วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 21:21
โพสต์: 2


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่งเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมะค่ะ แล้วก็มีความสงสัยเกิดขึ้นมากมายเลย ยิ่งหาคำตอบยิ่งไม่เจอ อ่านเจอคำสอนของหลวงพ่อชา นับถือท่านเลยค่ะ ท่านอธิบายเกี่ยวกับความสงสัยไว้ ทำให้เราเข้าใจว่ามันทำให้เกิดทุกข์จริงๆ มันทำให้เราใช้พลังไปกับความคิดมากไป เพราะยึดติดกับเรื่องที่สงสัย แต่เราก็ยังดื้อนะ ยังสงสัยต่ออีก เฮ้อ..

- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ
- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น
- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง
- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่
- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก
- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น
- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?

เราสงสัยมากมายจริงๆ โง่เขลาอยู่ใช่เลย ต้องการมุมมองของผู้ที่รู้ ที่จะแนะนำให้เกิดประโยชน์ได้ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 22:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 เม.ย. 2007, 15:22
โพสต์: 603

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ

ถ้าคิดแล้วปฎิบัติไป ได้เรียนรู้แน่

- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น

วิปัสสนาไม่จำเป็นต้องนั่งก้อได้คะ มันก้อเหมือนกับเวลาที่เราได้ความรุ้ใหม่ๆมาแหละคะ จากการอ่าน คิด ฟัง อะไรแบบนี้ มันก้อเหมือนกับเวลาที่เราได้ความรุ้ใหม่ๆมาแหละคะ และนำความรุ้ที่ได้มาปฎับิตให้จิตดียิ่งขึ้น ก้อคือปฎิบัติธรรมแล้วคะ

- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง

ทางเลือกบางครั้งก้อไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีไปเลย หรือเลวไปเลย แต่เราต้องตัดสินให้ดีที่สุด ปล่อยใจให้ว่าง วาง เป็นธรรมระดับสูงอะคะ เอาธรรมระดับธรรมดาไปก่อนคะ ถ้าปฎิบัติไปเรี้อยๆจะรุ้เองคะ คือ คิดอย่างมีสติ พยายามตัดสินใจให้ดีที่สุด ก้อพอแล้วคะ


- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่

ศาสนาพุทธสอนให้มี พรหมวิหาร 4 คะ ศึกษาเองเน้อ

- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก

ไปเรื่อยๆคะ ไม่ต้องรีบ ใจเย็นๆ ค่อยๆเป็นค่อยๆไป อย่าไปคิดมาก ทำให้ดีที่สุด ความอยากละไม่ได้เด็ดขาดถ้าไม่เป็นพระอรหันต์ แค่ควบคุมความอยากได้ก้อพอคะ

- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น

นำมาประยุกต์ได้คะ ถ้าไงลองอ่านหนังสือธรรมะเยอะๆนะคะ ของหลวงพ่อพรหมยานน่าอ่านมากคะ ลองอ่านดูนะคะ จะเข้าใจเอง

- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม


สิ่งที่รุ้ไม่ได้ดับคะ คนเราที่มาเกิดแล้วมาเป็นทุกข์อยู่เนี่ย ก้อเพราะมีอวิชชา คือความไม่รุ้ติดตัวอยู่ ความไม่รุ้นี่แหละทำให้เกิดภพเกิดชาติ ถ้ารู้แจ้งจริงๆ จะละอวิชชาได้คะ ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป เพราะเรารู้แจ้งแล้ว


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวตน เขียน:
- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ


เมื่อเด็ก พ่อแม่บอกว่าพริกมันเผ็ด เราก็เชื่อนะ ใช้ความคิดว่าเจ็บ เราเลยไม่กินพริก

ต่อมาเกิดกินอาหารแล้วดันไปจบเจอพริกขี้หนู
โอ พ่อจ๋า แม่จ๋า หนูรู้แล้วว่าความเผ็ดมันทรมานอย่างนี้

เห็นไหม
อันแรกกลัวพริกเพราะความคิด เป็นความรู้ที่ได้จากการคิด
อันที่สอง กลัวพริกเพราะประสบการณ์ตรงว่าพริกมันแสบอย่างนี้
เป็นความรู้จากประสบการณ์ตรง

ความรู้ทั้งสองแบบ ก็ทำให้เรากลัวพริกเหมือนกันนะ
แต่ความรู้ทั้งสองอย่าง รสชาดมันต่างกัน
รสชาดความกลัวจากความคิดก็อย่างหนึ่ง
รสชาดจากความกลัวเพราะประสบการณ์ตรงก็อย่างหนึ่ง




ตัวตน เขียน:
หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น


ต้องพูดว่า สติปัฏฐานครับ
การจะมีปัญญาถอดถอนกิเลสได้ ต้องเจริญสติปัฏฐาน
พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า "เอกายมรรค" มรรคแปลว่าทาง เอกแปลว่า 1
นิพพานมีทางเดียวเท่านั้น

กรรมฐาน ผมเข้าใจว่าเป็นภาษาพูด
บางจับเด็กนอนกับโลงศพ ก็เรียกว่าตัวเองว่ากรรมฐาน

แต่ถ้าเป็นคำว่าสติปัฏฐาน มันจะล๊อกเลยครับ
ไม่สามารถโมเมไปทางไหนๆได้ เพราะพระพุทธเจ้าพูดเรื่องนี้ละเอียดมาก

ตัวตน เขียน:
หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง


อันนี้เรื่องยาว ผมก็เคยคิดแบบคุณเป๊ะเลย
ผมใช้เวลาเป็นปีน่ะครับกว่าจะเข้าใจ
เจอคำถามคุณ ผมท้อเลย เพราะตอบยากจริงๆ ยาววววววววว
ค่อยๆเก็บข้อมูลไปนะ อย่าท้อไปเสียก่อน

ตัวตน เขียน:
แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่


สังเกตุดีๆนะ ที่พูดมาทั้งหมดคือ"กำลังคิดเรื่องตั้งอยู่ดับไป"
แต่ที่เขาให้ทำ คือให้ทำความรู้สึกตัว สังเกตุดุว่า ความคิดก็เป้นสิ่งที่ตั้งอยู่แหละดับไป

เรื่องที่คิด สาระที่คิด ไม่สำคัญนะ
สำคัญว่าคิดแล้วรู้สึกอย่างไร ความคิดมีผลกับความรู้สึกอย่างไร
ที่เราเฝ้าดู ตามดู ก็ดูตรงนี้แหละว่า จิตคิดอย่างนี้มันนำมาซึ่งความไม่สบาย
จิตคิดอย่างนี้ทำให้สบาย จิตคิดอย่างนี้ทุกข์ จิตคิดอย่างนี้มีความสุข
ความคิดของจิต ก็เป้นสิ่งหนึ่งที่มีความเกิดดับ

ที่พูดทั้งหมดนี้ พูดหลักให้เข้าใจ
แต่เวลาปฏิบัติจริงๆจะพากย์เป้นฉากๆตามที่ผมพูดไม่ได้นะ
ให้รู้สึกตัวดูไปเรื่อย แล้วความรู้มันจะเกิดเอง

เหมือนละครสัตว์นะ ที่มันแสดงอะไรๆประหนึ่งว่ารู้ภาษาคน ที่จริงมันเกิดจากการฝึกแบบว่า
ถ้าทำอย่างนี้ เอาอาหารไปกิน ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้อาหาร
พอนานๆเข้ามันก็เริ่มเกิดความรู้ขึ้นมาเองว่า ทำอย่างนี้เจ้านายให้ขนม ถ้าไม่ทำอดขนม
สัตว์มันก้เลยทำจนเป็นนิสัย

จิตเรามันก็คล้ายๆกัน เราดูบ่อยๆ เพื่อเป้นอุบายสอนจิตให้เห้นว่า
พฤติกรรมของจิตอย่างนี้ ทำแล้วนำมาซึ่งความเจ็บแสบร้อนรน
พฤติกรรมอย่างนี้นำมาซึ่งความสุขสบาย

พฤติกรรมของจิตก็เช่น ชอบสงสัย ชอบคิดไม่ตก ชอบคิดไปข้างหน้า ชอบคิดไปข้างหลัง
ชอบย้อนอดีต ชอบเพ้อเจ้อไปในอนาคต


อ้างคำพูด:
แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก


คำว่า ตันหากับคำว่าความอยาก ถ้าจะพออนุโลม ก็เรียกแทนกันได้
แต่เอาเข้าจริงๆ ความอยาก มันเป็นคำเล็ก เบบี้มาก
คำว่าตัณหามันใหญ่ กว้างขวาง คนละเรื่องกับที่ผู้คนเข้าใจ

ที่สำคัญคือ หาคนรู้จักตัณหาจริงๆได้น้อยมาก
ที่เราเอามาใช้ตีสำนวนกันน่ะ คนละเรื่องกับของจริง
พวกที่ปฏิบัติธรรมนี่นะ พูดกันตามตรงก้คือกำลังตามล่าหาตัณหากันทั้งนั้นเลย
พลิกแผ่นดินก้ยังไม่เจอนะ มันหลบเก่งจริงๆ
เพราะฉะนั้น 99.99% เป็นพวกไม่เคยเจอตันหาจริงๆ

พวกเราคนปฏิบัติธรรมนะ อยากจะเจอใจจะขาด เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว
ไม่เคยเจอหน้าตันหาเลย เจอแต่ลูกหลานกิ๊กก๊อกของตัณหา

เวลาสอบกรรมฐานนะ ใครเจอตัรหา ใครเจอหน้าตาตันหานะ โอยเป็นพระเอกเลย
คนอิจฉากันทั้งบางว่าเจอตันหาแล้ว

ตัวตน เขียน:
- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น
- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?


ถูก สังเกตุดีๆสิ
เราเอาความคิดมาแก้ความคิด
แต่ไม่เคยสังเกตุว่าความคิดมาจากไหน
สำคํญนะ อะไรเป็นส่วนประกอบที่รวมกันแล้วเป็นความคิด อันนี้สำคัญ
พอเจอแล้วเราก็ต้องค่อยแยกส่วนประกอบมันลงไปอีก
จิตที่จะมีสมรรถนะขนาดนั้นได้ ต้องฝึก
ลำพังคิดนะ ไม่ได้กินจริงๆ แต่หลอกตัวเองว่าได้ล่วงรู้อะไรมากกว่าคนอื่น
เอาเข้าจริงก็ชั่วเท่าเดิม เคยนิสัยยังไงก็อย่างนั้น
สรุปได้เลยว่าความคิดไม่สามารถถอดถอนกิเลสได้

ต้องพัฒนาจิตใจให้มันมันสมรรถภาพที่จะล่วงรู้ความรู้ต่างๆที่คิดเอาไม่ได้
เหมือนตัวอย่างเรื่องพริกนั่นแหละ เราอุตส่าห์คิดดีแล้วนะ ไม่แตะพริกแล้วนะ
แต่ชีวิตจริงดันหนีไม่พ้น พอเจอพริกเข้าสักเม็ด เข็ดจนตาย ไม่ต้องพึ่งพาความคิดอีกแล้ว
แล้วในทางกลับกันนะ ลองย้อนรอยดู คือลองพยามคิดให้พริกมันไม่เผ็ดนี่ ไม่มีทางเลย

แต่ถ้าไม่เคยกินพริกนะ มีคนมาบอกว่า พริกไม่เผ็ด คุณโดนหลอก เราก้จะโลเลขึ้นมาทันที
เอ๊ะ ตกลงเผ็ดหรือไม่เผ็ด


โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 22:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2009, 08:46
โพสต์: 405

แนวปฏิบัติ: ดูจิต-อานา
ชื่อเล่น: ขวานผ่าซาก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ

มีด้วยหรือที่วันหนึ่งหรือวินาทีหนึ่งที่คุณไม่คิดเลย

---

- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น

เป็นหลักในการศึกษาและต้องปฏิบัติมากกว่า เพราะการศึกษานั้นทำให้เกิดปัญญา
แบ่งเป็นปัญญาทางโลก กับปัญญาทางธรรม

--

- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง

ตอนทำงานหรือตัดสินใจอะไรเป็นเรื่องปกติทางโลก นั่นเป็นลักษณะที่เราต้องดำเนินชีวิตอยู่บนโลก
ต่อเมื่อว่างจากงานมาศึกษาธรรมว่า การปล่อยวางคืออะไร เราจะแบกทุกข์ไปทำไม่ เช่นเรื่องของคนอื่นเราคิดไปทำไม ทำนองนี้ เป็นหลักธรรมทางพระศาสนาที่่นำมาใช้ในชีวิตทั้งสิ้นครับ

--

- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่

เพราะนั่นมีเหตุมีปัจจัยในการเกิดสิ่งนั้นต่างหาก ถ้าเราช่วยได้ก็ช่วยในฐานะมนุษย์ แตุ่ถ้าช่วยไม่ได้ เราจะแบกความทุกข์ของเขาไว้หรือไม่ ต้องถามตัวเราเองครับ

--

- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก

ความอยากน่ะดีครับ แต่ต้องใช้ให้เป็น จึงต้องใช้ปัญญาครับ หรือปรึกษาท่านผู้รู้ และศึกษาเพื่อเติมครับ จะได้หายสงสัยในสิ่งที่สงสัยงัยคับ

--

- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น

เรายังไม่เข้าใจหลักธรรมต่างหาก จึงมองว่ามันไม่เข้ากัน

--

- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?

ใครทำใครรู้ครับ อย่าเพิ่งคิดไปไกล มองที่ปัจจุบันว่า เราเิริ่มทำอะไรหรือยัง หรือมัวแต่สงสัย

สงสัยแล้วได้ประโยชน์อะไร เหมือนการมองไม้่ท่อนหนึ่ง แล้วคิดว่าจะแกะสลักเป็นรูปช้าง แต่ก็ได้แต่คิดว่าจะทำยังไงดี ไม่ได้ลงมือซะที จึงไม่ได้รูปช้างดังใจ

--

cool

.....................................................
สุ จิ ปุ ลิ...(หัวใจนักปราชญ์)

ปัจจุบันธรรม

โยนิโส มนสิการ
สติ สัมปชัญญะ


แก้ไขล่าสุดโดย moddam เมื่อ 17 ส.ค. 2009, 23:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวตน เขียน:
- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ


ใช่ครับ ไม่ได้เรียนรู้ แต่ที่เขาเตือนว่าอย่าคิดไป หรืออย่าคิดมาก นั่นแสดงว่า ตรงนั้น
มีเรื่องที่ไม่ควรคิด

ตัวตน เขียน:
- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น


ปัญญาที่ปฏิบัติกรรมฐาน เป็นปัญญาที่พยายามทำเพื่อให้ละกิเลสได้
ในความหมายคุณ ถ้าจะเอารู้มาก รู้หลายประเด็น เข้าใจธรรมะแบบพูดได้อธิบายได้ ไม่ต้อง
ไปกรรมฐาน ก็พอทำได้ครับ

ตัวตน เขียน:
- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง


คุณไม่เข้าใจคำว่ามองตามจริง มองตามจริงคือโยนิโสมนสิการ คือมองตามเหตุตามผล รู้ตามเหตุ
ตามผล ทำตามเหตุตามผล ที่เขาบอกให้วางคือ วางอคติทั้งปวง วางอารมณ์โลภ โกรธ หลง แล้ว
ดำเนินไปตามเหตุผลของสิ่งนั้นๆเรื่องนั้นๆ แบบนี้พอเข้าใจหรือยังครับ

ตัวตน เขียน:
- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่


ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนั้น ถ้าช่วยได้ก็ช่วยครับ เพราะช่วยเป็นทำครับ ทำตามเหตุผลไป
ส่วนมองแบบเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เขาให้มองเพื่อบรรเทาความโง่ที่เราไปหลงว่า ยั่งยืน คงทน
สุข ของเรา ของเขา ที่ให้มองแบบนี้เพื่อบรรเทาความยึดมั่นถือมั่นครับ ส่วนทำ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ตัวตน เขียน:
- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก


อยากปฏิบัติธรรม ก็อยากซะทีเดียวพอครับ แล้วก็ทำเป็นความพอใจในการปฏิบัติไป จัดเป็นอยากอย่าง
ละเอียด จะเป็นอยากที่ไม่พาลงอบาย อยากที่ประกอบด้วยกุศลฉันทะ แล้วก็ดำเนินไปตามเหตุตามผล
ของฉันทะนั้น ว่างก็ไป ไม่ว่างก็ไม่ไป แค่นี้เอง รู้สถานที่ถ้าไปได้ก็ไป ไปไม่ได้ หาผู้รู้แนะนำ หาไม่ได้
ก็หาหนังสือลองดู ไม่ยากครับ ไปตามเหตุตามผลมัน และอย่าไปคิดว่าเป็นปัญหา ธรรมดาครับ
จะได้สิ่งที่ดี คุณก็ต้องเสียบ้าง เช่น เสียสละเวลาทำมาหากิน เพราะถ้าสละไม่เป็น ก็เท่ากับยัง
บรรเทาเครื่องฉุดรั้งอารมณ์ไม่ได้

ตัวตน เขียน:
- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น


ไม่เข้าใจแท้จริง เลยใช้ไม่เป็น ถ้าเข้าใจวิธีใช้แล้ว ใช้ได้ทุกที่ทุกโอกาสตามข้อธรรมไป
คุณจะสอยมะม่วง คุณส่งไม้ไปสูงเกินก็ไม่ได้ลูกมะม่วง ต่ำเกินก็ไม่ได้อีก ส่งไปซะพอดีๆ ก็ได้ครับ

ธรรมง่ายๆ คุณเอาไปคิดง่ายก็ยาก ธรรมยากๆ คุณเอาไปคิดง่าย ก็ใช้ไม่ได้ซิครับ

ตัวตน เขียน:
- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?


คุณหิว ผมกินแทน คุณอิ่มเหรอครับ
สิ่งที่รู้ดับไปครับ แล้วจะดับเราก็ไม่เดือดร้อนครับ เพราะเราต้องการดับอยู่แล้ว ที่ต้องรู้ รู้เพื่อดับครับ
เพราะไม่รู้จะดับไม่ได้ เลยต้องรู้

คุณขึ้นเรือข้ามฟาก ถึงฝั่ง ขึ้นบกแล้ว คุณจะแบกเรือไปหรือครับ ตอบตรงนี้ได้ครับว่า จะรู้ไปทำไมใน
เมื่อต้องดับ

ตัวตน เขียน:
เราสงสัยมากมายจริงๆ โง่เขลาอยู่ใช่เลย ต้องการมุมมองของผู้ที่รู้ ที่จะแนะนำให้เกิดประโยชน์ได้ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


ต้องการเพื่อแนะนำให้เกิดประโยชน์จริงๆนะครับ ถ้ามีเจตนาอื่นละก็ เขาเรียกว่า.........

.....................................................
เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย
ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ
จตฺตาโร สติปฏฺฺฐานา ฯ


โพสต์ เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 00:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2008, 14:07
โพสต์: 285

อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าพึ่งสงสัยเลยครับ แค่พึ่งเริ่มอ่านหนังสือธรรมะ ความรู้ยังรู้น้อยอยู่
ให้อ่านไปเรื่อยๆ สักพัก ความสงสัยจะน้อยลง เพราะรู้มากขึ้นครับ

คือถ้าตอบอะไรไป อธิบายไป ความรู้พื้นฐานมันยังไม่มี
ความสงสัยก็มีอยู่เรื่อยๆ ก็จะถามไปเรื่อยๆ

ถ้าอยากถามจริงๆ ก็ระบุชี้ชัดว่าบทความหรือธรรมะบทไหน ไม่เข้าใจ
จะได้แนะนำกันแบบตรงประเด็นไปเลย


ถามกว้างๆ มันก็ตอบให้เคลียร์ยากครับ แต่ถ้าตอบให้เคลียร์ ทุกประเด็นที่คาดว่าคุณจะสงสัยอีก
ก็เสียเวลามากไปครับ
แนะนำการตั้งคำถามนิดหนึ่ง ให้ลองคิดว่า
จะรู้ไปทำไม จำเป็นต้องรู้มั้ย มีประโยชน์มั้ย มีโทษมั้ยครับ ถูกกาลเทศะมั้ย

ลองพยามยามด้วยตัวเองก่อนนะครับ อ่านด้วยตัวเองก่อน ติดตรงไหนค่อยถามนะครับ
ค่อยเรียนๆรู้กันไป


แต่อีกสักพัก อาจจะมีพี่ๆ น้องๆ ในที่นี้ ที่เขาใจดี เสียสละเวลา ตอบปัญหาให้คุณก็ได้ครับ
ลองติดตามเอานะครับ

.....................................................
"ใครเกิดมา ไม่พบพระพุทธศาสนา ไม่เลื่อมใส ไม่ปฎิบัติ ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เป็นโมฆะตลอด ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย"

"ให้พากันหมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา"

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
http://www.luangta.com/

"ทำสมาธิมากเนิ่นช้า คิดพิจารณามากฟุ้งซ่าน หัวใจของการปฏิบัติคือการมีสติในชีวิตประจำวัน"
หลวงปู่มั่น

"ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว"
หลวงพ่อปราโมทย์ สวนสันติธรรม ชลบุรี
http://www.wimutti.net


โพสต์ เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวตน เขียน:
เพิ่งเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมะค่ะ แล้วก็มีความสงสัยเกิดขึ้นมากมายเลย ยิ่งหาคำตอบยิ่งไม่เจอ อ่านเจอคำสอนของหลวงพ่อชา นับถือท่านเลยค่ะ ท่านอธิบายเกี่ยวกับความสงสัยไว้ ทำให้เราเข้าใจว่ามันทำให้เกิดทุกข์จริงๆ มันทำให้เราใช้พลังไปกับความคิดมากไป เพราะยึดติดกับเรื่องที่สงสัย แต่เราก็ยังดื้อนะ ยังสงสัยต่ออีก เฮ้อ..


ดีแล้วครับ ถ้าสนใจใฝ่ธรรม ความสงสัยย่อมเกิดเป็นธรรมดา ถ้าไม่สงสัย ก็ผิดปรกติครับ คำถามมีเป็นร้อยเป็นพัน ก็พันขันธ์5 นี่ล่ะครับ ไม่พ้นไปจากนี้ครับ

เพราะความสงสัยนี่ล่ะครับ ทำให้ต้องหากัลยาณมิตร ไว้เป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป็นพี่เลี้ยง เดินไปด้วยกันครับจะได้มั่นใจ

ดื้ออย่างนี้ ดีแล้วครับ ดื้อเพราะใฝ่ธรรม ดีกว่าดื้อเรื่องอื่นครับ

อ้างคำพูด:
- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ

ถูกแล้วครับ ต้องคิดพิจารณาไตร่ตรอง ให้ดีครับ ถึงจะเรียนรู้ได้ครับ

อ้างคำพูด:
- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น

การเกิดปัญญา ก็ด้วยการมีกัลยาณมิตร และ การไตร่ตรองด้วยดี ครับ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในสถานที่อันเหมาะอันควร เป็นการเพิ่มพูนกำลังสติปัญญาให้เร็วขึ้นมากขึ้นครับ

อ้างคำพูด:
- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง


มองตามเป็นจริงคือ รู้สัจจะ ต่างๆและความสัมพันธ์ของสัจจะครับ
คือรู้ อริยะสัจจ์4 รู้ไตรลักษณ์ และ สัจจะแห่งกาล ว่ามีความสัมพันธ์กับชีวิตเราอย่างไรและมีประโยชน์อย่างไรในการดำเนินชีวิตครับ การรู้อย่างนี้ ปัญญาจะดีขึ้นการตัดสินใจก็จะมีธรรมนำหน้า ทำให้เราปล่อยวาง ตัวตนของเรา ทำให้จิตเรามีอิสระเสรีครับ
ถ้าถามว่าไม่คิดอะไรเลยหรือ ก็ตอบได้ครับว่า คิดเฉพาะสิ่งที่ควรคิด ไม่คิดไปทุกเรื่องครับ นั่นล่ะครับปัญญาจะทำหน้าที่แยกแยะเองครับ

อ้างคำพูด:
- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่


สิ่งที่ทำให้เราเข้าใจในการใช้ชีวิต ดำเนินชีวิตคือให้เข้าใจ เหตุ และผลครับ ถึงจะมีประโยชน์ในการใช้ชีวิต การพิจารณาถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเพียงส่วนประกอบเล็กๆน้อยเองครับ ถ้าไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล เราจะใช้ปัญญาอะไรล่ะครับไปตัดสินใจ

อ้างคำพูด:
- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก

อยากในธรรม เป็นฉันทะ ครับ บัณฑิตเป็นผู้ไม่อิ่มในธรรมครับ ไม่ต้องจัดการหรอกครับ
อยากในกาม เป็นตัณหาครับ คนพาลทั้งหลายล้วนไม่อิ่มในกามครับ ต้องจัดการให้คลายให้หายครับ
เรียนรู้ธรรมะ ก็เหมือนเด็กน้อยครับต้อง ค่อยๆ ป้อน อย่ากินคำโตครับ เดี๋ยวติดคอ

อ้างคำพูด:
- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น


เคยเห็นผู้เฒ่าผู้แก่ใส่บาตรไม๊ครับ พอท่านใส่เสร็จท่านก็อิ่มใจ
หรือเคยทำความดี อะไรบ้างไม๊ครับ คิดถึงทีไรภูมิใจ อิ่มใจทุกทีครับ
หรือว่า เคยได้รับความช่วยเหลือจากใครไม๊ครับ คิดถึงเค้าก็ประทับใจ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นหลักธรรมที่ดูได้เห็นได้ประจำวันครับ

อ้างคำพูด:
- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม


ปฎิบัติแล้ว กุศลก็เจริญงอกงามครับ อกุศลก็ดับไปครับ สิ่งที่รู้ก็จำได้ครับ รู้แล้วก็เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตครับ

อ้างคำพูด:
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?

ทำความรู้ให้เกิดขึ้นเพื่อทำความไม่รู้ให้หมดไปครับ

อ้างคำพูด:
เราสงสัยมากมายจริงๆ โง่เขลาอยู่ใช่เลย ต้องการมุมมองของผู้ที่รู้ ที่จะแนะนำให้เกิดประโยชน์ได้ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


โลกก็อย่างนี้ล่ะครับ อวิชชาคือความเขลา ครอบงำเรา ให้ท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์ครับ อีกยาวววมากครับ
มาปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะของพระพุทธองค์ ด้วยกันเถอะครับ


โพสต์ เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 มี.ค. 2009, 16:53
โพสต์: 113

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
ขออนุญาตนะคะ
ลงมือปฏิบัติเถอะค่ะ
ที่สงสัยนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิด
ลงมือปฏิบัติธรรม ให้ถึงธรรม
วันนึงจะสิ้นสงสัยค่ะ
ขออนุโมทนากับทุกๆสิ่งที่คิดดี ทำดีของคุณค่ะ
จะเอาใจช่วยในเส้นทางธรรมของคุณนะคะ
:b4: :b4: :b4:
:b8:

.....................................................
คำของหลวงพ่อชา
“ทุกอย่างในโลกนี้มันถูกอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด”


โพสต์ เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 13:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสงสัยของคุณ ข้าพเจ้าจะอธิบายเป็นเรื่องๆไป แต่ก็ต้องขอเตือนคุณเอาไว้ว่า คำตอบของข้าพเจ้าเป็นเพียงความคิดเห็นตามหลักความจริงแห่งธรรมชาติ ผู้อื่นอาจมีความคิดเห็นที่ดีกว่าข้าพเจ้า ดังนั้น คุณควรได้ศึกษา คิดพิจารณาให้ดีขอรับ

ตัวตน....สงสัย
ตัวตน เขียน:
เพิ่งเริ่มอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมะค่ะ แล้วก็มีความสงสัยเกิดขึ้นมากมายเลย ยิ่งหาคำตอบยิ่งไม่เจอ อ่านเจอคำสอนของหลวงพ่อชา นับถือท่านเลยค่ะ ท่านอธิบายเกี่ยวกับความสงสัยไว้ ทำให้เราเข้าใจว่ามันทำให้เกิดทุกข์จริงๆ มันทำให้เราใช้พลังไปกับความคิดมากไป เพราะยึดติดกับเรื่องที่สงสัย แต่เราก็ยังดื้อนะ ยังสงสัยต่ออีก เฮ้อ..

พุทธะ......ตอบ
ความสงสัย ในทางพุทธศาสนาเรียกว่า "วิตก วิจารณ์" เกิดจากความไม่รู้และไม่เข้าใจในหลักธรรมะอย่างหนึ่ง หรือเกิดจากความรู้เดิมหรือความรู้ที่มีอยู่ ขัดหรือคัดค้าน ความรู้ที่คุณได้พบไหม่
บุคคล หากเกิดวิตก วิจารณ์ หรือ สงสัย แล้ว ไม่ได้รับการขจัดความสงสัยนั้น ย่อมมีผลต่อระบบการทำงานของร่างกาย อีกทั้งถ้าบุคคลนั้น ได้รบการขัดเกลาทางสังคม นับตั้งแต่ กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา มีความคิดที่จะทำอะไรต้องทำให้ได้ ก็จะเกิดสิ่งที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า ความทุกข์ ดังนั้น หากจะขจัด ความวิตก วิจารณ์ หรือข้อสงสัยนั้น หากเรียนรู้สิ่งใด ไม่รู้ให้จดบันทึกว่าว่า ไม่รู้ในสิ่งใด แล้วนำไปถาม ก่อนจะถามคิด ตรึกตรอง ด้วยตัวเองก่อน เมื่อไม่รู้จริงแล้วจึงค่อยถาม และอย่าคิดว่ามันเป็นทุกข์ หรือลำบาก แต่ให้คิดว่า เป็นเรื่องธรรมดา

ตัวตน....สงสัยว่า
- ถ้าเราไม่คิด เราก็ไม่ได้เรียนรู้ไม่ใช่หรอ

พุทธ....ตอบ......
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ล้วนมีความคิดเป็นธรรมชาติ จะคิดอย่างไร ก็เป็นอีเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่เรืองแปลก หรือเรื่องที่จะต้องมานั่ง วิตก วิจารณ์

ตัวตน...สงสัยว่า
- หรือว่าเราจะเกิดปัญญาและเข้าใจธรรมะมากขึ้นต้องนั่งวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น

พุทธะ....ตอบ
วิปัสสนา เป็นการศึกษาตามความรู้นั้นๆ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถปฏิบัติได้ อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง วิปัสสนาคือ วิธีการปฏิบัติธรรม หรือ ฝึกตน ตามหลักพุทธศาสนา
การจะเกิดปัญญ และเข้าใจธรรมะ ก็ต้อง ฟัง หรือ อ่าน แล้วคิด แล้วถาม แล้วเขียน จะเอาข้อใดไว้หลักข้อใดก็ได้ทั้งนั้น

ตัวตน....สังสัยว่า
- หลายคนพูดถึงธรรมะ มองตามเป็นจริง แล้วอะไรล่ะที่เป็นความจริง อย่างถ้าเรามีเรื่องต้องตัดสินใจ แต่ละข้อก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย เราต้องคิดยังไง ถ้าบอกว่าปล่อยใจให้ว่าง ปล่อยวาง มันหมายถึงอะไรกันแน่ ไม่ต้องคิดอะไรเลยงั้นหรอ หรือไม่คิดปัญญาจะเกิดเอง

พุทธ..... ตอบ
คำว่ามองตามความเป็นจริง หมายถึง มองตามหลักธรรม เพราะธรรมะ คือ ธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งทั้งหลาย หรือจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่ง ก็คือ
ธรรมะ คือ พฤติกรรม หรือ การกระทำ ของสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ถ้าคุณจะถามว่า ธรรมะตามหลักความเป็นจริงมีอะไรบ้าง อันนี้ไม่ตอบ คุณก็ลองหาในเวบนี้ คงได้รู้ ได้เข้าใจ ทั้งยังเป็นการฝึกตน ให้เกิดควมเพียง ในทางที่ดี
และถ้าคุณมองตามความเป็นจริง ด้วยหลักธรรมะคุณก็จะเกิดความเข้าใจได้ด้วยตัวเองว่า อะไรคือ การปล่อยวาง อันนี้เป็นข้อสำคัญ ต้องจดจำวิธีการเอาไว้

ตัวตน...สงสัยว่า
- แล้วคำที่ว่าให้มองสิ่งต่างๆเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปอีก เราพยายามทำนะ มีครั้งนึง เดินๆอยู่บนถนน คิดว่าถ้าเห็นคนถูกรถชนอย่างแรงต่อหน้า ควรจะคิดแบบไหน ควรจะมองว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดดับของมันแบบนั้นเอง ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยหรอ และเรื่องช่วยเหลือสังคมอีก พอช่วยไปปัญหาก็เกิดขึ้นอีก เกิดดับๆๆ แล้วเราควรจะคิดยังไงล่ะเนี่ย ควรจะทำอะไร ให้ปล่อยวาง ให้คิดเรื่องเกิดดับ แบบไหนกันแน่

พุทธะ....ตอบ
คุณได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ใช่หลักธรรมะ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นเพียงการอธิบาย ลักษณะทางกายภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งนั้น จะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ก็ตามแต่ ถ้าหากคุณได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ หลักธรรม ตามความเป็นจริง คุณก็จะรู้ว่าควรทำอย่างไร ในขณะที่คุณเห็นคนถูกรถชนต่อหน้า แต่คุณได้เรียนร้ และเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ไม่ใช่หลักธรรมะ ดังที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไปข้างต้น จึงเกิดความสับสน ระหว่าง หลักความจริงตามการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน กับ ความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับมาผิดๆ

ตัวตน...สังสัยว่า
- แล้วความอยากอีกล่ะ ถ้ามันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ เราควรจัดการกับมันยังไงดี เช่น อยากปฏิบัติธรรม อยากเรียนรู้ธรรมะ พยายามแสวงหาสถานที่ เวลา อาจารย์ แต่ก็ติดภารกิจด้านชีวิตทางโลก ปัญหามากมายก็ผุดมาอีก
- เราไม่เข้าใจเลย มันเหมือนว่าหลักธรรมที่เรียนมา มันเอามาใช้จริงไม่ได้ เป็นแค่ทฤษฎีเท่านั้น
- สุดท้ายคือ ต้องปฏิบัติถึงจะรู้เองเท่านั้นใช่ไหม แล้วถ้าปฏิบัติแล้วรู้จริงได้จริงๆ แล้วมันจะดับไปไหม สิ่งที่รู้ก็จะดับไปใช่ไหม แล้วจะรู้ไปทำไม
จริงๆแล้ว อะไรคือสิ่งที่เราต้องทำกันแน่เนี่ย?

เราสงสัยมากมายจริงๆ โง่เขลาอยู่ใช่เลย ต้องการมุมมองของผู้ที่รู้ ที่จะแนะนำให้เกิดประโยชน์ได้ ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ


พุทธะ....ตอบ
คุณเข้าใจผิดแล้วขอรับ มนุษย์ ล้วนมีความต้องการ ใน ปัจจัยสี่ เป็นเรื่องธรรมดาขอรับ มนุษย์มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ป็นธรรมชาติ
ความอยาก คือ ความหลง ชนิดหนึ่ง ความอยาก หรือ ความหลง อาจทำให้เกิดทุกข์ก็ได้ อาจจะทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ก็ได้ ถ้าเรามีคำตอบ ให้กับความอยาก หรือความหลงนั้นๆในทางที่ถูกที่ควร ความอยาก หรือความหลงนั้น ก็เป็นเพียงความคิด ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
คุณคิดของคุณเองว่า ติดภารกิจชีวิตทางโลก เพราะคุณไม่ได้มีความรู้เลยว่า ภารกิจของคุณที่ดำเนินอยู่ แท้จริง ก็คือ หลักความเป็นจริงตามธรรมะแห่งพุทธศ่าสนา คุณป็นมนุษย์ที่มีความเบี่ยงเบนทางด้านความคิด คือ มีความคิดผิดปกติ มองเห็นอะไรเป็นปัญหาทุกอย่าง แต่ไม่รู้จักแก้ปัญหา ทั้งๆที่เรื่องที่คุณกล่าวมา ไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย
รู้จักแบ่งเวลา วันละ ๑ หรือ ๒ ชั่วโมงเพื่อ ศึกษา เรียนรู้ธรรมะ ทำควมเข้าใจกับธรรมะ ก็ย่อมทำได้ มันขึ้นอยู่กับ ปฏิภาณไหวพริบของบุคคคล ไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย
และที่สำคัญ การคิดพิจารณา หรือ ระลึกนึกถึงหลักธรรมตามความเป็นจริง แห่งพฤติกรรม และการกระทำในสังคม รวมไปถึง สิ่งที่คุณได้ประพฤติ ปฏิบัติอยู่ ในชีวิตประจำวัน ก็คือ การปฏิบัติตามหลัก ธรรมะ ในพุทธศาสนา อยู่แล้วขอรับ


โพสต์ เมื่อ: 18 ส.ค. 2009, 22:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เล่นถามเป็นชุดเลย ค่อยๆถามทีละคำถาม
หรืออย่าให้หลายคำถามติดกันในกระทู้เดียว
คุณก็คงจะช่วยให้ใครต่อใคร ได้มาร่วมตอบอีกหลายคน

และคงได้คำตอบที่งดงามหลายหลากยิ่งขึ้น

สรุปว่าคุณ ไปหาวิธีทำจิตให้สงบ ให้ได้สักนานๆและเป็นอันมาก
ผมว่า ทุกความสงสัยของคุณ จะค่อยๆเย็นลง
ถึงจะมีสงสัย แต่ก็ไม่รบกวนให้วุ่นวาย เหมือนที่คุณกำลังเป็น

:b6: :b6: :b6:


โพสต์ เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 09:31
โพสต์: 639

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอให้ความเห็นอย่างคนธรรมดาที่เข้าถึงธรรมนะคะ เข้าถึงโดยปฏิบัติเองที่บ้านน่ะค่ะ

ธรรมะว่าด้วยสองเรื่องค่ะ

หนึ่ง ทางสายกลาง คือ ทางที่จะพาเราๆไปสู่นิพพาน มรรคแปดนั่นแหละค่ะ

สอง ทางสายกลาง แบบใช้ชีวิตด้วยหลักธรรม ไม่ผิดศีลห้า มีเจตนาดีต่อผู้อื่นเสมอ พรหมวิหาร อิทธิบาท สองตัวนี้สำคัญที่ตรองให้ดีก่อน ตรองโดยใช้ "ทุกข์ของตัวเอง" เป็นหลัก ทุกข์ในทุกเรื่อง ทุกข์ใจ ทุกข์กาย ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ใช่ให้ดะ ขยันมั่วซั่ว สักแต่ขยัน นั่นไม่ใช่ทางสายกลาง

แค่นี้เองค่ะ ธรรมะ มีสองเรื่องนี้แหละค่ะ ในการใช้ชีวิตบนโลกนะคะ ในพระไตรปิฎกนั้น เป็นบาลี ยากที่คนจะเข้าใจเพราะลึกซึ้งมาก ถ้าอยากเข้าใจโดยไม่ต้องเพิ่งพระไตรปิฎกหรือพระ ก็ปฏิบัติตาม รักษาศีลห้าเป็นอย่างน้อย ทำสมาธิ (ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเสมอไป ขอเพียงให้มีสมาธิ) แล้วรอปัญญาเกิด ปัญญาธรรมที่จะทำให้เรารู้แจ้งน่ะค่ะ

เพียรที่บริสุทธิ์จะยิ่งทำให้เข้าถึงปัญญาธรรมค่ะ

ทุกวันนี้คนไม่เข้าใจกันมาก เข้าใจผิดก็มาก พระเองก็ใช่ว่าจะแตกฉาน เพราะการได้ปัญญาธรรม ขึ้นอยู่กับกรรมที่ทำมาน่ะค่ะ การเข้าใจของคนที่อ่านพระไตรปิฎกทั้งที่ยังไม่มีปัญญาธรรมนั้น เข้าใจเพียงความหมายของเนื้อความ แต่การตีความลึกกว่านั้นมาก

ลองดูนะคะ จะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่ แต่จุฬาภินันท์ที่ได้ปัญญาธรรมแล้วจากการปฏิบัติ ยืนยันว่า ธรรมะเป็นสิ่งมหัศจรรย์จริงๆค่ะ


โพสต์ เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 15:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 เม.ย. 2009, 19:55
โพสต์: 548

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
....


แก้ไขล่าสุดโดย yahoo เมื่อ 19 ส.ค. 2009, 18:36, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หากดูเธอให้ดีๆ จะเห็นความงามที่เธอมี
และจงแค่อมยิ้มไว้ นั่นหละคือผู้รู้ที่ควรกล่าวได้ว่าคือผู้รู้


tongue tongue tongue


แก้ไขล่าสุดโดย บัวศกล เมื่อ 19 ส.ค. 2009, 18:42, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 19 ส.ค. 2009, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เฒ่าเก่าหงำเหงือก

:b16: :b16: :b16: วัยไหนคะเนี่ย :b8: :b16: :b16:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสต์ เมื่อ: 20 ส.ค. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 มิ.ย. 2009, 21:25
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


อืม ม

อนุโมทนาสาธุนะคร้า

บางครั้งก็คิดเหมือนคุณ นะค่ะ

ว่า คนเราเกิดมาทำไม ทำไม ต้อง รับ รู้ กลิ่น เสียง?

มันน่าคิด มากกกกก ค่ะ

.....................................................
ศัตรูของคนเราที่แท้จริงแล้ว คือ โลภ โกรธ หลง
ต้องแก้ด้วยมี ศีล สมาธิ ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร