วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 02:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2009, 10:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ


การดูแลคนไข้ "เราต้องมีเมตตา กรุณา ต้องใส่ใจ" ว่าเขาเป็นอะไร ต้องการอะไร
เพื่อจะได้ดูแลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม"
ศรีศุภรักษ์บอก

ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว เป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี

เธอเป็นหนึ่งในผู้มาร่วมงานสานจิตเสวนา และฟัง ศ.นพ.ประเวศ วสี ราษฎรอาวุโส
พูดเรื่องการพัฒนาจิตวิญญาณในประเทศไทยและความสุขในการทำงาน
ให้กับนายแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้สนใจ
ณ ห้องประชุม ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค เขตบางนา กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ.2552

ศรีศุภรักษ์

ราษฎรอาวุโสเริ่มต้นด้วยชี้ชวนให้เข้าใจคำว่า spiritual
พร้อมๆกับการทำความเข้าใจเรื่องการพัฒนาจิตวิญญาณ และความสุขจากการทำงาน

คำว่า spiritual ในภาษาอังกฤษ ในภาษาไทยเรามีคำว่า จิตวิญญาณ
ใช้กันโดยทั่วไป คำนี้หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่มีคุณค่าสูงทางจิตใจ

" เรื่องอะไรที่มันแย่ๆ เขาก็จะบอกว่าไม่มีจิตวิญญาณเลย
อย่างบริษัทนี้ไม่มีจิตวิญญาณเลย เป็นต้น หมายถึง เป็นบริษัทที่ขาดคุณค่า
ขาดความลึกซึ้ง คำที่สังคมไทยนำมาใช้เรียกคือ สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
แต่มีชาวพุทธคนหนึ่งคัดค้านอย่างรุนแรงว่า ไม่ใช่คำทางพุทธศาสนา
ซึ่งจริงๆเราก็ไม่ได้ใช้ในทางศาสนา แต่เราใช้ในทางสุขภาพ" หมอประเวศกล่าว

และ อธิบายว่าจิต หมายถึง ความรู้สึกนึกคิด ชีวิตเรามีเบญจขันธ์ มีรูปอย่างเดียวคือกาย
ที่เหลืออีก 4 นั้นเป็นจิต พระพุทธเจ้าท่านเป็นนักยุทธศาสตร์
ท่านจับเอามาอธิบายให้คนรู้ เข้าใจ แต่บางคนพอพูดถึงจิตวิญญาณก็ไม่เข้าใจ
ไปคิดถึงวิญญาณแม่นาค ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น

ประเวศ

จิต วิญญาณคือการรู้ รู้จากสิ่งที่เข้ามากระทบ รู้ทางตาก็เรียกว่า จักขุวิญญาณ
ทางหูก็เรียกว่าโสตวิญญาณ ถ้าเป็นทางใจก็เรียกว่า มโนวิญญาณ เป็นต้น

การสัมผัสทางใจ เช่น เราไม่เห็น ไม่ได้ยินอะไรเลย อยู่ๆเรานึกขึ้นมา จิตฟุ้งขึ้นมา
เราก็โกรธขึ้นมา อย่างนี้เรียกว่า มโนวิญญาณ

จิต วิญญาณ บางครั้งเราหมายถึงจิตทั้งหมด ใช้กับสิ่งที่เหนือวัตถุ เราใช้คำว่าโลกุตร
แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์เราไม่ใช้กัน จนกระทั่งท่านพุทธทาสภิกขุนำมาใช้ในความหมายว่า
เหนือโลก หรือเหนือวัตถุขึ้นไป

ท่านพุทธทาสยังกล้าบอกว่า คนนั้นต้อง หนึ่งให้เข้าถึงหัวใจศาสนาของตน
ไม่ใช่แค่รู้ว่า กิน ขี้ .. นอน เรื่องพื้นๆ ทุกศาสนามีหัวใจ คนต้องเข้าให้ถึง
แต่คนมักไปหลงเรื่องที่ไม่ใช่หัวใจ แล้วไปทะเลาะกันตรงนั้น
สองมีความร่วมมือกัน และสามขอให้ช่วยกันถอนออกจากวัตถุนิยม

ความทุกข์ของมนุษย์เกิดจากความไม่รู้ คือ โมหะ เป็นความหลง
ถ้าปัญญาเกิด ก็ไม่หลง ก็จะไม่ทุกข์ "ถ้าเราคิดแค่ความเห็นแก่ตัวก็ถือว่าโง่ ปัญญา
คือ การลดความเห็นแก่ตัว และที่สุดแล้ว อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน
ถ้าเราลดความเห็นแก่ตัวลงได้มากเท่าใด ก็ถือว่ามีปัญญามากขึ้นเท่านั้น"

ศาสนาพุทธเน้นเรื่องเมตตากรุณาสูง ถ้าคนมีเมตตากรุณาก็ถือว่า มีปัญญา
หัวใจของความเป็นมนุษย์ก็คือ เมตตากรุณา การช่วยเหลือผู้อื่น
ทางพุทธนิกายมหาญาณ จะเน้นพระโพธิสัตว์ และเน้นเรื่องเมตตากรุณาไม่มีที่สิ้นสุด

การให้ความเมตตาทุกทิศทุกทาง ก็สามารถบรรลุธรรมได้
เป็นการบรรลุธรรมโดยการนึกถึงแต่คนอื่น ไม่นึกถึงต่อตัวเอง

มิติทางสุขภาวะทางวิญญาณ เป็นประสบการณ์เหมือนท่านพุทธทาสบอกว่าแกงอร่อย
ต้องชิมแกงด้วยตนเอง ว่าแท้จริงเป็นอย่างไร ไม่จำเป็นต้องไปเถียงกันเรื่องทฤษฎี
มันเป็นเรื่องที่เกิดมาแต่โบราณแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะเรียก มันว่าอะไร

อาจจะเรียกว่าเทพเจ้า หรือเรียกกันไปต่างๆนานา ตามวัฒนธรรมที่มี ความหลากหลาย

เรื่อง ภาษาเราไม่ควรยึดมั่น เราต้องคิดว่า เราจะทำอะไรให้มนุษย์ดี
ยึดมั่นก็กลายเป็นการทำร้ายกัน จุดสำคัญทำอย่างไรให้เราเป็นคนดี
เราต้องเข้าใจและเห็นใจคนอื่นเขา

เราควรดูจากประสบการณ์ตนเอง "อย่างทำบุญ เรามีความสุขใจ ใจเบาสบาย
ความสุขลึกๆทุกคนเคยเจอทั้งสิ้น ท่านพุทธทาสบอกว่า คนเราเคยเจอนิพพานแล้วทั้งสิ้น
นิพพานคือการดับลง ไม่ใช่เรื่องการอยู่นอกโลก แต่อยู่ในความ ไม่เห็นแก่ตัว
ความสุขลึกๆนั่นแหละคือ นิพพาน"

เรื่องของจิตวิญญาณ อาจารย์ชี้ชวนให้ดูการรักษาแบบแพทย์แผนไทย
การรักษาทางการแพทย์ ถ้าเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน โรคร้ายบางอย่างเน้นไปที่การผ่าตัด
ซึ่งเป็นเรื่องของวัตถุ แต่ถ้าเป็นแพทย์แผนไทย บางทีก็ให้ความเชื่อในการรักษาได้
บางรายไม่จำเป็นต้องให้ยาอะไรเลย แค่คำพูดจาก็สามารถให้คนไข้หายได้

เรื่องของน้ำใจ เรื่องของความเชื่อ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อย่าไปว่าคนไข้
"เขาเลือกเชื่อในสิ่งที่ดีสำหรับเขา เชื่อแล้วดีขึ้น เราก็ต้องเข้าใจ อย่าไปโกรธคนไข้
เมื่อหมอไปอยู่โรงพยาบาลบ้านนอก จะเห็นว่าบางทีคนไข้มาคนเดียว
แต่ญาติมาเต็มโรงพยาบาล บางทีหมอหงุดหงิด ต้องเข้าใจว่าเขามาเป็นเพื่อน
เป็นจิตวิทยาเชิงสังคม คนโบราณเขารู้เรื่องความเป็นเพื่อน การซัพพอร์ตกัน ทำให้ดีขึ้น
หมอไปมองด้านวัตถุล้วนๆ ทำให้หงุดหงิดเพราะไม่เข้าใจ"

ในต่างประเทศมีชุมชนหนึ่งไม่มีคนเป็นโรคหัวใจ ไม่มีคนเป็นโรคมะเร็ง
เมื่อหมอไปดูปรากฏว่า เหล้าก็กิน บุหรี่ก็สูบ แต่เขาไม่เป็นโรคร้าย
เพราะอยู่กันอย่างอบอุ่น นี่ก็ถือว่าเป็นสุขภาวะธรรม

อย่างการไหว้พระ สวดมนต์ ก็เป็นการรักษาแบบแผนโบราณเหมือนกัน
แม้กระทั่งการไปดูหมอ บางคนทะเลาะกันขึ้นศาล ไปหาหมอดู หมอดูบอกว่าแพ้
ให้ไปถวายสังฆทาน อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้คู่ต่อสู้
ใจมันดีขึ้น มันก็เป็นเรื่องดีขึ้นมาได้เหมือนกัน

เรื่องการพัฒนาจิตวิญญาณ "เราอย่าไปติดศัพท์ เห็นใจคนอื่น เห็นคุณค่าคนอื่น
จะเรียกว่าหัวใจของความเป็นมนุษย์ก็ได้"

และ อย่าขังความคิดไว้แคบๆว่า สุขภาพดีคือการไม่มีโรค
เพราะมันไม่จริง การมีโรคก็มีสุขภาพดีได้
ถ้ามีดุลยภาพ คือ ดุลยภาพทางกาย จิต และสังคม

มนุษย์ นั้นโหยหามิติทางจิตวิญญาณ แต่เราพัฒนาไปเฉพาะด้านวัตถุเท่านั้น
ส่วนที่จะพัฒนาด้านจิตวิญญาณจึงพร่องไป ถ้าครู หมอ มาสนใจเรื่องเจริญสติ
สนใจพัฒนาทางด้านนี้ สังคมก็จะเปลี่ยน โลกทั้งโลกไปไม่ได้ด้วยอารยธรรมปัจจุบัน
เพราะปัจจุบันมันเกิดวิกฤติไปเสียทุกอย่าง แก้อย่างไรก็ไม่ได้
นอกจากเราปฏิวัติจิตสำนึกใหม่ หรือปฏิวัติทางจิตวิญญาณ
เรื่องนี้ไอสไตน์ก็บอกว่า มนุษย์ต้องปฏิวัติความคิดใหม่ โลกถึงจะอยู่รอดได้


สำหรับหลักพื้นฐานในการพัฒนาจิตคนทำงาน โดยเฉพาะทางการแพทย์นั้น
ศรีศุภรักษ์ สวนแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้างานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี บอกว่า
"เราต้องมีเมตตากรุณา เราต้องใส่ใจว่าคนไข้เป็นอะไร ต้องการอะไร
เพื่อเราจะได้ดูแลได้อย่างเหมาะสม"

การบริการสาธารณสุขแม้จะเต็มไป ด้วยคนต่างจิตต่างใจ
"เราต้องเอาใจเขา มาใส่ใจเรา ลองคิดง่ายๆว่า ถ้าเราเป็นเขาเราจะต้องการอะไร
จะรู้สึกอย่างไร การคิดอย่างนี้ก็จะทำให้เราได้พัฒนาจิต
ได้ใช้หัวใจของความเป็นมนุษย์ดูแลซึ่งกันและกัน" ศรีศุภรักษ์บอก

แต่ กรณีที่ไม่สามารถตอบสนองคนไข้ได้ "อย่างเรื่องความเชื่อ
ความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งของชาวบ้าน กับมาตรฐานทางการแพทย์ไม่เหมือนกัน
เราต้องฟังเขาก่อน และเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องอธิบายข้อดี ข้อเสีย
แต่ละอย่าง ให้เขาเข้าใจ แล้วปรับให้เจอคนละครึ่งทาง เพื่อให้การดูแลรักษาดำเนินไปได้"

ส่วนการรักษาสุขภาพใจตนเอง ระหว่างการบริการประชาชน
"เราทำงานก็เหมือนเราได้ทำบุญ เป็นบุญที่ไม่ต้องไปทำงานวัดไหน
แค่ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ด้วยใจที่ดี เราเข้าใจดีว่าแต่ละคนที่มาหาเรา
เขาเดือดร้อนมา เราช่วยเขา แม้เพียงพูดให้เขารู้สึกดี ลดความวิตกกังวลได้
เราก็มีความสุขแล้ว" ศรีศุภรักษ์บอก

การพัฒนาจิตวิญญาณเพื่อสังคม ทุกคนทุกอาชีพคงไม่ต่างกัน

ยิ่งภาวะสังคม การเมือง และเศรษฐกิจอย่างทุกวันนี้ด้วยแล้ว
ยิ่งต้องน้อมนำธรรมะมาเข้าข่ม และทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง.



ที่มา...หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ออนไลน์วันที่ 15 กันยายน 2552

:b48: :b8: :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร