วันเวลาปัจจุบัน 23 พ.ค. 2025, 19:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

อริยสัจ 4

พระราชสุเมธาจารย์ (โรเบิร์ต สุเมโธ)


(พระราชสุเมธาจารย์ พระอาจารย์สุเมโธ เป็นลูกศิษย์คนแรกของ หลวงปู่ชา สุภทฺโท ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ หนังสือเล่มนี้เป็นคำบรรยายในการอบรมปฏิบัติธรรมที่ ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙)


ที่มา...
http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=26

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


โอวาทเปิดอบรมวิปัสสนากรรมฐาน

โดย พระราชสุเมธาจารย์

วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๗

คิดมากสงสัยมาก ความคิดเป็นสิ่งที่เราทำให้เป็นภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย แล้วก็ วัฒนธรรมด้วย เวลาเกิดมาเป็นเบบี้ เป็นเด็กทารก เราไม่มีชาติ ชั้นวรรณะ ไม่ มีเพศ ไม่มีอะไร แม่ก็บอกว่าเด็กคนนี้เป็นผู้ชาย เด็กคนนั้นไม่เคยกล่าว ว่า เกิดมาแล้วเราเป็นผู้ชายนะ เราก็บอกให้ เวลาเกิดขึ้น พ่อแม่ก็บอกว่า เป็นคนไทยนะ เราก็ไม่รู้เราเป็นอะไร เราไม่เคยคิดอย่างนี้ และวิญญาณก็ยังมี อยู่ มีรูป มีวิญญาณกำลังทำงานตามหน้าที่ในสัญชาตญาณที่จะทำให้ทารกมีปัญญา ที่จะรักษา รู้วิธีที่จะอยู่ได้ มีความสามารถเวลาหิวก็ร้องไห้บอกแม่ว่าหิว นะ ยังไม่มีตัวตน ยังไม่ถือว่าเป็นอะไร นี่ก็เป็นสัญชาตญาณ เป็นความสามารถ ของเรา สัตว์ทุกตัวก็มีความสามารถอย่างนี้ที่จะเลี้ยงชีวิตได้ เพื่อจะทนที่ จะอยู่ต่อไป สัตว์เดรัจฉาน แมว หมาอะไร แมวก็ไม่เคยคิดว่าเป็นแมว เราก็ บอกว่านี่ตัวนี้เป็นแมว ตัวนี้เป็นหมา ตัวนี้เป็นหมู นี่เป็นปลา นี่เป็น เรื่องภาษา


แต่ถ้าหากว่าเราพิจารณา ภาษานี่ก็มีประโยชน์ทาง โลก เราก็ต้องสนทนากัน เข้าใจ เรื่องสมมุติสัจจะ เรื่องสิ่งจำเป็นที่จะอยู่ กับสังขารในครอบครัวของเรา ในสังคมของเราได้ สนใจอย่างนี้ก็เป็นความดีด้วย


แต่ที่จะอาศัยภาษาความคิดนึกของเรา เพื่อจะพ้นทุกข์ เป็นไปไม่ได้ ต้อง ปล่อย ปล่อยความคิด ไม่ใช่ทำลายความคิด รู้โทษในการยึดมั่นถือมั่น นี่เป็น เรื่องสักกายทิฏฐิ สีลพตปรามาส วิจิกิจฉา นี่เป็นสังโยชน์ ๓ ขั้นแรกที่จะ เห็นทางพ้นทุกข์จริง ๆ ที่จะพิสูจน์สิ่งเหล่านี้เพื่อจะเห็นทางสายกลางอย่าง แท้จริง เราต้องปล่อยสิ่งที่เราปรุงแต่งไปตามวัฒนธรรม ตามแนวความคิดของเรา


ถ้าเราปล่อยโลก วางลงไป เราก็กลัวโลกจะดับไป คงจะไม่ค่อยดีนะ เป็นแบบว่าง เปล่า สูญ ไม่มีอะไร แต่เวลาที่เราเห็นอริยสัจที่ ๓ โดยปัญญา ความดับทุกข์ ก็เป็นอย่างนี้ เราก็จะรับรู้ในความสงบ ความสงัดทางจิตใจ รู้ด้วยปัญญา จริงๆ รู้อมตธรรม รู้ว่านี่ความเกิดและความตาย ไม่ใช่เป็นตัว ตน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ได้เป็นตัวไม่ได้เป็นตน


ถ้าเห็นอย่างนี้ก็ไม่ต้องกลัวตาย เพราะสิ่งที่ตายไป ไม่ได้เป็นของเราแล้ว เรา ก็จะปล่อยให้ตามกฎธรรมชาติ ถึงวาระแล้วก็ปล่อยวางใจให้ตายโดยไม่กลัว ถ้าเรา กลัว เพราะเรายังถือว่าร่างกายนี้เป็นตัวตน ยังไม่พิจารณาเป็นธรรมะการปล่อย วาง ความดับทุกข์เป็นอย่างนี้ เรื่องอริยสัจที่ ๓ ความดับทุกข์มี อยู่ นิโรธความดับทุกข์


แล้วก็ตอนที่ ๒ คือทำให้แจ้ง สังเกต ดูทำให้แจ้งก็ต้องพิจารณาจริงๆ ความดับทุกข์เป็นอย่างนี้ ร่างกายก็ลมหายใจ เข้าลมหายใจออก แล้วก็ยังมีเวทนาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตใจ เวทนาก็ยัง ทำหน้าที่ สิ่งเหล่านี้ก็ยังทำงานอยู่ แต่สิ่งเปลี่ยนแปลงคือ ไม่ยึดมั่นถือ มั่น แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่นมันจะปล่อยให้สังขารทำตามกฎแห่งกรรมของมัน เอง เราไม่ต้องควบคุมหรือสนใจมาก ให้เป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้ และเราไม่ได้ เป็นอย่างนั้น แต่เห็นความดับทุกข์มีอยู่ ทำให้แจ้ง ยืนยันที่จะรู้ จริงๆ ความสงสัยมันก็ไม่เกิดขึ้น ถ้ารู้แจ้งก็ไม่ต้องสงสัยอะไร แล้วก็ ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง


นี่เป็นทางพ้นทุกข์ เป็นมัชฌิมาปฏิปทา ถ้าเห็นมีความหยั่งรู้ เห็นอริยสัจที่ ๓ ก็จะเห็นทางพ้นทุกข์


ทางพ้นทุกข์เป็นอะไร ไม่ได้เป็นทางเหมือนที่เรามีอยู่ในโลก มีสติติดตัวกันอยู่เสม


เรามีความสามารถจะรักษาจิตใจและสังขารเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราอยู่กับธรรมะ เป็น ที่พึ่ง ไม่ต้องหลง ไม่ต้องตามสังขารเป็นตัวตนต่อไป ทำให้แจ้ง นี่ เป็นทางปฏิบัติที่เราทำตลอดชีวิตได้ ทำให้ทางสายกลางชัดเจน เห็นแจ้งรู้จริง ด้วยปัญญา


อาตมาอยู่อังกฤษ เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว เราย้ายไปอยู่ วัดอมราวดี ซึ่งอยู่เหนือลอนดอน เมืองหลวงของประเทศ อังกฤษ นั่งรถ สัก ๔๐ นาทีจะถึง จากลอนดอนไปถึงอมราวดี เป็นภูเขา เป็นที่สวยงามดี สมัย นั้นคนอังกฤษชาวยุโรปก็กลัวมาก ยังมีสงครามเรียกว่า cold war เรายังสงสัยจะ มีสงคราม โลกครั้งที่ ๓ เกิดขึ้น เรายังกลัวรัสเซีย โซเวียตมาก และสมัย นั้น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ก็ส่งระเบิดที่มีอำนาจมาก มีพลังมากเรียก ว่า Cruise Missile เพื่อจะส่งไปเก็บไว้ในประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมัน ด้วย ทำให้ประชาชนในลอนดอนกลัวมาก เราก็คิดว่าจะมีสงครามโลกที่ ๓ ต่อ ไป จะเป็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต แล้วอังกฤษจะเป็นสนามรบ คนเยอรมัน ก็กลัวเหมือนกันว่าประเทศเยอรมันจะเป็นสนามรบ เป็น Battlefield ในสงคราม โลกที่ ๓ เพราะในสมัยนั้นประธานาธิบดีอเมริกา ประธานาธิบดีเรแกน ก็เคย บอกว่าคงจะมีสงครามโลกที่ ๓ ประเทศที่จะรบกันคือประเทศอังกฤษ ทำให้คนอังกฤษ โกรธเรแกนมาก แล้วก็มีคนประท้วงมากๆ ในกรุงลอนดอน และอีกหลายเมืองในประเทศ อังกฤษ


คนที่มาหาเราที่อมราวดีสมัยนั้น ส่วนมากก็แสดงความ คิดเห็นเรื่องสถานการณ์อย่างนั้น เราเพิ่งย้ายไปอยู่อมราวดี แต่ยังไม่ ตั้งชื่อ ยังไม่เป็นอมราวดี จะตั้งชื่อเป็นอะไร


ยังไม่รู้ ให้เป็นชื่อที่มีประโยชน์ เราพิจารณาในสิ่งที่ทำให้ประชาชนสมัยนั้นเป็น ทุกข์มาก กลัวสงคราม กลัวตายมาก กลัวต่อไปสงครามมีนิวเคลียร์ที่จะทำลายล้าง ประเทศของเรา ประชาชนมีความทุกข์มากที่สุด และกลัวตายมาก เราก็ตั้งชื่อ อมราวดี เพราะเราพิจารณา อมราวดีหมายความว่าที่ไม่เกิดไม่ตายเป็นอมตะ เรา อยากให้คนอังกฤษพิจารณา ถ้าเราพูดถึงสงครามโลกที่ ๓ พูดถึงสังขาร พูดถึง อังกฤษ พูดถึงประเทศเยอรมัน พูดถึงโซเวียต พูดถึงสหรัฐอเมริกา นี่เป็น สังขารทั้งหมด เราก็จะหลงสังขารไปเรื่อย เป็นทุกข์ สับสนวุ่นวาย เราไม่รู้ จะทำอะไร เรารู้สึกว่าไม่มีความสามารถจะบังคับให้สร้างสันติภาพ ทุกวันนี้ เราก็ยังสงสัยอยู่ จะบังคับให้สหรัฐอเมริกาทำให้โลกนี้มีสันติภาพต่อไป เรา จะบังคับอะไร


ยังอยากจะต่อสู้ทำสงครามอีก สับสนอีกมากมาย ทุกวันนี้ประเทศอิรักก็วุ่นวายมาก


เรามาพิจารณาอมรา มาร มรา เป็นมัจจุราช เป็นความตาย ภาษาไทย มารเป็นมัจจุราช เป็นความตาย เป็นเรื่องสังขารทั้งนั้น เป็นเรื่องสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่อง โซเวียต เรื่องอังกฤษ เยอรมัน เรื่องผู้หญิง ผู้ชาย เรื่องการบ้านการ เมือง เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องความคิดของสัตว์มนุษย์ทุกคนทุกตัว และพิจารณา มี อมร (อะ-มะ-ระ) ภาษาบาลี แปลว่าไม่เกิดไม่ตาย วตี แปลเป็นสถานที่ ที่ไม่ เกิดไม่ตาย มันเพราะดี เวลานั้นคนอังกฤษก็ถามก็พูดถึงอมราวดี ไม่ต้องพูดถึง สงครามโลกที่ ๓ สงสัยว่าจะมีหรือไม่มี



อีกไม่กี่ปี นะ ย้ายมาอยู่อมราวดี เมื่อ ๒๐ ปีมาแล้ว ๕-๖ ปีหลังจากนั้น โซเวียตก็พังลง ข้างในนะ มันเปลี่ยนเอง เราไม่ต้องมีสงคราม ไม่ได้เป็นข้าศึกแล้ว เราไม่ ต้องกลัวโซเวียตแล้ว รัสเซียนะ แล้วเรแกนก็ตาย เดี๋ยวนี้สหรัฐอเมริกาก็แสวง หาข้าศึกอีก ถ้าเป็นประเทศมหาอำนาจก็ต้องมี Enemy ถ้าไม่มีข้าศึกก็มีมหา อำนาจทำไม ถ้ามีสันติภาพ ก็เบื่อ สงครามมันตื่นเต้น ผู้ชายเราชอบสงคราม มาก มันเหมือนกับต่อสู้ให้มีอารมณ์ตื่นเต้น ถ้าเรานั่งเหมือนกับนั่งในห้อง กรรมฐานที่นี่ เราจะพิจารณาในนิสัยสันดานของเราได้ อยากได้ตื่นเต้น อยากให้ มีอะไรที่จะทำให้มีอารมณ์ที่จะตื่นเต้น ที่จะขุ่นเคือง ที่จะเห็นว่าชีวิต ของเราเพื่อจะต่อสู้ฆ่าสิ่งที่ไม่ดี ทำให้ประเทศของเราเป็นมหาอำนาจต่อไป ได้ สร้างอารมณ์สร้างโลกอย่างนี้ได้


ถ้าหากว่าผู้รู้อารมณ์เป็นอารมณ์แล้ว ตื่นเต้นก็ดี เบื่อหน่ายก็ดี ก็ให้เป็นผู้รู้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง


ทีนี้พูดถึงสันติภาพของโลก จะมีสันติภาพอย่างไร ความจริงนะ ถ้าเราเห็นอมราวดี แล้ว ถ้าเรารู้อริยสัจ ๔ พิสูจน์ได้ ผลในการเห็นสัจธรรม คือความ สงบ สันติภาพแล้ว เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ได้อาศัยสหรัฐอเมริกา หรือประเทศ อื่น หรือตัวตนคนนี้คนนั้น เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว สันติภาพเป็นธรรมดา เป็น ธรรมชาติ


เราอยู่กับหลวงพ่อชาที่วัดหนองป่าพง ตอนนั้นก็ เรียนภาษาไทย แต่ยังไม่รู้ บางทีหลวงพ่อแสดงธรรมก็ไม่รู้ความหมาย แต่คำ ศัพท์ที่ได้ยินบ่อย พูดถึง ‘ธรรมดา’ เรานั่ง แล้วหลวงพ่อชาแสดงธรรม ก็พูด ถึง ธรรมดา ธรรมดา เราก็จับคำศัพท์นี้ ธรรมดา ธรรมดาเป็นยังไง แล้วก็เรียน ภาษาไทยเพื่อจะเข้าใจการเทศน์ของท่านพอสมควรแล้ว ธรรมดา ภาษาอังกฤษ ว่า ordinary แต่ภาษาไทยก็ดีกว่า ธรรมดา คำศัพท์ก็ธรรมะ เป็นสิ่งธรรมดา ธรรมชาติ ordinary สิ่งที่ไม่เป็นที่สุดโต่งแล้ว เหมือนผู้มีสติ ไม่เป็น ที่สุดแล้ว เป็นธรรมดา หลวงพ่อชาก็พูดถึง เห็นธรรมดา


เวลาเราอยู่เป็นพระที่นั่น ท่านก็แนะนำให้ปฏิบัติแบบธรรมดาตลอด ต้องรู้ชีวิตการ เป็นพระภิกษุเป็นอย่างไร เพื่อจะทำให้มันธรรมดาๆ ไม่ได้รักษาตัวเป็นพระ ภิกษุ พระวัดป่า พระรักษาวินัย ให้เป็นที่สุดโต่ง ให้เป็นพระภิกษุดีที่สุด ดีกว่าพระอื่นอย่างนี้นะ จะทำให้สร้างอารมณ์สร้างเป็นตัวตน ให้พิจารณา ธรรมดา ให้ปล่อยวางสังขาร ให้อยู่ง่ายๆ เป็นผู้เลี้ยงง่าย ทำหน้าที่ในการ เป็นพระภิกษุสงฆ์ตามระเบียบวินัยพอสมควร เพื่อจะอยู่ง่ายๆ ไม่สร้างความยุ่ง ยากในสังคม ไม่ถือตัวถือตนเป็นอะไร นี่ก็มีประโยชน์ เราพิจารณาไม่ให้เป็น ผู้เชี่ยวชาญ ผู้สำเร็จในการปฏิบัติ บางทีก็ “เราเป็นนักปฏิบัติกรรมฐาน เก่งๆ เคยปฏิบัติหลายปี เก่งกว่าองค์อื่น” นี่ก็สร้างตัวตนให้เป็นที่สุด นะ อาศัยแต่ความคิด แต่หลวงพ่อชาแนะนำให้ปฏิบัติเพื่อจะเป็นธรรมดาธรรมชาติ


แต่ภาษาไทยก็ดี เป็นคำศัพท์ที่ลึกซึ้งมาก ธรรมดา ธรรมชาติ ถ้าเอาคำศัพท์แปล เป็นอังกฤษก็พอใช้ได้ แต่ยังสู้ภาษาไทยไม่ได้ ธรรมดา ordinary ธรรมชาติ ก็ nature แต่อาตมาก็ชอบคำศัพท์ธรรมะที่ใช้ในภาษาธรรมดา ภาษา ตลาดของเรา ในประเทศนี้ ธรรมดาในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ความคิดความเห็นความรู้สึกที่เกิด ขึ้นเปลี่ยนแปลงอยู่ ธรรมดาในปัจจุบัน สติมีความสามารถจะรับรู้สังขารทั้ง หลายไม่เที่ยง


ถ้าเราปล่อยวางแล้วพิจารณาธรรมดาใน ปัจจุบัน อาตมารู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเป็นธรรมดา ก็ไม่มีปัญหา เดี๋ยวนี้ ลมหายใจเข้า ธรรมดา ลมหายใจออก ธรรมดา ไม่มีโรค ไม่มีความเจ็บปวด ลมหายใจ เข้าลมหายใจออกเป็นธรรมดา การนั่ง ยืน เดิน นอน อิริยาบถ ๔ ที่เป็นธรรมดา ด้วย ไม่ใช่โยคีที่จะกลับหัวหรือทำให้มีอิริยาบถพิเศษ พระพุทธเจ้าหมายถึง สิ่งที่ธรรมดาแบบ นั่ง ยืน เดิน นอน


แล้วสิ่งที่ ธรรมดา อากาศในที่นี้ด้วย อากาศเป็นธรรมดา แต่เราไม่เคยสังเกต เราก็รู้มัน ร้อนหรือหนาว แต่อากาศเป็นที่ว่าง เรียกว่า Space ภาษาอังกฤษ มองดูโลกเรา แล้วอากาศก็เป็นธรรมดา แต่ไม่ได้เป็นที่สุด ไม่ได้แสดงตัวเป็นสีแดง สี เขียว ไม่ได้เป็นผู้หญิงผู้ชาย และก็มีอยู่


ถ้าเราพิจารณา สิ่งที่เป็นธรรมดาในปัจจุบัน เราก็มีวิธีพิจารณาปัจจุบันธรรมด้วย ฟังเสียง ธรรมดาในห้องนี้ เสียงเครื่องแอร์ มีเสียงของเครื่อง ถ้าหากว่าเราตั้งสติ กับเสียงเครื่องแอร์ เราก็จะกำหนดเสียงที่มันสูงกว่าเครื่องแอร์เป็นธรรมดา ด้วย เราเรียกว่าเสียงสงัด ส่วนมากคนไม่เคยสังเกต ไม่เคยกำหนดรู้เป็น อะไร แต่เดี๋ยวนี้ถ้าโยมโยคีพิจารณาสิ่งธรรมดาในปัจจุบัน อยู่ที่ลับไม่ค่อย แสดงตัว แต่ถ้าเราตั้งใจฟังเสียงเครื่องแอร์แล้ว ก็จะมีอีกเสียงหนึ่ง เสียง สงัด คล้ายกับเสียงไฟฟ้า และมีเป็นเสียง...ไม่รู้นะ แต่เป็นธรรมดา เป็น ธรรมชาติ ถ้าเราเห็นอย่างนี้ เราก็จะพิจารณา ธรรมดาธรรมชาติใน ปัจจุบัน เพื่อจะเห็นทางพ้นทุกข์ได้


ถ้าเราเห็นอย่าง นี้ เราไม่ต้องสร้างตัวตนเป็นอะไร ให้เราอยู่กับธรรมดาธรรมชาติ สิ่งที่ มันเป็นอยู่อย่างนี้ สิ่งที่ไม่เกิดไม่ดับไป อากาศมีทั่วไป กลับห้อง กลับ บ้าน ขึ้นเครื่องบิน ไปที่ไหน อากาศก็มีอยู่ ไปที่ไหนเสียงสงัดก็มี อยู่ กำหนดรู้เสียงสงัดแล้ว ความคิดมันก็เลิก มันทำให้เราหยุดความคิด ได้ ถ้าสังเกตเสียงสงัดอย่างนี้ ความคิดมันก็ดับไป สติจะติดต่อ กันได้ ให้ เราอยู่กับสิ่งธรรมดาธรรมชาติ แต่เราไม่ปรุงแต่งให้ ถ้าจำเป็นที่จะปรุงแต่ง ก็ทำได้ แต่ไม่ได้ทำโดยอวิชชา เราจะใช้สังขารคิดที่เป็นประโยชน์ ใช้ความ คิด ภาษาของเราจะเป็นเครื่องช่วย แต่ไม่ได้เป็นตัวเป็นตน


นี่เป็นวิธีที่จะพิจารณาสิ่งที่มันอยู่กับเราตลอดไป ที่เป็นธรรมดา สิ่งธรรมดา ที่เราไม่สังเกตเป็นอะไร สิ่งที่สุดโต่ง เราก็รู้
(เทปชุดนี้จบเพียงเท่านี้)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๑

วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๗

ต่อไปนี้ ขอให้โยมที่มีศรัทธามารวมในการปฏิบัติธรรมในที่นี้ ฟังแล้วพิจารณา สิ่งที่ได้ยิน เพื่อจะเห็นในใจของตนเองด้วย สิ่งที่อาตมาพูดเดี๋ยว นี้ พยายามจะชี้ทางพ้นทุกข์ให้ โยมจะมีศรัทธาและมีปัญญาเพื่อจะเห็นทาง เห็น เองรู้เอง แล้วจะพ้นทุกข์ได้


เรื่องนิพพานเป็นอย่าง นั้น เวลาเราเอาคำศัพท์นิพพานมา บางทีก็ไม่รู้ความหมาย เป็นสวรรค์ มั้ย สวรรค์เป็นอะไร ธรรมดาทางตะวันตกก็ใช้นิพพาน ใช้คำศัพท์ ภาษา สันสกฤต Nirvana หมายความว่ามันเป็นสิ่งสวยที่สุด ดีที่สุดอย่างนั้น ไม่ได้ เป็นเรื่องที่สุด ที่สุดเป็นเรื่องสังขาร ดีที่สุดก็มี เลวที่สุดก็มี สวย ที่สุด ไม่สวยที่สุดก็มี ที่สุดได้ทางสังขาร


แต่เวลาเรา พูดถึงนิพพาน มันไม่ได้เป็นสังขารแล้ว จะบอกว่าเป็นที่สุดก็คงจะไม่ถูก ต้อง เพราะเราพิจารณาสิ่งที่จะถึงที่สุดได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ อารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในจิตใจของเราเอง มีสุขที่สุด ทุกข์ที่สุดได้ โกรธที่ สุด มีความโลภมากที่สุด และถึงนิพพานก็ไม่มีอะไร จะเห็นว่าเป็นสุขที่สุดก็ ไม่ได้


นี่เป็นสิ่งที่เราต้องเห็นเอง พิสูจน์ได้ เราก็ใช้ การปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นนิพพาน เห็นโทษในการยึดมั่นถือมั่น เห็น โทษในอุปาทานของตนเองด้วย เห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากอุปาทาน ความยึด มั่น ถือมั่น แล้วก็จะมีความหยั่งรู้ทางปัญญา จะปล่อย เพื่อมิให้เกิดทุกข์ ได้ ไม่ต้องยึดมั่นถือมั่นถ้าเราจะเห็นสัจธรรม


นิพพานคือให้ รู้ความว่าง รู้ความบริสุทธิ์ที่แท้จริง ปล่อยวางไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็น อย่างนี้ส่วนมากพวกเราคนที่มา ปฏิบัติเราไม่รู้ รู้เพียงแต่ตัวตน เรารักคน นี้ รังเกียจคนนั้น ชอบหรือไม่ชอบ คนถูกใจเราผิดใจเรา เราอยากมีความ สุข อยากมีสุขภาพดี อยากรู้เรื่อง อยากได้รางวัล เป็นเรื่องมีตัวมีตน


แต่ ผู้รู้ รู้ตัวตนไม่ได้เป็นตัวตน ผู้รู้ไม่รัก ไม่รังเกียจ แต่รู้ความรัก ความยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างนี้ ความรังเกียจ ยึดมั่นถือมั่นก็เป็นอย่างนี้


หลังจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทรงแสดงอริยสัจ ๔ ที่สารนาถ เคยกล่าวแล้วใน อริยสัจที่ ๑ ทุกข์มีอยู่ ทุกข์เป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจ มันเป็นยังไง เรา ก็คิดว่าเราเข้าใจคำศัพท์ความทุกข์ เราดูในพจนานุกรมได้ แล้วคนอื่นบอกว่า ทุกข์ก็เป็นอย่างนี้ ทุกข์ก็เป็นอย่างนั้น บางทีเราเห็นว่าทุกข์ก็เป็น คำ ศัพท์ธรรมดาด้วย ในภาษาอังกฤษเราใช้คำศัพท์ Suffering นะ ภาษา อังกฤษ Suffering too much, we have this suffering แต่ถ้าหากว่าเรารับ รู้ Suffering รู้ความทุกข์ แต่ยังไม่เข้าใจ ยังไม่เห็น เราก็คิดว่า คนนั้น ทำให้เรามีความทุกข์ รัฐบาลที่ไม่ถูกใจเรา ทำให้เรามีความทุกข์ เจ้านายที่ ไม่เอาใจใส่ ไม่สนใจเรา ก็ทำให้เรามีความทุกข์ สามีที่ไม่รักเรา ก็ทำให้เรา มีความทุกข์ มีญาติที่เล่นไพ่ก็ทำให้เรามีความทุกข์ได้ ลูกหลานของเรา ทำให้ เรามีความทุกข์ ดินฟ้าอากาศด้วย มันร้อนเกินไป หนาวเกินไป รถติด กรุงเทพฯทำ ให้เรามีความทุกข์


ที่เป็นความคิดแบบปุถุชนคนที่ไม่ พิจารณาความทุกข์เป็นยังไง แต่เวลาเราพูดถึงพระอริยสัจที่ ๑ ทุกข์มี อยู่ พระพุทธเจ้าก็เทศน์อย่างนี้ ทุกข์มีอยู่ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรเข้า ใจ พระพุทธเจ้านำคำสัจ ทุกข์มีอยู่ ที่พูดถึงความทุกข์ ตอนที่ ๒ บอกว่าเรา ควรเข้าใจความทุกข์ ควรจะค้นคว้าความทุกข์ รับรู้ว่าความทุกข์มีอยู่ ไม่ใช่ ความทุกข์ที่คนอื่นจะทำให้เรามีความทุกข์ แต่เห็นความทุกข์ความไม่สบาย ใจ ไม่ต้องให้เกิดจากคนอื่น บางครั้งคนอื่นเบียดเบียนนินทาเรา พูดไม่ ดี โกหก ทำลายชีวิตของเราได้


แต่ความทุกข์ในอริยสัจ ที่ ๑ คือความรังเกียจ ความไม่ต้องการ ที่เราสร้างในใจของเราต่อสิ่งเหล่า นั้น เราโกรธ เรารังเกียจ เราไม่อยากให้คนนั้นเป็นอย่างนั้น นี่เป็นความ ทุกข์ ที่เราเข้าใจได้ เรื่องสิ่งที่เกิดจากภายนอกคือ คนอื่นนินทาเรา ก็ เป็นเรื่องของคนนั้น เราจะทำให้เป็นทุกข์ของเรา หรือ ถ้าเราจะใช้สติ ปัญญา เอาปัญญามาอบรมเรา เราก็จะเข้าใจ ถ้าเราจะรับรู้สิ่งไม่ดีที่ได้ยิน จากคนอื่น แต่ถ้ารับรู้ด้วยปัญญา ก็ทำให้ไม่เป็นทุกข์ของเราได้


นี่เราต้องพิสูจน์เองจึงจะเห็นเอง เราจะแยกกัน มีตัวมีตนและผู้รู้ ตัวตนจะน้อย ใจจะรังเกียจจะโกรธโมโหได้ ถ้าคนอื่นเพื่อนบ้านนินทาเรา เราก็เกิดตัวตน สุ เมโธจะโกรธนะ ถ้ามาบอกว่าพระสุเมโธเป็นพระไม่ดี เราก็ได้ยิน ตัวตน ก็ ตั้งชื่อพระสุเมโธนะ ตัวตนนี้ก็จะไม่ชอบ ไม่ถูก ต้อง นินทา ทำลาย reputation (ชื่อเสียง) ของอาตมาได้ มีความคิดอย่างนี้ นะ ตามสักกายทิฏฐิ ถือตัวถือตน ถ้าหากว่าที่พึ่ง ของเราเป็นพุทโธ พระ พุทธเจ้า ผู้รู้ผู้มีสติ เราก็เห็นพระสุเมโธ ที่โกรธ รับรู้ นี่เป็น ปฏิกิริยา เป็นกรรม เป็นวิบากกรรม และเรารู้สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้วดับ ไป รับรู้แล้วมีอารมณ์เกิดขึ้นแบบโกรธคนนั้น แล้วเราก็จะรับรู้ ความโกรธมัน เป็นอย่างนี้ อดทนอารมณ์นั้น จนอารมณ์ดับไป จะเห็นความดับของอารมณ์ เห็นแต่ ตัวตนเกิดขึ้นแล้วดับไป ผู้รู้ก็ไม่เกิด ไม่ดับ เพราะ เป็นเรื่องความ จริง ตัวตนจะเกิดดับเรื่อยๆ ไป


วันไหน ทุกวันทุกเวลาจะมีแต่ ทิฏฐิมานะ รังเกียจ ดีใจ เสียใจ นี่เป็นความเกิดดับ เกิดตายที่เราประสบใน ชีวิตประจำวันตลอดชีวิต จนถึงเวลาที่จะดับขันธ์ร่างกายตาย


แต่ พิจารณาความทุกข์ ไม่ต้องรอถึงเวลาที่ร่างกายจะตาย นักปฏิบัติเป็นผู้เห็น ธรรมในปัจจุบัน ความเกิดดับ เกิดตายก็เหมือนกัน ร่างกายนี้เกิดขึ้น แล้ว เกิดขึ้นก็มีอายุอย่างนี้แล้วในปัจจุบัน แล้วก็แก่ไป อีกไม่นานร่างกาย พระ สุเมโธจะตาย นี่เป็นธรรมชาติธรรมดา แต่เราร่างกายยังไม่ตาย โยมจะ ถาม ตายแล้วจะเป็นอย่างไร บอกว่าไม่รู้เหมือนกันยังไม่ตาย แต่สงสัยได้ รู้ ว่ามีความชอบอยากจะตายแล้วไปสวรรค์ เกิดเป็นเทวดานี่ก็ดี หรือสงสัย ถ้าเรา ไม่ได้รักษาศีลเท่าไรตายแล้วไปตกนรกก็ได้ ความสงสัย ความที่ไม่รู้ สิ่งที่ เราว่า reincarnation ชาตินี้เป็นมนุษย์ ชาติหน้าจะเกิดเป็นกบก็ได้ น่ากลัว นะ เป็นหมู เป็นหมาก็ได้ นี่เป็นความสงสัย เพราะความจริงปัจจุบันนี้ เราไม่ รู้ สงสัยได้ แต่ความจริงถ้าเราเห็นด้วยปัญญานี่ อารมณ์นี้ เวลาคนที่ตาย ร่างกายตายเป็นยังไง เราไม่รู้ รูปไม่รู้ก็ได้ ผู้รู้รูปไม่รู้ อย่างนี้ ได้ นี่เป็นเรื่องปัญญา และความทุกข์เป็นสิ่งที่ควรจะเข้าใจ และควรจะ ปฏิบัติเพื่อเข้าใจ


การปฏิบัติที่นี่ อาตมาแนะนำให้ โยม พิจารณาความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางกายทางใจ อย่าไปคิดว่าเป็นเรื่องอะไร มาก หรือคิดมากเพื่อจะสร้างความคิดเรื่องความทุกข์ที่เกิดขึ้น ให้ เป็น ผู้รู้ความทุกข์มีอยู่ และเห็นความทุกข์มีอยู่ พิจารณาเพื่อจะเข้าใจ สมควร จะเข้าใจความทุกข์มีอยู่ เห็นความทุกข์ยอมรับมันเป็นอย่างนี้ เช่น นั่ง พับเพียบ นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งเก้าอี้ก็ได้ เวลาความเจ็บปวดเกิดขึ้นใน ร่างกาย เราเห็นว่าความเจ็บปวดทำให้เรามีความทุกข์


พิจารณานี่มีความสำคัญมาก เราคิดว่าความเจ็บทางกายทำให้เป็นทุกข์ ถ้าเราค้นคว้า อริยสัจที่ ๑ เพื่อเข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดจากความเจ็บปวดคือรังเกียจ ไม่ อยากให้มันเป็นอย่างนี้ พอมีความเจ็บปวดในกาย ก็ไม่อยากให้มันเป็นอย่าง นี้ บางทีเราอยากทำให้ไม่มี อยากเปลี่ยนอิริยาบถ เราคิดว่าอดทนไม่ไหว แล้ว เจ็บมาก สู้ไม่ไหว นี่เป็นความทุกข์ เป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นอริยสัจ ที่ ๑ เราเป็นผู้สร้างความเจ็บปวดเป็นเรื่องร่างกาย ร่างกายก็เป็นอย่างนี้ มีเวทนา แล้วก็เรื่องชอบ ไม่ชอบ อยาก ไม่อยาก ให้เป็น นี่เป็นสิ่งที่เรา สร้างเอง


นี่เป็นการปรุงแต่ง ทำให้เป็นสังขารปรุงแต่งให้มัน สับสน ทำให้เรามีความทุกข์ ความจริงถ้าเราใช้สติปัญญาในชีวิตนี้ เราก็จะทน การเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ สิ่งที่เกิดขึ้น ความไข้ ความแก่ ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา เราก็สวดอย่างนี้ในวัดของเรา เวลาพิจารณาความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ความแก่เป็นธรรมดา ความตายเป็นธรรมดา ภาษาไทยเป็นภาษาที่ดีสำหรับ พิจารณาธรรมะเรียกว่าธรรมชาติ มีความหมายลึกซึ้ง ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เราไม่ปรุงแต่งให้ มันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าเรา ออกไปชมธรรมชาติ ถ้าเป็นฝรั่ง เราก็คิดว่าธรรมชาติเป็นสิ่งภายนอก เวลาเรา พูดว่าเราอยากจะออกไปกรุงเทพฯ เพื่อจะชมธรรมชาติ ฝรั่งส่วนมากก็มีความคิด อยากจะออกไปชมภูเขา ต้นไม้ ชายทะเล เห็นว่าเป็นธรรมชาติ nature ภาษาอังกฤษ เรียกว่า nature


แต่ภาษาไทยมีศัพท์เป็นธรรมะ จะเห็นว่ามัน ลึกซึ้ง มีประโยชน์มาก ธรรมชาตินี่ ไปดูต้นไม้ ต้นไม้เป็นของธรรมชาติ เรา ไม่ได้เนรมิต เราไม่ได้ทำต้นไม้ พระเจ้าสร้างต้นไม้ เราไม่รู้จริงๆ บางคน คิดแบบพระเจ้าสร้างโลกสร้างต้นไม้ ความจริง นี่เป็นทฤษฎีสำหรับมนุษย์ เรา เรารู้ว่าต้นไม้มันเป็นธรรมชาติ เราไม่ได้ทำ ให้ ใน Christmastime (เทศกาลคริสต์มาส) เราก็แต่ง ต้นไม้ เป็น Christmas tree (ต้นคริสต์มาส) ปรุงแต่ง ให้ ประดับให้ ให้ เห็นว่าสวย มีอะไรที่ทำให้มีความรู้สึกสวย แต่ความจริงต้นไม้ก็สวยเอง ไม่ ต้องประดับเลย ถ้าเราดู ต้นไม้จริงๆ มันก็เป็นอย่างนี้ เป็น ธรรมชาติ ท้องฟ้าก็เป็นธรรมชาติ ภูเขา ทะเล ดวงดาว สัตว์ มนุษย์เป็น ธรรมชาติ สัตว์เดรัจฉานเป็นธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมชาติ สังขาร อะไร สัตว์ แมลง นก ปลา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะ เป็นธรรมชาติ มันเป็น อย่างนี้เอง


แต่กิเลสตัณหาของเรา ไม่อยากให้มันเป็นอย่าง นี้ เราอยากให้ธรรมชาติเป็นของเรา เป็นเจ้าของ อยากให้สิ่งเหล่านี้เป็น ของเรา ทุกวันนี้สังคมนิยมวัตถุมากขึ้น ทำให้เรามีกามตัณหามากขึ้น อยากได้ สิ่งที่เห็นด้วยตา เสียงที่ได้ยิน อยากได้เป็นของเรา ทำให้มีกาม ตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เกิดขึ้น


แต่ถ้ามีตัณหา ตามตัณหา นั้นตลอด ยึดถือตามนั้นแล้วมีความทุกข์เป็นประจำ ตัณหาถ้าเรายึดมั่นถือ มั่น ตัณหานั้นทำให้เรามีความทุกข์แน่นอน


พระพุทธเจ้าสอน ให้เราพิจารณาตัณหา เพื่อจะรู้ตัณหา มันเป็นธรรมชาติเหมือนกัน ถ้าเราไม่รู้ ไม่เข้าใจตัณหา ไม่รู้เรื่องตัณหาเป็นอย่างไร ตัณหาจะหลอกเราได้ เราจะเป็น ทาสของตัณหาได้ เพราะเราไม่รู้จัก สิ่งที่เราไม่รู้จักมันจะหลอกเราได้ จะทำ ให้เรามีความทุกข์มากได้


แต่ถ้าหากว่าเราใช้สติปัญญา พุทโธ คือระลึกปัจจุบัน พิจารณาปัจจุบัน ความทุกข์ที่เกิดขึ้น รังเกียจความ เจ็บปวด มีความสงสัย มีตัณหาอยากได้ อยากทานอาหารตอนเย็น หรือมีอะไรเป็นกาม ตัณหา ตัณหาในกามทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และมีภวตัณหา อยากได้ อยากมี อยาก เป็น อยากกลายเป็นอะไร และก็วิภวตัณหา ไม่อยากให้เป็น ทำอย่างนี้ให้เป็นผู้ เชี่ยวชาญ ผู้รู้ตัณหาเป็นตัณหา และไม่ใช่ทำลายตัณหาไม่มีตัณหา เป็นผู้รู้ ตัณหา ตัณหาเป็นธรรมชาติในโลกนี้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เป็นอาจารย์ ด้วย สอนเราว่าตัณหามัน เป็นอย่างนี้


อาตมาก็พยายาม ปฏิบัติอย่างนี้หลายปี เวลามาเมืองไทยครั้งแรกปี ๒๕๐๙ มากรุงเทพฯ แล้วไป ปฏิบัติที่วัดมหาธาตุฯ คณะ ๕ สมัยนั้น มีศรัทธาแล้วในคำสอนของพระ พุทธเจ้า แต่ยังไม่ได้ปฏิบัติ ตอนนั้นไม่มีอาจารย์ ไม่มีใครสอนเรื่องการ นั่งสมาธิ เดินจงกรม พิจารณาอริยสัจ ๔ นะ แต่เคยอ่านหนังสือหลายสิบเล่ม มี เรื่องพุทธศาสนา เป็นมหายาน เป็นเซน ที่เคยพิมพ์ในเวลานั้นเมื่อ ๔๐ ปีมา แล้ว หนังสือพุทธศาสนาที่เป็นภาษาอังกฤษหาได้ยาก อาตมาสังเกต เคยอยู่ใน ซาน ฟรานซิสโก ไปหาหนังสือเรื่องพุทธศาสนาในร้านขายหนังสือก็ไม่มากเท่า ไหร่ หนังสือที่ซื้อได้ในสมัยนั้นมันทำให้เรามีศรัทธาในคำสอน ศรัทธาที่ยัง ไม่พิสูจน์ เราก็มีความสนใจ มีศรัทธาในคำสอน แต่ยังไม่รู้จริงหรือไม่ จริง สงสัย ยังสงสัยได้ ยังเป็นทฤษฎีว่านักปราชญ์ก็พูดเก่งได้ พระพุทธเจ้า คงจะเป็นนักปราชญ์สมัยโบราณ ในประเทศอินเดีย แต่ไม่รู้มันทำได้หรือมี ประโยชน์ หรือจะพิสูจน์ได้


แต่สิ่งที่จับใจอาตมาคือ พระ พุทธเจ้าแนะนำให้ปฏิบัติดูเอง เห็นเอง อย่าไปยึดถือคำสอนที่ได้จากพระ ไตรปิฎก หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านห้ามยึดมั่นถือมั่นในคำสอนของ ท่าน ท่านแนะนำให้ เราจะพิจารณาคำสอนของท่าน เพื่อเห็นสิ่งเหล่านี้ในจิตใจ ของเราเอง เหมือนเราพูดถึงพุทโธ พระพุทธเจ้า เราเชื่อพระพุทธเจ้า มีพระ พุทธเจ้านี่ก็ดี ไม่รังเกียจ มีพระพุทธเจ้าก็ดี แต่จะพ้นทุกข์ไม่ได้ จะพ้น ทุกข์ เราต้องพิจารณาพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นอย่างไร เป็นอะไรในปัจจุบัน


พระพุทธเจ้าไม่ใช่เป็น Abstract คือเป็นสิ่งที่เราสงสัย ได้ให้เรา เห็น ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นที่พึ่ง เป็น refuge เป็นสรณะที่จะอาศัยกัน จริงๆ ปัจจุบันพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหนอาตมาก็รับรู้ อยู่ที่ นี่ เป็นผู้รู้ และถ้าสุเมโธไม่ได้เป็นผู้รู้ เราปล่อยวางสุเมโธ ให้อยู่กับ สติปัญญา คือจะอาศัยสติปัญญา นี่เป็นที่พึ่งจริงๆ เป็น refuge แท้ๆ ที่ อาศัยกันทั้งอิริยาบถ ๔ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก การนั่ง ยืน เดิน นอน อยู่ ใน ยุวพุทธ ปฏิบัติรวมกัน หรือกลับบ้าน อยู่ในกรุงเทพฯ หรือออกไปชม ธรรมชาติ อยู่เมืองนอกก็ได้ เป็นผู้หญิง ผู้ชาย เป็นคนไทย ฝรั่งก็แล้ว แต่ นี่เป็นความสามารถของมนุษย์เรา พระพุทธเจ้าเป็นอาจารย์ที่จะถึงใจมนุษย์ ได้


ปฏิบัติไม่กี่เดือนที่วัดมหาธาตุฯ ก็ได้ผล มี ศรัทธา เพิ่มขึ้น ผลคือศรัทธา มีประโยชน์มาก ตอนนั้นเป็นอาจารย์สอนภาษา อังกฤษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนเช้าไปสอนอังกฤษ แล้วตอนบ่ายก็ออกจาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ แล้วนั่งสมาธิ ท่านเจ้าคุณก็ สอน ลมหายใจ ยุบหนอ พองหนอ แล้วสอนวิธีเดินจงกรม สอนเราเดินไป กำหนด เท้า เวลาเดินให้มีสติกับเท้าของเรา ให้มีสติเวลายืน เวลาเดิน เวลา นั่ง เวลานอน เหมือนกัน แล้ว ลมหายใจ ท่านก็สอนแบบยุบหนอพองหนอ


ครั้งแรกเราสงสัย อย่างนี้มีประโยชน์อะไร เดินช้าๆ ไป กำหนดลมหายใจ ยุบหนอพอง หนอ เรายังไม่ได้ผลในการปฏิบัติ เราก็ทำตามคำสอนของอาจารย์ และทำเพื่อจะ พิสูจน์เอง ทำแล้วครั้งแรกก็มีความสงสัย และก็มีศรัทธาที่จะทำจนได้ผลดีมี ความสงบเกิดขึ้นในวันหนึ่ง


อาตมาไปทุกวัน วันที่สามมีความ สงบเกิดขึ้นทันทีกำลังนั่งในวัดมหาธาตุฯ ส่วนมาก ๒ วันที่ผ่านมาไม่มีความ สงบ พยายามเพ่งดู ยุบหนอ พองหนอ พยายามแต่จิตฟุ้งซ่าน สงสัยอย่างนั้นอย่าง นี้ คิดมากเกินไป เป็นทุกข์ ท่านเจ้าคุณบอกว่า ต้องอดทน อดทน


วันที่สาม นั่งไม่กี่นาที แล้วก็ได้ยินเสียงประตู คนทำให้มีเสียงดัง ปิด ประตู แล้วจิตมัน....ความฟุ้งซ่าน ความคิดอะไร มันหายไปเลย มีความสงบอย่าง ที่เราไม่เคยมี เราคิดว่า โอ้ นี่เป็นนิพพานแล้วนะ สามวันเป็นพระอรหันต์ แล้ว ทิฏฐิมานะของอเมริกันมันมาก เราจะเป็นพระอรหันต์สามวัน เราก็คิดว่า ไม่มีความสุขความสงบอย่างนี้ เป็นสิ่งที่เราไม่เคยมี เราคิดว่าเราตรัสรู้


วันที่ ๔ กลับมาสอนภาษาอังกฤษที่ธรรมศาสตร์ อยากรีบไปวัดมหาธาตุฯ นั่งสมาธิ อีก รีบไปนั่งที่นั่น อดทน อดทน ไม่มีใครปิดประตู ไม่มีเสียงดัง และคิดว่า เมื่อวานนี้ได้ความสงบ เดี๋ยวนี้ไม่สงบเลย แล้วก็มีความทุกข์เกิดขึ้น อีก เราสร้างความทุกข์ เพราะเราระลึกถึงวันก่อนที่มีความสงบ เราคิดว่าอยาก ได้อาการอย่างนั้นจริงๆ เกิดตัณหา อยากได้สิ่งที่จำได้ คือความสุขความ สงบ แต่เป็นสัญญาแล้ว แต่ยึดถือสัญญาเป็นทุกข์อีก เพราะทำให้มีตัณหาเกิด ขึ้น อยากได้สิ่งที่ไม่มี เพราะไม่มีความสงบ และเราจำได้ ความสงบที่มีใน วันก่อน ทำให้มีตัณหาอยากได้สิ่งที่เราจำได้ สิ่งที่เราชอบ สิ่งที่ชอบก็ อยากมีอีกต่อไ


ตอนนั้นนั่งทุกวัน แต่หลังจากนั้น ไม่มีความ สงบเหมือนที่จำได้ และยังมีศรัทธามากขึ้น เพราะเห็นว่าเรา ไม่ได้ ปฏิบัติเพื่อจะได้ความสงบหรือสิ่งที่ดีที่เราจำได้


เราปฏิบัติเพราะปฏิบัติเป็นทางที่มีประโยชน์มากที่จะพ้นจากตัณหากิเลสในใจของ เราได้ ที่จะเห็นที่จะรู้ ถ้ารู้แล้วเข้าใจแล้วก็จะพ้นจากอิทธิพลอำนาจของ กิเลสตัณหาได้ ถ้าเราไม่รู้กิเลสตัณหาเป็นอย่างไร จะพ้นยังไงก็ไม่รู้ มัน หลอกเราเรื่อยๆ เหมือนกับเราเป็นพระอรหันต์แล้ว แล้ววันที่ ๔ รีบกลับไปวัด มหาธาตุฯ โอ นั่ง กำลังรออยู่นะ แล้วตัณหามันหลอกเรา ตัณหาอยากได้สิ่งที่จำ ได้ วันที่ ๓ เราไม่มีความจำในเรื่องความสงบอย่างนั้น เพราะเราไม่เคย มี สมัยก่อน แต่วันที่ ๑ วันที่ ๒ ก็ไม่มีความสงบ มีแต่ความเจ็บปวด มีแต่ ฟุ้งซ่าน มีอะไรอย่างนั้น ไม่อยากให้มันเป็น อยากมีความสงบ แล้วก็ได้ความ สงบ วันที่ ๓ แล้วมันมาเอง เราไม่ได้ปรุงให้ เราไม่ได้ทำด้วยตัณหา มันปรากฏ เอง เท่านั้น พระสุเมโธ ตอนนั้นไม่ได้เป็นพระ คนนั้นก็ไม่ได้สร้าง มันมาเอง เป็นธรรมชาติ สงบธรรมชาติ แต่เราไม่รู้เป็นอะไร เพราะเรายังถือตัวถือตน ทำ ให้เกิดอารมณ์แบบอยากได้สิ่งที่จำได้


ต่อมาบวชเป็น สามเณร ตอนนั้นไม่อยากอยู่กรุงเทพฯ รู้จักคนหลายคน คิดว่าอยู่บ้านนอกดี กว่า ในปี ๐๙ เป็นสามเณรไปอยู่หนองคายที่วัดเนินพะเนา เป็นวัดกรรมฐาน วัด ป่า อยู่ที่นั่นปีหนึ่ง แบบเข้ากุฏิ มี ๒-๓ ครั้งต้องออกจากกุฏิทำวีซ่าทำ อะไร แต่ส่วนมากก็ขังไว้ในกุฏิเล็กๆ ตอนนั้นพูดไทยไม่เป็น อดทนต่อทุกสิ่ง ทุกอย่าง อยู่องค์เดียวปีหนึ่ง ไม่มีเพื่อน พระไทยส่วนมากพูดอังกฤษไม่ ได้ ก็อดทนต่อความทุกข์ที่เกิดขึ้น แต่เรามีศรัทธาที่จะอดทนได้


ครั้งแรกก็มีอารมณ์ที่กดดัน เพราะไม่เคยอยู่อย่างนั้นในชีวิต ก่อนบวชเป็นเณรได้ อยู่วัด ไม่เคยอยู่แบบฤาษี อยู่แบบสามเณรหรือพระ คืออยู่ในหมู่คณะ มี เพื่อน ทำอะไร ทำงาน เป็นนักศึกษา มีอะไรอย่างนั้น พออยู่แบบฤาษีปีนั้นก็มี อารมณ์ว้าเหว่ เหงา รู้สึกอารมณ์โกรธ โมโหเกิดขึ้น สิ่งที่ขุ่นเคืองในใจ เกิดขึ้น เพราะอารมณ์อย่างนี้ เราเคยกดดันไว้ แต่เราก็ตั้งใจให้อดทนต่อ อารมณ์นั้น มีมากด้วย โกรธทุกคน แต่ความจริง สังเกตดู วันนั้นเราจะถือ เป็นเรื่องของคนนั้น อะไรก็ไม่ใช่ เรื่องญาติโยมแม่ชีที่วัดก็ช่วยเหลือเรา อย่างเต็มที่ ให้เรามีอาหารมีอะไร พระเณรที่วัดนั้นก็ไม่รบกวน ไม่ทำอะไรที่ จะให้เรามีความทุกข์ พระองค์นั้นทำไมทำให้เรามีความทุกข์ หรือโยม ไม่ นะ ความทุกข์มันเกิดขึ้น


ความจริงนิสัยของอาตมาคือคนที่กด ดัน ถ้าความโกรธเกิดขึ้น เราอยากจะไม่ให้มี ตอนนั้นอายุ ๓๒ มีนิสัยที่จะ บังคับไม่ให้มี กลัวความโกรธในใจของตนมาก เวลาอยู่ในกุฏิ ไม่มีเพื่อนจะพูด ด้วย มีอาหารเอกาด้วย ฉันวันละครั้งไม่มีหนังสือ ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มี วิทยุ ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีเหล้ากิน ไม่มีขนมอะไร ไม่มีอินเตอร์เน็ท แล็ปทอ ป หรืออะไรเลย แต่เราต้องอยู่กับตัวนี้


แล้วอารมณ์ที่กดดัน ไว้ มันปรากฏขึ้น อาจารย์แนะนำให้อดทนต่ออารมณ์นั้น เพราะมันมาเอง เราไม่ ได้สร้าง เวลาสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ก็มี อารมณ์อย่างนี้ ให้เรารับรู้


ถ้าเป็นอารมณ์โกรธที่เรากลัว และเป็นนิสัยกดดันไว้ เราต้องยอมใช้อุบายเพื่อจะยอมรับ เพื่อจะพิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วย


เราเป็นสามเณร เรื่องศีลก็สมบูรณ์พอดีที่จะรักษากายวาจาของเรา ไม่ให้สร้างความ ทุกข์กับสังคมหรือทำร้ายร่างกายตนเอง แต่เรื่องการปฏิบัติธรรม สำคัญที่จะ พิจารณาสิ่งที่มันปรากฏขึ้น เพื่อจะรู้ทุกข์มีอยู่


และตอนนั้นก็เห็นว่าทุกข์มีอยู่แน่นอน มีแต่ความทุกข์เท่านั้นเป็น ๒-๓ เดือน ไม่ มีความสุข ไม่มีความสงบ เราคิดถึงวัดมหาธาตุฯ วันที่ ๓ ใน ๓ เดือนไม่มีความ สงบอย่างนั้น และเราปล่อยไม่ให้พยายามจะมีความสงบ เราจะอดทนแล้วพิจารณา


๓ เดือน ก็ผ่านไป ปฏิบัติอดทนเท่านั้นในเวลานั้น แล้วอาการโกรธโมโหอย่างนั้น ความ คุ้นเคย มันก็ดับไป แต่เราไม่ได้กดดัน ไม่ได้บังคับให้ไป มันดับเอง มันเป็น ธรรมชาติ สุเมโธไม่ได้บังคับ ไม่ได้เป็นเรื่องตัณหาอยากได้ หรือไม่อยาก ให้เป็น มันเกิดขึ้นเองแล้วก็ดับเอง


เวลาความดับทุกข์อย่าง นั้น ความสงบเหมือนที่จำได้วันที่ ๓ ในวัดมหาธาตุฯ มันมีมากอย่างนั้น มันมา เอง เราไม่ได้แสวงหาความสงบเลยนะ เราจะฝึกความอดทนต่ออารมณ์อาการที่เรามี อยู่ ที่เราไม่อยากให้มี พิจารณาอย่างนี้ก็มีศรัทธามากขึ้น เราก็รู้ความ จริง ความสงบเป็นธรรมชาติ ความสงัด ความเงียบ นิพพาน สิ่งเหล่านี้ไม่ยึด มั่นถือมั่น เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่ได้เป็นเรื่องปรุงแต่งขึ้น เราไม่ได้ ด้วยตัณหา อยากได้ เป็นไปไม่ได้


วันนี้ก็อธิบาย เรื่องอริยสัจที่ ๑ ตอนแรกก็พูดถึงทุกข์มีอยู่ เราควรจะเข้าใจ แล้วตอน ที่ ๓ คือเข้าใจแล้ว มีความหยั่งรู้เกิดขึ้น ๓ อย่าง กับอริยสัจที่ ๑ ความ ทุกข์ เหมือนกับปริยัติธรรม ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ นี่เป็นภาษา บาลี ปริยัติก็คำศัพท์อย่างนี้ก็ใช้ได้ ความทุกข์มีอยู่ นี่เป็นคำสอนของพระ พุทธเจ้า ท่านแสดงธรรมที่สารนาถกับพระปัญจวัคคีย์สมัยนั้น ความทุกข์มี อยู่ ท่านก็แสดงอย่างนี้ ความทุกข์ควรจะเข้าใจ แล้วตอนที่ ๓ เข้าใจแล้ว


มันหมายความว่าครั้งแรกเป็นปริยัติ แสดงสิ่งที่ในความคิดของเรา ความทุกข์มี อยู่ ควรเข้าใจ นี่เป็นการปฏิบัติ แนะนำวิธีปฏิบัติที่จะมองดูความทุกข์ ไม่ ใช่เพียงแต่ความทุกข์มีอยู่ ก็เอ้า ความทุกข์มีอยู่ แบบนกขุนทองนะหรือจะ พิสูจน์ทุกข์มีอยู่ ควรจะเข้าใจ มองดูสิ่งที่เป็นทุกข์ในปัจจุบัน ในใจในกาย ของตนเองในปัจจุบัน พิจารณาสิ่งเหล่านี้ก็จะมีความหยั่งรู้ เห็น เข้าใจด้วย ปัญญา พิจารณา ๓ อย่างนี้ เป็นคำสอนของพระ พุทธเจ้า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปฏิเวธคือผลในการปฏิบัติ


เราต้องเห็นนะ ปฏิบัติแล้ว พิจารณาแล้ว เข้าใจความทุกข์มีอยู่ เห็นด้วย ปัญญา ไม่ใช่อ่านพระไตรปิฎก หรือคำสอนที่เอาจากพระหรืออาจารย์อื่น เราจะแนะ นำทุกข์มีอยู่ แต่นี่เป็นสิ่งชี้ไปถึงทุกข์มีอยู่ ที่นี่ เข้าใจนะ เป็น อย่างนี้ แล้วนี่เป็นการปฏิบัติ ปฏิเวธคือหยั่งรู้ มีอยู่ ความทุกข์เห็น แล้วเข้าใจแล้ว


อริยสัจที่ ๒ พระพุทธเจ้าก็ขยายเหตุ ไป เหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ ทุกข์ก็มีเหตุ มันไม่ได้เป็นของถาวร ไม่ได้เป็น อมตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไป มีปัจจัยที่จะมีอยู่ มีเหตุปัจจัยทั้ง นั้น และพระพุทธเจ้า ทางปริยัติบอกว่าเหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือ ตัณหา อุปาทาน กามตัณหา กามตัณหาที่เกิดในตา หู จมูก ลิ้น กาย เห็นอะไร สวย กามตัณหาก็อยากได้สิ่งเหล่านั้น


ภวตัณหา คืออยากได้เป็นอะไร อยากได้เป็นพระอรหันต์ อยากได้ยศ อยากได้เป็นอะไร


เราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นวิภวตัณหา เราคิดว่าเราไม่อยากเป็น ปุถุชน อยากจะเป็นพระอรหันต์ นี่ก็เป็นทิฏฐิมานะ ผสมกับภวตัณหา วิภวตัณหา


ทีนี้อยากได้ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากให้เป็น มันเกิดจากความคิดของเรา ปรุง แต่งของเรา พิจารณาด้วยสติสัมปชัญญะ เห็นสิ่งที่สวยงามทางตา แล้วรู้สึกมี เวทนา เกิดขึ้น แบบสุขเวทนา แล้วทำให้เรามีตัณหา อยากให้มีความสุขอย่าง นั้นตลอดไป กามตัณหาเกิดขึ้น


ถ้าเราพิจารณาในความสวยงาม สุข ว่าเป็นอย่างนี้ แล้วรู้โดยปัญญาว่ามันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราก็เห็น ความสวยงามได้ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยกิเลสตัณหา ให้พระพุทธเจ้าแนะนำทางที่จะ เห็นด้วยปัญญา ความสวยงาม เห็นด้วยปัญญา เห็นว่ามันเป็นสุขจริงๆ แต่เราไม่ ยึดถือความสุข เราไม่ได้หลงความสุข ไม่ได้หลงความสวยงาม


ความทุกข์ ความไม่สวยงาม เห็นอะไรที่น่าเกลียด ไม่สวยเลย ทำให้เรามีอารมณ์ เกลียด รังเกียจ ไม่อยากให้เป็น เกิดอารมณ์แบบอยากทำลายสิ่งเหล่านั้น ไม่ อยากเห็น พิจารณาอารมณ์นี้ด้วย ไม่อยากให้เป็น ความเกลียด อยากจะหนีจากสิ่ง เหล่านั้น


เพราะผู้รู้ก็รู้ตัณหาอยากได้ รู้มันเป็นอย่าง นี้ กามตัณหาเห็นได้ง่าย แต่ภวตัณหา วิภวตัณหา บางทีก็เห็นยาก ส่วนมากเรา เป็นคนดี มายุวพุทธิกสมาคมเพื่อจะพ้นจากความทุกข์ เพื่อจะเป็น ประโยชน์ เพื่ออุดมคติสูงสุดของสัตว์มนุษย์ทุกคน อยากจะตรัสรู้ ไม่อยากเป็น คนมีกิเลส คนขี้โกรธ คนโมโห คนมีความโลภ ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ หรือก็เป็น เรื่องทิฏฐิมานะ เป็นเรื่องมีตัวมีตน แล้วก็เป็นสิ่งที่ดีด้วย ไม่อยากให้ เห็นแก่ตัว เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ดีก็มีทั้งสังขาร ไม่ดีก็มี เห็นแก่ตัวก็ ไม่ดี นี่ก็เป็นเรื่องของสังขาร


ถ้าเราอาศัย สติ สัมปชัญญะ เราจะเห็นสังขารเป็นสังขาร นี่เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ที่จะ เห็นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่าเหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ คือความยึดมั่นถือมั่นใน กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา และตอนที่ ๒ การปฏิบัติคือ ปล่อยวาง บอกว่า ปฏิบัติปล่อยวาง ถ้าเราเห็นความยึดมั่นถือมั่นของเรา ยึดถือ ตัณหา ๓ อย่าง เราก็จะเห็น เราจะมี insight หยั่งรู้ว่าปล่อย วางสิ่งเหล่า นี้ วางไว้ ปล่อยวางไว้ ไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็นี่เป็นการปฏิบัติปล่อยวาง


ตอนที่ ๓ คือปฏิบัติปล่อยวางแล้ว จะเห็นผลในการปฏิบัติ ปล่อยวางแล้วเป็นปฏิเวธ เป็นผลในการปฏิบัติ อริยสัจที่ ๒


เราอยู่กับหลวงพ่อชาสมัยก่อนท่านก็แนะนำพิจารณาอย่างนี้มาก ท่านสอน เรื่องอริยสัจ ๔ ตลอด อยู่กับ หลวงพ่อชา ๑๐ พรรษา ได้ฟังเทศน์ฟัง ธรรม ต่อมาเข้าใจภาษาไทยพอสมควรที่จะรู้ความหมาย และหลวงพ่อสอน เป็น ตัวอย่างด้วยให้เราเห็นสัตว์มนุษย์องค์หนึ่ง ที่เป็นผู้มีปัญญาที่เราจะมี ศรัทธาเกิดขึ้นกับองค์นั้น ท่านสอนชี้ทางไป และท่านก็ทำให้เราดูจิตของเรา เอง เวลามีกิเลสเกิดขึ้น หลวงพ่อชาก็เห็นสุเมโธ โอ มีกิเลส ท่านก็มีความ สามารถจะทำให้เรามองดู เราไม่ดูจิตของเราในปัจจุบัน ความถือตัวถือตนมันเป็น สุขหรือเป็นทุกข์ เราก็ทิฏฐิมานะเกิดขึ้น ถือตัวถือตนเกิดขึ้น เรามีความ เห็นเกิดขึ้น เราพิจารณานี่ความยึดถือสิ่งเหล่านี้ ทิฏฐิอย่างนี้เป็นสุข หรือเป็นทุกข์ ให้เราสังเกตดูนะสุขเป็นอย่างไร ทุกข์เป็นอย่างไร


ที่จะถือตัวถือตน เห็นว่าเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่มีความสุข อยู่เป็นพระในวัด ป่า สมัยนั้นถือตัวถือตน ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น ถ้าจะบังคับหลวงพ่อชา หรือ พระเณรในวัดนั้นทำตามความเห็นของเรา ไม่ได้ เป็นพระใหม่ๆ ด้วย เป็นพระฝรั่ง ไม่รู้เรื่องด้วย แล้วก็บังคับให้ทำตามความเห็นของเราเอง ก็เป็นไปไม่ ได้ ทิฏฐิมานะ เราก็มีทิฏฐิอย่างนั้นมาก บางทีมีความทุกข์ที่เกิดขึ้น บาง ทีก็ โอ้ เสียเวลาอยู่วัดนี้ อยากไปอยู่วัดอื่น คิดอย่างนี้ก็ชีวิตของพระ วัดป่า คงจะเป็นอัตตกิลมถานุโยค มันทรมานมากเกินไป จิตก็เคยเกิดขึ้นอย่าง นี้เป็นบางครั้ง


หลวงพ่อก็แนะนำให้เราดูอารมณ์ เราก็มี ศรัทธาและเชื่อถือในองค์นั้นพอสมควรที่จะทำตามคำแนะนำของท่านที่จะดูทิฏฐิ ของเราที่เกิดขึ้น จะเห็นความยึดถือทิฏฐิมานะของตนเองมันเป็นทุกข์ พิสูจน์ เอง เราไม่ได้เชื่อหลวงพ่อชาว่าท่านเป็นผู้มีปัญญาแล้ว ท่านก็แนะนำให้เรา ต้องพิสูจน์เองให้เห็นเอง คือจะเห็นทางพ้นทุกข์ได้


วันนี้ก็แสดงธรรมพอสมควร เพื่อจะเป็นประโยชน์ในโยมทุกๆ คน จะมีศรัทธาในการปฏิบัติ ต่อไป และก็เป็นชาวพุทธด้วย เราโชคดีเกิดในเมืองไทยนี้ พุทธศาสนาก็เป็น ศาสนา ประจำชาติ เราไม่ต้องไปแสวงหาที่เมืองนอก มีมากอยู่แล้วในเมืองไทย นี้ ปริยัติธรรมก็สมบูรณ์ด้วย ปฏิบัตินี้ก็มีเป็นเรื่องปฏิบัติด้วย เราจะ ปฏิบัติเพื่อจะพิสูจน์ปริยัติได้ ให้เราเห็นเอง เห็นทางพ้นทุกข์โดยไม่ต้อง สงสัยในสิ่งเหล่านี้


วันนี้ก็จะหยุดเพียงเท่านี้ ขอให้พิจารณาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในคืนนี้ เพื่อความศรัทธาและความตั้งใจที่จะปฏิบัติต่อไป


แก้ไขล่าสุดโดย ลูกโป่ง เมื่อ 29 ก.ย. 2009, 17:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๒

วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗


วันนี้เป็นวันที่เราปฏิบัติตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น แล้วก็พิจารณาผลในปัจจุบัน ผลที่ ได้จากการอยู่ในสถานที่นี้ และปฏิบัติเพื่อจะไม่วิจารณ์ ไม่ต้องเห็นดีหรือ ไม่ดี รับรู้มันไป เดี๋ยวนี้อารมณ์ทางจิตใจเป็นอย่างนี้ ร่างกายเป็น อย่างนี้


ความคิดของเรามันมีแต่ที่สุดโต่ง เวลาเราพูดถึง อมตธรรมและความจริง ภาษาไทย อังกฤษ ทุกภาษาไม่มีความสามารถจะถึง ได้ เพราะนี่เป็นสมมุติ เป็นสิ่งที่จะชี้ไป ถึงสังขารที่เปลี่ยนแปลง ไป สังขารก็ดีชั่ว ถูกผิดอะไรอย่างนี้ ผู้หญิง ผู้ชาย พระฝรั่งไทยอะไรอย่าง นี้ แยกกันเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น สูง ต่ำ อะไรทุกอย่าง มันอ้วนหรือผอม ขาว หรือดำ นี่ก็เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องความคิด


ทุกคนก็มี เราชอบสิ่งที่มันถูกใจเรา ทางสังขารที่จะเห็นว่าชอบอย่างนี้ ดอกไม้สี เหลืองก็ชอบ ดอกไม้สีขาว ไม่ชอบ มีความคิดอย่างนี้ เป็นเรื่องความคิด ของส่วนตัว แล้วก็ชาติชั้นวรรณะ อาศัยความคิด ถ้าเราไม่คิด เราไม่เห็นว่า เราเป็นอะไรนะ แต่เราเป็นชาวพุทธ เราเป็นพระภิกษุสงฆ์ เป็นอย่างนี้เป็น อย่างนั้น


นี่เป็นเรื่องวัฒนธรรมสิ่งที่ได้หลังจากเกิดมา แล้ว เกิดจากท้องแม่ เราไม่เคยคิด เวลานั้นไม่มีความจำ เด็กทารก ที่เกิด ขึ้นมาก็มีแต่ร่างกาย มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีวิญญาณกำลังทำ งานอยู่ แต่ตัวตนยังไม่มี ยังไม่รู้เป็นชาติไทยหรือเป็นชาติอังกฤษ ยังไม่ รู้เป็นผู้หญิงหรือผู้ชายนะ เราเลือกสิ่งเหล่านี้ หลังจากเกิดขึ้นแล้ว ถ้า ร่างกายเป็นเพศหญิง เราก็ถือว่าเป็นผู้หญิง เป็นเพศชายเราก็ถือว่าเป็น ผู้ชาย แล้วก็ถือการเป็นหญิงหรือชาย ทำให้เราจะมีความคิดที่เกิดจากความยึด ถือสิ่งเหล่านี้ด้วย


ทุกวันนี้ ก็มีปัญหาทางคริสต์ ศาสนา ประเพณีคริสต์ พระเจ้าเป็นผู้ชาย แต่ผู้หญิงทางตะวันตกไม่ค่อย ชอบ อยากให้พระเจ้าเป็นผู้หญิงด้วย ก็แย้งกันได้ เรื่องเพศของพระเจ้า นี่ เป็นเรื่องความคิดปรุงแต่งของสัตว์มนุษย์เรา เราจะแย้งกันเรื่องเพศของพระ เจ้า มีประโยชน์อย่างไร และมันเกิดจากความถือสิ่งเหล่านี้ แต่ไม่รู้ความยึด มั่นถือมั่นเป็นอย่างไร


เรื่องธรรมะ เวลาพูดถึงธรรม เรา ไม่เห็นเป็นชายเป็นหญิงอย่างนี้นะ พูดเรื่องอมตธรรม เรื่องความจริง เพื่อจะ เห็นสิ่งที่เป็นความจริง เพราะพวกเราก็มีความสามารถจะเห็นความจริงได้ ที่จะ ปรุงแต่งความจริงให้เป็นสิ่งอื่น เราจะ ทำได้ แต่นี่ก็เกิดจากอวิชชาและ ตัณหากิเลสที่เกิดขึ้น


พระพุทธเจ้าแนะนำให้รู้ตัณหากิเลส เป็นยังไง เราอยู่ในโลกนี้ เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย มีจิตใจและมีสุข เวทนา ทุกขเวทนา มีอทุกขมสุขเวทนา และมีอารมณ์เกิดขึ้น นี่เป็นสิ่งที่จะอด ทนต่อสังขารที่เปลี่ยนแปลงไป อย่าไปยึดถือสิ่งเหล่านี้ให้เป็นตัวตน เพราะ ถ้ายึดมั่นถือมั่นก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์


เหมือนกับอริยสัจ ที่ ๒ เหตุให้เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ปล่อยวาง เหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา ปล่อยแล้วก็วางไว้ เวลาเราสอนอย่างนี้ในประเทศอังกฤษ บางทีเราก็ใช้คำ ศัพท์ภาษาอังกฤษ Let go ปล่อยวาง Let go คนที่เข้าใจภาษาอังกฤษ บางทีก็ เอา Let go มาเป็นคำสั่งของเราที่จะต่อต้าน เห็นอะไรก็อยากจะทิ้ง เพราะเรา ก็รังเกียจสังขาร บางคนก็คิดอย่างนี้ ในภาษาไทยก็ปล่อยเถอะ แล้วก็วาง ไว้ ไม่มีความหมายแบบปล่อยให้เป็นอย่างนี้วางไว้ ไม่ใช่ทำลายสังขาร แต่ เห็นโทษในความยึดมั่นถือมั่น


สิ่งที่ทำให้เรามีความ ทุกข์ เราก็มีปัญญาพอที่จะได้หยั่งรู้ว่าปล่อยวางไว้ ไม่ต้องยึดถือ ไม่ต้อง จับสิ่งที่มันทำให้เรามีความทุกข์ จับไฟด้วยมือ ก็อู๊ว์ เจ็บมาก เราไม่ ต้องบอกอย่าไปจับไฟต่อไปนะ เราก็รู้เอง ถ้าจับไฟก็เป็นทุกข์ ทุกข์อย่าง นี้ พ่อ แม่ ไม่ต้องบอก เรารู้เอง เราพิสูจน์เอง ถ้าเราจับไฟด้วยมือ มัน ไหม้เรา และทำให้เรามีความเจ็บปวดที่มือ เราก็ได้หยั่งรู้ว่าไฟก็ดี ไม่ใช่ ไม่ดี ไฟก็มีประโยชน์ แต่จับด้วยมืออย่างนั้นด้วยไม่มีสติปัญญาอย่าง นั้น มันจะทำให้เรามีทุกข์ได้ ปล่อย วาง Let go อย่างนี้ได้


สังขาร ก็เป็นอย่างนั้น ร่างกายและอารมณ์อาการทาง จิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ทำลายสิ่งเหล่านี้ หรือสิ่งเหล่านี้ ไม่ดี นี่เป็นเรื่องความคิดอีก สติปัญญาเป็นความสามารถของเราที่จะเห็น สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวไม่มีตน


ปล่อยวาง ไม่ใช่แบบกดดันไว้ ถ้าเราวางได้ สิ่งที่มีอยู่ต่อไปจะใช้ได้ด้วย สติ สัมปชัญญะ เหมือนกับไฟ ไฟก็มีประโยชน์มาก และเป็นธรรมชาติด้วย มีอากาศ หนาว เราก็อาศัยไฟ เพื่อจะมีความอบอุ่นขึ้นมา แล้วก็มีไฟฟ้าจะอ่าน หนังสือ กลางคืนจะเห็นทาง กลับบ้านก็มีไฟใช้ เวลาทำพิธีสวดมนต์ก็จุดธูป เทียน แสดงว่ามีไฟ ทำให้มีอารมณ์สงบลงดี เพื่อจะพิจารณาเวลาสวดเรื่องในพระ พุทธศาสนา มันทำให้ชีวิตของเรามีคุณภาพดี มีความสุขอย่างนั้น


และ ถ้าหากว่าเราใช้ไฟเพื่อจะทำลายล้าง เพื่อจะทำให้บ้านของเราพังลง หรือจะ ทรมานคนอื่นก็ใช้ไฟด้วยความรังเกียจ เกลียดชังโหดร้าย และเห็นว่าเหตุให้ เกิดทุกข์มีอยู่ คือความยึดมั่นถือมั่น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา และควร จะปล่อยวางตัณหาไว้ หมายความว่าเราต้องรู้ตัณหา ลักษณะของตัณหาในใจของ เรา เพื่อจะเห็นหรือจะวาง
(เทปหยุดไปช่วงหนึ่ง)


แล้ว ก็ตอนที่ ๓ คือปล่อยวางแล้ว เป็นผลในการปฏิบัติ พิจารณาในอริยสัจ ๔ อริยสัจ ที่ ๑ ทุกข์มีอยู่ อริยสัจที่ ๓ คือความดับทุกข์มีอยู่ นิโรธสัจ ปล่อย วาง แล้วก็จะเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตัณหาที่มีอยู่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันก็จะ ดับไป เห็นความดับของตัณหา ความดับทุกข์ เห็นด้วยปัญญาได้ พูดถึง ว่า ใครเห็นความดับทุกข์เป็นตัวตน ไม่เป็นเรา เป็นผู้หญิง เป็น ผู้ชาย เป็นพระหรือเป็นฆราวาส เป็นอาจารย์ หรือเป็นคนธรรมดา และเราบอกว่า ไม่ได้เป็นตัวเป็นตนที่จะเห็นได้ ตัวตนเป็นสิ่งที่เราปล่อยไปแล้ว เราไม่ยึด ถือ ที่จะเห็นความดับทุกข์ เราอาศัยแต่พุทโธ ผู้รู้ เรียกว่าสติ สัมปชัญญะ เพราะปัจจุบันนี้สิ่งที่เกิดขึ้น อารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเราปล่อย วางให้มันเป็นอย่างที่มันเป็นอย่างนี้แล้ว ปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ มันก็ ดับไปได้ โดยเราจะเห็นความดับของสังขาร ใครเห็นความดับ ความดับทุกข์ ไม่ได้ เป็นตัวตน เป็นพุทโธ ผู้รู้ เห็นธรรม


เวลาอาตมาเทศน์ อย่างนี้ก็อย่าไปเชื่อง่าย นี่ก็เป็น สิ่งที่จะพิจารณาด้วย สำคัญที่จะ พิจารณาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอะไรจริงๆ ในปัจจุบัน ถ้าเราเห็นว่า เป็นความคิดเฉยๆ เป็นคำศัพท์ภาษาบาลี เราไม่เห็นประโยชน์มาก เป็น ประเพณี เอาแต่สวดแต่ไม่รู้ว่ามีประโยชน์ ลึกซึ้ง เป็นสิ่งที่อาศัย กันได้ในชีวิตของเรา


ถ้าหากว่าเรายืนยันและพิจารณาด้วยปัญญา ที่จะเห็นพุทโธ ผู้รู้ธรรมในปัจจุบัน คือพวกเรา เป็นผู้หญิงก็ได้ ผู้ชายก็ ได้ เป็นพระ เป็นแม่ชี เป็นอุบาสก อุบาสิกา ถ้าเราใช้สติในปัจจุบันก็จะเห็น ความดับทุกข์ในจิตของตนเอง


เรื่องวิปัสสนาเป็นเรื่องพิสูจน์ เอง ใคร่ครวญ ทดลองดู เรื่องอริยสัจ ๔ ที่เป็นสิ่งที่จะพิสูจน์ได้ และยิ่ง มีความสนใจ และมีศรัทธาในการพิจารณาอริยสัจ ๔ ในชีวิตของเรา ก็ใช้ได้ตลอด ชีวิต


เวลาอาตมาบวชครั้งแรก ปีแรกเป็นสามเณรก็ พิจารณา อริยสัจ ๔ เรื่องการพิจารณา อริยสัจ ๔ ในเวลานั้น ถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ก็ยังพิจารณาอยู่ ยังมีประโยชน์นะ เพราะในชีวิตของเรามีวิบาก กรรมของเราในการเป็นสัตว์มนุษย์ อริยสัจ ๔ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพื่อจะ เห็นโลก โลกียธรรมด้วยปัญญา ไม่เห็นโลกด้วยรังเกียจ พระพุทธเจ้าก็ไม่ รังเกียจโลก พุทโธก็ไม่รังเกียจ และก็รู้ เป็นผู้รู้ เป็นโลกวิทู ผู้รู้ โลก รู้โลกเป็นอย่างนี้ เวลาเราใช้คำศัพท์โลกภาษาไทย ก็เป็นเรื่อง สังขาร ความคิดของเรา เราเป็นผู้สร้างโลก


หลวงพ่อชาถาม ลูกศิษย์ที่เป็นฝรั่งสมัยก่อน ใครเป็น ผู้สร้างโลก ส่วนมากเราเคยเติบโตใน ศาสนาคริสต์ สอน เรื่องพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก และเราต้องเชื่อถือว่า สิ่ง เหล่านี้เป็นความจริง บาทหลวงแนะนำให้เชื่อ พระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก หลวงพ่อ ชาถาม ใครเป็นผู้สร้างโลก พระเจ้าเป็นอะไร ถ้าเราตามแนวความคิดของเรา ก็จะ สับสนอีกมาก และพิจารณาโลกในปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร ถ้าเราเห็นโลกเป็นสิ่ง ภายนอก เฉยๆ เห็นว่าโลกเป็นเรื่องภูเขา เรื่องประเทศต่างๆ เรื่องสากล จักรวาลอะไรอย่างนี้


ความจริงโลกที่เราเสวยในปัจจุบัน คือ ความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตวิญญาณของเรา แต่เราเป็นผู้สร้าง โลก เราก็รัก หรือรังเกียจ สนใจหรือเบื่อ หรือสร้างให้เป็นมากกว่า นั้น เหมือนความเจ็บปวดทางกายในปัจจุบันก็มันเป็นอย่างนี้ เราสร้างให้เป็น ปัญหาของเราได้ นี่ความเจ็บนะ หัวเข่านี่ ขวา เจ็บนิดหน่อยเดี๋ยวนี้ เรารับ รู้มันเป็นมีเวทนาอย่างนี้ และสร้างให้เป็นโลก โอย ไม่ไหวแล้ว เจ็บมาก นะ นั่งพับเพียบมันลำบากนะ ทนไม่ไหว คิดอย่างนี้มันกำลังสร้างโลกนะ ไม่ได้ เป็นพระเจ้านะ พระเจ้าไม่ได้สร้าง แต่กิเลสตัณหา ถ้าเราไม่มีสติใน ปัจจุบัน ตามปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับเวทนา สิ่งที่ประสบกระทบเราในที่นี้ก็ จะสร้างโลกได้


พิจารณานี่ก็มีประโยชน์มาก เพราะไม่ต้องให้ เป็นของพระเจ้านะ โลกที่เราเห็นในปัจจุบันที่เราปรุงแต่งให้ ตัวตนเป็น เรื่องปรุงแต่งของเรา ถ้าเราอยู่กับความว่าง เวลาเราพูดเรื่องจิต ว่าง พิจารณาในจิตว่าง ไม่มีอะไร เราพูดเรื่องจิต เอาคำศัพท์จิต จิตตะก็ ได้ สติเราก็มีอยู่ เวลาจิตว่างก็รู้ว่างก็เป็นอย่างนี้ ถ้ามีความยึดมั่น ถือมั่น ถ้าเรามีสติ ก็จะเห็นความยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างนี้ได้ นี่เป็น ความสามารถที่จะอบรมเราในปัจจุบันด้วยปัญญา ปัญญาคือรู้ สังขารเป็น สังขาร รู้อมตธรรม อมตธรรมเป็นอย่างนี้ สังขารเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไป


เวลา เราพูดถึงมาร มาระ เป็นเรื่องสังขารทั้งนั้น เป็นสิ่งที่ตายไป เวลาเรา ยึดถือสังขาร เราเป็นคนที่ยึดถือความตายเป็นตัวตน พิจารณาอย่างนี้ ถ้าเรา ถือเราเป็น คนตาย ถือมารเป็นที่พึ่งของเรา ถ้าเราตามความคิดที่เกิด จากอวิชชา ไม่เห็นธรรม ไม่รู้อริยสัจ ๔


เวลาเราพิจารณา ผู้ รู้ในปัจจุบัน ไม่ได้ยึดถือ ว่าถ้าเราสร้างผู้รู้เป็นความคิด และเป็นความ คิดที่เรายึดมั่นถือมั่น ประโยชน์มันน้อยไป


เราไม่บังคับให้ เชื่อว่าผู้รู้เป็นอะไรอย่างนี้ เราไม่อยาก ให้คำศัพท์พุทโธ ผู้รู้ พระ พุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เรายึดถือ เวลาเราพูดถึงพระพุทธเจ้า ผู้รู้ พุทโธ อย่าง นี้ เรื่องการปฏิบัติ มองดูจิตในปัจจุบัน ไม่ต้องมองจิตอาตมา คงจะเห็นไม่ ได้ เห็นแต่ร่างกายเท่านั้น เวลาพูดดูจิต มองจิต จิตที่นี่นะเราก็รู้ แล้ว คนนี้ก็มีความรู้สึกอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ ให้รู้สังขาร ผู้รู้ สังขาร อยู่เหนือสังขาร ไม่ได้เป็นสังขาร สังขารจะเห็นสังขารไม่ได้ และ ตัวตน ความมีตัวมีตนเป็นสังขารที่เราประดิษฐ์ให้ว่าเป็น ผู้ทำให้มีตัวมี ตน สักกายทิฏฐิ สีลพตปรามาส วิจิกิจฉา สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องการปรุง แต่งของเราที่เกิดจากวัฒนธรรมและภาษาของเรา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๓

วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๗


โอกาสดีที่ปฏิบัติตลอดวัน ดูจิตดูใจเพื่อจะรู้สิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งนั้นจะดับไป และก็ต้องพูดซ้ำๆ ซากๆ เพื่อจะเริ่มได้ง่าย เพราะสิ่งที่คุ้นเคยแล้วมี ตัวมีตน สักกายทิฏฐิคือสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เรารู้สึก และถือเป็นของตัว ของตน ทำให้เรามีอารมณ์แบบเปลี่ยวใจ ว้าเหว่ ความกลัว และอีกหลายอย่างที่จะ เกิดขึ้น ทำให้เป็นความทุกข์ของเรา


อริยสัจ ๔ พระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้า เวลาท่าน ตรัสรู้ ปฐมเทศนา การสอนของพระพุทธเจ้าครั้งแรก ก็ นำปัญจวัคคีย์เห็นทางพ้นทุกข์ได้ และยกความทุกข์มาเป็นอริยสัจ และเหตุให้ เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยสัจที่ ๔ มัชฌิมาปฏิปทา หรือเรียก ว่า มรรค ๘ ทางพ้นทุกข์


นำปฏิบัติธรรมที่นี่ อาตมาก็เน้นถึง พิจารณาใน อริยสัจ ในใจของตนเอง เพื่อจะพิสูจน์และเห็น ได้หยั่งรู้ มีความหยั่งรู้เกิดขึ้น เพื่อจะพ้นทุกข์ได้ และเมื่อคืนนี้แสดงธรรมมี เรื่องอริยสัจที่ ๓ นิโรธสัจ แสดงความดับทุกข์มีอยู่


ความดับทุกข์ สังขารที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป แต่เราพิสูจน์ได้ นั่งในศาลานี้ แล้วก็พิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งนั้นถ้ารับรู้ อดทนต่ออารมณ์นั้น ไม่ ยึดมั่นถือมั่น มันจะดับไปเอง เห็นความดับทุกข์อย่างนั้น แค่นั้น และเห็น ความดับทุกข์แล้วก็เห็นจิตว่าง ความว่าง


ความว่าง จิตว่าง ถ้าเราอยากจะอธิบายให้ พูดมากเกินไป ก็ยังสงสัยได้ ต้องเห็นเอง แต่ เปรียบเทียบกับที่ว่างในโรงธรรมนี้ด้วย มีโยมกำลังนั่ง มีพระ ๒ รูปนั่งที่ นั่น มีพวกเรานั่งที่นี่ มีพระพุทธรูป และมีทุกอย่างที่จะทำให้เราได้เป็น รูปที่จะเห็นอะไรก็มีเวทนาเกิดขึ้น ชอบหรือไม่ชอบ เราไม่สนใจ มีผู้หญิง ผู้ชาย มีฆราวาส มีลักษณะ มีคุณภาพ และที่ว่างในห้องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ สุด ไม่มีที่ว่าง เราจะใช้ห้องนี้ไม่ได้ ถ้าห้องนี้เต็มแล้ว มีวัตถุ สิ่งของเต็มแล้ว ก็คงจะนั่งไม่ได้ มันเต็มแล้ว


การพิจารณา ที่ว่างในศาลา เป็นสิ่งที่มาปรากฏตัว ไม่แสดงตัวเป็นอะไร ไม่มีลักษณะหรือ คุณภาพ มีอาการว่างเท่านั้น เราจะมองที่ว่างได้ มันมีอยู่ทั่วไป ถ้าไม่ พิจารณาไม่สังเกต เราจะไม่เห็นไม่สนใจ และหลงสังขารที่เกิดขึ้น ที่จะทำให้ เรามีอารมณ์ชอบหรือไม่ชอบ สบายหรือไม่สบาย สิ่งที่เรายึดถือ ดี ชั่ว สรรเสริญ นินทา ยศ ไม่มียศ ลาภ ไม่มีลาภ ก็นำเราไปทางที่เป็นทุกข์ ตลอด สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะอยู่ได้ เราไม่รู้ไม่สังเกต ที่ว่างในโรงธรรม นี้สำคัญที่สุด


จิตว่างก็เหมือนกัน ไม่ปรากฏเป็น อะไร ไม่เป็นสีแดง สีเขียว ไม่ได้เป็นผู้หญิง ผู้ชาย จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ ชอบไม่ชอบ รู้ว่าอะไรก็ไม่ได้ มันว่างอยู่แล้วก็สงบ ความว่างสงบสงัด


และ ในการปฏิบัติของตนเอง เวลาถึงจิตว่างแล้ว ไม่ต้องพูดถึงเสียงสงัด จะฟัง เสียงเครื่องแอร์ ทดลองดูนะ ทำเหมือนกับเสียงเครื่องแอร์นะ เราก็มีเสียง เครื่องแอร์ เสียงที่มันไม่เป็นดนตรี ไม่มีสูงต่ำ มันเสมอๆ เป็นเสียง จริงๆ เราสังเกตดู ถ้าเราสังเกตเราจะสั่งอารมณ์กับเสียงแอร์ก็ได้นะ เครื่อง แอร์ก็ได้


นักปฏิบัติที่จะอยากให้มีความสงบถึงที่สุดจนไม่มี เสียงอะไรเลยนะ แล้วก็เข้าห้องปฏิบัติที่นี่ แล้วก็มีแต่เสียงแอร์เครื่อง แอร์ทำงานอยู่ เราก็จะเกิดอารมณ์รังเกียจได้ว่าที่นี่มีแต่เครื่องจักรมารบก วนสมาธิ นั่งก็พยายามจะทำสมาธิ ก็ไม่ได้ เพราะว่ามีแต่เสียงดัง เสียง เครื่องแอร์ air conditioning รำคาญแล้ว ถ้าเราคิดอย่างนี้ เหมือนหลวงพ่อชา สอน ไม่ใช่อย่างนั้น เราก็รบกวนเสียง air conditioning ได้ เราไปสร้างความ รังเกียจ ไม่อยากให้มันเป็น


แต่ถ้าหากว่าบางทีเราคุ้นเคย แล้วกับเสียงเครื่องแอร์แล้ว เราก็ไม่เคยสังเกตนะ มีความสุข ความทุกข์ มี อารมณ์ดีชั่วอะไรเกิดขึ้น เสียง air conditioning เราไม่สังเกตเป็นอะไรนะ


ถ้าหากว่าเราตั้งใจให้มีสติสัมปชัญญะจริงๆ เราก็จะสังเกตดูเช่นอิริยาบถการ นั่ง เดิน ยืน นอน ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เป็นอย่างนี้ เราจะสังเกตเหมือน ว่ามีแต่เสียงเครื่องแอร์ก็มี มันเป็นอย่างนี้ เราก็ตั้งใจมั่นกับเสียง เครื่องแอร์ และสังเกตเสียงเครื่องแอร์เป็นอย่างนี้ และเสียงสงัดมันอยู่ เหนือเสียงเครื่องแอร์ มันสูงกว่า มีเสียงสงัด เป็นธรรมชาติไม่ได้เป็น เครื่อง


เรากำหนดเสียงสงัดได้ อาตมาเคยใช้หลายปี เราไปที่ ไหนมันมีอยู่ อยู่ในเครื่องบินก็มี อยู่ภูเขา อยู่ กรุงเทพฯ ลอนดอน ภูฏาน นครวัด เมื่อ ๒ ปีมาแล้ว มีเพื่อนพาเราไป ขั้วโลก เหนือ ไปนอร์เวย์ ขึ้นเรือไปทิศเหนือนอร์เวย์ แล้วบินจากนอร์เวย์ไปเกาะอยู่ ใกล้ขั้วโลกเหนือ เกาะสปิทสเบิร์ก อยู่ในบริเวณอาร์คติกแล้ว เสียงสงัด มาก เสียงธรรมชาติมันน้อยไป ไม่มีเสียงแมลงอะไรอย่างนี้เลย มีแต่เสียงลม เสียงธรรมชาติ แล้วก็ออกไปปฏิบัติที่นั่น ในอาร์คติกที่สปิทสเบิร์ก ก็สงบ ดี เพราะเห็นอะไรมันเป็นแต่สีขาวทั้งนั้น ต้นไม้ไม่มีเลย ต้นไม้อยู่ไม่ ได้ มีแต่ภูเขาสีขาว แล้วก็ท้องฟ้า เราจะเห็นอะไร ก็ไม่มีรูปที่ว่าสี แดง สีเขียวอะไร พิจารณาสีที่มันสีเดียวกันหมด มันก็ทำให้มีสมาธิได้ ง่าย เพราะไม่มีอะไรมายั่วยวนหรือจะทำให้มีอารมณ์เกิดขึ้น ยกเว้นอารมณ์ ว่าง ก็เห็นด้วยตานี่ เห็นอะไร เห็นแต่ความว่าง ไม่มีรูปมาก ที่จะทำให้เรา สนใจ และก็เสียงสงัดทั่วไป


เราก็ตั้งใจมั่นกับเสียง สงัด มันก็ทรงไว้อยู่นานๆ ได้ สติก็จะติดต่อกัน เราจะใช้เสียงสงัดได้ เพราะ จะทำให้เรามีสติติดต่อกันได้ ที่จะรับรู้ความว่างเป็นอย่างนี้ จิตว่างก็ เป็นอย่างนี้ พอสติติดต่อกันได้ ติดต่อกันจนพิจารณาสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่าง นี้ ตัวตนก็ไม่มี และยังมีจิตอยู่ จิตยังมีสติมีสัมปชัญญะ ปัญญาก็จะทำงาน ได้ ที่จะพิสูจน์อริยสัจ ๔ ได้


พิจารณาสิ่งที่จะเกิดขึ้น เป็นตัวตน เราก็ต้องคิด ความจริงตัวตนอาศัยความคิดของเรา ความยึดมั่นถือ มั่น ถ้าเราไม่คิด ถ้ามีสติ เพียงสติสัมปชัญญะ ปัจจุบันตัวตนก็ไม่มี มันก็ หาไม่เจอ เสียงสงัด สติสัมปชัญญะ ปัญญา ไม่มีลักษณะที่จะเป็นผู้ชาย เป็น ผู้หญิง เป็นชาวพุทธ เป็นชาวคริสต์ เป็นอะไร ดีชั่วก็ไม่ได้ แล้วก็มี ปัญญา เห็นอะไรชัดเจน สิ่งที่เกิดขึ้นสับสนวุ่นวาย หรือสงสัยหรือสักกาย ทิฏฐิ สีลพตปรามาส สิ่งที่จะหลอกเราตลอดชีวิต เห็นด้วยปัญญา เห็นด้วย สังขาร สิ่งที่เกิดขึ้นดับไปได้นะ


ในเสียงสงัด หมายความ ว่า ถ้าเรารับรู้ สังเกตดู กำหนดรู้ ถึงจะเป็นจิตว่างจากตัวตนแล้ว จิตว่าง มีอยู่ เพราะว่าอาศัยเสียงสงัดเพื่อจับเรื่องราวได้ ไปที่ไหนก็มีอารมณ์เกิด ขึ้น ก็จะสังเกต กำหนดเสียงสงัดได้ ให้เราพ้นจากอารมณ์ที่เกิดขึ้น สมัยก่อน จะมีอารมณ์เกิดขึ้น เราก็มีปฏิกิริยาแบบตามอารมณ์ หรือกดดันต่อต้าน อารมณ์ หรือไม่ก็มีอารมณ์


สมัยก่อนในวัดมีสามเณรองค์ หนึ่ง มีอายุ ๕๐ แล้วเป็นคนอังกฤษ โกรธอาตมามาก สามเณรองค์นั้นโกรธจนควบคุม อารมณ์ไม่ได้ ในที่ประชุมตอนเช้า สามเณรก็แสดงความโกรธ แล้วก็สึกทันที ถอด จีวรทิ้ง แล้วหนีจากศาลา แล้วกลับมา ก็มีกางเกงมีอะไร อาตมาก็ถามสึก ทำไม ทำให้ท่านโกรธอีกมากมาย ท่านก็ว่าด่าอาตมาอย่างแรง ก็มีพระสงฆ์ มีพระ เณร แม่ชีเยอะ ก็ญาติโยมเยอะหลายคน แต่ตอนนั้นอาตมาก็ตั้งใจให้รับรู้ ให้ ยอมรับเวลาสามเณรที่สึกไปแล้วแสดงความรังเกียจ ไม่โกรธ เขาแสดงความโกรธให้ เราทุก คนฟัง ความจริงถ้าตามตัวตนจะทำให้เรามีอารมณ์แบบรังเกียจเหมือน กัน ถ้าเราตามมีตัวมีตนนิสัยสันดานของ พระสุเมโธ


ถ้าสามเณร ที่เป็นคนลำบากเป็นคนดีกว่า แสดงความรังเกียจ บางทีตัวตนก็จะรู้สึกน้อย ใจ รู้สึกผิด รู้สึกเกลียดอะไรอย่างนี้ แต่เราก็ตั้งใจไม่ให้แสดงอารมณ์ ให้ เราอยู่กับเสียงสงัด เพื่อจะรับเสียงความโกรธของสามเณรคนนั้น เราก็อยู่กับ เสียงสงัดได้ แล้วสามเณรที่สึกไปแล้วก็แสดงอารมณ์ ๑๐ นาที ๑๕ นาที ก็ไม่ หยุด พระที่อยู่ใกล้ชิด มีอารมณ์ ไม่ค่อยสบายใจ ไม่รู้จะทำอะไร แต่เรา ตั้งใจให้อยู่กับเสียงสงัด แล้วก็ยอมรับคำพูดของคนที่โกรธเรา


คนนั้นโกรธแล้วแสดงอาการรังเกียจ อาตมาก็มีปฏิกิริยาด้วยอยู่ในใจ แต่เราไม่ทำ ตาม เราไม่พูดตามอารมณ์นั้น เรารับรู้มันเป็นอย่างนี้ ขุ่นเคืองเป็นอย่าง นี้ โกรธเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่ทำตาม ไม่ได้กดดัน ไม่ได้พูดตามทำตามอารมณ์ ที่เกิดขึ้น


สติอย่างนี้มีความสามารถจะรับทุกสิ่งทุกอย่างใน ปัจจุบัน เสียงของคนอื่น อารมณ์สะเทือนใจของตัวเองได้ เพราะสติสัมปชัญญะ มันเป็นอย่างนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเป็นอยู่อย่างนี้ในปัจจุบัน ถ้ามี สติเราก็จะรับได้ ดีชั่ว มีคนกำลังหลับ มีแต่เสียงกรนก็ได้ หมากำลังเห่า อยู่ก็รับได้ เสียงเครื่องแอร์ เสียงสงัด เสียงคนอื่น และทุกสิ่งทุกอย่าง ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ ในปัจจุบันนี้ สติเป็นความสามารถของเราที่จะรับ ได้ เป็นเรื่องปัจจุบัน ไม่ได้เป็นเรื่องชอบหรือไม่ชอบ หรือความคิดของ เรา หรือสิ่งที่เราอยากจะควบคุมให้จับสิ่งที่เราชอบ และไม่ยอมรับสิ่งที่เรา ไม่ชอบ และคนนั้นที่โกรธอาตมา ด่าสัก ๑๐ นาที ๑๕ นาที แต่เราไม่ได้ด่า ท่าน เราไม่ได้ทำให้คนนั้นโกรธอีกมากมายอะไร ไม่ได้ทะเลาะกัน


ต่อมาเราก็เชิญโยมที่โกรธอาตมาไปสนทนาที่กุฏิ เวลาเขาเข้าในกุฏิอาตมา เขาก็ยัง มีอารมณ์โกรธ เขาก็ยังแสดงอารมณ์ อีกสัก ๑๐ นาที สิ่งที่เราได้รับฟังแล้ว ไม่ให้ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น ให้อยู่กับเสียงสงัด ทำให้เรามีความสามารถจะรับ ทุกสิ่งทุกอย่างได้ ปฏิกิริยาในใจตนเอง คำพูดของคนนั้นรับพร้อมกันได้ และพอ ถึงที่สุดแล้ว อาตมามีความสามารถที่จะพูดกับคนนั้น ไม่ได้พูดตามอารมณ์ โกรธ รังเกียจเลยนะ พูดให้เป็นธรรมะที่เป็นประโยชน์ทั้งสอง ทั้งคนนั้นและ อาตมาด้วย


นี่ก็ทำให้เรามีศรัทธาในการปฏิบัติมาก เพราะสมัย ก่อนนิสัยของสุเมโธ ถ้ามีคนรังเกียจพูดอย่างนั้น เราควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เรา จะทะเลาะ เราก็จะพูดแบบด่า บอกว่าท่านอย่าไปพูดอย่างนั้นกับพระเถระอย่าง นั้น อำนาจเดี๋ยวเดียวก็ได้ ที่จะแสดงอารมณ์ ที่จะทำให้คนนั้นหยุด เพราะเรา จะชนะคนนั้นได้ คนนั้นก็ตัวเล็กๆ ด้วยนะ ไม่สูง


ตอนนั้นถ้าเราทำตามอารมณ์นั้น การมีตัวมีตนไม่ได้เป็นทางพ้นทุกข์นะ จะเพิ่มความทุกข์ ของเราด้วยนะ และถ้าหากว่าเราใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างนั้น เพื่อจะมี สติอยู่ เพื่อจะรับสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ในปัจจุบันก็เป็นทางจริงๆ ทาง สายกลางนะ เป็นอริยสัจที่ ๔ ด้วย ต้องมีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมา วาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมา สมาธิ มรรค ๘ มันสมบูรณ์ถ้ามีสติ ที่จะอาศัยกันในปัจจุบัน


และ ถ้าเราอยากจะเข้าใจมรรค ๘ ด้วย มีตัวมีตน เรามีคำสอนอีกมากมาย ความจริงจะ เดินทางมรรค ๘ นี้ ถ้าเราทำตามอริยสัจ ๔ พิจารณาแล้วก็มีปัญญาเกิดขึ้นใน การ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค ทำให้เราไม่มี ถึงตัวตนก็ไม่ เป็นปัญหาแล้ว ไม่มีใครกำลังเดินทางสายกลาง ไม่มีสุเมโธจะเดินทาง สายกลาง ไม่มีตัวตนที่จะเดินสัมมาทิฏฐิ เป็นธรรมดาธรรมชาติ ไม่ได้เป็นของสุ เมโธ พ้นจากถือเป็นตัวเป็นสุเมโธ เพราะอยู่กับรู้ อยู่กับสติสัมปชัญญะ สติ ปัญญา เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เป็นธรรมะ


ตอนนี้สังเกตในการ ปฏิบัติธรรมที่นี่ ให้โยมพิจารณา ทดลองดู ครั้งแรกเสียงสงัด บางคนก็ได้ยิน ได้ง่าย บางคนก็ไม่ได้ยิน ถ้าเราพยายามฟังเสียง บางทียิ่งพยายามยิ่งไม่ได้ ยิน สังเกตในห้องนี้ก็ได้ มีแต่เสียงเครื่องแอร์ แล้วเสียงเครื่อง แอร์ ก็ติดต่อกันเสมอ ไม่สูงต่ำหรือเป็นอะไรมาก แล้วสังเกต ถ้าตั้งใจมั่นกำหนด เสียงแอร์แล้ว ก็มีอีกเสียงหนึ่ง มันคล้ายๆ กับเสียงแอร์ แล้วมันสูงกว่า นั้น กำหนดนั้นเป็นเสียงสงัดเป็นเสียงธรรมชาติ


ตอนที่เราได้ ไปอยู่กรุงลอนดอนตอนปีแรก เราเคยอยู่เมืองไทย ๑๑ ปี พรรษาแรกเป็น เณร และ ๑๐ พรรษาเป็นพระ ที่จังหวัดอุบลฯ ก็ได้ ๑๐ พรรษาแล้ว หลวงพ่อชาก็ อนุญาตให้ไปสอนที่ประเทศอังกฤษ ตอนนั้นเราสงสัยอยู่เมืองไทยต่อไปคงจะ ลำบาก เพราะปัญหาที่มีอยู่ในสมัยนั้น อเมริกาหนีจากเวียตนาม เมือง ลาว เขมร ตกเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วก็มาเมืองไทย


ปีนั้นคนไทยกลัวมาก กลัวเมืองไทยจะเป็นคอมมิวนิสต์ต่อไป บางคนสงสัยเรื่องนี้มาก เรา ก็ตั้งวัดนานาชาติแล้ว ๒ ปี วัดนานาชาติที่อุบลฯ สังเกตมองดูมีพระฝรั่ง ประมาณ ๒๐ กว่ารูป แล้วก็คิดว่า ถ้าเมืองไทยเป็นคอมมิวนิสต์เราจะไปที่ ไหน เราก็เกิดสงสัย คงจะถึงเวลาที่ต้องกลับตะวันตก


ความจริงไม่อยากกลับ ชอบอยู่เมืองไทยแล้ว แต่สถานการณ์ทำให้เรามีความคิดอย่าง นี้ อยู่ที่จังหวัดอุบลฯ มันใกล้ชายแดนลาว เขมร ทั้งสองประเทศนะ ข่าว เรื่อง Khmer Rouge (เขมรแดง) ที่กำลังโหดร้ายในประเทศเขมรสมัยนั้น ด้วย ฝรั่งส่วนมากมีความคิดว่าประเทศไทยจะตกเป็นคอมมิวนิสต์อีกไม่นาน เรียก ว่าเป็น Domino series สมัยนั้น เป็นความ คิดของฝรั่ง และประเทศไทย ตก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ทั้งหมดตกไปทั้งหมด เหมือน กับ Domino ถ้ามันตกมันจะทำให้อีกเป็นแถวนั้นตกได้


ในปีนั้น ที่อเมริกาหนีจากไซ่ง่อน เราได้ข่าวเมืองลาว เขมร เป็นคอมมิวนิสต์ แล้วก็ แม่ของอาตมาเป็นไข้หนักอยู่ที่แคลิฟอร์เนีย แล้วพ่อก็นิมนต์ให้กลับไปเยี่ยม แม่ เราก็กลับไปแคลิฟอร์เนียในปีนั้น ๑๙๗๖ วันนั้นก็มีความคิดว่า ถ้าคนสนใจ พุทธศาสนา แล้วนิมนต์ให้อยู่ในอเมริกา เราจะพิจารณา ว่ามันสมควรหรือไม่ สมควร เรามีความคิดอย่างนี้ มีเจตนาอย่างนั้น


เราอยู่เยี่ยมพ่อแม่ที่แคลิฟอร์เนีย แม่ก็ดีขึ้น ถึงเวลาจะออกไปนิวยอร์ค ไป บอสตัน ไปยังชาวพุทธหลายแห่ง แต่คนที่ได้พบในสมัยนั้น ไม่ค่อยแสดงความสนใจ เรื่องอาตมา ไม่มีใครนิมนต์ เราก็คิดจะกลับเมืองไทย จะต้องไปลอนดอน แล้ว ก็มีโยมส่งอาตมาจากนิวยอร์คบินไปลอนดอน พักที่ลอนดอนประมาณ ๓ วัน แล้วคน อังกฤษก็นิมนต์ คนอังกฤษนิมนต์ก่อน เราไม่เคยคิดจะอยู่ในประเทศอังกฤษ เวลา กลับ ไปเมืองไทยแล้ว เราก็ปรึกษากับหลวงพ่อชา สมควรมั้ย


หลวงพ่อชาก็พิจารณาสิ่งเหล่านี้แล้ว ประธานที่เป็นหัวหน้ามูลนิธิพุทธใน ลอนดอน ก็ตามอาตมามาถึงเมืองไทย แล้วก็กราบนมัสการหลวงพ่อชา สนทนาเรื่องถ้า จะส่งพระ สุเมโธไปอยู่เมืองนอก เมืองอังกฤษก็ดีนะ


ต่อมาหลวงพ่อชาก็ตกลงด้วย และถึงเดือนพฤษภา ๑๙๗๗ หลวงพ่อชา อาตมา บินไปกรุงลอนดอน ปี แรกหลวงพ่อก็อยู่ไม่นาน เดือนเดียวแล้วก็กลับ เข้าพรรษาที่วัดหนองป่า พง ปล่อยให้อาตมาอยู่ที่นั่น แล้วก็มีปัญหามาก อยู่ลอนดอน เรื่องมูลนิธิที่ นิมนต์เราไปก็สมาชิกกำลังทะเลาะกัน มีสงครามอยู่ในมูลนิธิพุทธ แต่ประเทศไทย ไม่ได้ตกเป็นคอมมิวนิสต์ และหลวงพ่อแนะนำให้อยู่อังกฤษสัก ๕ ปีก่อนที่จะ กลับเมืองไทย ในการกลับไปเมืองไทย สุดท้ายท่านบอกอย่าให้กลับง่าย ให้อดทน อยู่อังกฤษ ๕ ปี ๕ พรรษา ก่อนที่กลับไปเมืองไทย เราก็สัญญากับหลวงพ่อชา


ปีแรกก็อยากกลับเมืองไทย ไม่ค่อยชอบ มันรำคาญ มันลำบากเรื่องความคิดความ เห็น อยู่ในเมือง เมืองใหญ่มาก และเราพิจารณาอารมณ์ที่มีอยู่ อยากกลับ ไม่ อยากให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่อยากให้สมาชิกทะเลาะกันอย่างนี้ เราก็พิจารณา อารมณ์แบบรังเกียจคนนี้ ชอบคนนี้


วันหนึ่งกำลังเดินเฉยๆ ใน กรุงลอนดอน ก็ได้ยินได้สังเกต ได้กำหนดเสียงสงัดเลย เหมือนมันมากระทบเรา อย่างมาก เราเคยได้ยินหลายครั้งในเมืองไทย แต่เวลาไปอังกฤษก็ลืมไปแล้ว ไม่ ค่อยได้ใช้หลายปี ไปอยู่ในกรุงลอนดอน มีเสียงดังแล้วก็มีปัญหาในสำนัก ด้วย แล้วก็มันสับสนมากสมัยนั้น ทำให้มีอารมณ์สับสนวุ่นวายด้วย ก็ได้จำได้ กำหนดเสียงสงัดนี้ เรารู้ เราก็จะทนได้ ถ้าเรามีสติกำหนดรู้เสียงสงัดอย่าง นี้ เราก็จะทนสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องทะเลาะวิวาทกัน เรื่องปัญหาและความ วุ่นวายเราก็จะอดทนต่อสิ่งเหล่านี้ได้ ถ้าเราอยู่กับสติสัมปชัญญะ


ตั้งแต่นั้นก็ปฏิบัติเพื่อจะอยู่กับความสงัดอย่างนั้นให้มันเสมอๆ ให้ติดต่อกันไป เพื่อจะรับสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับจิตของตนเองในสิ่งที่มากระทบเรา ในสิ่ง แวดล้อม เราก็พยายามอยู่กับพระ อยู่กับญาติโยม แม่ชี อะไรหลายอย่างหลาย คน หลายชาติ พระสงฆ์ที่อังกฤษก็เป็นนานาชาติเหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะคนอังกฤษ


เราก็ฝึกอย่างนี้ พิจารณาในนิสัยสันดานของตนเอง ว่าถือตัวถือตนมีทิฏฐิมานะเกิด ขึ้นเป็นอันมาก ว่าเหมือนกับสามเณรที่สึกไปแล้ว พูดนินทาด่าอาตมาอย่างที่ เห็นว่าไม่สมควร ไม่ดีไม่สวย ไม่งามเลยนะ และตัวตนก็ไม่ชอบ แต่สติปัญญาก็ ไม่ได้เป็นเรื่องชอบ หรือไม่ชอบ มันยอมรับ คือจะเห็นเป็นธรรมะที่จะพ้นทุกข์ ได้ พิจารณาอย่างนี้ก็มี แล้วก็ปฏิบัติอย่างนี้ก็จะเห็นทางพ้นทุกข์คือ อริยสัจที่ ๔ สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ไม่ใช่ทิฏฐิมานะ มิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิ มานะ โอ้ ไม่ชอบคนนั้น สามเณรที่พูดอย่างนั้นก็ไม่ดี ทำให้เรารู้สึกไม่สบาย ใจ และรำคาญ วัดของเราคงเรียนลำบาก สอนยาก บ่นกันบ้าง ทะเลาะกันบ้างตาม นิสัย เป็นตัวเป็นตน


แต่ถ้าเราไม่ได้ตามนิสัยตัวตนแล้วอยู่ กับรู้ปัจจุบัน เสียงสงัดเป็นอย่างนี้ ทรงไว้อยู่แล้วก็จะพิจารณาตัวตนเป็น อย่างไร สิ่งที่เราไม่ชอบ สิ่งที่ทำให้มีอารมณ์รังเกียจ เราก็รับรู้ได้ด้วย ปัญญา คือจะเห็นเป็นสังขารเกิดขึ้นดับไปได้ เห็นความเกิดเห็นความดับของ สังขาร แล้วก็รู้จิตว่างเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่ว่างเปล่าสูญเปล่า ไม่ใช่แบบ เวลาตาย เป็นเรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ตัวตนเราก็ รู้มีตัวตนเป็นอย่างนี้ ไม่มีตัวตนเป็นอย่างนี้ รู้ทั้งสอง รับรู้ตัวตน และ ก็ไม่มีตัวตน มีความสงบเป็นผล ความสงบความสงัด


ถ้ามีตัวตน แล้วก็ยึดถือตัวตนที่เกิดขึ้น ตามอารมณ์นั้นเรื่อยๆ ก็มีความสุข ความ ทุกข์ ดีใจ เสียใจตลอด เราก็จะเป็นแบบนั้น เป็นคนที่สรรเสริญก็สุข นินทาก็ เป็นทุกข์ สิ่งแวดล้อมมันบังคับให้เราตามอารมณ์ ทำให้เรากลัวทุกสิ่ง ทุกอย่างที่เราควบคุมบังคับตามความเห็นของตนเองไม่ได้ ถ้าหากว่าเราเห็นด้วย สติปัญญา สติสัมปชัญญะอย่างนี้ ก็จะเห็นทางพ้นทุกข์คือปัจจุบัน


เดี๋ยวนี้ เสียงเครื่องแอร์มันก็หยุด แต่ยังมีเสียงสงัดอยู่ มันอยู่ลับๆ เบื้อง หลัง มันคล้ายๆ กับเสียงไฟฟ้า เราก็กำหนดรู้ กำหนดรู้เป็นเสียงจริงๆ ความ จริงเสียงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไป อย่างในประสบการณ์ของอาตมาเอง บางทีสติ เกิดมาก็ไม่รู้ ตอนนี้เป็นเรื่องสติ จำได้ระลึกถึงเสียงสงัดมันมีอยู่ ตลอด มันทำให้เรามีสติมากขึ้นที่จะพิจารณาอริยสัจ ๔ จนไม่สงสัยเรื่องเหล่า นี้ ไม่ได้เป็นเรื่องความคิดนึกความเห็นของบุคคล ตัวตน เพื่อจะชี้ไปถึง ธรรมดาธรรมชาติ เหมือนพระพุทธเจ้าเวลาสอนปัญจวัคคีย์ ท่านก็แนะนำสิ่งที่ ธรรมดาที่สุดในชีวิตของมนุษย์คือความทุกข์


ความทุกข์เป็น สิ่งธรรมดา ทุกคน พระเจ้าแผ่นดินในหลวงก็มีความทุกข์ ราชินี ควีนอลิซา เบธ ที่อังกฤษมีความทุกข์ คนมียศสูงๆ มีความทุกข์ คนยากจนก็เป็นทุกข์ คนร่ำ รวยก็มีความทุกข์มาก ไปที่ไหน ประเทศอังกฤษ ประเทศไทย ประเทศอเมริกา ก็ ทุกข์เป็นธรรมดาของสัตว์มนุษย์ทุกคน อาฟริกา ที่ไหนก็เหมือนกัน


ความทุกข์ที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้เป็นอริยสัจที่ ๑ เอาสิ่งที่เป็นธรรมดา มาเป็น พระอริยสัจ เพื่อเป็นสิ่งที่จะเห็นได้ง่าย ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ละเอียดละออที่ เราจะต้องภาวนามากๆ จึงจะเห็นได้ ต้องควบคุมสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีอะไรมารบก วน นี่ก็อาศัยแต่ความละเอียดเป็นหลัก ทุกคนเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ อยู่ใน ปราสาทที่สวยงาม อยู่ในสวรรค์ ไม่ต้องพูดถึงนรก บางทีเราก็อยู่ที่สวยงาม มาก ที่อังกฤษ วัดจิตตวิเวกสวยมาก เวลาอยู่วัดจิตตวิเวก วันหนึ่งกำลังนั่ง ก่อนที่จะฉันอาหารบิณฑบาต เราเคย ซ่อมแซมห้องหนึ่งที่เป็นที่รวมผู้ปฏิบัติ และจะฉันอาหารที่นั้นด้วย ห้อง นั้นเคยซ่อมแซม และประดับให้มันสวย แล้วก็มีอากาศดีมาก และมีแสงจากภายนอกมา เข้าห้องนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างก็สวย มีลักษณะแบบสวรรค์จริงๆ มองดูมีพระพุทธ รูปสวยงาม สง่าจริงๆ ทุกสิ่งทุกอย่างในวันนั้น คิดอะไรก็ ไม่มีความทุกข์ เกิดขึ้น เราก็มีสันโดษมีความสุขใจ มีสันโดษ เห็นอะไรก็เห็นสวยนะ มองดูลูก ศิษย์ที่กำลังนั่ง บางองค์ก็เหมือนกับมีความทุกข์มาก เห็นแม่ชีบาง คน เหมือนกับไม่เคยสังเกต พอสิ่งที่ดีที่สวยงามในปัจจุบันก็หลงแต่ความคิดของตนเอง


แต่สิ่งแวดล้อมสมัยนั้นทุกสิ่งทุกอย่างกำลังจะ ดีขึ้น ในการเป็นพระในการเป็นสมณะในประเทศอังกฤษ แต่ถ้าเราหลงอารมณ์ใน ใจ อยู่ในที่สวยงามที่สุดแล้ว ก็หลงแต่ความคิดที่รังเกียจ เกลียดชัง อิจฉา พยาบาทอะไร ก็เป็นนรกแล้ว เราไม่เห็นความสวยงาม เราจะยุ่งกับความไม่สบาย ใจ เราจะหลงอารมณ์นั้นได้



แต่ถ้าหากว่าเรารู้จิตว่างจาก ตัวตนแล้ว เราอยู่ที่ไหน ก็ได้ เพราะความว่างเป็นความสงบ เป็นสันติภาพ เป็น ทางพ้นทุกข์ แล้วเราจะรู้เราไม่ได้เป็นสังขารแล้ว ไม่ต้องกลัวอะไรต่อไป พ้น จากความกลัว ไม่ผ่อนคลาย


พิจารณาสิ่งที่ได้ยินในวันนี้เพื่อ จะเพิ่มศรัทธาและวิริยะให้มีความพากเพียรในการปฏิบัติต่อไป และพิจารณามีอีก หลายวันเพื่อที่จะเห็นทางพ้นทุกข์ และขอให้พยายามสังเกตกำหนดเสียงสงัดเพื่อ จะทดลองดู ได้ผลอย่างไร ถ้าไม่สังเกตไม่กำหนดก็ไม่เป็นไรนะ อย่าไปโทษตัว เอง พิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อิริยาบถ ๔ นี่ก็ดีแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๔

วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๗


วันนี้เป็นวันที่ ๔ ที่เรากำลังพิจารณาธรรมะ และทำความเพียร รักษากาย วาจา และจิต ใจ ตามความสามารถ ของเรา นี่ก็เป็นบุญเป็นกุศล คนที่มีความสนใจ ตั้งใจที่จะ ปฏิบัติเป็นส่วนน้อย ส่วนมากก็ยังไม่เห็นประโยชน์ ภาวนา คำศัพท์ภาวนาเป็นคำ ศัพท์ที่พิจารณา เพราะเราใช้เพื่อจะแปลภาษาอังกฤษ meditation และคำ ศัพท์ meditation นี้ก็ไม่ลึกซึ้งเหมือนภาวนา


ภาวนาเป็น เรื่องทางพ้นทุกข์ เห็นอริยสัจที่ ๑ อริยสัจที่ได้ญาณ อริยสัจที่ ๒ อริยสัจ ที่ ๓ ความดับทุกข์ ญาณก็เกิดขึ้น นี่เป็นภาวนาจริงๆ ที่พิจารณา ธรรมะ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ ตน ทาน ศีล ภาวนา เหมือนที่เราเคยพูด ทาน ศีล เป็นวิธีที่จะรักษาตัวให้อยู่ ในโลกด้วยความสบายใจ เจริญทางโลกให้มีความสุขความสามารถ ไม่สร้างความยุ่ง ยากทางโลก ถ้าเราพูดว่าสำเร็จทางโลก ไม่พูดถึงคนที่ร่ำรวย ได้เงินมากๆ ได้ อำนาจมากอิทธิพลทางการบ้านการเมือง เศรษฐกิจอะไรอย่างนี้ พูดถึงความสำเร็จ ทางโลกคือผู้มีความสุข มีความสบายใจ ผู้ถวายทานทำบุญ รักษาศีล นี่ก็เป็นคน สำคัญทางโลกียธรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคม และพระศาสนาด้วย


ทุกวันนี้คนนิยมคนที่ร่ำรวยมาก มีอะไรมากๆ นี่ก็ทำให้เราอัศจรรย์มาก เห็นคนที่ ได้มากๆ เป็นคนสำเร็จทางโลก ความจริงเราไม่เคยคิดเป็นเรื่องทรัพย์สมบัติ นะ คิดเป็นเรื่องธรรมะ และความสามารถจะอยู่ในโลกด้วยใจดี ด้วยมีแต่กรุณาและ รักษาศีล


และเพื่อจะพ้นโลก ภาวนา เป็นทางที่จะพ้นโลกได้ ที่ จะพ้นโลกก็ต้องรู้โลกเป็นโลก ที่อาตมากล่าวร่ำไปเรื่องเห็นสังขารเป็น สังขาร เห็นโลกเป็นโลก เป็นโลกวิทู เป็นชื่อพระพุทธเจ้าอันหนึ่ง ผู้รู้โลก อย่างแจ่มแจ้ง แล้วก็พิจารณาในโลกียธรรม เรื่องสังขาร มันเป็นทางที่ดีถ้า เราทำดี ละความชั่ว ทำบุญ รักษาศีล สร้างประโยชน์ในสังคม ไม่เห็นแก่ตัว มี หิริโอตตัปปะที่จะอยู่ในสังคมและไม่อวดตัว ไม่รำคาญคนอื่น นี่ก็เป็นผู้ สำเร็จทางโลก


โลกุตตระ อยู่เหนือโลก ไม่ใช่จรวดไปสู่ อวกาศข้างนอก ไปสู่โลกพระจันทร์ โลกุตตระอยู่ในโลก ให้เรารู้โลกเป็น โลก แล้วก็รู้ธรรมะ รู้อมตะ รู้นิพพาน รู้ปล่อยวาง รู้อนัตตา คำศัพท์เหล่า นี้อนัตตา นิพพาน อมตธรรม อสังขตธรรม คำศัพท์เหล่านี้ มันเป็นคำศัพท์ เฉยๆ แต่มันชี้ไปถึงสิ่งที่เราจะรับรู้ เห็นด้วยสติปัญญาในปัจจุบัน ไม่ได้ เป็นสิ่งใดที่เป็นรูปร่างที่จะจับได้ ญาณหยั่งรู้เป็นความสามารถของเราที่จะ พิจารณา เพื่อจะเห็นอมตะรู้อมตะ และเห็นอริยสัจที่ ๔ ได้ เกิดสัมมา ทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป ปัญญาเกิดขึ้นอบรมเราได้


หลวงพ่อชาก็ สอนว่า สุเมโธ อย่าได้อบรมตัวเองด้วยอวิชชา ถือตัวถือตน อย่าไปหลงสิ่งเหล่า นี้ ให้อบรมตัวด้วยปัญญา เอาปัญญามาเป็นความสามารถของเราที่จะอบรมที่จะสอน ตัวตน ความเป็นตัวเป็นตน มีตัวตน สักกายทิฏฐิ มันเกิดขึ้นจากอวิชชา อวิชชา ปัจจยาสังขาร สังขารปัจจยาวิญญาณ อย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทจะพิจารณาถึงที่สุด ว่า ถ้ามีอวิชชา ก็มีแต่ความทุกข์เป็นผลของอวิชชา เหมือนกับถ้ามีเกิด ก็มี ตาย ร่างกายของเราเกิด ต่อไปข้างหน้าจะตาย เกิดเป็นเหตุให้มีความตาย เกิด เป็นเหตุตายเป็นผล อวิชชาเป็นเหตุให้ทุกข์เป็นผล อวิชชาคือไม่รู้อริยสัจ ๔


เวลาเราพูดพระอรหันต์เป็นยังไง พระอรหันต์ตามหลักธรรม เป็นผู้รู้อริยสัจ ๔ มี ความหยั่งรู้ มีญาณ ๑๒ อย่าง รู้ทุกข์มีอยู่ มีญาณเรื่องควรจะเข้าใจ และ เข้าใจแล้ว ๓ ตอนนี้ แล้วพระอรหันต์ก็รู้ด้วยญาณ มีญาณทัศนะ รู้เหตุเกิด ทุกข์มีอยู่ รู้ควรจะปล่อยวางเหตุให้เกิดทุกข์ ปฏิบัติ ปล่อยวาง และก็รู้ผล แห่งการปล่อยวางแล้ว ปล่อยวางแล้ว ทำแล้ว


แล้วก็อริยสัจ ที่ ๓ ความดับทุกข์มีอยู่ นิโรธสัจ แล้วญาณรู้ก็เกิดขึ้น เรื่องควรจะทำให้ แจ้ง ปฏิบัติให้ความดับทุกข์แจ้ง ทำให้แจ้งทำให้รู้จริงๆ ตลอดไป ทำแล้ว ปฏิบัติทำให้แจ้งแล้ว ผลคือเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว แล้วก็อริยสัจที่ ๔ คือ มรรค ๘ ทางพ้นทุกข์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมัน โต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นเรื่องปัญญา ปัญญาเกิดขึ้น อบรมเราเรื่อยๆ ทำให้ เรารู้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงและ สังขารเป็นยังไง ละเอียดหรือหยาบ สำคัญ หรือไม่สำคัญ ดีชั่วมีลักษณะอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป พิจารณา อย่างนี้จนไม่สงสัยเรื่องสังขาร ไม่หลงสังขาร บางทีเรารู้โดยสมองเฉยๆ นี่ ไม่ได้เป็นปัญญานะ เป็นความฉลาดที่จะเข้าใจคำศัพท์ ทฤษฎีตามความคิดเห็น ที่ จะพิสูจน์ที่จะเห็นด้วยปัญญาก็ต้องปฏิบัติ นี่เป็นภาวนา


ภาวนา มรรคมีองค์ ๘ มีอยู่ ทางพ้นทุกข์มีอยู่ พระอรหันต์ก็รู้ ควรจะภาวนา คำศัพท์ ภาวนาเป็นญาณที่เกิดขึ้น ควรจะภาวนา สุดท้ายอรหันต์ก็ได้ผลในการภาวนา นี่ เป็นญาณ ๑๒ ญาณที่พระอรหันต์เห็น รู้ด้วยตนเอง ห่างจากความสงสัยตัวตนในสิ่ง ที่หลอกลวงได้ พิจารณาอริยสัจ ๔ อย่างนี้ นี่ก็เป็นคำสอนที่พระพุทธเจ้าสอน เป็นครั้งแรก สอนลูกศิษย์ ปัญจวัคคีย์ ก็สอนอริยสัจ ๔ คำสอนอย่างนี้ก็ สมบูรณ์แล้ว ถ้าเราปฏิบัติ ถ้าเราภาวนา พิจารณาอริยสัจ ๔ อย่างนี้ คงจะไม่ ต้องมีอะไรมากนอกจากนั้น นี่เป็นคำสอนอย่างสมบูรณ์ ที่จะพิสูจน์ได้ เห็นทาง พ้นทุกข์ได้ด้วยตนเอง


นี่ไม่ได้ เป็น Doctrine หรือ Dogma ข้อบังคับให้เชื่อ แต่เป็น อริยสัจ Noble Truth ความจริงที่เราจะพิสูจน์ เพื่อจะเห็น ถ้าจำความหมาย เฉยๆ ก็พ้นทุกข์ไม่ได้เหมือนกัน สัมมาทิฏฐิคืออะไร มีทิฏฐิอะไร เราควรคิด อะไรที่จะเป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่ได้เป็นเรื่องความคิด สัมมาทิฏฐิคือความเห็น ชอบ ความสามารถของเราที่จะรู้ทางพ้นทุกข์ คือจิตว่าง ไม่ยึดมั่นถือมั่น


ความมุ่งหมายที่เกิดจากปัญญาอย่างนี้ คือทำให้เราจะรักษาวาจา การกระทำของเราใน ทางโลก เป็นผู้รักษาศีล ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลปาติโมกข์ ก็รักษาด้วยสติ ปัญญา รักษาวาจา รักษาการทำงานอาชีพของเราให้ถูกต้อง เราไม่อยากสร้างความ วุ่นวายในสังคม หรือทำให้คนอื่นสงสัยอะไร เราอยู่ด้วยปัญญากับศีล แล้วสมาธิ ก็มี สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


สัมมาวายา โม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นเรื่องจิต มันมีอุเบกขาเป็นอันหนึ่งแล้ว ไม่มี สงครามภายใน เมื่อเราพิจารณาจิตใจของตนเองแล้วเช่นอาตมาเอง สมัยก่อนก็มี สงครามอยู่ในจิตใจของตนเองมาก มันมีแต่ความรู้ทางโลก ก็มีเหตุผล มีความ คิดดีๆ มีความสามารถ มีความฉลาดพอสมควร รู้สิ่งที่ควรจะเป็น และไม่ควร รู้ ดีชั่ว รู้สิ่งที่ควร สมควรเหมาะสม รู้สิ่งที่ไม่ดี ไม่สมควร รู้มันเป็น อย่างนั้น รู้ดีชั่ว ถูกต้อง และผิด เรารู้อย่างนี้มา


นี่ก็เป็นความฉลาดในใจของเรา และมีอารมณ์เกิดขึ้นด้วย เวลามีอารมณ์แบบหงุด หงิด สงสัย สงสารตัวเอง มีความเห็นแก่ตัว มีความน้อยใจ มีความอิจฉา พยาบาท อะไรอย่างนี้ สิ่งที่เฉลียวฉลาดในใจของอาตมาก็รู้ อิจฉาก็ไม่ดีนะ อิจฉาก็ ไม่สวย คนอิจฉาก็ไม่ดีเลย ความฉลาดในใจของอาตมาเองก็รังเกียจ ความอิจฉาเวลา มันเกิดขึ้น ก็มีสงครามนะ อารมณ์อิจฉามันเกิดขึ้น สมองบอกว่าไม่ดีนะ สุเมโธ ไม่ควรจะเป็นคนมีอารมณ์อย่างนี้ แล้วก็ดูถูกและทำให้เรามีอารมณ์รังเกียจ อารมณ์นี้ จนอยากจะไม่ให้มี บังคับไม่ให้มี


พยายามให้ความฉลาดมันบังคับอารมณ์ที่เกิดขึ้น อารมณ์ไม่ฉลาดเท่าไหร่ อารมณ์ก็เป็นอย่าง นั้น ไม่มีความฉลาด มันมีความรู้สึกอย่างมาก มีอารมณ์อิจฉา มันก็ รู้ มันเป็นอย่างนี้ ก็เป็นทุกข์ด้วย


ความฉลาดในใจของตนเอง ก็รังเกียจอารมณ์อย่างนี้ อยากทำลายอารมณ์ไม่ให้มี พยายามจะไม่ให้มีก็ยิ่ง เป็นปัญหา บังคับไม่ให้มี กดดันอารมณ์นั้น รังเกียจอารมณ์ ต่อสู้กับอารมณ์ นั้น ทำให้อารมณ์นั้นมันมากขึ้น เราก็พอใจด้วย พยายามไม่ให้เป็นอย่าง นั้น จะทำอะไร ก็ยิ่งพยายามไม่ให้เป็น ยิ่งเป็นปัญหาอีก นี่เป็นเรื่องเกิด จากอวิชชา ความฉลาดที่จะรู้ว่า อารมณ์อิจฉาไม่ดี ไม่ใช่เหตุผล ถ้าเรามี อิจฉาในใจ เราเป็นคนอิจฉา คนอิจฉาเป็นคนไม่ดีเท่าไหร่ เราก็สร้างเป็น สัตว์ บุคคล เป็นคนไม่ดี เพราะมีอารมณ์อย่างนั้น อารมณ์ไม่ดี แล้วก็มีสร้าง เป็นทุกข์ ดูหมิ่นตัวเอง รังเกียจตัวเอง


แต่เราพิจารณา สงครามที่มีอยู่ในใจ เรื่องอารมณ์ที่เกิดขึ้น เป็นความโลภ ความโกรธ ความ หลง เป็นอิจฉา เป็นความกลัว เป็นอย่างไร ให้เรารู้เป็นอารมณ์ เป็นผู้ รู้อารมณ์เป็นอารมณ์ ไม่ใช่พูดเรื่องอารมณ์ดีหรือไม่ดี หลวงพ่อชาก็สอนอย่าง นี้มาก ให้เรารู้เป็นผู้รู้ ไม่ได้เป็นผู้บอกในเรื่องดีหรือชั่ว เราเป็นพระ ที่มีความมุ่งหมายจะรักษาวินัยด้วย มีอิจฉาก็ไม่ควรจะพูดตามอารมณ์นี้ เลยจะ ทำตามอารมณ์ และเราจะรับรู้อารมณ์ เป็นผู้รู้อารมณ์เป็นอารมณ์ ว่าอารมณ์ นั้น อิจฉาก็เป็นสังขารเกิดขึ้นดับไป


ที่จะเห็นอย่างนี้ก็ ต้องอดทนต่ออารมณ์นั้น เวลาเราพูดถึงเสียงสงัด เหมือนเดี๋ยวนี้ก็มีแต่เสียง เครื่องแอร์ ถึงวันนั้นก็มีแต่เสียงสงัด ถ้าเราอยู่กับความว่าง ว่างก็มีจะ รับทุกสิ่งทุกอย่างได้ ความว่างก็ไม่เลือก ความว่างจะรับอิจฉาพยาบาท แล้วก็ จะรับอารมณ์ที่รังเกียจอิจฉาพยาบาทด้วย และรับความฉลาดที่มีอยู่ในใจ และ อารมณ์ที่ไม่ฉลาดก็รับทั้งสอง ไม่เลือก ไม่รัก ไม่รังเกียจ


ความว่างจะเป็นอย่างนั้น แต่เราอยู่กับความว่าง ผู้รู้ รู้มันเป็นอย่างนี้ แล้ว ก็ยอมรับว่ามี อันนั้นมี ๒ ฝ่ายที่ต่อสู้กัน และมีความฉลาดที่บอกอิจฉาไม่ ดี จะมีอารมณ์อิจฉาที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้าเราจะชนะไม่ให้มี เป็นไปไม่ ได้ เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้ ให้เห็นอย่างนี้ สงครามก็จะหยุดได้ เพราะความ ว่างมีความสามารถจะรับทั้งสอง ดี ชั่ว มีช่องว่างใหญ่โตที่จะรับทุกสิ่ง ทุกอย่าง สังขารทั้งหลายที่จะเห็นเป็นอนิจจังได้ ไม่ได้พูดว่า ความฉลาดใน สมองดีกว่าอารมณ์อิจฉาพยาบาท นี่ก็เป็นเรื่องตามสังขาร เพราะถ้าเราชอบความ ฉลาด ความเฉลียวฉลาด มีเหตุผล เราใช้ความฉลาดเพื่อจะสนใจเป็นนักศึกษา และ เราอยากจะเป็นคนฉลาดด้วย เราชอบความฉลาดของตนเอง แต่อารมณ์ เป็น Emotion เป็นความสะเทือนใจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ไม่ฉลาด แต่มันมี อยู่ ความว่างก็รับทุกสิ่งทุกอย่างได้ทันที



ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ก็อดทนต่ออารมณ์ และไม่เชื่อความฉลาดที่กำลังพูดดังๆ เรารับ รู้มันเป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เราจะพิจารณาอย่างนี้ได้ ความ คิดที่เกิดจากทฤษฎี อยากรู้ตรงเสียที ควรจะเป็นพระเถระ เจ้าคุณไม่ควรจะมี อารมณ์อิจฉา นี่เป็นความคิดที่เกิดจากอุดมคติ พระดีๆ ก็ไม่มีอาการ อิจฉา แล้วก็อารมณ์อิจฉา เราก็มีความรู้สึกอย่างนี้ เราก็มีความเห็นความคิด ที่เกิดจากอารมณ์นั้น บางทีไม่ฉลาดเลย บางทีก็เหมือนกับเป็นเด็ก เราเป็น เด็กน้อยก็ได้ มีอารมณ์เหมือนกับเป็นเด็กน้อย เห็นแก่ตัวได้ น้อยใจก็ ได้ แล้วก็อยากจะพยาบาทด้วย บางทีก็อยากจะทำให้คนนั้นมีความทุกข์เหมือนกัน


แต่ผู้รู้ก็รู้ทั้ง ๒ ฝ่ายนี้ก็เป็นอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง แล้วก็ ปล่อยให้เป็นอย่างนั้น มันจะดับไปเอง ไม่ได้สร้างสงคราม ไม่ได้ปรุงแต่งให้ มันมากกว่านั้น เพราะญาณเกิดขึ้น มีญาณหยั่งรู้ รู้โดยเราเห็นตัวจริง เวลา ดับไปแล้ว มีความสงบ เป็นสิ่งธรรมดา เป็นธรรมชาติ ไม่ได้เป็นสงบที่อาศัย สิ่งแวดล้อมสงบไป หมาจะเห่าได้ และก็มีเสียงดัง มีคนกำลัง หลับ แล้วกรน เสียงกรนก็มี ทำอะไรอย่างนี้ ไม่ได้เป็นสิ่งที่จะทำลายความ สงบอย่างนี้ ความสงบเป็นธรรมชาติมีอยู่แล้วเดี๋ยวนี้ถ้าเรารับรู้ ถ้าเรามี สติ แล้วก็สังเกตธรรมชาติอย่างที่เราไม่เคยสังเกต


เมื่อคืนนี้ก็พูดถึงสามเณรที่โกรธอาตมาด้วยนะ นี่ก็เหมือนกัน ให้อยู่กับความ ว่าง สามเณรจะพูดอย่างไร ด่าอย่างไร แสดงอารมณ์อย่างไร ความว่างก็รับ ได้ ไม่ได้เป็นบุคคล ไม่ได้เป็นสุเมโธ ไม่ได้เป็นมหาเถระ ไม่ได้เป็น อะไร รับอะไรก็ได้นะ ความว่างก็มีความสามารถรับทุกอย่าง ดีชั่วได้ สามเณรก็ พูดแสดงอารมณ์รังเกียจ เราก็รับได้ แล้วก็นิสัยสันดานมันเกิดขึ้น มี ปฏิกิริยาทางจิตด้วย


บางทีอารมณ์มันเกิดขึ้น “จริงนะ สามเณร องค์นั้นพูดไม่ถูก มันผิด ไม่เคยเป็นอย่างนั้น” แต่เราไม่พูดตามอารมณ์ ก็ รับอารมณ์ที่เป็นปฏิกิริยานั้นเป็นวิบากกรรมของอาตมาเอง ความว่างก็รับทุก สิ่งทุกอย่าง รับคำด่าของสามเณร รับปฏิกิริยาของสุเมโธ เพราะเราอยู่กับ ว่าง ไม่ได้อยู่กับอารมณ์ และมีศรัทธามีความตั้งใจจะอยู่กับจิตว่าง ไม่ได้ อยู่กับสังขาร เป็นที่พึ่งของเรา พิจารณาอย่างนี้ก็จะเห็นทางพ้นทุกข์ได้

สมัยก่อนอาตมาก็กลัวความโกรธของตนเองมาก เราก็ไม่อยากเป็นคนขี้โกรธเลย เวลาเป็น เด็ก พ่อแม่เป็นคนที่บอกว่าโกรธไม่ดีเลย ถ้าเป็นเด็กที่โกรธ ก็เป็นเด็กไม่ ดี ต้องเป็นเด็กดีๆ อย่าให้โกรธ ถ้าเราโกรธ พ่อแม่ก็บอกว่าไม่ดี เราก็ รู้สึกเราเป็นเด็กไม่ค่อยดีเท่าไหร่ อารมณ์โกรธ


เราไม่กล้า แสดงอารมณ์โกรธ เราต้องโกรธที่อื่น ไม่กล้าโกรธเวลาแม่อยู่หรือพ่ออยู่ เรา ไม่กล้าแสดงอารมณ์ เราต้องแสดงที่อื่น โตแล้วก็มีนิสัยแบบนั้นก็กลัวอาการ โกรธ โมโหของตนเองมาก เป็นสิ่งที่พ่อแม่ไม่อนุญาต เราเคยกดดันไว้ ตลอด กดดันถึงที่สุดแล้ว ทำให้สิ่งเล็กน้อยก็จะ ระเบิดได้


ผมก็ปิดประตูปังแล้วก็โกรธใหญ่นะ เพราะเป็นสิ่งที่กดดันนานแล้ว ที่สุดก็จะกด ดันอีกไม่ได้ ก็จะเป็นระเบิด เป็น Bomb จริงๆ เรากลัวอย่างนี้มาก กลัว สถานการณ์ที่จะทำให้มีอารมณ์โกรธง่าย ทำให้เรากลัวคนมาก ทำให้เราขี้ ขลาด ไม่กล้าไปหลายแห่ง หรือพบคนหลายคน กลัวอารมณ์จะเกิดขึ้น ที่คุมไม่ ได้ จะทำอย่างไร ถ้ามีอาการอย่างนี้


บวชแล้วอยู่กับหลวงพ่อชา ท่านก็แนะนำว่า สุเมโธไม่มีความอดทน ขันติบารมีไม่เพียงพอ ต้องสร้าง ขันติบารมีมากๆ และเราก็เห็นด้วย ขันติสมัยนั้นไม่ค่อยมีเท่าไหร่ โกรธ ง่าย แต่เราไม่เคยแสดงอารมณ์ จะเก็บไว้ หลวงพ่อก็รู้ เวลาเราโกรธและไม่ แสดง ท่านก็รับรู้จิตของลูกศิษย์ ท่านก็อบรมให้เราพิจารณาอารมณ์นี้ เวลา เป็นเจ้าอาวาส รับผิดชอบ เป็นเจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ ต้องอยู่กับพระ สงฆ์ ต้องเป็น ผู้ใหญ่ เป็นพระมหาเถระ เป็นพระเถระอย่างนี้ก็ต้อง รับผิด ชอบหลายสิ่งหลายอย่าง แล้วก็ต้องอยู่กับพระ บางทีเราจะมีอารมณ์โกรธเกิดขึ้น ได้ เราจะทำหน้าที่เป็นอาจารย์อย่างไร เป็นเจ้าอาวาสเป็นอุปัชฌาย์อย่าง ไร ถ้าเราเป็นอย่างนั้น นี่ก็สำคัญจะแก้ปัญหาอย่างนี้ เพื่อจะไม่ให้เป็นคน ที่ตามอารมณ์หรือกดดันหรือกลัวอารมณ์นั้น


ตอนนั้นอาตมา ตั้งใจจะศึกษาและพิจารณาความโกรธจนไม่ได้เป็นปัญหา เพื่อจะได้เห็นความโกรธ โมโห ความรังเกียจอะไรอย่างนี้ จะสอนเรา เราจะเห็นด้วยปัญญา และเมื่อ มีเกิดขึ้น พิจารณาแล้วก็พิจารณาด้วยจิตว่างด้วย ให้รับรู้เวลามี อารมณ์โกรธก็รับอารมณ์นั้น แล้วแสดงความยินดีต้อนรับด้วย และมีอารมณ์โกรธก็ กลัวมาก แล้วก็กดดัน ทันที เราเปลี่ยนให้ยอมรับ เวลาสิ่งที่แวดล้อมเหตุ ปัจจัยในปัจจุบันทำให้อารมณ์โกรธเกิดขึ้นและรับรู้ แต่เราก็ยอมรับด้วยความ ยินดี บอกว่า Welcome ยินดีต้อนรับ


นี่เป็นอุบาย เพราะมันช่วยให้เราจะรับสิ่งที่สมัยก่อนเราไม่ยอมรับเลย Welcome ภาษา อังกฤษ Welcome อารมณ์นั้นเราก็จะทน สมัยก่อนเราไม่เคยอดทนต่ออารมณ์ นั้น เราอยากทำลายไม่ให้มีไม่ให้เห็น เราต้องเปลี่ยนโอกาสที่จะรับรู้ โกรธ เป็นอย่างนี้ เป็นอาจารย์โกรธกำลังสอนเรา เป็นสิ่งที่สำคัญที่จะรู้ ความ โกรธเป็นอย่างไร


ถ้าเราบอกว่าไม่ดีเฉยๆ เราก็คงจะเข้า ใจ โกรธมันเกิดอย่างไร มันเป็นอย่างไร เราศึกษาพิจารณาอดทนต่ออารมณ์นั้น ด้วยความว่าง จิตว่าง ยอมรับ และอดทนต่ออารมณ์นั้น ความโกรธมันจะดับเอง เรา ไม่ได้กดดันไว้ ไม่ได้ทำลายอารมณ์ เราก็รับรู้อดทนต่ออารมณ์นั้น ถึงเวลาก็ ดับไป เห็นว่าเป็นความดับทุกข์ เห็นเป็นนิโรธสัจ ความโกรธก็สอนเรื่องนิโรธ ด้วย เป็นอาจารย์ที่สอนดี ที่ทำให้เรายืนหยัดและเห็นนิโรธสัจได้


พิจารณา อย่างนี้ และพยายามเวลาอยู่กับพระสงฆ์ และสังคมในชีวิตประจำวันให้สถานการณ์ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นโอกาสดีที่จะปฏิบัติทาง สายกลาง อริยสัจที่ ๔ มัชฌิมาปฏิปทา


ก็ต้องใช้อุบาย แบบ Welcome ยินดีต้อนรับ ถ้าเป็นคนที่กลัวอารมณ์นั้น ไม่เคยมีความยินดี ต้อนรับสมัยก่อนนะ เพราะนิสัยสันดานเป็นแบบไม่ให้ ไม่เอา รังเกียจ กลัว และ เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นปฏิกิริยาที่คุ้นเคยแล้วไม่อยากเห็นไม่อยากรู้สิ่ง เหล่านี้ต้องเปลี่ยนให้ยินดีต้อนรับได้ ก็เป็นอุบายเพื่อจะช่วยให้เรารับ สิ่งที่สมัยก่อนเราไม่ยอมรับ


รับแล้วเห็นความโกรธก็ไม่กลัว แล้ว ไม่ต้องกลัวความโกรธ ได้เห็นเป็นสังขารเห็นเป็นอนัตตาด้วย ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนเห็นด้วยปัญญา และมีญาณเกิดขึ้นที่จะรู้แน่นอน


และ พยายามในชีวิตของเราที่จะรับคำด่า คำไม่ดี เป็นอย่างไรก็ยอมรับได้ ไม่ กลัว สมัยก่อนก็กลัวความเห็นของคนอื่นมาก แบบคนที่เห็นความผิดของเรา บางที ก็พระหรือแม่ชี หรือฆราวาสก็อยากจะพูดบอกว่า นี่ เราสงสัยเรื่องอาจารย์ สุ เมโธอย่างนี้อย่างนั้น แล้วก็พูดแบบ criticize แบบจับความผิดในสิ่งที่สงสัย เรื่องสิ่งที่เราพูดหรือเรากระทำ


สมัยก่อนเรากลัวอย่างนี้ มาก คนที่จะบอกจะพูดเรื่องสิ่งที่ไม่ดีของเรา ไม่อยากจะฟัง กลัวมาก และเวลา คนอื่นพูดอย่างนั้น ก็มีปฏิกิริยาแบบอยากจะหนี ไม่อยากฟัง และอยากจะทำให้คน นั้นออกไป อยากจะไล่ออก อยากจะถูกไล่ออก คนนั้น ที่จะว่าที่จะด่าที่จะพูด ความจริง ที่จะ criticize แต่ก็ไม่มีใครกล้าทำ ถ้าเราไม่ยอมรับและเรากลัว ด้วย


แต่เราเห็นนะ ถ้าเป็นอย่างนี้ เราจะเป็นอาจารย์ อย่างไร จะเป็นเจ้าอาวาสอย่างไร จะเป็นอุปัชฌาย์อย่างไร ถ้ามีนิสัยอย่าง นั้นที่เราตามเลย คงจะไม่สร้างประโยชน์กับลูกศิษย์นะ เราไม่เปิดโอกาสเปิด จิตไว้ให้พูดกันตรงได้ ที่จะเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แต่เราเห็นสิ่งที่ บกพร่องในการกระทำในความคิดของเราด้วย แล้วก็ตั้งใจให้ใช้โอกาส เวลาคนอยาก จะพูดกัน พูดความจริง พูดอะไรที่เราไม่อยากฟัง เราก็ยอมรับยินดีต้อนรับ เหมือนกัน คนอื่นอยากพูดอย่างไร criticize เอาสิ่งที่ไม่ดีหรือผิดหรือ อะไร เราก็รับรู้ได้ ยอมรับ ยอมตั้งใจจะฟัง แล้วก็ศรัทธาเห็นว่าจริง อยู่ แล้วเราก็เปลี่ยนนิสัยหรือการกระทำของเราพอสมควรที่จะไม่ให้สร้างความ ยุ่งยากต่อพระสงฆ์ต่อไปได้ บางทีการกระทำของเรา เราไม่รู้ บางทีคนอื่น พระ อื่นที่อยู่ร่วมกันจะมีความคิดอย่างไร


ถ้าหากว่าเราอยู่ใน คณะสงฆ์เพื่อจะเป็นมิตรร่วมมือกันเพื่อจะช่วยกันให้เป็นสงฆ์จริงๆ ก็ต้องยอม รับความเห็นของคนอื่นของพระอื่นก็ได้ ฟังแล้วก็รับรู้นะ ปฏิกิริยาที่เกิด ขึ้น เราก็น้อยใจ ไม่สบายใจ รังเกียจ อยากต่อต้าน อยากด่าคนนั้น ให้รู้มี ปฏิกิริยารับรู้การพูดของพระองค์นั้นด้วย


ความว่างก็รับ รู้ทุกสิ่งทุกอย่างได้ในขณะเดียว คือพยายามอย่างนี้ก็ได้ผลด้วย ลูก ศิษย์ ชาวบ้าน ก็สงสัยอาตมาอย่างไรก็พูดได้ สมัยก่อนเรากลัว ไม่กล้าพูดตรง ได้ แต่เดี๋ยวนี้บางคนก็ยังกลัว แต่ไม่ตรง เราก็ถือเป็นโอกาสที่จะเข้าใจกัน ดีขึ้น บางทีก็อยู่ร่วมกันหลายปีแต่ยังไม่เข้าใจ ยังเข้า กันไม่ได้ ไม่เคย สร้างเป็นมิตรสหาย เพราะเราก็ไม่เคยเปิดโอกาสที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน และ ถ้าหากว่าเราอยู่กับความว่าง จิตว่างแล้ว ก็รับทุกคนได้


นี่เป็นทางที่จะพ้นทุกข์ การอยู่เป็นหมู่คณะ เป็นสงฆ์ เป็นสังคม เป็นครอบ ครัว เป็นอย่างไร เพื่อจะไม่ต้องออกไปเป็นฤาษีเพื่อจะมีความสงบ เดี๋ยวนี้ก็ ความอยากจะหนีจากสงฆ์ไปอยู่ในถ้ำ เหมือนสมัยก่อนอยากจะเป็นฤาษี อยากมีความ สงบ อยู่กับพระสงฆ์ไม่มีความสงบ พระก็มีปัญหาเรื่อยๆ สามเณรพ่อขาวแม่ชีอะไร ทุกคนก็ปัญหาเยอะแยะ แล้วก็อยู่เมืองนอก ก็มีอะไรเกิดขึ้นตามกฎหมาย ตามอะไร ทุกอย่างวุ่นวายกับโลกียะมากเกินไป อยากจะหนีไปอยู่ในถ้ำ อยู่คน เดียว สบาย เป็นฤาษีไม่ต้องยุ่งกับใคร


และก็เป็นนิสัยของคน ที่ยังไม่อยู่กับความว่าง ยังไม่เห็นจิตว่าง จิตว่างแล้วมันสงบ จิตว่างก็ เป็นความสงบอยู่ เป็นธรรมชาติด้วย คนที่ด่าเราก็ด่าได้ แต่มันก็ไม่ได้ทำลาย ความสงบ เราก็รับได้ รับทุกสิ่งทุกอย่างโดยจิตว่าง และก็ไม่ได้ทำลายความสงบ


ความสงบทำลายไม่ได้ เป็นอมตะ ไม่ได้เป็นความสงบที่อาศัยสิ่งแวดล้อม ความละเอียด ละออ ความไม่มีเสียงดังอะไรอย่างนี้ แล้วก็อยู่กับความสงบอย่างนี้ เราไม่ กลัวความวุ่นวายด้วย ความวุ่นวาย เสียงดัง สงครามอะไรเรา ก็ไม่กลัว เราก็ จะรู้บางทีเหตุปัจจัยก็เป็นอย่างนี้ มีสงคราม มีทะเลาะ มีอะไร ความวุ่นวาย เกิดขึ้น เป็นเรื่องสังขารที่เราปฏิบัติเห็นสังขารเป็นสังขาร และก็มีความ สามารถจะระงับความทุกข์นั้นได้ เราจะทำได้ บางทีก็ไม่มีความสามารถจะ ระงับ แต่เราก็จะปล่อยให้เป็นได้ โดยไม่ทำลายความสงบ


นี่เป็นทางพ้นทุกข์ เพราะทุกข์เป็นเรื่องสังขารเท่านั้น แล้วก็ยึดถือ สังขาร เรื่องความยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากในพระพุทธศาสนา ไม่ มีศาสนาอื่นสอนอย่างชัดเจนอย่างพระพุทธเจ้าสอน บางทีท่านสอนเรื่องความยึด มั่นถือมั่น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความยึดมั่นถือมั่น อวิชชา สังขาร วิญญาณ ทำให้เป็นทุกข์ และวิญญาณเป็นธรรมชาติ มีวิญญาณแล้วก็เป็นธรรมดาธรรมชาติ อยู่แล้ว แต่ถ้าหากว่ามีอวิชชา ยังมีแต่ความยึดมั่นถือมั่น แต่เราไม่เคย สังเกตเป็นอะไร เราถือตัวถือตนเป็นความจริง อวิชชาปัจจยาสังขาร สังขารปัจ จยาวิญญาณ ทำให้วิญญาณมีความทุกข์อยู่ ในวิญญาณ ในปัจจุบันเป็นทุกข์ เพราะ อวิชชากับอุปาทาน


ถ้าหากว่าเราเห็นด้วยปัญญา อวิชชามัน ก็ดับไป ไม่มีอวิชชา ถ้าเรามีจิตว่าง มันเห็นวิชชาแล้ว มันเป็นทางพ้น ทุกข์ แล้วก็สังขารที่เกิดขึ้นดับไป เราก็เห็นด้วยปัญญา ไม่ได้เป็น ทุกข์ ไม่ได้ปรุงแต่งให้เป็นทุกข์ ไม่ได้เป็นของเรา ไม่ได้เป็นตัวตน ไม่ได้ เป็นอะไร และเป็นอย่างนั้น เรารับรู้นะ อิจฉาเป็น อย่างนี้ โกรธเป็นอย่าง นี้ โลภเป็นอย่างนี้ ถือตัวตนทิฏฐิมานะเป็นอย่างนี้ ให้เราอยู่กับรู้และ เห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นวิบากกรรมของเราในปัจจุบันเป็นอย่างไร เรารับรู้ ได้ เป็นทางสายกลาง เป็นอริยสัจที่ ๔


พิจารณาอย่างนี้ก็ ขอให้มีศรัทธาด้วยในการปฏิบัติของตนเอง เพื่อจะเห็นอย่างนี้ได้ สงครามภายใน ก็อย่าไปกลัว ผีก็ไม่กลัว ถ้ากลัวก็ยินดีต้อนรับด้วยนะ ผีทุกตัว ก็ Welcome ยินดีต้อนรับ ก็สนุกนะ


แล้วก็อดทนอารมณ์ที่หวั่น ไหว กลัวผีก็ยอมรับด้วยนะ ความว่างก็ไม่เลือก มีที่ว่างก็รับทุกสิ่ง ทุกอย่างเต็มที่เลย ไม่ต้องตัดออกอะไรเลย ให้ยอมรับ สังขารทั้งหลายไม่ เที่ยง ธรรมทั้งหลายไม่ได้เป็นตัวตน สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัม มา อนัตตา อันนี้ก็สวดทุกวัน มันลึกซึ้งมาก สองอย่างนี้เราพิจารณา เป็น ๓๘ ปีแล้วนะ พิสูจน์เพื่อจะใช้เวลาพิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ เที่ยง ธรรมทั้งหลายไม่ได้เป็น ตัวตน แล้วก็พิจารณาตน ความสงสัยเรื่องทาง พ้นทุกข์ไม่เกิดขึ้น เพราะเราเห็นทางด้วยตนเองได้ เป็นญาณทัศนะที่นำเราให้ เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป


วันนี้ก็แสดงธรรมพอสมควรกับ เวลา และสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในวันนี้ก็พิจารณา อย่าไปเชื่อ อย่าไปถือ สงสัย ก็ได้ เป็นโอกาสที่จะมีความหวังว่า เป็นโอกาสที่ทำให้โยมมีศรัทธามาก ขึ้น และมีกำลังใจในการปฏิบัติในภาวนาต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๕

วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗


เวลานี้เป็นโอกาสพิจารณาธรรมะ ความจริงและเน้นไปถึงปัจจุบัน เราไม่พูดถึงธรรมะ ที่เป็นทฤษฎี หรือเป็นความคิดตามปรัชญาหรือหนังสือ ให้เราตรัสรู้ใน ปัจจุบัน ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จในปัจจุบันทั้งนั้น


ความจริงมีในปัจจุบัน ประสบการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างในปัจจุบัน และระลึกถึงอดีตกาลเป็น ความจดจำที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อนาคตเป็นความสงสัย คาดคะเน และไม่ แน่ เรื่องอนาคตยังไม่มีอนาคต มีแต่พรุ่งนี้ มีแต่ปีหน้า


พิจารณาสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะรู้ทางปฏิบัติดีปฏิบัติถูกต้อง ก็ลมหายใจตัวเอง เพื่อ จะปฏิบัติปัจจุบันให้พิจารณาเดี๋ยวนี้เป็นยังไง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ไป ร่างกายที่กำลังเป็นอยู่อย่างนี้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจ ออก นั่ง ยืน เดิน นอน แล้วก็มีเวทนา สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข เวทนา ที่มีอยู่ในร่างกายของเราปัจจุบันนี้ ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย เวทนาความรู้สึกสุขทุกข์ และเวทนา อทุกขมสุข เวทนา เป็นเวทนามีอยู่แต่เราไม่เคยสังเกต เพราะไม่ได้เป็นสุขไม่ได้เป็น ทุกข์ แต่เรารับรู้ได้ เราเห็นได้ ถ้าเรามีสติ


ถ้าเราพิจารณากาลเวลา มีประโยชน์มากคือจะอบรม ตัวเองด้วยปัญญาที่ไม่ถือกาลเวลา เป็นความจริง เป็นสมมุติ เท่านั้น และตัวตนมีตัวตน อัตตาตัวตน อันนี้ก็เป็น สมมุติเหมือนกัน เห็นสิ่งที่ถาวร ที่ถือว่าเป็นตัวตนในปัจจุบัน เราก็เห็น ว่าไม่เจออะไร เรื่องความคิดความเห็นเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ร่างกายก็ เปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง


ผู้เห็นการเปลี่ยนแปลง กลายเป็นผู้ รู้การเปลี่ยนแปลง ถ้าถามตัวเองใครเป็นผู้รู้ ผู้รู้เป็นใคร ถ้าเป็นตัว ตน ตัวตนก็เป็นสัญญาสังขารที่เกิดขึ้นดับไป เหมือนที่กล่าวว่าเป็นสุเมโธ ก็ คิดว่าเป็นพระสุเมโธ ความจริงส่วนมากไม่เคยคิดว่าเราเป็นพระสุเมโธ บางครั้ง ถึงเวลาก็คิดอย่างนี้ได้ หรือจะเป็นอะไร ก็มีลักษณะดีไม่ดี เป็นชาติ อะไร อายุเท่าไหร่ นี่เป็นสมมุติ แต่ความจริงตัวตนพระสุเมโธ คน อเมริกัน หรือพระภิกษุ เจ้าคุณราชสุเมธาจารย์อย่างนี้ก็ไม่เจอ เป็นสิ่งที่ ไม่มีแก่นสาร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปในปัจจุบัน


เวลาดับไปแล้ว เหลือแต่สติสัมปชัญญะ สติปัญญา ที่เราจะเห็นเป็นตัวตนไม่ได้ เพราะเรา เป็นอย่างนั้น สตินี้เป็นสิ่งที่อาศัยกัน เป็นที่พึ่ง แล้วก็พุทโธผู้ รู้ ผู้เห็นธรรม


การปฏิบัติอริยสัจ ๔ ก็ใช้สติ ปัญญา เป็นสมมุติเหมือนกัน เป็นคำสอนเป็นเครื่องช่วยให้เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในปัจจุบันได้ ความจริงเราเองพระสุเมโธ ถ้าไม่มีคำ สอนพระพุทธเจ้า เราไม่เคยมีความสามารถจะตั้งอริยสัจ ๔ เองคงจะไม่คิดถึง ไม่ มีความสามารถจะสอนอริยสัจ ๔ ที่เกิดขึ้นของจิตตนเองได้ นี่เป็นคำสอนที่พระ พุทธเจ้าแนะนำ กาลเวลาเป็น ๒,๕๐๐ ปีกว่าแล้ว เราก็เห็นว่าเป็นเรื่องทัน สมัย เป็นเรื่องปัจจุบันทั้งนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องวัฒนธรรม เป็นเรื่อง ธรรมะ ปัจจุบันธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค


ผู้รู้ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไม่ได้เป็นตัวตน เรื่องปล่อยวาง มีตัวมี ตน ต้องอบรมตัวเองมากๆ พิจารณามากๆ เหมือนทุกวันนี้เรากำลังจะเตรียมไป ประเทศพม่า อีกไม่กี่วันโยมจะนิมนต์ไปพม่า เราก็ตกลงไป เดี๋ยวนี้ประเทศพม่า เป็นอะไร มีแต่คำศัพท์พม่า แต่เราไม่เคยมีสัญญา เพราะพม่าไม่เคยไป นี่เป็น ครั้งแรกและเคยอ่านประวัติศาสตร์ แล้วก็รู้มีประเทศก็คือพบคนที่เคยไปและคน พม่าเคยรู้จัก เราสังเกตปัจจุบันนี้พม่าเป็นอย่างไร เวลานั่งในโรงธรรมที่ นี่ โรงกรรมฐานก็ถามประเทศพม่าเป็นอย่างไง มันเป็นสัญญา เกิดขึ้นดับ ไป เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นเมียนม่า เราจะไปเมียนม่า บางคนไม่รู้นะ พม่า เปลี่ยนชื่อเป็นเมียนม่า บางคนไม่รู้เรื่อง เพราะเราคุ้นเคย กับคำศัพท์ พม่า อังกฤษเรียกเบอร์ม่า


นี่ก็ได้พิจารณาด้วยสติปัญญา ในปัจจุบัน อย่างนี้ เป็นสัญญาสังขาร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นดับไปใน ปัจจุบัน เรื่องสร้างอารมณ์ เราระลึกถึงประเทศพม่าก็มีอารมณ์เกิดขึ้นได้ถ้า เรามีเวทนา หรือมีความคิดเกิดขึ้นเวลาเราระลึกถึงพม่า เพราะเราเคยพบคน พม่า พระพม่าหลายคนในประเทศอังกฤษ เราเคยรู้จักคนพม่าที่เป็นคนลำบาก ด้วย ส่วนมากที่จำได้คนนั้นลำบากทีเดียว เวลาระลึกถึงพม่า จิตมันก็ถึงคน นั้น ที่เป็นคนลำบาก ทำไมเป็นอย่างนี้ก็ไม่รู้ จิตก็อย่างนั้น ถ้าพูดพม่า แล้ว สัญญามันเกิดขึ้นหลายอย่างที่ทำให้มีอารมณ์ได้ อารมณ์สุข ถ้าเราพูดถึง พม่า บางคนก็ว่าโอ้ สวยงามมาก สวยตระการตาดี คนพม่าก็มีศรัทธา มีแต่ สรรเสริญ มีแต่ความสุขเกิดขึ้น และธรรมดาเวลาคนพูดถึงพม่า สัญญาของคนนี้มัน เกิดขึ้น มันไม่มีความสุข ความคิดก็เป็นอย่างนี้ ไม่ได้เป็นความจริง ไม่ได้ เป็นประเทศพม่า เป็นกรรมของพระสุเมโธด้วย เป็นกรรมวิบากของอาตมาเอง


เราพิจารณาด้วยสติปัญญา เพื่อจะรับรู้ความจริง ปัจจุบันนี้เรากำลังคิด นึกถึง พม่า เป็นคำศัพท์ เกิดขึ้น ดับไป เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีแก่นสาร ด้วย ไปที่ไหนก็ไม่รู้


นี่ก็พิจารณาในสิ่งที่เป็นความ จริงในปัจจุบัน แต่บางครั้งในเวลาสอนกรรมฐานในประเทศอังกฤษ วันหนึ่งอาตมาก็ ถามนักกรรมฐาน เดี๋ยวนี้ แม่ของเราอยู่ที่ไหน เดี๋ยวนี้เรากำลังนั่งใน ศาลา แล้วระลึกถึงแม่ของเราอยู่ที่ไหน เพื่อจะเป็นสิ่งที่จะพิจารณาคำศัพท์ สัญญาของแม่เป็นยังไง บางคนว่าแม่อยู่บ้าน แม่ตายแล้ว ความจริงเป็นสัญญาที่ เกิดขึ้นในใจในปัจจุบัน ถ้าเรารู้ด้วยสติปัญญา คำศัพท์แม่ และมีอารมณ์ ด้วย มีความกตัญญู ความรัก บางคนรังเกียจโกรธแม่ก็ได้


เราพูดคำศัพท์แม่อย่างนี้ ในโรงธรรมที่นี่ มันอยู่ในจิตใจเท่านั้น เกิด ขึ้น ดับไปในปัจจุบัน ให้พิสูจน์อย่างนี้ก็จะได้ผล ที่จะพ้นจากความถือใน สัญญาสังขารเป็นความจริง หรือเป็นสิ่งที่มากกว่า มีแก่นสาร เป็นสิ่งที่จะ สร้างอารมณ์ ตามอารมณ์ ทำตามอารมณ์ พูดตามอารมณ์ จนเราหลงตลอดไปไม่ มี ทางพ้นทุกข์


หลวงพ่อชา เดี๋ยวนี้อยู่ที่ไหน ถามนะ ตาย แล้ว พระอรหันต์ตายแล้วไปไหน นั่นก็เป็นสัญญาเท่านั้น เดี๋ยวนี้หลวงพ่อชา เป็นสัญญาแล้ว เวลาระลึกถึงหลวงพ่อชา ก็อารมณ์ดี มีความกตัญญู มีความ สุข และคิดถึงด้วย ต้องการหลวงพ่อชา อยากนำท่านกลับไปดูวัดอมราวดีด้วย นี่ เป็นความคิดปรุงแต่งอีกมาก คิดถึงหลวงพ่อชาตายแล้ว นี่ก็เป็นสัญญาเหมือน กัน เราเทศน์อย่างนี้ เพื่อจะชวนโยมพิจารณาสัญญาเป็น สัญญา สังขาร เวทนา สัญญา สังขาร เป็นอย่างนี้มันไม่มีแก่นสาร มันเป็นสิ่ง ที่ลอยไป เหมือนกับเมฆในท้องฟ้า


ถ้าเราไม่พิจารณาก็ เชื่อสังขารที่เราปรุงแต่ง เราก็เชื่อแล้วก็ทำตาม สร้างอารมณ์ตามก็มีความ โกรธเกิดขึ้นได้ เวลาเราไปอยู่วัดป่าพง กำลังปฏิบัติ ยังเป็นพระนวกะ เรา พิจารณาอย่างนี้มาก เวลาเราเป็นทหาร เวลาเป็นหนุ่มๆ เป็นทหารเรือ เกิดสิ่ง ที่เวลาเป็นทหารที่เราเห็นว่าไม่ดีเท่าไหร่ คนนินทาอาตมาสมัยนั้น นินทาแล้ว พูดไม่จริงก็ไม่เคยมีใครขออภัย ทำให้มีอารมณ์โกรธ เก็บความโกรธไว้หลาย ปี เวลาเราไปอยู่กับหลวงพ่อชา เราพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น เวลาเราเป็นทหาร เรือ เราก็จำได้ ประสบการณ์ที่ทำให้มีอารมณ์โกรธ เรายังโกรธได้อยู่ในวัด หนองป่าพง ไม่ได้อยู่ในเรือ คนนั้นคงจะตายไปแล้ว และเราอยู่ห่างไกล เกือบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา เรานั่งกุฏิในวัดป่าพง แล้วระลึกคิดถึงคนนี้ เราไม่ สมควร ท่านพูดไม่จริง ทำให้เรามีความทุกข์ เสียหน้า อะไรทุกอย่าง อยากจะ พยาบาท อยากจะไปหาคนนั้น เพื่อจะแสดงความรู้สึก เพื่อจะให้โทษด้วย มีอารมณ์ แบบโกรธโมโหใหญ่ก็ได้ เรายึดถือสัญญาอย่างนั้นได้


เราพิจารณา เราจะโกรธได้ เราจะบังคับให้โกรธตามอารมณ์นั้นได้ เราพิจารณากำลัง นั่งในกุฏิอยู่ในป่าใน วัดหนองป่าพง ไม่มีอะไรในกุฏินี้ที่จะโกรธ มี ตุ๊กแก แต่เราก็รักตุ๊กแกด้วย ในกุฏิที่อังกฤษก็มีตุ๊กแก เป็นหนังเป็นยาง พลาสติก เราชอบตุ๊กแก อังกฤษไม่ค่อยมีตุ๊กแกตัวจริง แล้วก็พิจารณานี่ ทำไม เราโกรธอย่างนี้ เราจะทำให้โกรธเองได้ ถ้าเรายึดถือสัญญาเรื่องสิ่งเหล่า นั้น


พิจารณาอย่างนี้ เราเห็น เราพิสูจน์ได้ เรื่องทาง อารมณ์ อวิชชาปัจจยาสังขาร สังขารปัจจยาวิญญาณอย่างนี้ ยึดถือสิ่งเหล่านี้ เป็นทุกข์ และความจริงถ้าเราไม่ได้คิดถึง ถ้าเราไม่มีสัญญา เรื่องเหล่านั้น ในวันนั้นคงไม่มีทุกข์เท่าไหร่ เพราะเรากำลังมีสุขในการเป็นพระอยู่วัดหนอง ป่าพงด้วย


เราก็พิจารณาอย่างนี้มาก ให้เราพิจารณา ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู ปัง อนิจจัง เวทนา อนิจจา สัญญา อนิจจา สังขารา อนิจจา วิญญา ณัง อนิจจัง อย่างนี้ เหล่านี้ก็เป็นการสวดมนต์ที่เราทำทุกวันในวัด ไม่ได้ สวดเฉยๆ เราพิจารณา นี่เป็นสิ่งที่เราต้องระลึกถึงบ่อยๆ พิจารณาบ่อย เพราะ ความสามารถของโลกที่จะหลอกเรา สมัยนั้นยังมาก จะหลงโลกก็หลงง่าย เรายัง เป็นพระใหม่ แล้วก็ยังมีนิสัยแบบหลงโลกง่าย เพราะปฏิบัติยังไม่ถึงความสมดุล กัน จิตก็ยังหวั่นไหวได้


เราก็พยายามทดลองดูอดีตกาล ก็ไม่มี อดีตเลยนึกถึงสมัยเป็นทหารเรือก็ไม่มีแก่นสารเป็นสัญญาเฉยๆ เหมือนกับเมฆใน ท้องฟ้า แล้วพิจารณาเวลาเป็นวัยรุ่น เป็นนักศึกษา เป็นอาสาสมัคร เป็นครู ก็ เป็นสัญญาที่เราจะเลือก บางอย่างก็จำอะไรไม่ได้ บางอย่างก็ยังจำได้ ชีวิตใน อดีตกาล มัน ทำให้เรามีศรัทธาที่จะเพ่งดูปัจจุบันตลอด เราเห็นว่าระลึก ถึงอดีตกาล เรื่องสิ่งเหล่านี้สิ่งเหล่านั้น เรื่องปัญหา เรื่องสิ่งไม่ดีใน ชีวิต เรื่องสิ่งที่เราทำไม่ดีในชีวิต เรื่องสิ่งที่ไม่ดีที่คนอื่นทำแก่ อาตมาในชีวิต เรื่องสิ่งเหล่านี้ โลกที่เราสร้างไม่มีแก่นสารเลย เป็นแต่ ฟุ้งซ่าน เป็นแต่สัญญาสังขาร ถ้าเรายึดถือสิ่งเหล่านี้ เราก็มีอารมณ์กับ สิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่นด้วย


ถ้าเราปล่อยสิ่งเหล่านี้ ไม่ สนใจ รับรู้มันเป็นอย่างนี้ แต่เราไม่เคยจับยึดถือแล้วก็ตามไป เราก็จะเห็น ความว่าง ในจิตว่าง ว่านี่เป็นลักษณะของจิตที่แท้จริง มันว่างอยู่ไม่มี อะไร แต่ไม่ได้เป็นแบบว่างเปล่า สูญเปล่า ตายสูญเปล่าอย่างนี้ เพราะมีแต่ ผู้รู้ เรามีความสามารถ เป็นมนุษย์อย่างนี้ เป็นทางที่จะพิจารณาประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้เป็นธรรม


พระพุทธเจ้าก็รู้ ธรรม ธรรมะ พระพุทธเจ้าคงจะไม่เคยคิดถึงเวลาเป็นสิทธัตถะ เวลาเป็นเจ้าฟ้า ชาย คงจะปล่อยแล้ว เวลาท่านแสดงธรรม ท่านก็พูดเรื่องคำศัพท์ตถาตา นี่ก็มี ความหมาย สิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ในปัจจุบันไม่ได้เป็นสัตว์ ไม่ได้เป็น บุคคล ไม่ได้เป็นอาจารย์ ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่ได้เป็นอะไร มันแสดงว่า ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ตถาตา ท่านไม่ถือเป็นเราเป็นพระพุทธเจ้า สมัย ก่อน ก่อนที่ตรัสรู้ เราเป็นพระโคดม และก่อนที่เป็นเจ้าฟ้าชายนี่เป็นความ คิด เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


อนาคตเราก็รู้ ต่อไป ข้างหน้าร่างกายนี้จะตาย อันนี้เป็นธรรมชาติ ถ้าเราถือว่าเป็นตัวตนเราจะตาย นะ ต่อไปข้างหน้าในอนาคต เดี๋ยวนี้ก็ไม่ตายนะ ไม่ต้องเป็นห่วงเดี๋ยวนี้ ลม หายใจยังเป็นปกติ หัวใจก็เต้นปกติด้วย เคยไปหาหมอในกรุงเทพฯ ก็บอกว่าสุขภาพ ยังดี


แต่เราก็พิจารณาร่างกายที่เกิดขึ้น เดี๋ยวนี้ อายุ ๗๐ แล้ว อีกไม่กี่ปีคงจะตาย นี่ก็เป็นธรรมชาติธรรมดา ถ้าจิตว่าง เรา ไม่ยึดถือเป็นตัวเป็นตน เราอยู่กับความว่าง เราไม่กลัวนะ เราไม่ได้สร้าง อารมณ์กับอนาคตร่างกาย ร่างกายจะเป็นอย่างไรในอนาคต เราไม่สร้างเป็นกังวล หรือสงสัยอะไร


อนาคตไม่แน่นอน พรุ่งนี้เป็นวันอังคาร แล้ว เราจะประชุมที่นี่ คืนนี้ ก็อีกวันหนึ่งที่เราจะปฏิบัติได้ นี่เป็น อนาคต แต่ความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราคิดถึงเรื่องพรุ่งนี้ นี่ก็ เป็นสัญญาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่เมื่อคืนนี้สงสัยว่าจะเป็นอย่างไร จะพูด อย่างไร ความรู้สึกอย่างไร นี่เป็นสิ่งไม่แน่ไม่รู้ สงสัย นี่เป็นอารมณ์ที่ สร้างเรื่องอนาคตต่อไป กังวลก็เป็นอย่างนั้น ความเป็นห่วง เป็นเรื่องไม่แน่ อนาคตต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเป็นกังวลได้


หากว่าเรารู้ ปัจจุบันธรรม เราไม่ต้องกังวลอะไร เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะกังวลอะไร มัน เป็นทุกข์เปล่าๆ ที่ไม่มีแก่นสาร คนสมัยปัจจุบันทั่วไปในประเทศอังกฤษ คน อังกฤษความกังวลมีมาก คนส่วนมากก็บอกว่าถ้าไม่มีกังวลแล้วรู้สึกเราไม่ได้ทำ หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือกังวล คนมีเงินพอสมควรอย่างนี้ นี่ก็เป็น นิสัยสันดานของสัตว์มนุษย์ นี่ถ้าเราพิสูจน์ทำปัจจุบันธรรมก็จะพ้นจากความ ทุกข์อย่างนั้นได้ ก็จะปล่อยกังวลได้


มีคนหนึ่งเป็น เพื่อน กำลังจะเขียนประวัติของอาตมาด้วย แล้วก็เมื่อ ๒-๓ เดือนมาแล้ว ท่าน มาประเทศอังกฤษ ก็สัมภาษณ์แล้วก็มีเครื่องเทป แล้วโยมก็สัมภาษณ์อาตมา เรา ต้องพยายามระลึกถึงอดีตกาลมาก ประวัติศาสตร์บางอย่างก็ไม่ได้คิดเป็นหลาย อย่างนะ เรื่องชีวิตของอาตมาเอง บังคับระลึกถึง เวลาบวชเป็นสามเณรเป็นยัง ไง บวชเป็นพระครั้งแรกเป็นยังไง ได้พบหลวงพ่อชาครั้งแรกรู้สึกอย่างไร หลวง พ่อชามรณภาพแล้วรู้สึกอย่างไร พ่อแม่ตายแล้ว เวลาเป็นเด็ก เวลาเป็นวัย รุ่น เวลาเป็นนักศึกษา ระลึกถึงก็.....โอ้ เบื่อแล้ว ไม่อยากให้มีประวัติ แล้ว ขี้เกียจระลึกถึงอดีตกาล ไม่สนใจ


การปฏิบัติเพื่อจะพ้น จากกาลเวลา เกิด ตาย เวลาเราสวดครั้งแรก เราสวด นะโม ตัสสะ ๓ ครั้ง แล้วสวด ภาษาบาลี อะปารุตา เตสัง อะมะตัสสะ ทวารา เป็นการสวดที่เราชอบ เป็นสิ่งที่ ทำให้เวลายังไม่มั่นคงในการปฏิบัติ ก็ถ้าระลึกถึง อะปารุตา เตสัง อะมะตัส สะ ทวารา ก็มีกำลังใจ มีประตูเข้าอมตธรรมมีอยู่ เปิดแล้ว ไม่ปิด พระ พุทธเจ้าตรัส รู้ นะ ประตูเข้าอมตะคือความจริง สิ่งที่สังขารมีลักษณะดี ชั่ว สีแดง สีเขียว ผู้หญิง ผู้ชาย หรือเป็นมาร เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ นะ เกิด ตาย แต่อมตธรรมไม่เกิดไม่ตาย


แต่ประตูเข้าอมตะ คือสติสัมปชัญญะ ให้โยมพิจารณาอย่างนี้ เวลาเราพูดถึงสติสัมปชัญญะ สติ ปัญญาตลอด พูดจนเบื่อแล้ว พระสุเมโธก็สอนซ้ำๆ ซากๆ ความจริงนี้เป็นประตู เข้าอมตธรรม ถ้าเราเห็นประตูนี้ เราต้องเห็นที่นี่ ไม่ใช่เห็นประตูหอที่นอน นะ ประตูนี้เป็นเรื่องที่นี่ ประตูเข้าอมตธรรมเปิดแล้ว หมายความว่าพระ พุทธเจ้าก็เคยถึงประตูเข้าอมตะ


เวลาท่านแสดงธรรมครั้ง แรก ปฐมเทศนา อริยสัจ ๔ เพื่อจะใช้สติปัญญาพ้นจากความหลง พ้นจากอวิชชา ได้ และ อะปารุตา เตสัง อะมะตัสสะ ทวารา เย โสตะวันตา โสตวันตา โสตา เป็น ผู้มีความสามารถจะเข้าใจได้ สดับตรับฟัง รับรู้ ได้ยิน และก็รู้ เป็นผู้ได้ ยินได้ฟังได้เห็นสิ่งเหล่านี้ก็ให้อาศัยศรัทธา ไม่ต้องไปหาประตูอมตะ ให้มี ศรัทธาเพื่อพิจารณาสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง และพิสูจน์จนไม่สงสัย


ถ้าใช้ความคิดเฉยๆ เราจะสงสัยตลอด แต่เรื่องญาณที่เกิดขึ้นเวลาปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐาน ญาณที่จะได้จากวิปัสสนากรรมฐาน จะพ้นจากความสงสัยได้


สงสัย มันเป็นเรื่องความคิดของเรา คิดมากสงสัยมาก ถ้าเราสงสัย อมตธรรมมีมั้ยหรือเป็น อะไร อยากให้อธิบายเองมาก มันจะเป็นอะไร ไม่เกิด ไม่ตาย ประตูเข้าอยู่ที่ ไหน จริงหรือไม่จริง เป็นแฟนตาซีหรือเป็นอะไรก็สงสัยอีกมากก็ได้ แต่ความ จริงถ้าเราอยากจะพิสูจน์ด้วยความคิด ต้องรับความเห็นของอาจารย์ นัก ปราชญ์ อะไรก็ได้ แต่ยังเป็นความคิดอยู่ บางทีก็ความคิดของนักปราชญ์หรือ อาจารย์ใหญ่ อะไรอย่างนี้ได้ แต่ยังไม่เห็นเอง


เราพูดแสดงไป ถึงจิตใจในปัจจุบันของตนเองที่นี่ เวลาเราเป็นพระ ๒-๓ พรรษา หลวงพ่อชาก็พา อาตมาไปกราบนมัสการพระผู้ใหญ่ที่เป็นพระวัดป่าในภาคอีสาน ท่านก็พาไปเยี่ยม หลวงปู่ขาวที่วัดถ้ำกลองเพล ในจังหวัดอุดร ตอนนั้นภาษาไทยของอาตมายังไม่ ถนัดเท่าไหร่ หลวงพ่อชาก็มีเครื่องเทป สมัยนั้นยังไม่ได้เป็นคาสเซท เป็น เครื่องเทปแบบมีม้วนเทป แล้วหลวงพ่อจะชอบเครื่องเทปอย่างนี้มาก และเราไป เยี่ยมหลวงปู่ฝั้น อาจารย์มหาบัว หลวงปู่ขาว หลวงพ่อแบนวัดดอยธรรมเจดีย์


เราจำได้ไปเยี่ยมหลวงปู่ขาว หลวงพ่อชาขอให้อัดเทป ถามหลวงปู่เรื่องการปฏิบัติ ของท่าน ท่านพูดอีสานด้วย ก็ไม่จับความหมายลึกซึ้งเท่าไหร่ หลวงพ่อชากับ หลวงปู่ขาวก็สนทนาธรรมอย่างดี เรานั่งเฉยๆ เสร็จแล้วหลวงพ่อชาบอกว่าจะออก ไป หลวงพ่อก็ไปก่อน หลวงปู่บอกว่า มานี่ มานี่ อาตมาก็เข้าใกล้ สมัยนั้น ท่านนั่งรถเข็น เข้าใกล้ชิดท่าน หลวงปู่ก็บอกว่า “ความจริงอยู่ที่นี่ ความ จริงอยู่ที่นี่” แสดงธรรมนะ “ความจริงอยู่ที่นี่” ก็เข้าใจได้นะ นี่ภาษาไทย ที่จะเข้าใจได้ แล้วเราระลึกถึงตั้งแต่วันนั้น หลวงปู่บอกว่าความจริงอยู่ ที่นี่


นี่เป็นพระธรรมเทศนาที่มีประโยชน์มาก มันช่วยในการ ปฏิบัติของเรามากทีเดียว บางทีเกิดความสงสัยอะไรอีกมากมาย แล้วระลึกถึงหลวง ปู่ขาว หลวงปู่บอกว่า ความจริงอยู่ที่นี่ก็พอแล้ว ถ้าเราพิสูจน์ เพื่อจะไม่ ให้เห็นว่าเป็นร่างกาย ไม่ได้ชี้ไปถึงร่างกาย แล้วก็เป็นสมมุติด้วย เราจะ เข้าใจความหมายมันลึกซึ้ง ท่านว่าเราไม่ต้องออกไปหาความจริง ไม่ต้องไปหาพระ อาจารย์เป็นพระอรหันต์อะไรภายนอก ความจริงอยู่ที่นี่ ให้เราพิจารณาธรรมะที่ นี่ ไม่ต้องแสวงหาอะไรภายนอก


เดี๋ยวนี้กลับไปดูลมหายใจ เข้าลมหายใจออก ตั้งสติกับสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ ลมหายใจเข้าลมหายใจ ออก พุทโธ อยู่กับลมหายใจเข้าเป็นอย่างนี้ ลมหายใจออกเป็นอย่างนี้ นี่เป็น ธรรมชาติ เราไม่ได้ปรุงแต่งลมหายใจ เราไม่ได้เห็นเป็นลมหายใจของผม มันเป็น อย่างนี้ลมหายใจเข้า นี่เป็นอุบายที่จะตั้งสติในปัจจุบัน มีจิตฟุ้งซ่าน มี กังวล มีอะไรเกิดขึ้นในชีวิต เป็นห่วงอนาคต หรือระลึกถึงอดีตกาล ก็จำได้ ลม หายใจเข้า ลมหายใจออก ปัจจุบันธรรม นิพพานเป็นเรื่องปัจจุบัน พ้นทุกข์เป็น เรื่องปัจจุบัน และความจริงอยู่ที่นี่ ปัจจุบัน ให้เรารู้ร่างกายด้วย ปัจจุบัน ไม่ใช่ร่างกายที่อยากได้ในอนาคต ถ้าเราทำโยคะ Fitness อย่างที่เรา ต้องการได้ร่างกายอย่างที่เราเป็นอยู่ในปัจจุบัน นั่ง ยืน เดิน นอน เป็น อย่างนี้ ลมหายใจเป็นเรื่องปัจจุบัน ร่างกายปัจจุบัน เสียงสงัดปัจจุบัน


๓ อย่าง นี้เป็นเครื่องให้เราไม่ฟุ้งซ่าน ให้เราตั้งสติอยู่กับปัจจุบันธรรม และ พิจารณาจิตก็ได้อารมณ์เป็นยังไง รู้อารมณ์ในปัจจุบัน บางทีเราเป็นห่วง อนาคต เรากำลังจะตั้งสติกับลมหายใจเข้าลมหายใจออก ความคิดเรื่องอนาคตหยุด แล้ว ยังมีอาการเหลืออยู่เป็นเวทนาชนิดหนึ่ง เป็นอารมณ์ที่ไม่ค่อยสบาย ใจ พิจารณาอารมณ์นี้ด้วยนะ พิจารณาด้วยรับอารมณ์ ไม่ต้องยึดถือ ให้เห็นเป็น จิตตะในปัจจุบันเป็นยังไง ให้เป็นผู้รู้อารมณ์ เป็นวิธีที่จะพ้นจากความกลัว ได้ พ้นจาก กังวล เป็นห่วงอนาคต จะพ้นจากเรื่องอดีตกาลสิ่งที่เรา ทำไม่ดี


เวลาเราคิดถึงสมัยก่อนก็มีความเสียใจหลายสิ่ง หลายอย่าง ที่เราพูดหรือเราทำ ถ้าหากว่าเราอยู่กับปัจจุบัน เราก็จะปล่อยสิ่งเหล่านี้ ด้วย เป็นสัญญาเพื่อจะเป็นผู้รู้ปัจจุบัน ผู้รู้ธรรมะ คือพุทโธ ธัมโม สัง โฆ และนี่เป็นทางพ้นทุกข์ เป็นประตูเข้าอมตะ อะมะตัสสะ ทวารา เย โสตะวัน ตา ผู้รับฟัง ผู้มีความสามารถจะเข้าใจ อาศัยปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง เราจะ มีศรัทธากับอมตธรรมในปัจจุบัน


บางทีความสงสัยเกิดขึ้นเรื่อง วิธีปฏิบัติด้วย พระอาจารย์คนที่สอนกรรมฐานก็สอนวิธีฝึกสมาธิ และพิจารณา วิปัสสนา บางทีไม่เหมือนกัน อย่าไปสงสัยมากในเรื่องเหล่านี้ อาจารย์ทุกองค์ ก็สอนแต่ความรู้ที่เคยปฏิบัติ เราไม่เคยปฏิบัติอย่างนั้นๆ เราก็สอนไม่ ได้ เราจะสอนสิ่งที่เราเคยปฏิบัติแล้ว รู้แล้ว ก็จะอธิบายวิธีปฏิบัติที่เรา เคยทำอยู่ บางคนสงสัย จะทำยุบหนอพองหนอ หรือจะตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออกที่ สุดคืออะไรดีกว่า นี่ก็เป็นความคิดความเห็น พอมี ลมหายใจก็จับลมหายใจที่ ท้องที่ปลายจมูกได้ ที่นี่ก็ได้ บางทีก็ตามลมหายใจเข้าจมูก มันลงถึงที่ นี่ แล้วก็ลมหายใจออก ลมหายใจเป็นเรื่องร่างกาย


สิ่งสำคัญในอานาปานสติ คือปล่อยวาง ไม่สร้างเป็นปัญหา ให้อยู่กับสิ่งที่เป็นธรรมดา ธรรมชาติของร่างกาย หลวงพ่อชาก็แนะนำให้ ท่านชอบอยู่วัดป่า ท่านชอบธรรมชาติ มาก เวลาเรามองดูธรรมชาติอยู่ในวัดป่า เราเห็นว่า มองดูต้นไม้ ก็เห็น เรา ไม่ได้สร้างต้นไม้ ต้นไม้เป็นของธรรมชาติ สัตว์ป่าเป็นของธรรมชาติ เวลาเรา เห็นศาลาหรือโบสถ์ เราก็ว่าสวย ใครเป็นผู้สร้าง ใช้เงินเท่าไหร่ เป็นหิน อ่อนหรือเป็นแกรนิตหรือเป็นอะไร ทำให้เราเกิดอารมณ์แบบสัตว์มนุษย์ได้ ไม่ ได้เป็นธรรมชาติแล้ว เป็นการปรุงแต่งของพวกเราที่อยากจะสร้างศาลาสวยดี เป็น ความคิดความฝันของมนุษย์ และสิ่งเหล่านี้มันทำให้มีอารมณ์ได้


เวลาเราสร้างศาลาที่วัดนานาชาติครั้งแรกก่อนไปอังกฤษ ก็มีคนถวายเป็นเงิน คนส่ง เงินมากที่จะสร้างให้มีคุณภาพดี พระบางรูปมาเยี่ยมก็อิจฉาด้วย วันนี้มาเท่า ไหร่ และมองดูเปรียบเทียบใครสร้างศาลาใหญ่กว่า หรือสวยกว่าหลังนี้ มันทำให้ กลับเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์ ถ้าดูต้นไม้คงจะไม่มีปัญหา ต้นไม้ที่วัดป่าพง ต้นไม้ที่นานาชาติ ต้นไม้ที่นี่ มันเป็นต้นไม้ธรรมชาติ


พิจารณา อย่างนี้ อยู่ในกรุงเทพฯ ก็มีเรื่องปรุงแต่งของมนุษย์มาก ธรรมชาติมันหายาก ทุกวันนี้ มีอะไรที่กระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย มีอาการปรุงแต่งของสัตว์ มนุษย์ ตึกสูงๆ มีมลภาวะ ดี สวย สิ่งที่ไม่ดีไม่สมควรก็มีมากด้วย เวลาเราไป ในสวนเห็นธรรมชาติ มันก็ทำให้อารมณ์สงบลงได้ เป็นธรรมชาติเหมือนกัน

แต่สักกายทิฏฐิ มีตัวมีตน ไม่ได้เป็นธรรมชาติ เป็นปรุงแต่งที่เราทำ แต่ลมหายใจ เข้าหายใจออกเป็นธรรมชาติ เราไม่ได้บังคับ มันเป็นอย่างนี้ ร่างกายก็เป็น ธรรมชาติ นั่ง ยืน เดิน นอน แล้วก็เสียงสงัดเป็นธรรมชาติ สิ่งธรรมชาติก็ให้ สังเกต


นี่เป็นวิธีที่จะเห็นประโยชน์ในการพิจารณาปัจจุบัน ธรรม แล้วมีความสงบพอสมควรที่จะพิจารณาจิต จิตของเราเป็น ยังไง หรือมี อารมณ์เกิดขึ้น บางทีมีปัญหาในครอบครัวหรือในที่ทำงาน ในวัดก็มีปัญหา มาก บางคนก็อยากสึก เวลาพระมาหาเรา บอกว่า อาจารย์สุเมโธ เราอยากสึก เราก็ ดูจิตเวลาพระพูดอย่างนี้มีความรู้สึกอย่างไร นี่ก็ใช้ได้ ตอนนี้เป็นสิ่งที่ เราไม่อยากฟัง เราไม่ค่อยชอบ ไม่ค่อยยินดีเวลาพระสึก อารมณ์ยินดีไม่เคยเกิด ขึ้น มีอารมณ์แบบเศร้าโศกมาก กรุณาก็ได้


สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ดูจิตดูอารมณ์ บางทีแม่ชี มีสีล-ธรารักษาศีล ๑๐ บางคนก็อยากจะเป็น นางภิกขุณี แล้วแม่ชีบอกว่า อาจารย์สุเมโธ สมควรบวชให้เป็นนางภิกขุณี เราก็ มีอารมณ์เกิดขึ้น ดูจิตของตนเอง ก่อนที่จะพูด


เราก็ต้องอยู่ กับพระ กับเณร กับแม่ชีอยู่รวมกัน เราต้องรับอารมณ์ของคนอื่นด้วย บางคนก็มี ความสุข มีความสบายใจ มีสันโดษในการเป็นสมณะ บางคนก็ไม่มี ปนกัน มีปัญหา ระหว่างพระบางรูป มีปัญหาเรื่องเพื่อนบ้าน นี่ก็เป็นธรรมดาของโลก เพื่อจะ เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้ดู รักษาจิต ให้รู้อารมณ์ที่มีอยู่


เวลาพระที่อยากสึกบอกว่า อาจารย์สุเมโธ เราก็พยายาม ปฏิบัติไม่ค่อยได้ เดี๋ยว นี้ศรัทธามันเสื่อมไป เราก็คิดอยากจะอิสระ วินัยมันมากเกินไป ทำให้เราเห็น ว่าอยากจะเป็นคนที่อิสระจากสิ่งเหล่านั้น เป็นเครื่องผูกพันมากจนเรารู้สึก เราเป็นทาสของสมมุติสัจจะ เราเป็นทาสของวินัย และไม่มี freedom ไม่มีอิสระ ที่จะทำตามสิ่งที่อยากทำจริงๆ เป็นฆราวาสดีกว่า และสงสัยเป็นพระคงจะไม่มี ประโยชน์ สมัยนี้เป็นของล้าสมัย


เวลาได้ยินอย่างนี้ ก็ดู จิต ไม่ชอบฟังเท่าไหร่ ก็รู้อารมณ์อย่างนี้ไม่ชอบ เวลาพระที่อยากสึกก็แสดง ความเห็นอย่างนั้น ก็ไม่อยากฟัง แต่เรารู้ ‘ไม่อยากฟัง’ ก็เป็นอย่างนี้ ให้ รู้อารมณ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน


เวลาที่สีลธราอยากจะบวช เป็นภิกขุนี บางทีเราก็ เบื่อสิ่งเหล่านี้เพราะว่าผู้หญิงทางตะวันตกก็ ป้องกันมาก ฝ่ายเถรวาทไม่มีนางภิกขุนี และสิทธิสตรีทำให้เห็นว่าไม่ แฟร์ พระพุทธเจ้าก็บวชผู้หญิงเป็นภิกขุนี ทำไมสมัยนี้เป็นไปไม่ได้ แล้วก็มี เหตุผลด้วย เราไม่รังเกียจนางภิกขุนีเหมือนกัน แต่เราไม่รู้วิธีที่จะทำ ได้ และส่วนมากมากรุงเทพฯ พูดกับมหาเถระก็บอกว่า ไม่ได้ๆ อย่างนี้นะ เราก็ พิจารณาในอารมณ์ที่เกิดขึ้นว่านี่เป็นสิ่งที่จะพ้นทุกข์ได้ นี่เรื่องบวช ภิกขุนี หรือ เรื่องพระอยากสึก เรื่องปัญหาทางโลก เราก็ทำตามความสามารถของ เราได้ เพื่อจะอำนวยความสะดวกในการเป็นสมณะได้


สิ่งสำคัญ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีที่พึ่งเป็นพุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัม มัง สรณัง คัจฉามิ สังฆัง สรณัง คัจฉามิ แล้วก็มีธรรมะมีวินัย นี่ก็เป็น สิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเรามีที่พึ่งเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ มีธรรมะ มีอาจารย์ สอนธรรมะ แล้วก็มีระเบียบวินัย นี่ก็สมบูรณ์ เรื่องการปฏิบัติไม่มี อุปสรรค ไม่ขาดอะไร ปัจจัย ๔ ก็พอสมควร เราเห็นว่านี่เป็นสิ่งที่จะยืน ยัน สำคัญ


เรื่องสมัยนี้ภิกษุสงฆ์คงจะเป็นเรื่องล้า สมัย สงสัยอย่างนี้นี่เป็นความคิดปรุงแต่งของคน ความสงสัย หรือไม่พอใจในการ เป็นสีลธรา อยากเป็นนางภิกขุนี ให้เห็นอารมณ์อย่างนี้ ไม่จำเป็น ไม่ได้เป็น สิ่งจำเป็นที่จะพ้นทุกข์ได้ จะเป็นนางภิกขุนี สิ่งที่จำเป็นมีอยู่ แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธรรมวินัย และเรื่องการเป็น สมณะ ให้มีปัจจัย ๔ พอสมควร ให้เรารักษาตัวเป็นสมณะ โดยไม่ได้เป็นปัญหาทาง โลก


คืนนี้ก็แสดงธรรมพอสมควร ขอให้พิจารณาสิ่งที่ได้ยินได้ฟังในวันนี้ด้วย เพื่อจะเจริญศรัทธาในปัจจุบัน ขอให้ปฏิบัติดีต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ธรรมบรรยาย ๖

วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗


คืนนี้เป็นคืนสุดท้ายในการปฏิบัติธรรม มีที่เริ่มต้นและก็มีปลายทาง เป็นการ พิจารณาสังขารเป็นอย่างนี้ ต้องเริ่ม และต้องทำให้เสร็จ วันเริ่มต้นแล้วก็ วันเสร็จ พรุ่งนี้เช้า ก็จะทำ พิธี แล้วก็ฉันอาหารบิณฑบาต แล้วก็จะกระจายไป หลายแห่ง แล้วก็มะรืนนี้อาจารย์มหาปริญญากับอาตมาจะไปพม่า นี่ก็เป็น เรื่องอนาคตที่ยังไม่แน่ วางแผนเพื่อจะเตรียมทำวีซ่า ทำอะไรที่จะเข้าใน ประเทศพม่าโดยไม่ยุ่งยาก มีระเบียบมีอะไรตามกฎหมายที่จะอำนวยความสะดวก คือ จะออกจากประเทศไทยเข้าในประเทศพม่า ไม่ได้มีแต่การเข้าประเทศพม่า มีการออก ประเทศพม่าด้วย


อาตมาก็ในชีวิตประจำวันหลายพรรษาก็พิจารณา วันเกิด วันที่เริ่มต้น วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษาเป็นยังไง ให้เรารู้ก็ มีอารมณ์ต่างกัน ถ้าเรามีสัญญาว่ามีความคิดว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้น วัน เข้าพรรษา อารมณ์ต่างกับนี่เป็นวันสุดท้าย และในการปฏิบัติธรรมที่นี่ วัน แรกก็ระลึกถึง เราคิดว่าอีก ๖-๗ วัน ปฏิบัติต่อไปข้างหน้าอนาคต และเดี๋ยว นี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นอนาคตเมื่อ ๖ วันมาแล้ว เดี๋ยวนี้ก็เป็นความจำที่ผ่าน มา มีแต่ปัจจุบันเท่านั้น พรุ่งนี้ก็ยังเป็นความคิด สงสัยรถจะมารับเราหรือ ไม่ หรือกลางคืนตายได้ จะมีหัวใจวายเราก็ไม่รู้นะ เพราะสังขารเป็นของไม่ เที่ยงไม่แน่นอน


เมื่อเวลากลับบ้านเราคงจะสงสัยในเรื่องจะ ปฏิบัติอย่างไร แต่เราก็พูดถึงนี้ เป็นสิ่งที่ควรจะพิจารณาในวันสุดท้ายด้วย นะ นี่เป็นความสงสัย เดี๋ยวนี้เราก็คุ้นเคยกับสถานที่นี้พอสมควรแล้ว มี ระเบียบ มีพระ มีคนจัดการรักษาสถานที่ สถานที่ไม่ได้เป็นภาระของเรา นี่ก็ อยู่ที่กรรมฐานไปวัตรอะไรก็ปฏิบัติง่ายกว่า เพราะไม่ได้เป็นของเรา กลับ บ้านอยากจะนั่งสมาธิ คือในบ้านเป็นของเรา สิ่งของอะไรที่อยู่ในบ้านเป็นของ เรา คือมีความคิดที่เกิดขึ้นเป็นของตัวของตน มันทำให้มีอารมณ์ต่างกัน สิ่ง ที่อำนวยความสะดวกในยุวพุทธไม่ได้เป็นของเรา เราไม่ได้เป็นเจ้าของ เรื่อง อาหารเราก็รับอาหาร เราไม่ต้องทำอาหาร ไม่ต้องเลือกอาหารอะไรก็เคยเตรียม แล้ว ถึงเวลาจะทานอาหาร ก็มีแล้ว นี่ก็ทำให้ชีวิตของเราอยู่ง่ายๆ ไม่ต้องคิดมาก


กลับบ้านก็ต้องคิดมาก หลังคารั่วหรือมีปัญหาในเรื่อง เสียงหมา เพื่อนบ้านมีหมาหลายตัว หนวกหูก็มีอะไรเยอะแยะ มลภาวะ คาร์บอน มอนอกไซด์ และอยู่ในบ้าน เป็นบ้านของเราด้วย นี่ของเรา พิจารณาอารมณ์ของ เรา มีตัวมีตน ไม่ใช่เชื่อไม่มีตัวไม่มีตน ตามเข้าใจความหมาย พิจารณาอารมณ์ ที่เกิดขึ้นเวลาเรามีความคิดในปัจจุบัน เป็นของเราของตัวของตน รถคันนี้เป็น ของเรานะ พิจารณาของเราเป็นอย่างไร เป็นอารมณ์ได้นะ


เราก็พยายามฝึกอย่างนี้ด้วย เป็นพระ ก็ยังมีนิสัยที่จะคิดวัดอมราวดีเป็นของอาตมา ก็ได้ พิจารณาแล้วก็รับรู้และฟังเสียงนะ เป็นของเรา ของตัวตน เราเป็นเจ้า อาวาสรับผิดชอบวัดอมราวดีนะ ก็มีแต่เสียงสั่งเรื่องต้องรับผิดชอบ ต้องทำ หน้าที่เป็นผู้บัญชาการ สั่งให้ และก็เป็นความคิดที่เกิดขึ้นในใจของเราด้วย


ถ้าหากว่าเราไม่รู้อย่างนี้ บางทีเราจะมีความทุกข์มาก ถ้าเราถือว่าบ้านเป็นของ ตัวของตน รถยนต์เป็นเรา ลูกเป็นเรา สามีภรรยาเป็นเรา ทุกสิ่งทุกอย่างเป็น เรา แล้วก็ โอ้ ต้องรับผิดชอบเยอะแยะ ก็ไม่มีเวลาที่จะปฏิบัติได้ มีแต่ เครื่องผูกพันเรากับโลกตลอด คิดแบบนี้ก็คงจะท้อใจท้อถอยในการปฏิบัติ


ถ้าหากว่าเราพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นเวลาเรามีความคิด บ้านนี่เป็นของผม รถ ยนต์เป็นของผม ลูกเป็นของผม ภรรยาเป็นของผม เสื้อผ้าเป็นของผม ที่ดิน มี อะไรอีก มีคอมพิวเตอร์ ตู้เย็น ทั้งหมดเป็นของผม เราคิดอย่างนี้ในใจ แล้วก็ ฟังเสียงความคิดตนเองเรื่องของตัวของตน เพื่อจะรับรู้ในสิ่งเหล่า นี้ มี effect อย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร ที่จะมีอารมณ์เป็นอย่างไร ถ้าเรา ถือตัวถือตนมาก


ถ้าเป็นอย่างนั้น เราก็ต้องมีกังวล มาก แล้วก็หามของหนัก ชีวิตของเราไม่สบาย ไม่มีความสุขเท่าไหร่ ตัวตนเป็น สิ่งที่มันผูกพันและก็หลอกลวงเรื่อยๆ ไป ถ้าหากว่าเราเห็นอนัตตาไม่มีตัว ตน เราก็มีสติปัญญาที่จะอบรมเรา ที่จะทำหน้าที่ แล้วก็รับผิดชอบพอสมควร รู้ กาลเวลา รู้สิ่งที่อยากจะทำด้วยความยินดีด้วย ไม่ได้ทำให้เป็นของหนักที่จะ แบกหาม ที่จะเป็นภาระ ไม่ต้องแบกโลก ปล่อยโลก ไม่ต้องแบกของหนัก ให้อยู่กับ จิตว่าง


ที่จะอิสระอย่างนี้ ต้องพิจารณาในความคิดความ เห็น ความยึดมั่นถือมั่นของตนเอง บางทีเวลาเราฟังธรรมเราก็คิดว่า ไม่ควรจะ ยึดมั่นถือมั่นอะไร ควรจะปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง นี่ก็เป็นแนวคิดของเราที่ เราจะยึดถือ มีความติดตัวไป ปล่อยวางไม่ได้ ปล่อยลูกไม่ได้ เราก็คิดว่าถ้า ปล่อยลูกก็จะไม่ได้เป็นแม่ที่ดีหรือพ่อที่ดี ลูกของเราต้องรักษาดูแลเอาใจ ใส่ เลี้ยงไว้ เป็นหน้าที่ของพ่อของแม่อย่างนี้


แต่พิจารณาอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเราถือว่าลูกเป็นของเรา และทำให้เราบางทีไม่รู้จักลูกของ เราเท่าไหร่ เราก็มีความเห็นที่เกิดจากอวิชชา แล้วก็เป็นเจ้าของลูกตลอด บอก ลูกทำตามคำสั่งของพ่อของแม่ ทำอย่างนี้ทำอย่างนั้น บางทีลูกก็รังเกียจ โต แล้วก็หนีบ้าน เพราะไม่อยากเป็นของที่คนอื่นเป็นเจ้าของ ถ้าปล่อยวาง ไม่ใช่ ทิ้งนะ นี่แสดงว่ามีเมตตาต่อลูกของเราได้เมตตาจริงๆ เรื่องการปล่อยวางเป็น เมตตาภาวนา และเราก็เอาใจใส่ด้วยปัญญา รู้จักประมาณ รู้อะไรสมควร แล้วก็ ตั้งใจจะรักลูกด้วยจิตว่าง เพื่อจะรู้ลูกมีความคิดมีความรู้สึกอย่างไร ให้ เรารู้ลูกของเรายังไม่ได้เป็นของเรา ลูกก็เป็นอย่างนี้เป็นอย่างนั้น ลูกไม่ กลัวพ่อแม่ด้วย


พ่อแม่ของอาตมาเป็นคนที่ถือลูกเป็นภาระ มาก มีพี่สาวอาตมา ๒ คน พ่อแม่ก็ถือว่าเป็นภาระ แล้วก็อยากให้เราเป็นอย่าง นี้เป็นอย่างนั้น ถึงอายุ ๑๗ แล้วก็หนีบ้าน ไม่ค่อยได้กลับบ้าน ไม่อยากอยู่ กับพ่อแม่ พ่อแม่ไม่เคยอยากฟังความเห็นของเรา แล้วก็บอกว่าต้องทำอย่าง นี้ คิดอย่างนี้ ลูกดีๆ ผู้ชายดีๆ ก็จะเป็นอย่างนี้เป็นอย่างนั้น ก็ว่า เรื่อยๆ เราควรจะเป็นอย่างนี้ ไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น เราเบื่อ เราไม่รู้ว่า เราเป็นอะไร เราจะเป็นเด็กที่อาศัยแต่สติปัญญาของพ่อแม่ เป็นพระเถระ เป็น เจ้าอาวาส เป็นอาจารย์ ก็ระลึกถึงนะ


สิ่งที่เป็นประโยชน์ คือคนที่เราเอาใจใส่ สนใจความรู้สึกความเห็น สิ่งที่เป็นอยู่อย่าง นี้ในปัจจุบัน จะมีคนที่เป็นครูชี้ทางได้ แต่ไม่ต้องบอกทาง ชี้ทางที่เรา อยากไป ถ้ามีคนบอกว่าควรจะไปอย่างนี้ ไม่ควรจะทำอย่างนั้น พูดอย่างนี้ ทำ ให้เราไม่อยากฟัง ไม่ยอมฟัง ไม่ไว้ใจ เบื่อ ถ้ามีคนพูดอย่างนั้น บอกว่าไป ทางขวา อาตมามีนิสัยไปทางซ้าย ดื้อ เป็นเด็กดื้อ


เรื่องการปล่อยวาง เรื่องเด็ก เรื่องสามีภรรยาที่จะเข้าใจกัน ถ้าเรายึดถือภรรยาของผม ก็ต้องเป็นอย่างนี้ เราทำตามคำสั่งของสามีอย่างนี้ จะเบียดเบียนทำให้ภรรยา ไม่มีความสุข เป็นเรื่องที่จะเข้าใจด้วยสติปัญญา เพื่อจะรับสิ่งที่มันเป็น อยู่อย่างนี้ในปัจจุบัน เป็นลูกเป็นหลาน เป็นสามีภรรยา เป็นพ่อแม่ เราจะแผ่ เมตตาไปถึงแล้วก็สร้างประโยชน์ซึ่งกันและกันได้


ถ้าเราโทษ พ่อแม่ ถ้าอาตมาว่าพ่อแม่ไม่เคยยึดถือลูกมาก ก็ทำให้เราจับความผิดของพ่อ แม่ แล้วก็ยึดถือความผิด นี่ก็ไม่ดีเหมือนกัน เราก็รู้ต้องปล่อยวางพ่อ แม่ แล้วความกตัญญูก็เกิดขึ้นได้ พ่อแม่ก็ทำดีหลายอย่าง ให้เรามีโอกาสอยู่ ด้วย มีอะไรดี เรียนสูงๆ เวลาบวชเป็นพระ พ่อแม่ก็ไม่คัดค้าน พ่อแม่ก็อยาก ให้เราบวชเป็นคาทอลิก และไม่กล้าพูดอย่างนั้น พ่อแม่ก็เป็นคาทอลิก แล้วก็ อยากให้ลูกชาย ถ้าจะเป็นพระตามศาสนาก็อยากให้เราเป็นพระแบบโรมันคาทอลิก


ความจริงศรัทธาในฝ่ายคริสต์ไม่เคยเกิดขึ้น ศรัทธาเป็นยังไง ศรัทธาไม่ได้เป็น เรื่องสมอง เราก็ใช้เหตุผลอะไรก็ได้ เห็นประโยชน์ มีบาทหลวงนักปราชญ์ทาง คริสต์ศาสนาก็อธิบาย ประสงค์ของคำสอนในคริสต์ศาสนา เราจะอธิบายเป็น หลายอย่าง ที่จะเห็นประโยชน์แล้วก็เข้าใจตามความคิดความเห็น แต่ยังไม่ ถึง ศรัทธายังไม่เกิด มันเกิดอย่างไร เวลาได้ยินคำสอนของพระพุทธเจ้า ศรัทธา มันเกิดทันที


นี่ก็ประหลาดเหมือนกัน เราจะเข้าใจก็ไม่รู้ เหมือนกัน มันแปลก เพราะเราก็อยู่ในครอบครัวที่ถือคริสต์ศาสนาอย่างดี ด้วย ไม่ได้เป็นคริสต์แบบที่ทำให้เรารังเกียจ แต่ศรัทธาในศาสนานั้นไม่เคย เกิดขึ้น อายุ ๒๐ ปี เป็นทหารเรือก็เวลาได้อ่านหนังสือเรื่องพุทธศาสนา ศรัทธาก็เกิดขึ้น สิ่งที่เห็นมาทำให้เรามีศรัทธาในทางพุทธ พระพุทธเจ้าคำสอน ของท่านเป็นเรื่องระลึกถึง เรื่องพิสูจน์เอง เรื่องพิจารณาปัจจุบันให้รู้ เอง ไม่มีข้อที่จะบังคับให้ยึดมั่นถือมั่น


เวลาเป็นคริสต์ บาทหลวงบอกว่าต้องเชื่อพระเจ้า ก็บอกว่าเราไม่เชื่อ เราไม่รู้ พระ เจ้าเป็นยังไง บาทหลวงก็บอกว่าผิดมาก บาปมาก ต้องเชื่อจริงๆ คนที่สงสัยจะตก นรกแน่ อยากจะทำให้เรากลัว เราบอกเราเห็นว่าบาทหลวงคงจะไม่เคยสงสัยในสิ่ง เหล่านี้ เขามีเจตนาดีอยากจะช่วยให้เราไม่ตกนรก สนใจเอาใจใส่อาตมาด้วย ไม่ อยากให้เราตกนรก อยากให้ไปสวรรค์ อยู่กับพระเยซูตลอด นิรันดร


เวลาบาทหลวงพูดอย่างนี้ อยู่กับพระเยซูตลอดนิรันดร เราก็พิจารณา คงจะไม่อยาก อยู่กับพระเยซูตลอดนิรันดร และท่านก็พูดอย่างนั้น เพราะทำให้เป็นสิ่งที่ ทำให้มีศรัทธา ว่า ถ้าเชื่อพระเจ้า และตามคำสอนพระเยซู เวลาตายแล้วก็ จะขึ้นสวรรค์ อยู่กับพระเยซูตลอด ท่านพูดแบบนี้ก็ดีมาก ทำให้เราจะมีกำลังใจ ในการเป็นคริสต์ และนิสัยก็เป็นคนสงสัย อยู่กับพระเยซูตลอดนิรันดร คงจะ เบื่อเต็มที เป็นที่สงสัยอย่างนี้ ภาษาอังกฤษก็ Skeptical mind เป็นจิตที่ ไม่เชื่อง่าย และก็ยังเป็นวัยรุ่นอยู่นะ ๑๖-๑๗ ปี


๒๐ ปี ก็พบศาสนาแบบญี่ปุ่น เซน นิกายเซน และสมัยนั้นในทางที่สหรัฐอเมริกา นิกาย เซนกำลังจะถึงซาน ฟรานซิสโก เรือที่เราอยู่ก็เป็นเรือที่จอดอยู่ที่ ซาน ฟรานซิสโก ก็พอได้กลับไปซาน ฟรานซิสโก ก็ไปร้านขายหนังสือ จะแสวงหา หนังสือพุทธศาสนา สมัยนั้นหายาก เป็นภาษาอังกฤษ ในเวลานั้นสมัยนั้นคนที่ สนใจพุทธไม่มากเท่าไหร่ แต่ตั้งแต่นั้นเรื่องพุทธศาสนาเจริญขึ้น คนที่สนใจ เพราะนี่เป็นวิธีที่จะปฏิบัติเป็น Practical เป็นวิธีที่จะเข้าใจตัว เอง แล้วก็เป็นวิธีที่ตรงไปด้วย ไม่ซิกแซกไป เป็นทางตรง พระพุทธเจ้าสอนท่าน พูดตรงไป ปัจจุบันธรรม ขันธ์ ๕ เป็นนี่นะ ไม่ได้เป็นทฤษฎี หรือปรัชญาอะไร เลย พูดเรื่องสติสัมปชัญญะ นี่เป็นเรื่องปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ตรงไปเลย แล้วก็ พูดถึงอาการที่เกิดขึ้น สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ก็เป็นเรื่อง ปัจจุบัน เรื่องพิสูจน์อย่างนี้ได้


แล้วก็พูดถึงอมตธรรมด้วย สมัยนั้นก็ยังสงสัย อมตธรรมเป็นยังไง จะเอาอมตธรรมไม่รู้ จริงหรือไม่ จริง ตอนนี้ก็จับอมตธรรมด้วย เป็นสังขารไม่ได้ เหมือนกับพระเจ้า God เหมือน เราสงสัย สิ่งเหล่านี้ ในคริสต์ศาสนาก็มีลักษณะ God พระเจ้ามีลักษณะแบบ ผู้ชาย พระเจ้าเป็นผู้ชาย มีลักษณะแบบพ่อ เป็นผู้มีมหาอำนาจที่จะรักหรือ รังเกียจเรา แล้วเราก็บอกว่าพระเจ้าอยู่ที่ไหน บอกอยู่ในท้องฟ้า มองดูท้อง ฟ้าก็ไม่เห็นอะไร พระเจ้ามีลักษณะ มีรูปร่างแบบมนุษย์ พระเจ้าเป็นผู้สร้าง โลกด้วย เวลาเราทำบาป เป็นเด็ก แม่บอกว่า เวลาลูกทำบาป ทำไม่ดี พระเจ้าจะ ร้องไห้ ทำให้เรารู้สึก ถ้าเราทำไม่ดีพระเจ้าจะร้องไห้ แต่เราคิดว่าคงจะแม่ ร้องไห้ และแม่พูดไม่ตรง แม่บอกว่าพระเจ้าจะร้องไห้


ถ้าหากว่าอมตธรรม พระพุทธเจ้าไม่ได้ทำรูปเป็นอมตธรรม เวลาเราพูดถึงธรรมะ ต้อง มีธรรมจักร ไม่มีรูปเป็นมนุษย์ เป็นผู้ชาย เป็นผู้หญิง ไม่ได้ เรามี สัญลักษณ์เป็นพระธรรม เราใช้ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ พระพุทธเจ้าก็ทำพระพุทธ รูปได้ พระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์ เป็นผู้รู้ ต้องรู้แบบมนุษย์ มีลักษณะเป็น มนุษย์ได้ ทำพระพุทธรูปได้


แต่เรื่องธรรมะ ทำเป็นมนุษย์ไม่ ได้ ไม่มีลักษณะอย่างนั้น ที่จะมีลักษณะผู้หญิงผู้ชายอะไรอย่างนั้น พิจารณา อย่างนี้ พระสงฆ์เป็นภิกษุ ภิกขุนีก็ได้ เป็นสัญลักษณ์เหมือนกันธรรมะ เวลา คริสต์พูดถึงพระเจ้าคงจะพูดถึงธรรมะ แต่ในพุทธศาสนาเราก็ไม่ได้ทำธรรมะมี ลักษณะอะไร ธรรมะเป็นสิ่งที่ต้องเห็นด้วยตัวเอง รู้ เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพ โพ วิญญูหิ แล้วก็สวด อกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพ โพ วิญญูหิ ไม่มีกาลเวลา เป็นเรื่องปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ อกาลิกธรรม ไม่ได้ เป็นเรื่องอดีตกาล ปัจจุบัน อนาคต เดี๋ยวนี้ ไม่ได้เป็นเรื่องกาลเวลา เป็น สิ่งที่เห็นด้วยตนเองด้วย ก็ต้องเห็นต้องรับรู้ เพราะเราจะชี้ไปถึงอมตะไม่ ได้


ถ้าเราอยากจะรู้อมตธรรมก็ต้องดูจิต แล้วก็ปล่อยความ คิด ความเห็น ความต้องการ สิ่งเหล่านี้ปล่อยไปจนไม่มีอะไร จิตมันว่าง ที่จะ รู้ที่จะพิสูจน์ที่จะแน่นอนในอมตะเป็นอย่างนี้ จิตว่าง ความว่างเป็นสุญญ ตวิหาร เราก็จะทำรูปเป็นความว่างไม่ได้ ก็พูดถึงเป็น space เป็นอากาศก็ ได้ จิตว่าง เวลาเราได้หยั่งรู้ เห็นจิตว่างด้วยปัญญา ก็จะเห็นเวลาเราไม่ ยึดมั่น วิญญาณก็ยังทำงานอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และเราไม่ยึดมั่น ถือมั่น เราก็พิสูจน์อย่างนี้ ไม่ยึดมั่น ถือมั่น มันว่าง แล้วก็ยังมี ความสามารถ จะทำหน้าที่ของเราจะทำงานก็ได้ จะสนทนาก็ได้ จะทานอาหารก็ ได้ เห็นความว่าง หมายความว่าเวลาตาย ความยึดมั่นถือมั่น สิ่งที่ทำให้เรามี ความทุกข์ มันไม่มีแล้ว


นี่เป็นจุดหมายปลายทางของการปฏิบัติ ทางพุทธศาสนา แต่เรื่องสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อบังคับให้เชื่อ ถ้าเรา บังคับให้เชื่อ ก็เห็นว่าไม่ได้เป็นธรรมแล้ว เป็นความคิดของสัตว์มนุษย์ เรา แต่ถ้าหากว่าเราเห็นธรรม ไม่ใช่ยึดถือคำศัพท์ภาษาบาลีในพระไตรปิฎก เรา ใช้ภาษาบาลี แต่คำสอนที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก เพื่อจะพิสูจน์ในใจของเรา มัน เป็นเรื่องปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ขันธ์ ๕ เป็นนี่ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่สร้างด้วย ความคิด เป็นทฤษฎี ไม่ได้เป็นแนวความคิด สิ่งที่มันจริงอยู่ใน ปัจจุบัน สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง


สังขารเป็นคำศัพท์ ที่ อาตมาชอบ ทุกอย่างเป็นสังขาร โลกพระจันทร์ พระอาทิตย์ ดวงดาวในท้องฟ้า ทุก สิ่งทุกอย่าง ความคิด ความรู้สึก สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุข เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จะพิจารณาขันธ์ ๕ นี้ มันทำให้เราจะเห็นได้ ง่าย มี ๕ อย่าง ที่จะเห็นโลกเป็นโลกได้ ถ้าอยากจะพิจารณาโลก เรื่องสิ่งมัน ต่างกันอย่างนี้ มันต่างกันอย่างนั้น ซึ่งกว้างขวาง หรือเล็กน้อย มันก็คงจะ ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนกับนับใบไม้ในป่า นับทั้งหมดในชีวิตนี้ก็คงจะไม่ สำเร็จ ใบไม้ต้นไม้ในป่าก็มาก เราไม่มีความสามารถจะนับถึงที่สุดได้ พระ พุทธเจ้าว่า คำสอนของท่านเป็นใบไม้ในกำมือ ไม่มากเท่าไหร่ ๕ ใบเท่านั้น และ ถ้าหากว่าเรารู้ แค่นี้ก็พอแล้ว จะพ้นทุกข์ได้ ไม่ต้องเสียเวลา


แล้วมนุษย์เราก็ต้องรู้ ความสามารถของเราเป็นมนุษย์ที่จะนับใบไม้ทั้งหมดในป่าคง จะไม่ไหวแล้ว เป็นไปไม่ได้ เพราะรูปทำไม่ได้ ถึง ๑๒-๑๓ เราก็จะลืมแล้ว มัน มากเกินไป แต่ ๑-๒-๓-๔-๕ นี่ก็เห็นได้ง่าย จำได้ง่าย อย่างนี้โยมทุกคนก็จะ เห็น นิ้ว ๕ นิ้ว เห็นได้ง่าย แล้วก็เห็นสากลจักรวาล ทุกสิ่งทุกอย่างในสากล จักรวาลอยู่ในขันธ์ ๕ นี้


เราก็จะเห็นว่าพระอาทิตย์อยู่ใน ขันธ์ ๕ นะ ความจริงมันอยู่ในขันธ์ ๕ อายตนะ ๖ ตาก็เห็น กลางวันก็จะเห็นพระ อาทิตย์ได้ นี่เป็นขันธ์ ๕ เป็นเรื่องอายตนะ ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าพิจารณาอย่างนี้ ถ้าเราค้นคว้านี่ เรื่องพระ อาทิตย์แบบนักวิทยาศาสตร์ คงจะได้ความรู้นิดหน่อย พ้นทุกข์ไม่ได้ โลกพระ จันทร์มันใหญ่โตมาก ต้องเห็นว่ามันมากเกินไปสำหรับมนุษย์เรา แล้วก็คงจะถึง ที่สุดแล้วอยู่ ๑๐๐ ปีแล้ว ก็จะได้ความรู้นิดหน่อย พระอาทิตย์


ถ้าเราเห็นด้วยธรรม เป็นปัญญาที่จะเห็นเป็นขันธ์ ๕ ก็จะรู้โลกพระจันทร์ พระ อาทิตย์เป็นสังขารนะ และก็ได้เห็น เดี๋ยวนี้ก็พระอาทิตย์ก็ไม่เห็นนะ มันไป แล้ว ตกแล้ว ไปไหน คงจะอยู่อเมริกา และก็มีแต่สัญญานะ พระอาทิตย์


ถ้าเราพิจารณาอย่างนี้ ก็จะเห็นทางพ้นทุกข์ มีสิ้นสุด สิ้นสุดอยู่ที่ นี่ เรื่องตัณหา มีความสามารถจะเห็นตัณหาได้ คือจะเห็นสังขารไม่เที่ยง สัพ เพ สังขารา อนิจจา สัพเพ ธัมมา อนัตตา ไม่มีตัวตน


ธรรมะของเราไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นผู้หญิง นี่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาทางพุทธ ศาสนา ทุกวันนี้ ทางอเมริกาก็คนทะเลาะกัน ทำไมพระเจ้าเป็นผู้ชาย ทำไมไม่ได้ เป็นผู้หญิง ทำให้หลายคนโกรธมาก คิดว่าพระเจ้าเป็นผู้หญิง บางคนก็ รังเกียจ เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นผู้หญิง แต่ว่าความจริงเราไม่รู้เลย เพราะ เราไม่มีใครเห็น


แต่ถ้าหากว่าเราพูดถึงธรรมะ มันอยู่เหนือ ลักษณะเพศอะไร ไม่จำกัดเป็นอย่างนี้ ไม่ได้เป็นสีแดง สีเขียว สีเหลือง ไม่ ได้เป็นผู้ชาย ผู้หญิง ดีชั่วอะไรทุกอย่าง


แม่บอกว่าพระเจ้า เป็นผู้สร้างโลก เราก็ถามทำไมมีความเจ็บปวดทางกาย ทำไมมีคนไม่ดี ทำไมมีคน โกหก ทำไมโลกเป็นอย่างนี้ ทำไมพระเจ้าสร้างโลกอย่างนี้ ถ้าพระเจ้าเป็นคน ดี เป็นผู้ดี ทำไมสร้างความชั่วอย่างนี้ แม่ก็บอกว่าท่านไม่ได้สร้างความ ชั่ว สงสัยทำไมมีความชั่ว ถ้าพระเจ้าไม่ได้สร้าง ถ้าพระเจ้าสร้างทุกสิ่ง ทุกอย่าง และแม่ก็บอกว่าไม่ได้สร้างความชั่ว เราสร้างความชั่ว พระเจ้าไม่ ได้สร้างความชั่ว พระเจ้าเป็นผู้ดีเท่านั้นดีที่สุด อย่างนี้ก็ต้อง เชื่อ เพราะนี่ก็ไม่มีเหตุผลแล้ว บังคับให้เชื่อสิ่งเหล่านี้ ก็ต้องเชื่อ ด้วย ยึดมั่น ถือมั่น เราพิสูจน์ไม่ได้


แต่เรื่องธรรมะ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ เราสวดที่พึ่งของเราคือธรรมะ ไม่ได้เป็นดี ชั่ว หญิง ชายอะไรอย่างนี้ แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่เป็นธรรมะด้วย สังขาร ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็เปลี่ยนลักษณะได้ ดีต่อไปกลายเป็นชั่วก็ได้ กลางวันก็ กลายเป็นกลางคืนได้ สิ่งที่เป็นหนุ่มสาวอะไรก็กลายเป็นคนแก่ด้วย ต่อไปนี่ก็ เป็นการเปลี่ยนแปลงของสังขาร เป็นลักษณะของสังขารให้เราพิจารณาสังขารเป็น อย่างนี้


ธรรมเป็นอนัตตา เราไม่จับสังขารเป็นตัวตน ถ้าไม่ พิจารณาธรรมะจริงๆ คนที่ไม่เคยปฏิบัติ ไม่เห็นธรรม ก็จับสังขารเป็นตัวตน ตลอด ถ้าเรายึดถือคำสั่งก็ต้องเชื่อพระเจ้าเป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็น ผู้หญิง และพระเจ้าเป็นผู้ดีที่สุด ไม่ได้สร้างความชั่ว ความไม่ดีใน โลก สิ่งเหล่านี้ก็เข้าใจความหมาย จะเชื่อก็ต้องยึดถือสิ่งเหล่านี้ สงสัย ไม่ได้ ถ้าสงสัยก็เชื่อไม่ได้ เรื่องธรรมะไม่มีอะไรบังคับ เราไม่ได้บังคับ อะไรในการเป็นชาวพุทธ เราไม่กล้าพูด จะตกนรกถ้าเปลี่ยนศาสนาหรืออะไร พูด อย่างนี้ได้เป็นบางคน และไม่ได้เป็นธรรมะ ธรรมะของพระพุทธเจ้าคือเห็นความ จริง และก็เป็นศาสนาที่จะชักชวน ทำให้เราเห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ ไม่ได้ทำ เพื่อจะบังคับโดยทำให้เรากลัว ใช้วิธีที่จะ intimidate ข่มขู่


สิ่งที่ดีในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าบอกว่า อยากให้เราเตือนตัวเอง วันหนึ่งมีคน ฝรั่งถามอาตมาว่าถ้าจะอธิบายพุทธศาสนาอย่างดีที่จะเข้าใจแก่นสารของพุทธ ศาสนาจะใช้กี่คำที่จะอธิบายได้ เราบอกว่าคำเดียวก็ได้ เขาถามว่าคำอะไร ก็ บอกว่า “ตื่น” ตื่นใจเรานะ ภาษาอังกฤษก็ว่า awake, wake up ทำให้เราตื่น ใจ ต้องมีสติปัญญา สติสัมปชัญญะให้เห็นปัจจุบัน พิจารณา อย่าไปกลัว อะไร อารมณ์ ความสงสัย ความกลัว โกรธ โมโห อิจฉา พยาบาท ความโลภ ความ กำหนัด เป็นอะไร ดีชั่วให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้ด้วยสติ สัมปชัญญะ เพื่อจะ เห็นสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง


เวลาเราเห็นความดีเป็นของไม่ เที่ยง นี่ก็ไม่ได้ทำลายความดีในการกระทำของเรา และเราไม่ได้ยึดถือด้วย อวิชชา ในการรักษาศีล ทำดี ละความชั่ว มีความตั้งใจอย่างนี้ เวลาบวช เป็นพระก็มีความมุ่งหมายใช้ชีวิตทำดีละความชั่ว เรารู้บวชเป็นพระแล้วก็ ยังบางทีมีเหตุปัจจัย ความคิดแบบชั่วเกิดขึ้นในใจได้ เวลาอยู่กับหลวงพ่อชา ก็โกรธหลวงพ่อชาได้ นี่เป็นเรื่องกรรมของเรา แต่ต้องรู้สิ่งเหล่านี้ด้วย ปัญญา ไม่ต้อง กลัวสิ่งเหล่านี้ แต่เห็นเป็นสังขาร เห็นความโกรธที่เกิดขึ้น ด้วยสติปัญญา


ในเมืองไทยทุกวันนี้ บางทีศาสนาพุทธ คนไทยหลาย คนก็ถือเป็นประเพณีเฉยๆ แล้วก็ไม่รู้แก่นสารพุทธศาสนาจริงๆ แล้วก็จะเอนไป ศาสนาอื่นได้นะ สมัยก่อนคนในเอเชีย ก็เปลี่ยนศาสนาเป็นคริสต์ ก็อัศจรรย์ เรื่องความเจริญวิทยาศาสตร์ทางอเมริกา ยุโรป ก็มีความคิดว่าคงจะเป็นเพราะมี คริสตศาสนา และคิดอย่างนี้ อัศจรรย์เรื่องวิทยาศาสตร์ ของตะวันตก แต่ความ จริงชาวตะวันตกกำลังสนใจมากขึ้น เรื่องพุทธศาสนา


เราก็อัศจรรย์เรื่องความสงบ เรื่องสันติภาพเหมือนเห็นพระพุทธรูป เห็นพระที่ ปฏิบัติแล้ว เห็นคนมีความสงบ สำรวมจิต วัฒนธรรมทางตะวันตกของเราไม่เคยมี โอกาสที่จะอบรมตัวเองในสิ่งเหล่านี้


เวลาเราอยากมาอยู่เมืองไทย บวชเป็นพระก็อยู่วัดหนองป่าพง ในหมู่บ้านวันหนึ่งพระองค์หนึ่ง พูด ว่า สิ่งที่ชาวบ้านจะทำให้คือใช้ไม้พาย มีแต่ควาย มีแต่เกวียน ไม่มีเครื่อง บิน พระองค์นั้นก็ดูหมิ่นตัวเอง เราก็อวดตัวบอกว่าบ้านเกิดของผมนะ ซีแอ ตเติล เครื่องมือที่สร้างได้เก่งก็โบอิ้ง ๗๔๗ น่าอัศจรรย์จริงๆ นะ และความ จริงไม่สำคัญเท่าไหร่ เราก็ขอให้อยู่วัดป่าพง เวลาฝรั่งมาภาคอีสาน มีกล้อง ถ่ายรูปอยากจะถ่าย ถ้ามีควาย มีเกวียน อะไรสวยมาก ไม่อยากจะถ่าย ๗๔๗ เลยนะ



ความจริงเรื่องโลกนี้สังขารเราไม่พอใจ ถ้ามีอะไร ทุกสิ่งทุกอย่าง มีความ เจริญ และได้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชอบและอยากได้ เราจะเบื่อ เราก็จะอยากได้ สิ่งที่หายาก เวลาเราเห็นเครื่องบิน ๗๔๗ โบอิ้งสมัยนั้นโรงงานใหญ่อยู่ ซีแอ ตเติล เป็นสิ่งที่คุ้นเคย เราไม่ค่อยอัศจรรย์เท่าไหร่ เป็นธรรมดา แต่มา ภาคอีสาน เห็นแต่เกวียน ก็โอ้ ชอบมาก ในหมู่บ้านมีกระต๊อบมันถึงใจนะ อยู่ วัดป่าพง เราก็ชอบอยู่แบบง่ายๆ นะ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเตียง มีแต่เสื่อ ห้อง นอน ไม่มี mattress (ที่นอน) หมอนอะไรเลย ครั้งแรกเราไม่คุ้นเคย เราไม่เคย นอนอย่างนั้น เวลาครั้งแรก บางครั้งก็ไม่ค่อยสบาย นอนไม่หลับ แต่อีกไม่กี่ วันก็คุ้นเคยทำได้


เราก็พิสูจน์เรื่องการอยู่เป็นมนุษย์ ที่ จะอยู่ง่ายๆ อยู่แบบพระวัดป่าก็มีความสุข มีความสงบด้วย อยู่ง่ายๆ เราก็ อัศจรรย์ อยากอยู่ในวัดป่าตลอดนะ เราอยากจะอยู่ใกล้ชิดหลวงพ่อชา เพราะไม่ เคยเห็นมนุษย์อย่างนั้น ไม่ได้พบพระผู้มีปัญญา ที่ซีแอตเติลก็ไม่เจอ ทำให้ เราอยากอยู่อีสานด้วยความสบายใจ


สิ่งสำคัญในชีวิตเป็นโอกาส ดีอย่างที่เรามีทุกวันนี้ ที่จะปฏิบัติเพื่อจะเปิดจิตของเราได้ เพื่อจะมี ศรัทธา มีกำลังใจในการเป็นชาวพุทธ คือจะเห็นทางพ้นทุกข์ตามที่พระพุทธเจ้า แนะนำ และอย่าไปเชื่อง่าย ต้องพิสูจน์เองด้วยนะ


อันนี้ก็ เป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้ตั้งศาสนากับข้อบังคับให้ เชื่อ มีอริยสัจ ๔ เป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็นข้อบังคับแต่เป็นคำสอนที่จะทำให้ เราพิสูจน์ได้ เห็นในใจ เห็นในกายของเราเอง


คืนนี้ก็แสดง ธรรมพอสมควร ขอให้มีศรัทธามากขึ้น และมีกำลังใจในการปฏิบัติ แล้วพรุ่งนี้จะ กลับบ้าน ขอให้โยมมีแรงดลใจและต้องอยู่อย่างไร อยู่กับใคร อย่าไปถือเป็น อุปสรรค พยายามจะเห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นและปฏิบัติตามความสามารถ ของกาลเวลา ที่จะอำนวยให้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไขปัญหาธรรม ๑

วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗


ปัญหามีมาประมาณ ๓๐-๔๐ ฉบับ คงไม่สามารถถามหลวงพ่อได้หมดในคราวเดียว อาตมาเลยคิด ว่าจะเลือกถามเฉพาะปัญหาที่มีคนสนใจถามกันมามากๆ ซึ่งคล้ายๆ กัน มีความ สงสัยในข้อเดียวกัน อันนี้ก็จะถามให้ก่อน โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการ ปฏิบัติของเรา อันนี้ก็ถือว่าให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก


อย่างคราวนี้ ที่มีมามากก็เกี่ยวกับเรื่องอาการเจ็บปวดทางร่างกาย ขอเรียนถามหลวง พ่อว่า ในการปฏิบัติครั้งนี้มีอาการปวดหลังมาก จนไม่สามารถนั่งสมาธิได้ ถึง ๑ ชั่วโมงตามที่ได้ตั้งใจไว้ ทั้งที่ปฏิบัติมา ๑๐ กว่าครั้งแล้ว แต่ไม่ เคยเจออาการนี้เลย


หลวงพ่อ : สังขารร่างกายนี้ก็เป็นสิ่งที่ จะพิจารณานะ ความเจ็บปวด ต้องรู้สิ่งที่เราจะรักษาให้อาการนี้หายไป และรู้ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น เราไม่มีความสามารถทำให้อาการ นี้หายไปได้ จะ พิจารณาได้ ความเจ็บปวดถ้าเราเครียด พยายามมากเกินไป จะเกร็งตัว ทำร่างกาย นี้ก็จะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าหากเราผ่อนคลาย รู้จักการนั่งที่ทรงตัวอย่าง ดี ถ้าพิจารณา อย่างนี้ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ถ้าไม่หายก็พิจารณาเวทนาใน เวทนา ทุกขเวทนาทางกายก็เป็นอย่างนี้ และอายตนะ ๖ ก็เป็นเรื่องร่าง กาย เหมือนที่อาตมาเคยพูดถึงเมื่อวานนี้ก็ให้รู้เป็นอย่างนี้ การปรุงแต่ง ของเรา บางทีก็ฟังตัวเองด้วย บางทีอาตมาก็ใช้อุบายที่สมัยก่อนเวลามีความ เจ็บปวดทางกายก็เพื่อจะให้รู้อาการที่เกิดจากธรรมชาติที่เราไม่ได้ทำขึ้นโดย เจตนา และเราก็พิจารณาความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางจิตใจ แบบไม่อยากให้มันเป็น อย่างนี้ ไม่อยากให้มีความเจ็บปวด อยากให้อาการเจ็บปวดหายไป


บางทีเราก็พูดเอง โอย ไม่ชอบเลยความเจ็บปวด ไขสันหลังมันแย่มาก ไม่ไหว แล้ว แล้วก็ฟังข้างในที่จะรับรู้นะ เราก็มีความคิดอาการปรุงแต่งเรื่องอาการ ที่เกิดขึ้นเองเป็นความเจ็บปวด เราจะพิจารณาอย่างนี้ เพื่อจะไม่เชื่อกิเลส ตัณหาที่ไม่ชอบอาการเจ็บปวด แต่รู้มันเป็นอย่างนี้ เพื่อจะอยู่กับผู้ รู้ ให้เป็นผู้รู้อาการ ที่มันเป็นความเจ็บปวดเป็นอย่างนี้ ความรังเกียจ ความเจ็บปวดก็เป็นอย่างนี้


ผู้ถาม : เรียนถามหลวงพ่อ เวลา นั่งสมาธิจะเคลิ้มเหมือนฝันตลอด และพอรู้สึกตัวก็ดึงจิตกลับมาที่ ปัจจุบัน สักพักก็เหมือนครึ่งฝันครึ่งปัจจุบัน จะทำอย่างไรคะ


อันนี้ก็ถามอีกนะครับ ขอท่านอาจารย์แนะนำวิธีแก้ง่วงเวลานั่งสมาธิด้วย ขอเรียน ถามหลวงพ่อว่า ทำอย่างไร จะให้อาการง่วงนอนในขณะทำสมาธิหายไป


หลวงพ่อ : นี่ก็สำคัญ ความง่วงนอน ง่วงนอนก็เป็นนิวรณ์ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นสิ่ง ที่เราไม่อยากให้เป็นเหมือนกัน เวลาเรานั่งในโรงธรรมเพื่อจะอยากได้ สมาธิ แล้วก็อาการง่วงนอนก็กำเริบขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากให้มีอาการ อย่างนี้ บางทีเราก็ต่อสู้กับอาการนั้นด้วยความรังเกียจ บังคับตัว พยายามจะ ชนะความง่วงนอนได้


อาตมาก็พยายามทำอย่างนี้สมัยก่อน ก็ไม่ ได้ผลดี เท่าไหร่ นิวรณ์เป็นสิ่งที่เราต้องศึกษาและรู้เอง มันเป็นอย่าง นี้ ความจริงนิวรณ์ ๕ นี่เป็นกิเลสที่เราจะต้องศึกษาและรู้ ไม่ใช่ไม่ชอบก็ อยากจะบังคับไม่ให้มี กลับเป็นวิภวตัณหาอีก แต่ความจริง ธรรมดาชีวิตของเรา อาศัยสิ่งที่ extreme (สุดโต่ง) เวลาชีวิตประจำวันของประชาชนก็อยากให้มี ความสุข อยากให้มีแต่สิ่งที่ดี สิ่งที่จะทำให้เราสนใจ มีอารมณ์ดีๆ อย่าง นี้ เราก็เป็น เรียกว่ามีความสุขที่สุดโต่ง เราก็รู้นะ บางทีสิ่งที่สุด โต่ง บางทีก็ทำให้เรารู้สึกไม่ง่วง เพราะเราสนใจสิ่งที่ดี


หรือบางทีสิ่งที่ไม่ดี เราก็สนใจเหมือนกัน คนไปดูภาพยนตร์เรื่องผีอะไรอย่าง นี้ มันน่าเกลียด น่ากลัว หวาดเสียวก็ได้ เวลาดูหนังเรื่องผีคงจะไม่ ง่วง มันมีอาการตื่นเต้น หรือมีอารมณ์แบบความกำหนัด ฝันเพ้อ สิ่งเหล่านี้ก็ เป็นเหมือนกัน หรือโกรธ โมโห มีอารมณ์ ความง่วงก็หายไป เวลาราคะ โทสะ มัน ดับไปแล้ว ไม่ได้เป็นปัญหาในปัจจุบัน ความง่วงครอบงำชีวิตของเรา เราอาศัย ที่ถูกต้องเพื่อจะรู้จักเป็นตัวเป็นตน มีประโยชน์ และมีความสนใจ


นี่ เรื่องกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน พิสูจน์เพื่อจะพ้นสังขารได้ ไม่ให้อิทธิพล ของสังขาร แต่ต้องรู้สังขาร ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ให้รู้สังขารเป็นสังขาร


นิวรณ์ นี่ถีนมิทธะ ความง่วงนอนก็เป็นสังขารเหมือนกัน ไม่ได้ทำให้เราตื่นเต้น มี อารมณ์สุขสบาย มีความสุข และไม่ได้เป็นสิ่งที่มีอารมณ์หวาดเสียวอะไรอย่าง นี้ แต่มีอารมณ์เกิดขึ้นแบบง่วง ไม่ค่อยชอบ ถ้าไม่อยู่ในห้องนี้คงจะนอนก็ ได้ แล้วก็หลับไปได้ นี่ก็ดีเพื่อจะหายความง่วง หรือเพื่อจะพิจารณาธรรม วิปัสสนาอย่างถูกต้อง ก็ถือเป็นโอกาสที่จะพิจารณาอาการนี้โดยสติปัญญา เพ่ง ดูเวทนาทางกาย เวทนาแล้วก็รู้สึกที่มีอยู่ในปัจจุบัน เวลาเรามีอารมณ์ อาการ แบบง่วงนอน พิจารณาที่จะเอาใจใส่ด้วย ใส่ใจเรื่องความง่วงนอนของตนสนใจจริงๆ


ถ้าเรารังเกียจเฉยๆ มันจะต่อสู้ บางทีก็ชนะ บางทีก็ไม่ชนะ ยังไม่รู้ ด้วยปัญญา มันเป็นยังไง อาตมาจะแนะนำให้พิจารณาสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะรู้ถีนมิทธะเป็น นิวรณ์ที่จะสอนเราเรื่องอาการอย่างนี้ แต่เห็นแล้วด้วยปัญญา มันก็ปล่อย อาการนี้ได้ และต่อมาอาการนี้ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร บางทีถีนมิทธะเกิด ขึ้น ความจริงเราก็เหนื่อยมากแล้ว เป็นธรรมดา แต่ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นเวลา นั่งสมาธิ ส่วนมากเป็นเรื่อง ไม่มีอะไร บางทียังไม่มีสมาธิ ไม่มีราคะ ไม่ มีความสุข ไม่มีอารมณ์ปฏิฆะ เป็นความรังเกียจ เกลียดอะไร จิตใจของเราก็ไม่ รู้จะเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีอะไรจะสนใจ หรือจะทำให้มี energy ทำให้มีวิริยะ ได้


แต่เราพยายามจะให้มีวิริยะ มีกำลังเพื่อจะสนใจไปได้ ถีน มิทธะจะเป็นอาจารย์สอนเรา ถ้ามันเป็นอย่างนี้ ก็เคารพอาจารย์ถีนมิทธะ เราก็ พิจารณาได้มันเป็นยังไง มีความรู้สึกอย่างไร ตาเป็นอย่างไร กายเป็นอย่าง ไร พิจารณาอย่างนี้ก็คงจะได้ผลในการปฏิบัติ


ผู้ถาม : อยากทราบว่าเวลาปฏิบัติต้องรู้ให้เท่าทันทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว แล้วต้อง กำหนดตามไปด้วยหรือไม่ เช่น เวลากินข้าวกำหนด ยกหนอ มาหนอ อ้าหนอ อม หนอ เคี้ยวหนอ รสหนอ หรือแค่ให้รู้เท่าทันก็พอไม่ต้องกำหนด


หลวงพ่อ : อิริยาบถทั้ง ๔ การเคลื่อนไหวของกาย เพื่อจะกำหนดรู้ ไม่ต้องกำหนด ด้วยคำศัพท์ ไว้ใจตนเอง ความสามารถของตนเอง ความรับรู้มันเป็นอย่างนี้ บาง ทีก็กำหนดด้วยคำศัพท์ บางทีก็ช่วยได้มีประโยชน์บ้าง แต่บางทีเราก็ยึดถือ สิ่งเหล่านี้มากจนเรายึดถืออาการด้วยความคิดของเรา


สำคัญที่ จะไว้ใจตัวเอง ปกติไม่ต้องมีคำศัพท์ เพราะเราก็รู้ เวลาลุกขึ้นก็เป็นอย่าง นี้ เดินก็เป็นอย่างนี้ แล้วก็พิจารณาสังเกตการเดินเป็นอย่างนี้ ไม่ต้อง คิด ไม่ต้องกำหนดด้วยความคิด ปล่อยความคิดได้เพื่อจะรับสิ่งที่มันเป็นอยู่ อย่างนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ทานอาหาร ทานอาหารก็เป็นอย่างนี้ ให้เหมือนกับ พระวัดป่ามีธุดงควัตรที่จะฉันในบาตร ธุดงควัตรไม่ได้เป็นวินัย เป็น หน้าที่ขององค์ที่อยากจะฝึกธุดงควัตร วัดหนองป่าพงหลวงพ่อชาแนะนำให้ พิจารณา เวลานี้อาหารในบาตรอย่างนี้ พิจารณาจิตด้วย


ปัจจุบัน จิตของเรานั้น สติสัมปชัญญะ มันจะรับบาตรที่มีอาหารอยู่ในบาตร แล้วก็รู้จิต ของเรามันเป็นอย่างไร เวลาเราดูนะอาหารในบาตร มีอารมณ์เกิดขึ้น และมีเราชอบ หรือไม่ชอบ หิวหรือไม่หิว มีระเบียบที่จะทำตามระเบียบ หรือบางทีก็ ลืม สติก็เผลอ จะตามตัณหากิเลสทันทีก็ได้


พอได้รับรู้ ให้ เราดูจิตของเราในขณะนั้น เพื่อจะรู้สิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ ทดลองดูเวลา ทานอาหาร เรื่องรสต่างๆ ก็จะเห็น ถ้ามีรสจืด รสหวาน หรือรสเค็ม ขม ให้เรา พิจารณาสิ่งนี้เป็นเวทนาด้วย ให้เวทนาสุขก็ทานแต่รสหวาน น้ำตาลก็เป็น สุข น้ำผึ้งก็เป็นสุข เป็นความคิดของพระ


พระพุทธเจ้าอนุญาต ให้เราฉันน้ำตาล น้ำผึ้ง ตอน เย็นได้ เวลาเป็นพระใหม่ๆ ที่วัดหนองป่าพง ก็ ต้องรอ หลวงพ่อชาวันหนึ่งก็ให้ถุงมีน้ำตาล ตอนนั้นกำลังจะอดอาหาร พยายามอด อาหารหลายวัน หลวงพ่อบอกให้ถุงที่มีน้ำตาล เราก็เอาถุงนั้นกลับกุฏิ และ พิจารณาในรสหวาน รสน้ำตาลเป็นยังไง ก็เอาช้อนหนึ่งใส่ในลิ้น แล้วพิจารณา ความสุขที่เกิดขึ้น จะเห็นว่าน้ำตาลก็เป็นสุข น้ำตาลก็เป็นสวรรค์ แต่ถ้ามี น้ำตาลมากเกินไป ก็ไม่ดีเหมือนกัน ก็เบื่อ ทานน้ำตาลแค่ไหน ตอนนั้นก็ เบื่อ ไม่อยากฉันอีก นี่ก็เป็นสิ่งที่สังเกตดู เรื่องรสหวาน รสขม ท่านก็ให้ บรเพ็ดเป็นยาสมุนไพรที่พระธุดงค์นิยม ฉันตอนเย็นได้ ส่วนมาก บ่าย ๔ บ่าย ๕ โมงเราก็รวมที่กุฏิหลวงพ่อชา แล้วก็มีกาน้ำ ส่วนมากก็มีน้ำชา หวาน กาแฟหวานอย่างนี้นะ


วันนั้นเราก็คิดว่าเป็น กาแฟหวาน หลวงพ่อก็บอกว่า สุเมโธ นิมนต์ แล้วก็ให้แก้วหนึ่งแล้วก็น้ำที่ อยู่ในกาน้ำ อาตมายกแล้วก็กลืน ขมมากเลย เป็นบรเพ็ด รสขม เวลากลืนแล้วนิด เดียวมันก็ไม่อยากกลืนอีก ไม่เหมือนน้ำตาล ชิมน้ำตาลนิดหน่อย อยากได้ อีก ชิมบรเพ็ดนิดเดียว ก็ไม่อยากให้มีอีก ไม่ชอบนะ


นี่ก็ สังเกตอารมณ์ด้วย ไม่ใช่ทำด้วยรังเกียจ ให้สังเกตเป็นยังไง ขมเป็นยัง ไง หวานเป็นยังไง เกลือเป็นยังไง ให้เรารู้เอง มีอารมณ์ ความสุขและความ ทุกข์ที่เกิดขึ้น


บางทีก็มองดูอาหารเวลาหิว เราก็ชอบ ถ้าไม่ หิวเราก็เบื่อนะ สังเกตทั้งสอง ชอบและไม่ชอบ ไม่สนใจ สนใจให้รู้ทั้ง ๒ ฝ่าย นะ เพื่อจะรู้มันเป็นอย่างนี้ เราไม่มีสิ่งที่ควรจะรู้สึกนะ ถ้าเราบอก ว่า โอ เห็นอาหาร โยมทุกคนควรจะมีความรู้สึกเกิดขึ้นอย่างนี้ ไม่ได้นะ เรา จะบังคับโยมให้มีอารมณ์ตามที่เราคิดในใจของตัวเองไม่ได้ เราก็แนะนำวิธีที่ โยมจะพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น ดีหรือไม่ดี หรือถีนมิทธะ ความง่วงนอน หรือ เป็นความหิว ความเกลียดชัง ให้รู้ มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง


นี่หมายความว่าเป็นคำสอนที่จะชี้ไปถึง ไม่ได้แสดงว่าดีหรือไม่ดี ไม่ได้พูด ว่า สมควรหรือไม่สมควร เราก็ชี้ไปถึงอาการเป็นอย่างนี้เอง นี่ก็เป็นสติ ปัญญาที่จะให้เราเห็นสังขารเป็นสังขารได้


ถ้าเราไม่เอาปัญญา มาอบรม เราก็จะหลงคุณภาพของสิ่งเหล่านั้นได้ ดีเราก็ยึดถือ ไม่ดีเราก็ เกลียด แต่ความ เกลียดต่อต้านความไม่ดี ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่นอีกอย่าง หนึ่งด้วย และถ้าหากว่าเราเห็นด้วยสติปัญญา อันนี้เป็นเรื่องปล่อยวาง เป็น เรื่องไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น


ผู้ถาม : การตามดูลมหายใจ แบบอานาปานสตินี้ เมื่อเทียบกับการกำหนดแบบพองหนอยุบหนอ มันเหมือนกันหรือ แตกต่างกันอย่างไร แบบไหนจึงเป็นการกำหนดได้สภาวะรับรองแบบปรมัตถ์

หลวงพ่อ : เรื่องวิธีทำสมาธิก็แล้วแต่ เราก็ทำตามสิ่งที่ได้ผลนะ เหมือนกับยุบ หนอพองหนอ เป็นเรื่องลมหายใจเข้า ลมหายใจออกเหมือนกัน ถ้าเรากำหนดปลาย จมูก สิ่งสำคัญคือให้มีสติในปัจจุบัน เรื่องวิปัสสนา เป็นเพื่อจะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ธรรมทั้งหลายไม่มีตัว ไม่มี ตน


และก็จะสังเกตลมหายใจเข้า ลมหายใจออกที่ปลายจมูก เป็น วิธีที่เราใช้กันมากในวัดป่า ตามวัดป่าภาคอีสาน หลวงพ่อชาก็สอนอย่าง นี้ แล้วทางนี้ก็สอนยุบหนอพองหนอ ก็เป็นลมหายใจก็กำหนดพอง เห็นความยุบ ความ พองก็ได้


แต่จุดหมายปลายทางอันเดียวกัน ช่วยให้มีสติ สิ่ง เหล่านี้มันเป็นอยู่อย่างนี้ในปัจจุบันนะ ลมหายใจมีประโยชน์มาก อานาปานสติ เป็นสิ่งที่เห็นได้ง่าย แล้วก็เป็นเรื่องของร่างกาย ความจริงเราไม่เคย สร้าง เป็นตัวเป็นตนเท่าไหร่ เราไม่เคยสร้างลมหายใจเป็นของตัวของตน เป็นของ เรา หรือเปรียบเทียบ เราไม่ถือลมหายใจของเราดีกว่าคนอื่น มันเป็นหน้าที่การ ทำงานของร่างกายที่ส่วนมากเราปล่อยให้ร่างกายทำ บางทีมีอาการเกิดขึ้นที่มี ความลำบากเรื่องลมหายใจ เราก็สร้างให้เป็นตัวตนก็ได้ ธรรมดา ลมหายใจเข้า ลม หายใจออก เราไม่เคยสร้างเป็นตัวเป็นตน เป็นของธรรมชาติ และกำลังเป็นอย่าง นี้อยู่ในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มันมีสติรอบ และรับรู้ เพื่อจะไม่ฟุ้งซ่านไปในอนาคต หรือจะระลึกถึงอดีตกาล เราจะอยู่กับสิ่งที่มัน เป็นอยู่อย่างนี้ มันช่วยให้มีสมาธิด้วย


ถ้าเราตั้งใจมั่น กับลมหายใจ สมาธิจะมีได้ง่าย บางทีลมหายใจละเอียดจนเกือบไม่มี เหมือนกับลม หายใจหยุดแล้ว บางคนก็กลัว คิดว่าตายแล้ว ลมหายใจไม่มีแล้ว ไม่ต้อง กลัว สิ่งเหล่านี้ จะมาช่วยให้มีสมาธิ


แต่สิ่งสำคัญไม่ต้อง มีสมาธิมากอย่างนั้น ให้เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรารักษาปัจจุบัน พิจารณาสิ่งที่ มันเป็นอยู่อย่างนี้ในปัจจุบัน


ผู้ถาม : เวลาเดิน จงกรม ควรกำหนดตามลมหายใจ หรือกำหนดตามจังหวะก้าวเดินที่เท้า เคยลองทำ ทั้ง ๒ แบบ คิดว่าแบบหลังจะรู้สึกตัวดีกว่าเจ้าค่ะ ขอหลวงพ่อช่วยชี้แนะวิธี ที่ถูกต้องด้วย


อีกฉบับหนึ่ง ขอให้มีการช่วยสอนเดินจงกรมแบบวัดป่าสัก ๕ นาที ได้ไหมคะ พอเป็นตัวอย่างสักนิด


หลวง พ่อ : เรื่องเดินจงกรม ก็เป็นปัจจุบันธรรมเหมือนกัน และลมหายใจก็มี เหยียบ เท้าก็มี เวลาเดินก็รู้ เท้าขวาเท้าซ้าย เวลามันยกขึ้นให้สังเกต แล้วมัน ช่วยให้จิตไม่ ฟุ้งซ่านเวลาเดินจงกรม ใช้ทั้งสอง ลมหายใจด้วย แต่ครั้งแรก เราแนะนำให้พิจารณาเท้า ก็มีประโยชน์มาก เพื่อจะสังเกตสิ่งที่เป็นธรรมดา เวลาเดิน เดินก็เป็นอย่างนี้ แล้วอิริยาบถเดินก็เป็นอย่างนี้ เท้าขวา เท้า ซ้าย มีเวทนาเกิดขึ้นเวลาเหยียบพื้นก็จะช่วยให้มีสติ ไม่ให้จิตฟุ้งซ่านไป


บางทีเราเดินธรรมดา เราไม่เคยสังเกตการเดินเป็นยังไง เราก็เดินแล้วคิด เรื่องอนาคต คิดเรื่องที่น่าจะไปที่ไหน คิดเรื่องเพื่อน สิ่งที่ปีที่แล้ว ที่เคยเป็น และวางแผนจะทำอะไรได้ในเวลาเดินจากที่นี่ไปกลับบ้าน ก็สร้างโลก สร้างปฏิวัติอะไรก็ได้ ให้จิตมันปรุงแต่งเรื่อยๆ คนที่มีสติมากๆ เวลา เดิน กับคนที่ชอบภัยอันตรายแบบปีนหน้าผา เวลาอันตรายจริงๆ ก็มีสติ จริงๆ นะ สติมันปรากฏทันที มันเป็นธรรมชาติ มันเป็นเรื่องให้มีสติ ถ้าชีวิต ของเรามันถึงสิ่งที่มันมีอันตรายต่อชีวิต


เวลาเราอยู่ เราไม่ขึ้นหน้าผา ไม่มีอันตรายที่เราจะเห็นได้ ก็จะหลงความ คิด สงสัย จะสร้างความทุกข์เรื่อยๆ ไป วิปัสสนากรรมฐานงานปฏิบัติธรรมอย่าง นี้ ที่จริง สถานที่นี่มันก็ไม่มีอันตราย ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่ต้องปรุง อาหารทำอาหาร ไม่มีหน้าที่ที่จะทำอะไร หน้าที่ของเรานั่งสมาธิ เดิน จงกรม แค่นั้น และไม่มีภัยอันตราย


แต่ความจริงสิ่งเหล่านี้ เป็นโอกาสดีเพื่อจะพิจารณา ไม่ต้องรักษาภัยอันตรายเพื่อที่จะมีสติ ให้เรา เป็นผู้รักษาสติ เวลามีสถานการณ์อย่างนี้ที่ไม่มีภัยอันตราย เวลาเรากลับ บ้านหรือกลับไปทำงานอะไร ถ้าเราเห็นประโยชน์ในการมีสติในชีวิตประจำวัน เรา ก็จะประสานสิ่งที่ดีที่ได้จากการปฏิบัติธรรม เพื่อจะเป็นประโยชน์ในชีวิต ประจำวันด้วย


ในยุโรป อเมริกาคนก็สนใจจะทำอะไรที่เห็นว่า อันตรายมากแก่ร่างกายของเรา ประสบภัยอันตราย ไปทำอะไรที่น่ากลัว เราก็ ถาม คนเหล่านั้น ทำไมชอบทำอย่างนั้น คนหนึ่งก็บอกอาตมาว่า relax (ผ่อน คลาย) ขึ้นหน้าผาอย่างนั้นความคิดก็ไม่มี กังวลก็ไม่มี เราอยู่กับร่าง กาย เรามีสติจริงๆ กังวลทางโลก สิ่งที่เป็นปัญหาชีวิตอะไร ที่มันทำให้ อยาก ฆ่าตัวเอง มันก็หายไปหมดนะเวลาขึ้นหน้าผา เราก็มีสติเพราะสิ่งแวด ล้อมบังคับให้มี นี่เป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้ามีเสือมาอยู่ใกล้ ก็มีสติมาก ขึ้น เวลานี้ไม่มีอะไรที่จะเห็นเป็นอันตรายแล้ว เราก็จะหลงอารมณ์


เป็นคนบ้าก็ได้ เราก็เห็นคนบ้า ความบ้าก็หายไป มีสถานการณ์ที่อันตรายด้วย ความ จริงนี่เป็นเรื่อง instinct สัญชาตญาณ เราไม่ได้บังคับให้อยู่ที่ภัย อันตราย อยากให้อยู่ที่มีสิ่งจำเป็นที่จะรักษาชีวิตได้ ไม่ต้องแสวงหา ไม่ ต้องผจญภัย ให้รู้อารมณ์จิตที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ เวลาเดิน เวลายืน เวลา นั่ง เวลานอน เวลามีอารมณ์ มีคนสรรเสริญ มีคนนินทา มีความเจ็บปวด มีความ สบายทางกาย มีความดี มีความชั่ว ให้เป็นผู้รู้สิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญา เพื่อ จะพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น


ผู้ถาม : การปฏิบัติพองยุบและพุ ทโธมีความต่างกันอย่างไร เพราะตนเองคิดว่าเป็นอุบายสมมุติให้สติอยู่เท่า นั้นค่ะ เวลาหายใจ มีผู้แนะนำให้หายใจด้วยกระบังลม แต่รู้สึกไม่เป็น ธรรมชาติ และต้องตั้งใจมาก จำเป็นไหมคะ


อีกอันหนึ่งนะครับ การเปลี่ยนคำภาวนาเช่น พองยุบ หรือเข้าออกไปตามลมหายใจ โดยมีสติรู้ เท่าทันปัจจุบัน จะส่งผลต่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมไหมเจ้าคะ


หลวงพ่อ : เราก็ชอบพุทโธมาก และก็เป็นเพื่อนเกือบ มา ๔๐ ปีแล้วนะ เป็นคำบริกรรม ที่มีประโยชน์ ครั้งแรกใช้กับอานาปานสติก็ได้ เวลาลมหายใจเข้า เราคิดใน ใจ สวดในใจ “พุท” เวลาลมหายใจออก “โธ” อย่างนี้ ช่วยให้อยู่กับ ลม หายใจ ไม่ให้ฟุ้งซ่านถ้าเราจะจับคำบริกรรมมันช่วยไม่ให้ฟุ้งซ่านคิดอะไรนอก จากคำบริกรรมเท่านั้น เวลาอาตมาบวชครั้งแรก ก็เป็นคนคิดมาก ช่างคิดและจะ ตั้งสติกับลมหายใจเข้าลมหายใจออก ไม่ค่อยได้เท่าไหร่นะ บางทีก็ปลาย จมูก สังเกตปลายจมูกตั้งใจมั่นกับลมหายใจเข้า เวทนาที่จมูก จิตจะทรงไว้ นานๆ ไม่ได้ จิตจะฟุ้งซ่านเรื่อยๆ เราก็เอาพุทโธ พุทโธ นี่เป็นความคิด เหมือนกัน และเอาคำศัพท์เดียว พุทโธ เป็นชื่อพระพุทธเจ้า เราก็ใช้ คิดๆ เพียงแต่พุทโธเท่านั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่เราปล่อยไม่ได้ มันติดในใจ แล้ว ถ้าคิดก็คิด เพียงแต่ไม่ต้องคิดอย่างอื่นนอกจาก พุทโธ พุทโธ


เราก็ฝึกอย่างนี้ และรับฟังสวดด้วย ไม่ได้สวดพุทโธ พุทโธ จนเป็น แบบ mechanical ให้แบบเราไม่มีสติแล้ว บางที พุทโธๆๆๆ จนไม่มีสติแล้ว ถ้า ใช้คำบริกรรมพุทโธ ก็ต้องทำให้มันแจ้งจริงๆ ให้มันชัดเจนด้วยนะ และก็ใช้ อุบาย เวลาพุทโธๆๆ ครั้งแรกไม่ได้ประสานกับลมหายใจด้วย เอาแต่คำบริกรรม พุ ทโธๆๆๆ และคิดในใจ เราไม่ได้สวด ไม่มีเสียง มีแต่คิดนึกในใจ และจะฟังความ คิดนึกที่กำลังคิดอยู่นะ พุทโธๆๆๆ เวลามันเป็นแบบ mechanical จนสติมันเผลอ ไป แล้วก็เวลาได้เห็นอย่างนี้ ก็ทำให้มันแจ้งอีก ให้มันชัดเจนนะ พุทโธ ๆๆ ตั้งใจมั่นกับพุทโธอย่างนั้น มันก็ช่วยให้คุมอาการฟุ้งซ่านได้ จน กระทั่งจิตที่จะฟุ้งซ่านไปมากก็สงบลง จนทำอานาปานสติได้ และความจริงครั้ง แรกเราก็ทำอานาปานสติไม่ได้ ยุบหนอพองหนอไม่เก่งเหมือนกัน และพุทโธก็เป็น ผู้รู้ และเป็นชื่อพระพุทธเจ้า และเราก็สวดพุทธัง สรณัง คัจฉามิ พระ พุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา


เราก็พุทโธ คืออะไร ผู้รู้ อยู่ที่ไหน ใครรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ใครรู้เวลามีเสียงภายในพูด ใครรู้ ใครฟัง พุทโธๆ ถามตัวเองในสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะแยกออกจากเป็นตัวตน ผู้รู้ ไม่ได้เป็นตัวตน เราไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า แต่เราอาศัยผู้รู้ คือสติ สัมปชัญญะ สติปัญญา นี่คือพุทโธ


เดี๋ยวนี้ก็พุทโธก็มี ไม่ได้เป็นคำบริกรรมเปล่าๆ หรือเป็นสิ่งที่พูดเพลินๆ มันลึกซึ้งมาก เราก็รู้ นะ สิ่งเหล่านี้พุทโธมันเป็นคำศัพท์เป็นอุบายที่จะรักษาสติ และพิจารณา สถานการณ์ ประสบการณ์ ในปัจจุบันเป็นอย่างนี้


นี่เป็นวิธี ที่จะใช้คำบริกรรมพุทโธ บางทีคำบริกรรมเราก็ยึดถือได้ ที่จะทำเป็นความยึด มั่นถือมั่น เป็นเรื่องสังขารเป็นวิธีฝึกกรรมฐาน เป็นพุทธศาสนา เป็นอาจารย์ ดีๆ ด้วย เราจะยึดถือสิ่งเหล่านี้ได้ สิ่งที่ดีที่สุด ยึดถือความเห็นของพระ พุทธเจ้าได้ เราก็มีความเห็นเรื่องพระพุทธเจ้า เราก็ยึดถือความเห็นของเรา ได้


ผู้รู้ความยึดมั่นถือมั่น ถ้าเราไม่รู้ และเราก็มีความ เห็นเรื่องพระพุทธเจ้าตามมีตัวมีตน ทิฏฐิมานะ สิ่งเหล่านี้เราก็ยังมีความ ทุกข์อยู่ เราก็เชื่อพระพุทธเจ้า รักพระพุทธเจ้า มีความเห็นเรื่องพระ พุทธเจ้า แต่ทำด้วยทิฏฐิมานะที่เราไม่สังเกตด้วยปัญญาว่าจะเป็นยังไง ที่จะ เห็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความยึดมั่นถือมั่น

พุทโธอย่างนี้ก็เป็นอุบาย เป็นสิ่งที่จะช่วยถ้าเป็นประโยชน์ก็ใช้ได้ เพื่อจะรักษา จิต ก็จะพิจารณาพระพุทธเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นอะไร ถ้าเป็นที่พึ่งใน ปัจจุบัน เป็นสรณะในปัจจุบันจริงๆ อยู่ที่ไหน และก็ถามปัญหาตัวเองได้ ไม่ ต้องแก้ปัญหาอย่างนี้ และทำให้มีอารมณ์ พิจารณา จิตมันว่าง สังเกตดูนะ ผู้ รู้ไม่มีชื่อไม่มีนาม ไม่ได้เป็นตัวไม่ได้เป็นตน และปัญญาก็ทำงานได้ เวลามี สติก็แสดงว่าเรามีปัญญา พระสุเมโธ เรามีปัญญา อย่างนี้นี่เป็นตัวตนอีก นะ ปัญญามันเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติ แต่เราจะยึดถือทำให้เป็นตัวตนนี่ก็เป็น กิเลสอีกอย่างหนึ่งเป็น ทิฏฐิมานะ และถ้าหากว่าเราปล่อยทิฏฐิมานะ รู้ทิฏฐิ มานะแล้ว เห็นโทษในการยึดถือสิ่งเหล่านี้ ปัญญามันเป็นธรรมดาเป็นธรรมชาติ ที่จะนำทางที่จะทำให้เรามีศรัทธามากขึ้น และก็จะเห็นทางพ้นทุกข์ได้


ผู้ถาม : นั่งสมาธิแล้วจิตฟุ้งซ่านมาก แม้ได้พยายามกำหนดพุทโธ และดูลมหายใจ เข้าออกแล้ว จะทำอย่างไรดีคะ เพราะหัวสมองจะคิดถึงเรื่องต่างๆ ตลอดเวลา และ ชอบรู้สึกเหมือนจะหายใจไม่ออกค่ะ


หลวงพ่อ : ความ จริง วัฒนธรรมสมัยปัจจุบัน การศึกษาทุกอย่างมันบังคับ ให้เราคิดมาก ให้เรา ฟุ้งซ่านมาก เราก็มีข้อมูลเยอะแยะมีหนังสือพิมพ์ มีอะไรที่จะทำให้เราคิดมาก และสงสัยมากด้วย และพิจารณานี่อาการนี้ บางทีเราไม่อยากให้ฟุ้งซ่าน นี่ก็ เป็นฟุ้งซ่านอีก เป็นกิเลสอีกอย่างหนึ่ง


ฟุ้งซ่านก็รับรู้ มันเป็นอย่างนี้ จิตของเราเป็นอย่างนี้ มันกำลังคิดอย่างนี้อย่างนั้น มัน เป็นอย่างนี้ ถ้าเราพยายามจะกดดันไม่ให้เป็นอย่างนี้ จะต่อต้านความ ฟุ้งซ่าน มันก็จะ ผิดหวังในการปฏิบัติมาก ยิ่งอยากไม่ให้มียิ่งมันกำเริบ ขึ้น จะควบคุมบังคับตามความต้องการของเราไม่ได้ และถ้าเรายอมรับเดี๋ยว นี้ จิตของเรามันเป็นอย่างนี้ ฟุ้งซ่าน คิดถึง ยอมรับมันเป็นอย่างนี้ โดย ไม่รังเกียจ ไม่ได้ตาม ไม่ได้สรรเสริญและ เรารู้ ปล่อยให้มันเป็นอย่าง นี้ มีความรู้สึกอย่างนี้ จิตฟุ้งซ่าน แล้วมีความรู้สึกอย่างนี้ ให้ใช้ ประสบการณ์เพื่อจะสอนเรา


ถ้าเรายอมรับอย่างนี้ มันเป็นทางทำ ให้อาการอย่างนี้คลายลงไปได้ ดับไปได้ ถ้าเราต่อต้าน บังคับตัว เราก็ เกลียด เราก็ทำให้มีความทุกข์ เวลาเรากำลังนั่งสมาธิ ก็จะเพิ่มให้เป็นกิเลส อีกมาก ยิ่งมีความทุกข์อยู่


บางทีก็มีอะไรในชีวิต ทำให้ เราต้องคิดมาก เวลาก่อนที่ออกจากอมราวดี เดือนพฤศจิกายน อาตมาก็ได้รับ นิมนต์ไปประเทศภูฏานแล้วก็ไปนครวัด แล้วก็มาเมืองไทยนี้ เรากำลังจัดงานกฐิน ที่อมราวดี ก็เตรียมเพื่อจะเดินทางไป และในเวลานั้นที่อมราวดี ทุกคน สงฆ์ก็ มีปัญหาส่วนตัวอย่างนี้อย่างนั้น ต้องรับฟังหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีก็ไม่ อยากฟังเหมือนกัน เบื่อเต็มทีแล้ว เราอยากจะเตรียมเดินทางไป


พิจารณา อาการอย่างนี้ บางทีชีวิตของเราก็เป็น อย่างนี้ นี่ก็เป็นธรรมดา เป็นเจ้า อาวาส เป็นอาจารย์ บางทีสงฆ์ร่วมมือกันประสานกันดี บางทีทะเลาะกัน มัน ก็ เปลี่ยนแปลง เป็นธรรมดา จนไม่สร้างความรังเกียจต่ออาการที่เกิดขึ้น และ ก็ใช้ชีวิตประจำวัน


เราจะบังคับโลกตามความต้องการของเรา ไม่ได้ ถ้าเป็นตัวตนนี่ พระสุเมโธอยากได้อยู่วัดที่พระทุกรูปเป็นพระ อรหันต์ ไม่มีปัญหาเลย ให้มีแม่ชีที่ดีไม่สงสัยอะไร มีศรัทธาเป็นอรหันต์ ด้วย โอ้ ดีที่สุดนะ แล้วก็มีญาติโยมมาด้วยมีศรัทธาจนไม่บ่นกัน ไม่สร้าง ความยุ่งยาก เป็นสังคมที่ดีที่สุดแล้ว แต่เราก็รู้ชีวิตมนุษย์ไม่ได้เป็น อย่างนั้น บางทีมันเปลี่ยนแปลงไป ก็มีความสุขอยู่ในสงฆ์ พระเณร แม่ชี ทุกคน ร่วมมือกันช่วยกันอย่างดี บางทีมันเปลี่ยนแปลงและแย้งกัน แล้วก็ประสาน กัน ก็เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องเหตุปัจจัยที่ เกิดขึ้นที่เราคุมไม่ ได้ พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ต้องเป็นคนควบคุม ที่จะบังคับโลกตามความต้องการของ ตนเอง ให้เป็นผู้รู้สังขาร เพื่อจะไม่ให้หลง สังขารที่เปลี่ยนแปลงไป ให้รู้ สังขารเป็นสังขาร ไม่รักไม่รังเกียจ นี่เป็นทางพ้นทุกข์จริงๆ


ผู้ถาม : คงจะเป็นข้อสุดท้ายนะครับ ขอให้ท่านอาจารย์กรุณาแนะนำเวลานั่ง สมาธิ พิจารณาลมหายใจอย่างเดียว หรือพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยและทำ อย่างไร


หลวงพ่อ : ต้องรู้ว่ามันเป็นอย่าง ไร ปัจจุบัน เหมือนกับเวลาเราเข้าห้องกรรมฐานที่นี่ เราก็นั่งพิจารณาอาการ มันเป็นอยู่อย่างไร อารมณ์มันเป็นอยู่อย่างไร เราก็รู้ ถ้ามีจิต ฟุ้งซ่าน ถ้ามีกังวล มีกิเลสมาก คงจะตามลมหายใจเข้าลมหายใจออกไม่ได้ แล้ว อาจารย์บอกว่า เข้าห้องกรรมฐาน แล้วตามลมหายใจเข้าลมหายใจออก เราก็จะทำตาม คำสอนคำสั่งของอาจารย์ก็ได้


ถ้าเรามีอารมณ์ที่ฟุ้งซ่าน มาก แล้วก็มีภาระ มีอะไรที่จะทำให้เราตามลมหายใจเข้า ลมหายใจออกไม่ได้ ถ้า เป็นอย่างนี้ ให้รู้สถานการณ์ว่าเป็นอย่างนี้ อดทนต่ออาการที่มีใน ปัจจุบัน อันนี้ก็สังเกตเวลามีอาการอย่างนั้น สับสนวุ่นวายในใจ เราก็ปล่อย ให้เป็นอย่างนั้น เราไม่ทำอะไร นั่งได้ นั่งขัดสมาธิ แล้วก็ยอมรับอาการ วุ่นวาย ไม่สบายใจ ยอมรับมัน ถ้ายอมรับ สร้างความอดทนขันติบารมีมากๆ อาการ วุ่นวายสับสนมันก็จะคลายลงไปเอง


ถ้าเราบังคับไม่ให้มี ก็ทำให้มันมากขึ้น เหมือนกับโคลนอยู่ในน้ำ ถ้าเราปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ มันก็ ลงไปเอง และลงไปแล้วก็รู้ จิตก็ทำอานาปานสติได้ บางทีครั้งแรกทำอานาปานสติ มากๆ เป็นอุบายที่ดีที่จะฝึกหัดพิจารณาได้ เป็นสิ่งที่เห็นได้ สิ่งที่ทำได้


แต่ถ้าหากว่าเราคิดว่าเราควรจะทำอานาปานสติ ให้มีฌานให้เป็นอย่างนี้ให้เป็น อย่างนั้น ต่อไปก็จะยึดถือความเห็น มันจะเป็นอุปสรรค เพราะความยึดมั่นถือ มั่นเป็นตัณหา เป็นสิ่งที่ปิดบังตา ต้องรู้ความสามารถของตนด้วย มีนิสัย อย่างไร บางทีพระบางรูป นิสัยแบบหงุดหงิดมาก กังวลมาก มีอะไรก็มีกังวล ตลอด คิดเรื่องอนาคต ไม่รู้จะเป็นอย่างไร ป้องกันมาก บางทีก็มีศรัทธา มาก ถ้ามีเป็นศรัทธาจริต อานาปานสติก็ง่ายขึ้น เพราะมีศรัทธา มันจะทำให้เรา ปฏิบัติง่าย แต่ปฏิบัติเพื่อที่จะมีสมาธิได้ ถ้าเป็นคนสงสัย คนเฉลียว ฉลาด ความรู้ทางโลกมาก แต่ศรัทธาไม่มาก ความสงสัยมาก ต้องพิจารณาวิธีที่จะ รู้ความสงสัยเป็นอย่างไร ไม่ใช่เพื่อจะทำลายอาการนี้ รู้อาการนี้เพื่อจะพ้น จากความทุกข์


บางคนก็มีความสุขจากนั่งสมาธิได้ง่าย เพราะมี ศรัทธา เหมือนที่อยู่อุบล บางทีชาวบ้านเขาจะได้สมาธิง่ายๆ ชาวบ้าน หลายคน เชื่อ มีศรัทธากับหลวงพ่อชามาก หลวงพ่อชาแนะนำทำอานาปานสติ พุทโธๆ ชาวบ้าน ก็ทำได้ ไม่สงสัย พุทโธ ไม่สงสัยคำสั่งของหลวงพ่อชาเลย หลวงพ่อชาก็บอกทำ พุทโธ ชาวบ้านก็ทำเลย ก็ได้ผลได้ ได้ผลดี เพราะมีศรัทธาไม่สงสัย


แต่พวกเราพระฝรั่ง เป็นพวกสงสัยเก่ง อาตมาก็มีนิสัยอย่างนั้น หลวงพ่อชาก็บอกอา นาปานสติ พุทโธ ทำไม มีประโยชน์อย่างไร อยากจะรู้ พุทโธมีความหมาย จะเป็น การสวดแบบโมฆะไม่รู้เรื่อง เรามีนิสัยสงสัยอย่างนี้ ปฏิบัติสมถะกรรมฐาน ยาก และกิเลสอย่างนี้ ความสงสัยวิจิกิจฉามันมาก ถ้าศรัทธาจริตวิจิกิจฉาก็ ไม่มาก รักษาจิตโดยมีศรัทธามีกำลังจากศรัทธา แต่คนที่เป็นคนสงสัย เราต้อง เอาปัญญามาอบรมเรื่อยๆ นะ


เดี๋ยวนี้ก็ปฏิบัติหลายปี ก็เห็น ว่าปัญญากับศรัทธามันสมดุลกัน เดี๋ยวนี้ก็มีศรัทธาจริงๆ ศรัทธาเรื่องพระ พุทธศาสนา เรื่องพระพุทธเจ้า เรื่องการปฏิบัติ ศรัทธามากขึ้น ปัญญามันสมดุล กันได้ อันนี้เรื่องอินทรีย์ ๕ เรื่องสิ่งเหล่านี้ เพื่อจะรู้ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ศรัทธากับปัญญา สติก็รู้ ให้ศรัทธากับ ปัญญาเท่ากัน สมดุลกัน วิริยะกับสมาธิ เป็นคำสอนที่จะช่วยให้เราพิจารณา อาการของเราได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไขปัญหาธรรม ๒

วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๗


ผู้ถาม : การท่องพุทโธเวลาเดินจงกรม จะเหมาะสมหรือไม่ เพราะเป็นการนำชื่อพระ พุทธเจ้ามาใช้กำหนด การเดินที่เท้า จะอธิบายได้อย่างไร


หลวง พ่อ : เจริญสติปัญญาให้ดีขึ้นมา ความมุ่งหมายคือจะเห็นสัจธรรม ไม่ได้เป็น เรื่องประเพณีหรือจะดูหมิ่นพระพุทธเจ้าหรือจะทำอะไรผิด พุทโธ เป็นคำบริกรรม ที่จะระลึกถึงปัจจุบันได้ เวลาเดินอิริยาบถ ๔ อย่างเป็นการเคลื่อนไหวของ ร่างกายที่ธรรมดาในชีวิตประจำวัน และให้มีสติกับร่างกาย ในร่างกายนี่เป็น สิ่งที่เห็นได้ง่าย


บางทีความคิดมันเร็วเกินไป มันจะหลงจะ ยึดถือความนึกคิดของเรามาก และมันเกิดขึ้นดับไปอย่างรวดเร็ว และร่างกายเป็น สิ่งที่จะตั้งสติได้ง่าย แต่เวลาเดินจงกรม เราไม่ได้เดินเพื่อจะมีสมาธิ ถ้า เดินช้าๆ ไป ถ้าทำอย่างดีก็ตั้งใจมั่นกับเท้าเหยียบพื้น ทำอย่างนี้นานๆ มัน ก็มีสมาธิดีด้วย


เรื่องสติ เรื่องเราใช้อิริยาบถ ๔ เพื่อจะ ให้มีสติติดต่อกันเวลาเรานั่ง ยืน เดิน นอน จะเป็นความสามารถของเราที่จะรับ รู้มันเป็นอย่างนี้ ถ้าเราจดจ้องหรือตั้งใจมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาก มันก็ มีสมาธิ แต่ถ้าหากว่าเรามีสติสัมปชัญญะในปัจจุบัน เพื่อจะระลึกถึงปัจจุบัน เท่านั้นก็จะเห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้น แล้วก็ดับไป ใน ประสบการณ์ปัจจุบัน เช่น เดินจงกรม เดินไปเดินมาก็มี เราก็จะตั้งใจมั่นกับ ครั้งแรกเท้าเหยียบพื้น พุทโธๆๆ มันเป็นคำบริกรรมเพื่อจะกันความ ฟุ้งซ่าน ช่วยไม่ให้ฟุ้งซ่านทางใจ แต่ทำพอแล้ว แล้วก็มีอะไรเกิดขึ้นเป็น อารมณ์เป็นความคิดเป็นความจำ ความเป็นจริงทางอารมณ์ มีความสบายไม่สบายเกิด ขึ้น ให้เรารู้มันเป็นอย่างนี้ให้รู้ สบายก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา รู้ อารมณ์ไม่สบาย เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ถ้าเราปฏิบัติ อย่างนี้ พิจารณาเป็นอริยสัจ ๔ ตลอด ก็จะเห็นความเกิด ความดับ เกิด ทุกข์ ดับทุกข์ สังขารมันเกิดดับ แล้วเราไม่ได้เป็นสังขาร เรากำลังจะมีความ หยั่งรู้ เห็นประโยชน์ที่จะอยู่กับสติ ผู้รู้ พุทโธตลอด ที่จะพ้นจากอารมณ์ ที่เกิดขึ้น และความเห็นที่เรายึดมั่นถือมั่นมาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจ ออก เดินจงกรมก็สังเกตกำหนดรู้ การเดิน อิริยาบถเดินก็เป็นอย่างนี้ การยืน กลับคืน การเคลื่อนไหวของร่างกาย


อันนี้ก็เป็นพิเศษ เพราะใน ชีวิตประจำวัน เราไม่เคยเดินจงกรม เวลาเราเดินเพื่อจะไปตลาด ไปช้อปปิ้ง ไป โรงเรียน ไปออฟฟิศ หรือไปเที่ยว แต่นี่เป็นเดิน มีความหมายว่าเดินจากบ้าน เพื่อจะไปตลาด ความจริงมุ่งหมายของเราคือจะไปซื้อของที่ตลาด บางทีระหว่าง ทางจากบ้านไปตลาด เราก็คิดเรื่องคนนี้คนนั้น เรื่องความสุขความทุกข์ ความ ทะเยอทะยาน น้อยใจอะไรเกิดขึ้น คิดถึงเพื่อน อะไรคิดเรื่อยๆ จะวางแผน จะ ปฏิวัติก็ได้เวลาเดินจากบ้านไปถึงตลาด


แต่เดินก็มีสติเกิด ขึ้น เวลาเราต้องข้ามถนน มีรถยนต์ต้องมีสติจะรับรู้มันเพื่อจะไม่ให้รถชนเรา ได้ และถ้าไม่มีภัยอันตรายในบริเวณนั้น ก็จะลอยไปฟุ้งซ่านไปได้


เมื่อเราไปอยู่กับหลวงพ่อชาที่วัดป่าพงหลายปีมาแล้ว วันหนึ่งมีผู้ชายคนหนึ่งเป็น ชาวบ้านมาที่กุฏิ กุฏิสมัยนั้นอยู่ในป่า อยู่ห่างไกลจากศาลาด้วย โยมก็บอก ว่า ท่านสุเมโธ มีโยมอยากจะพบท่านกำลังรอที่ศาลา เราก็รีบห่มจีวรลงบันไดจาก กุฏิ รีบไปที่ศาลาแล้วก็โยมผู้ชายบอกว่า โอ สุเมโธ เดินทางไม่เหมือนหลวงพ่อ ชา อาตมาก็สงสัยทำไมพูดอย่างนี้ ไม่เหมือนหลวงพ่อชา โยมบอกหลวงพ่อชามีสติ เวลาเดินไปรู้ เวลาก้าวไปก็รู้ ไม่รีบไป เหมือนโยมเห็นจิตของเราด้วย เราไม่ ค่อยสังเกตการเดิน เราก็รีบไป เพื่อจะพบคนที่ศาลา ทำให้เราพิจารณาการ กระทำของเราด้วย เราก็เป็นคนอย่างนั้น ถ้าบอกว่ามีโยมกำลังรอที่ศาลา ก็ โอ๊ะ จิตไปถึงศาลาแล้ว ร่างกายยังไม่ถึง และจิตก็ดึงร่างกายไปโดยไม่มี สติสัมปชัญญะ เวลานั้น เรามีความมุ่งหมาย จิตถึงศาลาทันที แต่ร่างกายก็ถึง อย่างนั้นไม่ได้ ต้องอดทน ต้องรู้ความสามารถของร่างกาย พิจารณาร่างกายและ เห็นอารมณ์ที่เกิดขึ้น อยากรีบไปถึงศาลา นี่เป็นเรื่องจิตใจของเรา


เวลาเรามีสติ เราจะเห็นทั้งสอง เห็นร่างกายเป็นอย่างนี้ และเห็นอารมณ์จิตที่ เกิดขึ้น เวลาเราเดินจากกุฏิไปศาลา เดินตามไปตลอด เดินจงกรม หรือการยืนก็ดี เหมือนกัน และมีอารมณ์เกิดขึ้น มองดูนาฬิกาก็ดี ถ้าเราตั้งใจเดินจงกรม ชั่วโมงหนึ่ง แล้วก็เดินไปเดินมา แล้วก็โอ้ คงจะถึงเวลาแล้ว แล้วก็มองดู นาฬิกา มีอารมณ์อย่างไร สังเกตดู เวลามองดูนาฬิกามีอารมณ์เกิดขึ้นอย่าง ไร อาตมาก็สังเกต ได้ประสบการณ์ของตนเอง อธิษฐานว่าจะเดินจงกรมชั่วโมง หนึ่ง เราก็คิดว่าเป็นชั่วโมงแล้ว ดูนาฬิกามันก็ยังไม่ถึง เป็น ๒๕ นาที เรา ก็มีอารมณ์ โอ้ มีอีกมาก กาลเวลามันช้าไปหน่อย บางทีมีอารมณ์ก็เบื่อการเดิน จงกรมแล้วอยากนั่งนี่ก็เป็นสัมมาทิฏฐิด้วย อย่าไปโทษตัวเอง ว่ามีอารมณ์แบบ นั้น ให้รับรู้อารมณ์เป็นอารมณ์เฉยๆ นี่เป็นทางที่ตรงไปที่จะพ้นทุกข์ได้


บางทีเราตั้งใจเดินจงกรมชั่วโมงหนึ่ง บางทีเราเบื่ออยากหยุดแล้วก็ไม่มีกำลัง ที่จะทำต่อไป เราก็จะเห็น โอ้ เราเป็นคนปฏิบัติไม่เก่ง จะโทษตัวเอง จะดู หมิ่นตัวเอง โอ เราเป็นคนปฏิบัติไม่ดี สู้คนนั้นเดินชั่วโมงหนึ่งอย่างดีมี สติตลอด เราไม่มีสติ ยังจิตฟุ้งซ่าน คิดอย่างนี้ จะเป็นอารมณ์ที่หลง ได้ ง่าย เราก็จะหลง


นี่ก็เป็นตัวตนเหมือนกัน เราปฏิบัติไม่ ดี ปฏิบัติไม่เก่ง คนนั้นปฏิบัติดีกว่าเรา เป็นตัวตนเหมือนกัน ให้รับรู้ อารมณ์อย่างนี้ก็เป็นสิ่งไม่จริง เราไม่ได้เป็นตัวตน เราก็เชื่อกิเลสอย่าง นี้ได้ เราเป็นคนไม่ดี ปฏิบัติไม่เก่ง เชื่อได้ง่าย


แต่อย่าไปเชื่อนะ ให้อาศัยแต่พุทโธตลอด ผู้รู้ก็รู้นี่เป็นอารมณ์ สร้างด้วยความ คิด เราก็เปรียบเทียบความสามารถของเรากับคนอื่น หรือเราดูหมิ่นตัวเอง เห็น ว่าเราปฏิบัติไม่เก่ง นี่เป็นอารมณ์ที่เราสร้างเอง เป็นทุกข์


ผู้รู้ คือรู้สิ่งเหล่านี้เป็นอารมณ์ เป็นสังขาร เป็นอนิจจัง เกิดขึ้นดับ ไป ถ้าเราตั้งใจให้พิจารณาอย่างนี้มากๆ มันจะออกจากความยึดมั่นถือมั่นที่จะ ทำให้เรามีความทุกข์ในชีวิต มากๆ


อาตมาก็ปฏิบัติอย่าง นี้หลายปี ก็เป็นคนดูหมิ่นตัวเองเก่งมาก เห็นอะไรที่คิดไม่ดี อารมณ์ไม่ดี เกิดขึ้น โกรธเกิดขึ้น อิจฉาเกิดขึ้น มันก็ โอ้ ไม่สมควร เราเป็นพระไม่ ดี เราไม่บริสุทธิ์ เราอย่างนั้นอย่างนี้ โทษตัวเองมาก นี่เป็น นิสัย เป็น Habit เป็นนิสัยของเรา เราก็จะเชื่อสิ่งเหล่านี้ เราก็จะหลงสิ่ง เหล่านี้ ทำให้มี เราจะหลงอาการที่เป็นแบบเศร้าโศกมาก ต้องไปหาจิตแพทย์ ถ้า เชื่อและก็ยึดมั่นถือมั่นอย่างมาก ทำให้เราต้องอาศัยจิตแพทย์ต่อไป ถ้า หากว่าเราอาศัยพุทโธเป็นที่พึ่ง เราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยปัญญาได้นะ ปัญญา ก็รู้ สังขาร นี่เป็นสังขาร ตัวตน ถือตัวตนเป็นสังขาร เกิดขึ้นดับไป แต่เรา ไม่ได้คิด สังขาร เราก็รู้ หยั่งรู้ รู้เอง เห็นเอง นี่เป็นทาง พ้นทุกข์แน่ นอน


ผู้ถาม : การนั่งสมาธิโดยการดูลมหายใจเข้าออก จะได้ บุญอย่างไร ที่กราบเรียนถามท่านอาจารย์เพราะหนูไม่ชอบนั่งสมาธิมากเลย ค่ะ ถ้าจะให้เห็นการเกิดดับก็เห็นได้ทั่วไป โดยไม่ต้องนั่งสมาธิก็ได้ ถูก ต้องหรือไม่ ไม่มีแรงจูงใจในการนั่งเลยค่ะ เดินจงกรมยังมีสติมากกว่าค่ะ


หลวงพ่อ : ทุกคนก็ต่างกัน บางคนบางองค์ชอบนั่งมาก ไม่ชอบเดินจงกรม บางคนก็ชอบ เดินจงกรม ไม่ชอบนั่งสมาธิ แต่รู้นิสัยของตนเอง ถ้าเราคิดว่าเราต้องนั่ง สมาธิมากๆ ที่จะปฏิบัติถูกต้องได้ผล นี่ก็เป็นความคิด เราก็ยึดถือความคิด อย่างนี้ได้ และต้องรู้ความสามารถของตนเอง ถ้าได้ผลสติ มันสมบูรณ์ จะเดิน จงกรมมากก็ดีเหมือนกัน ก็แล้วแต่ความสามารถ แต่สิ่งที่จะมีแรงดลใจ เราชอบ ทำ บางคนว่าต้องนั่งหลายชั่วโมง ๓ ชั่วโมง ๔ ชั่วโมง แล้วก็บังคับตัวให้ นั่งนานๆ บางทีก็ทรมานตัวเองด้วยอวิชชา ไม่รู้ เราไม่พิจารณาความยึดมั่นถือ มั่นของเรา เราก็มีความยึดถือความคิด ถ้านั่งสมาธิมากๆ เราจะพ้นทุกข์ได้ มี ความยึดมั่นถือมั่น ถ้านั่งสมาธิวันละหลายชั่วโมงจะพ้นทุกข์ และถ้าเรานั่ง ไม่เก่ง ไม่ได้นั่งนานๆ เราจะว่าเราเป็นคนปฏิบัติไม่เก่ง


นี่ทั้ง ๒ อย่างก็เป็นทิฏฐิด้วย ให้เรารู้ ทิฏฐิอย่างนี้เป็นสังขาร นี่เรื่อง คำสอนพระพุทธเจ้า ท่านก็ชี้ไปถึงสิ่งธรรมดาธรรมชาติ ไม่ได้ฝืนอะไร ก่อนที่ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านปฏิบัติแบบอัตตกิลมถานุโยค ฝืนความสามารถทรมานเอง มากๆ เพื่อจะพ้นจากความทุกข์ และก็ปฏิบัติอย่างนั้น ๖ ปี ได้ผล แต่ยังไม่ พ้นทุกข์ ได้ผลดีคงจะสร้างบารมีได้ อดกลั้นทำอะไรที่จะต่อสู้กับโลกียะภาย นอก


แต่เวลาท่านตรัสรู้แล้ว ท่านก็ไม่ได้สอนอย่างนั้น ท่าน ก็สอนอริยสัจ ๔ และนี่ก็ใช้ได้ในชีวิตประจำวันด้วย เพราะเป็นเรื่องการ พิจารณาให้มีสติ ปัจจุบันธรรม และพ้นจากอวิชชา ที่เรายึดถือเป็นความจริง


ส่วนมากเวลาเราเริ่มปฏิบัติเราก็คิดว่าเราเป็นคนมีกิเลสมาก อยากจะปฏิบัติต่อไป เพื่อจะไม่มีกิเลส เพื่อจะพ้นจากความทุกข์ต่อไปข้างหน้า นี่เป็นความคิดที่ เกิดขึ้นทางโลก เป็นตัวตน เราเป็นบุคคล เราเป็นคนที่มีกิเลสมาก เราต้อง ปฏิบัติมากๆ เพื่อจะตรัสรู้อนาคตต่อไปข้างหน้า นี่เป็นเรื่องกาลเวลา เรื่อง เดี๋ยวนี้เราเป็นบุคคลนี้ เราเป็นสัตว์เป็นบุคคล เราเป็นมนุษย์ เราเป็น ผู้ชายที่มีกิเลสหนา นี่เป็นความคิดความเห็นที่ยึดถือในปัจจุบัน และผู้รู้ ถ้าเรารับรู้สิ่งเหล่านี้ เป็นความคิดของเรา ผู้รู้ก็รู้ความคิดของเรา มัน เกิดขึ้นดับไป เป็นสิ่งที่เป็นการปรุงแต่งของเรา


เราจะยึด ถือความคิดของเราแล้วก็จะเชื่อความคิดของเราเป็นความจริง และถ้าหากว่าเรา อาศัยพุทโธเป็นที่พึ่งของเรา พุทโธ ก็รู้นะสังขารเป็นอย่างนี้ ความคิดอย่าง นี้ เราเป็นคนที่มีกิเลสมาก


นี่เป็นความคิด เราไม่ได้บอกว่าจริงหรือไม่จริง ไม่ได้ถูกต้องหรือผิด พุทโธก็รู้เป็นสังขาร เป็นสิ่งที่เราทำให้ประดิษฐ์ ให้ เราเป็นคน นี่เป็นความคิดนะ และเราก็รู้... เราไม่ได้สนใจเรื่องจริง หรือไม่จริง เราสนใจสังขารเป็นอย่างนี้ ให้อยู่กับผู้รู้ รู้สังขาร เป็น ความไม่เที่ยง แล้วต่อไปข้างหน้าจะตรัสรู้นี่ก็บอกว่าเป็นเรื่องกาล เวลา อนาคตต่อไป อีกหลายปี อะไรก็ไม่รู้นะ ต่อไปข้างหน้า


นี่ก็เป็นเรื่องความคิด อนาคตเป็นเรื่องความคิดของเรา ถ้าเราพิจารณาอย่าง นี้ เราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยสติสัมปชัญญะ ปัญญาจะอบรมเราได้เพื่อจะไม่ยึด มั่นถือมั่นต่อไป นี่จะปล่อยในปัจจุบัน ก็สำคัญมากในการที่เราปฏิบัติ ตลอด ด้วยอวิชชาเป็นหลัก เราเริ่มกับอวิชชาแล้วก็ปฏิบัติเอาจริงเอาจังหลาย ปี อวิชชายังเป็นสิ่งที่เรายึดมั่นถือมั่น เป็นอวิชชา มีตัวตน เราเป็นคนไม่ ดี เราเป็นคนมีกิเลสหนา และเราก็ปฏิบัติตามอาการอย่างนี้ เพื่อจะต่อไปข้าง หน้าเป็นคนไม่มี กิเลส


ในเรื่องคนกับกิเลส เป็นการปรุงแต่ง ของพวกเรา ผู้รู้ก็รู้สิ่งเหล่านี้เป็นสังขารเกิดขึ้นดับไป ถ้าเรารู้อย่าง นี้เราก็จะมีความหยั่งรู้ว่าเราไม่ได้เป็นตัวตน เราไม่มีตัวตน เราไม่ได้ เป็นคน ไม่ได้เป็นสัตว์ ไม่ได้เป็นผู้ชาย ไม่ได้เป็นผู้หญิง ไม่ได้เป็น พระ ไม่ได้เป็นฆราวาส ไม่ได้เป็นธาตุอะไรเลย มันว่างจากใครเป็นอะไร หรือ เป็นอะไร และผู้รู้ก็รู้จะทำให้เราอดทน จะใช้ชีวิตของเราคือจะไม่ให้สร้าง ความทุกข์ในจิตของเรา ในชีวิตนี้ โดยจะไม่สร้างความยุ่งยากทางโลก


ผู้ถาม : การอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก เป็นการฝึกขันติซึ่งเราก็รู้อยู่ แต่เมื่อมี สิ่งที่ทำให้เราหงุดหงิด เช่นเสียงกรนที่ดังมากจนไม่สามารถทำใจให้ยอมรับได้ ง่ายนัก อยากเรียนถามหลวงพ่อว่าแม้จิตผู้รู้จะรับรู้ในสิ่งที่มากระทบอารมณ์ แล้ว แต่ก็ยังไม่วายรำคาญ ไม่ชอบใจอยู่ดี ปล่อยวางยาก กรณีนี้ถือว่าผู้รู้ ดูผู้รู้แล้วใช่ไหม ทำไมยังไปรู้ในอารมณ์นั้นอีก ควรทำเช่นใดจึงจะปล่อยวาง ได้โดยไม่ติดค้าง


หลวงพ่อ : นี่เป็นการท้าทาย สติ ความระลึก เป็นความสามารถของเราที่จะรับปัจจุบันธรรมได้ เป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นคน กำลังกรน หรือมีหมาเห่า ที่ห้องที่เราพักข้างหลังมีหมาตัวเล็กๆ เสียงดังมาก หลายตัว ก็มีนาฬิกาด้วย แล้ว ก็มีเสียง ติ๊ก ติ๊ก หรือมีอะไรเกิด ขึ้น ถ้าเราไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ เป็นทุกข์ เราจะสร้างทุกข์กับเสียงหมา เห่า หรือนาฬิกาดังอะไรอย่างนี้


อาตมาก็เคยฝึกอย่างนี้ มาก มีอะไรในปัจจุบันเราจะยอมรับมันเป็นอย่างนี้ เราจะรู้อารมณ์ที่เกิด ขึ้น ในกุฏิที่ อมราวดีก็มีนาฬิกา ธรรมดาเราไม่เคยสังเกตนะ มีเสียง ติ๊ก ติ๊ก อย่างนั้น และเวลาเรานั่งสมาธิ สังเกต นั่งสมาธิก็ได้ฟังแต่ สิ่ง ติ๊ก ติ๊ก ได้ แต่ความจริงธรรมดาอยู่ในกุฏิก็ไม่เคยสังเกต เพราะสมาธิ มันไม่มาก และก็มีสติอยู่ ไม่เคยจับเสียงอย่างนี้ที่จะรังเกียจได้


แต่ถ้าหากว่าเรานั่งสมาธิ อยากจะได้สมาธิ อยากได้ผลในการนั่งสมาธิจริงๆ มีอะไร เกิดขึ้น ก็จะทำให้เรารังเกียจสิ่งเหล่านั้นได้ บางทีก็ โอ้ คน พระ แม่ชี อะไรก็โกรธใหญ่ เพราะมีคนกรนในห้องกรรมฐาน บางทีคนก็มีเสียงคนพูดดังเกิน ไป ก็เกิดอารมณ์โกรธก็ได้


แต่เป็นโอกาสดีที่จะพิจารณาสิ่ง เหล่านี้ บางทีถ้าเรามีความโกรธว่าคนพูดดังเกินไป เราก็ตามอารมณ์นี้ นี่ เป็น ความยึดมั่นถือมั่นของเรา ให้เรารับรู้ พิจารณานี่เป็นโอกาสดีที่จะ เห็นกิเลส ความประสงค์ของเราอยากได้สมาธิจริงๆ อยากได้ความสงบ นี่เป็นตัณหา จริงๆ อยากได้สิ่งที่เราไม่มี และเราก็พิจารณา มีสมาธิมากๆ สงบมากๆ เราก็จะ อยากให้เป็นคนมีสมาธิมากๆ สงบมากๆ นี่ก็เป็นตัวตนอีก อยากได้สิ่งที่เป็น ภวตัณหา อยากได้สิ่งที่เราไม่มีในปัจจุบัน


พิจารณาอย่างนี้ ปัญญาจะช่วยให้เราปล่อยความทะเยอทะยานในตัณหา ภวตัณหาที่เกิดขึ้นในเวลา ปฏิบัติได้ อาตมาก็ตั้งใจ อยู่ที่ไหนก็เป็นที่วิเวกที่สงบหรือเป็นอยู่ กลาง เมือง หรือที่มีเสียงดัง เสียงไม่ดีอะไร หรือเป็นอย่างไร ให้เรารับรู้มัน เป็นอย่างนี้ แล้วก็ดูอารมณ์ที่เกิดขึ้น เวลาเสียงดังกระทบหูของตนเอง


นี่ก็เป็นทางที่ใช้ได้ เราจะปฏิบัติเรื่อยไป อยู่ในกรุงเทพฯก็ได้ อยู่บ้าน นอก อยู่วัดป่าอะไร วัดป่าก็มีเสียงดังเหมือนกันนะ มีนก มีแมลง บางองค์ก็ รังเกียจนก เสียงนก หรือแมลง เป็นสัตว์ป่า บางองค์ก็อยากได้สมาธิจนรังเกียจ สิ่งที่มาทำให้ไม่ได้สิ่งที่อยากได้


อาตมาเดือนมกราปีหน้าจะ ไปเชียงใหม่ และโยมนิมนต์เป็นหลายปี เคยสอนกรรมฐานที่โป่งแยง อยู่แม่ริม เป็นสถานที่สวยงาม เป็นรีสอร์ทมีน้ำตก มีลำธาร แล้วมีศาลาปฏิบัติก็ไม่ ใหญ่ โยมมี ๒๐ ดีนะ แล้วก็มีเสียงน้ำตกเสียงลำธารตลอด เพราะอยู่ใกล้เสียง เหล่านี้ และก็กุฏิของเรา มันอยู่ใกล้น้ำตกด้วย และลำธาร ทำให้เรามีเสียง แบบลำธาร มีเสียงแบบน้ำตกตลอดทั้งกลางวันกลางคืน


วันหนึ่ง พระฝรั่งองค์หนึ่งไปด้วย แล้วก็ปฏิบัติ ๒-๓ วัน ท่านบอกว่าปฏิบัติที่นี่ไม่ ได้ เสียงดังไม่มีความสงบ มีแต่เสียงลำธาร เสียงน้ำตก เสียงดังมากปฏิบัติ ที่นี่ไม่ได้


เราบอกว่าถ้าเรารังเกียจเสียงน้ำตก นี่มันเป็น กิเลสของเรา เสียงน้ำตก เสียงลำธารก็เป็นธรรมชาติ เราไม่ได้สร้าง เราไม่ได้ ทำให้ มันเป็นอย่างนี้เอง


ถ้าเราสังเกต ฟังเสียงลำธารไหล ไป แล้วก็น้ำตก เสียงเหล่านี้ก็มีเสียงที่จะทำให้เราสงบได้ง่าย ถ้าเราสร้าง ความรังเกียจ ความเกลียดต่อเสียงนั้น เราก็จะอยู่ที่สวยงาม ที่สงบ แต่เรา เป็นผู้สร้างความวุ่นวายในจิตของเราเอง


ถ้าหากว่าเราปล่อย ไป และไปอยู่กับเสียงที่ไหลไป เสียงที่มีเสียงลำธารไหล ก็จะเป็นสิ่งที่ทำ ให้เราสงบได้ง่าย ถ้าเราพิจารณาเสียงน้ำตก เสียงลำธารได้ องค์นั้นก็สร้าง เป็นกิเลส นี่เป็นอวิชชา และมีอะไร นกที่อยู่ในต้นไม้ หรือหมาเห่า เราจะควบ คุมโลกให้ตามความคิดความเห็นของเรานี่ คนเราก็สงสัยจะมีความทุกข์ในชีวิต ตลอดไป เราจะควบคุมบังคับโลกตามความคิด


อาตมาก็ทำไม่ได้ เลย เวลาเป็นพระใหม่ๆ ก็อยาก จะเป็นอยากจะควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างตามความ คิดของตนเอง แล้วก็ยิ่งพยายามก็ยิ่งเป็นทุกข์อยู่ ก็หลวงพ่อชาก็ค่อยๆ ปล่อย ให้ ปล่อยโลกให้มันเป็นอย่างนั้น ให้อยู่กับรู้ ไม่อยู่กับอยากให้มันเป็น อย่างนี้ หรือไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ เป็นอย่างนี้ หรืออยากจะให้โลกมันดี กว่านี้ได้ เราก็จะไม่มีสิ้นสุด เราจะเป็นทุกข์ตลอด


ผู้ถาม : ขอฟังอุบายการสร้างกำลังใจให้ตนเองในการปฏิบัติ มันยากมากๆ


หลวงพ่อ : ก็การสวดมนต์ พิจารณาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สวดนะโม ตัสสะ ภควะ โต อะไรนี่ก็พิจารณาความหมาย แล้วเราคิดที่จะพิจารณาในคำสอนและการสวดมนต์ก็ มีประโยชน์มาก มันทำให้เรามีกำลังใจได้


ความจริงคนไทยก็มี ศรัทธาในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนมาก เพราะอยู่ในเมืองไทยนี้ พระพุทธ ศาสนาเป็นศาสนาที่มีอยู่ทั่วไป และประสานกับวัฒนธรรมด้วย และพวกฝรั่งเวลา เราสนใจพุทธศาสนา เราโตแล้ว วัฒนธรรมเป็น แบบคริสต์ศาสนาอะไรมาก ประสานกับ คริสต์ แล้วก็เราเป็นผู้สงสัยมาก บางทีก็กำลังใจในการปฏิบัติของเราก็ยากไป หน่อย เพราะเรามีวัฒนธรรมที่ต่างกัน เราใช้คำศัพท์ พุทโธ พระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ เราก็สวดง่าย และบางทีเราไม่มีศรัทธาจริงๆ ไม่มีกำลังใจเวลา สวด


อาตมาก็พยายาม ในชีวิตในการเป็นพระ พยายามจะพิสูจน์ความ หมาย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภควา อรหัง สัมมาสัมพุทโธ นี่เป็นคำศัพท์ที่ ดีทั้งนั้น พิจารณานี่ไม่ใช่เป็นสิ่งสูงสุด ไม่ใช่ห่างไกลที่จะทำให้เรา รู้สึกเราเป็นคนไม่สำคัญ คนมีกิเลสมาก เราจะสวดคำศัพท์ที่ดีที่สุด สวยที่ สุด เพื่อจะนำให้มีแรงดลใจในการปฏิบัติ


ถ้าเรายกพระพุทธเจ้า เป็นสูงสุด อยู่ห่างไกลจากเรา บางทีทิฏฐิมานะของเราจะทำให้เราเป็นคนต่ำ ลง พระพุทธเจ้าอยู่ระดับสูง แล้วก็จะทำให้เราคงจะรักพระพุทธเจ้า และพระ พุทธเจ้าอยู่สูงเกินไปจนเราไม่รู้เป็นอะไร และเราก็พิจารณาพุทโธ พุทโธ นี่ คำบริกรรมนี่ นี่เป็นเรื่องปัจจุบันนะ ใกล้ที่สุด เดี๋ยวนี้ ไม่ห่างกัน เลย ไม่ใช่พระพุทธเจ้าเป็นองค์อยู่ห่างไกลจนเราไม่มีความสามารถจะรับรู้ สูง เกินไป จนเราเป็นคนต่ำทราม ก็คงจะเห็นไม่ได้ นี่เป็นทิฏฐิมานะอีกอย่างหนึ่ง นี่จะทำพุทโธให้เป็นหลักที่จะใช้ได้


เวลาเราไปภูฏานเดือนที่ แล้ว มีโยมพาไปประเทศภูฏาน แล้วก็เราไปชมภูเขาที่นั่น ต้องนั่งรถบัสหลาย ชั่วโมง แล้วก็มองดูข้างนอก แล้วก็สวดพุทโธในใจตลอด พุทโธจะช่วยให้เราไม่ ได้ลอยไป เป็นคำศัพท์ที่ทำให้เรามีกำลังที่จะกันความฟุ้งซ่าน หรือหลงความ คิดของตนเองได้นะ


ความกตัญญูกตเวที เป็นสิ่งที่สำคัญ ด้วย เวลาเรามีความกตัญญูเราก็มีกำลัง อาตมาเวลาบวชครั้งแรกปฏิบัติแบบเห็น แก่ตัว ปฏิบัติ ๖ ปีแรกแบบเห็นแก่ตัว อยากได้สิ่งที่ยังไม่มี อย่างนี้ เรา คิดเรื่องความสามารถของเราเอง แล้วก็มีอะไร ได้อะไร เราก็ไม่เคยสังเกตหรือ พิจารณา เพื่อจะมีกตัญญูเกิดขึ้น เราก็อยากได้สิ่งเหล่านี้ เพื่อจะอำนวย ความสะดวกในการปฏิบัติของตนเองมากๆ อย่างนี้อย่างนั้น


๖ พรรษา ก็ผ่านไป ก็ได้ผลบ้างแต่ยังเป็นทุกข์อยู่มาก กำลังใจในการเป็นพระมันก็ มี แต่ยังเห็นว่าไม่สมบูรณ์ ยังไม่ถึงเป็นพระจริงๆ เราก็ออกไปเดินธุดงค์ใน ประเทศอินเดีย หลังจากพรรษาที่ ๖ เดินธุดงค์แล้วก็อยู่อินเดีย ๕ เดือน และ เราระลึกถึงหลวงพ่อชา คิดถึงท่าน ว่าท่านช่วยทุกอย่าง อย่างที่เราไม่เคยคิด มนุษย์จะทำได้ และเปิดโอกาสทุกอย่างให้เราปฏิบัติ แล้วก็เอาใจใส่ กรุณา มี แต่กรุณาเราอย่างมาก เราพิจารณาในสิ่งที่ดีที่ได้จากหลวงพ่อชา ความกตัญญู เกิดขึ้น


แล้วเราไปดูสถานที่สำคัญในประวัติพระพุทธศาสนาใน ประเทศอินเดีย แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระโคดมที่ตรัสรู้เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีมา แล้ว ก็เกิดความกตัญญูต่อพระพุทธเจ้า ในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา แล้วก็ กตัญญูต่อพ่อแม่ต่อญาติโยมในเมืองไทยที่ถวายปัจจัย ๔ ทำให้เราอยู่โดยไม่มี ปัญหาเรื่องสิ่งจำเป็นที่จะเลี้ยงชีวิต ความกตัญญูกตเวที เกิดขึ้น อย่างมาก อยู่อินเดียแล้วก็..... ทิฏฐิมันมาก ร้องไห้นะ ทิฏฐิอย่างนั้น


เพราะความกตัญญูมันเป็นอารมณ์ที่มีประโยชน์มากที่จะมีกำลังใจในการปฏิบัติของ เรา แล้วก็พระพวกเราก็พิจารณาปัจจัย ๔ ด้วย ปัจจัย ๔ พระพุทธเจ้าก็แนะนำให้ เรา อาหารบิณฑบาต ผ้าจีวรบังสุกุล ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ๔ อย่างเราจะรับ ได้นะ


และทุกวันในการสวดมนต์เราระลึกถึง ปฏิสังขา โยนิโส จี วรัง ปฏิเสวามิ พิจารณาจีวร อะไรและปัจจัย ๔ คือสิ่งจำเป็นทางโลกที่จะอยู่ ได้ ต้องมีอาหาร ต้องมีที่พัก มียารักษาโรค ต้องมีผ้าที่จะใช้ได้ใน ชีวิต พิจารณาปัจจัย ๔


พระพุทธเจ้าก็ตั้งปัจจัย ๔ กับสิ่ง ที่ต่ำที่สุด ผ้าบังสุกุล เป็นผ้าที่ทิ้งไปแล้ว ไม่มีใครต้องการแล้ว และพระ พุทธเจ้าบอกว่าพระสมัยนั้น ถ้าเป็นผ้าอย่างนั้นเราจะจับได้ และทำจีวร ได้ แต่ความจริงเราก็เป็นพระ ๓๘ เกือบ ๔๐ ปีแล้ว เราไม่ต้องแสวงหาผ้า บังสุกุลในที่ฝังศพอะไร


ส่วนมากโยมมีใจที่จะถวายผ้า ผ้า มีคุณภาพอย่างดี หน้าที่ของพวกเราที่เป็นพระคือพิจารณาสิ่งที่พระพุทธเจ้า อนุญาตให้เราแสวงหา ผ้าบังสุกุลได้ ผ้าที่ทิ้งไปแล้ว ไม่มีใครต้องการ เราจะ ใช้ได้ ไม่ต้องถวาย มันทิ้งไปแล้ว เราก็เอาไปเอง แล้วทำจีวร แต่ความจริง ตลอดชีวิตของการเป็นพระ มีแต่ผ้ากฐิน มีงานกฐินทุกปีด้วย นี่เป็นเรื่องโยม ที่มีศรัทธากับพระสงฆ์ เราจะทำ จีวรก็ไม่ต้องไปแสวงหาผ้าที่ชาวบ้านทิ้งไป แล้ว
พิจารณาอย่างนี้ เกิดความกตัญญูด้วย และเรามีอาหาร เวลามีความเจ็บปวดเป็นไข้อะไร ส่วนมากก็ไปโรงพยาบาล ก็เอาใจใส่ อยากช่วยมาก สร้างกุฏิด้วย เดี๋ยวนี้มีกุฏิที่อังกฤษสวยมาก และเราไม่ได้ ขอ โยมก็สร้างให้ อารมณ์แบบกตัญญู และมีสันโดษด้วย สันโดษ เราก็พอใจกับสิ่ง ที่มีอยู่ และเราไม่ได้ขอ เราไม่คิดจะเอาสิ่งที่ดีที่สุด คุณภาพดีที่ สุด สวยที่สุด แพงที่สุด


ถ้าเป็นอย่างนี้ก็คงจะไม่มี สันโดษ ถ้าโยมไม่ได้ถวายสิ่งที่ถึงความต้องการของเรา ก็ว่า โอ้ โยมถวายผ้า นี่ที่ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่นะ และก็คงจะสันโดษไม่ได้ และถ้าหากว่าเราพิจารณา เทียบกับผ้าบังสุกุล เราจะมีสันโดษกับปัจจัย ๔ ของเรา เรามีความกตัญญู สิ่ง เหล่านี้เป็นรากฐานในการปฏิบัติ เพื่อจะมีกำลังใจที่จะต่อสู้


เวลาเราปฏิบัติ เราก็ถือตัวถือตน นี่เป็นอุปสรรคใหญ่ ผู้ชายส่วนมากทิฏฐิมัน มาก ถือตัวมาก แล้วก็ไม่อยากจะยอมรับเป็นอะไร เราไม่อยากจะยอมรับความผิดของ เรา บางทีก็เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติ ถ้าเรามีอะไร เราก็ต้องยอมรับความผิด ของเราด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ด้วยตัวตนเพื่อจะรังเกียจตัวเอง ให้รับรู้ทิฏฐิ มานะ ถือตัวถือตนเป็นอย่างนี้


บางทีเราก็มีอารมณ์แย้ง กันกับพระองค์อื่น พระองค์นั้นเราบอกว่าองค์นั้นผิด เราถูก ความเห็นของเรา ถูกต้องนะ และองค์นั้นผิดมาก แล้วก็จะทะเลาะกัน จะขัดแย้งกันตลอด ถ้าเรา อยากรักษาให้เราถูกต้อง ความเห็นของเราถูกต้อง คืออย่างนี้เราถูก เขา ผิด แล้วเราก็ยึดถือถูกต้องก็ได้นะ ทำให้มีอารมณ์ขุ่นเคือง มันเป็นอุปสรรค


แต่ถ้าหากว่าเราเห็นความยึดมั่นถือมั่น เห็นว่าเราเป็นคนถูกต้อง ความเห็นของ เราถูกต้องตามธรรมวินัย เราถูกองค์นั้นผิดมาก และถืออย่างนี้ ทำให้เรามี ทิฏฐิที่จะเห็นยาก ถ้าเราอยากจะเป็นคนถูกต้อง เราจะเป็นพระที่ถูก และอยากจะ บอกโยมทุกคน ความเห็นของเราถูกต้องตามธรรมวินัย จริงๆ แล้วบางทีก็แสดง ความเห็น องค์นั้นผิดมาก เราถูกต้อง ต้องทำตามเรา เราถูกต้องอย่างนี้ ก็ เป็นทิฏฐิอีกอย่างหนึ่ง ที่บางทีเราจะเชื่อได้ ว่าความเห็นเราถูก นะ ถูกจริงๆ


แต่ความยึดมั่นถือมั่น ที่เกิดจากอวิชชา ยังไม่ เห็น เราก็จะหลงอารมณ์อย่างนี้ได้ พิจารณาเราถูก ถูกตรงธรรม วินัย จริงๆ ความยึดถือความเห็นอย่างนี้เป็นอะไร เราก็สังเกต เราทุกข์อยู่ถ้าเรา ยึดมั่นถือมั่น ไม่ใช่เราผิด เรายึดถือโดยสติยังไม่เพียงพอ ให้รู้ ความถูก ต้องความผิดนี่ก็เป็นสังขารอีก เกิดขึ้นดับไป ให้เราเห็นผิดถูกเป็นอย่าง นี้ ไม่ได้เป็นอมตธรรม ไม่ได้เป็นทางพ้นทุกข์ ถ้าเรายึดถือความเห็น ความ เห็นที่ดีด้วย ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นด้วยอวิชชา มันทำให้เรามีความทุกข์ ได้ แล้วก็จะหลงความเห็นของเราตลอด


ถ้าพิจารณาด้วยพุทโธ ให้รู้ ยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างนี้นะ เราจะยึดถือสิ่งที่ดี สิ่งที่เหมาะสม สวยงาม ถูกต้องอะไร เรายังมีความทุกข์อยู่ เพราะเหตุอะไร เพราะความยึดมั่น ถือมั่นเกิดจากอวิชชาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ พิจารณาอย่างนี้ก็จะได้ปัญญามากๆ


ผู้ถาม : เวลาที่เรารู้สึกผิดหวังหรือเศร้าใจ เราควรทำอย่างไรดีคะ จึงจะหายทุกข์ใจ


หลวงพ่อ : พวกเราทุกคนเป็นมนุษย์คงจะผิดหวังมากในชีวิต ตอนเวลาเป็นหนุ่มๆ บางที เราก็มีความตั้งใจจะสำเร็จ จะทำอะไรในเวลาเป็นหนุ่ม ก็ยังมีกำลังยังไม่ได้ อยู่ที่สูง สร้างอุดมคติอย่างสูง แล้วก็ยึดถือสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ต่อไปถึง อายุ ๓๐ แล้ว ก็กลับไปดูชีวิตก็ผิดหวัง เวลา ๒๐ กว่าเราจะหวังอยู่ เราจะได้ สิ่งที่อยากได้ อายุ ๓๐ ก็เกิดอาการอารมณ์ผิดหวัง


นี่เป็น อารมณ์ที่รับรู้มันเป็นอย่างนี้ โลกียธรรม โลกที่เราอยู่มันเปลี่ยน แปลงอย่างที่เราไม่มีความสามารถจะบังคับตามความหวังของเราได้ หรือคนอื่นเรา ก็มีความหวังที่จะพบคนที่จะเป็นเพื่อน เป็นภรรยา เป็นสามี เป็นสามีดีที่ สุด ภรรยาดีที่สุด มีความหวังจะอยู่รวมกัน ช่วยกัน รักกันตลอดชีวิต ทำอะไร อย่างนี้ เป็นอุดมคติ แล้วอยู่มาแล้วก็ผิดหวัง คนที่เราอยากให้เป็นเพื่อนดี ที่สุด บางทีเราก็เห็นว่าผิดหวังหลายอย่าง


ก็เป็นโอกาส ที่จะให้เราพิจารณาอารมณ์นี้ ผิดหวังในชีวิตของเรา อยู่ประเทศอังกฤษ เราก็ ประสบการณ์หลายอย่าง อยู่ที่นั่น ๒๘ ปี ครั้งแรกก็มีกำลังใจมาก แล้วก็ญาติ โยมลูกศิษย์อะไรก็เคารพนับถือมาก มีความหวังจะสร้างวัดป่าจะเผยแพร่พุทธ ศาสนา จะขอให้เป็นอุปัชฌาย์ด้วย เมืองไทยนี้มหาเถระสมาคมก็ให้เป็น อุปัชฌาย์ บวชพระในประเทศอังกฤษได้ แล้วก็มีความหวังจะสร้างประโยชน์ ทำอะไร ดี ทำให้คนอังกฤษสนใจ คนที่สนใจจะปฏิบัติได้ผลพ้นจากความทุกข์ ก็มีความหวัง อย่างนี้นะ


แล้วก็อยู่อังกฤษ ๑๐ ปี ก็เห็นผล ผิดหวังเป็น หลายอย่าง ไม่ได้สิ่งที่อยากให้มันเป็นนะ แต่เราก็รู้ เราชำนาญแล้วในการ พิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาอารมณ์ ผิดหวังเป็นอย่างนี้ เห็นทิฏฐิ มานะที่เกิดจากความหวังให้ ชีวิตของเราสำเร็จทุกอย่าง ทำตามความคิดความ เห็นของตนเองมาก เราต้องถ่อมตัวเรื่อยๆ ให้รู้ บางทีเราก็รู้ เราจะบังคับคน อังกฤษให้ทำตามความต้องการของอาตมาเองไม่ได้ เราจะสร้างประโยชน์อย่างไรต้อง รู้นะ


ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ แล้วก็อาศัยพุทโธเป็นหลัก ใน ชีวิตประจำวัน นี่ก็ทำได้ มีความสามารถจะรักษาอย่างนี้ได้ และจะบังคับชาว ยุโรปให้มีศรัทธา แล้วก็ลูกศิษย์ พระ แม่ชีอะไรที่จะได้ผลในการปฏิบัติ เป็น ไปไม่ได้ เราจะสอนชี้ทางช่วยตามความสามารถของตนเอง แต่ที่จะทำให้ลูกศิษย์จะ เห็นทางพ้นทุกข์ เห็นธรรม เกินความสามารถของเรา พระพุทธเจ้าก็ทำไม่เป็น เหมือนกัน ท่านเป็นผู้ชี้ทาง บอกว่าต้องทำอย่างนี้ แล้วก็ชี้ทาง ความจริง ทางมันอยู่ที่นี่ เราก็เห็นความผิดหวังแล้ว ก็จะปล่อยไป


เดี๋ยวนี้อารมณ์อย่างนั้นก็หายไปนานแล้ว ไม่ผิดหวังแล้ว เพราะปัญญาเป็นที่พึ่งที่ จะอบรมเราได้ ในการเป็นมนุษย์ ก็เห็นแต่สิ่งที่มันเศร้าหมองจริงๆ ใน ชีวิต แล้วก็ได้ฟังได้ยินสิ่งที่ทำให้มีอารมณ์เศร้าหมองได้ อ่านข่าวใน หนังสือพิมพ์ บางที โอ้ เศร้าหมองจริงๆ แล้วก็รู้คนที่ดี พระ แม่ชี คนเหล่า นั้นก็ไม่มีกำลังใจแล้ว อยากสึกกลับไปทางโลก อารมณ์ก็เศร้าหมองเหมือน กัน สิ่งที่เราเห็นอารมณ์อย่างนี้อย่าไปยึดมั่น ถือมั่น เป็นธรรมดา เป็น อารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะทำให้อารมณ์เศร้าหมองเกิด ขึ้น ก็เกิดขึ้นได้ แต่เราต้องอาศัยผู้รู้ให้รู้ เป็นสังขาร ไม่ได้หลง ไม่ ได้สร้างเป็นอารมณ์ที่จะหลงไปมากมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไขปัญหาธรรม ๓

วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๗


ผู้ถาม : กลัวหมดทุกอย่างเจ้าค่ะ กลัวผี กลัวแก่แล้วต้องอยู่คนเดียว กลัวความ ตาย ทั้งตัวเองตายและคนที่เรารักตายจากไป ขอท่านอาจารย์อบรมด้วยเจ้าค่ะ


หลวงพ่อ : อันนี้ก็เป็นธรรมดา กลัวนะ สังขารก็น่ากลัว สังขารทั้งหลายไม่ เที่ยง ก็ไม่แน่ จะทำให้สังขารที่จะไว้ใจ ที่จะอาศัยกันตลอดก็เป็นไปไม่ ได้ แต่ถ้าเราเห็นด้วยอวิชชา ไม่เห็นอริยสัจ ๔ เราก็จะเห็นว่าเราเป็น สังขาร ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นอย่างนั้นด้วย ผลในการคิดอย่างนี้ถืออย่างนี้ ก็กลัว กลัวตาย กลัวทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะโลกนี้ก็น่ากลัวจริงๆ


แล้วก็ผีเป็นอย่างไร เป็นสิ่งที่ไม่รู้นะ คนตายแล้ว คนที่เรารู้จักและไม่ รู้จัก เคยได้ยินมีคนตายที่นี่ ตายแล้วจะเป็นยังไง ผีไปไหน มีผีหรือไม่ มี วัฒนธรรมก็ถือผีเป็นสิ่งที่ได้ยินตั้งแต่เป็นเด็ก


ผีเป็น สังขารเหมือนกัน และเป็นที่เราได้ยินคนอื่นเล่าเรื่องผี หลายแบบหลายอย่างก็ มี ทุกตัวคงจะน่ากลัว ไม่น่ากลัวคงจะเป็นเทวดานะ ความดี แต่เราไม่เห็นเป็น อะไร เราไม่เห็นด้วยตา นี่แสดงว่าไม่แน่ ไม่รู้จริงๆ เวลาเรา พิจารณา ปัจจุบันธรรม เราจะรู้ว่าไม่รู้ จะสร้างเป็นผีสางเทวดาก็ได้ แต่ไม่ ต้อง ถ้าหากว่าเราอาศัยแต่พุทโธเป็นหลักเป็นที่พึ่งแล้วก็เห็นทางที่ถูกต้อง ที่จะพ้นจากความกลัว พอเห็นธรรมแล้ว เห็นสัจธรรมเห็นอมตธรรมแล้ว ความกลัว มันไม่ได้เป็นปัญหา เราจะพ้นจากความกลัวได้ เพราะเราก็เห็นธรรม ได้เห็นอมตะ ได้ เห็นอย่างนี้ก็ไม่ต้องกลัว ปัญหามันก็จะหมดไป


นี่ก็เป็นโอกาสที่จะทำให้โยมมีกำลังใจในการปฏิบัติ ถ้าไม่เห็นธรรมจริงๆ ถ้าไม่ รู้สัจธรรม ชีวิตของเรามันเป็นสิ่ง ที่ไม่แน่ เป็นสิ่งที่เราจะควบคุมบังคับ ตามความต้องการของ เราไม่ได้ ทำให้เราผิดหวัง กลัวอะไรทุกอย่าง และก็เป็น ธรรมดาสำหรับสังขารที่เรายึดมั่นถือมั่น และพระพุทธเจ้า ชี้ทางที่จะพ้นจาก การถืออย่างนี้ที่จะเห็นสัจธรรม ธรรมะที่ถูกต้อง ธรรมะที่เราจะอาศัยกัน แต่ ยังมีร่างกาย ยังมีจิตปรุงแต่ง ยังทำหน้าที่ตามสมมุติก็ได้ แต่เราไม่ถือ เหมือนที่เราถือ ถ้าอวิชชาเป็นสิ่งที่เรา...อยู่กับอวิชชา มันทำให้เรากลัว แต่อาตมาก็ยืนยันว่า จะพ้นจากสิ่งเหล่านี้ ก็พิจารณา ในตัวเองด้วย ที่จะแก้ ปัญหาอย่างนี้ได้ ผู้ถาม : ถามว่าเวลาที่ไป Fitness หนูทำคล้ายๆ กับเดินจงกรม แต่เปลี่ยนเป็น วิ่งบนเครื่อง อย่างนี้จะได้ผลเหมือนกันไหมคะ


หลวงพ่อ : ก็ ดี เรื่องสติ ก็วิ่งก็ได้ เดินช้าๆ ก็ได้ เราก็ต้องรู้นะ ความมุ่งหมายของ เราเป็นอย่างไร ถ้าอยากจะรีบไปทำอะไร บางทีก็วิ่ง สติก็ยังไม่ได้เป็น ปัญหา เราวิ่งด้วยสติก็ได้ รักษาร่างกายทำ Fitness แต่ถ้าทำด้วยอยากให้สวย งาม มีความประสงค์จะมีรูปสวยนี่คงจะหลงตัณหากิเลสก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญจะ รักษาร่างกายให้ดี เพราะเราต้องอยู่กับร่างกาย นี้ตลอดชีวิตจนวันตาย ถ้าเรา ไม่ได้รักษาพอสมควร ร่างกายมันจะเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความเจ็บปวดอะไรมาก มาย คุณภาพชีวิตไม่สูงเท่าไหร่ ถ้าหากว่าเรารักษาพอสมควร เพื่อจะเมตตาร่าง กายของเรา ก็เห็นว่ามันมีประโยชน์และทำด้วยสติปัญญาได้


อาตมา ก็ออกกำลังกายด้วย แก่แล้ว ถ้าไม่ออกกำลังก็กลัวจะอายุมากแล้วก็กลัวโรคจะ ครอบงำมากขึ้น เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่มีโรคอะไร สุขภาพยังดี เพราะเราก็คอยรักษา ร่างกายพอสมควร ไม่ได้ทำเป็นแบบคิดมากเรื่องสิ่งเหล่านี้ หรือทำเพื่อจะ รักษาสุขภาพ ไม่ให้เป็นภาระของอาจารย์มหาปริญญาต่อไป



ผู้ถาม : อยากให้หลวงพ่อ เล่าเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องสมาคมชาวพุทธที่มีความขัด แย้งที่ลอนดอนต่อ เพื่อ จะนำไปแก้ไขปัญหาการขัดแย้งที่ออฟฟิศของข้าพเจ้า


อยากอาราธนาหลวงพ่อ เล่าเรื่องการเผยแพร่พุทธศาสนาในประเทศ อังกฤษ ปัญหา อุปสรรค เผื่อญาติโยมในเมืองไทยจะได้ช่วยสนับสนุนท่านอีกแรง หนึ่งครับ


หลวงพ่อ : สิ่งสำคัญที่สุดที่จะสร้างประโยชน์ใน สังคม ให้มั่นคงในการปฏิบัติของตนเองด้วย จะมีศรัทธาที่ไม่หวั่นไหว และไม่ ได้อาศัยสิ่งภายนอก บางทีก็มีศรัทธากับพระอาจารย์องค์หนึ่ง วัดต่างๆ บางที วัดก็มีปัญหาทำให้เราผิดหวัง หรืออาจารย์ที่เรานับถือมากมรณะไปแล้ว เราก็จะ ผิดหวัง ศรัทธามันเสื่อมไป จิตใจของเราก็วุ่นวาย เพราะสิ่งที่เราอาศัยกัน โดยศรัทธาเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่เราไม่ชอบ


แต่ถ้าหากว่าเรา เห็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในใจของตนเอง นี่ก็ไปที่ไหนก็ได้นะ ไม่ได้ อาศัยสิ่งแวดล้อมและเวลาปฏิบัติก็เพื่อจะเห็นทางพ้นทุกข์ได้ ปฏิบัติเพื่อจะ ไปนิพพาน ปฏิบัติเพื่อจะละความเห็นแก่ตัว ปฏิบัติเพื่อจะพ้นทุกข์อย่างนี้ นะ แล้วก็ปฏิบัติเพื่อจะมีอะไรเกิดขึ้น เป็นอย่างไร เป็นอุปสรรคภายใน หรือ อุปสรรคภายนอก เราจะมีปัญญาพอสมควรที่จะอบรมตัวเองเรื่องสิ่งเหล่านี้ เพื่อ จะไม่ให้หลงอารมณ์ที่เกิดขึ้น


เวลาเราไปประเทศอังกฤษ เราก็ ได้ ๑๐ พรรษาแล้ว แล้วก็ปฏิบัติแล้วก็ได้ผลดีพอสมควรที่จะรักษาจิต เวลาหลวง พ่อชาส่งไปเมืองนอก ท่านก็จะทำให้ลูกศิษย์ฝรั่งทดลองดู จะสู้ชีวิตเมืองนอก ได้มั้ย เราก็คิดอย่างนี้ ท่านไม่ได้พูดอย่างนี้ ท่านก็แนะนำให้ไป


ครั้งแรกเราไม่อยากไปเหมือนกัน ความจริงเรารู้สึกไม่อยากจะยุ่งกับสิ่งเหล่า นี้ อยากจะไปวิเวก เป็นคนติดความสงบมาก ชอบอยู่คนเดียว ชอบปฏิบัติแบบเข้า ห้องเป็นฤาษี อยากจะเป็นฤาษี อยากจะอยู่ภูเขา อยากจะอยู่ง่ายๆ ไม่อยากจะ อยู่กับสังคม ไม่อยากอยู่กับพระด้วย


หลวงพ่อชาก็ไม่ตามใจอาตมา ท่านก็บังคับให้อยู่กับพระสงฆ์มาก อาตมาก็อยากหนีไปเรื่อย หลวงพ่อก็ จับให้กลับในวัด เพื่อจะให้อยู่กับพระหลายรูปด้วย วัดป่าพงสมัยนั้นมีพระ มาก เวลาไปเมืองนอก ประสบการณ์หลายอย่า


เคยช่วยสร้างวัดป่า นานาชาติอยู่ที่นั่นเป็นเจ้าอาวาส ๒ ปี ๒ พรรษา เห็นอะไรที่เกิดขึ้นใน ประเทศอังกฤษด้วย สมาคมพุทธที่ขัดแย้งกัน เราก็ดูจิตของตนเองด้วย เวลาได้ ยินเสียงทะเลาะกัน ขัดแย้งกัน ด่ากัน พูดอะไรอย่างนี้ ก็มีอารมณ์เกิดขึ้นใน ใจ


เราก็ตั้งใจพิจารณาอารมณ์ของตนเอง แล้วก็มีศรัทธาใน การอยู่กับเสียงสงัด เพื่อจะเห็นอาการที่เกิดขึ้นด้วยสติปัญญาได้ แล้วเราก็ พิจารณาจิตว่าง ไม่มีตัวตนเป็นอย่างนี้ ให้เราเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใน ปัจจุบันเป็นสังขารได้ แล้วก็ฝึกอย่างดีมาก


ความจริง อังกฤษก็เป็นสถานที่ดีมาก มูลนิธิ English Sangha Trust เป็นมูลนิธิที่ชาว อังกฤษตั้งขึ้น เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่พระฝ่ายเถรวาท เมื่อ ๒๕๐๐ คนอังกฤษ ตั้ง มูลนิธิ English Sangha Trust เพื่อจะชักชวนอยากจะนิมนต์เป็นประโยชน์ เพื่อพระในฝ่ายเถรวาทต่อไป เพราะสมัยนั้นไม่มีพระเถรวาทในประเทศอังกฤษ
ความ ประสงค์อยากให้ตั้งมูลนิธิเพื่อจะสนับสนุนและสร้างประโยชน์กับฝ่าย เถรวาท พระในเมืองไทย ศรีลังกา พม่า เพื่อจะเข้าไปอยู่อังกฤษ เพื่อจะอบรม สอนชาวอังกฤษเรื่องพุทธศาสนา


ประสงค์ของมูลนิธินั้นเฉพาะจะ ช่วยพระในฝ่าย เถรวาท ไม่มีกิจกรรมกว้างขวางเพื่อจะเผยแผ่พุทธศาสนามากมาย หรือเป็นอะไรมาก อยากจะทำให้พระเถรวาทจะอยู่ได้เป็นไปได้ ปฏิบัติได้ใน ประเทศอังกฤษ


เราก็เห็นว่านี่ก็ดี บางทีก็มีมูลนิธิพุทธใน เมืองนอกคิดใหญ่โต แต่พระที่จะไปอยู่กับพวกนั้นบางทีก็สู้ไม่ไหว อยากให้ เป็นพระที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างจนเกินความสามารถ จะเสียศรัทธา เกินความ สามารถของพระหลายรูป ก็สึกไป สู้ไม่ไหว


ความประสงค์ ของ English Sangha Trust แล้ว เราก็ว่านี้ก็มีปัญญาด้วย สติปัญญาก็มี ก็ ถามนะสมัยนั้นยัง เป็นเพื่อนอยู่ เป็นเพื่อนดีๆ รู้จักกันตั้งแต่ไปประเทศ อังกฤษครั้งแรก ท่านก็พิจารณามากเพื่อจะให้เป็นประโยชน์ต่อไป เดี๋ยวนี้เรา ก็ไปเพื่อจะอยู่ปฏิบัติเป็นพระ ไม่ได้ไปเพื่อจะเผยแผ่ศาสนา เราไปอังกฤษ เพื่อจะปฏิบัติเป็นพระภิกษุสงฆ์ในประเทศอังกฤษ แล้วก็ มูลนิธิ English Sangha Trust ไม่ได้บังคับให้สอน ไม่ได้บังคับให้เผย แผ่ ไม่ได้บังคับเราให้ทำอะไรมากมาย ความประสงค์คือจะช่วยรักษาให้มี ปัจจัย ๔ มีที่อยู่อาศัย มีอาหาร มีผ้าจีวร มียารักษาสุขภาพพอสมควร แค่นี้


สิ่งที่ดีเกิดจากสิ่งเหล่านี้ ตั้งแต่ปีแรกมูลนิธิ English Sangha Trust ก็มี การขัดแย้งกันในโรงธรรมนั้น ปีหนึ่งก็อาการนี้ก็หายไป คนที่ไม่ชอบแล้วไม่ อยากให้ทำอย่างนี้ก็ลาออกไปที่อื่น เหลือแต่คนที่อยากจะทำตามที่เขียน ใน contract ของ English Sangha Trust ได้


หลังจากนั้น พวกพระสงฆ์ไม่มีปัญหากับมูลนิธิเลย เข้ากันดี ไม่ขัดแย้งกัน เลย เป็น ๒๘ ปี ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นระหว่างมูลนิธิ English Sangha Trust กับ พระสงฆ์ในประเทศอังกฤษ สอดคล้องกันดี ร่วมมือกัน


บางทีก็มี มูลนิธิอะไรที่ทำไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ ก็เกิดปัญหาเรื่อยๆ ระหว่างพระกับ กรรมการวัดกับอะไร ญาติโยม แล้วก็เรื่องเงินปัจจัยด้วย นี่ก็เป็นสิ่ง สำคัญ เพราะเราเกิดความสงสัยเป็นหลายอย่าง เรื่องเงินที่ถวายแก่พระ สงฆ์ มูลนิธิ English Sangha Trust ทำดีมาก พระพวกเราที่รักษาวินัยก็ ไม่ ได้เป็นภาระในเรื่องนี้ มีบัญชีมีทุกอย่างให้คนที่สงสัยจะถาม ก็ ถาม English Sangha Trust เพื่อจะดูรายการ ถ้าสงสัยใช้เงินอย่างไร เราถวาย เงินเพื่อจะสร้างโบสถ์ หรืออะไรอย่างนี้ ไปไหน ก็มีทำรายการที่จะทำให้คนที่ สงสัยจะแก้ปัญหาอย่างนั้นได้ อย่างนี้สำคัญ บางทีถ้าทำอะไรไม่มีบัญชี ไม่ ได้รักษาเงินพอสมควร ก็เกิดปัญหาอีกมากมาย ญาติโยมก็สงสัย พระก็ สงสัย ประสงค์ของโยมด้วย แล้วก็เกิดปัญหาเรื่อยๆ


สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็น เพราะมูลนิธิทำอย่างที่สรรเสริญ ไม่สงสัย สิ่งเหล่านี้ทำให้ เราอยู่อังกฤษ โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นปัญหาเลย


แต่สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างพระองค์นี้กับพระองค์นั้น นี่เป็นปัญหา อิจฉากัน หรือ อะไร ไม่ได้เป็นเรื่องเงินหรือ สิ่งเหล่านั้น บางทีความคิดมันต่างกัน ความ เห็นมันต่างกันได้ ก็เป็นธรรมดาในโลก ในสังขารโลก อยู่ในครอบครัว บางทีสามี ภรรยาก็ไม่สอดคล้องกันได้ ขัดแย้งกันก็ได้ ความเห็นต่างกัน


สิ่งเหล่านี้ความจริงถ้าเรามีวินัย นี่เป็นสิ่งที่เราจะร่วมมือกันได้ ถ้าอยู่ใน วัด เป็นพระ ก็ต้องรักษาวินัยอย่างนี้ อย่างที่เราทำ อย่างกับวัดหนองป่าพง เป็นตัวอย่างของเรา เป็นวัดที่เราเคยไปครั้งแรก และเป็นวัดที่หลวงพ่อชาตั้ง ไว้ นี่ก็เป็นตัวอย่างของเราด้วย แต่พระที่อยากอยู่ในวัดของเราในเมือง นอก ก็ต้องตกลงที่จะรักษาวินัยอย่างนี้ นี่ช่วยให้ เราไม่มีปัญหาเรื่องการ อยู่ร่วมกัน เรื่องการคุมกาย วาจา ของเรา ตามที่เราก็เคยตกลงกันแล้ว แต่ สิ่งที่เป็นปัญหาก็เป็นเรื่องความคิดความเห็นของบุคคล



นี่ ก็ดี ให้เราเห็น บางทีอาจารย์องค์นี้กับอาจารย์องค์นั้นเห็นไม่เหมือน กัน เมื่อ ๑๐ ปีมาแล้ว พระองค์หนึ่งสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทบอกว่า พระ พุทธเจ้าสอนปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ มี ชีวิต ๓ อย่าง อดีตกาล ปัจจุบัน อนาคต ต่อไป แล้วก็อาตมาก็ชอบพิจารณาปฏิ จจสมุปบาทเหมือนกับ พุทธทาส ชอบคำสอนพุทธทาส ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่อง ปัจจุบันเท่านั้น ให้เราเห็นสิ่งเหล่านี้ อวิชชาปัจจยาสังขาร สังขารเป็น .....ที่สุดก็มี ทุกขปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส มีความทุกข์เป็นผล ถ้ามี อวิชชาก็จะมีความทุกข์


แล้วก็พระที่ถือเป็น ๓ ชาติ บอกว่า พระสุเมโธก็ไม่จริง ไม่ทำตามคัมภีร์พระไตรปิฎก แสดงความเห็น แล้วก็มีอารมณ์ เกิดขึ้น อยากจะทะเลาะกัน อยากจะบอกท่านไม่ถูก เราถูกอย่างนี้


ตอนนั้นอาตมาตั้งใจจะพิจารณาอารมณ์ ไม่มาทะเลาะกัน ที่จะขัดแย้งกันเรื่องสิ่ง เหล่านี้ท่านไม่ยอมรับความเห็น ไม่อยากจะดูปฏิจจสมุปบาทอย่างอื่น ท่านว่า ความเห็นของท่าน มันถูกต้องแล้ว เราก็เห็น คงจะไม่มีประโยชน์ที่จะสอนอย่าง อื่น ก็สอนองค์นั้นอย่างอื่น ก็ปล่อยให้คิดอย่างนั้น ก็ไม่เป็นไร เพราะเรา ไม่อยากจะแย้งกันเรื่องสิ่งเหล่านี้ เรื่องวินัยก็ไม่ได้เป็นปัญหา อยู่กัน ได้ อยู่รวมกันได้ เรื่องสิ่งเหล่านี้ เราก็จะอยู่ด้วย สิ่งที่จำเป็นก็ไม่ ได้เป็นปัญหา แต่ความคิดความเห็นในการสอนธรรมะมันต่างกัน


นี่เป็นโอกาสดีด้วยเพื่อจะพิจารณา ถ้าเราถือความเห็นของเราด้วย ถ้าอาตมาคิดว่า ความเห็นของเราถูกต้อง จริงๆ แต่ความเห็นขององค์นั้นมันผิด เราก็หลงทำให้ เป็นอารมณ์ได้ เราถูกเขาผิด แต่เรารู้ทำอย่างนี้มันจะแย้งกันได้ คงจะเป็น ปัญหา พิจารณาความยึดมั่นถือมั่นของตนเองแล้วก็จะปล่อยได้ ไม่ต้องเป็นผู้ ถูกต้อง ไม่ต้องเป็นอาจารย์ถูกต้อง ความเห็นของตนเองถูกต้อง และเห็นความยึด มั่นถือมั่นอย่างนี้ก็ปล่อยได้นะ ให้อยู่กับความว่าง จิตว่าง ดีกว่ายึดถือ ความเห็นเรื่องปฏิจจสมุปบาท แก้ปัญหาก็ได้เรื่องธรรมะ บางคนก็มีความคิด เรื่องธรรมะ เรื่องคำสอนของพระพุทธเจ้า อีกคนก็ความคิดมันต่างกัน ใครถูกใคร ผิดก็ไม่รู้เหมือนกัน


แต่เราต้องทดลองดู ได้ผลอย่างไรเวลา ปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติ บางทีก็คำสอนพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่จะทดลองดู มัน จริงหรือไม่จริง ไม่ต้องถือว่าจริง เพราะว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำ สอนเพื่อจะใช้ได้เพื่อจะพิสูจน์ได้ ไม่ใช่เป็นคำสอนเพื่อจะยึดมั่นถือมั่น


ผู้ถาม : กราบเรียนถามท่านอาจารย์สุเมโธ ผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในทาง โลก เช่นมีชื่อเสียง เงินทอง จะนำเอาความว่างมาใช้ได้หรือไม่อย่างไร ขอขอบ พระคุณครับ


หลวงพ่อ : เรื่องมีความสุขในโลกนี้ พระพุทธเจ้า ก็แนะนำให้รักษา มีทาน ศีล ทำบุญ รักษาศีล จะทำให้มีความสุขในโลกได้ เราก็ เห็นอย่างนี้ด้วย ในเมืองนอกไม่มีสอนอย่างนี้ แต่เดี๋ยวนี้อาตมาสอนอย่างนี้ มากกับชาวยุโรปเรื่องถ้าอยากมีความสุขสำเร็จอะไรในโลก ไม่เคยสนใจจะพ้นโลก หรือจะไปนิพพาน ก็อยากจะอยู่ให้มีความสุขในโลก ก็แนะนำให้ทำบุญ รักษา ศีล ทาน ศีล ภาวนา


ในพุทธศาสนาด้วย ที่เริ่มต้นก็เป็นทาน ทำ บุญ นี่ก็ศาสนาทางตะวันตกด้วย ศาสนาคริสต์ก็ยกศีลเป็นหลัก บังคับให้มี ศีล พระเจ้าอยู่ในสวรรค์ก็สั่งให้เรารักษาศีล ถ้า ไม่รักษาศีลก็ว่าเราไม่ ได้เป็นคริสต์จริงๆ ก็มีความคิดอย่างนี้ รักษาศีลในพุทธศาสนา ต่อไปถ้าเห็น ประโยชน์ ก็จะขอให้ รับศีลจากพระสงฆ์ก็ได้ เราไม่ได้บังคับ ไม่ได้สั่งให้ ต้องรักษา เป็นพุทธถ้าศีลไม่สมบูรณ์ก็ยังเป็นพุทธอยู่ เราไม่ได้ว่าไม่ได้ เป็นพุทธแล้วนะ พระพุทธเจ้า ครั้งแรกก็รู้ในความสามารถของบุคคลในสังคม


ทำบุญก็สำคัญ เพื่อจะไม่ให้เห็นแก่ตัวมาก หรือขี้เหนียวอะไร และมีความสุขเกิด ขึ้นเวลาเราทำบุญด้วย ถ้าเราเก็บทรัพย์สมบัติของเราเพื่อตัวตนเท่านั้น คงจะ ไม่มีความสุขเท่าไหร่ในโลก เวลาเราทำบุญก็มีความสุขเป็นอารมณ์


นี่ก็ที่วัดอมราวดีประเทศอังกฤษ ในวันอาทิตย์ก็มีคนไทย คนศรีลังกา คนเขมรมา หลายๆ คนเพื่อจะทำบุญ ในวันอาทิตย์ ชาวพุทธก็มาทำบุญในวัด ก็คนอังกฤษก็ มอง ดูคนอังกฤษส่วนมากไม่ได้มาวัดเพื่อจะทำบุญ อังกฤษสนใจแต่ภาวนา อยากจะ ปฏิบัติ แต่เรื่องทำบุญไม่เคยคิดจะทำบุญ


เวลาคนอังกฤษเห็นคน ไทย คนศรีลังกาทำบุญ ก็สนใจทำไมมีความสุขอย่างนี้ ทำให้คนอังกฤษก็ทำตามด้วย ทำบุญด้วย เป็นฐานะถวายทานทำบุญอย่างนี้ มันทำให้เรามีความสุขในโลก มีความ สุขอย่างนั้น แล้วก็มีศรัทธา บางทีเราก็ขอให้รักษาศีล ๕ ก็ได้


นี่ก็เป็นสิ่งที่ขอ ไม่ใช่บังคับ มันผิดวินัยที่จะบังคับให้รักษาศีล โยมก็ต้อง ขอ ขอให้ศีล ๕ ศีล ๘ อะไรอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เราต้องรับผิดชอบเรื่อง กายวาจาของตนเองแล้ว เห็นว่าจะทำให้เป็นคนที่ดีในสังคม รักษาศีลแล้วก็รับ ผิดชอบ กายของเรา มีร่างกายแล้วก็จะใช้ร่างกายนี้เพื่อจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ โหดร้าย หรือสร้างความยุ่งยากในสังคม ไม่ฆ่า ไม่ลักของ ไม่พูดเท็จ ไม่กิน เหล้า ไม่ทำผิดในกาม อย่างนี้ ก็เป็นคนเป็นมนุษย์ เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย สมบูรณ์ ในการเป็นมนุษย์ในโลก นี่ก็น่าสรรเสริญด้วย สิ่งที่สรรเสริญได้


สมัยก่อนวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา สงสัยเรื่อง อนัตตา เพราะในเถรวาทเราก็สอนเรื่องอนัตตา ไม่มีตัวไม่มีตน แล้วก็นัก จิตวิทยาก็สงสัย ต้องมีตัวตน จำเป็นที่จะมีตัวตนจริงๆ ถ้าเราสอนไม่มีตัวตน ก็จะสับสนเป็นปัญหา เพราะเรามีตัวตนอย่างที่ดี เขาก็พูดอย่างนี้


เราก็พิจารณา ตัวตนที่ดีเป็นอย่างไร ตัวตนดีเป็นอย่างไร เห็นว่าในการสอนพระ พุทธเจ้า ทาน ศีล ทำบุญ รักษาศีล ก็ทำให้เป็นตัวตนดีๆ ด้วย ในสังคม ทำให้ เรามี หิริโอตตัปปะ รักษากาย วาจา ใจ ของเราพอสมควร ให้อยู่ในสังคมด้วยมี ความสุข และคนนับถือเอื้อเฟื้อ ทำให้ชีวิตของเราดี เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็น นาย เป็นอะไรอย่างนี้ แต่ยังไม่ได้ภาวนา ที่สุดพระพุทธเจ้าสอนเรื่อง ภาวนา การปฏิบัติเพื่อ จะพ้นทุกข์พ้นโลก ทำบุญก็ดีแล้ว ศีลก็สมบูรณ์ บางที เราก็เห็นยังเป็นทุกข์อยู่ อยากจะรู้มีอะไรดีกว่าโลกนี้ พระพุทธเจ้า ก็สอน เรื่องภาวนาให้มีสติเพื่อจะพ้นจากสังขาร เป็นสังขารที่ดี และสังขารไม่ ดี สังขารทุกอย่าง ด้วยสติปัญญา


ผู้ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อ ธรรมะบทไหนที่ทำให้หลวงพ่อมีดวงตาเห็นธรรม และมีจิตใจที่มั่นคงต่อพระพุทธศาสนามาจนทุกวันนี้


หลวงพ่อ : เวลาเรามาเมืองไทยครั้งแรก ก็เคยสงสัยโลกแล้ว อายุ ๓๐ กว่าแล้ว แล้ว ก็เห็นโลกนี้ไม่ค่อยเห็นอะไรที่เราอยากทำทางโลก ตอนนั้นก็เป็นครูเป็น อาจารย์ได้ ตอนที่ไปมาเลเซียก็กำลังเรียนปริญญาโท จบปริญญาโทก็ประสงค์จะ เรียนปริญญาเอกด้วย เพื่อจะเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์เอเชีย ก็มีความ ประสงค์จะเป็นโปรเฟสเซอร์สอนประวัติศาสตร์ของทวีปเอเชียในมหาวิทยาลัยที่ อเมริกา


ได้ปริญญาโทแล้ว เราพิจารณาความจริง ไม่เคยสนใจ ประวัติศาสตร์เอเชียเท่าไหร่ เบื่อแล้วเรื่องสงคราม และก็จะถามต่อไป ถ้า ไม่มีความสนใจ ไม่มีกำลังใจที่จะเรียน ปริญญาเอก ความจริงเราอยากจะปฏิบัติ ทางพุทธศาสนามาก แล้วก็สมัครเป็น Peace Corps สมัยนั้น สมัยประธานาธิบดีเค เนดี้ยังอยู่ ท่านก็ตั้ง Peace Corps อาสาสมัคร ทำให้เราโอกาสที่จะไปประเทศ นอก อาตมาก็สมัครไปมาเลเซีย แล้วก็ส่งไปรัฐซาบาห์ที่เกาะบอร์เนียว ตอนนั้น ไม่รู้ฝ่ายเถรวาทเท่าไหร่ สิ่งที่เราสนใจเป็นแบบ Zen Buddhism ของ ญี่ปุ่น ส่วนมากก็อ่านหนังสือเรื่องเซน


ไปถึงมาเลเซีย แล้วก็มีโอกาสมาเที่ยวเมืองไทย เขมร เกิดความสนใจเวลาเห็นพระในเมืองไทย นี้ แล้วก็ชอบเมืองไทยด้วย เมืองไทยมีอากาศร้อน เราระลึกถึงญี่ปุ่นสมัยเรา เป็นทหารในฤดูหนาวมันหนาวมาก เข้าวัดในวัดพุทธในประเทศญี่ปุ่น ไม่มีเครื่อง อบอุ่นในวัด เวลามันหนาวก็ต้องอดทนมากๆ แล้วฤดูหนาวญี่ปุ่นก็หนาวจัง และเรา เป็นคนไม่ชอบหนาวเท่าไหร่ เลยขี้เกียจอยู่ในประเทศหนาว สงสัย จะทดลองดู ปฏิบัติในเมืองไทยเป็นอย่างไร ประเทศร้อน ก็ลาเป็น Peace Corps แล้ว ก็มา กรุงเทพฯ เริ่มปฏิบัติที่ วัดมหาธาตุฯ ท่านเจ้าคุณที่นี่ พระธรรมธีรราชมหา มุนี เป็นอาจารย์องค์แรกที่สอนอาตมา


ความจริงเวลาถึง เมืองไทย เราเบื่อโลกแล้ว เราไม่สงสัยหรือสนใจทางโลกแล้ว พยายามจะคิดถ้า อยากจะปฏิบัติทางโลก จะทำอะไร คิดไม่ออกเลยนะ พยายามจะคิด อยากจะเป็น ประธานาธิบดีอเมริกา ไม่เอา จะเป็นอาจารย์สอนประวัติศาสตร์เอเชียในมหาวิทยา ลัยฮาร์เวิร์ด ไม่สนใจนะ อยากจะทำอะไร อยากปฏิบัติ เราก็มีศรัทธามาก อ่านคำ สอนพระพุทธเจ้าแล้ว มันทำให้เราอยากทำ อยากปฏิบัติ เวลาอ่านหนังสือพุทธ ศาสนา มันทำให้มีอารมณ์อยากทดลอง อยากปฏิบัติจริงๆ แต่ไม่อยากจะศึกษา ปริยัติธรรมตลอดอ่านจากพระไตรปิฎก เราไม่รู้มันจริงหรือไม่ แล้วถ้าเป็น อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยคงจะเป็นอย่างนั้น เป็นเพียงแต่ปริญญาตรี แล้วจะ เรียนพระไตรปิฎก บาลี สันสกฤตอะไรแล้วก็รู้นะสิ่งเหล่านี้ เขียนหนังสือก็ ได้ แต่ยังไม่รู้จริงๆ รู้เพียงแต่เปลือกภายนอก ก็มีศรัทธาที่จะปฏิบัติ


นี่ก็เป็นความมุ่งหมายเวลาเรามาเมืองไทย แล้วก็ไปเรียนกับท่านเจ้าคุณวัด มหาธาตุฯ แล้วก็บวชอยู่กับหลวงพ่อชาหลายพรรษา ได้โอกาสดียิ่งที่จะปฏิบัติ ได้ตามที่เราจะพิสูจน์ได้ ก็มีโอกาส


แล้วก็เห็นผลในการ ปฏิบัติดีแล้ว ก็ไม่เคยสนใจจะเห็นโลกียธรรมมันเป็นอย่างไร ยังไม่สนใจ เท่าไร เราก็เห็นประโยชน์ในการปฏิบัติ เป็นสิ่งที่เราก็เห็น เป็นสิ่งที่ดี ที่สุดที่จะทำได้ในการเป็นมนุษย์ในชาตินี้



ผู้ถาม : มีคำถามเกี่ยวกับการปฏิบัติ มีคล้ายๆ กัน ผมจะอ่านทีเดียวพร้อมๆ กัน เลยนะครับ
ตอนนั่งสมาธิเช้านี้สงบเร็วมาก เวลานั่งไปรู้สึกแสงสว่างเหมือนมีแสงนีออนเพิ่ม จำนวนดวงขึ้น เป็นเพราะเหตุใด หรือเป็นเพราะเราคิดไปเองเช่นนี้


อีกฉบับ เมื่อนั่งสมาธิไปสักพักจะรู้สึกร้อนขึ้น คล้ายกับร่างกายมีความร้อนออกมา สิ่งนี้เป็นอาการปกติหรือไม่


อีกฉบับ เวลานั่งสมาธิทำไมมีอาการร้อนวูบวาบที่ใบหน้าคะ รู้สึกว่าหน้าจะ แตก หรือที่เขาเรียกว่านั่งสมาธิแล้วรักษาโรคได้ ใช่ไหมคะ


อีกฉบับครับ เวลานั่งสมาธิ มักจะมีอาการมือเบาขนลุก มือจะลอยสูงขึ้นๆ ไม่ทราบ จะต้องทำอย่างไร นั่งทีไรก็มักมีอาการแบบนี้ สังเกตดูอาการเคลื่อนของมือ จน ลอยสูงขึ้นมากๆ เลยพยายามดึงมือลง แต่ก็บังคับไม่ได้ มือก็ยังคงลอยอยู่เลย ต้องลืมตา พอนั่งหลับตาใหม่ ก็เจออาการเดิมๆ ค่ะ


อีกฉบับครับ ขณะนั่งสมาธิร่างกายจะมีอาการผงะไปข้างหน้าบ้างข้างหลังบ้าง บางทีก็ เอนไปข้างซ้ายหรือข้างขวา คล้ายจิตตกภวังค์ คล้ายง่วงแต่ไม่ได้ง่วง รู้ตัว ทุกขณะ ของอาการ เช่นนี้เป็นลักษณะของปีติหรือไม่ และควรทำอย่าง ไร เพราะอาการนี้เกิดขึ้นทุกครั้งในระยะ ๒-๓ วันนี้ ในแนวการปฏิบัติของอานา ปานสติ ควรกำหนดอย่างไร เมื่อมีอาการเช่นนี้


หลวงพ่อ : ในเรื่องสมาธิ มันก็ถ้าตั้งใจมั่น ก็มีปีติ สุข เอกัคคตาเกิด ขึ้น เวลาจิตหยุดฟุ้งซ่าน ก็มีสมาธิพอสมควร บางทีก็ประสบสิ่งที่ทำให้มีความ สุขมาก ปีติ สุข นี่ก็เป็นผลดีเหมือนกัน ทำสมาธิด้วย และบางทีก็ทำให้เรา อยากได้ อยากให้มันมีตลอด ทำให้สิ่งที่ดีมันเป็นความทุกข์ของเราได้


ความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการนั่งทำสมาธิให้อยู่กับรู้ มันเป็นอย่างนี้ แล้วก็ ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ได้ ถ้าเรามีความสุข เหมือนที่อาตมาเคยกล่าวถึงเรื่อง วันที่ ๓ วัดมหาธาตุฯ วันที่ ๓ คนปิดประตูมีเสียงดัง แล้วก็เป็นสมาธิ จริงๆ เกิดขึ้น ทำให้มีสมาธิที่มีความสุขที่เราไม่เคยรู้เลยในชีวิต แล้วก็ มีความสุขอย่างนั้น เวลาความสุขมันไปแล้วก็อยากให้มีอีก พิจารณาในตัณหาที่ เกิดขึ้น อยากได้ความสุข ถ้ามีความสุขแล้ว ก็รอให้เป็นสุข ก็เป็นอย่าง นี้ ตั้งใจให้พิจารณาความสุขก็เป็นอย่างนี้ ปีติก็เป็นอย่างนี้ ความเบาตัว อะไร ความสุขที่เกิดขึ้นก็เป็นอย่างนี้ ให้กำหนดรู้มันเป็นอย่างนี้


เวลา มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อจะอยู่กับพุทโธ ผู้รู้สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้น ดับไป ไม่ใช่จะทำลายความสุข สุขอย่างนี้รับสุขก็ได้ เป็นผลดีในการทำ สมาธิ พิจารณาด้วยปัญญาด้วยไม่ให้ยึดถือความสุข ไม่ได้ปฏิบัติเพื่อจะมีความ สุข เวลาปฏิบัติความสุขมันมีอยู่ แต่เราก็รับรู้ เราปล่อยให้มีความสุขก็ ได้ แต่เราไม่ได้เป็นผู้มีความสุข ความสุขมันทรงไว้เวลามีเหตุปัจจัยที่จะ มี แล้วมันก็ดับไป เพราะเป็นอนิจจังเหมือนกัน


บางทีก็มีหลาย อย่างเกิดขึ้น ที่แปลก ทำให้เรามีความรู้สึกก่อนที่จะเปรียบเทียบได้ และให้ เราตั้งใจให้อยู่กับผู้รู้ พุทโธ มีอะไรเกิดขึ้น เจ็บปวด หรือมีอาการทางกาย เป็นเบาตัวเป็นอะไร รู้สึกร่างกายก็หายไปเป็นบางครั้ง มันเป็นอย่างไร ให้ เราสังเกตมันเป็นอย่างนี้ อย่าไปหลงอาการ


นี่เป็นคำสอนที่ ใช้ได้ทุกอย่าง บางทีเราจะหลงทางได้ อยากได้มีความสุขมากๆ อยากมีความ สงบ เราปฏิบัติเพื่อจะมีความสงบตามที่เราจำได้ มันสร้างเป็นอุปสรรค


แต่ถ้าเรามีความตั้งใจปฏิบัติ เพื่อจะเห็นธรรมในปัจจุบัน นี่ก็ไม่มีอุปสรรค แล้ว สิ่งที่ดีหรือไม่ดีมันก็เป็นธรรมของเราที่จะเจริญทางสายกลางได้ ถ้า หากว่าเราหลงอยากให้มีความสุข อยากให้มีความสงบ เหมือนกับความงามก็ดี เป็น สิ่งที่น่าต้องการเป็นสิ่งที่ดีด้วย แต่ถ้าเราหลงตัณหาอย่างนั้น มันจะไม่ ยอมเห็นด้วยปัญญา คงจะเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติต่อไป


ผู้ถาม : ถามว่าชาตินี้ชาติหน้า นรก สวรรค์ มีจริงหรือไม่ กรุณาอย่าตอบว่า สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นิพพานตายแล้วสูญ หรือเสวยสุขอยู่ในแดนอมตะ


หลวงพ่อ : สุข น้ำตาลเป็นสวรรค์ บอระเพ็ดเป็นนรก พิจารณาสวรรค์เป็นความสุข นรก เป็นความทุกข์ และสวรรค์นรกเราคิดว่าเป็นสถานที่ สวรรค์อยู่ข้างบน นรกอยู่ ข้างล่าง และสวรรค์สูงสุดมีแต่ความสุขเท่านั้น สวยงามทุกอย่าง ไม่มีอะไรไม่ สวย ไม่มีอะไรหยาบ หรือที่จะทำให้เรามีความทุกข์ได้ นรกถึงอเวจีเป็นที่ต่ำ ลงที่สุดแล้ว ก็เห็นว่าเป็นความทุกข์ และไม่มีอะไรนอกจากความทุกข์ที่ทารุณ จริงๆ


และนี่ก็เป็นความคิด ถึงที่สุด สวรรค์ นรก เป็นความ คิดที่เกิดในใจของเรา ก็พิจารณาในความคิด ความคิดของเราก็มีอาศัยแต่ที่สุด โต่งด้วย สุข ทุกข์ สวรรค์ นรก มันเหมือนๆ กันนี่ น้ำตาลกับบอระเพ็ด หวาน กับขม หวานก็ทำให้มีความสุข ขมก็ทำให้มีความทุกข์อย่างนี้ นี่ทางลิ้น


พิจารณาอย่างนี้ ทำให้เห็นได้ง่าย เป็นเรื่องจิตใจของตนเอง นิพพานบางทีก็คิดว่ามัน สูงกว่าสวรรค์ ไม่ใช่ สูงกว่าก็เป็นสวรรค์อีกอย่างหนึ่ง สวรรค์สูงสุด


แต่นิพพานไม่ได้เป็นเรื่องสูงต่ำ มันปัจจุบัน นิพพานเป็นเรื่องปัจจุบัน ไม่ได้ อยู่ห่างไกล เป็นสิ่งที่สูงกว่า เราเป็นคนอย่างนี้ที่มีกิเลสหนาก็ไม่กล้า ที่จะคิดที่จะไปนิพพาน เพราะสูงเกินไป เราก็คิดแบบสูงต่ำได้ นิพพานมัน สูง เรามันคนต่ำ เป็นอย่างนี้


ถ้าหากว่าเราอบรมตัวเองด้วย ปัญญา พุทโธ เราก็จะเห็นสูงต่ำ ดีก็มี ชั่วก็มี ถูกต้องก็มี ผิดก็ มี สวรรค์ นรก มีอะไร ถ้ามีดีก็มีชั่ว มีผู้หญิงก็มีผู้ชาย มีกลางวันมี กลางคืน นี่เป็นเรื่องสังขาร ลักษณะสังขารก็เป็นอย่างนี้ แต่เราพิจารณาด้วย สติปัญญา เราจะเห็นว่าสังขารก็เป็นอย่างนี้ นิพพานคือ เห็นชอบ เห็นมีสัมมา ทิฏฐิ เห็นด้วยปัญญา นี่เป็นเรื่องสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้รู้สังขารไม่ได้ เป็นสังขาร เราไม่ได้เป็นสังขารจริงๆ สังขารเราสร้างตัวตน ตัวตนที่เราสร้าง เป็นสังขาร และผู้รู้ไม่ได้เป็นสังขาร พิจารณาอย่างนี้ให้อยู่กับรู้ ให้มี สติ เป็นช่องที่จะเข้าอมตธรรมได้ นี่สำคัญ


ถ้านิพพานมันสูง กว่าสวรรค์ เราก็จะผิดหวังในการปฏิบัติ เห็นว่าสวรรค์แล้วก็สูงกว่า นั้น ระยะนั้นดีกว่าสวรรค์ ก็ใช้คำศัพท์ที่จะทำให้มันอยู่ห่างไกลจากเรา จน เราเห็นว่ามันสูงเกินไปแล้ว ไม่มีความสามารถจะถึงในชาตินี้ ต้องรอชาติหน้า


ในเมืองไทย บางคนก็พูดอย่างนี้ โอ ชาตินี้บารมีไม่มาก ต้องรอชาติหน้า เลยทำ บุญมากๆ ชาติหน้าจะเกิดเป็นผู้ชาย เพื่อจะบวชเป็นพระ สตรีในยุโรปรังเกียจ ความคิดอย่างนี้มาก สิทธิสตรี จะทำผู้หญิงอังกฤษโกรธก็พูดอย่างนั้น ต้อง เป็นพระเป็นผู้ชายที่จะไปนิพพาน โกรธ น่ากลัว


อย่างนี้ก็เป็นความคิดของมนุษย์ นอกจากความคิดความเห็นภาษาของเรา ให้อาศัยสติ สัมปชัญญะ สังเกตดูปัจจุบันเป็นยังไง ให้เราผ่อนคลายในปัจจุบัน อยู่กับ ปัจจุบัน ปล่อยวาง เพื่อจะไม่ยึดมั่นถือมั่น เพื่อจะเห็นนิพพานใน ปัจจุบัน ไม่สูงไม่ต่ำ


อย่าท้อถอย ให้มีศรัทธา ในการปฏิบัติ ธรรมขอให้เราทุกๆ คน ศรัทธามากขึ้น เพื่อจะมีศรัทธาในการปฏิบัติต่อไป เพื่อ จะพ้นจากความทุกข์ เห็นนิพพาน ถ้าคิดว่าเราเป็นคนไม่มีบารมี อย่าไปเชื่อ ความคิดอย่างนั้น เป็นความคิดที่เกิดขึ้น เราสร้างคนนั้นนะ เราเป็นผู้ สร้าง เราไม่ต้องสร้างคนนั้น อยู่กับรู้ อยู่กับสติปัญญามันดีกว่านะ ทางพ้นทุกข์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2008, 17:20
โพสต์: 1854

แนวปฏิบัติ: อานาปานสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: THAILAND

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาด้วย ท่านลูกโป่ง
สำหรับสิ่งที่นำมาให้อ่าน :b42: เจริญในธรรมนะจ๊ะ
:b42:

.....................................................
[สวดมนต์วันละนิด-นั่งสมาธิวันละหน่อย]
[ปล่อยจิตให้ว่าง-ชีวิตที่เหลือเพื่อธรรมะ]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2009, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับคุณลูกโป่งด้วยครับ

ยาวไปด้วยเนื้อหาและสาระครับ


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


...เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะคะ...
คุณบัวไฉน คุณวรานนท์ และกัลยาณมิตรทุกท่าน


:b48: ธรรมะสวัสดีวันพระค่้ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2009, 15:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ไขปัญหาธรรม ๔

วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗

ผู้ถาม : กราบนมัสการหลวงพ่อ หลวงพ่อเชื่อกฎแห่งกรรมหรือไม่ ถ้าเชื่อกรุณาเล่า กฎแห่งกรรมที่หลวงพ่อได้รับและการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจะชดใช้กฎแห่งกรรม ได้หรือไม่


หลวงพ่อ : กฎแห่งกรรมก็พิสูจน์ได้ ทำดีได้ ดี ทำชั่วได้ชั่ว ถ้าเราคิดรักษาจิตด้วยความดี เราก็จะได้ผลอย่างนั้น ถ้า เราคิดแบบโกรธโมโห รังเกียจ อิจฉา พยาบาท แล้วเราก็จะมีผลอย่างนั้น เป็น ทุกข์ เราก็ใช้เป็นสิ่งที่อบรมชาวบ้านด้วย


ทางตะวันตกคนไม่เคยเชื่อกฎแห่งกรรม เราพูดถึงกฎแห่งกรรม ส่วนมากก็ไม่รู้เรื่อง ไม่เชื่อ มี ประโยชน์ให้สังคมที่จะเชื่อกฎแห่งกรรมเพราะเป็นสิ่งที่จะนำรูปนามของเราไป ทางที่ดี เราพิสูจน์ได้ เหมือนกับทำบุญด้วยไม่เห็นแก่ตัว ไม่อยากได้อะไร ทำ บุญเพื่อความดีก็จะมีความสุขอย่างนั้น รักษาศีลก็ตั้งใจที่จะทำไม่อะไรที่จะ สร้างความยุ่งยากกับสังคมต่อไป กับสิ่งแวดล้อม แล้วก็รักษาจิตรักษาร่างกาย ด้วยเมตตากรุณา แล้วก็มีประโยชน์มากทางโลกียธรรม เพื่อจะมีความสุข ความ สงบ เวลาอยู่ในสังคมในโลกนี้

คนที่ไม่เชื่อและไม่เคยพิจารณา ความจริง ก็คิดว่า ทำไม่ดี อยากจะได้ผลดี บางคนก็คิดอย่างนี้ ถ้าเราฆ่าคน ที่ทำให้ชีวิตของเราไม่ดี เราจะมีความสุขต่อไป แต่ความคิดเหล่านี้ก็เป็น ความคิดที่เกิดจากคนที่ไม่เคยพิจารณากฎแห่งกรรม


แล้วก็ไม่ต้องเชื่อตามทฤษฎีนะ เราพิสูจน์เองดู เพียงแต่ความคิดเท่านั้น เอาคำบริกรรม พุทโธ พุทโธ ก็มีอารมณ์ พุทโธ แล้วเราจะ พิจารณา พรหมวิหาร เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีความกตัญญูกตเวทีจิตใจของ เราก็มีสันโดษ มีความสุข มีความสบาย ถ้าเราคิดไม่ดี อิจฉาคนนี้ พยาบาท ดู หมิ่น ดูถูกคนอื่น คิดอย่างนี้ อยากจะฆ่าคนหรือทำลายสิ่งที่เรารำคาญ ถ้ามี อารมณ์อย่างนั้นเป็นผล และอารมณ์นั้นเป็นอย่างไรให้เรารู้ อารมณ์ที่มีอย่าง นั้น มันก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ที่เราทำให้ ทิฏฐิอย่างนี้ก็มีปัญญาจะนำทาง ได้


ผู้ถาม : คนอื่นๆ ที่เขาไม่ได้มาปฏิบัติธรรม ทำไม เห็นเขาอยู่เป็นสุขสบายดี คนที่ปฏิบัติธรรมกลับเห็นทุกข์ มากกว่า อย่างนี้ ไม่ปฏิบัติดีกว่าใช่ไหม

อีกอันหนึ่งถามว่า
ทำอย่างไรให้มีความร่าเริงในธรรม เพราะรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมมีความเครียดอยู่มาก ดูเห็นอะไรเป็นสังขาร เป็นทุกข์ไปหมด


หลวงพ่อ : ความเห็นที่ดีในการปฏิบัติ คือทำเพราะเป็นสิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน การ จะปฏิบัติเพื่อจะได้สิ่งที่อยากได้ต่อไป มันทำให้เราปฏิบัติด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน และผลในการปฏิบัติด้วยอวิชชา ตัณหา อุปาทานจะเป็น ทุกข์อยู่ ยิ่งทำก็ยิ่งเป็นทุกข์ได้ ต้องเห็นโทษในการปฏิบัติเพื่อจะอยากได้ อยากมีอยากเป็นอะไร


สิ่งที่อาตมาอบรมตัวเองตั้งแต่แรก ให้พอ ใจกับสิ่งที่มีแล้ว ปัจจัย ๔ แล้วก็มีความกตัญญู มีอาจารย์ที่ดีที่อบรม สอน รับเราเป็นลูกศิษย์ด้วย แล้วก็ได้พบพระพุทธศาสนาก็มีความกตัญญูต่อพระ พุทธเจ้า อย่างนี้ก็ทำให้มีอารมณ์แบบกตัญญูและสันโดษด้วย นี่เป็นฐานะที่ดี มากที่จะมีความสุข และมีความเจริญในทางวิปัสสนากรรมฐานได้


บางคนอยากได้เป็นโสดาบัน หรืออยากได้เป็นอะไรก็จะไม่เห็นโทษในการยึดมั่นถือ มั่นในสิ่งเหล่านี้ ก็พยายามจะบังคับตัวนั่งสมาธิอะไรมาก มันก็ทำให้มีความ ทุกข์ บางทีก็ได้สิ่งที่อยากได้แล้วปัญญายังไม่เกิดขึ้น แล้วก็จะเก็บไว้ไม่ ได้ มันก็จะดับไปเอง ผลที่ดีที่ต้องการบางทีมันก็มี แต่ที่จะเก็บไว้ตลอดไม่ ได้ ก็ถึงเวลามันก็ดับไป มันก็มีอารมณ์เสียใจ


แต่ถ้าเราเป็นนักกรรมฐานจริงๆ ก็เหมือนกับอยู่ง่ายๆ นั่ง ยืน เดิน นอน ลมหายใจ เข้า ลมหายใจออก แล้วก็พอใจกับลมหายใจเข้าเป็นอย่างนี้ พอใจกับลมหายใจ ออกอย่างนี้ เวลานั่งก็ดี ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี ให้เรามีสติอยู่ไม่ใช่ แบบหลอกตัวเอง แต่ความจริงก็ต้องอบรมตัวเองใน เรื่องการปฏิบัติ ความทะเยอ ทะยานในการปฏิบัติ เราบางทีก็หลอกตัวเองได้


คนเป็นบางคนบางรูป ทะเยอทะยานในการปฏิบัติ ก็อยากเป็นพระอรหันต์ บางทีก็หลอกตัวว่าเป็น อยู่แล้ว แล้วก็ทำตัววางท่าเป็นอรหันต์ แล้วก็สร้างความยุ่งยากในสังคม


นี่ก็เรื่องอยากกลายเป็นอรหันต์ ก็เป็นตัณหาที่พระพุทธเจ้าแนะนำให้เราดู รู้ ตัณหาอย่าไปยึดมั่นถือมั่น และถ้านิพพานนี่ก็ไม่ได้เป็นอุดมคติที่จะยึด ถือ ก็เป็นคำศัพท์ที่จะพิจารณา เพื่อจะทำให้เราระลึกปัจจุบันได้ เพื่อจะ กลับไปดูสังเกต มีสติสัมปชัญญะปัจจุบันนี้ และให้เป็นผู้มีสันโดษ มัก น้อย นี่เป็นฐานะที่ดีที่จะได้ผล และมีความสุข มีความสงบในการปฏิบัติของเรา


ผู้ถาม : เป็นไปได้ไหมที่จะมีปัญญาและหลุดพ้นโดยที่ไม่ต้องนั่งสมาธิ และเดินจงกรม โดยศึกษาธรรมและตามดูจิตของตนเนืองๆ


หลวงพ่อ : อันนี้ทดลองดู ได้ผลอย่างไรเวลาเดิน จงกรม บางทีเดินไปช้าๆ ตั้งใจ มั่นกับการเคลื่อนไหวของเท้า แบบยุบหนอพองหนอ ก็จะมีสมาธิมากขึ้น ถ้าเดิน ธรรมดาเหมือนที่เรา-อาตมาทำ สมาธิก็ไม่มาก แต่มีสติอยู่ สมาธิก็ดี ไม่มี อะไรที่จะรังเกียจสมาธิ เป็นวิธีที่จะฝึกจิตให้ตั้งใจมั่น กับสิ่งใดสิ่ง หนึ่งได้ แล้วก็เป็นสมถะกรรมฐาน สมถะวิปัสสนา บางทีพิจารณาอย่างละเอียด ลออ ก็จะเห็นมีญาณเกิดขึ้นได้


แต่สิ่งที่ต้องระวังคือยึดถือ ความคิดความเห็น ถ้าเรายึดถือวิธีปฏิบัติของเรา และเราไม่รู้ เรากำลังยึด ถือ นี่ก็เป็นอุปสรรคต่อไป


บางคนก็ว่าต้องเดิน ธรรมดา เดินช้าๆ ไม่ดี นี่ก็ความยึดมั่นถือมั่นของความเห็นเดินธรรมดาเหมือน กัน เราพูดอะไรถ้าเรายึดคำพูดอย่างนั้น ก็เป็นความยึดมั่นถือมั่น เรื่องคำ สอนแล้วก็วิธีปฏิบัติ สิ่งเหล่านี้เป็นสมมุติ แล้วก็เป็นสิ่งที่จะนำเราเป็น โอกาสที่จะช่วยให้เรามีสติได้ แล้วผลที่สุดแล้ว สติกับสมาธิกับวิริยะ สมาธิ กับสติ มันพร้อมถึงกัน ศรัทธากับปัญญา ก็พิจารณาเวลามีศรัทธา ศรัทธา มันทำให้เรามีกำลังที่จะปฏิบัติได้ เราก็ปฏิบัติเพื่อจะพิจารณา สัจธรรม ปัญญาจะเกิดขึ้น แล้วก็มีปัญญา ศรัทธาก็มีมากขึ้น มันก็อาศัยซึ่ง กันและกัน


นี่ก็อาศัยสติเป็นตัวกลาง เป็นหลักที่อาศัย กัน และสัมมาสมาธิ เวลาถึงมรรค ๘ ก็สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ก็ไม่ ได้เป็นเรื่องตั้งใจมั่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเรื่องความสมดุลกันทางจิต ใจ ไม่วอกแวกวุ่นวาย เป็นอุเบกขา เป็นเอกัคตาอย่างนี้ เราไม่ได้เป็นผู้ตาม อารมณ์ ไม่ได้หลงอารมณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน


แต่เราก็ฝึกสมาธิด้วย ฝึกอานาปานสติเป็นหลายปี เพื่อจะมีสมาธิดีๆ นี่ก็เป็นสิ่งที่ ควรทำด้วย สมถกรรมฐาน และทางที่จะพ้นทุกข์คือวิปัสสนาสติปัฏฐาน ๔ ให้เรา พิจารณาสิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


ผู้ถาม : จากที่หลวงพ่อเทศน์เมื่อคืนเรื่องความโกรธ อยากกราบให้หลวงพ่อกรุณา อธิบายว่าขันติบารมีฝึกอย่างไรคะ ต่างกับการเก็บกดอารมณ์อย่างไร


หลวงพ่อ : ความอดทน หลวงพ่อชาก็พูดเรื่องอดทนมาก สมัยนั้นอยู่วัดป่าพง ความจริง ก็ต้องอดทนมาก ไม่ค่อยมีของฟุ่มเฟือย เป็นวัดป่า สิ่งที่เราอาศัยเวลาเป็น ฆราวาสก็ไม่มี ต้องอยู่รวมกัน ร่วมมือกันทำหน้าที่ทุกอย่าง แม้สิ่งที่จะอด ทนต่อความเจ็บปวด อดทนต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้น เวลาเราไปอยู่กับหลวงพ่อชา หลวง พ่อบอกว่าขันติบารมีไม่มาก ความอดทนไม่มาก ท่านก็แนะนำให้สร้างขันติบารมี มากๆ แต่เราก็ทำได้ เวลาหลวงพ่อชาเทศน์ตอนเย็นก็เทศน์นานๆ เป็นหลาย ชั่วโมง ภาษาอีสานด้วย และเราไม่รู้เรื่อง เราก็เห็นจิตใจของตนเอง เรา ต้องอดทนต่ออารมณ์ อารมณ์ก็ไม่อยากอยู่ในศาลา ไม่อยากฟังอย่างนี้ อยากกลับ กุฏิ แล้วก็มีความเจ็บปวด พับเพียบ มีอะไรทุกอย่างที่จะทำให้มีอารมณ์แบบไม่ อยากให้เป็นอย่างนี้ อยากจะหนี อยากจะเปลี่ยน อยากจะทำอะไรอีก ทำอย่างอื่น


เราอดทนต่อสิ่งเหล่านี้ รับรู้อารมณ์ แต่ไม่ได้ตามอารมณ์ เราก็สร้างขันติบารมี อย่างนี้มาก เราก็อยู่กับพระ เณร แม่ชีอะไร อยู่ในสงฆ์ก็อดทนด้วย บางทีก็ อยู่รวมกันเป็นหลายองค์หลายคน ก็มีความคิดต่างกัน แล้วก็มีอารมณ์อยากจะ บังคับลูกศิษย์แบบตามตนเอง ความคิดเหมือนเรา ทำตามอย่างเราอย่างที่เป็น ผู้ใหญ่ที่สั่งให้ บางทีเราเป็นผู้นำก็ต้องอดทน รู้ความสามารถของคนที่อยู่ ด้วยกัน ที่จะบังคับคนที่เดินช้าๆ ให้บังคับอย่างเร็ว บังคับด้วยโกรธ โมโห นี่ก็ไม่เป็นผลดี และบางทีเราก็ต้องอดทนต่อคนช้าๆ


หลวงพ่อชาก็สอนธรรมดา เวลาเดินบิณฑบาต ออกบิณฑบาตแล้วก็เดินธรรมดาอยู่ในหมู่บ้าน และสำรวมจิตกับกายให้เดินไป แล้วก็รับอาหารใส่บาตร เดินไม่ได้เดิน เร็ว เดินช้าไป ปีหนึ่งอาตมาก็ไปเยี่ยมอาจารย์มหาบัวที่วัดบ้านตาด แล้วก็ไป บิณฑบาตกับหลวงตาบัวในหมู่บ้าน ท่านเดินเร็วมาก วิ่ง รีบไปแล้วก็รีบกลับ เหยียบหินแล้วก็ทำให้เจ็บเท้ามากจริงๆ แล้วก็รีบจัดอาหารแล้วก็รีบ ฉันอาหาร ก็เห็นว่าก็ดีเหมือนกันนะ ต้องอดทน


บางทีถ้าเรายึดถือแบบต้องทำอย่างนี้ บางทีคนเดินช้าๆ เราจะรังเกียจองค์นั้นได้ นะ นี่เป็นเหตุให้หลวงพ่อชาแนะนำให้เดินธรรมดาให้รู้ธรรมดา ทำให้ชีวิตของ เราอยู่ได้ด้วย จะให้มีสติกับสิ่งที่มันไม่เป็นที่สุดนะ ให้เป็นธรรมดา เป็น วิธีที่จะทำให้ทุกคนปรับตัวได้ เป็นคนช้าๆ ไป ก็จะทำเร็วกว่าก็ได้ หรือจะ เป็นคนรีบเร่งใจร้อนอะไรก็ต้องเย็นใจหน่อย ให้ตั้งสติสัมปชัญญะกับสิ่งที่ มันเป็นธรรมดาในชีวิต เดินบิณฑบาตอย่างนั้น พิจารณาในชีวิตการเป็น มนุษย์ เป็นโอกาสที่จะสร้างขันติบารมี


เพราะเดี๋ยวนี้อยู่กรุงเทพฯ ก็มีรถติดมีอะไรหลายอย่าง มีมือถือที่มีเสียงรบกวน และมีหมา เห่า มีเครื่องแล็ปทอป มีคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ก็ต้องมีความอดทน มากๆ เรื่องสิ่งเหล่านี้ มันทำให้ชีวิตของเราสะดวกหลายอย่าง และทำให้มี อารมณ์ด้วย เวลามันเสียหรือคนทำอะไรเครื่องของเรา หรือเครื่องไม่ได้ทำตาม ที่ควรทำ หรือเสียหรือไฟฟ้าไม่มี บางคนก็มีอารมณ์โกรธโมโหใหญ่ พระสัมมา สัมพุทธเจ้าสมัยนั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ที่จะสร้างอารมณ์เป็นโมโหได้


เดี๋ยวนี้อเมริกาก็มีปัญหานี้ เรื่องคนขับรถ ที่สหรัฐอเมริกาใจร้อน ขับรถแล้วคน ที่ขับรถช้าไปแล้วก็ออกไปด่าคนนั้น พูดไม่ดี บางทีก็เกิดอารมณ์แบบเรียก ว่า roadrage เป็นอารมณ์อย่างเร่งจะฆ่าคนได้ คนที่ทำให้เรามี roadrage เรา ก็จะฆ่าคนที่เรารังเกียจ เพราะเขาก็ขับรถช้าๆ ไปหน่อยอย่างนี้นะ ขันติบารมี ก็ไม่มีแล้ว เราเป็นปีศาจแล้ว


แต่ถ้าหากว่าเราตั้งใจใช้ สิ่งที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ คอมพิวเตอร์เสีย รถติดในกรุงเทพฯ คนเดินช้า คน แก่ด้วย สมัยก่อน วัดจิตตวิเวกมีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นคนอังกฤษ แต่มีอายุ เกือบ ๙๐ มีอายุมาก และเป็นคนดีมาก มีศรัทธาในพุทธศาสนา และตาก็ไม่ค่อย ดี เห็นชัดไม่ได้ เกือบจะตาบอดแล้ว หูไม่ดีมีเครื่องอยู่ในหูที่จะฟัง เสียง ปัญหาเรื่องยินเสียงเรื่องเห็นด้วยตา นี่เป็นผู้หญิงที่มีศรัทธาและมี นิสัยดีมาก เราก็ชอบผู้หญิงคนนี้มาก เป็นคนที่จะนับถือได้ ผู้หญิงคนนี้มี อายุมากก็เดิน บางทีก็เห็นทางไม่ค่อยชัด เดินช้าไป หรือไม่เห็นอะไร หรือไม่ ได้ยินเสียงที่เราได้ยิน มีเสียงโทรศัพท์ ผู้หญิงคนนี้ไม่ได้ ยินเสียง


วันหนึ่ง ในห้องรับแขก แล้วก็มีคนมาบอกว่า อาจารย์สุเมโธ มีคนกำลัง โทรศัพท์ อยากจะคุยกับท่าน เราก็คิดว่า โอ้ ต้องรีบไปนะ ไปออฟฟิศ ผู้หญิงคน นี้ก็ไม่ได้ยิน เวลาเราลุกขึ้น ผู้หญิงก็บอกว่า อาจารย์ สุเมโธ ช่วยอธิบาย เรื่องสิ่งเหล่านี้ เราก็มีอารมณ์แบบโมโห เราก็อยากจะรีบไปรับโทรศัพท์ แต่ ผู้หญิงแก่ๆ ก็อยากให้เราสนทนา แต่อาตมาต้องรีบไปโทรศัพท์ แล้วก็พูดแบบไม่ สุภาพเท่าไหร่นะ


เรารับโทรศัพท์แล้ว เราก็พิจารณาในการ กระทำของตนเองแล้วรู้สึกละอาย ก็พิจารณา เราตามอารมณ์เลย บอกว่าอาจารย์ สุเมโธคงอยากจะพูดโทรศัพท์ เหมือนกับต้องรีบไปรับโทรศัพท์อย่างนั้น แต่ความ จริงไม่ต้องรีบ ต่อจากนั้นเราก็ตั้งใจให้ผู้หญิงแก่ๆ มีอายุมากเป็น เทวทูต เป็นเทวดา มาสอนเรา เราต้องรักษาให้มีสติมากขึ้น เวลาผู้หญิงเดิน ช้าๆ ไป เราก็จะต้องรักษาการเดินของเราที่จะเป็นประโยชน์ ไม่เร็วกว่าทำให้ ผู้หญิงแก่ๆ ต้องรีบไปเกินความสามารถของตนเอง หรือบางทีก็ไม่ได้ยิน เวลาเรา แสดงธรรม ส่วนมากผู้หญิงคนนี้ก็ยินเสียงเราไม่ได้ บางทีเกิดความสงสัยอยากจะ พูดกัน สนทนาสิ่งที่เราเคยพูดกันแล้ว


เราก็คิดว่าจะเป็น โอกาสดีเพื่อจะสร้างขันติบารมีด้วย และจะทำให้เรามีนิสัยดีขึ้น ทำให้เราออก จากความใจร้อน ให้มีใจเย็น ยกผู้หญิงคนนั้นขึ้นเป็นอาจารย์สอน แล้วก็แสดง ความกตัญญู ทุกวันนี้ก็คิดอย่างนี้ เป็นอุบายที่ทำให้มีความสุขด้วย แล้วก็ หลายปีผู้หญิงคนนั้นตายไป แล้วก็ไปงานศพ


ผู้หญิงคนนั้นมี นิสัยเบิกบานแจ่มใส เวลาตายก็เกือบจะ ๙๐ ปี และก็เป็นฤดูหนาวด้วย แล้วก็ไป ที่ที่จะเผาศพ มีพวกพระสงฆ์ และลูกและพี่น้องของคนนั้นเป็นคริสต์ ก็ต้องมี พิธีแบบคริสต์ พวกเราก็ไปด้วย พวกพระในพุทธศาสนา แม่ชีหลายคนไปด้วย รวมที่ นั่นแล้วก็เผาศพหญิงคนนั้น ออกไปข้างนอกแล้วก็มีรังสีในท้องฟ้าอย่างสวย งาม สวยมาก แล้วหิมะตก หิมะตกในวันนั้น และหิมะเป็นเกล็ดสวย มีลักษณะสวย งาม เหมือนกับผู้หญิงคนนั้น


เราก็มีอารมณ์แบบรู้สึกสบาย ใจ รู้สึกมีความยินดี ความตายของผู้หญิงคนนั้น เราก็รู้นะ คนนั้นก็ทำ ประโยชน์ในชีวิต แล้วก็เป็นประโยชน์ช่วยทำให้เราเห็นสิ่งที่ไม่ดีในใจของเรา เองด้วย และสิ้นสุดก็แสดงว่าเป็นคนที่ได้ใช้ชีวิตที่เป็นประโยชน์ส่วน ตัว และทำให้คนที่อยู่ใกล้ชิดคนนั้นให้เป็นประโยชน์ของเราด้วย

นี่ก็เป็น example (ตัวอย่าง) ให้เราพิจารณา ชีวิตของเรามันบังคับให้มีความอด ทนได้นะ อยู่อังกฤษนี่ต้องมีความอดทนจริงๆ นะ สร้างขันติบารมีมากถ้าอยู่ที่ นี่


ผู้ถาม : อันนี้ถามถึงเรื่องความเมตตากรุณานะ ครับ ถามว่าเราจะทำอย่างไร ให้เป็นผู้มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่นให้มาก ขึ้น เพราะเป็นคนใจร้อนและดุค่ะ


หลวงพ่อ : สำคัญมาก เป็นวิธีที่จะรักษาจิตที่รับทุกสิ่งทุกอย่างโดยไม่รักหรือรังเกียจ บางทีเราก็ ชอบและไม่ชอบ ดูจิตของตนเองมีอารมณ์เกิดขึ้น อารมณ์ที่เราชอบ หรืออารมณ์ที่ เราไม่ชอบ ให้เมตตาต่ออารมณ์ทุกอย่าง คือหมายความว่าไม่หลงชอบ หรือไม่ ชอบ ให้รับเท่ากัน สบายใจไม่สบายใจ แล้วก็แผ่ไปภายนอกด้วยนะ ตั้งใจไม่ให้ เห็นอะไร คนที่เราจะดูหมิ่นดูถูก หรือไม่ชอบ ไม่ชอบคนนั้นก็ให้เรารู้จัก รักษาจิตโดยไม่หลงชอบหรือไม่ชอบ แผ่เมตตาที่จะยอมรับสัตว์ทั้งหลาย


คนทุกคนเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดี สวยหรือไม่สวย เป็นอย่างไร ให้เรารับด้วย เมตตา คือไม่รังเกียจ ไม่เบียดเบียน ไม่สร้างอะไรกับสิ่งที่อารมณ์ของเรา ไม่ค่อยชอบ ไม่อยากให้เป็น เราก็รักษาจิตของตนเองด้วยอย่างนี้ อย่าโทษตัว เองหรือจะรังเกียจตัวเอง เพราะมีอารมณ์ไม่ดี อารมณ์ไม่ดีก็รับ ด้วย เมตตา หมายความว่ายอมรับมันเป็นอย่างนี้ ความโกรธอิจฉาอะไรอย่างนี้ก็ เป็นอย่างนี้ แสดงว่ามีเมตตา ไม่ได้สร้างรักรังเกียจ ชอบไม่ชอบ ไม่ได้ วิจารณ์ ไม่ได้เปรียบเทียบ


เหมือนกับสัตว์ภายนอกด้วย ยุงกับ สัตว์เลื้อยคลาน งู ตุ๊กแก อะไรทุกอย่าง หมาเห่า เราก็รับด้วยเมตตาจิต ให้ เราไม่ตามอารมณ์ที่ชอบหรือไม่ชอบ แล้วก็ครั้งแรกต้อง อหัง สุขิโต โหมิ ขอ ให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุข อย่างนี้ก็หมายความว่ามันทำให้ดูตัวเอง ก่อน เราเป็นอะไร มีลักษณะอย่างไร ร่างกายเป็นอย่างไร มีอารมณ์อย่างไร ให้ เรามีเมตตา หมายความว่าเราไม่ตามเป็นรักหรือรังเกียจ ให้รับรู้ มันเป็น อย่างนี้ แล้วก็ปล่อยให้เป็นอย่างนี้ด้วยเมตตา


สำคัญที่จะเห็นโลกเป็นโลกด้วย เมตตาไม่ได้เป็นเรื่องเราจะไม่ยอมเห็น ทำให้เรา โง่ เพราะเราก็ไม่สังเกตความไม่ดีเป็นอย่างไร เพราะเรามีเมตตาตลอด นี่ไม่ ได้ทำให้เราเป็นคนโง่ ปัญญาก็มีด้วย


เมตตาเป็นอารมณ์ที่ จะเป็นประโยชน์มาก เพื่อจะไม่ให้มีความทุกข์ สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของ เรา วิบากกรรมของเรานะ ที่เป็นอย่างไร ให้เราใคร่ครวญ ศึกษาและเห็นด้วย ปัญญา อารมณ์ที่เป็นเมตตา เป็นอารมณ์ ที่จะรับทุกสิ่งทุกอย่างได้


เมตตาแล้วก็กรุณา ความสงสาร ถ้าเราพิจารณาอริยสัจ ๔ ด้วย เห็นความทุกข์แล้วก็ รู้ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ เราก็จะเข้าใจความทุกข์ เห็นในใจตน เอง ทำให้มีมหากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย เราก็รู้ เราก็เหมือนกัน สัตว์ทั้ง หลายเป็นมนุษย์เป็นเทวดา เป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นแมลง เป็นอะไรก็มีปัญหา เดียวกัน มีแต่ความหลง มีแต่ความทุกข์เป็นธรรมดา


เราก็เห็นทุกข์ และความดับทุกข์ในใจ มันทำให้เราสงสารด้วยปัญญา ด้วยสำหรับความทุกข์ ที่เราเห็นในสังคมในครอบครัวของเรา ในสังคม ในโลกนี้ด้วย


แล้วก็มุทิตาเป็นสิ่งที่สวยงามมาก ทำให้เรามีความยินดีในความดี ในความสวยงามที่ เราประสบในสังคม ในครอบครัว ในประเทศของเราด้วย มุทิตาจิตเป็นความสามารถของ เราที่จะมีความสุขกับความดีความสวยงาม ความถูกต้อง ที่เห็นในคนอื่น ในสังคม ด้วย


บางทีเราก็อิจฉาคนอื่น ก็มีอารมณ์เปรียบเทียบ แล้ว ก็ขาดมุทิตา มุทิตาเป็นสิ่งที่เราจะต้องพิจารณาที่จะออกจากความอิจฉา ก็สิ่ง ที่ดีที่งามที่เห็นในใจของตนเอง กับ เห็นในใจของคนอื่น สังคม มันทำให้ คุณภาพชีวิตก็มีความสุขอย่างนั้น


คนมีมุทิตาก็มีความสุข มาก อยู่ในสังคม อยู่ในหมู่บ้าน อยู่ในประเทศอะไรก็ทำให้เรามีความสุข เพราะ เรามีมุทิตา มีอารมณ์มุทิตา ความยินดี ไม่รังเกียจ ไม่อิจฉา ความดีก็ดี มัน มีอารมณ์อย่างนั้น ไม่ได้อาศัยแต่สิ่งในใจของเรา เห็นภายนอกด้วย


ก็อุเบกขาก็สมดุล ที่สุดแล้วก็อยู่กับอุเบกขา เอกัคตา เป็น.....คล้ายๆ กับ เมตตา ไม่รัก ไม่รังเกียจ ไม่ได้เป็นเรื่องชอบหรือไม่ชอบ และมันเท่ากัน จิต ของเรา เราไม่ตามอารมณ์ ไม่ได้เป็นทาสของอารมณ์แล้ว เราก็ทรงไว้อยู่กับ สติ สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ


ผู้ถาม : จะเริ่มสอนลูกอายุ ๑๒ ปี ๑๕ ปี ให้สนใจปฏิบัติธรรมได้อย่างไรคะ เพราะกระแสของการ์ตูนและเกมคอมพิวเตอร์แรงมาก


หลวงพ่อ : คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้เราหลงได้ ทุกวันนี้ก็ไม่รู้จะทำอะไรเหมือน กัน เรื่องตัวเองก็ไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ เพราะเป็นคนหัวโบราณ คนแก่ แล้ว เรื่องคอมพิวเตอร์ ด้วย โทรทัศน์ เราไม่เคยมีโทรทัศน์ ในชีวิต นี่ก็ มันทำให้เราเพ่งดูสิ่งภายนอกมาก


คอมพิวเตอร์เดี๋ยวนี้ก็น่า สนใจจริงๆ อยากได้อะไร สนใจอะไรก็หาในคอมพิวเตอร์ได้ ในเว็บไซต์ก็ ได้ เดี๋ยวนี้ได้ยินมีเว็บไซต์อาจารย์สุเมโธ แต่เราไม่เคยเห็น แต่ไม่สนใจ นะ คนอื่นประเทศอื่นอยากจะรู้ว่าอาจารย์สุเมโธเป็นอะไร ก็ดูในคอมพิวเตอร์ ได้ มีอย่างดีด้วย ก็ทำให้ข้อมูลก็มี สะดวก ทุกอย่าง เรื่องพุทธ ศาสนา เรื่องเว็บไซต์เดี๋ยวนี้มันมาก วิปัสสนากรรมฐาน และอีกหลายอย่างที่จะ สร้างประโยชน์ เป็นประโยชน์


แต่สังขารดีก็มีไม่ดีก็ มี ถ้าเราหลงคอมพิวเตอร์มาก เราก็จะมีสมาธิตลอดกับเครื่องจักร แต่ไม่เคย รักษาจิต ไม่รู้ตัวเอง แต่รู้เรื่องหลายสิ่งหลายอย่างที่อยู่ใน คอมพิวเตอร์ ก็ต้องแนะนำหรือชักชวนลูกหลาน จะห้ามก็ไม่ได้ ต้องแนะนำให้ รู้จักประมาณในการใช้เครื่อง ถ้าเราปฏิบัติ เราพูดจากสติปัญญาของเรา คงจะมี อิทธิพล ที่จะถึงใจเป็นบางคนด้วย


ทุกวันนี้ก็สำคัญ สิ่งที่เรากำลังทำการปฏิบัติที่นี่ในประเทศนี้ เพราะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพื่อ จะช่วยสังคมสมัยนี้ด้วย ทุกวันนี้เราก็สงสัยในสังคม วัฒนธรรมอะไรมันก็ เสื่อมไปมาก


สังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก บางทีก็เปลี่ยนทางที่ เราไม่ชอบเท่าไหร่ เราเห็นว่ามันเป็นทางที่ไม่เป็นประโยชน์ เราก็มีความ สงสัยอย่างนี้มาก เพราะสังคมมันเปลี่ยนแปลง แล้วก็มีปัญหาสังคมมาก และวัย รุ่นพวกนั้นจะอบรมสั่งสอนอย่างไร นี่ก็เป็นปัญหาที่พ่อแม่ทุกคนก็ต้อง พิจารณา


เดี๋ยวนี้สังคมเป็นแบบอิสระแล้ว ประชาธิปไตย มันทำ ให้เด็กก็มีสิทธิ์เหมือนกัน เดี๋ยวนี้ ที่อังกฤษถ้าพ่อแม่ ตีเด็ก ก็ขึ้น ศาลได้นะ เด็กก็จะไปบอกทนายความ เดี๋ยวนี้ก็ไม่กล้าตี ตีนิดหน่อยก็ไม่ได้ เหมือนกัน ทำให้เด็กมีสิทธิ์ พ่อแม่ก็กลัวลูกด้วย ได้ผลอย่างไรต่อไปก็ ไม่รู้เหมือนกัน ดีแค่ไหน หรือไม่ดี


สิ่งที่ดีที่เราเห็นใน ปัจจุบันนี้ คนที่สนใจพุทธศาสนามากขึ้น และเห็นประโยชน์ในการนั่งสมาธิ ใน การรักษาไปสู่ความสงบภายใน นี่ก็มากขึ้นในประเทศอังกฤษด้วย แล้วก็ในเมือง ไทยด้วย สมัยก่อนคนไทยฆราวาสไม่เคยคิดจะปฏิบัติ หลวงพ่อชาบอกว่า คนไทยชอบทำ บุญไม่อยากปฏิบัติ สมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้เราก็พูดอย่างนั้นไม่ได้ เรามา เมืองไทยก็มีคนนิมนต์สอนการปฏิบัติ เราจะไปทุกวันๆ ได้นะ และเราอยากให้เรา สอนการปฏิบัติธรรมด้วย นี่ก็เป็นสิ่งที่ดีในสมัยนี้ด้วย ที่จะสรรเสริญโยม ที่มีศรัทธาและมีความตั้งใจที่มาฝึกหัดอย่างนี้เป็นทางที่มีประโยชน์ มาก ส่วนตัวและสังคมด้วย


ผู้ถาม : กราบเรียนหลวง พ่อ โปรดเมตตาอธิบายหลักการทำสมาธิภาวนาที่หลวงพ่อได้ปฏิบัติมา และคิดว่าดี ที่สุดและได้ผลที่สุดด้วย นอกจากนี้โปรดช่วยเล่าประสบการณ์ การทำสมาธิภาวนา ที่ผ่านมาจนประสบความสำเร็จให้ด้วย เพื่อเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติค่ะ


หลวงพ่อ : ครั้งแรกก็มีเรื่องการปฏิบัติ เวลาเราเริ่มการปฏิบัติเราก็เบื่อโลก แล้ว ไม่มีอะไรที่จะทำให้เราอยากจะไปทางโลกอีก เราก็มีความตั้งใจอย่าง นั้น เราเริ่มการปฏิบัติ ไม่มีงานปฏิบัติแบบที่เรากำลังทำอยู่ที่นี่นะ ไม่ มียุวพุทธิกสมาคมที่จะไปได้ เราก็ไปคณะ ๕ วัดมหาธาตุฯ ไม่เคยจัดเป็นหลายคน นั่งสมาธิ แล้วก็ได้ผลอย่างมีเวลาว่างเราก็ไป คณะ ๕ แล้วก็ไปนั่งสักชั่วโมง สองชั่วโมง เดินจงกรมอะไร บวชแล้วก็อยู่เป็นสามเณรที่วัดเนินพะเนา จังหวัด หนองคาย อยู่แบบเข้าห้องปีหนึ่งอยู่ในกุฏิ ออกไปเดินจงกรม แต่ไม่ไปที่ อื่น ยกเว้นจำเป็น บางที visa ต้องทำ visa ใหม่ สมัยนั้นเป็นปัญหามากสำหรับ ฝรั่งที่อยู่เมืองไทย ก็อยู่ไม่นาน ไม่เกิน ๓ เดือนก็ต้องออกไป และเราก็ เลือกหนองคาย เพราะว่ามันสะดวกที่จะออกไปเมืองลาว แล้วก็กลับมาได้


เราก็อยู่แบบเข้าห้อง เราก็ติดแต่ความสงบมาก เพราะอยู่อย่างนั้นก็มีสมาธิมาก แล้วก็มีความสงบมากๆ เวลามีอะไรมาทำให้มีอารมณ์ เราก็อารมณ์รังเกียจเกิด ขึ้น ทำให้เราเห็นแก่ตัวมาก ไม่อยากจะพูดกับใคร มันทำให้จิตคิดมาก ไม่มี ความสงบแล้ว เราก็คิดอย่างนี้ อยากจะอยู่เงียบๆ ไม่ให้พบใคร


เวลาไปทำ visa ใหม่ วันหนึ่งก็มีความสงบมาก แล้วเราก็ต้องไปกองตรวจคนเข้า เมือง ในหนองคายก็เดินไป มีสติเดินช้าๆ ไป จากวัดเนินพะเนา ในเมืองหนองคาย ไปถึง Immigration แล้วก็มีความสงบ เข้า Immigration แล้วคนเข้าเมือง แล้ว เราก็รู้สึกไม่สบายใจเลย เพราะคนที่ทำงานใน Immigration สมัยนั้น จะ เป็นอารมณ์แบบรังเกียจและไม่อยากจะช่วย


เราก็อาศัยแต่ความ สงบมากขึ้น ทำให้เราตื่นเต้น อย่างแรง หัวใจตื่นเต้นด้วย เพราะเราคุ้นเคย กับความสงบ ความสงัดอย่างนั้นมาก สิ่งนิดหน่อยมันจะทำให้เราตกใจอย่าง นั้น ก็กองตรวจคนเข้าเมืองเสร็จ กลับกุฏิก็ไม่ค่อยสบายใจ ได้ประสบสิ่งที่ ไม่ดี คนที่ไม่ชอบเราหรืออะไรอย่างนี้ เราจะสู้อารมณ์นี้ไม่ได้ ต้องนั่ง สมาธิอีกทำให้อยู่กับความสงบอีก และทำให้เราไม่อยากทำ visa ปีใหม่ก็ต้องไป กรุงเทพฯ มาที่นี่จากหนองคายก็นั่งรถไฟ บางทีไม่อยากพูดไม่อยากคบใคร นั่งใน รถไฟด้วย แสดงว่าไม่อยากจะพูดกับใคร ถึงกรุงเทพฯแล้วก็ต้องทำหน้าที่ต้อง ทำ Business อะไร อยากจะขออนุญาต ที่จะอยู่เมืองไทย ตลอด เป็น Permanent resident (ผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวร) ก็ต้องทำอย่างนี้


เวลาเราไปได้ญาณมาถ้าอยากจะเจริญต่อไป เรายังเป็นสามเณร แต่เรากำลังจะคิดว่าเรา ไม่เคยขอเป็น อุปสัมปทา ยังไม่ได้ขอ เรายังพอใจเป็นสามเณร เราคิดว่าเราอยาก จะเป็นพระเป็นภิกษุ คงจะเป็นตัณหาอย่างหนึ่ง เราไม่ขอ ปีหนึ่งไม่ขอ เราพอใจกับเป็นเณรแล้ว ก็ดีอยู่อย่างนี้ มาพิจารณา วินัยด้วย ในวินัยปิฎก แล้วก็กำลังจะเห็นประโยชน์รักษาวินัย เห็นว่าเราต้อง มีอาจารย์สอนด้วย เราต้องอยู่ในพระสงฆ์เพื่อจะอยู่ เราต้องถ่อมตัว มี ทิฏฐิมาก ถือตัวมาก เราก็หยั่งรู้ก็เกิดขึ้น เราก็ต้องบวชเป็นพระ เรา ก็ต้องอยู่กับอาจารย์ที่เคร่งครัดวินัยด้วย เพราะเราไม่ค่อยชอบวินัย จริงๆ นิสัยแบบไม่ชอบสิ่งที่มันบังคับเราเท่าไหร่ ขอบเขต เราจะทำอะไรเราก็ ทำตามอารมณ์ ทำแบบอิสระ เป็นอย่างนั้น


แต่เราก็รู้นะ มีความ หยั่งรู้ว่า ถ้าเราทำตามอารมณ์ก็คงจะเจริญทางนี้ต่อไปไม่ได้ ต้องรู้ขอบเขต ในการกระทำ ต้องอยู่กับอาจารย์ ต้องถ่อมตัว ทำให้ทิฏฐิมานะมันน้อย ลงไป ก็ ได้โอกาสพบหลวงพ่อชา องค์นั้นก็ดีมาก ดีเรื่องวินัย และเป็นองค์ที่เราจะ เคารพได้ง่าย ไม่มีปัญหาเรื่องเคารพนับถือท่าน และก็อยู่กับท่าน ประมาณ ๑๐ พรรษา ฝึกจิตฝึกกายเพื่อจะเห็นทางพ้นทุกข์


แล้วก็มีอะไรเกิดขึ้น วิบากกรรมของเราเป็นอย่างไร อายุมากแล้วก็มีผลดีในการอยู่ เป็นพระนานๆ ด้วย เราก็รับรู้ว่าในเรื่องการอยู่เป็นพระ เราไม่ได้ทำ อะไร กรรมหนักกรรมไม่ดีก็ไม่ค่อยมีเท่าไหร่ ชีวิตเป็นพระ บาปนิดหน่อย ไม่ มาก ถ้าเราไม่ได้เป็นพระคงจะมาก อยู่ในขอบเขตพระขอบเขต วินัย มันเป็นสิ่ง ที่เตือนเราได้ แล้วก็ได้ผลมีความสงบด้วย เพราะเรื่องวินัย ไม่มีอะไรที่จะ เป็นปัญหาเท่าไหร่ ในการเป็นพระ เวลาเป็นพระเกือบ ๔๐ ปีแล้ว กลับดู ชีวิต ชีวิตเวลาเป็นพระ เห็นว่าเราก็ยังทำบาปได้ไม่มากเท่าไหร่ บางทีเรื่อง การพูดอะไร ต้องมีสติมากๆ ที่จะรักษาวาจาอย่างดี


อันนี้ ก็ทำให้เราเข้าใจความประสงค์ของพระพุทธเจ้า เวลาท่านบอกว่ามีธรรม มี วินัย เพราะสิ่งเหล่านี้ก็เป็นมรดก เวลาที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระอานนท์ ก็สงสัย เราจะทำอะไรไม่มีอาจารย์ พระพุทธเจ้าอาจารย์ของเรามรณภาพ ใครจะเป็น อาจารย์ของเรา พระพุทธเจ้าก็บอกว่ามีธรรมวินัย ถ้าพิจารณาในคำสอนอย่างนี้ ด้วย ธรรมะก็มีวินัยก็มี วินัยเป็นเครื่องช่วย เป็นโอกาสที่จะอยู่ เป็น สัตว์มนุษย์ในสังคม ไม่สร้างบาป ไม่มีอะไรมาก เราก็จะอยู่นอกอิทธิพลของ สังคมได้ และก็รักษาสังคมด้วย ไม่ใช่ทิ้งสังคม หรือรังเกียจจะอยู่ เข้ากับ สังคม เรามีขอบเขตในการทำของเรา ช่วยให้มีสติได้ ให้สติมันดีขึ้น
(ช่วงนี้เทปเงียบไป)


อย่าง นี้ก็ทำให้ชีวิตของเราอยู่ง่ายๆ แล้วก็ไม่มีเงินปัจจัย ทำให้เราไม่ต้องคิด เรื่องสิ่งเหล่านี้ด้วย เราอยู่ประเทศอังกฤษ ๒๘ ปี เงินของอังกฤษเป็น ปอนด์ เราเห็นแต่เราไม่เคยใช้ เราไม่เคยจับ ไม่ได้เป็นเงินที่เรารู้จัก ดี เพราะเราไม่ได้เป็นคนอังกฤษ อยู่ ๒๘ ปีก็ยังไม่ฉลาดเรื่องเงินของ อังกฤษ แต่อยู่ได้ เรื่องสิ่งจำเป็น ทำให้ความคิดของเราไม่ต้องยุ่งกับสิ่ง เหล่านี้มาก ไม่ได้เป็นเรื่องของเรา ทำให้เรามีความสามารถที่จะปฏิบัติมาก ขึ้น สิ่งแวดล้อมไม่ได้บังคับใครออกไป หรือใจออกไปภายนอก นี่ก็ดีเหมือนกัน เป็นพระกรรมฐาน


แต่เราต้องรู้สถานการณ์ของเราเป็นอย่าง ไร เพื่อจะพิจารณา คนที่เราอยู่รวมกันในสังคมของเราเป็นอย่างไร เพื่อจะรู้ วิธีที่จะอยู่อย่างไร ที่จะเป็นประโยชน์ในการเป็นนักกรรมฐานด้วย


นี่ก็เอาปัญญามาอบรมที่จะรู้กาลเวลา รู้สถานที่ รู้สิ่งที่งานของเราเป็นอย่าง ไร คนทำงานเป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างไร ครอบครัวของเราเป็นยังไง เพื่อจะ รับรู้มันเป็นอย่างนี้ เพื่อจะไม่ให้สร้างเป็นความทุกข์ที่ไม่จำเป็นใน ชีวิต เพื่อจะรักษาความสงบ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร