วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 18:48  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
อ้างถึง : เดี๋ยวจะไปจัด ฌานของพระฤาษีนอกธรรมวินัยที่บรรลุโลกุตรฌานที่เป็นมหากุศลจิต(เช่น ของ ท่านดาบสทั้งสอง อดีตอาจารย์พระพุทธองค์) ให้เป็นแบบเดียวกับ อริยะสัมมาสมาธิเข้า

ความเห็น : เป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนมากว่า การเจริญอริยมรรค 8 แล้วทุกคนจะบรรลุ มรรค ผล นิพพาน ถึงแม้พระมหาฤาษีดาบสทั้งสองรูป นั้น จะเจริญสมาธิอันเป็น รูปฌาน และอรูปฌานก็ตาม
สมาธิที่ท่านมหาฤาษีเจริญนั้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะจิตท่านสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน ตามลำดับแต่รูปหนึ่งสำเร็จเพียงรูปฌาน และอีกรูปหนึ่งสำเร็จที่อรูปฌาณ แต่เพราะปัญญาท่านดาบสทั้งสองไม่แก่กล้า ปัญญาพละไม่เพียงพอ ท่านจึงมีปสาทะ ความน้อมใจไปในรูปพรหม และอรูปพรหมเสียก่อนท่านทั้งสองจึงพลาดจากมรรค ผล นิพพาน

ดังนั้น การพลาดจากมรรคผล จึงไม่ใช่เกี่ยวกับสัมมาสมาธิเพียงประการเดี่ยว องค์ธรรมที่ประกอบเพื่อมรรคผลนิพพานจึงมี อินทรีย์ 9 พละ7 มรรค 8 และองค์ธรรมอันเป็นกุศลอื่นๆ อีกไม่น้อยกว่า 60 ประการ






ขอเสนอแยกประเด็นน่ะครับ


อ้างคำพูด:
สมาธิที่ท่านมหาฤาษีเจริญนั้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะจิตท่านสงัดจากกาม จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน



นี่ คือจุดที่ผมกำลังพยายามบอก
ว่า เป็นปัญหา


ถ้าเกี่ยวกับ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค ก็ต้องเสนอ มหาจัตตารีสกสูตร เป็นบรรทัดฐานครับ
เพราะ พระสูตรนี้ ทรงแสดง "สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค"

สัมมาสมาธิในองค์มรรคนี้ เป็นเอกัคคตาจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีก7อย่างแวดล้อม(เป็นบริขาร)

คือ ในองค์ธรรมนี้ นอกจากจะมีกำลังแห่งสมาธิเป็นรูปฌาน๑-๔(เอกัคคตาจิต)แล้ว ยังต้องมีอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อมด้วย


เช่น ที่ทรงแสดงใน มหาจัตตารีสกสูตร

”.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล เรียกว่า สัมมาสมาธิ …..”



ฌานฤาษีนอกพระศาสนา (เช่น การเพ่งกสิณ) ถึงแม้นจะมีกำลังแห่งสมาธิในระดับรูปฌาน๑ ถึง รูปฌาน๔ ได้เช่นกัน..... แต่ขาด คุณสมบัติสำคัญ ที่ระบุไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร คือ ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อม(เพราะ ในตอนที่พระฤาษีบำเพ็ญตบะอยู่ พระพุทธองค์ยังไม่ทรงตรัสรู้ และ ยังไม่ได้ประกาศอริยมรรคให้ใครสดับ) จึงไม่จัดเป็นสัมมาสมาธิในอริยมรรค และ ไม่เป็นประโยชน์ต่อการเห็นธรรม..... เว้นเสียแต่ จะนำฌานนั้นมายกเจริญเข้าสู่วิปัสสนาดังที่มีพระสูตรแสดงกล่าวเอาไว้



ส่วนสัมมาสมาธิที่เป็นโลกียะ นั้น
ท่านผู้ใด เห็นพระพุทธวจนะตรัสแสดงไว้ในพระสูตรไหน ถึง สัมมาสมาธิที่"เป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ "อย่างชัดๆ ช่วยบอกเป็นวิทยาทานด้วย
เพราะ ผมหามานานแล้ว ผมหาไม่พบ

(ขอเป็นพระพุทธพจน์โดยตรงเลยน่ะครับ)



อนึ่ง
ใน มหาจัตตารีสกสูตร ทรงแสดงถึงการ
ริเริ่ม(ที่อนาสวะสัมมาทิฏฐิ)
ร้อยเรียง(มายังมรรคองค์แห่งอริยมรรคถัดๆมา)
รองรับ(องค์แห่งอริยมรรคถัดไป รองรับองค์แห่งอริยมรรคองค์ก่อนหน้า)
และ รวมลง(อริยมรรคทั้งเจ็ดห้อมล้อมเอกัคคตาจิตนั้นๆ)

อยากเสนอให้สังเกตุว่า ใน มหาจัตตารีสกสูตร

องค์แห่งอริยมรรคห้าข้อแรก มีพระพุทธพจน์ตรัสแสดงแยกเป็น สาสวะ(โลกียะ) และ อนาสวะ(โลกุตระ) อย่างชัดเจน

แต่ ในองค์แห่งอริยมรรคข้อ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ไม่ได้แสดงแยกชัดเจน

โดย ในพระสูตรนี้ ระบุโดยตรงถึง "สัมมาสมาธิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค" เป็นปฐมบท และ ทรงแสดงรายละเอียดว่า เป็นเช่นใด



ปล... ถ้าจะจัดเรียก สมาบัติของอาจารย์ฤาษีดาบสทั้งสองของพระพุทธองค์ ว่า เป็นสัมมาสมาธิ ด้วย... ผมก็ไม่ขัดข้องแต่ประการใด

เพียงแต่อยากขอทราบเป็นวิทยาทาน
ถึง พระพุทธวจนะที่ตรัสถึง สัมมาสมาธิที่"เป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ อำนวยวิบากแก่ขันธ์ เป็นโลกียะ ไม่นับเนื่องในมรรค"อย่างชัดๆ ว่าอยู่ตรงไหน
เพราะ เท่าที่ผมเคยเห็นกล่าวถึง โลกียะสัมมาสมาธิ นี้ ก็ล้วนแต่เป็นมาจากคำสอนของอาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลทั้งสิ้น

และ อยากขอเสนอ ให้ระบุให้ชัดเจน ในคำว่า สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค หรือ อริยะสัมมาสมาธิ .

เพื่อจะได้สามารถแยกออกจาก สมาบัติของพระฤาษีนอกพระศาสนา ให้ชัดเจนไปปเลย.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 17:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึง : ทำไมบรรลุธรรมง่ายจัง นี่แสดงว่าแค่ฟังธรรมให้ถูกจริต ก็หลุดพ้นได้ใช่มั้ยครับ บางท่านขณะโกนผม หรือมองดอกบัวก็สำเร็จธรรมกันแล้ว อย่างนี้แสดงว่าบรรลุธรรมแบบเซ็นก็เป็นไปได้ใช่หรือไม่

ความเห็น : การบรรลุธรรมง่ายหรือยาก ก็ขึ้นอยู่กับ บารมีที่สั่งสมมาครับ หากว่าอินทรีย์ 9 แก่กล้า บรรลุธรรมขณะโกนศรีษะก็ได้ครับ

อ้างถึง : อีกคำถามคือ เมือนั่งสมาธิ จนอยู่ใน ฌาน 4 จะสามารถอาศัยอำนาจฌาน ในการดับกิเลสต่างๆ ด้วยวิปัสสนาในขณะนั้นได้หรือไม่ นั่นคือ ขณะอยู่ในฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาด้วยได้หรือไม่ โดยอาศัยอำนาจของจิตที่มีคุณภาพด้วยอำนาจของฌานสมาบัติ หรือจำเป็นต้องออกจากฌานมาก่อน

ความเห็น : การดับกิเลส ดับด้วย มรรคญาณ ครับ ในขณะปฏิบัติธรรมอันประกอบด้วยมรรคปฏิปทา สมถะและวิปัสสนา เป็นองค์ธรรมที่เกิดอยู่แล้วครับ ในขณะปฐมฌาน เจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ก็ทำหน้าที่แล้วครับ
เพราะฌานในอริยะวินัยนี้ คือสัมมาสมาธิครับ เพียงแต่ว่าระดับขององค์ฌานมีความละเอียดประณีตเพียงไรครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเสนอ เพิ่มดังนี้



อ้างคำพูด:
แต่รูปหนึ่งสำเร็จเพียงรูปฌาน และอีกรูปหนึ่งสำเร็จที่อรูปฌาณ


ท่านทั้งสองต่างล้วนสำเร็จ อรูปฌานชั้นสูง ทั้งคู่น่ะครับ

ท่านอาฬารดาบส บรรลุอากิญจัญญายตน
และ
ท่านอุทกดาบส เนวสัญญานาสัญญายตน



อ้างคำพูด:
แต่เพราะปัญญาท่านดาบสทั้งสองไม่แก่กล้า ปัญญาพละไม่เพียงพอ ท่านจึงมีปสาทะ ความน้อมใจไปในรูปพรหม และอรูปพรหมเสียก่อนท่านทั้งสองจึงพลาดจากมรรค ผล นิพพาน


เพราะ ท่านดาบสทั้งสอง ปราศจากอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ปัญญาพละ)ที่เป็นองค์แห่งอริยมรรคองค์แรกสุดที่กำหนดทิศทางแห่งสัมมาทั้งหลาย...
คือ ท่านทั้งสองยินดีในอรูปภพ ยินดีในอาตมันอันเยี่ยมยอด ไม่ได้โน้มใจไปสู่ความดับไม่เหลือ ท่านทั้งสองจึงไม่บรรลุอริยะสัมมาสมาธิ นั่นเอง

หาก กลัดกระดุมเม็ดแรกผิด ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่การใส่เสื้อจะถูกต้องสมบูรณ์ ฉันใด
การปราศจากกอนาสวะสัมมาทิฏฐิ(ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ ปัญญาพละ)ที่เป็นองค์แห่งอริยมรรคองค์แรกสุดที่กำหนดทิศทางแห่งสัมมาทั้งหลาย อริยมรรคที่เหลือทั้งหมดย่อมบริบูรณ์ไม่ได้ ฉันนั้น



อ้างคำพูด:
ดังนั้น การพลาดจากมรรคผล จึงไม่ใช่เกี่ยวกับสัมมาสมาธิเพียงประการเดี่ยว


อริยะสัมมาสมาธิ ไม่ใช่องค์ธรรมเดี่ยว ครับ
แต่ เป็นเอกัคคตาจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกถึงเจ็ดอย่างก่อนหน้านั้น ห้อมล้อม

อริยะสัมมาสมาธิเพียงอย่างเดียว จึงไม่มี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 18:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องฌาน ในสังคมชาวพุทธ



ขณะนี้นั้นมีความเห็น แตกต่างกัน เป็นสองกลุ่ม คือ

1.ANTIฌานทุกกรณี

กับ

2.RESPECTฌานทุกกรณี



#กลุ่ม ANTIฌานทุกกรณี.... กลุ่มนี้ จะเข้าใจความหมายของคำว่า ฌาน ในพระสูตรต่างๆ เป็น"อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ" กับ ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา. เมื่อเขามีความรู้สึกที่เป็นลบต่อฌานของฤาษีนอกพระศาสนา เขาก็เลยพากัน ปฏิเสธฌานในส่วนที่เป็นสัมมาสมาธิในพระศาสนานี้ ไปด้วย.

กลุ่มนี้ เลยพากันปฏิเสธสมถะทั้งหมดไปเลย

เวลาเสวนา เรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ก็ จะได้ยินบ่อยๆว่า "ระวังอย่าให้จิตเป็นสมถะ น่ะ"...
เพราะ เขาเข้าใจคำว่า ฌาน(สมถะ) ที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ว่า เหมือนกันทุกประการ กับ ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ที่ไม่สนับสนุนการเกิดปัญญา เท่านั้น




#กลุ่ม RESPECTฌานทุกกรณี....กลุ่มนี้ จะยกย่องฌานของฤาษีนอกพระศาสนา ว่าเป็น "อย่างเดียวกัน" หรือ "เท่ากันทุกประการ"กับ สัมมาสมาธิในองค์แห่งอริยมรรค .
(และ ก็จะเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก)

โดยลืมนึกถึงความจริงที่ว่า เอกัคคตาจิตนั้นๆ(ฌานของฤาษีนอกพระศาสนา) ไม่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อม





ผมเห็นเช่นใด ในประเด็นนี้?

ผมไม่ใช่ทั้งสองกลุ่ม คือ ผมไม่ANTIฌานทุกกรณี และ ไม่RESPECTฌานทุกกรณี

แต่...ส่วนตัวผม
ผม RESPECTสัมมาสมาธิ เอกัคคตาจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดประการห้อมล้อม เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ....ทุกกรณี ครับ





ปล...

ขอตัวก่อน ดึกๆ จะแวะเข้ามาใหม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วสมาธิจะก่อให้เกิดปัญญาได้ยังไงครับ ตามที่อ่านมาได้ยินคำพูดว่า เมื่อจิตนิ่งย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง หมายความเมื่อจิตสงบ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ หรือต้องเจริญวิปัสนา ปัญญาจึงจะเกิด

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใด anti-ฌาณ ในทุกกรณี ผู้นั้นวิปัสสนาอ่อน...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
แล้วสมาธิจะก่อให้เกิดปัญญาได้ยังไงครับ ตามที่อ่านมาได้ยินคำพูดว่า เมื่อจิตนิ่งย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ...(ตัดคำว่าจิตสงบออกไป) ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง


สิ่งที่ทำอยู่นี่แหละครับ คือวิปัสนา
สมาธิกำลังอบรมปัญญา

kokorado เขียน:
หมายความเมื่อจิตสงบ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง


คำว่าจิตสงบ กับจิตนิ่งนั้น ผมคิดว่าเป้นคพที่ไม่เหาะจะอธิบาย
ที่จริงใช้ทั้งสองคำไม่ถูก

ต้องใช้ว่าจิตตั้งมั่น
เพราะปกติจิตนั้นเมื่อมีสิ่งกระทบต้องเกิดปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น"แยก"เป็นผู้รู้"อยู่ต่างหาก"
ก็ย่อมจะหลงว่าสิ่งปรากฏเหล่านั้น"เป็นความมีส่วนร่วมของเรา เป้นเรา"
เมื่อเป้นเช่นนั้นก็กล่าวได้ว่า ขาดสติ หลงไปกับปรากฏการณ์


แต่ถ้าใช้ว่าจิตนิ่ง จิตสงบ
อะไรก็ไม่รับรู้ อันนี้ก็ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาเรียนรู้
ก็ในเมื่อมันนิ่งไปหมด ผิดธรรมชาติของจิต
เมื่อ"ไม่รู้เห้นตามจริง" ก็ย่อม"ไม่เห็นความจริง"
เมื่อไม่เห็นความจริง ทรรศนะต่างๆก็ไม่เกิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2009, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


kokorado เขียน:
แล้วสมาธิจะก่อให้เกิดปัญญาได้ยังไงครับ ตามที่อ่านมาได้ยินคำพูดว่า เมื่อจิตนิ่งย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง หมายความเมื่อจิตสงบ ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ หรือต้องเจริญวิปัสนา ปัญญาจึงจะเกิด



คำว่า "จิตนิ่ง" ผมหาไม่พบในพระไตรปิฎกแปลไทยครับ

http://larndham.net/buddhism/tsearch.htm


คำว่า "จิตนิ่ง" น่าจะสื่อถึง จิตที่ ไม่ฟุ้งซ่าน(อวิกเขโป) ที่แสดง ว่า เป็นสมถะ (อวิกเขโป เอกัคคจิตโต สมาธิ)

หรือ จิตสงบ (สันตจิตตา)





ส่วนคำว่า ปัญญาจะเกิดขึ้นมาเองเมื่อจิตสงบ นั้น
ไม่ใช่ว่า ปัญญาเกิดขึ้นมาลอยๆโดยปราศจากเหตุปัจจัย น่ะครับ

จิตสงบที่ทำให้เกิดปัญญานั้น ท่านกำลังกล่าวถึง อริยะสัมมาสมาธิ ที่เป็นบาทแห่ง สัมมาญาณะ ( เพราะมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะ จาก มหาจัตตารีสกสูตร)

ซึ่ง อริยะสัมมาสมาธิ ก็หาใช่ว่าจะเป็นจิตสงบเพียวๆน่ะครับ
เพราะ อริยสัมมาสมาธิเป็นเอกัคคตาจิตที่มีองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อม
และ ในองค์แห่งอริยมรรคอีกเจ็ดอย่างห้อมล้อมที่ห้อมล้อมเอกัคคตาจิตนั้น ก็มี อนาสวะสัมมาทิฏฐิ และ อนาสาวะสัมมาสังกัปปะ ที่เป็นฝ่ายอธิปัญญาอยู่ในนั้นด้วยอยู่แล้ว

ดังนั้น อริยะสัมมาสมาธิที่เป็นบาทแห่งสัมมาญาณะ จึงไม่ใช่จิตที่สงบเพียวๆอย่างที่เข้าใจกัน
แต่ เป็นจิตที่สงบแบบมีปัญญาอยู่ในตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 00:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณครับคุณตรงประเด็นที่ทบทวนส่วนนี้ให้ครับ
อ้างถึง: ท่านทั้งสองต่างล้วนสำเร็จ อรูปฌานชั้นสูง ทั้งคู่น่ะครับ
ท่านอาฬารดาบส บรรลุอากิญจัญญายตน
และท่านอุทกดาบส เนวสัญญานาสัญญายตน
---------
อ้างถึง : สมาธิที่ท่านมหาฤาษีเจริญนั้น ก็จัดเป็นสัมมาสมาธิเช่นกัน เพราะจิตท่านสงัดจากกาม
จากอกุศล ธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌาน...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌาน
นี่ คือจุดที่ผมกำลังพยายามบอกว่า เป็นปัญหา

ความเห็น : ปัญหาของท่านก็คือ ท่านอ่านพระสูตรนี้ ไม่เข้าใจ จึงคิดแต่เพียงว่า สัมมาสมาธิอันมีองค์ประกอบด้วยสัมมาทิฐิที่ยังมีสาสวะอันเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ ไม่มีอยู่

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

[๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ

[๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ
[๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

จะแยกกล่าวก็โดยแยกออกเป็น
สัมมาสมาธิอันเป็นโลกุตตรเป็นองค์มรรค 1
สัมมาสมาธิอันเป็นโลกียะ ประกอบในกามวจรกุศลจิต รูปาวจรกุศลจิต อรูปวจรกุศลจิต

สัมมาสมาธิอันเป็นโลกุตตร เป็นองค์มรรค คือสัมมาสมาธิของพระอริยะ
โลกุตตรกุศลจิตนั้น องค์มรรคจะประชุมพร้อมกัน และคุณสมบัติของสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จะมีองค์ธรรมแห่งโพชฌงค์ 7 กำกับอยู่ กล่าวคือ
สัมมาทิฏฐิ จะมีธัมมวิจยสัมโพชฌงค์อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
สัมมาวายามะ จะมีวิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
สัมมาสติ จะมีสติสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรคนับเนื่องในมรรค
สัมมาสมาธิ จะมีสมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค


สัมมาสมาธิอันเป็นโลกีย
กามวจรกุศลจิต ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่ยังมีสาสวะอันเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อยู่ ยกตัวอย่างเช่น สัมมาสมาธิในกามวจรกุศลจิตดวงของบุคคลผู้ทำทาน รักษาศีล แต่ยังทิฐิยังมีสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ(คือยังมีความยินดีพอใจในบุญ)ให้ผลแก่ขันธ์ องค์มรรคที่มาประชุมกันมีเพียง 5 ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ขาดคุณสมบัติขององค์ธรรมแห่งสัมโพชฌงค์ซึ่งเป็นองค์ธรรมในการตรัสรู้ ถึงกระนั้นก็ตาม สมาธิ ในจิตดวงนี้ก็ยังคงเป็นสัมมาสมาธิ

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/apidham01.php

ในรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฐิที่ยังมีสาสวะอันเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อยู่ ก็ยกตัวอย่างเช่น สัมมาสมาธิในรูปฌาน และอรูปฌานที่ องค์มรรคมาประชุมกันเพียง 4 ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

ดังนั้น มหาฤาษีทั้งสอง จึงสำเร็จเพียงได้เพียงอรูปาวิบากจิตดังนี้

[๔๒๐] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตน
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยอากิญจัญญยตนสัญญา ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุขได้ ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน
อันสหรคตด้วยอากิญจัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ อันเป็น
วิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

[๔๒๑] ธรรมเป็นอัพยากฤต เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภูมิ เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ฯลฯ
อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
โยคาวจรบุคคล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน
อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ได้ ฯลฯ
อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรม อันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้ว นั้นแล อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นอัพยากฤต.

มหาฤาษีทั้งสอง เพราะปัญญิณทรีย์อ่อนไม่แก่กล้า อีกทั้ง อินทรีย์ 3 คืออนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ อัญญิณทรีย์ อัญญาตาวินทรีย์ ไม่ได้ประกอบในจิต ท่านจึงมีปสาทะ อธิโมกข์ ลงไปใน อรูปภูมิ
มรรคปฏิปทาของท่านจึงประกอบด้วยองค์ 4 เท่านั้น ซึ่งขาดสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
----------------------------------
ส่วนฌานฤาษีอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่ควรเรียกว่า ฌานฤาษี เพราะเป็นฌานเพ่งเพื่อมุ่้งพัวพันในกามสัญญาก็มีซึ่งไม่ได้เป็นการเจริญรูปฌาน 1-4 อันมีมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภูิมิ ฌานอย่างนั้น ไม่เรียกว่าฌานแต่เป็นมิจฉาสมาธิ เช่นการปลุกเสกพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง เสือเผ่น ลงของลงอาคมเป็นต้น


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 ส.ค. 2009, 01:42, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 01:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างถึง : แล้วสมาธิจะก่อให้เกิดปัญญาได้ยังไงครับ ตามที่อ่านมาได้ยินคำพูดว่า เมื่อจิตนิ่งย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ...(ตัดคำว่าจิตสงบออกไป) ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมาเอง

แสดงความเห็น จิตนิ่ง:
เช่นนั้น เอาบทกวีที่เรียบเรียงเกี่ยวกับจิตนิ่งจิตสงบ มานำเสนอให้คุณ kororado พิจารณา เพราะเห็นว่าเรียบเรียงไว้ดี

จิตที่ตั้งมั่น จิตที่สงบ

อันความนิ่ง จิตนิ่งจริง สิ่งอยากรู้
เด็กน้อยหนู สิ่งนี้ หามีไม่
อกุศล หรือกุศล ดลจิตใจ
เกิดดับไป ดับแล้วเกิด กำเนิดกรรม

ขันธ์ทั้งห้า จากปรุงแต่ง แห่งวิบาก
ล้วนมาจาก บาปบุญ หนุนอุปถัมภ์
บุญปรุงแต่ง บาปปรุงแต่ง ด้วยแรงกรรม
ที่ชักนำ ความเกิดดับ สับเปลี่ยนกัน

ถ้าบุญเที่ยง จิตย่อมเที่ยง มีเพียงบุญ
บุญย่อมหนุน ให้ชีวี นี้สุขสันต์
แต่ว่าบุญ มีวันหมด ลดทุกวัน
ดวงจิตนั้น จึงมินิ่ง จริงจริงแล

ถ้าบาปเที่ยง จิตย่อมเที่ยง เพียงแรงบาป
ทุกข์กำซาบ เพราะบาปปรุง ยุ่งแน่แท้
แต่บาปก็ มีวัดหมด ลดผันแปร
เกิดดับแน่ ไม่นิ่งแท้ แต่อย่างใด

ที่กล่าวมา ของไม่นิ่ง อิงไตรลักษณ์
เป็นตามหลัก อนิจจัง ทุกขังไซร้
แล้วท่านจะ หาความนิ่ง จริงที่ใด
เพราะมันไม่ นิ่งได้ ดังหมายปอง

แต่จิตนี้ ถ้าฝึกดี เริ่มที่เหตุ
เลือกประเภท โลกุตตระ ละความหมอง
ละสังโยชน์ โกรธรัก นักยึดครอง
ดับเหตุข้อง เวียนเกิดตาย หลายวัฏฏา

จิตอย่างนี้ นิ่งจากบาป ที่หยาบชั่ว
ไม่เกลือกกลั้ว มัวเมา เขลาตัณหา
ทำเหตุจิต ให้ผ่องใส ในมรรคา
ปฏิปทา แน่วแน่ แต่นิพพาน

จิตของใคร อบรมไว้ ได้คงมั่น
มิไหวหวั่น โลกีย์ มีกัมมัฏฐาน
ตบะมั่น อุเบกขา มาโดยฌาน
ปัญญาญาณ นำวิมุติ ผุดผ่องใจ



" จิตที่ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวดั่งภูเขาศิลา
ไม่กำหนัดในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธในอารมณ์
อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธ
จิตของบุคคลใดอบรมได้ดั่งนี้
ความทุกข์จักมีมาแต่ที่ใดเล่า ?
น้ำเค็ม [ 5 ธ.ค. 2551 เวลา 14:23 น. ].......


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 07:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:



สัมมาสมาธิอันเป็นโลกีย
กามวจรกุศลจิต ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่ยังมีสาสวะอันเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อยู่ ยกตัวอย่างเช่น สัมมาสมาธิในกามวจรกุศลจิตดวงของบุคคลผู้ทำทาน รักษาศีล แต่ยังทิฐิยังมีสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญ(คือยังมีความยินดีพอใจในบุญ)ให้ผลแก่ขันธ์ องค์มรรคที่มาประชุมกันมีเพียง 5 ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แต่ขาดคุณสมบัติขององค์ธรรมแห่งสัมโพชฌงค์ซึ่งเป็นองค์ธรรมในการตรัสรู้ ถึงกระนั้นก็ตาม สมาธิ ในจิตดวงนี้ก็ยังคงเป็นสัมมาสมาธิ

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/apidham01.php

ในรูปาวจรกุศลจิต และอรูปาวจรกุศลจิต ที่ประกอบด้วยสัมมาทิฐิที่ยังมีสาสวะอันเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์อยู่ ก็ยกตัวอย่างเช่น สัมมาสมาธิในรูปฌาน และอรูปฌานที่ องค์มรรคมาประชุมกันเพียง 4 ประการ คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ





เรียน คุณเช่นนั้น


ขออภัยครับ

คลิกตามลิ้งค์ที่คุณทำให้ เข้าไปแล้ว เป็นส่วนพระอภิธรรม(ซึ่ง ก็ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันในระดับผู้เชี่ยวชาญ ว่า พระอภิธรรมเป็นพระพุทธพจน์ดั้งเดิมตั้งแต่สมัยพุทธกาล หรือ เป็นการนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาประมวลขึ้นโดยพระสาวกรุ่นหลังพุทธกาล)

และ รบกวนช่วยทำลิ้งค์ย่อยระบุให้ตรงกับหน้า ยังข้อความที่คุณโค้ดให้เลยด้วยครับ
เพราะ ในหน้าที่คุณทำลิ้งค์ให้นั้น มันมีลิ้งค์ย่อยในหน้านั้นเต็มไปหมด

ผมเองก็ต้องการศึกษาเหมือนกันว่า โลกียะสัมมาสมาธินั้น มีคำจำกัดความเช่นใด
เป็นจากพระอภิธรรมก็ได้ครับ ยังปราถนาจะศึกษาอยู่

ต้องขออภัยที่ผมเน้นพระพุทธพจน์
เพราะ อย่างที่เรียนให้ทราบว่า เรื่อง สมถะ ฌาน สัมมาสมาธิ นี้ ชาวพุทธในปัจจุบัน มีความเห็นที่แตกต่างกันสุดขั้วมาก... ถ้า ไม่นำพระพุทธพจน์มาวางเป็นหลัก แต่ อาศัยคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาลเป็นหลัก หรือ อาศัยความเห็นของแต่ละอาจารย์เป็นหลัก จะมีการแตกแยกในความเห็นอย่างมาก ในประเด็นนี้



ขอบคุณครับ


ปล...บ่ายๆจะแวะเข้ามาใหม่ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านตรงประเด็นทาง ต้องอ่านพระสูตรนี้ หลายๆ รอบนะึึีึครับ ท่านจึงจะรู้ว่าอะไรเป็น สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ สัมมาทิฐิอันเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ มิจฉาทิฏฐิอันเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบาปให้ผลแก่ขันธ์ พระสูตรนี้ ตรัสครอบคลุมไว้ทุกประเด็นแล้ว [253-258 ในเนื้อความแห่งมหาจัตตารีสกสูตร]
http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 724&Z=3923
ที่ลิงค์ให้ตามพระอภิธรรม ซึ่งนอกจากกถาวัตถุปกรณ์ซึ่งแต่งขึ้นในภายหลังแล้ว ปกรณ์อื่นๆ ได้จัดทำสังคยนาขึ้นตามแนวที่พระสารีบุตรเถระทรงวางไว้ในสังคีตสูตร ทสุตตรสูตร ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงรับรองเช่นนั้น ดังนั้นหากท่านตรงประเด็นมีความเห็นว่า พระอภิธรรมไม่ใช่พุทธพจน์แล้ว พระสุตตันตก็ไม่ใช่พุทธพจน์เช่นกันเพราะท่านพระอานนท์เป็นผู้กล่าว อย่างนั้นสิ?

พระอภิธรรมที่ลิงค์ไป ย่อมตรงกว่าดีกว่า พุทธธรรมที่ท่านนำมาอธิบาย โดยปราศจากความรู้เรื่องความแตกต่างของสัมมาทิิฐิอันประกอบด้วยธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ซึ่งสัมมาทิฐิส่วนโลกียนั้นไม่มี ท่านตรงประเด็นเนื่องจากท่านไม่เห็นในส่วนนี้ จึงจำเป็นต้องลิงค์เข้าหาพระอภิธรรมเพื่อให้ท่านเข้าใจเรื่อง สาสวะ อนาสวะ ให้ถูกต้อง ว่า สาสวะนั้น เป็นส่วนแห่งบุญก็มี เป็นส่วนแห่งบาปก็มี อนาสวะนั้นจะมีสัมโพชฌงค์เป็นองค์ประกอบเป็นองค์แห่งมรรค ส่วนแห่งมรรค

มหาจัตตารีสกสูตร จึงถือเป็นพระสูตรที่มีความสำคัญยิ่งพระสูตรหนึ่ง ที่แสดงให้เห็น สัมมามรรค และมิจฉามรรค โดยตรงเลยทีเดียว

โลกีย ย่อมพัวพันอยู่ในภพ 3
โลกุตตร ไม่พัวพันในภพ 3

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 440&Z=1570
พระสูตรบทนี้ ก็แสดงสัมมาสมาธิอันเป็นโลกีย เพราะปัญญายังไม่เพียงพอที่จะบรรลุนิพพาน และสัมมาสมาธิอันเป็นโลกุตตรที่มีปัญญาเป็นเครื่องข้าม เื่พื่อบรรลุนิพพาน


ดังนั้น การอ่านพระสูตรศึกษาพระสูตร จึงจำเป็นต้องใช้ปัญญาในการอ่านทำความเข้าใจให้มาก เพื่อให้เกิดจินตามยปัญญา



เจริญธรรมยิ่งขึ้นไป


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 07 ส.ค. 2009, 13:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมคิดว่า ถ้าท่านอาฬารดาบส และ อุทกดาบส น้อมใจสู่ความดับไม่เหลือ คงเป็นไปไม่ได้ งั้นท่านก็ตรัสรู้แล้วสิครับ ตามที่ผมเข้าใจ บุคคลที่จะบรรลุธรรมด้วยตนเองได้ นอก จากพระพุทธเจ้า และปัจเจก แล้ว บุคคลอื่นไม่สามารถกระทำได้
ตอนที่พระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสรู้ ก็มีความประสงค์จะโปรดพระอาจารย์ทั้งสองก่อน แต่ท่านทั้งสอง ก็ได้เสียชีวิตไปเสียก่อน โดยส่วนตัว เชื่อว่า ฌานของฤาษี ก็เหมือนกับฌานในพระพุทธศาสนา ยกตัวอย่างว่า ความโกรธของคน ในศาสนาคริสตั มีสภาวะ ที่แตกต่างกับความโกรธของคนในศาสนาพุทธอย่างนั้นเหรอ ผมคิดว่าคนที่ปฏิเสธฌาน น่าจะลองคิดดูใหม่ เพราะว่า ในพระไตรปิฎกก็ตรัสสรรเสริญ คุณแห่ง ฌาน ในหลายแห่งเหมือนกัน เมื่ดสำเร็จฌาน เมื่อตายไปย่อมได้ภพอันประเสริฐ พบความสุขอันประณีต และฌานยังเป้นบาทฐาน ของอภิญญา มีบุพเพนิวานุสติญาณเป็นอาทิ เจ้าชายสิทธัตถะ ตอนที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา แล้วไม่สำเร็จ ก็ทรงหวนคิด ถึงปฐมฌาน ที่ท่านเคยทำในวัยเยาว์ ในที่สุดก็บรรลุอนุตรสัมโพธิญาน
อีกส่วนหนึ่ง ก็คือ ฌาน เป้นเครื่องระงับ กิเลสระดับกลาง คือ นิวรณ์ 5ให้สงบรำงับ พบความสุขอันประเสริฐ ในปัจจุบัน

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ kokorado สาธุครับที่เข้าใจอย่างนั้น อาจารย์ทั้งสองของเจ้าชายสิทธัตถะ ปัญญา 3 อันเป็นเครื่องตรัสรู้ ไม่มีครับ ปัญญายังไม่แก่กล้าครับ ถูกแล้วครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2009, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านตรงประเด็นทาง ต้องอ่านพระสูตรนี้ หลายๆ รอบนะึึีึครับ ท่านจึงจะรู้ว่าอะไรเป็น สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะเป็นโลกุตระ สัมมาทิฐิอันเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ มิจฉาทิฏฐิอันเป็นสาสวะเป็นส่วนแห่งบาปให้ผลแก่ขันธ์ พระสูตรนี้ ตรัสครอบคลุมไว้ทุกประเด็นแล้ว [253-258 ในเนื้อความแห่งมหาจัตตารีสกสูตร]

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php ... 724&Z=3923



ขอบคุณครับ



พระมหาจัตตารีสกสูตร เป็นพระสูตรที่ผมอ่านบ่อยครั้งที่สุด ในบรรดาพระสูตรทั้งหมด

แต่ อ่านกี่ครั้งๆ ก็เห็นแต่ทรงแสดงแยกว่า

อย่างไรเรียกมิจฉาทิฏฐิ
อย่างไรเรียกสาสวะ(โลกียะ)สัมมาทิฏฐิ
อย่างไรเรียกอนาสวะ(โลกุตระ)สัมมาทิฏญิ

และ ก็ทรงแสดงแยก องค์แห่งอริยมรรคอีก4 ที่ต่อจากสัมมาทิฏฐิ ในลักษณะเดียวกัน



แต่ ครั้นพอถึง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ในขั้นอธิจิตตสิกขา พระพุทธองค์ท่านไม่ได้ทรงแสดงแยกแบบนั้นเอาไว้น่ะครับ(ลอง ย้อนกลับไปอ่านดีๆ อีกสักครั้งหนึ่ง)

ผมจึงถามว่า มีพระสูตรไหนอีกบ้าง ที่ ทรงแสดงระบุชัดเจนถึงว่า "อย่างไรคือ สาสวะ(โลกียะสัมมาสมาธิ)" บ้าง ไงครับ?



เรื่อง พระอภิธรรมเป็นพุทธพจน์หรือไม่? มีการวิเคราะห์กันมากในที่ต่างๆแล้ว
ผมคงไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวตรงจุดนี้มากนัก...
และ ก็ผู้ที่เรียกตนเองว่า นักอภิธรรม ไม่ใช่หรอกหรือ ที่มักจะกล่าวว่า สมาธิปิดกั้นปัญญา???



ที่ผมบอกว่า อยากเห็นเป็นพระพุทธพจน์ดั้งเดิมจากพระสูตรโดยตรงนั้น
เพราะผมเห็นว่า พระพุทธพจน์โดยตรงย่อมรัดกุมและชัดเจนที่สุดครับ

แต่ ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะศึกษาพระอภิธรรมน่ะครับ ...
ผมถึง เรียนท่านเช่นนั้น ว่า ช่วยยกข้อความจากพระอภิธรรมที่กล่าวถึงว่า อย่างไรคือ สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ มาวาง... และ ช่วยบอกลิ้งค์หน้าตรงๆให้เลย

เพราะ ได้เข้าไปตามลิ้งค์ที่ท่านวางไว้ คือ

http://84000.org/tipitaka/pitaka3/apidham01.php

มันเยอะแยะไปหมด
อ่านให้ครบตามนั้น คงใช้เวลานานมาก



รบกวนอย่างไร คุณเช่นนั้นช่วย ตีวงให้แคบกว่านั้นหน่อย

เช่น ยก เนื้อความธรรมในพระอภิธรรมตรงที่แสดงว่า อย่างไรคือ สาสวะ(โลกียะ)สัมมาสมาธิ มาวาง และ ช่วยบอกลิ้งค์หน้าตรงๆให้เลย

จะได้ศึกษาร่วมกัน




ขอบคุณครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 74 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร