วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ความเบื้องต้น

ขอความสุขความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย

เมื่อพรรษาปี 2495 คือปีกลายนี้ ผมได้รับเกียรติจากทางสมาคม ให้แสดงปาฐกถาเรื่องหนึ่งที่สมาคมนี้ คือเรื่องจิต ซึ่งหวังว่าท่านผู้ฟังหลายท่านในที่นี้คงจะเคยฟัง หรือเคยอ่านหนังสือเรื่องทีผมออกชื่อมานี้แล้ว
ความจริงการแสดงปาฐกถาเรื่องจิตนั้น ผมคิดว่าได้ทำธุระเสร็จสิ้นไปแล้ว คือแสดงจบเรื่องเรียบร้อยตามที่วางโครงไว้ ไม่ได้ขยักเอาเป้นภาคหนึ่งภาคสองแต่อย่างใด ครั้นอยู่มา ๆ กรรมการของสมาคมนี้ ได้ไปหาผมที่บ้าน อขให้มาแสดงปาฐกถาเรื่องจิตภาค 2 คือต่อไปจากที่แสดงไว้แล้ว อ้างว่ามีผู้สนใจกันมาก อยากฟังภาค 2 ต่อ ผมก็งง ไม่รู้ว่าทางสมาคมจะเล่นแบบไหนเสียแล้ว เรื่องเดิมไม่ได้ทำต่อไว้ แต่จะให้ต่อ มันจะสนิทกันหรือพูดกันไป พูดกันมา เมื่อจะให้ต่อจริง ๆ ก็ตกลง ต่อก็ต่อ

ถ้าจะเปรียบตามเรื่อง ผมเหมือนคนขับรถไฟ ท่านผู้ฟังเหมือนคนโดยสาร เมื่อได้นำท่านผู้โดยสารล่องลงมาจากเชียงใหม่ จนกระทั่งเข้าเทียบชานชาลาสถานีหัวลำโพงแล้ว ผมคิดว่าธุระของผมเสร็จเท่านั้น แต่ท่านผูโดยสารอยากหในทางต่อไปอีก เมื่อมันสุดทางแล้ว การนำต่อไปก็ต้องเป้นการนำเที่ยวในกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้น เส้นทางต่อไปนี้จึงเอาแน่ไม่ได้ อาจออกทางสามแยก เจรญกรุงก็ได้ อาจออกทางศาลาแดง-คลองเตยก็ได้ และไป ๆ อาจวนไปเจอสถานสามเสน บางซื่อ ที่ท่านผู้โดยสารพบมาแล้วเมื่อปีกลายก็เป็นได้ ตามผมไปเรื่อย ๆ ก็แล้วกัน
ปาฐกถาเรื่องนี้ ตั้งชื่อว่า "กลวิธีแก้ทุกข์" เรื่องจะดำเนินต่อไปอย่างไร เชิญท่านผู้ฟังติดตามต่อไป ผมขอรับรองในชั้นนี้แต่เพียงว่า การติดตามฟังปาฐกถาเรื่องนี้ จะทำให้ความทุกข์ของท่านลดน้อยลงทุกคราวที่มาฟัง พอเลิกออกจากที่ประชุม เดินกลับบ้านท่านจะรู้สึกตัวเบาชอบกล

ผู้รับ

ก่อนจะเข้าสู่ กลวิธีแก้ทุกข์ ใคร่จะขอทบทวนข้อความบางตอน ที่แสดงไว้ในเรื่องจิตสักเล็กน้อย พอเชื่อมความกัน ในเรื่องนั้นได้แสดงไว้ว่า ตัวเราคนหนึ่งๆ นี้ ประกอบขึ้นด้วยส่วนใหญ่สองส่วน คือ ส่วนร่างกาย กับส่วนจิตใจ พูดง่าย ๆ คือ กาย กับใจ สองอย่างนี้รวมกันจึงเป็นคน ร่างกายเป็นส่วนวัตถุ คือประกอบขึ้นด้วยวัตถุธาตุ เป้นธาตุสด เนื้อสด ๆ หนังสด ๆ มีประพิเศษอยู่คนละ 5 ประสาท คือ
1. จักขุประสาท ใช้ดูรูปร่างของสิ่งต่าง ๆ ได้
2. โสตประสาท ใช้ฟังเสียงสิ่งต่าง ๆ ได้
3.ฆานประสาท ใช้สูดดมสิ่งต่าง ๆ ได้
4ชิวหาประสาท ใช้ลิ้มรสต่าง ๆได้
5. กายประสาท ใช้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ได้

ประสาททั้ง 5นี้ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ติดอยู่กับร่างกาย
ทีนี้ส่วนจิตใจ เป็นธาตุกายสิทธิ์ชนิดกนึ่งสิงอยู่ในร่างกายของคนที่ยังไม่ตายทุกคน คนละดวง จิตนี้เป้ฯผู้คิด เป็นผู้นึก ประสานกับประสาททั้ง 5 โดยสองวิธี คือ
- รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับปรสาททั้งห้านั้น
- บังคับใช้ประสาททั้งห้า
ประสาททั้งห้านั้น แต่ละอย่างเป้ฯเพียงธาตุ แต่ละเอียดมาก จนสามารถใช้การได้ดังกล่าวแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยจิตเป็นผู้รู้ ถ้ายกจิตออกเสียประสาทเหล่านั้นก็หมดประสิทธิภาพทันที
ผมได้กล่าวเปรียบเทียบไว้หลายประเด็นว่า ร่างกายเหมือนเรือน จิตเหมือนคนอยู่ในเรือน ดังนี้บ้าง ร่างกายเหมือนรถ จิตเหมือนคนขับ ดังนี้บ้าง และอื่น ๆอีก ท่านที่ต้องการทบทวนรายละเอียด กรุราหยิบหนังสือปาฐกถาเรื่องจิตขึ้นอ่านอีกครั้ง เพระถ้าจะพูดให้กว้างขวางในที่นี้ ก็จะทำให้เวลาสำหรับ
"กลวิธีแก้ทุกข์" เหลือน้อยเกินไป

ยอดปรารถนา

เป็นที่ทราบแล้วว่า ตามธรรมดาของจิต ย่อมมีความคิดนึก มีความต้องการอยู่เสมอ การเคลื่อนไหวของจิตนั้น เราอาจกล่าวได้ว่า เป้นการเคลื่อนไหวไปตาม ความต้องการ หรือจะว่าการเคลื่อนไหวของจิตก็เป็น ความต้องการอยู่ในตัวก้ได้ เช่นต้องการจะนอน ต้องการจะลุกขึ้น ต้องการแปรงฟัน ต้องการจะล้างหน้า ต้องการจะรับประทานอาหาร จนกระทั่งต้องการจะฟังปาฐกถา
ว่าให้กระชั้น ในขณะนี้เอง จิตของท่านก็เคลื่อนไปตามความต้องการอยู่ทุกขณะ คือต้องการจะฟังดูซิว่า ต่อจากคำนี้ไป ปาฐกจะพูดคำอะไร และจิตของผมก็เหมือนกัน ย่อมเคลื่อนกระแสดความคิดคืบหน้าไปเสมอว่า พูดคำนี้แล้ว ต้องการจะพูดคำนั้น ๆ ต่อไป
บางขณะท่านอาจคิดว่า ตนเองไม่มีความต้องการอะไร เช่น ขณะกำลังนั่งทอดอารมณ์สบาย ๆ ข้าวก็อิ่มแล้ว น้ำก็อิ่มแล้ว มีใครถามว่า "ท่านต้องการอะไรบ้าง ? " เราก็ตอบไปทันทีว่า "เปล่า-ไม่ต้องการอะไรเลย" ที่ท่านกยิบเอาอาการชั้นนอกของจิตขึ้นมาตอบ แต่ถาตรวจดูความรู้สึกของจิตอย่างละเอียดแล้ว ในขณะที่ท่านไม่ต้องการอะไรนั่นแหละ จิตของท่านก็กำลังต้องการ คืออย่างน้อยที่สุด ก็กำลังต้องการอยู่เฉย ๆ หรือต้องการไม่ให้ใครเอาอะไรมาให้อีก
ลองสังเกตดูให้กระชั้น จะเห็นว่า แท้จริงความคิดของจิต ย่อมเป็นความต้องการอยู่ในตัว เพราะแน้นตราบใดที่จิตยังคิด จิตก็ยังมีความต้องการอยู่ตราบนั้น ความต้องการนั้น ถ้าพูดเป็นศัพท์แสง ก็เรียกว่า "ความปรารถนา"
ทีนี้ความต้องการ หรือ "ความปรารถนา" นั้น แม้คนเราจะต่างจิตต่างใจ ที่เรียกว่า นานาจิตตัง บางคนปรารถนาจะดูหนัง บางคนปรารถนาจะดูละคร ก้แล้วแต่ แต่เมื่อเพ่งผลแห่งความปรารถนาของทุกคนแล้ว ก็คือปรารถนา "ความสุข" เป็นดุจเดียวกัน
พระนักเทศนืชอบแสดงว่า ความสุขเป็นยอดปรารถนาของคนทั้งปวง ก็นับว่าเป็นการแสดงที่ค้านไม่ได้เลย ทำท่านจึงว่า "ความสุขเป็นยอดแห่งปรารถนา ? " ก็เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าความปรารถนาแล้ว มันไปสุดยอดที่ความสุข สุดตรงสุขนั่นเอง ไม่ว่าใครจะปรารถนาอะไร ปรารถนาจะนั่ง ก็ขอให้ได้นั่งเป้นสุข ปรารถนาจะนอน ก็ขอให้ได้นอนเป้นสุข ปรารถนาจะกิน ก็ขอให้ได้กินอย่างเป็นสุข คือมันไปสุดยอดที่สุข ชั้นที่สุดแม้จะเข้าตะรางก้ยังขอให้ได้อยู้เรือนขังที่สุขสบาย หรือแม้จะตาย ก็ขอให้ได้ตายอย่างเป็นสุข บางคนอาจคิดว่า บางคนปรารถนาทุกข์ใส่ตัวก็มี ช่นคนกำลังด่ากัน หรือต่างฝ่ายต่างทุบตีกันชุลมุน ดูก็เป็นการเจตนาทำในสิ่งที่นำทุกข์ แต่ความจริงทั้งสองฝ่ายอยากสุขด้วยกันทั้งนั้น คือในขณะที่เขาด่าอยู่นั้นเขาเห็นว่า การที่ตนได้ว่าคำเจ็บ ๆ แสบ ๆ กับอีกฝ่ายหนึ่งนั้น มันเป็นความสุข ทีเขาด่าก็คือด่าเพื่อให้ตัวเองสุขนั่นเอง ที่ตีเขา ชกต่อยเขา ก็อยากสุขทั้งนั้น คือเห็นว่าการที่ได้ต่อยเขาจัง ๆ นั่นแหละเป็นความสุขของตัว
โดยยัยนี้ เราจะเห้นได้ว่า ความปรารถนาของคนเรานั้น สุดยอดอยู่ที่ความสุขจริง ๆ แต่ที่ว่าสุข ๆ นี่หมายถึงความสุขในรสนิยมของผู้นั้นเอง คนขยันอาบเหงื่อต่างน้ำก็อยากสุข คนเกียจคร้านงานการไม่ทำ ก็อยากสุข ตำรวจวิ่งไล่ผู้ร้าย ก้อยากสุข เพราะสุขของตำรวจอยู่ที่การจับผู้ร้ายได้ ฝ่ายผู้ร้ายวิ่งหนีตำรวจอย่างไม่คิดชีวิตก็อยากสุข เพราะสุขของผู้ร้ายอยู่ที่หนีตำรวจได้พ้น แม้เกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้รบกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะเรื่องอยากสุขทั้งนั้น พวกเหนือก็คิดว่าสุขที่ตีพวกใต้ให้แตก พวกใต้ก็คิดว่าสุขอยู่ที่ตีพวกเหนือให้แตก ผลที่สุดก็ฟาดกันแหลก อย่างที่หนังสือพิ่มพ์ลงข่าวอยู่ทุกวัน ตกลงว่า ความสุขเป็นยอดปรารถนาของคนจริง ๆ

พื้นเพของชีวิต

ก่อนที่จะศึกษาต่อไปถึววิธีแก้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่หมายของเรื่อง โปรดพิจารณาถึงพื้นเพของชีวิต ของคนเราเสียก่อน พื้นเพของชีวิตจริง ๆ คือความทุกข์ ไม่ใช่ความสุข ความทุกข์เป็นพื้น เป็นของเดิม ส่วนความสุขเป็นของจร เป็นของมาใหม่ หาได้ทีหลัง พระพุทธองค์ก็ตรัสถึงพฤติการณ์ของมนุษย์ว่า "สังขารทุกข์"แปลตรงตัวว่า ท่องเที่ยวอยู่ในทุกข์ และตรัสถึงสังขารร่างกายอขงมนุษย์ว่า "ทุกขพันธ์" แปลว่ากอบงทุกข์ ตกลงว่า ชีวิตของเราทุกคนตกอยู่ในกองทุกข์แล้วโดยกำเนิด แต่ที่เราได้พบเห็นความสุข หัวเราะได้ในบางขณะนั้น เพราะความสามารถของเรา คือสามารถดับความทุกข์ได้เป็นคราว ๆ
เปรียบให้เห็น ที่ว่าชีวิตมีความทุกข์เป็นพื้นนั้น เหมือนกับโลกนี้มีความมืดเป็นพื้น คือสภาพของโลกแท้ ๆ ที่เรียกว่าพื้นเพเดิมของโลกจริง ๆ คือความมืดไม่ใช่ความสว่าง ๆ
ทำไมจึงรู้ว่า พื้นเพเดิมของโลกคือความมืด ก็เพราะว่าโลกนี้ ถ้ามันอยู่ลำพังของมันล้วน ๆ ไม่มีอย่างอื่นมาช่วยเลยมันก็จะมีแต่ความมืด ไม่ต้องมีอะไรทำให้มืด มันก็มืดเอง สิ่งท่มันเป็นได้เองอย่งนี้เรียกว่าพื้นเดิม สภาพเดิม, การที่โลกมืด ก็หมายความว่า มันตกอยู่พื้นเดิมของมันนั่นเอง ที่เราได้พบแสงสว่าง ก็เพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาทำลายความมืดลง เราก็ได้พบแสงสว่างปริมาณเท่ากับความมืดทีถูกทำลายลง เช่นขณะนี้ พระอาทิตย์ขึ้นมาทำลายความมืดเสีย เราจึงได้พบแสงสว่าง พอหมดแสงอาทิตย์ความมืดก็เล่นงานเราอีก เช่น เวลากลางคืนความมืดมันหุ้มตัวเราหมด ถ้าเราขีดไม่ขีดขึ้น เราก็พบแสงสว่าง เท่าที่แสงไฟจากก้านไม้ขีดจะทำลายความมืดลงได้ แต่ถ้าเราจุดเทียนไขขึ้น แสงสว่างจากเทียนก้ขับไล่ความมืดไปได้ไกลกว่าก้านไม้ขีด ยิ่งถ้าจุดตะเกียงเจ้าพายุขึ้นสักดวงหนึ่ง ความมืดก็ยิงถูกขับไล่ไปไกล และก็หมายความว่า เราได้พบแสงสว่างมากเท่านั้น ทีนี้ถ้าแสงไฟเราหรี่ลง ความมืดก้รัดตัวเราเข้ามาอีก
ที่ว่านี้ต้องการเปรียบเทียบให้เห็นการต่อสู้ระหว่างชีวิตกับความทุกข์ ความทุกข์เป็นพื้นเดิมของชีวิต ถ้าเราสามารถปราบความทุกข์ลงได้เท่าไร เราก็ได้พบความสุขเท่านั้น เช่นเยวกับการทำลายความมืด แล้วได้พบแสงสว่างดังกล่าวแล้ว
โดยนัยที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การทำลายความทุกข์ กับการสร้างความสุข เป็นงานอันเดียวกัน คือทำทีเดียวได้ผลสองอย่าง ได้ผลทำลายทุกข์ด้วย ได้ผลทางสร้างสุขด้วย เหมือนว่าเราก่อไฟขึ้นในยามกลางคืน ย่อมเป้นการทำลายความมืดด้วย สร้างแสงสว่างด้วย พร้อมกัน
พื้นเพของคนเรา คือทุกข์ แต่ทีนี้เราเกิดไม่ชอบทุกข์ คือไม่ชอบพื้นเพเดิมของตัวเอง แต่ไปชอบความสุข ซึ่งนาน ๆ จึงจะมาเยี่ยมเราสักครั้ง มันก็เลยทุกขืหนักเข้าไปอีก เปรียบเหมือนว่าคนบ้านเดียวเมืองเดียวกันเราไม่รัก เกิดไปรักคนต่างบ้านต่างเมือง ซึ่งนาน ๆ เขาจะมาหาเราสักครั้ง มันก็เลยทุกข์ ทุกขืที่รอคอยเขา
ปลาเกิดในน้ำ แล้วชอบอยู่ในน้ำ ก็สิ้นเรื่อง เพราะมันชอบพื้นเพเดิมของมัน นกเกิดบนยอดไม้ แล้วชอบอยู่บนยอดไม้ ก็สิ้นเรื่องเหมือนกัน เพราะมันชอบพื้นเพเดิมของมัน ทีนี้ถ้าปลาเกิดเกลียดน้ำ อยากได้อยู่บนยอดไม้ หรือนกเกิดเกลียดยอดไม้ อยากลงไปดำอยู่ในน้ำ ยุ่งละซิ! ถ้าเป็นอย่างนี้เมื่อไร ก็ทุกข์เมื่อนั้น เดี๋ยวนี้คนเราเกิดในกองทุกข์ แต่ไมชอบทุกข์ ไม่อยากอยู่กับทุกข์ เกิดจะไปอยู่กับสุข มันก็เลยทุกข์หนักเข้าไปอีก กลายเป้นความทุกข์ถึงสองครั้ง
-ทุกขที่เกลียดทุกขื และ ทุกข์ที่อยากได้สุข

วิธีแก้ทุกข์สองแบบ

ความรู้สึกเกลียดทุกข์ เป้นความรู้สึกตรงกันของคนทั่วไป คือเกลียดที่จะให้ตัวเองทุกข์ เมื่อเกลียดแล้วก็มีการทำลาย หรือการแก้ตามวิธีที่ตนเห็นว่า จะเป็นการเปลื้องทุกข์ได้ดีที่สุด วิธีแก้ทุกข์นั้นพอจะสรุปได้ว่า มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือแบบโลก กับแบบธรรม

แบบโลก - กลบ

วิธีก้ทุกข์เเบบโลก คือแบบชาวโลกนิยมใช้กันตามความรู้สึกข้างฝ่ายโลกล้วน ๆ ไม่คำนึงถึงฝ่ายศาสนาเลย โดยทั่วไปใช้วิธีกลบความทุกข์ ไม่ใช่ให้ทุกข์หมดสิ้นไป เพียงแต่กลบทุกข์ไว้ ความสุขที่ได้จากการกลบทุกข์ จึงเป้นความสุขชนิดเผิน ๆ เหมือนกับ ความสุขที่เกิดจากการเกา คือคล้าย ๆกับเราเป็นหิด, ขอโทษ เห็นจะเคยเป้นด้วยกันแทบทุกคน, หิดที่มันขึ้นตามง่ามมือน่ะ เวลามันเป้นแล้ว มันคัน บางทีคันมากจนนอนไม่หลับ ที่มันคันนี้มันเป้นความทุกข์ คือทุกข์เพราะคัน แล้วเราทำอย่างไร ? เราก็เกา ! พอเราเกามาก ๆ เข้าก็หายคัน เกิดเป็นความสุขดีกว่าไม่เกา ความสุขอย่างนี้เรียกว่า ความสุขจากการเกา เป็นความสุขชั่วคราว ประเดี่ยวมันก็คันอีก เราก็ทุกข์อีก ! แล้วเราก็เกาอีก หมายความว่า เราต้องคัน ๆเกา ๆ กันไม่รู้จักเสร็จสิ้น ครั้นเกาเข้ามาก ๆ เลือดก้ออก เลยกลายเป้ฯแผลส่งไปอีก
การหาความสุขทางโลก ส่วนมากใช้วิธีเกา เมื่อวานนี้เสียใจ เอาเหล้าเกาไว้ ! วันนี้กลุ้มใจกลุ้มใจ เอาหนังเกาไว้ ! แล้วพรุ่งนี้รำคาญจุกจิกหัวใจ ก็เอาไพ่เกาไว้ พวกเหล้ายากนังละคร โดยที่แท้ก็คือเครื่องเกาทุกข์ เหมือนเล็มือทีใช้เกาหิดไปทีหนึ่ง ๆ เท่านั้นเอง เล็บไม่ใช่ยาที่จะทำให้หิดหาย หนังละครก็ไม่ใช่ยาแก้ทุกข์ ไม่ใช่ทำให้ทุกข์หาย เป็นแต่เพียงเครื่องกลบทุกข์ คือสร้างอารมณ์อย่างหนึ่งขึ้น ให้หลงลืมความทุกข์ไปชั่วคราว เหมือนสร้างความเจ็บขึ้นให้ลืมความคันเท่านั้นเอง สมมติว่าคนที่มีหนี้ติดตัว รู้สึกเป้นทุกข์ใจ ที่ถูกเจ้าหนี้รบกวนทวงถาม เเกจึงไปดูหนัง ขณะทีกำลังดูหนังอยู่นั้น ลืมเรื่องหนี้สินหมดเลย แม้ทุกขือื่นก็ลืม เรื่องค้างค่าเช่าบ้าน เรื่องข้าวสารหมด เรื่องสตางค์ไม่มี ลืมหมด แต่พอหนังเลิกออกจากโรงหนัง พอพ้นประตูโรง ความทุกข์เหล่านั้นก้รุมทึ้งหน้าทึ้งหลังอีก ! เพราะความทุกข์เหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่มันรอคอยอยู่ทีหน้าประตูโรงหนังเท่านั้น
รวมความแล้ว การแก้ทุกขืแบบโลกยุติอยู่ที่การกลบทุกข์ ไม่ใช่การแก้ทุกข์ ถ้าจะเปรียบกับเรื่องหิด ก้อยู่เพียงแค่การเกาเท่านั้น

แบบธรรม - แก้

พรุพุทธองค์ทรงเห็นการณ์ไกล พระองค์ทราบว่าเพียงแต่เกาหิดไม่หายแน่ ๆ จึงทรงสอนชาวโลกว่า อย่าพอใจอยู่ในความสุข ซึ่งจะเป็นเพียงการกลบทุกข์เท่านั้น ให้ขวนขวายหาความสุขให้ดีกว่านั้น ถ้าจะเทียบกับคนเป็นหิดก็คล้ายกับว่า พระองค์มรงสอนว่า อย่าพอใจอยู่ในความสุขที่เกิดจากการเกานั้นเลย จงพยายามรักษาหิดให้หาย จะเป้นกินยาหรือทายา ก็แล้วแต่เถอะ ให้หิดมันหายจริง ๆ แล้วจงพอใจความสุขที่เกิดจากการไม่เป็นหิดโน้น คือสุขทีเกิดจากการไม่คัน ทีนี้ขอให้ท่านผู้ฟังลองนึกเทียบกันดูซิว่า ความสุขที่ชาวโลกนิยมกัน กับความสุขที่พระพุทธองค์ทรงชี้บอก อย่างไหนจะดีกว่ากัน ? อย่างไหนสุขสนิทกว่ากัน ? คือความสุขทีเกิดจากการเกา กับความสุขที่เกิดจากการไม่มีหิดเลย ไม่คัน และไม่ต้องเกา ท่านเห็นว่าอย่างไหนควนจะมีค่ากว่ากัน ? พิจารณาแล้ว โปรดตัดสินเอง
ข้าพเจ้าเชื่อว่า ถ้าให้ท่านผู้ฟังต่างคนต่างตอบ โดยเขียนคำตอบลงในกระดาษ ไม่ให้ดูกัน ไม่ให้ถามกัน แต่ผลจะปรากฏว่า ทุกท่านให้คำตอบตรงกัน คือเลือกข้างเอาข้างฝ่ายไม่เป็นหิดเลย ดีกว่าที่จะมาคันทีเกาที ไม่รู้จักเสร็จสิ้น , หรือจะมีท่านผู้ใดอยากจะเป็นหิดไว้เกาเล่นสนุก ๆบ้าง ?
ภ้าท่านรักที่จะมีความสุข ตามแบบพระพุทธเจ้าทรงชี้ให้ คือความสุขทีเกิดจากการไม่เป็นหิดเลย ไม่ต้องคันและไม่ต้องเกา ก็โปรดศึกษาต่อไป และโปรดอย่าเพิงงชิงท้อใจ ตีตัวตายก่อนไข้ ว่าข้าพเจ้าจะพาท่านแบกกลดเข้าป่าทิ้งลูกทิ้งเมียเสีย เพราะในการแสดงต่อไป ข้าพเจ้าคิดเค้าโครงไว้แต่เพียงว่า จะเสนอวิธีแก้ทุกขื เกี่ยวแก่ชีวิตประจำวันอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ เท่านั้น เป็นยาแก้หิดด้านหิดเปื่อยธรรมดา นี่เอง

2.พุทธศาสตร์

ก่อนที่จะศึกษาวิธีแก้ทุกขืต่อไป ขอเชิญแวะมาพิจารณาต้นตำรับวิธีแก้ทุกข์สักเล็กน้อยก่อน คือดูยีห้อกันก่อนจะได้รู้ว่ายาที่จะแจกให้ท่านคราวนี้ ตราอะไรยี่ห้ออะไร ทำให้คนไข้มั่นใจ

ต้นตำรับกลวิธีแก้ทุกข์

ต้นตำรับกลวิธีแก้ทุกข์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและน่าสนใจมากที่สุดในโลก คือพระพุทธศาสนา และเจ้าตำรับก้คือพระพุทธเจ้า
ก่อนอื่น ขอให้ท่านผู้ฟังพิจารณาถึงฐานะและงานค้นคว้า ตลอดจนประสิทธิผลของท่านผู้เป็นเจ้าตำรับสักน้อย แระเริ่มเดิมทีจริง ๆ ที่จะเกิดมีพระพุทธสาสนา เนื่องจากเจ้าชายหนุ่มพระองค์หนึ่ง พระนามว่า "สิทธัตถะ" เป็นชาวอริยกะ ซึ่งเป้นผู้ได้รับการศึกษาดีที่สุดในยุคนั้น ,คือยุคก่อน 2500 ปีที่ล่วงมาแล้ว,เป็นผู้มีความสุขมากที่สุด ในฐานะเป็นเจ้าฟ้าชายรัชทายาทแห่งราชบัลลังค์ศากยะ ท่านผู้นี้ได้ทอดพระเนตรเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก คือ คนเเก่ คนเจ็บป่วย และคนตาย ตลอดจนคนตกทุกข์และเดือดร้อนอื่น ๆอีก เมื่อเห้นคนตกทุกข์ ก็ทรงสงสาร อยากจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ และเมื่อทรงสอบถามใคร ๆดู ก็ทรงทราบว่า ชาวโลกก็ยังพากันจำนนต่อความทุกข์อยู่ ยังไม่มีใครค้นพบวิธีชนะทุกข์อย่างเด็ดขาดเลย
ความสงสารผู้ตกทุกข์ ทำให้เจ้าชายตั้งปัญหาขึ้นในพระทัยว่า ทำอย่างไรหนอจึงจะรู้วิธีแก้ทุกข์ ? พูดง่าย ๆ คือ พระองค์ครุ่นคิดอยู่ในพระทัยว่า ทำอย่างไรจะแก้ทุกข์ได้
หลังจากทรงค้นคว้า และทดลองอย่างหนักหน่วง จนถึงขั้น ยอมตาย แล้ว พระองค์ก็ทรงพบความสำเร็จที่เราพูดกันว่า ตรัสรู้ การตรัสรู้ของพระองค์นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องอื่น นอกจากคำตอบปัญหาเรื่องวิธีแก้ทุกข์ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ ที่ทำให้พระองค์ผละจากปราสาทราชวัง และตั้งหน้าขบคิดเป็นเวลานานถึงหกปีเต็มนั่นเอง

อริยสัจ 4

ข้อที่พระองคืตรัสรู้ เรียกว่า อริยสัจ มีสี่ข้อ ถือว่าเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป้ฯเครื่องยืนยันว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง ๆ ไม่ใช่ฝัน ไม่ใช่ผีสางเทวดามาเข้าทรง ที่จะรู้ได้ว่าพระองค์ตรัสรู้จริง ๆ ก็โดยสิ่งที่ทรงรู้นั้น เป็นคำตอบปัญหาเดิมที่ทรงสงสัยมาหกปีแล้ว คือเรื่องกลวิธีแก้ทุกขืนั่นเอง
ลองพิจารณาอริยสัจสี่ข้อนั้นดู เราจะพบข้อแปลกอยู่อย่างหนึ่ง คือ อริยสัจสี่ข้อนั้น ว่าด้วยเรื่องทุกข์ทั้งนั้น
- ข้อแรกว่าทุกข์มีจริง
- ข้อที่สองว่าเหตุให้เกิดทูกข์มีจริง
- ข้อทีสามว่าความดับทุกข์มีจริง
- ข้อที่สี่ว่าข้อปฏิบัติให้พ้นทุกข์(วิธีแก้ทุกข์) มีจริง
การค้นพบความจริงสี่อย่างนี้ เป้นผลงานค้นคว้าของพระพุทธองค์ โดยสมบูรณ์ คือค้นพบเองจริง ๆ ไม่มีใครเยงเอาได้เลยว่า "เจ้าชายสิทธัตถะไม่รู้ เพียงแต่จำเขามาว่า "
ซักฟองต่อไปอีกนิดว่า อะไรที่ทำให้เราปลงใจว่า วิธีแก้ทุกข์ของพระองค์ดีจริง ?

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แก้ไขล่าสุดโดย kokorado เมื่อ 23 ต.ค. 2009, 21:52, แก้ไขแล้ว 5 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ม.ค. 2009, 20:45
โพสต์: 1094

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2009, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ก.ย. 2009, 15:37
โพสต์: 112

ชื่อเล่น: ดอกพุทธ
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอสาธุ ด้วยคนค่ะ สนใจในเรื่องของจิตเหมือนกันค่ะ กำลังอยากปล่อยวาง...

.....................................................
หลอมจิตบรรจง สู่แสงแห่งธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร