
เลื่อมใส นักเรียนไทยชุดแรกที่ไปเรียนยุโรป เป็นนักเรียนที่ส่งไปโดย
ทุนของบาทหลวงในสมัยนี้ นับว่าเป็นข้อดี เพราะฉะนั้นแผนกการณ์ข้อหนึ่งล้มเหลวกลับสร้างปฏิกิริยาให้คนไทยซึ่งเป็นชาตินิยมรังเกียจศาสนาคริสต์มากขึ้นเพราะพวกบาทหลวงชอบยุยงให้พวกเข้าหันมานับถือคริสต์เลิกประพฤติตามวัฒนธรรมไทย ยกตัวอย่างเช่น ในงานพระราชพิธีนี้คือ น้ำพิพัฒน์สัตยา พวกหันมานับถือคริสต์ไม่ยอมถือน้ำ อ้างว่าผิดธรรมเนียมในไบเบิล พวกเหล่านี้ทางการของไทยก็ตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นพวกกบฏ ถูกจับไปเฆี่ยนตี ใส่คุกจนกระทั่งหัวหน้าบาทหลวง ต้องถวายฎีกากับสมเด็จพระนารายณ์ให้ปลด
ปล่อยออกมา พฤติกรรมของพวกหันมานับถือคริสต์ที่กีดขวางวัฒนธรรมฝ่ายโบราณต่าง ๆ รวมทั้งพวกบาทหลวงชอบประกาศศาสนาด้วยวิธียกตนข่มท่าน
ทุกครั้งทุกหน ยิ่งทำให้คนไทยที่เป็นชาตินิยมหมดความไว้วางใจพวก
เหล่านี้อย่างเด็ดขาด

สำหรับข้อ ๒ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ส่งราชทูตพิเศษ ชื่อ
เชวาเลียร์ เดอ โชมองต์ พร้อมกับคณะบาทหลวงพิเศษสำหรับทำหน้าที่
โปรดศีลให้สมเด็จพระนารายณ์เมื่อหันมานับถือคริสต์แล้ว เข้ามากรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.๒๒๒๙ มีหน้าที่เกลี้ยกล่อม ในหลวง พระเจ้าอยู่หัว ให้หันมานับถือคริสต์โดยเฉพาะ เมื่อมาถึงพระนคร ออกญาวิชาเยนทร์ และหัวหน้าบาทหลวงเดอเมโต รู้ข่าวได้รีบไปห้ามปรามทูตฝรั่งเศสมิให้ทำการรวดเร็วนัก เพราะสมเด็จพระนารายณ์ยังทีพระทัยมั่นคงในพุทธศาสสนาอยู่มาก เมื่อเร็ว ๆ นี้พระองค์ยังโปรดให้หล่อพระพุทธรูปทองคำสูง ๔ ศอกเศษองค์หนึ่ง สูง ๒ ศอกเศษองค์หนึ่ง ถวายพระนามว่า พระบรมไตรโลกนาถ และพระบรมตรี-
ภพนาถ เสด็จออกทรงบาตรทุกวัน เพราะฉะนั้นการกราบทูลให้ทรง
หันมานับถือคริสต์อย่างอาจหาญเกินไป อาจจะมีผลร้าย แต่ทูตฝรั่งเศสคัดค้านความเห็นนี้ และถวายพระราชสาส์นเรื่องชวนเข้ารีตจนได้
ออกญาวิชาเยนทร์ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่าม ก่อนจะแปลพระราช
สาส์นฉบับนี้ ได้กราบทูลขอพระราชทานอภัยใจความราชสาส์นฉบับนี้ซึ่ง
มีใจความว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสขอชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มา
ร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์เปลี่ยนศาสนามาถือศาสนาเดียว
กับฝรั่งเศส เพราะศาสนาที่เที่ยงแท้มีเพียงศาสนาเดียวในโลก คือศาสนาของ
พระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ถ้าฝ่ายกรุงศรีอยุธยามานับถือในพระผู้เป็นเจ้า
องค์เดียวนี้ พระองค์เป็นผู้มีฤทธิ์อำนาจก็จะบันดาลให้กรุงศรีอยุธยารุ่ง-
เรืองเหมือนฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์เมื่อสดับพระราชสาส์นนั้นแล้ว
ตรัสถามออกญาวิชาเยนทร์ว่า ใครเป็นผู้ไปทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสว่า เรา
จะนับถือคริสตศาสนา ออกญาทูลว่า บรรดาชาวฝรั่งเศสในพระนครนี้
ได้เห็นพระองค์พระราชทานความอุปถัมภ์ต่าง ๆ แก่คริสตศาสนามาก จึง
ได้เลื่องลือออกไปถึงฝรั่งเศส ประกอบทั้งเห็นพระราชทูตเปอร์เซียมา
ถวายคัมภีร์โกหร่านแก่พระองค์ จึงเห็นว่าถ้าไม่รีบกราบทูลให้เข้ารีต
เสียก่อน พวกทูตเปอร์เซียก็คงกราบทูลให้พระองค์นับถือมหมัด สมเด็จ
พระนารายณ์ทรงพระสรวลแล้วรับสั่งใจความว่า ถึงอย่างไรพระองค์ก็จะ
เลื่อมใสศาสนามหมัดไม่ได้ ทรงขอบพระทัยพระเจ้าฝรั่งเศสนักหนา
ที่มีความสนิทเสน่หาในพระองค์ แต่การที่จะเปลี่ยนศาสนาที่เคยนับถือ
มาเป็นเวลา ๒๒๒๙ ปีแล้ว ไม่ใช่เป็นของง่าย ๆ ก่อนอื่นขอให้พวก
บาทหลวงทำให้ราษฎรของพระองค์เข้ารีตให้หมดก่อน แล้วพระองค์จะ
เข้ารีตตามภายหลัง อีกประการหนึ่งทรงหลากพระทัยนักหนาว่า เหตุใด
พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจึมาก้าวก่ายกับฤทธิ์อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เพราะ
การที่มีศาสนาต่าง ๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็น
เจ้าหรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มีไปดั่งนั้น มิได้บันดาลให้มีเพียง
ศาสนาเดียว เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มากในเวลานี้ พระองค์คงปรารถนา
ให้ตัวเรานับถือพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้นเราจึงจะรอคอยพระ
กรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสคริสตศาสนาในวันใด เราก็
จะหันมานับถือคริสต์ในวันนั้น เราจึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยาสุดแต่พระผู้เป็นเจ้าจะบันดาลเถิด ขอพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส สหายเราอย่า
ทรงเสียพระทัยเลย
ด้วยลิ้นการทูตชั้นสูงอย่างนี้ ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนศาสนาก็เลิก
ไป แต่ราชทูตฝรั่งเศสกับออกญาวิชาเยนทร์ก็กลายเป็นขมิ้นกับปูนขึ้นมา
ต่างคนต่างฟ้องร้องอีกฝ่ายหนึ่งทรยศไปยังรัฐบาลฝรั่งเศส สมเด็จพระ
นารายณ์ทรงเอาใจทูตฝรั่งเศสไม่ให้ผิดหวังมากไป โปรดให้มีพระราช
โองการประกาศว่า ให้คนไทยนับถือศาสนาได้ตามชอบใจ แล้วพระราช
ทานที่ดินให้สร้างโบสถ์คริสตังใหม่ พระราชทานทรัพย์ให้โรงเรียน
คริสตศาสนา
สำหรับแผนการณ์ข้อ ๓ ฝรั่งเศสได้ส่งทหาร ๑ กรมมาเมืองไทย
อ้างว่าจะช่วยไทยรบอังกฤษ ทหารกลุ่มนี้ผู้บังคับบัญชาคือนายพลเดฟา
ความจริงนั้นเป็นแผนการณ์สำหรับยึดราชบัลลังก์ ทหารกรมนี้มาถึง
เมืองไทยเหลือราวครึ่งหนึ่ง นอกนั้นตายในระหว่างทางบ้าง กลับไป
บ้านบ้าง รัฐบาลไทยชักไม่ไว้วางใจ จึงไม่ยอมให้มาพักอยู่ในพระนคร
ได้ส่งกำลังส่วนหนึ่งออกไปเมืองมะริดและตะนาวศรี คงเหลือทหาร ๔๐๐
คน ให้อยู่รักษาป้อมเมืองธนบุรี นายทหารคนหนึ่งในกรมทหารฝรั่งเศส
นี้ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นออกพระศักดิ์สงคราม คนผู้นี้เป็นศัตรูอย่าง
ร้ายแรงกับออกญาวิชาเยนทร์ ต่างฝ่ายต่างได้เขียนบันทึกเปิดโปงความ
ชั่วร้ายซึ่งกันและกัน ทำให้เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
ในยุคนั้น และรู้ความคิดของพวกคาธอลิคที่จะยึดครองเมืองไทย จาก
จดหมายเหตุบันทึกเหล่านี้ ออกพระศักดิ์สงครามเรียกวิชาเยนทร์ว่า อ้าย
ผู้ร้ายขี้โกง ฝ่ายวิชาเยนทร์เรียกคุณพระผู้นี้ว่า คนโง่บัดซบทรยศเก่ง
แผนการณ์สำคัญของฝ่ายคาธอลิคได้บรรลุผลสำเร็จขั้นหนึ่ง คือ ได้พระ
ปิยะ(ไม่ใช่ ร.๕ แต่หมายถึงลูกเลี้ยงของสมเด็จพระนารายณ์ที่ชื่อ พระปิยะ)
ซึ่งเป็นโอรสเลี้ยงของสมเด็จพระนารายณ์มาเป็นสาวก พระปิยะผู้
นี้เป็นลูกคนจีน พระปิยะได้เปลี่ยนศาสนามาถือคาธอลิค และเป็นบุคคล
ที่พวกนี้หวังกันว่าจะยกขึ้นเสวยราชย์เมื่อสิ้นบุญพระนารายณ์แล้ว เพราะ
พระนารายณ์มีแต่ราชธิดา ไม่มีราชโอรสเลย ราชธิดานั้นทรงกรมเป็น
กรมหลวงโยธาเทพ มีพระอนุชาองค์หนึ่งคือ เจ้าฟ้าอภัยทศก็ปราศจาก
อิทธิพลใด ๆ เพราะฉะนั้นความมุ่งหวังของพวกคาธอลิคอยู่ที่พระปิยะ
แต่เป็นคราวเคราะห์ดีของเมืองไทยที่มีคณะรักชาติชิงทำปฏิวัติเสียก่อน

ส่วนในประเทศลาวในบันทึกของเจ้าบุณยวัฒน์ อุ่นแก้ว
ได้เล่าถึงการก่อตั้งคณะลาวอิสระเพื่อต่อต้านฝรั่งเศสที่จะกลับคืนมามีอํานาจ
อีกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ' ฝรั่งเศสมีจุดประสงค์ที่จะลบล้าง
พระพุทธศาสนา คือในตอนแรกนั้น ฝรั่งเศสได้ทําการสํารวจจํานวน
พระภิกษุสามเณรเพื่อจะเก็บส่วย '
สมัยปัจจุบัน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลาวได้รับเอกราช มีการเปลี่ยน
แปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย มีกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ ได้มีการปรับปรุงการพระศาสนา มีการปกครอง
คล้ายบ้านเมือง มีพระสังฆราชเป็นประมุขมีสังฆนายก สังฆมนตรีว่าการ
องค์การปกครอง องค์การศึกษาองค์การเผยแผ่ และองค์การปฏิสังขรณ์
ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๒ ได้ยกเลิกการปกครองแบบนี้ หันมาใช้แบบสภา
คณะสงฆ์มีพระสังราชเป็นประมุข คล้ายมหาเถรสมาคมของคณะสงฆ์
ไทย ในพระราชโองการของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ว่าด้วยระเบียบสงฆ์
ลงวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๐๒ ได้แสดงวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการคือ
๑. เพื่อให้พระสงฆ์มีระเบียบ และจัดการซ่อมแซ่มวัดและ
โบราณสถานของพระพุทธศาสนาให้มั่นคง
๒.เพื่อขยายการศึกษาให้กว้างขวาง
๓.เพื่อฟื้นฟูกิจการพระศาสนาให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป
ลําดับยศของพระสงฆ์ตามระเบียบนี้มี ๖ พระสังฆราชเรียก
พระยอดแก้ว สมเด็จราชาคณะเรียก พระลูกแก้ว พระราชาคณะ
เรียกพระ หลักคํา พระครู ต้องมีพรรษาครบ ๑๐ พระซา ต้องมีพรรษา
ครบ ๕ พระสัมเด็ด ต้องมีพรรษาครบ ๓
อนึ่ง ประเทศลาวนั้นประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา
จึงได้ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจําชาติเช่นเดียวกับประเทศ
ไทย ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญของประเทศลาว พ.ศ.๒๔๙๐ หมวด
ที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ กล่าวไว้ว่า ' พระพุทธศาสนาเป็นของประเทศ
พระมหากษัตริย์เป็นอัครศาสนูปถัมภก ' และในหมวดที่ ๒ พระมหา
กษัตริย์ มาตรา ๘ กล่าวว่า ' พระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ
พระมหากษัตริย์ดํารงในฐานนะอันเป็นที่เคราพสักการะ ผู้ใดจะละเมิด
มิได้ พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะ '

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศลาว
เป็นทางการสมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม ในศตวรรษที่ ๑๘ ยังมั่นคงดำรงอยู่
ได้ในท่ามกลางมรสุมปั่นป่วนผวนผันของเหตุการณ์บ้านเมืองตราบจน
เท่าทุกวันนี้ คำนวณอายุกาลของพระพุทธศาสนาในประเทศลาว
ประมาณได้ ๗๐๐ กว่าปี

มาต่อ กลับมาที่เมืองไทยต่อหลังจากไปลาวแล้ว เรื่องถึงที่สมัยพระนารายณ์
สงครามกับพม่าและเชียงใหม่
ในรัชสมัยนี้กองทัพไทยได้ยกขึ้นไปตีเมืองอังวะของพม่า สาเหตุ
เนื่องมาแต่พวกมอญถูกพม่ากดขี่อพยพเข้ามาพึ่งไทย แม้ทัพพม่าตามมา
กวาดครัวมอญในเขตไทย ไทยจึงยกกองทัพออกไปจนขึ้นไปล้อมกรุง
อังวะได้ แม่ทัพของไทยคือ เจ้าพระยาโกษาเหล็ก ศึกพม่าครั้งนี้มีเรื่อง
ประหลาดเกิดขึ้น คือพระยาสีหราชเดโช ซึ่งเป็นทหารเอกคนโปรดของ
พระนารายณ์ตลุมบอนพม่าถูกพม่าจับได้ ม้าเร็วเข้ามากราบบังคมทูล ทรง
ทราบแล้วให้นิมนต์พระพิมลธรรมวัดระฆัง เข้ามาจับยามตรีเนตร พระ
พิมลธรรมถวายพระพรว่า พระยาสีหราขหลุดจากพันธนาการแล้ว กลับได้
ชัยชนะนำลาภสักการะมาให้ ห่างกันเพียง ๓ ชั่วโมง ม้าเร็วอีกชุดหนึ่งก็
เข้ามากราบบังคมทูลว่า บัดนี้พระสีหราชได้ทำวิชากำบังตนสะเดาะโซ่
หลุดออกมา และนำกองทัพม้าตีค่ายพม่าแตกจับเชลยเป็นอันมาก ทรง
โสมนัสว่าพระพิมลธรรมดูแม่นนัก ให้ถวายไตรแพรเทศ ๑ ชุด ทัพไทย
ล้อมกรุงอังวะอยู่กว่า ๓ เดือน ก็ตีไม่ได้ พอจวนใกล้ฤดูฝนจึงต้องถอย
ทัพกลับ ส่วนศึกเชียงใหม่นั้นเกิดจากพระยาแสนหลวงเจ้าเมืองเชียงใหม่
กลัวพวกฮ่อจะยกมาตีเมือง จึงส่งแสนสุรินทร์ไมตรีลงมาขอกองทัพไทย
ไปช่วย แต่พอทัพไทยไปถึงกลางทาง แสนสุรินทร์ไมตรีก็ลอบหนีขึ้น
ไปเชียงใหม่ เพราะรู้ระหัสว่า ทัพฮ่อถอยไปแล้ว ไทยเห็นเป็นการล่อ
ลวง จึงไปตีเมืองเชียงใหม่แตก

เหตุการณ์ในปลายแผ่นดิน
โดยปกติสมเด็จพระนารายณ์ชอบประทับอยู่ที่พระที่นั่งสุทธา-
สวรรค์ และพระที่นั่งธัญญมหาปราสาทในพระราชวังเมืองลพบุรี ต่อฤดู
ฝนจึงเสด็จลงมาประทับที่พระนคร เมื่อประชวรหนักลงที่ลพบุรี ออกญา
วิชาเยนทร์ไหวตัวเกรงอันตราย ได้เรียกกำลังทหารฝรั่งจากเมืองธนบุรี
ขึ้นไปป้องกันตัว แต่พวกทหารฝรั่งเศสก็ไม่กล้าขึ้นไป เพราะเกรงได้
รับอันตรายจากทหารไทยกลางทาง คนสำคัญในขุนนางไทยที่อยู่เมือง
ลพบุรี คือพระเพทราชาเจ้ากรมช้าง ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้รักษาการณืพระ-
ราชวังในขณะนั้น พระเพทราชาเองไม่ใช่คนมักใหญ่ใฝ่สูงมาก่อน แต่
เหตุการณ์บ้านเมืองบังคับ คือข้าราชการที่รักชาติเกิดความรู้สึกว่า ถ้า
ไม่รีบฉวยทำอะไรในตอนนี้โอกาสจะตกไปแก่พวกพระปิยะ เมืองไทยก็
จะเสียแก่ฝรั่งเศส พระพุทธศาสนาก็จะได้รับอันตราย จึงกำหนดประชุม
ลับขึ้นในพระราชวัง มีเหตุการณ์ถามตอบในที่ประชุมสำคัญตอนหนึ่ง
ระหว่างหลวงสรศักดิ์กับพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ถามว่าถ้าคิดการณ์
สำเร็จ บิดาจะยกแผ่นดินให้แก่ผู้ใด ตอบว่าจะยกถวายเจ้าฟ้าอภัยทศ
หลวงสรศักดิ์หน้าบึ้งแสดงไม่พอใจ กล่าวว่าจะยกให้ผู้อื่นข้าพเจ้าหายอม
ไม่ เพราะเราทำงานด้วยเอาชีวิตเข้าแลก ผู้สมควรปกครองแผ่นดินก็คือ
บิดาท่านเท่านั้น แล้วหลวงสรศักดิ์ก็ประกาศในที่ประชุม ให้ที่ประชุม
ถวายบังคมพระเพทราชา พระเพทราชาจึงเป็นกษัตริย์แบบตกกระได
พลอยโจน
แผนการณ์ขั้นต่อไป คือลวงออกญาวิชาเยนทร์มาประหารชีวิต
แล้วลวงเจ้าฟ้าอภัยทศจากกรุงศรีอยุธยาว่า พระเจ้าอยู่หัวจะมอบราช
สมบัติให้เมื่อเจ้าฟ้าองค์นั้นมาถึงเมืองลพบุรีก็ถูกจับประหารชีวิต สำหรับ
พระปิยะนั้นหลวงสรศักดิ์ให้พนักงานชาวที่ผลักตกกำแพงแก้วลงมาแล้ว
ประหารชีวิต สมเด็จพระนารายณ์ได้รู้เห็นเหตุการณ์นี้ระแคะระคาย แต่
เป็นเวลาประชวรหนักมาแล้ว จึงได้แต่แช่งพ่อลูก ๒ คนบนที่บรรทม
เท่านั้นจนสิ้นพระชนม์ไป ก่อนหน้าจะสวรรคตพระองค์ได้อุทิศพระราช
วังลพบุรี ให้เป็นวิสุงคามสีมา ให้พระสงฆ์จัดการอุปสมบทพวกมหาด-
เล็กชาวที่ เพื่อให้พ้นอันตรายจากพวกหลวงสรศักดิ์ เพราะฉะนั้นใน
สมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นไปประทับที่วังลพบุรี
จึงโปรดให้ทำผาติกรรมสร้างวัดขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่งชดใช้

วงศ์บ้านพลูหลวง ถึง ธนบุรี
วงศ์บ้านพลูหลวงมาจากเมืองสุพรรณบุรี อาชีพคนใดในสกุลเป็น
หมอช้างสืบลำดับมา จนถึงสมัยพระเพทราชาได้เป็นกษัตริย์ พระองค์ได้
ตั้งพระราชธิดาและพระราชกนิษฐาของพระนารายณ์เป็นอัครมเหษีซ้าย
ขวา คือกรมหลวงโยธาเทพ กรมหลวงโยธาทิพย์ เมื่อเสวยราชย์แล้ว
ทรงรำลึกถึงคุณพระอาจารย์วัดพระยาแมนว่า เมื่อครั้งยังอุปสมบทอยู่ที่
วัดนั้น พระอาจารย์องค์นั้นได้ผูกพยากรณืดวงชะตาว่า จะมีบุญญาธิการ
ถึงเสวยฉัตร บัดนี้การณ์ก็สมจริงทุกอย่าง จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัด
พระยาแมนทั้งหมด และตั้งอาจารย์รูปนั้นเป็นที่พระศรีสัจจญาณมุนี ใน
แผ่นดินนี้มีกบฏเกิดขึ้นเนือง ๆ อาทิเช่น กบฏธรรมเถียร หัวหน้ากบฏ
รายนี้เป็นมหาดเล็กเจ้าฟ้าอภัยทศมาก่อน มีใบหน้าประพิมพ์ประพาย
เจ้าฟ้าองค์นั้น ยิ่งไปทำไฝปลอมติดเข้าที่ริมโอษฐ์ก็เลยทำให้ผู้คนหลงเชื่อ
ว่า เป็นเจ้าฟ้าอภัยทศ พวกกบฏยกพลลงมาถึงกรุงศรีอยุธยา แต่บังเอิญ
หัวหน้าถูกกระสุนปืนตาย กบฏอีก ๒ รายคือ กบฏนครราชสีมารายหนึ่ง
กบฏนครศรีธรรมราชรายหนึ่ง ก็ถูกปราบไปได้

สมัยพระเจ้าบรมโกษฐ์ มีพระราชนิยมของพระเจ้าบรมโกษฐ์ คือเรื่องการบรรพชาอุปสมบท
เป็นสำคัญนัก ราษฎรก็ดี ข้าราชการก็ดี ถ้าไม่ได้ผ่านการบรรพชา
อุปสมบทมาแล้วไม่โปรดชุบเลี้ยง หรือเลื่อนยศให้ กวีในทางพระศาสนา
ก็มีมากในแผ่นดินนี้ เช่นพระมหานาค วัดท่าทราย ได้นิพนธ์เรื่อง
ปุณโณวาทคำฉันท์ และยอเกียรติพระเจ้าบรมโกษฐ์ซึ่งปฏิสังขรณ์วัด
พระพุทธบาท มีข้อความบางตอนไพเราะ เช่น

การประดิษฐานสยามนิกายในลังกา
ในศตวรรษที่ ๒๒ เกาะลังกาต้องผจญกับสมัยสงครามเนือง ๆ และ
ยังถูกกดขี่จากพวกโปรตุเกส ห้ามมิให้นับถือพระพุทธศาสนา ตามบริเวณ
รอบชายแดนคงเหลือรัฐเอกราชอยู่ใจกลางเกาะที่พวกโปรตุเกสไปไม่ถึง
ปรากฏว่าพระสงฆ์ในลังกาได้สูญวงศ์ลง เพราะไม่ได้อุปสมบทกันช้านาน
มีแต่สามเณร สามเณรรูปหนึ่งชื่อสรณังกร ได้พยายามขวนขวายที่จะให้
ฟื้นสมณวงศ์ขึ้นใหม่ พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะกษัตริย์ลังกาในครั้งนั้น
ได้พยายามแสวงหาพระสงฆ์ต่างประเทศเข้ามาบวช ได้สอบถามพวก
พ่อค้าพาณิชย์ว่าเคยเห็นเมืองใดที่มีคนนุ่งห่มเหลืองมากคับคั่ง พวกลูกค้า
พากันชี้กรุงศรีอยุธยา (หมอแกมเฟอร์ซึ่งเคยเดินทางผ่านกรุงศรีอยุธยา
ได้มีจดหมายเหตุว่า กรุงศรีอยุธยามีวัดราว ๒ พันวัด มีพระสงฆ์ หลาย
หมื่นรูป)
พระเจ้าลังกาจึงได้ส่งราชทูตมากรุงศรีอยุธยา ทูลขอคณะสงฆ์
ไทยออกไป พวกทูตลังกาได้เขียนจดหมายเหตุไว้ละเอียด พวกนี้ตื่นเต้น
กับสถานของพระนครมาก บอกว่าจะแลไปทางไหนก็เห็นแต่ทอง
หลังคาโบสถ์ วัด และเจดีย์ ล้วนเป็นทองทั้งนั้น พวกทูตลังกามีโอกาส
ชมขบวนกฐินพยุหยาตรา และได้ขึ้นไปนมัสการพระพุทธบาท สระบุรี
พักอยู่ในพระนครปีเศษ ฝ่ายไทยได้มอบหน้าที่ให้สมเด็จพระสังฆราชวัด
มหาธาตุเป็นผู้คัดเลือกพระสงฆ์ที่จะออกไปลังกา ได้พระอุบาลีเป็นหัว
หน้าคณะ เมื่อคณะสงฆ์ไทยได้ถูกมรสุมแตกเสียในอ่าวไทย ต้องขึ้นบก
ที่นครศรีธรรมราช พระเจ้าบรมโกษฐ์ท้อพระหฤทัย แต่พวกทูตลังกาก็
กราบทูลวิงวอนเนือง ๆ พระองค์จึงให้คณะสงฆ์ไทยโดยสารกำปั่นฝรั่ง
โดยว่าจ้างให้เขานำส่งไปลังกา ในการเดินทางเที่ยวนี้คณะสงฆ์ไทยได้ถึง
เกาะลังกา พระเจ้าเกียรติศิริราชสิงหะได้นิมนต์พระอุบาลีไปจำพรรษาอยู่
ณ วัดบุปผาราม แล้วโปรดให้ทำพิธีผูกพัทธสีมาขึ้น อุปสมบทสามเณร
สรณังการเป็นพระภิกษุลังการูปแรก คณะสงฆ์ไทยชุดนี้อยู่ลังกาประมาณ
๔ ปีได้บวชกุลบุตรลังกา ๖ พันกว่ารูป ชาวลังกาจึงเรียกว่านิกายสยาม-
วงศ์ หรืออุบาลีวงศ์ และพระอุบาลีนั้นได้ถึงแก่มรณภาพที่ลังกานั่นเอง

ต่อมาเจ้าฟ้ากรมขุนเสนาพิทักษ์แม้จะเป็นพระมหาอุปราชแล้ว ก็ยังมี
ความคิดระแวงเจ้าฟ้ากรมขุนสุเรนทรพิทักษ์ ซึ่งผนวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัด
โคกแสง เจ้าฟ้าพระองค์นี้เป็นโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าท้ายสระ และ
เป็นผู้ที่พระเจ้าบรมโกษฐ์ทรงพระเมตตา พระมหาอุปราชจึงสำคัญว่าจะ
เป็นศัตรูต่อราชสมบัติของพระองค์ จึงคิดทางกำจัด วันหนึ่งพระเจ้า
บรมโกษฐ์ประชวร เจ้าฟ้าพระเสด็จมาเยี่ยม พระมหาอุปราชได้ใช้อาวุธ
ฟันเจ้าฟ้าพระจนจีวรขาดแต่หาเข้าไม่ เพราะอยู่ยงคงกระพัน เพื่อเจ้าฟ้า
พระเสด็จไปถึงที่บรรทม พระเจ้าบรมโกษฐ์จึงตรัสถามว่า เหตุไรจึงห่ม
จีวรขาดเข้ามา ทูลว่า พระมหาอุปราชเธอหยอกเล่น เมื่อเจ้าพระกลับ
ไปแล้ว พระเจ้าบรมโกษฐ์จึงตรัสให้จับพระมหาอุปราชมาลงโทษ และ
สำเร็จโทษพระนัดดาของพระองค์ ๒ องค์ ที่สมคบกับพระมหาอุปราช
ในการนี้ ฝ่ายพระมหาอุปราชนั้นเมื่อเห็นว่าความแตกจึงหนีไปพึ่งพระ
มารดากรมหลวงอภัยนุชิต แล้วชวนกันมาที่วัดโคกแสง โดยซ่อนพระ-
องค์ในพระวอของพระมารดา เจ้าฟ้าพระจึงจัดการให้อุปสมบทในคืน
วันนั้น ในขณะที่ผนวชอยู่นั่นเอง พระมหาอุปราชทำนองจะล้างกรรม
ของพระองค์ จึงได้นิพนธ์เรื่องนันโทปนันทสูตรคำฉันท์ ต่อมากรม-
หลวงอภัยนุชิตประชวรหนักจวนจะสิ้นพระชนม์ ได้ทูลขออภัยพระราช
โอรสต่อพระสวามี พระเจ้าบรมโกษฐ์ก็ตรัสว่า "ถ้าไม่เป็นกบฏก็จะไม่
ฆ่า" พระมหาอุปราชจึงถือว่าทรงให้อภัยแล้ว ได้ปริวรรตเพศออกมา
แต่ต่อมาได้รับสถาปนาในตำแหน่งเดิมอีก เหตุที่จะเป็นอริกับก๊กเจ้า ๓
กรม เนื่องจากพระมหาอุปราชสั่งเฆี่ยนเจ้ากรม ปลัดกรม ในเจ้า ๓
กรมนั้นว่า เจ้านายเป็นเพียงกรมหมื่น แต่ตั้งกันเป็นขุนเป็นหลวง เกิน
ฐานะ เจ้า ๓ กรมจึงผูกอาฆาต แล้วทูลฟ้องพระราชบิดาว่า พระมหา-
อุปราชลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ มเหษีของพระราชบิดา พระมหา-
อุปราชจึงถูกราชทัณฑ์เฆี่ยนจนสิ้นพระชนม์คาหวาย

สำหรับเจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี พระราชบิดาบริภาษว่าเป็น
คนโฉดเขลา ถ้าให้ราชสมบัติบ้านเมืองจะเป็นอันตราย เพราะฉะนั้น
จึงขับไล่ให้ไปบวชเสียอย่าอยู่ให้เป็นที่กีดขวาง ทรงมอบราชสมบัติให้
เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิต เมื่อพระเจ้าบรมโกษฐ์สิ้นพระชนม์ เจ้าฟ้า
กรมขุนอนุรักษ์ลอบสึกออกมาเสียก่อน แล้วเสด็จขึ้นไปประทับบนพระที่
นั่งสุริยามรินทร์ วางท่าประหนึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ฝ่ายเจ้า ๓ กรม
ก็เรียกบรรดาไพร่พลปีนกำแพงวัดพระศรีสรรเพ็ชญ์ เข้าไปในพระราชวัง
เอาอาวุธในโรงพระคลังแสงออกมาแจกจ่ายกัน ทำทีจะเกิดศึกกลาง
เมือง เจ้าฟ้ากรมขุนพรพินิตจึงนิมนต์พระราชาคณะใหญ่ มีพระธรรม-
โคดม ๑ พระธรรมเจดีย์ ๑ พระพุทธโฆษาจารย์ ๑ พระเทพกวี ๑
พระเทพมุนี ๑ ให้ไปช่วยเล้าโลมเจ้า ๓ กรมมาสวามิภักดิ์ พระราชา-
คณะทั้งหลายไปกลับถึง ๒ หน ๒ เที่ยว จึงพาเจ้า ๓ กรมมาสำเร็จ
เจ้าฟ้าพรพินิตให้สัตย์ว่าจะไม่ทำอันตราย แต่พอพ้นไป ๗ วัน ก็ใช้
อุบายจับเจ้า ๓ กรมสำเร็จโทษ

สมัยรัตนโกสินทร์#########

สังคายนาพระไตรปิฎกในปี ๒๓๓๒ ทรงมีพระราชปรารภ
ว่า ทุกวันนี้การศึกษาของคณะสงฆ์ย่อหย่อนลงไป เพราะพระไตรปิฎก
มีข้อความวิปลาสคลาดเคลื่อนมาก จึงตรัสให้สมเด็จพระสังฆราชเป็น
ประธาน พร้อมกับพระมหาเถรานุเถระ จำนวน ๒๑๘ รูป และมีราช
บัณฑิต ๓๒ คน ประชุมกันทำสังคายนาพระไตรปิฎก ณ วัดพระศรี
สรรเพ็ชญ์ (วัดมหาธาตุ) เริ่มพิธีทำสังคายนาในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ปีวอก
พ. ศ. ๒๓๓๑ มาแล้วเสร็จเอาเดือน ๕ ปีระกา โปรดให้สร้างพระไตร-
ปิฎกตามที่ได้สังคายนาไว้เป็นหลักฐาน พระราชทานให้อารามใหญ่น้อย
ในพระนคร สำหรับฉบับหลวงปิดทองทึบทั้งในปกหน้าหลังและกรอบ
เรียกว่า ฉบับทอง เป็นคัมภีร์วินัย ๘๐ คัมภีร์ พระสูตร ๑๖๐ คัมภีร์
อภิธรรม ๖๑ คัมภีร์ สัททาวิเสส ๕๓ คัมภีร์ รวมเป็นหนังสือ ๓๕๔ คัมภีร์
คิดเป็นใบลาน ๓๖๘๖ ผูก พระไตรปิฎกจบนี้โปรดให้ประดิษฐานไว้ใน
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างหอมณเฑียรธรรมขึ้น ผลแห่ง
การทำสังคายนาครั้งนี้ ทำให้การศึกษาของคณะสงฆ์รุ่งเรือง สมเด็จ
พระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน จึงได้รจนาคัมภีร์สังคีติวงศ์เป็นภาษาบาลี
เพื่อเป็นอนุสรณ์

เหตุการณ์ในรัชกาล ที่ ๓
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรืออีกนัยหนึ่งพระองค์เจ้าทับ ได้
เสวยราชย์เป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
เมื่อยังเป็นราชโอรสได้ทรงสร้างวัดจอมทอง ทรงแต่งสำเภาไปค้าขายใน
เมืองจีนจนร่ำรวย ก็เอารายได้มาสร้างวัดวา ในปีหนึ่ง ๆ ทรงให้สำเภา
บรรทุกข้าวสารไปแจกคนโซในเมือง ที่วังในกรุงเทพ ฯ ก็ให้สร้างโรง
ทานขึ้นหน้าวัง แจกทานทุกวันไม่ขาดจนพระบิดาออกพระโอษฐ์ว่า
เราเป็นพระเจ้าแผ่นดินยังสู้เจ้าสัวเขาไม่ได้ แล้วมีพระราชโองการให้
สร้างโรงทานที่หน้าประตูวิเศษชัยศรีบ้างเพื่อแจกทาน รัชกาลที่ ๓ ได้
ทรงรับหน้าที่ฝ่ายทหารและการคลังและการศาลมาตั้งแต่สมัยพระราช-
บิดาเช่นเคยเป็นแม่ทัพยกไปขัดตาทัพพม่าที่เพชรบุรี กาญจนบุรี ทรงมี
นายทหารเอกคู่พระทัย คือ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา และมีขุนคลังแก้ว คือ
เจ้าพระยานิกรบดินทร์ ต้นสกุลกัลยาณมิตร ทรงประพฤติพระองค์ประ-
หนึ่งพระจักรพรรดิในพระสูตร ทรงตั้งพระหฤทัยมุ่งพระโพธิญาณ ได้
ทรงบำเพ็ญมหาทานเช่นพระโพธิสัตว์ คือบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน
แก่พระสงฆ์ พระโอรสคือพระองค์เจ้าชายวิลาส พระธิดาคือกรมหมื่น
อัปสรสุดาเทพ เมื่อพระสงฆ์รับแล้วก็ถวายคืนพอเป็นกิริยา ในรัชกาล
นี้เนื่องจากทรงนิยมในการกุศลอย่างเอกอุ จึงได้บังเกิดวัดขึ้นจำนวน
มากทั้งที่ทรงสร้างใหม่ ทรงปฏิสังขรณ์ของเก่า และทรงพระราชทาน
ทุนช่วยเขาสร้างวัด มีข้อที่น่าสังเกตคือ วัดที่สร้างหรือบูรณะในสมัยนี้
กุฎีสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ล้วนก่ออิฐถือปูนแข็งแรง ไม่นิยมใช้เครื่อง
ไม้อย่างแต่ก่อน ทรงมีพระราชนิยมที่จะสดับพระ
ไตรปิฎก โปรดให้พระราชาคณะฐานานุกรมที่รับหน้าถวายพระธรรม-
เทศนาแปลเรื่องพระไตรปิฎกเป็นตอน ๆ แล้วนำมาแสดงถวาย จึงเกิด
พระไตรปิฎกฉบับแปลร้อยขึ้นในรัชกาลนี้ เป็นครั้งแรกที่แปลพระพุทธ-
วจนะออกเป็นภาษาไทยเรียงตามลำดับคัมภีร์ แต่ไม่จบเพราะสิ้นรัชกาล
ก่อน สำนวนแปลร้อยสมัยนี้ยังตกทอดมาถึงปัจจุบัน เช่น คัมภีร์วิสุทธิ-
มัคค์แปลร้อย มงคลทีปนีแปลร้อย สารัตถสงเคราะห์แปลร้อย เป็นต้น
วิธีนี้ทำให้พระสงฆ์ต้องเอาใจใส่ในการค้นคว้าศึกษา
การศึกษาของพระสงฆ์ในรัชกาลที่ ๓ รุ่งเรืองกว่าทุกยุคทุกสมัย
เพราะมีนักปราชญ์มาก รัชกาลที่ ๓ เสด็จลงฟังพระสอบไล่บาลีทุกคราว
ไม่เคยขาด นอกจากทรงพระประชวร หรือติดพระราชกิจสำคัญอื่น ๆ
ผู้เป็นกำลังในการสอบไล่คือ เจ้าฟ้ามงกุฎ และกรมหมื่นปรมานุชิต
รัชกาลที่ ๓ทรงหล่อพุทธปฏิมาทรงเครื่องยืน ๒ องค์ สูงกว่าคนธรรมดา หุ้มทองคำองค์
หนึ่งหนัก ๕๐ ชั่งเศษ ประดับด้วยแก้วนวรัตน์ ประดิษฐานไว้ในพระ
อุโบสถวัดพระแก้ว ถวายพระนามองค์หนึ่งว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
องค์หนึ่งว่า พระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย (รัชกาลที่ ๔ มาแก้เป็นหล้านภาลัย)
แล้วมีพระราชโองการประกาศให้ขุนนางราษฎรทั้งหลาย ห้ามเรียกรัชกาล
พระอัยกาว่าแผ่นดินต้น ห้ามเรียกพระชนกว่าแผ่นดินกลาง เพราะมา
ถึงพระองค์ก็กลายเป็นแผ่นดินปลาย ไม่เป็นมงคล แต่ให้เรียกตามพระ-
นามพระพุทธรูป ๒ พระองค์ที่ทรงสร้างอุทิศให้พระอัยกาและพระชนก
รัชกาลที่ ๔
เกี่ยวกับงานปกครอง พระจอมเกล้าทรงรู้สุขทุกข์ของราษฎรมา
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงมีพระราชโองการหลายฉบับหลายเรื่องล้วนแต่ทรง
เองทั้งสิ้น เป็นเรื่องยกย่องของบรรดานักกฏหมายนักปกครองว่า พระ-
องค์เป็นกษัตริย์ประชาธิปไตย ทั้ง ๆ ที่ทรงอยู่ในฐานะสมบูรณาญาสิทธิ-
ราช ซึ่งพอจะย่อดังนี้ :
๑. ประกาศห้ามมิให้ข้าราชการไล่ต้อนราษฎรหรือทำร้าย
ราษฎร ยิงลูกตาราษฎร ในเวลาที่ราษฎรชมพระบารมี โปรดให้ราษฎรได้เข้าเฝ้าใกล้ชิดซึ่งแต่ก่อนหาเคยมีเป็นตัวอย่างไม่ โดยวิธีทำให้พระองค์ได้รับเรื่องราว
ร้องทุกข์จากราษฎรโดยตรงเกี่ยวกับข้าราชการกดขี่บ้าง เกี่ยวกับได้รับ
อยุติธรรมต่าง ๆ บ้าง ซึ่งก็โปรดให้จัดการทันที ข้าราชการจึงกลัวเกรง
ไม่กล้าข่มเหงราษฎร ครั้งหนึ่งมีพวกหม่อมราชวงศ์และลูกหลานเจ้า-
พระยาภูธรภัยไปฉุดผู้หญิงราษฎร ทรงได้รับเรื่องร้องทุกข์พวกคนจน
กระทรวงมหาดไทยก็แก้ตัวว่า ท่านเป็นลูกเจ้าลูกนายกรมมหาดไทยจะไปยุ่งเกี่ยวด้วยมิได้ ตรัสบริภาษพวกกรมมหาดไทยว่า ที่ทำเช่นนี้จะเข้าใจว่าเป็นการเคารพราชวงศ์หรือแท้จริงกลับเป็นผู้ทำลายราชวงศ์ต่างหาก เพราะถ้าเป็นราชวงศ์แล้วก็ทำเกะกะเกิน ๆ เลย ๆ เช่นนี้ได้ ราชวงศ์มิกลายเป็นอ้ายมหาโจร พระเจ้าแผ่นดินมิกลายเป็นโจรปกครองเมืองหรือ เพราะฉะนั้น จึงเห็นได้ว่าพวกกรมมหาดไทยเหล่านี้ไม่เคารพในหลวงเป็นแน่แล้ว จึงบังอาจเป็นใจกับคนผิดกดขี่ข่มเหงราษฎร และตรัสคาดโทษกำหนดให้กรมมหาดไทยไปเอาตัวพวกประพฤติผิดเหล่านั้นมาลงโทษตามโทษานุโทษ

ประกาศอีกฉบับหนึ่งโปรดให้เจ้าจอมพระสนมในพระองค์ผู้ใดไม่
มีความสมัครใจที่จะอยู่กับพระองค์แล้วหรือมีความสนิทเสน่หาในชายคน
ใดแล้วก็ให้มาสารภาพทูลลา จะโปรดให้ไปตามใจสมัครไม่กีดขวางกักขัง
เอาไว้หรอกประกาศนี้นับว่าประหลาดที่สุดที่กษัตริย์ในระบอบสมบูรณา
ญาสิทธิราชที่ยอมให้เสรีภาพแม้แต่หญิงอันเป็นบาทบริจาริกา และทรง
สั่งสอนให้เลือกผู้ชายที่จะไปเป็นผัวว่า อย่าไปหลงกลผู้ชายประเภทปอก
ลอก ปรากฏว่าเมื่อประกาศไปแล้วไม่มีใครกล้าทูลลา เพราะต่างกลัวว่า
พระองค์จะลองใจและกลัวความผิด เพราะโทษอย่างนี้ถึงประหารชีวิต
พระจอมเกล้าจึงต้องออกประกาศซ้ำใหม่ยืนยัน คราวนี้มีเจ้าจอมทูลลา
ออกไป ๗ คน

นับว่ารัชกาลที่ ๔ เป็นแบบอย่างกษัตริย์ประชาธิปไตยโดยแท้
ท่านทรงถือภาษิตว่า "พระราชาผู้เอาชนะบุคคลที่ไม่ควรชนะ ไม่ชื่อว่าพระราชา "
ฉะนั้นรัชกาลที่ ๔ จึงทรงให้เสรีภาพแก่มหาชนทุกอย่าง ทั้งเรื่องความคิด
ความเห็น และทางประเทศเป็นนักประชาธิปไตยโดยแท้จริง

รัชกาลที่ ๕
๑. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่เสด็จไปถึง
อินเดีย เสด็จไปบูชาสังเวชนียสถานมฤคทายวัน
๒. ทรงเป็นผู้วางแนวการปกครองคณะสงฆ์ โดยโปรดให้ตรา
พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
๓. ทรงนิมนต์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณ-
วโรรส เป็นประธานในการวางระเบียบการศึกษาของประชาชน โดยให้
บรรดาพระเถระในส่วนกลางและหัวเมือง ตั้งโรงเรียนในวัดสอนเด็ก
พระเป็นผู้สอนเอง รัฐบาลเป็นผู้เกื้อกูล
๔. มีผู้พบพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งมีคำจารึกเป็นอักษรเก่า
สมัยพระเจ้าอโศกเป็นหลักฐาน ณ ป่าเมืองกบิลพัสดุ์ มาร์ควิส เดอสัน
อุปราชอินเดียครั้งนั้นได้กราบทูลถวายพระบรมธาตุนี้ จึงโปรดให้พระยา
สุขุมนัยประดิษฐ์ (พระมหาปั้น) ต่อมาได้เป็นเจ้าพระยายมราช ออกไป
เข้ามาเมืองไทย กราบทูลขอแบ่งพระบรมธาตุ มีญี่ปุ่น พม่า ลังกา ทรง
พระกรุณาแบ่งให้ ส่วนที่เป็นของไทยโปรดให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ บน
ยอดเขาสุวรรณบรรพต วัดสระเกศ พระนคร
เมื่อเสวยราชย์ได้ ๒๕ ปี ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหา-
กุศล เห็นว่าพระไตรปิฎกที่เขียนไว้ในใบลานไม่มั่นคง ทั้งจำนวนก็มาก
ยากที่จะรักษา และเป็นตัวขอม ผู้ไม่รู้อ่านไม่เข้าใจ บัดนี้โลกเจริญ
แล้ว มีพระราชศรัทธาพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุดฝรั่ง โปรดให้
พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส และพระเถรานุเถระทั้ง
หลายช่วยกันชำระ ถ่ายตัวขอมเป็นตัวไทย จัดพิมพ์ขึ้นเป็น ๑๐๐๐ จบ
จบละ ๓๙ เล่ม พระราชทานไปให้แก่ต่างประเทศหลายร้อยจบ พระ-
ราชทานไว้ให้ศึกษาตามพระอารามหลวงทุกแห่ง ไทยจึงเป็นชาติแรกที่
พิมพ์พระไตรปิฎกบาลีขึ้นเป็นเล่มสมุด
ทรงพระราชทานทุนทรัพย์ให้ตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัย อุทิศ
ในสมเด็จพระราชบิดา มหามกุฏได้ออกนิตยสารชื่อ ธรรมจักษุรายเดือน
เป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาที่เก่าที่สุดของไทย มีอายุจนบัดนี้กว่า
๗๐ ปี แล้วทรงพระราชทานทุนทรัพย์ ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ณ วัดมหาธาตุ ทั้ง ๒ แห่งมีพระราชประสงค์ให้เป็นสถาบันการศึกษา
ของพระสงฆ์ขั้นสูงสุด
ทรงพระกรุณาพระราชทานสมณศักดิ์ บรรพชิตจีน ญวน ขึ้น
คณะสงฆ์ฝ่ายมหายานทั้ง ๒ คณะนี้ คณะญวนได้เข้ามาตั้งในพระนคร
ตั้งแต่ปลายกรุงธนบุรี ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพระญวนองค์หนึ่งชื่อองค์ฮึง
มีความรอบรู้พระธรรมวินัย เป็นที่คุ้นเคยของสมเด็จพระจอมเกล้า
องค์ฮึงมีสำนักอยู่ที่วัดตลาดน้อย คือวัดอุภัยราษฎร์บำรุงเดี๋ยวนี้ สมเด็จ
พระจอมเกล้าโปรดให้พระญวนทำพิธีกงเต๊กขึ้นเป็นครั้งแรกในงานพระศพ
เจ้านายองค์สำคัญ มาถึงรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระปรารภเหตุนี้ จึงโปรด
ให้ตั้งองค์ฮึงเป็นพระครูสมณานัมสมณาจารย์ ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ฝ่าย
ญวนและมีฐานานุกรมทรงสมณศักดิ์คือ พระครูบริหารอนัมพรต เป็น
เจ้าคณะรอง องค์สรภาณมธุรส ปลัดขวา องค์สุตบทบวร ปลัดซ้าย องค์
พจนสุนทร รองปลัดขวา องค์พจนกรโกศล รองปลัดซ้าย องค์อนันต์-
สรภัญญ์ เทียบสมุห์ วัดของญวนในกรุงเทพ ฯ มีวัดอุภัยราชบำรุง
กุศลสมากร วัดโลกานุเคราะห์ วัดชัยภูมิการาม วัดมงคลสมาคม ต่าง
จังหวัดมีวัดถาวรวราราม ที่กาญจนบุรี
ส่วนคณะสงฆ์จีน แรกมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ พระอาจารย์สุเห่ง
ชาวกวางตุ้ง มีกิตติคุณทางวิปัสสนาธุระ เป็นที่ยกย่องนับถือของชาวจีน-
ไทยในพระนคร ได้สร้างวัดมังกรกมลาวาส ทรงพระกรุณาตั้งให้เป็น
พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ถือพัดงาสานทั้งเล่ม เพราะเป็นตำ-
แหน่งวิปัสสนาธุระ มีฐานาเป็นหลวงจีนคณานักจีนพรต ปลัดขวา
หลวงจีนธรมรสจีนสาส์น ปลัดซ้าย

รัชกาลที่ ๖
เจ้าฟ้ากรมขุนเทพราชาวดีได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์
ไทยต่อมา รัชกาลนี้มีอายุ ๑๕ ปี เหตุการณ์ที่สำคัญคือ
๑. ด้านพระศาสนา ได้ทรงสร้างโรงเรียนวชิราวุธขึ้น โดยมี
พระราชประสงค์ว่า ให้เป็นวัดได้ด้วยถ้าต้องการ แต่ทรงเห็นว่าวัดใน
พระนครมีมาก จึงทรงโปรดให้เป็นโรงเรียนไปก่อน มุ่งอบรมหนักใน
ทางศีลธรรม
๒. ทรงตั้งกองเสือป่า ทรงเป็นผู้มีชาตินิยมและศาสนนิยม
อย่างแรง กล่าวคือ ทรงแสดงเทศนาเสือป่า ปลุกใจให้เสือป่าทั้งหลาย
รักชาติ รักพระพุทธศาสนา ทรงเปรียบเทียบความเด่นในทางพระพุทธ
ศาสนากับข้อบกพร่องในทางศาสนาคริสต์ รับสั่งว่า พระองค์เองเมื่ออยู่
ในยุโรปทำคะแนนวิชาคัมภีร์ไบเบิลได้ที่ ๑ แต่ก็ทรงเห็นข้อบกพร่อง
ของไบเบิลมากมาย นอกจากนี้ทรงมีพระนิพนธ์เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสรู้
อะไร ทรงประกาศพุทธศักราชให้ใช้เป็นศักราชทางราชการ (แต่ก่อน
ใช้จุลศักราชบ้าง รัตนโกสินทร์ศกบ้าง) ทรงตราบทกำหนดในกฏ
มณเฑียรบาลว่าด้วยพระเจ้าแผ่นดินว่าจะต้องเป็นพุทธมามกะ นอกจาก
นี้ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถา ฎีกา ในงานพระเมรุของพระ
ราชชนนี คือสมเด็จพระศรีพัชรินทราพระพันวษา ในที่สุดเมื่อจวน
ใกล้สวรรคตก็ยังทรงประกาศพระราชประสงค์ว่า ในงานพระบรมศพ
ของพระองค์ท่านเอง ขอให้พิมพ์หนังสือที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธ
ศาสนาให้มากที่สุด
ในด้านวัตถุก่อสร้าง ทรงขยายบริเวณพระปฐมเจดีย์ ทรง
สถาปนาพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ทรงให้
พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกหาแท่งหยกวิเศษในประเทศ
รัสเซียมาสลักเป็นพระแก้วมรกตองค์น้อยขึ้นอีกหนึ่งองค์

รัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ได้สนองเจตนารมณ์ของพระเชษฐา
ด้วยการชักชวนชาวสยามสละทุนทรัพย์พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐขึ้น
โดยอาศัยฉบับรัชกาลที่ ๔ เป็นแบบชำระ พระไตรปิฎกชุดนี้มี ๔๕ เล่ม
เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่ประเทศไทยได้ดีมาก และนานาประเทศได้ใช้
เป็นเครื่องอ้างอิง ทรงตั้งรางวัลประกวดบทความวิสาขบูชาประจำปี
แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ได้เสด็จนิราศไปประทับ
ที่ประเทศอังกฤษกระทั่งสวรรคต ราชสมบัติจึงตกแก่พระองค์เจ้า
อานันทมหิดล

รัชกาลที่ ๘
พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เป็นพระโอรสในกรมหลวงสงขลา-
นครรินทร์ ซึ่งเป็นพระโอรสประสูติแต่พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวษา พระอัครมเหษีของรัชกาลที่ ๕ และเป็นพระพี่นางของ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๕ ในรัชสมัยนี้รัฐบาล
ได้เปลี่ยนแปลงราชการปกครองคณะสงฆ์มาเป็นระบบสังฆมนตรี โดย
อนุโลมตามปกครองแบบประชาธิปไตย
การปกครองคณะสงฆ์ในประเทศไทยแต่โบราณ ถึงแม้มีสมเด็จ
พระสังฆราชเป็นประมุข ก็เป็นสักแต่ในนาม ทรงใช้อำนาจอยู่ในขอบ
เขตภายในวัด ถ้าเกิดมีปัญหานอกเหนือจากพระวินัยก็เป็นหน้าที่ของ
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บังคับบัญชาการ เช่นสมัยรัชกาลที่ ๑ ที่ ๒
และที่ ๓ เกิดมีอลัชชีขึ้นเป็นจำนวนมาก มีพระราชาคณะผู้ใหญ่ต้อง
อาบัติปาราชิกหลายรูป สมัยรัชกาลที่ ๑ มีพระญาณสมโพธิ วัดนาคกลาง
โจทก์ฟ้องว่ามีเมียและลูกหลายคน สมัยรัชกาลที่ ๒ มีสมเด็จพระพนรัต
วัดสระเกศ ถูกโจทก์ในอาบัติชอบหยอกเอินสานุศิษย์ในทางสัปดน
สมัยรัชกาลที่ ๓ พระเณรในพระนครธนบุรีถูกฟ้องปาราชิกร่วม ๔๐๐
ส่วนมากอยู่วัดมหาธาตุ วัดหงส์ วัดแจ้ง เมื่อเกิดเรื่องความเสื่อมเสีย
อย่างนี้ขึ้นทุกครั้ง ลำพังอำนาจพระสังฆราชย่อมไม่อาจจัดการกับปัญหา
เหล่านี้ให้แตกหักได้ พระมหากษัตริย์จึงต้องรับพระธุระ จัดการปราบ
ปรามเสี้ยนหนามพระศาสนาด้วยการออกกฏหมายสงฆ์ขึ้นเป็นครั้ง ๆ บาง
ครั้งก็รุนแรง เช่น กรณีสมเด็จพระพันรัตวัดสระเกศ รัชกาลที่ ๒ โปรด
ให้พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ากรมหมื่นรักษ์รณเรศ (พระองค์เจ้า
ไกรศร) และพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นกรรมการ
ชำระอธิกรณ์ ในครั้งนั้นมีพระพุฑฒาจารย์อีกรูปหนึ่งถูกโจทย์ด้วย และ
พระที่ต้องปาราชิกถูกสึก ทางบ้านเมืองก็ลงโทษหนักคือ สักข้อมือ สัก
หน้าผาก บางทีที่หน้าผากก็สักว่า ปาราชิก เป็นการประจานตัวเอง เอา
ตัวไปเป็นไพร่สมตะพุ่นหญ้าช้างทำงานหนัก ถึงกระนั้นก็ไม่มีเข็ดหลาบ
ดังปรากฏในสมัยรัชกาลที่ ๓ จำนวนพระอลัชชีทวีปริมาณมากกว่า
รัชกาลที่ ๑ และ ๒ จนรัชกาลที่ ๓ ทรงสลดพระหฤทัย ทรงนิมนต์
กรมหมื่นนุชิตชิโนรสและพระราชาคณะผู้ใหญ่ นิพนธ์โอวาทานุสรณ์
ครั้นมาถึงรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงตั้งมหาเถรสมาคมขึ้น การ
ปกครองคงอนุโลมแบบเก่าในส่วนภูมิภาค คือแบ่งเป็นเจ้าคณะใหญ่
หนหลางหนเหนือ และในส่วนกลางมีมหาเถรสมาคมเป็นแทน สมเด็จ
พระสังฆราชทรงบัญชาการปกครองของมหาเถรสมาคม ถึงอย่างนั้น
พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงดำรงอยู่ในฐานะผู้ช่วยสมเด็จพระสังฆราช
จนลุสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงถวายอำนาจทั้งหมดให้แก่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นครั้งแรกที่สมเด็จพระสังฆราชมีพระอำนาจ
สิทธิ์ขาดในการปกครอง โดยไม่มีอำนาจของบ้านเมืองเกี่ยวข้อง

รัชกาลที่ ๙
รัฐบาลสมัยประชาธิปไตย
ได้มีการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุบางเขน เป็นวัดแรก และให้
ส่งทูตคือหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ไปอินเดีย อัญเชิญพระบรมธาตุมาบรรจุ
ที่วัดนี้ รัฐบาลได้สร้างโรงพยาบาลสงฆ์ วัดไทยพุทธคยา วัดไทยใน
ลอนดอน และได้ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เป็นงานมหกรรมที่ใหญ่ที่สุด
ของพระพุทธศาสนาที่เคยมี มีการประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๒ ครั้งในประเทศไทย คือที่กรุงเทพและที่เชียงใหม่ ในด้านการศึกษา
โดยการริเริ่มของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ คณะสงฆ์ได้
แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยจบบริบูรณ์เป็นครั้งแรก และต่อมาทาง
การปกครองก็ได้เปลี่ยนไปปกครองแบบมหาเถรสมาคมตามเดิม มีการ
ยกระดับการศึกษาของคณะสงฆ์ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยคือ สภาการศึกษา
มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศ และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ ในด้านฝ่ายจีนนิกาย ก็มีความเจริญก้าวหน้ากว่าเก่าโดยการ
นำของเจ้าคณะใหญ่รูปปัจจุบัน ด้วยความชอบนี้จึงมีพระกรุณาจากใน
หลวงรัชกาลปัจจุบัน ให้ยกสมณศักดิ์เจ้าคณะใหญ่จีนขึ้นเป็นพระราชา-
คณะที่ พระคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรพุทธบริษัทจีนพิเนต และได้
เพิ่มสมณศักดิ์ตำแหน่งปลัดผู้ช่วยปลัดคือ และรองปลัดคือ หลวงจีน
ธรรมนาท จีนประพันธ์ รองปลัดขวา หลวงจีนธรรมนันทประพันธ์
รองปลัดซ้าย หลวงจีนธรรมรัตน์ผู้ช่วยปลัดขวา หลวงจีนประจิต
ผู้ช่วยปลัดซ้าย วัดจีนที่ใหญ่ที่สุดที่เอเซียอาคเณย์ คือ
วัดโพธิ์แมนคุณาราม ซอยสาธุประดิษฐ์ พระนคร

บรรณานุกรมสำหรับท่านที่อ่านบทความแล้วเกิดมหาปัญญาสนใจ
ให้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถค้นคว้าได้จากรายชื่อหนังสือดังนี้
๑.พงศาวดารลาว,มหาสีลา วีรวงศ์,กระทรวงศึกษาธิการ
พระราชอาณาจักรลาว,พ.ศ.๒๕๐๐
๒.ความเป็นมาของ ไทย-ลาว,อุทัย เทพสิทธา,
สำนักพิมพ์สาส์นสวรรค์,พ.ศ.๒๕๐๙
๓.ราชอาณาจักรลาว,บุญช่วย ศรีสวัสดิ์,
สำนักพิมพ์ก้าวหน้า,พ.ศ.๒๕๐๓
๔.งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย,พันเอกหลวงวิจิตรวาทการ
กองทัพบก,พ.ศ.๒๕๑๒
๕.ประวัติศาสตร์สากล เล่ม ๔,หลวงวิจิตรวาทการ,
สำนักพิมพ์เพลินจิต,พ.ศ.๒๔๙๓
๖.เลือดไทย,นายจำรัส สรวิสูตร,พ.ศ.๒๔๙๑
๗.ชนชาติไทย,หมอด๊อด,โรงพิมพ์เดลิเมล์,พ.ศ. ๒๔๗๔

แรงบันดาลใจในการเขียนผลงานของข้าพเจ้าเกิดจากบรรพบุรุษต้นตระกูลของข้าพเจ้าไต้ซือเฮี่ยงจัง สมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน ข้าพเจ้ากชกร กุโศทรา(นามแฝง)ขออนุญาติเผยแพร่อัตะชีวประวัติย่อของท่านเพื่อแสดงกตัญญุตาคุณต่อท่าน ดังนี้

สมัยท่านพระกุมารชีพ ซึ่งเป็นชาวอินเดียแคว้นกาศมีระ ท่านผู้นี้นับ
ว่าเป็นตัวอย่างอันดียิ่งของนักแปลพระไตรปิฎกจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษา
จีน เพราะว่าท่านไม่ต้องอาศัยล่าม เนื่องจากท่านมีความรู้แตกฉานใน
วรรณคดีจีนมาดีแล้ว ผลงานแปลและรจนาของท่านผู้นี้คือ พระสูตรและ
ปกรณ์พิเศษจำนวนมาก รวมทั้งอรรถกถาที่สำคัญของฝ่ายมหายานทั้งหมด
ได้แปลโดยใช้สำนวนทางกวีอันไพเราะในภาษาจีน นอกจากท่านผู้นี้แล้ว
เรายังไม่พบนักแปลคัมภีร์รูปใดที่เชี่ยวชาญทั้งด้านสันสกฤต และภาษาจีน
ในตัวคนๆ เดียว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องเร้าใจให้ภิกษุจีน เกิดความมุ่งมั่น
อย่างแรงกล้า ที่จะจาริกไปศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศอินเดียเสียเอง
และภิกษุจีนรูปแรกที่ไปสู่อินเดียสำเร็จคือ ภิกษุฟาเหียน ซึ่งมีชีวิตใน
ศตวรรษที่ ๙ ก่อนหน้าท่านเฮี่ยงจัง ๒๐๐ ปี ฟาเหียนได้ไปอินเดียใน
สมัยราชวงศ์คุปตะรุ่งเรือง และได้กลับสู่มาตุภูมิพร้อมกับคัมภีร์จำนวน
ร้อยปกรณ์ แต่ท่านผุ้นี้ไม่ใช่นักอักษรศาสตร์ ผลงานที่ท่านแปลจึง
เป็นผลงานเล็กน้อย สมัยถัดจากนั้นได้มีภิกษุจีนอีกจำนวนมาก
เดินทางไปแดนพุทธภูมิ แต่ส่วนใหญ่ไปสิ้นชีวิตในท่ามกลางการเดินทาง
เพราะการคมนาคมระหว่างจีนกับอินเดียครั้งกระโน้นอันตรายมาก
จนถึงสมัยท่านเฮี่ยงจัง ในจำนวนนักธุดงค์จีนเหล่านี้ ท่านเฮี่ยงจังเป็นผู้มีชื่อเสียงที่สุด ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง มีพี่สาวคนหนึ่ง พี่ชายอุปสมบทอยู่ในวัดแจ้งโค้วยี่ตัวท่านพระเฮี่ยงจังเองได้บรรพชาเป็นสามเณรเป็นหางนาคหลวง
และได้เรียนพระธรรมวินัยแตกฉานจนเป็นนักเทศก์ที่ลือชื่อ เมื่ออุปสมบทแล้วท่านสลดใจ ในข้อทุ่มเถียงวิวาทของบรรดาคณาจีนในยุคนั้น เกี่ยวกับปัญหาทางพุทธปรัชญาต่างๆบางสำนักก็สอนว่า นิพพานเป็นภาวะ บางสำนักก็สอนว่า นิพพานเป็นอภาวะเป็นอาทิ ประกอบทั้งอุปกรณ์ในทางค้นคว้าศึกษา ยังมีไม่
สมบูรณ์ ท่านเฮี่ยงจังจึงผูกจิตมุ่งจะไปอินเดีย เพื่อแสวงหาความรู้มาตัด
ข้อกังขาเหล่านี้

ท่านพระเฮี่ยงจังได้จาริกไปพักอยู่ในมหาวิทยาลัยนาลันทา ๕ ปี
เป็นศิษย์พิเศษของท่านอธิการบดีศีลภัทร แห่งมหาวิทยาลัยนาลันทา ในระหว่างนั้นมีนักปราชญ์ในลัทธิโลกายตะ (วัตถุนิยม) มาท้าโต้วาทีกับคณะอาจารย์
แห่งนาลันทา ทางมหาวิทยาลัยจึงส่งท่านเฮี่ยงจังไปเป็นผู้โต้ ปรากฏว่าได้
รับชัยชนะ กลับใจนักปรัชญาผู้นั้นให้มาเป็นสาวกได้ เกียรติคุณของท่าน
จึงโด่งดังไปทั่วอินเดียทั้ง ๕ ภาค จนได้รับสมญาว่า "มหายานเทวคุรุ"

ต่อมาท่านเฮี่ยงจังได้เดินทางไปบูชาพุทธปูชนียสถานต่างๆ ทั่ว
อินเดีย ในระหว่างล่องเรือมาตามลำน้ำคงคา มีพวกโจรซึ่งนับถือทุรุคา-
เทวีมาปล้น โจรพวกนี้ได้จับท่านเป็นเชลยจะฆ่าบูชายัญเจ้าแม่ แต่ด้วย
บุคลิกลักษณะและอำนาจลี้ลับบางอย่าง ทำให้โจรพวกนี้ในที่สุดไม่กล้า
ฆ่าท่าน และเมื่อได้รับโอวาทจากท่านแล้วก็ทิ้งอาวุธกลับใจเป็นสาธุชน
หมด ในเวลานั้นพระเจ้าศีลาทิตย์กำลังเรืองพระเดชานุภาพอยู่ในอินเดีย
เมื่อทราบกิตติคุณของท่านแล้ว จึงส่งคณะทูตมานิมนต์ให้ไปยังเมือง
กันยากุพชะ ในขณะเดียวกันกษัตริย์แห่งแคว้นกามรูป คือพระเจ้าภาส-
กรวรมัน ก็มีความเลื่อมใสในตัวท่านเฮี่ยงจัง ส่งคณะทูตมานิมนต์ท่านที่
นาลันทาพร้อมกันเลยเป็นเหตุให้ท่านยากที่จะตัดสินใจ จะไปกับฝ่ายใด
และแล้วการขัดใจระหว่างกษัตริย์สองพระองค์นี้ก็เกิดขึ้น เพราะทั้งสอง
พระองค์ปรารถนาจะได้ตัวท่านเฮี่ยงจังก่อน พระเจ้าภาสกรรับสั่งว่า ถ้า
ท่านเฮี่ยงจังมายังนครของพระองค์ก่อน พระองค์จะสร้างวัดจำนวน ๑๐๐
วัดฉลอง และรับสั่งข่มขู่พระเจ้าศีลาทิตย์ทำนองว่าจะเอาศีรษะของ
ข้าพเจ้าไปก่อนที่จะได้ตัวท่านเฮี่ยงจังไป พระเจ้าศีลาทิตย์เพิ่งเสด็จกลับ
จากศึกทางภาคใต้ มีจตุรงค์โยธาพรักพร้อมอยู่ในขณะนั้น จึงตรัสสนอง
ด้วยความกริ้วกราดว่า ดีแล้ว ถ้ากระนั้นเราก็ใคร่จะทัศนาศีรษะกษัตริย์
แห่งกามรูป ผลสุดท้ายเมื่อพระเจ้าภาสกรเห็นพระเจ้าศีลาทิตย์ผู้มีกำลัง
เหนือกว่าจะเอาจริง พระองค์ก็ยอมลดทิฏฐิมานะ เสด็จมาเฝ้าพระเจ้า
ศีลาทิตย์เสียเอง และท่านเฮี่ยงจังก็ได้มาเฝ้าพระเจ้าศีลาทิตย์ในพลับ
พลาบนริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ต่อมาพระเจ้าศีลาทิตย์ได้ประกอบพิธีบำเพ็ญ
มหาทานบริจาคขึ้นที่ท่าน้ำเมืองประยาคะ (บริเวณเมืองอัลลาฮบัดใน
ปัจจุบันนี้) นิมนต์ท่านเฮี่ยงจังแสดงพระธรรมเทศนาตลอดพิธีงาน ท่าน
เฮี่ยงจังได้ประกาศท้าโต้วาที กับบรรดาพราหมณ์ อาชีวก นิครนถ์
ปริพาชก และพวกคณาจารย์ในนิกายพุทธศาสนาต่างๆ ๑๘ นิกาย
กำหนดเขตในเวลา ๑๕ วัน ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งกล้าเสนอตน
ออกมาโต้วาทีด้วย เมื่อท่านดำริจะกลับมาตุภูมิ พระเจ้าศีลาทิตย์ยินดีจะ
จัดเรือรบไปส่งทางทะเล แต่ท่านเฮี่ยงจังได้ปฏิเสธเพราะมีสัญญากับเจ้า
ครองนครเกาเชียงไว้ ท่านจึงเดินทางกลับทางบกเมื่อไปถึงเตอรกีสตาน
ได้ทราบข่าวว่า กษัตริย์เกาเชียงองค์ก่อนสิ้นพระชนม์เสียแล้ว ท่านจึง
หมดข้อผูกมัด รีบเดินทางกลับประเทศจีน

หลังจากท่านเฮี่ยงจังกลับจากอินเดียเหนือท่านได้นำคัมภีร์
กลับมาทำงานแปลจากสันสกฤตสู่ภาษาจีนเป็นจำนวนมาก
ทำให้วรรณคดีพุทธศาสนาของจีน ได้บรรลุถึงชั้นสมบูรณ์ในสมัย
ของท่านเฮี่ยงจังนี้ เพราะตัวของท่านเป็นผู้แตกฉานในภาษาสันสกฤต
จนถึงขนาดแต่งเป็นตำราได้ ดังนั้นบรรดาคัมภีร์ที่ท่านแปลออกมาจึงถูก
ต้องทั้งในด้านอรรถและพยัญชนะ เมื่อเร็วๆ นี้มีผู้พบต้นฉบับใบลาน
ภาษาสันสกฤตเรื่อง "สัทธรรมปุณฑิกสูตร" นักปราชญ์ทางภาษา
สันสกฤตของญี่ปุ่นคิดจะแปลเป็นภาษาจีนใหม่ แต่เมื่อสอบดูกับฉบับ
แปลของท่านเฮี่ยงจัง นักปราชญ์ญี่ปุ่นก็รู้สึกว่า ตนจะแปลให้ดีกว่านั้น
ไม่ได้แล้ว ปกรณ์ที่ท่านเฮี่ยงจังได้แปลออกมาที่สำคัญที่สุดคือได้แปล
อภิธรรมปิฎกของนิกายสรวาสติวาทหมด นอกจากนี้ก็ได้แปลมหาปรัช-
ญาปารมิตาสูตร ซึ่งเป็นผูกลานกว่า ๒๐๐ ผูก โยคาจารภูมิศาสตร์ซึ่งเป็น
หนังสือกว่าร้อยผูกขึ้นไปทั้งนั้น นอกจากนี้ท่านยังได้ถ่ายทอดความคิด
นิกายมหายานฝ่ายวิชญาณวาทสาขาของท่านธัมมปาละ แห่งมหาวิทยาลัย
นาลันทาในหนังสือชื่อ "วิชญานมาตราสิทธิศาสตร์" ท่านได้เป็นผู้ถ่าย
ทอดตรรกวิทยาในพุทธศาสนาของท่านทินนาค ในหนังสือชื่อ "เหตุ
วิทยาทวารตรรกศาสตร์" ชาวจีนจึงรู้จักตรรกวิทยาแบบอินเดียเป็นครั้งแรก

คุณธรรมความดีอันใดในบทความนี้ ข้าพเจ้ากชกร กุโศทรา(นามแฝง)ขออุทิศให้แก่ท่านเฮี่ยงจังผู้เป็นบรรพบุรุษต้นตระกูลของข้าพเจ้าและบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคนที่ผ่านมาของข้าพเจ้า

อ่านประวัติท่านพระเฮี่ยงจังแล้วในไทยแม้เป็นฝ่ายเถรวาทล้วน ๆ
และสงฆ์ชั้นปกครองในไทยจะเป็นเถรวาทในนิกายธรรมยุตนิกาย
(ไทยปัจจุบันนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน หลักๆ
มีอยู่สองนิกายใหญ่ๆคือ มหานิกาย กับ ธรรมยุตนิกาย คำว่า มหานิกาย
เป็นชื่อนิกายของพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน ไม่ได้หมายถึง พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน)แต่ก็มีข้อแตกต่างทางมติเกี่ยวกับปัญหาเรื่องนิพพานและจิต
ภายในวงการพระพุทธศาสนาของไทยซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาทล้วน ๆ คือ
มีความเห็นไม่สอดคล้องต้องกัน คือ นักธรรมะ
บางพวกเห็นว่านิพพานเป็นอนัตตา ซึ่งทั้งนี้อาศัยพระพุทธภาษิตข้อว่า
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตนเป็นข้ออ้าง บางพวก
เห็นว่าที่พระพุทธเจ้าสอนอนัตตา ก็เพื่อจะให้เรารู้จักอัตตานั่นเอง แต่
อัตตาที่นี้ไม่ใช่อัตตาขันธ์ห้า ขันธ์ห้าเป็นอนัตตา ส่วนธรรมของจริงคือ
พระนิพพานนั้นเป็นอัตตาตัวตนจริงของเรา มีพระพุทธภาษิตเป็นหลักฐาน
ว่า อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน ถ้าไม่มีตน
เสียแล้ว เหตุไรพระองค์จึงสอนให้เอาตนเป็นที่พึ่งเล่า บางพวกเห็นว่า
จิตนี้เป็นธรรมชาติเกิดเร็วดับเร็วไม่มีแก่นสาร อีกพวกหนึ่งเห็นว่าจิต
แท้นั้นเป็นธรรมชาติไม่เกิดดับ ที่เกิดดับเป็นอารมณ์ต่างหาก แต่ละ
ฝ่ายล้วนมีเหตุผลซึ่งอาจแสดงให้เห็นชัดด้วยกันทั้งนั้น และแต่ละฝ่ายก็
อ้างพระพุทธภาษิตเป็นหลัก ตัวอย่างนี้ล้วนเป็นมูลของการแตกแยก
นิกายในฝ่ายเถรวาท ซึ่งถ้าเป็นสมัยโบราณเจ้าของผู้ให้กำเนิดแต่ละฝ่าย
ก็คงจะตั้งเป็นนิกายขึ้นก็อาจจะเป็นได้ แต่ด้วยในไทยมีมหาเถระสมาคม
ซึ่งเป็นเถรวาทในนิกายธรรมยุต คุมอำนาจสงฆ์อยู่ จึงทำให้ฝ่ายเถรวาท
ในไทยและพระพุทธศาสนาเถรวาทในเมืองไทย ยังไม่มีการแตกแยกเป็นนิกายใหม่ที่เห็นอยู่ตอนนี้คือการแตกแยกทางความคิด การปฏิบัติ แต่ไม่กล้าตั้งนิกายใหม่ขึ้นเองถึงขนาดพระพุทธเจ้าสอนว่า "ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา" แต่นักธรรมะในปัจจุบันแก้เป็น"ทุกขัง อนิจจัง อัตตา" แก้จาก อนัตตา เป็น อัตตา แล้วสอนไปทั้งแบบนั้น ไม่ได้ตั้งนิกายใหม่แล้วบอกว่าอยู่ในมหาเถระสมาคม เป็นเถรวาทเหมือนกันถ้าเป็นนิกายใหม่ตอนนี้ในไทยก็จะมี พระพุทธศาสนาเถรวาทหรือหินยานนิกายอนตฺตานิพฺพานวาท,เถรวาทนิกายอตฺตานิพฺพานวาท, เถรวาท นิกายจิตฺตอนิจฺจวาท, เถรวาท นิกายจิตฺตอมตวาท พระพุทธศาสนาเถรวาท นิกายธรรมกาย ต้องมีขึ้นบ้างเป็นแน่

ถึงแม้ในพระไตรปิฏกพระบาลีจะมีคำสอนไว้ชัด
ในบาลีอาคตสถานบางแห่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ทั้งใน
อดีต ปัจจุบัน อนาคต พระพุทธเจ้าทรงแสดง สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน กับทรงแสดง
อริยสัจ ๔ เหมือนกันหมด ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์ใด ๆ ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงไปแล้ว ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต.... พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะใด ๆ จักได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ต่อกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต... พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ตรัสรู้ตามเป็นจริงอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า พระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต พระพุทธเจ้าแสดงเหมือนกันหมดคือสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ และธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตัวตน กับทรงแสดงอริยสัจ ๔ เหมือนกันหมด แต่นักธรรมะในไทยฝ่ายเถรวาท ยังแสดงธรรมค้านพระพุทธเจ้าแก้จาก อนัตตา เป็น อัตตา

เรื่องเช่นนี้แม้ในสมัยพุทธกาลก็มีเหมือนกัน ดังในสุตตันตปิฎก
ปรากฏมีภิกษุบางรูปมีความเห็นในพระธรรมตามความเข้าใจของตนผิด ๆ
หรือถูกแต่ก็ไปถือรั้นเอาข้างเดียว เช่น พระยมกะที่มีทิฐิและพระ
สาติเกวัฏฏบุตรผู้กล่าวว่า "เรารู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงแล้วอย่างนั้น โดยความว่าวิญญาณนี้นั่นเองมิใช่อื่นวิ่งไปแล่นไป"
จนพระศาสดาต้องแสดงมหาตัณหาสังขยสูตร แก้ความเข้าใจผิดของเธอ
บางองค์สดับเรื่องมรณัสสติกัมมัฏฐาน ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้เรามีสติ
ไม่หลงมัวเมาในชีวิต แต่กลับเข้าใจผิดไปว่าสอนให้เบื่อหน่ายต่อชีวิต ถึง
กับไปฆ่าตัวตาย และจ้างให้เขาประหารชีวิตตนเองก็มี ธรรมะ
บางข้อที่พระพุทธเจ้าแสดงโดยจำแนกบ้าง โดยรวบยอดบ้าง แต่ผู้สดับ
ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยปัญญา บางครั้งเกิดความไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน
ดังในพหุเวทนิยสูตรแห่งมัชฌิมนิกาย ท่านพระอุทายีกล่าวว่า พระศาสดา
ตรัสสอนเวทนาไว้ ๓ ประการ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขา-
เวทนา แต่ช่างไม้กล่าวค้านว่า พระผู้มีพระภาคไม่ได้ตรัสเวทนา ๓
ประการเลย พระองค์ตรัส ๒ เท่านั้น คือสุขเวทนา และทุกขเวทนา
ส่วนอุเบกขาเวทนานั้นสงเคราะห์ลงในสุขอันละเอียดประณีต ภายหลัง
ความทราบไปถึงพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เรื่องเวทนานั้นเราได้แสดงไว้โดย
ปริยายต่าง ๆ บางทีก็มีสอง สาม ห้า หก สิบแปด สามสิบหก จนถึง
ร้อยแปดประการ ผู้ที่ไม่สำเหนียก(ตระหนักด้วยปัญญา)ก็ต้องทะเลาะวิวาทกันอย่างนี้ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาของพระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายหินยานหรือเถรวาท และฝ่ายมหายานด้วยกันทั้งสิ้น

พระพุทธศาสนา มหายานในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอโยธยาศรีรามเทพนคร
เป็นต้นมาเสื่อมลงไปมาก มีแต่คนจีนเท่านั้นที่นับถือและคนไทยในภาคเหนือ
แม้นตัวคนไทยในปัจจุบันเองก็ยังมีตั้งข้อรังเกียจ ทั้งๆที่มหายานอินเดียเหนือแต่ก่อนก็กลืนกลายมาเป็นวัฒนธรรมของคนปัจจุบันให้มาพบเห็นอยู่ในวัดหินยานเถรวาท ในปัจจุบันพอมหายานเสื่อมลงก็กลายเป็นแต่คนจีนวัดจีน และวัดไทยเมืองเหนือบางวัดเท่านั้น ที่ยังเหลือซากของมหายานอยู่จนกลายเป็นของร่อยหลอ

ในประเทศไทยพ.ศ.ปัจจุบันไม่เหลือแล้ว ใครจะบวชพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ต้องไปบวชที่วัดจีน แล้วก็ต้องพูดอ่านเขียนจีนได้เพราะตำราคัมภีร์ในพระพุทธศาสนามหายาน ส่วนใหญ่เป็นภาษาจีนแม้นวัดจะอยู่ในประเทศไทยก็ตาม คือบวชแล้วต้องเรียนภาษาจีนก่อนเห็นแล้วสลดใจแทนบรรพบุรุษคนไทยนัก จนคนไทยบางคนคิดว่าพระพุทธศาสนามหายาน มาจากประเทศจีนไปซะแล้ว

จนในเร็วๆนี้ได้มีภิกษุจีนรูปหนึ่งชื่อว่าพระวิศวภัทร ประจำวัดเทพพุทธาราม จ.ชลบุรี ได้ดำเนินงานบุกเบิกเผยแพร่พระพุทธศาสนามหายานในประเทศไทย โดยเริ่มโครงการดำเนินงานแปลพระสูตรจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์ แต่ติดปัญหาทรัพยากร งานจึงเป็นไปแบบค่อยทำทีละเล็กทีละน้อย คือได้ไม่กี่บท
แต่ก็สำเร็จออกมาเผยแพร่ทีละเล็กทีละน้อย เป็นพระสูตรพื้นๆเข้าใจได้ไม่ยาก เหมาะแก่สามัญชนค่อยๆศึกษา ได้ข่าวว่า เมื่อเร็วๆนี้ทางวัดได้รวบรวมทุน พิมพ์ออกมาเป็นเล่มได้แล้ว ท่านที่สนใจใฝ่ธรรมะสามารถเดินทางไปรับฟรีเองได้ที่วัดหรือดูรายระเอียดการขอรับฟรีได้ที่เว็บwww.mahaparamita.com มีทั้งแบบ
ส่งซองไปรับฟรีสำหรับคนไม่สะดวกคนที่อยู่ไกลๆ และไปรับฟรีเองได้ที่วัด สำหรับคนที่อยู่ใกล้ๆ ที่ศาลาบำเพ็ญกุศล

ท่านสามารถช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ด้วยการช่วยกันร่วมบริจาคเศษเงินซักเล็กน้อยทางธนาคารหรือธนาณัติก็ได้ตามกำลังของท่าน ตามเว็บข้างต้นเพื่อให้งานต่างๆดำเนินไปได้ด้วยดีดูรายละเอียดที่เว็บ www.mahaparamita.com ซึ่งเพิ่งมาทำเป็นเว็บเมื่อไม่นานนี้ ถ้าท่านจะช่วยทำเว็บให้ดีขึ้นก็ได้หรือถ้าท่านมีความรู้จะอุทิศตนเพื่อช่วยงานแปลพระธรรมในประเทศไทย สามารถเข้ามาร่วมได้ปัญหาคือขาดทั้งบุคลากร ขาดทั้งโยมอุปัฏฐาก งานบางงานอุตสาห์แปลมาอย่างยากลำบาก
ด้วยความตั้งใจ ด้วยอุตสาหะ แปลเสร็จแล้วกว่าจะรวบรวมทุนของพระอันมีอยู่น้อยนิด ไปตีพิมพ์กว่าจะได้ตีพิมพ์ ติดต่อสำนักพิมพ์ หัวพิมพ์สี ปะหน้า ตรวจสอบรายละเอียด ลำบากมาก ต้องเก็บเล็กผสมน้อยเอา
แต่คนไทยกลับไม่ให้ความสนใจเลย ทั้งที่คัมภีร์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ชาวโลกตะวันตกยกย่องว่าเป็นอภิมหาปรัชญาและตรรกวิทยาของโลกด้วยซ้ำ แต่ในประเทศไทยกลับไม่มีใครสนใจตัวอย่างคัมภีร์ชั้นสูงของมหายานชื่อว่า คัมภีร์มาธยมิกการิกา หนังสือเล่มนี้เป็นเพชรน้ำเอกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนของโลก นักปราชญ์ตะวันตกที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ ต่างก็ยอมรับว่า
ท่านพระนาคารชุนสมัยหลังพุทธปรินิพพาน ผู้แต่งคัมภีร์มาธยมิกการิกาเป็นนักตรรกวิทยาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ไม่มีปราชญ์คนใดในโลกตะวันตกและในโลกตะวันออกจะเทียบเคียงได้ มหาลัยในตะวันตกอย่างแคมบริจ
หรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลกด้านตรรกวิทยา มหาปรัชญา ล้วนยกย่องคัมภีร์พระพุทธศาสนามหายานทั้งสิ้นแต่สถานการณ์ในประเทศไทยกลับแทบสูญพันธ์ อาจเป็นเพราะนิสัยคนไทยในยุคหลังสุโขทัย อู่ทองลงมาจนปัจจุบัน
ไม่ชอบ ตรรกวิทยา วิทยาศาสตร์ หลักของเหตุและผล แต่ชอบศิลปะศาสตร์ ความรื่นรมย์สุนทรีย์ของจิตมากกว่า

หนังสือที่แจกฟรีจากท่านพระวิศวภัทร ถ้าท่านเห็นรูปพระพุทธองค์เครื่องทรงแบบชาวจีนไม่ใช่อินเดียเหนืออย่าได้ประหลาดใจ เป็นธรรมเนียมธรรมดากล่าวคือ ถ้าพระพุทธศาสนาเจริญที่ชนชาติใดชนชาตินั้นย่อมสร้าง
พระพุทธรูปแต่งกายตามชนชาติตน เพื่อเป็นเกียรติแก่ชนชาติตน เช่น สมัยขอม พระพุทธรูปก็แต่งกายแบบขอม หน้าตาเหมือนคนขอม สมัยอยุธยาพระพุทธรูปก็แต่งกายทรงเครื่องแบบคนอยุธยา ถึงขนาดพระพุทธรูปทรงเครื่องจักรพรรดิ ทรงเครื่องกษัตริย์ตามแบบสมัยอยุธยาก็ยังมี เรื่องนั้นผู้สนใจใฝ่ธรรมไม่ต้องสนใจ ให้สนใจธรรมะในหนังสือก็เพียงพอแล้ว ยังเป็นธรรมของเดิมแท้ แต่มีภาษาจีนเจือปนนิดๆ เพราะตอนได้ไปจากอินเดียถูกแปลเป็นจีนหมด
ไม่มีเค้าโครงชื่ออินเดียเลย แม้แต่คำว่า นะโม อมิตาภะ พุทธายะ ชาวจีนก็แปลเป็น นำ มอ ออ นี ทอ ฮุก จึงไม่เหลือโครงของอินเดียไว้ คนส่วนใหญ่จึงหลงเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามหายาน มาจากประเทศจีนโดยไม่ต้องสงสัย
ถ้าท่านคิดจะศึกษาคัมภีร์ชั้นที่สูงขึ้นของฝ่ายมหายาน และตัวท่านนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือ หินยาน ให้สอบทานความรู้ตนเองก่อนดังนี้ ท่านสามารถอ่านหนังสือสติปัฏฐานสี่ ในฝ่ายเถรวาทเข้าใจหรือไม่
ท่านมีความเข้าใจในคำว่า นิรยบาล จนถึงพรหม ชั้นเนวะสัญญานาสัญญายตนะ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หรือ หินยานหรือไม่ ท่านเข้าใจในฌานสมาบัติ๙ ของเถรวาทหรือไม่ ถ้าปัญญาไม่แตกในความรู้พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทที่ท่านนับถือ คือเรียนมาในชั้นเรียนประถม มัธยม ปริญญาตรี รู้จักแค่ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ทำบุญตักบาตร สังฆทาน มรรคองค์แปด อิทธิบาทสี่ อะไรทำนองนี้
โปรดอย่าเพิ่งรีบร้อนศึกษาคัมภีร์ชั้นที่สูงของฝ่ายมหายาน เพราะคัมภีร์บางอย่างต้องอาศัยความรู้และการอบรมปัญญามาเป็นเวลานาน บางครั้งต้องอาศัยปัญญาในการมองเห็นนามธรรมนั้นแล้ว จึงจะรู้เป็น พูดเป็นและให้คำจำกัดความเป็นก็มี ให้ศึกษาจากหนังสือที่แจกฟรีจากท่านพระวิศวภัทรเป็นพระสูตรพื้นๆ ปูฐานความเข้าใจไปก่อน บางคนต้องใช้เวลา 5-10 ปีถึงจะแตกฉาน ฉะนั้นท่านไม่ต้องรีบร้อนหนังสือทุกๆเล่มจัดพิมพ์ขึ้น ด้วยกำลังตั้งใจของผู้จัดทำ ขอให้ท่านที่มีความคิดต้องการหนังสือเมื่อได้รับหนังสือแล้ว ได้โปรดตั้งใจศึกษาอย่างดีหวังว่าจะก่อเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตัวท่านเอง
สมเจตนารมณ์ของผู้จัดทำต่อไป

หมายเหตุ ผู้เขียน(กชกร กุโศทรา)ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับทางพระ และทางวัดเทพพุทธาราม เพียงแต่เมื่อเร็วๆนี้ ระหว่างผู้เขียนค้นหาข้อมูล พบว่ามีโครงการจัดทำพระสูตรมหายานแปลภาษาไทยขึ้นซึ่งผู้เขียนได้ส่งซองเปล่าไปขอรับหนังสือมาอ่าน เมื่อผู้เขียนได้อ่านแล้ว เห็นว่าเป็นประโยชน์
แก่ท่านผู้สนใจใฝ่ธรรมเป็นอย่างมาก จึงช่วยนำเอาข้อมูลมาประชาสัมพันธ์ ไว้เป็นแหล่งศึกษาของพวกท่านทั้งหลายอีกแหล่ง จักได้ไม่ต้องไปค้นคว้าเองให้ลำบาก เหมือนผู้เขียน

ถ้าท่านอ่านบทความแล้วรู้สึกประทับใจมีคุณค่าประดับความรู้ของท่านมาก
ช่วยกันหารูปแผนที่ประเทศอินเดียตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า
จนถึงปัจจุบันเอามาประกอบการศึกษา ส่งมาเป็นไฟล์ทางเมล์ก็ดี
หรือถ้ามีโปสเตอร์ขายเห็นที่ไหนช่วยกันซื้อมาส่งให้ก็ดี หนังสือศึกษาอินเดียก็ดีอยากได้แบบจังหวัดไหนเหนือ ใต้ ออก ตก มีแคว้นไหนบ้าง จังหวัดอะไรบ้าง
ไม่ได้ต้องการของเก่าแก่หรือของมีค่าอะไรมาก เอามาแค่ไว้ใช้ศึกษาเท่านั้น
โปรดอย่าส่งของเก่าแก่มีค่ามีราคามา และ ขอรับบริจาคอุปกรณ์อะไหล่คอมพิวเตอร์มือสองและคอมพิวเตอร์โน๊คบุคที่ท่านไม่ค่อยได้ใช้แล้วได้แก่ sd-ram,คอมพิวเตอร์โน๊ตบุค,DVD-writer,แผ่น CD/DVD-Rซักแพ็คนึง อย่างละ 1เท่านั้น เอาไว้ใช้ในงานศึกษาค้นคว้า
ติดต่อทาง email::perish_won@hotmail.com
หรือ PM หรือ

กรุณาส่ง:

คุณกชกร กุโศทรา
71/7 ถ.ปะชาสัน ม.4
ต.คองแห อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา
90110

และถ้าท่านใดมีฟอนต์อักษรจีน ฟอนต์ภาษาอินเดีย ฟอนต์อักษรสันสกฤต
ฟอนต์อักษรเทวนาครี ฟอนต์อักษรบาลี (มคธ) ฟอนต์ภาษาไทยแบบ
งดงาม สำหรับใช้ในไมโครซอฟต์เวิร์ดและเขียนหนังสือพอจะโหลดให้ได้
ในอินเตอร์เน็ต พร้อมโปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์
เช่น แอนตี้ไวรัส เวิร์ด7 หากมีแนบมาด้วย จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
อินเตอร์เน็ตที่บ้านช้าเหลือเกินโหลดเองไม่ไหว ช่วยไรท์ใส่แผ่นซีดีส่งมาจัก
เป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ ตอนนี้ทางสงขลาทั้งน้ำท่วม ทั้งภัยความไม่สงบ
แต่ความเพียรเพื่อพระศาสนาเป็นกำลัง ปณิธานที่ตั้งไว้ ให้ร่างเหลวก็
มิอาจทิ้งไปได้ ตายเป็นตาย

ตอนนี้กำลังหาหนังสือรายชื่อดังนี้ หากท่านพบพอมีเมตตาจิต
ช่วยเหลือ เป็น pdfใส่แผ่นซีดีรอม หรือเป็นหนังสือ ส่งมาก็ได้ตามที่อยู่ข้างต้น
๑ หนังสือ"ลักษณะบุญ" พระราชนิพนธ์ในพระเจ้าตาก ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน
๒ หนังสือ"ปฐมสมโพธิกถา"
๓ หนังสือ"พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร" พระนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน
๔ หนังสือ"โอวาทานุสรณ์" นิพนธ์ในกรมหมื่นนุชิตชิโนรสและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน
๕ หนังสือ"คู่มือแกะสลักและพุทธรูปบูชา"๒ เล่ม ในกรมศิลปากร ฉบับพิมพ์ในปัจจุบัน
๖ หนังสือ "พุทธานุพุทธประวัติ"ของสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส

หลักของการศึกษาเล่าเรียนให้เกิดความรู้เรียกว่า ปัญญา
หลักของการกระทำตนให้ดำเนินตามธรรมที่ตนรู้ เรียกว่า ปฏิบัติธรรม
และผลที่ได้รับจากการปฏิบัติเรียกว่า ปฏิเวธ ปัญญาที่ได้เห็นจริงจากปฏิบัติ

การช่วยเหลือกันเป็นเครือข่ายทางพระพุทธศาสนา เรามีกำลังเท่าไหน
ก็ช่วยเท่านั้นก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนมีเงินมากมาย แม้นเป็นการช่วย
เหลือกันเล็กๆน้อย ช่วยกันค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตแล้วส่งไฟล์มาก็ได้
ก็เป็นบุญมหาศาลเหมือนกัน ดีกว่าทำคนเดียว ร่วมด้วยช่วยกันเถิด หากผู้
ใช้นำไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนและยังความเป็นที่สุดแห่งใจให้
แก่มหาชนทั้งหลาย เหมือนการบริจาคสังฆทานที่ว่าเป็นบุญมหาศาลจริงๆ
แล้วก็เพื่อให้สงฆ์ได้นำของไปใช้พัฒนาตน องค์ความรู้และองค์ธรรมจะได้
ไม่สูญหาย

การช่วยชีวิตคนที่ว่าประเสริฐสูงส่งกว่าการสร้างเจดีย์เจ็ดชั้น ก็ยังไม่เท่า
เผยแพร่ธรรมะช่วยคนให้ได้พบกับธรรมะ และได้ดำเนินชีวิตต่อไปชั่วอายุ
ขัยได้อย่างถูกทาง ตลอดสายนับว่าประเสริฐสุดแล้วในโลก ถ้าช่วยคนเพียง
เพื่อให้รอดตายให้มีชีวิตอยู่อย่างหลงเที่ยวปล้นฆ่าต่อไปหรือ ลักขโมยสร้าง
ปัญหาเดือดร้อนต่างๆนาๆก็ไม่ได้เรียกว่าประเสริฐเท่าไรนักพุทธองค์ทรงตรัสคาถาว่า
"สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ" มีความหมายว่า การให้ธรรมเป็นทาน
เป็นการให้ที่ชนะการให้ทั้งปวง พึงสังสวรณ์ไว้เถิด ท่านทั้งหลายที่มีทรัพย์
มีฐานะมีเงินมีทองหมกหมุ่นกับการเสพกามคุณอารมณ์ โปรดอย่านิ่งดูเบา
ในกุศล มีความขยันหมั่นเพียรในทานกุศลให้มาก มีเพียงทางนี้เท่านั้น ที่จัก
นำพาท่านทั้งหลายได้พบสุขในภพต่อๆไปอย่างไม่รู้จบ และการหมั่นขวนขวาย
ในการฟังธรรมเรียนรู้ธรรมเท่านั้นที่ทำให้ท่านได้พบสุขอย่างละเอียดในชาตินี้ได้ และพบ
อมตะธรรมคือการไม่เกิดอีก=นิพพาน

ขออนุญาตินำหลักศิลาจารึกหบักที่ 8 พระเจ้าอโศกมหาราช แคว้นมคธ มาให้ท่านศึกษามีข้อความดังนี้
"สมเด็จพระเจ้าปิยทัสสีผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพตรัสดังนี้ ไม่มี
ทานใดที่มีผลเทียมเท่าการให้ธรรมะเป็นทาน และความเป็นญาติมิตร
กันโดยธรรม จากการกระทำเช่นนี้ย่อมมีการกระทำอื่นที่ชอบอีกตามมา
คือการปฏิบัติดีต่อทาสและคนใช้ การเชื่อฟังบิดามารดา การเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่เจือจานแก่เพื่อนฝูงญาติมิตรและสมณพราหมณ์ กับการ
ละเว้นฆ่าสัตว์มีชีวิตบูชายัญ การกระทำนี้เป็นสิ่งดียิ่ง เป็นกิจที่ควรทำ
ควรจะประกาศโดยบิดา บุตร หรือน้อง คนที่เป็นนายเขา และแม้มิตร
สหายก็ควรจะประกาศด้วย การให้ธรรมทานนี้ผู้ให้ย่อมบรรลุผลดีทั้ง
ในภพนี้และภพหน้าไม่มีสิ้นเลย"

.....................................................
สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผุ้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน
เบียดเบียนผู้อื่นด้วยอาชญา เมื่อละโลกแล้ว ย่อมไม่ได้สุข


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร