วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=19



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

" ดิฉันเคยไปเข้าค่ายฝึกสมาธิภาวนาที่สถานปฏิบัติธรรม
ครั้งละ 5 วัน 7 วันมาหลายรอบแล้ว
ตอนอยู่ในค่ายจิตใจก็สงบดี
ตอนกลับจากค่ายใหม่ๆ ก็ไม่ค่อยมีอารมณ์ปะทุมากนัก
แต่อยู่ไปๆ ก็กลับมีอารมณ์ร้อน หงุดหงิด งุ่นง่าน
โมโหผู้คนไปทั่วเหมือนเดิม
เมื่อมีความทุกข์ใจมากๆ ก็เข้าไปฝึกในค่ายปฏิบัติธรรมรอบใหม่
วนเวียนเช่นนี้อยู่หลายรอบแล้ว..."


ผู้บอกเล่าเรื่องนี้ เป็นพยาบาลหัวหน้างาน
ดูแลลูกน้องหลายคน เป็นคนเก่ง ขยันทำงาน
แต่ใจร้อน หงุดหงิดง่าย
ลูกน้องทำอะไรมักจะไม่ค่อยถูกใจ ถูกเธอดุว่าอยู่เรื่อย

เมื่อมีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยน
ผมแนะนำให้ลองฝึกสติในชีวิตประจำวัน
โดยเปรียบเปรยการฝึกสติ (ฝึกจิต/บริหารจิต)
เหมือนกับการฝึกกาย (ออกกำลังกาย/บริหารกาย)
ที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวัน
การไปฝึกหนักนานๆ ที ก็จะได้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว
เมื่อเว้นช่วงไป ความฟิต (ไม่ว่าทางกายหรือจิต) ก็จะจางหายไปเป็นธรรมดา

วิธีฝึกสติ แบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ
แบบแรกคือฝึกสติตามรูปแบบนิยม

เช่น ฝึกสมาธิ เดินจงกรม สวดมนต์ ฝึกโยคะ รำมวยจีน
(2 ชนิดหลังนี้ฝึกได้ทั้งกาย และจิตพร้อมกัน)
แบบนี้ต้องใช้เวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 30-60 นาที
หรือทั้งวันหรือหลายๆ วัน (เช่น เข้าค่ายปฏิบัติธรรม)
คนส่วนใหญ่มักจะอ้างว่าไม่มีเวลาทำเป็นประจำทุกวัน
หรือต้องพึ่งครูฝึก จึงนานๆ ทำที
ซึ่งไม่อาจทำให้สติแก่กล้า (ฟิต) ได้อย่างต่อเนื่อง

แบบที่สองคือฝึกสติแบบธรรมชาติ
(อยู่ในกิจวัตรประจำวัน ตั้งแต่ตื่นเช้าจนเข้านอน)

ไม่ว่านั่ง นอน ยืน เดิน อาบน้ำ แปรงฟัน กินข้าว ดื่มน้ำ
กวาดบ้าน ล้างจาน ซักผ้า รีดผ้า ขับรถ นั่งรอคน (หมอ) ฉีดยา เป็นต้น

วิธีนี้สามารถทำได้ทุกวันๆ ละหลายๆ ครั้ง
สามารถดำรงความแก่กล้า (ฟิต) ของสติได้อย่างต่อเนื่อง
จะทำแบบนี้เดี่ยวๆ หรือทำร่วมกับแบบแรกก็ได้
ไม่ว่าจะเลือกทำแบบไหน ข้อสำคัญจะต้องทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน


บังเอิญ ในวันนั้นได้พูดคุยกันระหว่างกินข้าว
ก็เลยสอนเธอให้ฝึกเคี้ยวอาหารอย่างมีสติ
อาหารแต่ละคำให้เคี้ยวเอื้อง ช้าๆ และนับดูว่าเคี้ยวกี่ครั้งจึงจะละเอียด
พบว่าถ้าเคี้ยวผักมักจะเคี้ยวถึง 40-60 ครั้ง
(ปกติเรามักจะเคี้ยวลวกๆ ไม่กี่ครั้งก็กลืนเสียแล้ว
ไม่เคยใจจดจ่ออยู่กับการเคี้ยว เพราะต้องเร่งรีบกินให้หมดไวๆ)
นอกจากนี้ก็ยังแนะวิธีอาบน้ำ กวาดบ้าน
ล้างจานอย่างมีสติให้เธอลองไปทำดู

เมื่อพบเธออีกครั้งใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา
เธอบอกว่าได้ลองฝึกดู พบว่ามีสติแก่กล้าขึ้น ใจเย็นลง
แม้แต่สามีก็สังเกตเห็นว่าเธอนิ่งและเย็นลงกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีสติในกิจวัตรประจำวัน (เช่น อาบน้ำ) มากขึ้นกว่าเดิม
แต่ก็ยังเผลอสติ ปล่อยให้ใจลอยจากปัจจุบันขณะอยู่บ่อยๆ
หากแต่สามารถดึงกลับมาได้เร็วขึ้น

ผมก็ได้แต่ให้กำลังใจเธอให้ยืนหยัด ฝึกต่อไปเรื่อยๆ
แล้วจะค่อยๆ เก่งขึ้น เช่นเดียวกับการฝึกว่ายน้ำ ขี่จักรยาน
ตอนท้ายของข้อเขียนนี้ ขอฝากกาพย์ 12 บท
ว่าด้วยวิธีเจริญสติในกิจวัตรประจำวันไว้อ่านกันเล่นๆ ดูครับ

รูปภาพ


ที่มา...คอลัมน์: บอกเล่าเก้าสิบ
หมวดหมู่: คุยสุขภาพ, การทำสมาธิ, อารมณ์
นักเขียนหมอชาวบ้าน: รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ


http://www.doctor.or.th/node/7871

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.ย. 2009, 14:32
โพสต์: 874

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จะนำไปใช้เจริญสติในชีวิตประจำวันเพื่อจะได้ไม่หลุด บ่อย ๆ ค่ะ คุณลูกโป่ง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร