วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 18:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
1.
สังขาร ธรรม เมื่อไร จึง จะ ปรากฎชัด โดย สูญเปล่า?

ตอบ
1.
สังขาร ธรรม เมิ่อไร จึง จะ ปรากฎชัด โดย สูญเปล่า
ก็โดย การ พิจารณา เช่น

รูป
ใน
1อดีต 2.ปัจจุบัน 3.อนาคต
4.ภายใน 5.ภายบอก
6.หยาบ 7.ละเอียด
8.ชั่ว 9.ประณีต
10.ใกล้ 11.ไกล (11 ปริเฉท)

นั้น

ที่สุดแล้ว
ล้วน
ฉิบหาย
สูญเปล่า

------------


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 09:16, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
2. อธิบายให้ชัดขึ้นได้ ไหม ว่า รูป สูญเปล่า อย่างไร?


ตอบ
2.
รูป ก็ตาม
สมบัติ ก็ ตาม
ยศ ก็ ตาม
ญาติ ก็ ตาม
ใน อดีต ชาติ
1 ชาติ ก็ ตาม
100 ชาติ ก็ ตาม
100000 ชาติ ก็ ตาม
จะมากมาย หรือ น้อย ก็ ตาม
จะ ประณีต หรือ หยาบ ก็ ตาม

เราไม่สามารถ เอาติดตัว มาได้เลย
ล้วน สูญเปล่า ฉิบหาย ใน ชาติ นั้นๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม
3. ถามว่า เพราะ อะไร จึง ฉิบหาย ใน ชาตินั้นๆ?

ตอบ
3. ตอบว่า เพราะ เรา ตายแล้ว ใน ชาตินั้นๆ
เมื่อตาย ก็ สูญเปล่า ฉิบหาย
จะมีสมบัติ ยศ ทรัพย์ ลูกเมีย ญาติ เท่าใด ล้วน สูญเปล่า

ไม่สามารถ เอา ติดมาได้ --เฉพาะ ประเด็น ของ รูป ในชาตินั้นเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ถาม ต่อไป ว่า
4. แล้วมีอะไร ที่เอา ติดมา ชาตินี้ ละ
ดับ ชาติ ที่ แล้ว ก็ เกิด มีไหม?

ตอบว่า
4. มี เพราะ ดับ แล้ว ก็ เกิด ต่อ เนื่องกัน ไป เกิด ดับ เกิด ดับ
สิ่งที่ ติด ตามมา คือ กรรมดี/กรรมชั่ว บุญ/บาป กุศลกรรม/อกุศลกรรม


อธิบายดังนี้

สมมติ
สุนัข ตำรวจ สละชีพ ปกป้อง เจ้านาย จน ตัว ตาย
เมื่อ ตายไป รูป ก็ สูญเปล่า
แต่ ทำไม กรมตำรวจ เขา ทำงานศพให้
หรือ แม้กระทั้่ง ย่าเหล่ ทำอนุสารีย์ ให้
ก็ เพราะความดี

ถามว่า เมื่ดสุนัขตัว นั้น เกิด ใหม่ จะมีโอกาส สูงมากกว่า ใช้ ไหม
ว่า จะต้อง ไปเกิด ใน ฐานะ ที่ดี ขึ้น
เกิด มา ก็ มี รูป ที่ สวย งาม ด้วย เป็นต้น

ตรงกันข้าม
สุนัข ลอตไวเลอร่ ตัว หนึ่ง ข่าว ว่า
กัด เด็กตาย
เจ้านาย
เขาเกิดไม่ เลี้ยงไว้ เอาไปฆ่า
รูปก็สูญ เหมือนกัน
ถามว่า
สุนัข ลอตไวเลอร่ ตัวนี้
เกิดใหม่ จะมีรูป สวยขึ้น ไหม

ตอบได้เลยว่ายาก ส์
เกิดใหม่ เกิด จะเกิด ใน ภูมิ ที่ ต่ำ ลง
รูปร่าง ก็ จะ น่าเกลียด

เพราะ อะไร
ก็ เพราะ กุศล/อกุศลกรรม ใน ให้ผล ส่งผล ณ ตอน เกิด

------
เพราะ ฉะนั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้พิจารณา
เห็น
ดับ
ดับ
ดับ
อยู่เนือง
ประดุจ
บุคคลอันเพลิงไหม้ผ้าโพกศรีษะ

อธิบายว่า
ให้
มนสิการกำนดในใจ
ให้เห็นชัด
อาการ
ที่
ดับ ที่ทำลาย ไปแห่งรูป (รูปธรรม นามธรรม)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ,
เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ
เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง.

จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ
สพฺพํ จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต.

(โพธิสตฺต) ขุ. ชา. อสีติ. ๒๘/๑๔๗.





.. :b45:

---------
เมื่อพิจารณา
ดั่งความ
ข้างต้น
เรื่อง
ดับ
สูปเปล่า
ฉิบหาย
แห่ง
รูป
แล้ว
------------------------
ให้ ฉลาด ใน อุปฐาน ๓ ประการ คือ
๑. โดย ขยะ คือ สิ้นไปๆ โดยปกติธรรมดา
๒. โดย วยะ คือ ฉิบหายไปด้วยภัยอันตราย ต่าง ๆ
๓. เมื่อสูญเปล่า ปราศจากแก่นสารนั้น
------------


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 04 ต.ค. 2009, 09:52, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 10:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อภังคานุปัสสนาญาณ (พิจารณา ที่ดับ ทำลาย เป็นเนืองๆ๗
ถึงซึ่งกล้าหาญมีกำลังแล้ว
อานิสงส์ ๘ ประการ
ซึ่งเป็นบริวารแห่งภังคญาณนั้น
ก็จะบังเกิดแก่พระโยคาพจร

อานิสงส์ ๘ ประการนั้น

1? “ภวปิฏฺิปหานํ” คือ จะละเสียได้ซึ่งสัสสตทิฏฐิประการ ๑

1. “ชีวิตนิกนฺติปริจฺจาโค” คือ จะสละละเสียได้ซึ่งความยินดีในชีวิต บ่มิได้รักชาติประการ ๑

2.. “สทา ยุตฺตปยุตฺตา” คือ จะมีเพียรบำเพ็ญพระกรรมฐานสิ้นกาลเป็นนิตย์ประการ ๑

3. “วิสุทฺธา ชีวิตา” คือ จะประพฤติเลี้ยงชีวิตบริสุทธิ์ ปราศจากโทษประการ ๑

4. “อุสฺสุปฺปหานํ” คือ จะสละละเสียซึ่งขวนขวายในกิริยาที่จะแสวงหาเครื่องอุปโภค แลปริโภค แลบริขารต่าง ๆ จะตั้งอยู่ในที่มักน้อยประการ ๑

5. “วิคตยตา จ” คือ มีความกลัวอันปราศจากบ่มิได้สดุ้งตกใจกล้ว
แก่ภัยอันตรายต่าง ๆ นั้นประการ ๑

6. “ขนฺติ” คือ จะมีสันดานอันอดกลั้น กอปรด้วยอธิวาสนขันติประการ ๑

7. “โสวจฺจปฏิลาโภ” คือ จะได้ซึ่งคุณคือสภาวะว่าง่ายสอนง่ายบ่มิได้กระด้างกระเดื่องประการ ๑

8. “อารติรติสหนฺติ” คือ จะอดกลั้นได้ซึ่งความกระสันแลความยินดีบ่มิได้ลุอำนาจแห่งความกระสันแลความยินดีนั้นประการ ๑

รวมเป็น ๘ ประการด้วยกัน
---------------------------

อานิสงส์ทั้ง ๘ ประการนี้ จะบังเกิดเป็นบริวารแห่งภังคญาณ จะสำเร็จแก่พระโยคาพจร อันมีสันดานประกอบด้วยภังคญาณอันกล้าหาญมีกำลังเหตุดังนั้น


โบราณาจารย์จึงกล่าวซึ่งบาทพระคาถาสาธกเนื้อความที่กล่าวแล้วนั้นว่า

“อิมานิ อฏฺ คุณมตฺตมานิ”

“ทิสฺวา ตหึ สมฺมสตึ ปุนปฺปุนํ”

“อาทิตฺตเจลสฺสิรสูปโม มุนิ”

“ภงฺคานุปสฺสี อมตสฺส ปตฺติยา”

อธิบายในบาทพระคาถาว่า บุคคลผู้เป็นนักปราชญ์ บำเพ็ญเพียรในห้องพระวิปัสสนากรรมฐาน
เมื่อพิจารณาเห็นคุณานิสงส์อันอุดมทั้ง ๘ ประการ
มีนัยดังพรรณนามาฉะนี้ พึงมีอุตสาหะพิจารณาสังขารธรรมจงเนือง ๆ อย่าได้ประมาท

จำเร็ญพระวิปัสสนาปัญญานั้น ได้กล้าหาญให้ย่างขึ้นถึง
ภูมิภังคญาณ
นั้นให้จงได้
พึงมนสิการกำหนดในใจ ให้เห็น
อาการที่ดับที่ทำลายไปแห่งรูปธรรมนามธรรมนั้น

ติดพันกันอยู่กับตนเป็นนิตย์นิรันดร์พิจารณาให้เห็นดับเห็นทำลายนั้นเนือง ๆ ในตน
เปรียบประดุจบุคคลอันเพลิงไหม้ผ้าโพกศีรษะ แลพิจารณาเห็นอาการที่ไหม้ที่ร้อนนั้นเนือง ๆ ในตน ติดพันอยู่กับตน ปัญญาอันพิจารณาเห็นดับเห็นทำลายดังนี้ อาจจะเป็นปัจจัยให้เห็นพระนิพพาน อาจให้ถึงพระนิพพานสำเร็จมโนรถความปรารถนา

“ภงคานุปสฺสนาญาณํ นิฏฺิตํ” สำแดงภังคานุปัสสนาญาณโดยพิสดาร ยุติการเท่านี้


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 03:25, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ต.ค. 2009, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


นักปราชญ์พึงสันนิษฐานเป็นใจความว่า
"ปัญญาที่จะละเสียซึ่งที่เกิดเฉพาะพิจารณาเอาแต่ที่ดับนั้นแล
ได้ชื่อว่า
ภวังคญาณ
สมดังบาทพระคาถาว่า

วตฺถุสงฺกมนา เจว สญฺญาย จ วิวฏฺฏนา

อาวฏฺฏนา พลญฺเจว ปฏิสงฺขา วิปสฺสนา

อารมฺมณานิ วฺเยน อุโภ เอเกว วตฺถุนา

นิโรเธ อธิมุตฺตตา อยลกฺขณวิปสฺสนา

อารมฺมณญฺจ ปฏิสงฺขา ภงฺคญฺจ อนุปสฺสติ

สุญฺญโต จ อุปฏฺานํ อธิปญฺญา วิปสฺสนา

กุสโล ตีสุ อนุปสฺสนาสุ จตสฺโส จ วิปสฺสนาสุ

ตโย อุปฏฺาเน กุสลตา นานาทิฏฺีสุ น กมฺปตีติ

อธิบายในบาทพระคาถาว่า
ปัญญาอันล่วงเสียซึ่งวัตถุอันตนพิจารณาในเดิม คือเดิมนั้นถ้าพิจารณารูปอยู่ก่อน ก็ละรูปนั้นกลับเสียมาพิจารณาซึ่งจิต จิตหมู่ใดพิจารณารูปแล้วแลดับ

พระโยคาพจรก็หยั่งปัญญาพิจารณาจิตหมู่นั้น โดยกิริยาที่ดับทำลาย ตกว่าเห็นดับเห็นทำลายแห่งรูปนั้นกลับเห็นดับเห็นทำลายแห่งจิตนั้นเล่า พิจารณารูปนั้นเห็นว่าดับเร็วทำลายเร็วแล้วกลับพิจารณาจิต ก็เห็นว่าจิตนั้นดับเร็วทำลายเร็วยิ่งกว่ารูปนั้นอีกเล่า กิริยาที่เห็นดับเห็นทำลายนั้นเนือง ๆ กันหาระหว่างบ่มิได้ นี้แลเป็นวิสัยแห่งภังคญาณ ๆ นั้น ละเสียซึ่งที่เกิด ตั้งอยู่ในกิริยาอันพิจารณาซึ่งที่ดับ

องอาจในที่จะพิจารณาอารมณ์เดิม แล้วแลละอารมณ์เดิมเสีย กลับพิจารณาอารมณ์หลังเป็นอันรวดเร็วยิ่งนักบ่มิได้เนิ่นช้า รู้อารมณ์ทั้งสองฝ่ายเห็นดับเห็นทำลาย ทั้งเบื้องปลายแลเบื้องต้น กำหนดกฏหมายอารมณ์ทั้งสองฝ่าย คืออารมณ์ที่เห็นกับอารมณ์ที่มิได้เห็นนั้น เหมือนกันเป็นอันเดียว เห็นแท้ว่าสังขารธรรมในปัจจุบันที่อยู่นี้ดับทำลายฉันใด
สังขารธรรมในอดีตแลอนาคตที่มิได้เห็นนั้นก็ดับทำลายดังนั้น ด้วยลักษณะวิปัสสนากล่าวคือ
ภังคญาณนี้

เมื่อเห็นดับเห็นทำลายเนือง ๆ กันฉะนี้ ก็ยังจิตให้ยินดีในพระนิพพานธรรม
กระทำจิตให้ยินดีให้อ่อนให้น้อมให้โอนให้เงื้อมไปสู่พระนิพพาน
อันเป็นปรมัตถธรรมล้ำเลิศประเสริฐยอดธรรมทั้งปวง

ภังคญาณนี้เมื่อกล้าหาญย่างขึ้นถึงภูมิอธิปัญญาวิปัสสนาแล้ว

ก็เห็นสังขาร ธรรมนั้นปรากฏชัดโดยสูญเปล่า

ตลอดทั้งเบื้องต้นแลเบื้องปลาย ทั้งฝ่ายอดีตแลอนาคตแลปัจจุบัน


เหตุดังนั้น พระโยคาพจรผู้ปฏิบัติในห้องภังคญาณ
พึงฉลาดใน
อนุปัสสนา ๓ ประการ คือ
อนิจจานุปัสสนา
ทุกขานุปัสสนา
แล
อัตตานุปัสสนา

ใช่แต่เท่านั้น พึงให้ฉลาดในวิปัสสนาทั้ง ๔ คือ

นิพพิทานุปัสสนา
วิราคานุปัสสนาปัสสนา
นิโรธานุปัสสนา
ปฏินิสสัคคานุปัสสนา

แล้วให้ฉลาดในอุปฐาน ๓ ประการ คือ ให้ฉลาดในที่จะพิจารณา
สังขารให้ปรากฏ

โดย ขยะ คือสิ้นไป ๆ โดยปกติธรรมดานั้นประการ ๑

โดย ขยะ คือฉิบหายประลัยไปด้วยภัยอันตรายต่าง ๆ นั้นประการ ๑

เมื่อสูญสิ้นไปเปล่าปราศจากแก่นสารนั้นประการ ๑


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 21 ต.ค. 2009, 03:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร