วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 22:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2009, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


วิเคราะห์ ทาน ศีล ภาวนา (บุญกริยาวัตถุ)

ธรรมที่เป็นเหตุของธรรมทั้งปวง มี ๖ ประการ (โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ) แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ อกุศลมูลเหตุ ๓ และกุศลมูลเหตุ ๓ การเจริญธรรมเพื่อการบรรลุดมรรคผลนิพพานั้น เกิดจากธรรมส่วนที่เป็น กุศล ดังนั้น เพื่อเป็นการวางรากฐานทางธรรมให้กับอุบาสกอุบาสิกา พระพุทธองค์กำหนดแนวทางให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ทำทาน ถือศีล และปฏิบัติภาวนา โดยถือว่า “ภาวนา” เป็นบุญขั้นสูงสุด

Quote Tipitaka:
เหตุโคจฉกะ ธรรมสังคณีปกรณ์

ธรรมเป็นเหตุ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ กามาวจรเหตุ ๙ รูปาวจรเหตุ ๖ อรูปาวจรเหตุ ๖ โลกุตตรเหตุ ๖.

บรรดาเหตุเหล่านั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

อกุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
โลภะ โทสะ โมหะ.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากของกุศลธรรม หรือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในพวกกิริยาอัพยากตธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อัพยากตเหตุ ๓.

กามาวจรเหตุ ๙ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อกุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กามาวจรเหตุ ๙.

รูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า รูปาวจรเหตุ ๖.

อรูปาวจรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.

โลกุตตรเหตุ ๖ เป็นไฉน?
กุศลเหตุ ๓ อัพยากตเหตุ ๓ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรเหตุ ๖.

บรรดาโลกุตตรเหตุ ๖ นั้น กุศลเหตุ ๓ เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ.

อัพยากตเหตุ ๓ เป็นไฉน?
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ฝ่ายวิบากแห่งกุศลธรรม สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่าอัพยากตเหตุ ๓.


ทาน ศีล นั้น เป็นไปเพื่อการเจริญ อโลภะ อโมหะ ทั้งเป็นการครองตนไม่ให้ตกต่ำ ล่วงภัยเวรต่างๆ ที่จะมาเกิดขึ้นกับชีวิต ให้ผลทั้งชาตินี้และชาติหน้า ส่วนการเจริญธรรม อโมหะ นั้น ก็คือ การภาวนา

บุญกริยาวัตถุ ๓ จึงเป็นการเจริญธรรมที่เหตุ มีผลสูงสุดถึงมรรคผลนิพพาน

Quote Tipitaka:
อโมหะ เป็นไฉน?

ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ความรู้ในส่วนอดีต ความรู้ในส่วนอนาคต ความรู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคตความรู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ปัญญา กิริยาที่รู้ชัดความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไป กำหนดเฉพาะภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัดปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค นี้ชื่อว่า อโมหะ.


หากจะพิจารณาตามนี้ ภาวนา เพื่อ สร้างอโมหะ ต้องเป็น วิปัสสนาภาวนา ไม่น่าจะใช่ สมถะภาวนา อย่างที่ตอนนี้หลายๆ ท่าน หรือผุ้ปฏิบัติธรรมส่วนมากกำลังเข้าใจกัน ผลของสมถะนั้น คือ ความสงบ ไม่ใช่ปัญญาดับทุกข์ หากต้องการปัญญาดับทุกข์แล้วจึงต้องมาจากการวิปัสสนาภาวนา หรือ การพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ให้รู้เท่าทันสิ่งที่มากระทบในขณะปัจจุบัน การที่มีการเข้าใจว่า ภาวนา คือ สมถะภาวนา และพากันไปนั่งสมาธิ จึงเป็นแนวทางที่ไม่น่าจะถูกต้อง ผิดหลักเหตุปัจจัย

ลักษณะของปัญญาที่ใช้ดับทุกข์
Quote Tipitaka:
(ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค)

ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็น วิปัสสนาญาณอย่างไร ฯ

จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้วย่อมพิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่เพลิดเพลิน ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความเพลิดเพลินได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

จิตมีเวทนาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสัญญาเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีสังขารเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีวิญญาณเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีจักษุเป็นอารมณ์ ฯลฯ จิตมีชราและมรณะเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วย่อมแตกไป พระโยคาวจรพิจารณาอารมณ์นั้นแล้ว พิจารณาเห็นความแตกไปแห่งจิตนั้น ย่อมพิจารณาเห็นอย่างไร ชื่อว่าพิจารณาเห็น ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ฯ

ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาอารมณ์ แล้วพิจารณาเห็นความแตกไป เป็นวิปัสสนาญาณ ฯ


บุญกริยาวัตถุ กับ ไตรสิกขา

ทาน ที่พระพุทธองค์ให้อุบาสกอุบาสิกาทำนั้น มีหลายอย่าง โดยเฉพาะ การใส่บาตรเช้า ถือว่าเป็นทานขั้นสูง เป็นการต่ออายุพระพุทธศาสนาไปด้วย เพื่อเจริญ อโลภะธรรม แต่สำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมาเจริญธรรมแบบนี้ก็คงไม่ได้ ไม่เช่นนั้น ตอนเช้าพระสงฆ์คงต้องผลัดกันมาใส่บาตร :b12: ดังนั้น พระพุทธองค์จึงกำหนดให้พระสงฆ์เรียนและปฏิบัติธรรม เรียกว่า สิขาบท แบ่งเป็น ๓ ส่วน ที่เรียกว่า สิกขา ๓ หรือไตรสิกขา

พระพุทธองค์ตรัสว่า ชาวนาปลูกข้าวแต่บังคับให้ข้าวออกรวงไม่ได้ฉันใด ภิกษุก็บังคับให้มรรคผลเกิดขึ้นไม่ได้ฉันั้น ชาวนาทำนาด้วยเหตุ ๓ ประการ สำหรับภิษุ ก็คือ การเรียนและปฏิบัติตามสิขา ๓ นี่แหละ เมื่อขณะศึกษาปฏิบัติ ก็คือการเจริญธรรมเพื่อยังให้เกิดมรรคผลนิพพาน ไตรสิกขา จึงเป็นแนวทางการเจริญธรรมของพระภิกษุ ไม่ใช่สำหรับฆารวาส และที่สำคัญ ไตรสิกขา ไม่ใช่ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างที่เข้าใจกัน ไตรสิกขา คือ อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา

... ขอฝากให้ท่านอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อประโยชน์อันจะเกิดแก่เราทั้งหลาย :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 17:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2009, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

:b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร