วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 18:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


รวมกระทู้จากบอร์ดเก่า http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=7



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


“ปัญญาเป็นธรรมชาติอันประเสริฐที่สุดในโลก
..
:b41:
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
“ปัญญาเป็นธรรมชาติอันประเสริฐที่สุดในโลก, เพราะว่าเป็นไป เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม, บัณฑิตทั้งหลาย ฆ่าเสียซึ่งความสงสัยด้วยปัญญาแล้ว ย่อมถึงธรรมชาติเป็นที่ระงับ ปัญญาตั้งอยู่ในขันธ์ใด, สติในขันธ์ใด มิได้บกพร่อง, ขันธ์นั้นทรงไว้ซึ่งบูชาอันวิเศษ เป็นยอดยิ่งไม่มีอะไรเกินทีเดียว เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้ดำเนินด้วยปัญญา เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงบูชาท่านผู้มีปัญญาดุจบูชาพระเจดีย์ ฉันนั้น,” ด้วยประการฉะนี้



แนบไฟล์:
logo_milin.jpg
logo_milin.jpg [ 36.89 KiB | เปิดดู 2670 ครั้ง ]

ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/m ... ak/01.html


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 06:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อปรภาคกถา

ในกาลเป็นที่จบปุจฉาวิสัชนา แห่งพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนเถระ

มหาปฐพีซึ่งหนาแปดล้านสี่แสนโยชน์นี้ ได้หวั่นไหวหกส่วนจนถึงที่สุดแห่งน้ำ, สายฟ้าก็แลบลั่น, เทพดาทั้งหลายก็ยังฝนคือทิพยบุปผชาติให้ตกลง, ท้าวมหาพรหมก็ให้สาธุการ สำเนียงกึกก้องใหญ่เป็นราวกะเสียงกึกก้องแห่งฟ้าคะนอง ก็ได้มีในท้องมหาสมุทร

พระเจ้ามิลินท์และราชบริพารทั้งหลาย ทรงน้อมอัญชลีด้วยเศียรเกล้าถวายนมัสการ ด้วยประการฉะนี้

พระเจ้ามิลินท์ มีพระหฤทัยบันเทิงเกินเปรียบ มีความถือพระองค์ในพระหฤทัยทำลายเสียแล้ว ทรงทราบสิ่งที่เป็นแก่นสารในพระพุทธศาสนา ไม่มีความสงสัยในพระรัตนตรัยเป็นอันดี
เป็นผู้ไม่มีความขุ่นพระหฤทัย ไม่มีพระหฤทัยกระด้าง ทรงเลื่อมใสในคุณทั้งหลายและบรรพชา ปฏิปทาดี อริยาบถทั้งหลายของพระเถระเกินเปรียบเป็นผู้มีพระหฤทัยสละสลวย ไม่ทรงอาลัย มีความถือพระองค์และเย่อหยิ่งอันกำจัดแล้ว

ดุจพญานาคมีเขี้ยวอันถอนเสียแล้ว ได้รับสั่งอย่างนี้ว่า “พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ดีแล้ว ๆ ปัญหาเป็นพุทธวิสัย พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาแล้ว, ในพระพุทธศาสนานี้ ยกพระธรรมเสนาบดี สารีบุตรเถระเสีย ผู้อื่นเช่นกับพระผู้เป็นเจ้ามิได้มี ในการที่จะวิสัชนาปัญหาได้ พระผู้เป็นเจ้านาคเสน ขอพระผู้เป็นเจ้าจงงดโทษล่วงเกินของข้าพเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงทรงไว้ซึ่งข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ไป” ดังนี้
กาลนั้น พระเจ้ามิลินท์ พร้อมด้วยหมู่พล เสด็จไปหาพระนาคเสนเถระแล้ว ให้สร้างพระมหาวิหารซึ่ง
มิลินทวิหารถวายพระเถระทรงบำรุงปฏิบัติพระนาคเสนเถระกับพระภิกษุขีณาสพ ประมาณร้อยโกฏิ ด้วยปัจจัยทั้งสี่ ทรงเลื่อมใสในปัญญาแห่งพระเถระอีก จึงทรงมอบราชสมบัติแด่พระโอรส เสด็จออกบรรพชา เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
“ปัญญาเป็นธรรมชาติอันประเสริฐที่สุดในโลก, เพราะว่าเป็นไป เพื่อความดำรงอยู่แห่งพระสัทธรรม, บัณฑิตทั้งหลาย ฆ่าเสียซึ่งความสงสัยด้วยปัญญาแล้ว ย่อมถึงธรรมชาติเป็นที่ระงับ ปัญญาตั้งอยู่ในขันธ์ใด, สติในขันธ์ใด มิได้บกพร่อง, ขันธ์นั้นทรงไว้ซึ่งบูชาอันวิเศษ เป็นยอดยิ่งไม่มีอะไรเกินทีเดียว เพราะเหตุนั้นแล บุคคลผู้ดำเนินด้วยปัญญา เมื่อเล็งเห็นประโยชน์ของตน พึงบูชาท่านผู้มีปัญญาดุจบูชาพระเจดีย์ ฉันนั้น,” ด้วยประการฉะนี้

ปัญหาเวยยากรณปกรณ์

แห่งพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนเถระ จบ


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 06:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2009, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 462

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แสดงว่า
ถ้าท่าน อ่าน
คัมภีร์
...
...นี้ดี ก็
อาจจะบรรลุธรรมได้
..
คัมภีร์มิลิทปัญหา จึงเป็น ดอกไม้ทิพย์โดยแท้

-----------


ที่มา
http://www.baanjomyut.com/pratripidok/milin/index.html

อธิบายท้ายเรื่อง

มิลินปัญหา เป็นปกรณ์มีมาเก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช 500 ปรากฏตาม มธุรัตถปกาสินี ฎีกาแห่งมิลินทปัญหา ซึ่งรจนาโดยพระมหติปิฎกจุฬาภัย ว่าพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถาและนิคมกถาประกอบเข้า ส่วนตัวปัญหา ท่านหาได้กล่าวว่าผู้ใดแต่งไม่
มิลินทปัญหาแบ่งออกเป็น หกส่วน คือ บุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ มิลินปัญหาว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว เมณฑกปัญหา ว่าด้วยปัญหาสองเงื่อน อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมาน ลักขณปัญหา ว่าด้วยลักษณะแห่งธรรมต่าง ๆ อุปมากถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมาในหกส่วนนี้ บางส่วนยกเป็นมาติกา บางส่วนไม่ยกเป็นมาติกา จัดรวมไว้ในมาติกาอื่น คือ ลักขณปัญหารวมอยู่ในมิลินทปัญหา อนุมานปัญหา รวมอยู่ในเมณฑกปัญหา เพราะฉะนั้น เมื่อจะจัดระเบียบให้เป็นหมวดหมู่สะดวกแก่การค้นดู ต้องแบ่งเป็นสี่ส่วน เรียงลำดับดังนี้ บุพพโยค ซึ่งเรียกว่า พาหิรกถา หนึ่ง มิลินปัญหา หนึ่ง เมณฑกปัญหา หนึ่ง และอุปมากถาปัญหา หนึ่ง
เกี่ยวกับระยะเวลาแห่งการรจนามิลินปัญหาปกรณ์นี้ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถร) ทรงสันนิษฐานไว้ว่า ในพุทธโฆสัปปวัตติกถา ท้ายคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวว่า พระพุทธโฆษาจารย์เกิดเมื่อพระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 956 พรรษา ในพาหิรกถาแห่งมิลินปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงสมภพ เมื่อพุทธศักราช 500 ปี แต่ไม่ปรากฏว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงครองราชสมบัติในสาคลนคร เมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้วเท่าไร ปรากฏแต่เพียงว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงชอบรุกรานถามปัญหาธรรม จนไม่มีใครสามารถจะวิสัชนาได้ สมณพราหมณ์จึงต่างพากันหนีออกไปหมด สาคลนครว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตอยู่ถึง 12 ปี พระนาคเสนจึงได้อุบัติขึ้น และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 7 ขวบ อุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปีเต็ม บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงไปเรียนพระพุทธวจนะในสำนักของพระพุทธรักขิตเถระ ที่อโสการาม เมื่องปาฏลีบุตร เรียนพระไตรปิฎกใช้เวลาในการเรียน 3 เดือน และพิจารณาอรรถแห่งพระพุทธวจนะที่เรียนแล้วอีก 3 เดือนจึงจบ พร้อมทั้งได้บรรลุพระอรหัต แล้วจึงกลับสู่สังเขยยบริเวณ จนถึงได้พบกับพระเจ้ามิลินท์กระทำปุจฉาวิสัชนากะกันและกัน ระยะกาลตั้งแต่พระนาคเสนอุปสมบทแล้ว ถึงวิสัชนาปัญหากับพระเจ้ามิลินท์นี้ อนุมานดูไม่แน่ว่ากี่ปี แต่ก็คงได้ความว่า พระนาคเสนเกิดภายหลังพระเจ้ามิลินท์หลายสิบปี คงในราวพระพุทธศักราช 530 ปี จะอ่อนแก่ไปบ้างก็คงไม่มากนัก มิลินปัญหานี้คงคิดขึ้นในราวพุทธศักราช 550 ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้น เมื่อประมวลหลักฐานที่มาทั้งสามสถานประกอบกันเข้าแล้วคงได้ความว่า ตัวมิลินทปัญหาเกิดขึ้นราวพุทธศักราช 550 ปี และพระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งนิทานกถากับนิคมกถาประกอบเข้าให้บริบูรณ์ ได้ลักษณะแห่งปกรณ์ในระหว่างพุทธศักราช 956 ถึง 1000 ปี


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 31 ส.ค. 2009, 06:48, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร